การลงประชามติเอกราชกาตาลุญญา พ.ศ. 2560

สภาบริหารแคว้นปกครองตนเองกาตาลุญญาในประเทศสเปนพยายามจะจัดการลงประชามติว่าด้วยเอกราชของกาตาลุญญาในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560[2] ตามที่มีการเสนอเป็นครั้งแรกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 สภานิติบัญญัติของแคว้นได้ให้ความเห็นชอบกฎหมายการลงประชามติดังกล่าวในสมัยการประชุมสมัยหนึ่งเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560 พร้อมกับกฎหมายที่ระบุว่าเอกราชจะมีผลผูกพันกับคะแนนเสียงข้างมากปรกติ โดยไม่กำหนดจำนวนขั้นต่ำของผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสียง[3] บรรดากลุ่มและพรรคฝ่ายค้านในสภานิติบัญญัติของแคว้นปฏิเสธที่จะมีส่วนร่วมในสมัยการประชุมดังกล่าวและเรียกร้องให้สมาชิกของตนคว่ำบาตรการออกเสียงในญัตตินี้ ยกเว้นกลุ่ม "กาตาลุญญา ใช่ เป็นไปได้" (Catalunya Sí que es Pot) ที่งดออกเสียงแต่สนับสนุนการลงประชามติแม้จะมองว่าไม่มีผลผูกพันก็ตาม[4]

การลงประชามติเอกราชกาตาลุญญา พ.ศ. 2560
ท่านประสงค์ให้กาตาลุญญาเป็นรัฐเอกราชในรูปแบบสาธารณรัฐหรือไม่?
บัตรออกเสียงที่ฝ่ายบริหารแคว้นกาตาลุญญาตั้งใจจะใช้ในการลงประชามติ เป็นภาษาราชการของแคว้น คือ ภาษากาตาลา, ภาษาสเปน และภาษาอารัน
สถานที่แคว้นกาตาลุญญา ประเทศสเปน
วันที่1 ตุลาคม ค.ศ. 2017 (2017-10-01)
ผล
คะแนน %
แยกตัว 2,044,038 92.01%
คงอยู่ 177,547 7.99%
คะแนนสมบูรณ์ 2,221,585 97.17%
คะแนนไม่สมบูรณ์หรือคะแนนเปล่า 64,632 2.83%
คะแนนทั้งหมด 2,286,217 100.00%
ผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิ/ผู้ออกมาใช้สิทธิ 5,313,564 43.03%
ที่มา: ทบวงการปกครองกาตาลุญญา [1]
ธงสนับสนุนเอกราชในนครบาร์เซโลนา
รอยพ่นสีแสดงการต่อต้านเอกราชในนครบาดาโลนา

กฎหมายลงประชามติดังกล่าวไม่ชอบด้วยธรรมนูญการปกครองตนเองของแคว้นกาตาลุญญาซึ่งกำหนดให้ใช้เสียงข้างมากสองในสามในสภานิติบัญญัติของแคว้นสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับสถานะของกาตาลุญญา[5] ส่วนการลงประชามติเองก็ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญสเปนเช่นกัน[6] ในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560 ศาลรัฐธรรมนูญสเปนมีมติยับยั้งการลงประชามติตามที่สำนักงานอัยการของรัฐได้ร้องขอไป[7] แต่ฝ่ายบริหารของแคว้นกาตาลุญญากล่าวว่าคำสั่งศาลไม่มีผลกับกาตาลุญญา และดำเนินการรวบรวมเสียงสนับสนุนจากเทศบาล 750 แห่ง[8] จากทั้งหมด 948 แห่งในแคว้น[9][10][11] รวมทั้งได้รับการสนับสนุนบางส่วนจากเทศบาลนครบาร์เซโลนา[12] เหตุการณ์เหล่านี้นำไปสู่วิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญสเปนและส่งผลให้มีปฏิบัติการของตำรวจเพื่อหยุดยั้งการลงประชามติ

รัฐบาลสเปนคัดค้านการลงประชามติใด ๆ ที่ว่าด้วยการกำหนดการปกครองด้วยตนเองของกาตาลุญญา[13][14] โดยยืนกรานว่ารัฐธรรมนูญสเปนไม่อนุญาตให้จัดการออกเสียงลงคะแนนว่าด้วยเอกราชไม่ว่าในภูมิภาคใด ๆ ก็ตามในประเทศ และถือว่าการจัดให้มีประชามติเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายหากปราศจากความยินยอมของรัฐบาล[15][16] ซึ่งเป็นการตีความที่คณะกรรมการประกันบทกฎหมายแห่งกาตาลุญญาเห็นชอบเช่นกัน[17] ถึงกระนั้น ฝ่ายบริหารของแคว้นกาตาลุญญาก็ยืนยันว่าการออกเสียงจะยังคงมีขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคม[2] โดยอ้างสิทธิ์ในการกำหนดสถานะการปกครองด้วยตนเอง จนถึงขณะนี้ฝ่ายบริหารของแคว้นได้พยายามหาเสียงสนับสนุนจากนานาชาติแต่ยังไม่สำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดาประเทศหุ้นส่วนของสเปนในยุโรปถือว่าสถานะของกาตาลุญญาเป็นเรื่องภายในของสเปนอย่างเคร่งครัด[18]

ฝ่ายบริหารของแคว้นกาตาลุญญาได้ตั้งเป้าหมายที่จะขัดขวางการดำเนินการตามกฎหมายในนามของรัฐบาลสเปนด้วยการผลักดันกฎหมายการลงประชามติผ่านคะแนนเสียงข้างมากปรกติ (ซึ่งไม่คำนึงถึงสัดส่วน) ในสภานิติบัญญัติของแคว้นเมื่อเดือนกันยายน[18] โดยประกาศว่าจะปฏิบัติตามความถูกต้องตามกฎหมายของ "กาตาลุญญาเท่านั้น" (ต่างกับความถูกต้องตามกฎหมายของสเปนโดยทั่วไป) โซรายา ซาเอนซ์ เด ซานตามาริอา รองนายกรัฐมนตรีสเปน ได้เตือนฝ่ายบริหารของแคว้นล่วงหน้าแล้วว่ารัฐบาลสเปนจะยับยั้งกฎหมายการลงประชามติทันทีที่กฎหมายดังกล่าวผ่านสภานิติบัญญัติของแคว้น[18]

อ้างอิง แก้

  1. "Catalan referendum results" (ภาษาอังกฤษ). Government of Catalonia. 2 October 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-06. สืบค้นเมื่อ 3 October 2017.
  2. 2.0 2.1 Jones, Sam (9 June 2017). "Catalonia calls independence referendum for October". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 9 June 2017.
  3. Jones, Sam (10 September 2017). "Catalans to celebrate their national day with independence protests". Theguardian.com. สืบค้นเมื่อ 18 September 2017.
  4. "Les bases de Podem Catalunya donen suport al referèndum de l'1 d'octubre però no el veuen vinculant". VilaWeb.cat. สืบค้นเมื่อ 2017-09-25. (ในภาษากาตาลา)
  5. https://elpais.com/ccaa/2017/09/06/catalunya/1504677760_128384.html
  6. Duarte, Esteban (11 September 2017). "Catalan Separatists Plot Show of Force in Battle With Madrid". Bloomberg (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 13 September 2017.
  7. El Mundo (7 September 2017). "El Constitucional tumba la Ley del Referéndum y avisa a los alcaldes y a 77 cargos del deber de "impedir" el 1-O" (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 27 September 2017.
  8. "El independentismo inicia su campaña en Tarragona pese a las advertencias del Constitucional". 20minutos.es. สืบค้นเมื่อ 18 September 2017.
  9. "Catalan independence vote divides region's mayors". Reuters.com. 9 September 2017. สืบค้นเมื่อ 18 September 2017.
  10. "Un total de 734 ens catalans ja donen suport al Referèndum de l'1 d'octubre -". Municipisindependencia.cat. สืบค้นเมื่อ 18 September 2017.
  11. "Référendum en Catalogne : 700 maires menacés de poursuites et d'arrestation". Midilibre.fr. สืบค้นเมื่อ 18 September 2017.
  12. Colau, Ada. "Complim el nostre compromís: a Barcelona l'#1oct es podrà participar sense posar en risc institució ni servidors públics". Twitter. สืบค้นเมื่อ 18 September 2017.
  13. "Spanish Government rejects Puigdemont's proposal to hold a binding referendum". Catalan News Agency. 30 September 2016. สืบค้นเมื่อ 2 October 2016.
  14. "Catalan Referendum on Independence 'Not Possible' Says Spain PM". Voice of America. 30 December 2016. สืบค้นเมื่อ 22 January 2017.
  15. Redacción y Agencias (1 February 2017). "El Gobierno no descarta medidas coercitivas para impedir el referéndum". La Vanguardia (ภาษาสเปน). Madrid. สืบค้นเมื่อ 27 March 2017.
  16. Agencia EFE (26 March 2017). "Rajoy ofrece diálogo, pero no admitirá ni el referéndum ni pactos para "violar la ley"". Expansión (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 29 March 2017.
  17. Reino, Cristian (4 March 2017). "El principal órgano consultivo catalán confirma que el referendo sería ilegal". La Voz de Galicia (ภาษาสเปน). Barcelona. สืบค้นเมื่อ 27 March 2017.
  18. 18.0 18.1 18.2 "Catalonia plans to hold an independence vote whether Spain lets it or not". economist.com. 12 July 2017. สืบค้นเมื่อ 12 July 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้