ปฏิบัติการอะนูบิส
ปฏิบัติการอะนูบิส (สเปน: operación Anubis; กาตาลา: operació Anubis) เป็นปฏิบัติการของทหารและตำรวจเพื่อต่อต้านการลงประชามติเอกราชกาตาลุญญาซึ่งมีความพยายามจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560[1] ผลที่ตามมาของปฏิบัติการและสถานการณ์ทางการเมืองที่เกี่ยวข้องในกาตาลุญญาได้ถูกระบุว่าเป็น วิกฤตการณ์กาตาลุญญา[2][3] ภายในสถานการณ์ที่ใหญ่กว่าซึ่งเรียกกันว่า วิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญสเปน พ.ศ. 2560
ปฏิบัติการอะนูบิส | |||
---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ วิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญสเปน พ.ศ. 2560 และขบวนการเอกราชกาตาลุญญา พ.ศ. 2555 – ปัจจุบัน | |||
ฝูงชนประท้วงต่อต้านการจับกุมหน้าสำนักมนตรีเศรษฐกิจของกาตาลุญญาในวันที่ 20 กันยายน | |||
วันที่ | 20 กันยายน พ.ศ. 2560 | ||
สถานที่ | แคว้นปกครองตนเองกาตาลุญญาในประเทศสเปน | ||
เป้าหมาย | หยุดยั้งการลงประชามติเอกราชกาตาลุญญา พ.ศ. 2560 | ||
วิธีการ | ปฏิบัติการตำรวจ | ||
สถานะ | ยังดำเนินอยู่ | ||
คู่ขัดแย้ง | |||
ผู้นำ | |||
หน่วยพิทักษ์พลเรือน (Guardia Civil) ซึ่งเป็นกำลังสารวัตรทหาร (gendarmerie) ของสเปนเริ่มปฏิบัติการเมื่อวันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2560 ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นหมายเลข 13 แห่งบาร์เซโลนา[4] ที่ทำการส่วนราชการต่าง ๆ ของทบวงการปกครองกาตาลุญญาถูกตรวจค้น มีผู้ถูกจับกุม 14 คนซึ่งรวมถึงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ระดับสูง เจ้าหน้าที่ปกครอง และประธานบริหารบริษัทซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการเตรียมจัดการลงประชามติ ในเวลาเดียวกัน โรงพิมพ์หลายแห่งก็ถูกตรวจค้นเพื่อหาบัตรออกเสียงและหีบบัตรออกเสียง[5]
หลังจากการจู่โจมดังกล่าว ผู้คนออกมารวมตัวกันทันทีในบริเวณที่ทำการส่วนราชการต่าง ๆ ของแคว้นเพื่อสนับสนุนเจ้าหน้าที่ที่ถูกจับกุมและประท้วงการบุกค้น[6] ในเช้าวันเดียวกัน ฌอร์ดี ซันเช็ซ อี ปิกัญญ็อล ประธานสมัชชาแห่งชาติกาตาลุญญาซึ่งเป็นองค์การที่สนับสนุนเอกราช เรียกร้องให้มี "การต่อต้านอย่างสันติ" ต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเมื่อถึงวันศุกร์ที่ 22 กันยายน ผู้คนเริ่มรวมกลุ่มกันและปักหลักชุมนุมนอกอาคารต่าง ๆ ของสเปน[7]
การ์ลัส ปุดจ์ดาโมน ประธานทบวงการปกครองกาตาลุญญา กล่าวหาสเปนว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและระบุว่าการลงประชามติจะเกิดขึ้นไม่ว่าอย่างไรก็ตาม[8] ในขณะที่มาเรียโน ราฆอย นายกรัฐมนตรีสเปน ระบุว่าการลงประชามติถูกประกาศว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายและสั่งเคลื่อนย้ายกำลังพลเพิ่มเติมเข้าไปในกาตาลุญญา คาดกันว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารถึง 16,000 นาย กระจายอยู่ตามเมืองต่าง ๆ ของกาตาลุญญาในวันที่ 1 ตุลาคม[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ Hunter, Simon (22 September 2017). "National Police arrive in Barcelona on ferry decorated with Looney Tunes". El País. Barcelona. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-29. สืบค้นเมื่อ 22 September 2017.
- ↑ "The crisis in Catalonia can be ended, but not by trampling on people's legitimate concerns". The Telegraph. 21 September 2017. สืบค้นเมื่อ 27 September 2017.
- ↑ "Escalating Catalonia crisis sours appetite for Spanish stocks". Reuters. Milan/Madrid. 20 September 2017. สืบค้นเมื่อ 27 September 2017.
- ↑ "Liberados siete de los 14 detenidos en la operación Anubis de la Guardia Civil" [Freed seven of the fourteen arrrested during Civil Guard's Operation Anubis]. La Vanguardia (ภาษาสเปน). Barcelona. 21 September 2017. สืบค้นเมื่อ 22 September 2017.
- ↑ Jones, Sam; Burgen, Stephen (21 September 2017). "Spain crisis: 'stop this radicalism and disobedience,' PM tells Catalan leaders". The Guardian. Madrid/Barcelona. สืบค้นเมื่อ 22 September 2017.
- ↑ Stone, Jon (20 September 2017). "Spanish police storm Catalan government buildings to stop independence referendum". Independent (newspaper). Europe correspondent. สืบค้นเมื่อ 22 September 2017.
- ↑ González, Sara; Bes, Jordi (22 September 2017). "Acampada al tribunal" [Camping outside the court]. Nació Digital (ภาษาคาตาลัน). Barcelona. สืบค้นเมื่อ 22 September 2017.
- ↑ Jones, Sam (21 September 2017). "Catalan leader accuses Spain of violating rights in referendum row". The Guardian (newspaper). Barcelona. สืบค้นเมื่อ 22 September 2017.
- ↑ Penty, Charles (21 September 2017). "Spain Hires Cruise Liner to House Police in Rebel Catalonia". Bloomberg News. Barcelona. สืบค้นเมื่อ 22 September 2017.