ประเทศสเปน

ราชอาณาจักรในยุโรปตะวันตกเฉียงใต้

40°N 4°W / 40°N 4°W / 40; -4

ราชอาณาจักรสเปน

Reino de España (สเปน)
ชื่อประเทศในภาษาทางการร่วม[a][b]
คำขวัญปลุสอุลตรา  (ละติน)
"ไกลกว่านั้นอีก"
เพลงชาติมาร์ชาเรอัล  (สเปน)[2]
"เพลงมาร์ชหลวง"
ที่ตั้งของ ประเทศสเปน  (เขียวเข้ม)

– ในยุโรป  (เขียว & เทาเข้ม)
– ในสหภาพยุโรป  (เขียว)

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
มาดริด
40°26′N 3°42′W / 40.433°N 3.700°W / 40.433; -3.700
ภาษาทางการสเปน[c]
สัญชาติ (ค.ศ. 2020)
ศาสนา
(ค.ศ. 2021)[5]
เดมะนิมชาวสเปน
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปน
เปโดร ซันเชซ
มาริตเช็ลย์ บาเต็ต
อันเดร์ ฆิล
การ์โลส เลสเมส
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
ก่อตั้ง
20 มกราคม ค.ศ. 1479
9 มิถุนายน ค.ศ. 1715
19 มีนาคม ค.ศ. 1812
1 เมษายน ค.ศ. 1939 - ค.ศ. 1978
29 ธันวาคม ค.ศ. 1978
1 มกราคม ค.ศ. 1986
พื้นที่
• รวม
505,990[6] ตารางกิโลเมตร (195,360 ตารางไมล์) (อันดับที่ 51)
0.89 (ใน ค.ศ. 2015)[7]
ประชากร
• สำมะโนประชากร 2020
เพิ่มขึ้นเป็นกลาง 47,450,795[8][9][e] (อันดับที่ 30)
94 ต่อตารางกิโลเมตร (243.5 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 120)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2021 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 1.942 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 15)
41,736 ดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 32)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2021 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 1.450 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 13)
31,178 ดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 26)
จีนี (ค.ศ. 2019)positive decrease 33.0[11]
ปานกลาง · อันดับที่ 103
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.904[12]
สูงมาก · อันดับที่ 25
สกุลเงินยูโร[f] () (EUR)
เขตเวลาUTC⁠±0 ถึง +1 (เวลายุโรปตะวันตกและเวลายุโรปกลาง)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+1 ถึง +2 (เวลาออมแสงยุโรปตะวันตกและเวลาออมแสงยุโรปกลาง)
หมายเหตุ: พื้นที่สเปนส่วนใหญ่ใช้เวลายุโรปกลาง ยกเว้นแคว้นกานาเรียสที่ใช้เวลายุโรปตะวันตก
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป (ค.ศ.)
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+34
รหัส ISO 3166ES
โดเมนบนสุด.es[g]

สเปน (อังกฤษ: Spain; สเปน: España, [esˈpaɲa] ( ฟังเสียง)) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรสเปน (อังกฤษ: Kingdom of Spain; สเปน: Reino de España)[a][b] เป็นประเทศทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตั้งอยู่บนคาบสมุทรไอบีเรีย มีพรมแดนติดกับฝรั่งเศสทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวเทือกเขาพิรินี[13] ทางทิศเหนือติดกับอันดอร์รา และอ่าวบิสเคย์ ทางทิศใต้ติดกับยิบรอลตาร์ และทางทิศตะวันตกติดกับโปรตุเกสและมหาสมุทรแอตแลนติก อาณาเขตของสเปนยังรวมถึงกานาเรียสในมหาสมุทรแอตแลนติก หมู่เกาะแบลีแอริกในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน รวมทั้งนครปกครองตนเองได้แก่ เซวตา และ เมลียา และดินแดนโพ้นทะเลบริเวณปลาซัสเดโซเบรานิอา ด้วยพื้นที่ 505,990 ตารางกิโลเมตร[14] สเปนจึงเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปใต้ ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในยุโรปตะวันตกและสหภาพยุโรป และเป็นอันดับ 4 ในทวีปยุโรป และด้วยประชากร 47 ล้านคน สเปนจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 6 ของยุโรป และเป็นอันดับ 4 ในสหภาพยุโรป[15] เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือกรุงมาดริด และมีเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ บาร์เซโลนา, บาเลนเซีย, เซบิยา, ซาราโกซา, มาลากา, มูร์เซีย, ปัลมาเดมาจอร์กา และบิลเบาโอ มีภาษาราชการคือภาษาสเปน ซึ่งเป็นภาษาแม่ที่มีผู้ใช้มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก และมีผู้ใช้มากที่สุดในบรรดากลุ่มภาษาโรมานซ์[16][17][18]

ปรากฎหลักฐานว่าชนเผ่าต่าง ๆ เช่น เคลต์ ไอบีเรียน โรมัน วิซิกอท และ มัวร์ เข้ามาตั้งรกรากในบริเวณคาบสมุทรไอบีเรียตั้งแต่สมัยโบราณ[19] ต่อมา ชาวเมดิเตอร์เรเนียน เช่น ฟินิเชีย และ กรีก ได้เข้ามาตั้งรกรากและทำการค้าบริเวณริมชายฝั่ง และชาวฟินิเซียตะวันตกได้ยึดครองบริเวณนี้ในช่วงเวลาสั้น ๆ และตั้งแต่ 218 ปีก่อนคริสต์ศักราช การล่าอาณานิคมของชาวโรมันในฮิสเปเนียได้เริ่มต้นขึ้น พวกเขาครอบครองดินแดนของสเปนในระยะเวลาอันรวดเร็ว และขับไล่ชาวฟินิเซียออกจากอาณาเขตในช่วง 206 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวโรมันได้ทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่ารวมถึงภาษา ศาสนา กฎหมาย และการเมืองการปกครองเอาไว้ ฮิสเปเนียยังเป็นแหล่งกำเนิดของจักรพรรดิโรมัน เช่น จักรพรรดิตรายานุส และ ฮาดริอานุส[20] ฮิสปาเนียยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของโรมันจนกระทั่งการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในศตวรรษที่ 5 ในช่วงเวลานี้ บริเวณคาบสมุทรถูกปกครองโดยกลุ่มชาติพันธุ์โบราณต่าง ๆ เช่น แวนดัล, วิซิกอท และ อลันส์ ในขณะที่ส่วนหนึ่งของชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตกเป็นของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ก่อนที่ราชอาณาจักรวิซิกอทจะขึ้นมาเรืองอำนาจในบริเวณนี้

ในยุคกลาง อาณาจักรวิซิกอทถูกรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์รุกราน ส่งผลให้พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การปกครองของชาวมุสลิมเป็นเวลากว่า 700 ปี ในช่วงเวลานั้น อัลอันดะลุสได้กลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าตั้งแต่ศตวรรษที่ 8 โดยมีกอร์โดบาเป็นเมืองที่มีความมั่งคั่งมากที่สุดในยุโรป และอาณาจักรของชาวคริสเตียนยังได้ถือกำเนิดขึ้น เช่น เลออน, กัสติยา, อารากอน, นาวาร์ และโปรตุเกส ชาวมัวร์ยังคงหลงเหลืออยู่ในคาบสมุทรไอบีเรียจนกระทั่งใน ค.ศ. 1492 ซึ่งเป็นปีที่ราชอาณาจักรกัสติยาและอารากอนสามารถขับไล่ชาวมัวร์ออกไปได้สำเร็จหลังจากเกิดกระบวนการพิชิตดินแดนคืนที่ยาวนานถึง 770 ปี[21] การรวมราชวงศ์ครั้งใหม่ระหว่างราชบัลลังก์กัสติยาและราชบัลลังก์อารากอนถือเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งสเปนในฐานะประเทศ

ในยุคแห่งการสำรวจระหว่างศตวรรษที่ 15 ถึง 17 จักรวรรดิสเปนได้กลายเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก โดยแผ่ขยายข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกไปยังหมู่เกาะฟิลิปปินส์ และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการค้าด้วยโลหะมีค่า การปฏิรูปราชวงศ์บูร์บงในศตวรรษที่ 18 รวมอำนาจการปกครองไว้บนแผ่นดินใหญ่ของสเปน[22] ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม เช่น ศิลปะ วรรณกรรม อาหาร สถาปัตยกรรม และดนตรี เรียกว่ายุคทองของสเปนซึ่งขยายอิทธิพลไปทั่วโลก และส่งผลต่อวิถีชีวิตของผู้คนในยุโรปตะวันตกและทวีปอเมริกามาถึงปัจจุบัน ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและสังคมส่งผลให้สเปนกลายเป็นประเทศที่มีอำนาจมากที่สุดในยุโรป และขึ้นชื่อในด้านการล่าอาณานิคม แม้สเปนจะได้รับชัยชนะในสงครามคาบสมุทรในศตวรรษที่ 19 ทว่าความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างฝ่ายเสรีนิยมและสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม นำไปสู่ความเป็นอิสระของประเทศอาณานิคมส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกา ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 สเปนมีการปกครองด้วยระบอบเผด็จการภายใต้การนำของฟรังโก ความขัดแย้งยังคงยืดเยื้อจนนำไปสู่สงครามกลางเมือง ก่อนที่ระบอบฟรังโกจะสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1975 ระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจของประเทศได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง ปัจจุบันสเปนกลายเป็นรัฐโลกวิสัยซึ่งปกครองโดยพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญและรัฐสภา ที่มาจากการเลือกตั้งนับตั้งแต่มีการผ่านรัฐธรรมนูญเมื่อ ค.ศ. 1978

สเปนเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีรายได้ต่อหัวของประชากรสูง[23] โดยมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 15 ของโลกทั้งในด้านผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ สเปนเป็นประเทศที่มีอัตราการคาดหมายคงชีพสูง และยังมีระบบสาธารณสุขที่มีคุณภาพติดอันดับโลก โดยขึ้นชื่อในด้านการปลูกถ่าย และการบริจาคอวัยวะ[24] สเปนเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ, สหภาพยุโรป, ยูโรโซน, สภายุโรป, องค์การรัฐไอบีโร-อเมริกา, สหภาพเพื่อเมดิเตอร์เรเนียน, องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ, องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา, องค์การเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป, เขตเชงเกน และ องค์การการค้าโลก สเปนยังมีแหล่งมรดกโลกมากที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก และมีนักท่องเที่ยวมากเป็นอันดับ 3 ของโลก และเป็นจุดหมายยอดนิยมของนักศึกษาแลกเปลี่ยนในโครงการเอรัสมุส

ภูมิศาสตร์

แก้
 
แผนที่ประเทศสเปน

ประเทศสเปนมีเนื้อที่ 505,955 ตารางกิโลเมตร (194,884 ตารางไมล์)[25] มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 51 ของโลก (รองจากประเทศไทย) มีขนาดพอ ๆ กับประเทศเติร์กเมนิสถาน และค่อนข้างจะใหญ่กว่ารัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐ โดยนอกจากจะมีพื้นที่บนคาบสมุทรไอบีเรียแล้ว อาณาเขตของประเทศยังรวมไปถึงหมู่เกาะแบลีแอริกในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน กานาเรียสในมหาสมุทรแอตแลนติก เมืองเซวตา และเมืองเมลียา ในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ (สเปนจึงมีอาณาเขตติดต่อกับโมร็อกโกด้วย) และเกาะเล็ก ๆ เป็นจำนวนมากที่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ทางด้านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของช่องแคบยิบรอลตาร์ ที่เรียกว่า ปลาซัสเดโซเบรานิอา (Plazas de soberanía) เช่น เกาะชาฟารีนัส เกาะอัลโบรัง โขดหินเบเลซเดลาโกเมรา โขดหินอาลูเซมัส และเกาะเปเรฆิล ทางทิศเหนือในแนวเทือกเขาพิรินี เมืองเล็ก ๆ ที่เป็นดินแดนส่วนแยก (exclave) ชื่อ ยิบิอา (Llívia) ในแคว้นกาตาลุญญา มีดินแดนประเทศฝรั่งเศสล้อมรอบอยู่

ที่ตั้ง

แก้

ประเทศสเปน (แผ่นดินใหญ่) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรปบนคาบสมุทรไอบีเรีย

เขตแดน

แก้
 
เขาอาเนโตในเทือกเขาพิรินี
 
หาดอาฆุย (Ajui) บนเกาะฟูเอร์เตเบนตูรา แคว้นกานาเรียส
  • เขตแดนทางบก:

ทั้งหมด: 1,917.8 กิโลเมตร

ประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อ: อันดอร์รา 63.7 กิโลเมตร, ฝรั่งเศส 623 กิโลเมตร, ยิบรอลตาร์ 1.2 กิโลเมตร, โปรตุเกส 1,214 กิโลเมตร, โมร็อกโก (เซวตา) 6.3 กิโลเมตร, โมร็อกโก (เมลียา) 9.6 กิโลเมตร

  • ชายฝั่งทะเล:

4,964 กิโลเมตร

  • การอ้างสิทธิ์ทางทะเล:

เขตนอกน่านน้ำอาณาเขต: 24 ไมล์ทะเล (44 กิโลเมตร)

เขตเศรษฐกิจจำเพาะ: 200 ไมล์ทะเล (370 กิโลเมตร) (เฉพาะในมหาสมุทรแอตแลนติก)

ทะเลอาณาเขต: 12 ไมล์ทะเล (22 กิโลเมตร)

  • ระดับความสูง:

จุดต่ำสุด: มหาสมุทรแอตแลนติก 0 เมตร

จุดสูงสุด: ยอดเขาเตย์เด (Pico del Teide) ในแคว้นกานาเรียส สูง 3,718 เมตร หมายเหตุ ภูเขาที่สูงที่สุดในภาคพื้นทวีปของสเปนคือ มูลาเซน (Mulhacén) ในจังหวัดกรานาดา แคว้นอันดาลูซิอา สูง 3,481 เมตร

ลักษณะภูมิประเทศ

แก้
 
แผนที่คาบสมุทรไอบีเรีย แสดงแผ่นดินใหญ่ประเทศสเปนและหมู่เกาะแบลีแอริก

แผ่นดินใหญ่ของประเทศสเปนมีลักษณะเด่นคือ เป็นที่ราบสูงและแนวภูเขา เช่น เทือกเขาพิรินี ซิเอร์ราเนบาดา โดยมีแม่น้ำสายหลักหลายสายที่ไหลจากบริเวณที่สูงเหล่านี้ ได้แก่ แม่น้ำเทกัส (Tagus) แม่น้ำเอโบร (Ebro) แม่น้ำโดรู (Duero) แม่น้ำกัวเดียนา (Guadiana) และแม่น้ำกัวดัลกิบีร์ (Guadalquivir)

ส่วนที่ราบตะกอนน้ำพาพบได้ทั่วไปตามชายฝั่งทะเล โดยที่มีใหญ่ที่สุดได้แก่ ที่ราบตะกอนน้ำพาของแม่น้ำกวาดัลกีวีร์ในแคว้นอันดาลูซิอา ส่วนในภาคตะวันออกจะมีที่ราบชนิดนี้บริเวณแม่น้ำขนาดกลาง เช่น แม่น้ำเซกูรา (Segura) แม่น้ำฆูการ์ (Júcar) แม่น้ำตูเรีย (Turia) เป็นต้น

ลักษณะภูมิอากาศ

แก้

เนื่องจากตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศสเปนเอง ที่ส่วนเหนือนั้นอยู่ในทิศทางของกระแสลมกรด รวมทั้งสภาพพื้นที่และภูเขา จึงทำให้ภูมิอากาศของประเทศนี้มีความหลากหลายเป็นอย่างมาก โดยแบ่งหยาบ ๆ ได้ตามบริเวณต่าง ๆ ต่อไปนี้ ภูมิอากาศ ตั้งอยู่ในเขตอบอุ่น แต่เนื่องจากลักษณะของภูมิประเทศเป็นพื้นที่สูงๆ ต่ำๆ อากาศของภูมิภาคต่างๆ จึงมีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพของภูมิประเทศ เช่น ภาคเหนือ มีสภาพอากาศของริมฝั่งทะเล ซึ่งโดยปกติในฤดูหนาวไม่หนาวจัด และเย็นสบายในฤดูร้อน แต่เป็นภาคที่ฝนตกฉุกและมีความชื้นสูง ส่วนภาคกลาง และภาคใต้ สภาพอากาศแห้ง ฝนตกน้อย ในฤดูร้อนอากาศร้อนจัด แต่ในฤดูหนาวไม่หนาวจัด

  • เขตภูมิอากาศหนาวแบบชื้นภาคพื้นทวีป ได้แก่บริเวณพื้นที่ตอนในของคาบสมุทร เมืองใหญ่ในเขตนี้ ได้แก่ มาดริด ( เขตภูมิอากาศนี้เป็นส่วนน้อยของประเทศสเปน )
  • เขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน กินพื้นที่ตั้งแต่ที่ราบอันดาลูซิอาตามชายฝั่งทางใต้และตะวันออก เมืองใหญ่ในเขตนี้ ได้แก่ บาร์เซโลนา
  • เขตภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทร ได้แก่บริเวณแคว้นกาลิเซียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และชายฝั่งทะเลกันตาเบรีย (อ่าวบิสเคย์) ซึ่งมักเรียกบริเวณนี้ว่า "สเปนเขียว (Green Spain)" เมืองใหญ่ในเขตนี้ ได้แก่ บิลเบา

และสามารถแบ่งเขตภูมิอากาศได้อย่างละเอียดดังต่อไปนี้

  • ชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนเหนือและตะวันออก (กาตาลุญญา บาเลนเซียภาคเหนือ และหมู่เกาะแบลีแอริก): ฤดูร้อนมีอากาศอบอุ่นจนถึงร้อนจัด สัมพันธ์กับอากาศที่อบอุ่นจนถึงเย็นในฤดูหนาว มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 600 มิลลิเมตรต่อปี[ต้องการอ้างอิง] ถือเป็นเขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน
  • ชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกเฉียงใต้ (อาลิกันเต มูร์เซีย และอัลเมริอา): ฤดูร้อนมีอากาศร้อน ส่วนในฤดูหนาวมีอากาศอบอุ่นจนถึงเย็น กาโบเดกาตา (ได้รับรายงานว่าเป็นสถานที่ที่มีอากาศแห้งที่สุดในยุโรป[ต้องการอ้างอิง]) มีอากาศแห้งมากและกึ่งทะเลทรายอย่างแท้จริง ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมามีเพียง 150 มิลลิเมตรต่อปี[ต้องการอ้างอิง] ส่วนใหญ่พื้นที่นี้จึงถูกจัดอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบกึ่งแห้งแล้งตามเกณฑ์ปริมาณน้ำฝน
  • ชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนใต้ (พื้นที่มาลากาและชายฝั่งของกรานาดา): ฤดูร้อนมีอากาศอบอุ่น ฤดูหนาวอากาศเย็นสบายไม่หนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 20 องศาเซลเซียสและมีอากาศชื้น[ต้องการอ้างอิง] มีลักษณะใกล้เคียงภูมิอากาศแบบกึ่งโซนร้อน
  • หุบเขากวาดัลกีวีร์ (เซบิยาและกอร์โดบา): ฤดูร้อนมีอากาศแห้งและร้อนจัด ส่วนในฤดูหนาวมีอากาศเย็นสบายไม่หนาวจัด
  • ชายฝั่งแอตแลนติกตะวันตกเฉียงใต้ (กาดิซและอวยลวา): ทั้งฤดูร้อนและฤดูหนาวมีอากาศค่อนข้างสบาย ไม่รุนแรง อากาศชื้น
  • ที่ราบสูงภายใน: ฤดูหนาวอากาศหนาว (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระดับความสูงของพื้นที่) ฤดูร้อนอากาศร้อน มีลักษณะใกล้เคียงภูมิอากาศแบบภาคพื้นทวีป และถือว่ามีอากาศแห้ง (ปริมาณฝนเฉลี่ยประจำปี 400-600 มิลลิเมตร[ต้องการอ้างอิง])
  • หุบเขาเอโบร (ซาราโกซา): ฤดูร้อนมีอากาศร้อนจัด ส่วนฤดูหนาวมีอากาศหนาวเย็น ใกล้เคียงกับภูมิอากาศแบบภาคพื้นทวีปเช่นกัน ถือว่ามีอากาศแห้งตามเกณฑ์ปริมาณน้ำฝน
  • ชายฝั่งแอตแลนติกเหนือ หรือ "สเปนเขียว" (กาลิเซีย อัสตูเรียส ชายฝั่งบาสก์): อากาศชื้นมาก (ปริมาณฝนเฉลี่ยประจำปี 1,000 มิลลิเมตร และบางจุดมากกว่า 1,200 มิลลิเมตร[ต้องการอ้างอิง]) ส่วนฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัดและฤดูหนาวอากาศเย็นสบาย มักจัดอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทร
  • เทือกเขาพิรินี: โดยรวมมีอากาศชื้น ฤดูร้อนมีอากาศเย็น ส่วนในฤดูหนาวมีอากาศหนาวเย็น จุดสูงสุดของเทือกเขามีภูมิอากาศแบบแอลป์
  • กานาเรียส: เป็นเขตภูมิอากาศแบบกึ่งโซนร้อนตามเงื่อนไขของอุณหภูมิ โดยมีอากาศไม่หนาวจัดและค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี (18-24 องศาเซลเซียส; 64-75 องศาฟาเรนไฮต์) โดยในหมู่เกาะทางตะวันออกมีอากาศแบบทะเลทราย ส่วนในหมู่เกาะทางตะวันตกจะมีอากาศชื้น จากการศึกษาของโทมัส วิตมอร์ (Thomas Whitmore) หัวหน้าการวิจัยทางภูมิอากาศวิทยาที่มหาวิทยาลัย Syracuse สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า เมืองลัสปัลมัสเดกรันกานาเรีย (Las Palmas de Gran Canaria) มีภูมิอากาศที่ดีที่สุดในโลก[ต้องการอ้างอิง]

ประวัติศาสตร์

แก้

ยุคก่อนประวัติศาสตร์และก่อนโรมัน

แก้

หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์แรกสุดของมนุษย์วานรโฮมินิดส์ที่อาศัยอยู่ในยุโรปถูกค้นพบที่ถ้ำอาตาปูเอร์กา (Atapuerca) ในสเปน ซึ่งกลายเป็นกุญแจสำคัญของการศึกษาบรรพชีวินวิทยาของโลก เนื่องจากได้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุประมาณ 1 ล้านปีที่นั่นด้วย[26]

มนุษย์สมัยใหม่พวกโคร-มาญงได้เริ่มเข้ามาในคาบสมุทรไอบีเรียจากทางเหนือของเทือกเขาพิรินีเมื่อ 35,000 ปีมาแล้ว สัญลักษณ์ที่โดดเด่นของการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์คือ ภาพวาดที่มีชื่อเสียงในถ้ำอัลตามีราทางภาคเหนือ เขียนขึ้นเมื่อ 15,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช และได้รับการยกย่องร่วมกับภาพเขียนที่ปรากฏในถ้ำลาสโก ประเทศฝรั่งเศส ในฐานะตัวอย่างที่ดีเยี่ยมของจิตรกรรมถ้ำ

วัฒนธรรมเมืองแรกเริ่มสุดที่ถูกอ้างถึงในเอกสารได้แก่ เมืองกึ่งโบราณทางภาคใต้ที่มีชื่อว่า ตาร์เตสโซส (Tartessos) มีอายุประมาณก่อน1,100 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ ชาวฟีนิเชีย กรีก และคาร์เทจที่ท่องไปตามท้องทะเลได้เข้ามาตั้งหลักแหล่งตามชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนหลายครั้งและได้ตั้งอาณานิคมการค้าขึ้นที่นั่นอยู่เป็นเวลาหลายศตวรรษ

ประมาณ 1,100 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ พ่อค้าชาวฟีนิเชียได้มาตั้งสถานีการค้าที่เมืองกาดีร์ (ปัจจุบันคือเมืองกาดิซ) ใกล้กับตาร์เตสโซส ในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช นิคมชาวกรีกแห่งแรก ๆ เช่น เอมโพเรียน (เอมปูเรียสในปัจจุบัน) เป็นต้น เกิดขึ้นตามชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออก ส่วนชายฝั่งทางใต้เป็นนิคมฟีนิเชีย

เมื่อถึง 600 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ ชาวคาร์เทจได้มาถึงไอบีเรียขณะที่เกิดการต่อสู้กับชาวกรีก (และชาวโรมันในเวลาต่อมา) เพื่อควบคุมบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตก อาณานิคมคาร์เทจที่สำคัญที่สุดคือ คาร์ทาโกโนวา (Carthago Nova) ซึ่งเป็นชื่อภาษาละตินของเมืองการ์ตาเฆนาในปัจจุบัน ชาวคาร์เทจได้ครอบครองชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนเป็นเวลาสั้น ๆ ในช่วงสงครามพิวนิก จนกระทั่งถูกชาวโรมันพิชิตและขับไล่ออกไปในที่สุด[27]

ชนพื้นเมืองที่ชาวโรมันพบขณะที่ขยายอำนาจเข้าไปในบริเวณสเปนปัจจุบันนั้น คือพวกไอบีเรียน (Iberians) อาศัยอยู่ตั้งแต่ส่วนตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรตลอดจนถึงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพวกเคลต์ (Celts) ที่ส่วนใหญ่ตั้งหลักแหล่งอยู่ทางเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทร ส่วนทางตอนในซึ่งเป็นที่ที่ชนทั้งสองกลุ่มได้เข้ามาติดต่อกัน ได้เกิดกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมแบบผสมและเป็นลักษณะเฉพาะตัว คือ เคลติเบเรียน (Celtiberian)

การรุกรานของจักรวรรดิโรมันและชาวเยอรมัน

แก้
 
โรงละครโรมันในเมืองเมรีดา

ชาวโรมันเข้ามาในคาบสมุทรไอบีเรียระหว่างสงครามพิวนิกครั้งที่ 2 เมื่อ 200 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ ผนวกดินแดนนี้ให้อยู่ภายใต้อำนาจของจักรพรรดิออกุสตุส หลังจากสงครามผ่านไปสองศตวรรษ ดินแดนของพวกไอบีเรียน เคลต์ กรีก ฟีนิเชีย และคาร์เทจ ได้กลายเป็นมณฑลฮิสปาเนีย ของจักรวรรดิโรมัน

ชาวโรมันได้พัฒนาส่งเสริมเมืองที่มีอยู่ก่อนแล้วในบริเวณนี้ เช่น ลิสบอน (โอลิสซีโป) และตาร์ราโกนา (ตาร์ราโก) และได้ตั้งเมืองซาราโกซา (ไกซาร์เรากุสตา) เมรีดา (เอากุสตาเอเมรีตา) และบาเลนเซีย (วาเลนเตีย)[28] เศรษฐกิจของคาบสมุทรไอบีเรียขยายตัวขึ้นภายใต้การปกครองของโรมัน โดยฮิสปาเนียมีหน้าที่จัดส่งอาหาร น้ำมันมะกอก ไวน์ และโลหะให้กับโรม

ภาษาต่าง ๆ ของสเปนในปัจจุบันรวมทั้งศาสนาและข้อกฎหมายพื้นฐานต่างมีจุดกำเนิดในช่วงสมัยนี้ เป็นเวลาหลายศตวรรษที่การปกครองและการตั้งถิ่นฐานของโรมันอย่างไม่ขาดสายนั้นได้ทิ้งร่องรอยหยั่งลึกและทนทานไว้ในวัฒนธรรมสเปน

จักรวรรดิโรมันปกครองฮิสปาเนียอยู่ประมาณ 500 ปี เมื่อโรมันเสื่อมลง อนารยชนพวกแรกก็เริ่มเข้ารุกรานสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชนเผ่ากอธ วิสิกอธ ซูเอบี อาลัน อัสดิง และแวนดัลได้ข้ามแนวเขาพิรินีเข้ามา ชนเผ่าเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นต้นกำเนิดชาติพันธุ์เยอรมัน เหตุการณ์นี้นำไปสู่การก่อตั้งราชอาณาจักรซูเอบีในกัลไลเคียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และราชอาณาจักรวิซิกอทในส่วนที่เหลือ ภายหลังวิซิกอทซึ่งเป็นคริสเตียนได้ขยายอำนาจครอบคลุมคาบสมุทรไอบีเรียทั้งหมดไว้ได้และปกครองประมาณ 200 ปี อาร์ชรูปเกือกม้า (horseshoe arch) ที่มีชื่อเสียงและได้รับการดัดแปลงและปรับปรุงให้ดีขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์โดยชาวมุสลิมในสมัยหลังนั้นเป็นตัวอย่างดั้งเดิมของศิลปะวิซิกอท (Visigothic art)

สเปนมุสลิม

แก้
 
ยุคของจักรวรรดิอิสลาม

ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 (ค.ศ. 711-718) กลุ่มคนที่พูดภาษาอาหรับจากแอฟริกาเหนือที่เรียกว่า มัวร์ (Moors) ได้เข้ายึดครองไอบีเรียอย่างรวดเร็วและปกครองอยู่เป็นเวลาถึง 800 ปี กลุ่มนี้เป็นชาวมุสลิม ดังนั้นสเปนมุสลิมจึงเป็นส่วนที่อยู่ทางตะวันตกไกลที่สุดของเขตอารยธรรมอิสลาม มีเพียงสามแคว้นเล็ก ๆ ทางภาคเหนือของสเปนเท่านั้นที่ยังมีเอกราชเป็นของตนเอง ได้แก่ อัสตูเรียส นาวาร์ และอารากอน[29] ซึ่งได้กลายเป็นราชอาณาจักรไปภายหลัง

 
ภายในมัสยิดเมซกีตามัสยิดแห่งกอร์โดบาร์ (Mezquita) ที่เมืองกอร์โดบา

อารยธรรมอิสลามนี้มีความก้าวหน้าในด้านสถาปัตยกรรมและการวางผังเมือง ชาวมัวร์ที่มีฐานะค่อนข้างร่ำรวยเนื่องจากควบคุมการค้าทองคำที่มาจากจักรวรรดิกานาในแอฟริกาตะวันตกได้สร้างสิ่งก่อสร้างสวยงามขึ้นมากมาย โดยเฉพาะในแคว้นอันดาลูซิอาทางภาคใต้ของประเทศ เราจะพบเห็นสิ่งก่อสร้างของพวกมุสลิมที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในแคว้นนี้หลายแห่ง ส่วนภายนอกเขตเมือง ระบบการถือครองที่ดินในสมัยโรมันยังคงดำรงอยู่ไม่สลายไป เนื่องจากผู้ปกครองชาวมุสลิมไม่ได้เข้ามาข้องเกี่ยวมากนัก พืชผลและวิธีการใหม่ ๆ ทำให้เกษตรกรรมขยายพื้นที่ออกไปมากอย่างน่าทึ่ง

การค้าและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในแถบเมดิเตอร์เรเนียนเฟื่องฟูขึ้นในสมัยนี้ ชาวมุสลิมได้นำภูมิปัญญาต่าง ๆ ทั้งจากตะวันออกกลางและจากแอฟริกาเหนือเข้ามา นักปราชญ์ชาวมุสลิมและชาวยิวมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูและแผ่ขยายวัฒนธรรมยุคคลาสสิกในยุโรปตะวันตก เกิดการปะทะสังสรรค์ของวัฒนธรรมโรมันกับวัฒนธรรมยิวและมุสลิมในแนวทางที่ซับซ้อน ทำให้สเปนมีวัฒนธรรมที่มีลักษณะแตกต่างออกไป[30]

ภายใต้การปกครองของชาวมุสลิม ชาวยิวและชาวคริสต์มีเสรีภาพในการนับถือและประกอบพิธีทางศาสนา แต่ก็มีการแบ่งแยกกันอยู่บ้าง อย่างไรก็ตาม หลังจากเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 11 เป็นต้นไป ภาคเหนือและภาคกลางของไอบีเรียก็กลับไปอยู่ในการปกครองของชาวคริสต์อีกครั้ง

การพิชิตดินแดนคืนและการรวมอาณาจักร

แก้
 
พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอนและสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา

หลังจากการรุกรานของชาวมัวร์ 11 ปี ช่วงเวลาอันยาวนานในการขยายตัวของอาณาจักรคริสต์ที่เรียกว่า การพิชิตดินแดนคืน (Reconquista) ก็ได้เริ่มต้นในปี ค.ศ. 722 (พ.ศ. 1265) ด้วยความพ่ายแพ้ของพวกมุสลิมในยุทธการที่โกบาดองกา (Battle of Covadonga) และการก่อตัวของอาณาจักรอัสตูเรียส ต้นปี ค.ศ. 739 (พ.ศ. 1282) กองกำลังของมุสลิมของถูกผลักดันออกไปจากกาลิเซียซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองซานเตียโกเดกอมโปสเตลา (Santiago de Compostela) หนึ่งในสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของศาสนาคริสต์ในยุคกลาง[31]

และในไม่ช้า พื้นที่ภูเขาทางตอนเหนือและรอบ ๆ เมืองบาร์เซโลนาก็ถูกกองกำลังท้องถิ่นและกองกำลังของพวกแฟรงก์เข้ายึดได้และกลายเป็นฐานที่มั่นของชาวคริสต์ในสเปน รวมทั้งการยึดเมืองโตเลโดทางภาคกลางได้ในปี ค.ศ. 1085 (พ.ศ. 1628) ทำให้ส่วนครึ่งเหนือของสเปนเป็นของชาวคริสต์ทั้งหมด

พอถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 จักรวรรดิมุสลิมภายใต้ราชวงศ์อัลโมราวิด (Almoravid) ซึ่งเคยขยายอาณาเขตไปได้ไกลถึงเมืองซาราโกซาก็เริ่มแตกแยก ที่มั่นต่าง ๆ ของชาวมัวร์ที่เคยแข็งแกร่งทางภาคใต้ก็ตกเป็นของชาวคริสต์สเปน เช่น เมืองกอร์โดบาถูกยึดได้ในปี ค.ศ. 1236 (พ.ศ. 1779) เมืองเซบิยาถูกยึดได้ในปี ค.ศ. 1248 (พ.ศ. 1791) เป็นต้น[32] จากนั้นไม่กี่ปี ดินแดนเกือบทั้งหมดในคาบสมุทรไอบีเรียก็ถูกพิชิตกลับคืนมาได้สำเร็จ ยกเว้นอยู่เพียงเมืองกรานาดาเท่านั้นที่ยังคงเป็นดินแดนแทรกของพวกมุสลิม

ในปี ค.ศ. 1478 (พ.ศ. 2021) พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 5 แห่งกัสติยาทรงสนับสนุนให้ก่อตั้งศาลศาสนาสเปน (Spanish Inquisition) และในปี ค.ศ. 1479 (พ.ศ. 2022) เมื่อพระองค์ (ซึ่งทรงราชาภิเษกสมรสและครองราชอาณาจักรกัสติยาร่วมกับสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1469) ได้ทรงขึ้นครองราชบัลลังก์ที่ราชอาณาจักรอารากอนสืบต่อจากพระราชบิดา (และทรงพระนามใหม่ว่าพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน) อาณาจักรคริสต์ทั้งสองแห่งจึงได้รวมเข้าด้วยกัน

จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1492 (พ.ศ. 2035) กัสติยาและอารากอนสามารถยึดกรานาดา ดินแดนแห่งสุดท้ายของชาวมัวร์ในไอบีเรียได้สำเร็จ โบอับดิล (Boabdil) เจ้าชายมัวร์องค์สุดท้ายแห่งกรานาดายอมแพ้ต่อพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 ในวันที่ 2 มกราคม โดยสนธิสัญญากรานาดา[33] ได้ยืนยันการผ่อนปรนทางศาสนาต่อชาวมุสลิม ในขณะที่ชาวยิวกว่า 2 แสนคนในสเปนถูกขับไล่[34] ออกไปในปีเดียวกันนั้นเอง

ในปีเดียวกัน (1492) สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 ก็ทรงสนับสนุนให้คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสเดินเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปทางทิศตะวันตก ซึ่งโคลัมบัสก็ได้ค้นพบโลกใหม่ (New World) ได้แก่ เกาะต่าง ๆ ในทะเลแคริบเบียนรวมทั้งดินแดนอื่น ๆ ในอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ตามสนธิสัญญาตอร์เดซิยัส (Treaty of Tordesillas) ในปี ค.ศ. 1494 โลกได้ถูกแบ่งเป็นสองส่วนระหว่างโปรตุเกสและกัสติยาโดยมีแนวเหนือ-ใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นเส้นแบ่ง

เมื่อยึดครองกรานาดาได้สำเร็จ และยึดครองนาวาร์ได้ในปี ค.ศ. 1512 (พ.ศ. 2055) แล้ว คำว่า สเปน (Spain; España) ก็เริ่มถูกนำมาใช้เพื่อเรียกชื่อของราชอาณาจักรที่รวมกันใหม่นี้[35]

สู่ตำแหน่งมหาอำนาจของโลก

แก้

การรวมเป็นหนึ่งเดียวของอาณาจักรกัสติยา เลออน อารากอน และนาวาร์ได้วางรากฐานให้กับการเกิดสเปนสมัยใหม่และจักรวรรดิสเปน (Spanish Empire) สเปนกลายเป็นผู้นำอำนาจของยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 17 เนื่องมาจากการปรับปรุงด้านการเมือง สังคม และการทหารในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 การขยายตัวของผลผลิตที่ได้จากเหมืองแร่เงินในทวีปอเมริกาในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็ยิ่งเสริมตำแหน่งมหาอำนาจให้มั่นคงขึ้นอีก

 
เรือแกลเลียน (galleon) กลายเป็นสิ่งที่สื่อความหมายถึงความมั่งคั่งของจักรวรรดิสเปน

ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ระหว่างรัชสมัยที่ยาวนานของกษัตริย์สเปนแห่งราชวงศ์ฮาพส์บวร์คสองพระองค์ (พระเจ้าชาลส์ที่ 1 และพระเจ้าฟิลิปที่ 2) สเปนก็ได้ก้าวขึ้นมาถึงจุดสูงสุด โดยได้ส่งทหารและพ่อค้าจำนวนมากเข้าไปในทวีปอเมริกาเพื่อยึดครองดินแดนต่าง ๆ ในทวีปแห่งนั้นมาเป็นของตน มีอาณานิคมมากมายในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ตั้งแต่ชิลี อาร์เจนตินา ไปจนถึงเม็กซิโก บางรัฐของสหรัฐในปัจจุบัน (ซึ่งได้แก่ ฟลอริดา แคลิฟอร์เนีย แอริโซนา นิวเม็กซิโก เท็กซัส รวมทั้งบางส่วนของโอคลาโฮมา โคโลราโด และไวโอมิง) การพิชิตจักรวรรดิต่าง ๆ และนำของมีค่ากลับมา ทำให้สเปนกลายเป็นประเทศที่ร่ำรวยมาก โดยได้ครอบครองดินแดนเหล่านั้นอยู่เป็นเวลานานกว่า 300 ปี นอกจากนี้จักรวรรดิสเปนยังมีอาณานิคมในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ในมหาสมุทรแปซิฟิก และได้ครอบครองจักรวรรดิโปรตุเกส อิตาลีตอนใต้ ซิซิลี บางส่วนของเยอรมนี เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก และเนเธอร์แลนด์ จักรวรรดิสเปนเป็นจักรวรรดิแห่งแรกที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น จักรวรรดิที่พระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน (The empire on which the sun never sets)

ช่วงนี้เป็นยุคแห่งการค้นพบ (Age of Discovery) มีการสำรวจดินแดนใหม่ การเปิดเส้นทางการค้าข้ามมหาสมุทร การยึดครองดินแดน และเป็นจุดเริ่มต้นของลัทธิจักรวรรดินิยมในทวีปยุโรป พร้อม ๆ กับการนำเข้าโลหะ เครื่องเทศ พืชเกษตรใหม่ที่มีค่านั้น นักสำรวจชาวสเปนและพ่อค้าได้นำความรู้ติดตัวกลับมาด้วย ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงความคิดความเข้าใจของชาวยุโรปที่มีต่อโลกในเวลาต่อมา[36]

ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 17 นี้ยังเป็นช่วงแห่งความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปะและอักษรศาสตร์ในจักรวรรดิสเปน จึงเรียกว่าเป็นยุคทองของสเปน (Spanish Golden Age)

การเสื่อมอำนาจของสเปนในยุโรป

แก้
 
พระเจ้าฟิลิปที่ 5 แห่งสเปน

"การเสื่อมลงของสเปน" เป็นไปอย่างช้า ๆ เริ่มต้นในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยมีปัจจัยมาจากการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม แต่ประเด็นหลักคือความตึงเครียดเกี่ยวกับกำลังทหาร เป็นเวลานานที่กองทัพสเปนสามารถป้องกันไม่ให้จักรวรรดิฮาพส์บวร์คแตกแยกกระจัดกระจายได้ แต่ในที่สุดความเข้มแข็งนี้ก็พังทลายลง เมื่อสเปนต้องเสียเนเธอร์แลนด์ไปหลังจากสิ้นสุดสงครามสามสิบปี (Thirty Years War) และเมื่อถึงปี ค.ศ. 1640 (พ.ศ. 2183) ความปราชัยของสเปนครั้งสำคัญก็คือ การเสียโปรตุเกสไป ซึ่งนั่นหมายถึงเสียบราซิลและฐานที่มั่นในแอฟริกาและอินเดียไปด้วย

เมื่อเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 18 เกิดปัญหาว่าใครควรจะขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ จึงทำให้กษัตริย์ยุโรปหลายพระองค์ทรงสู้รบกันในสงครามสืบราชสมบัติสเปน (War of the Spanish Succession) ในที่สุดสงครามนี้ก็ทำให้สเปนสูญเสียความเป็นจักรวรรดิและตำแหน่งผู้นำของยุโรปไป แม้ว่าจะยังคงมีดินแดนโพ้นทะเลอยู่ก็ตาม)[37] และเมื่อสงครามสิ้นสุดลง ราชวงศ์ใหม่จากฝรั่งเศส คือ ราชวงศ์บูร์บง ได้รับการสถาปนาขึ้นในสเปนโดยกษัตริย์พระองค์แรก คือ พระเจ้าฟิลิปที่ 5 ในปี ค.ศ. 1707 (พ.ศ. 2250) ทรงรวมราชอาณาจักรกัสติยาและอารากอนเข้าด้วยกันเป็นราชอาณาจักรสเปน และทรงล้มล้างสิทธิพิเศษและกฎหมายปกครองตนเอง

ในศตวรรษนี้ การขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การเพิ่มมูลค่าทางการค้าและการผลิตอาหารค่อย ๆ ได้รับการฟื้นฟูขึ้น จำนวนประชากรในแคว้นกัสติยาก็เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ กษัตริย์ราชวงศ์บูร์บงได้ใช้ระบบของฝรั่งเศสเพื่อพยายามทำให้การบริหารและเศรษฐกิจมีความทันสมัยยิ่งขึ้น เมื่อสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 18 การค้าก็เริ่มมีความมั่นคงขึ้นในที่สุด ฐานะของสเปนในสายตานานาชาติดีขึ้น กำลังทหารของสเปนที่มีประสิทธิภาพยังได้ช่วยเหลือชาวอาณานิคมอังกฤษในสงครามประกาศเอกราชอเมริกัน (American War of Independence) อีกด้วย

การปกครองของนโปเลียนและผลสืบเนื่อง

แก้

สงครามกับฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1793 (พ.ศ. 2336) ทำให้ภายในประเทศเกิดปฏิกิริยาต่อต้านอย่างชัดเจนต่อพวกชั้นสูงที่นิยมวัฒนธรรมฝรั่งเศส สเปนทำสัญญาสันติภาพกับฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1795 (พ.ศ. 2338) และในปีถัดมา ภายใต้การสนับสนุนของฝรั่งเศส สเปนก็ได้ประกาศสงครามกับสหราชอาณาจักรกับโปรตุเกส ความหายนะทางเศรษฐกิจประกอบกับปัจจัยอื่น ๆ นั้นทำให้กษัตริย์ของสเปนต้องทรงสละราชสมบัติ ซึ่งโจเซฟ โบนาปาร์ต พี่ชายของนโปเลียนก็ได้เข้ามามีอำนาจแทน

 
"วันที่สองของเดือนพฤษภาคม 1808" (The Second of May, 1808) โดยฟรันซิสโก เด โกยา (Francisco de Goya)

กษัตริย์ต่างชาติพระองค์ใหม่นี้ไม่ได้รับการยอมรับจากชาวสเปน ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1808 (พ.ศ. 2351) ชาวมาดริดเริ่มก่อการจลาจลชาตินิยมต่อต้านกองทัพฝรั่งเศส ซึ่งชาวสเปนเรียกว่าเป็น "สงครามประกาศเอกราชสเปน (Guerra de la Independencia Española)" ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า สงครามคาบสมุทร (Peninsular War) นโปเลียนได้เข้ามาแทรกแซงเป็นการส่วนตัวและสามารถปราบปรามกองทัพสเปนและอังกฤษ-โปรตุเกสลงได้ แต่การสู้รบแบบกองโจรของทหารสเปน รวมทั้งกำลังจากกองทัพอังกฤษ-โปรตุเกสที่
นำโดยอาร์เทอร์ เวลเลสลีย์ ประกอบกับการที่นโปเลียนประสบความล้มเหลวในการรุกรานรัสเซีย (Invasion of Russia) ได้ขับไล่ฝรั่งเศสออกไปจากสเปนได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1814 (พ.ศ. 2357) พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7 ทรงขึ้นครองราชย์

การรุกรานของฝรั่งเศสยิ่งส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของสเปน และยังทำให้ประเทศตกอยู่ในสภาวะไม่มั่นคงทางการเมืองอีกด้วย ช่องว่างแห่งอำนาจที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1808 (พ.ศ. 2351) ถึงปี ค.ศ. 1814 (พ.ศ. 2357) ได้เปิดโอกาสให้ดินแดนต่าง ๆ มีอำนาจปกครองอย่างอิสระ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1809 (พ.ศ. 2352) อาณานิคมในทวีปอเมริกาเริ่มปลดปล่อยตนเองให้หลุดพ้นจากการปกครองของสเปน และเมื่อถึงปี ค.ศ. 1825 (พ.ศ. 2368) สเปนก็เสียอาณานิคมในลาตินอเมริกาไปทั้งหมด เหลือเพียงคิวบาและปวยร์โตรีโก

และเมื่อสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 19 สเปนก็สูญเสียดินแดนที่ยังเหลืออยู่ในทะเลแคริบเบียนและเอเชีย-แปซิฟิกไป ซึ่งได้แก่ คิวบา ปวยร์โตรีโก และสแปนิชอีสต์อินดีส (เฉพาะฟิลิปปินส์และกวม) ให้กับสหรัฐ หลังจากถูกผลักดันให้สู้รบในสงครามสเปน-อเมริกัน (Spanish-American War) ค.ศ. 1898 (พ.ศ. 2441) อย่างไม่เจตนาและไม่สมัครใจ ต่อมาในปี ค.ศ. 1899 (พ.ศ. 2442) สเปนได้ขายดินแดนสแปนิชอีสต์อินดีสที่เหลือในมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่ หมู่เกาะมาเรียนา หมู่เกาะคาโรไลน์ และหมู่เกาะปาเลาให้กับเยอรมนี (ส่วนสแปนิชโมร็อกโก สแปนิชสะฮารา และสแปนิชกินีซึ่งเป็นอาณานิคมในทวีปแอฟริกาได้รับเอกราชในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20)

คริสต์ศตวรรษที่ 20

แก้

ในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ประเทศสเปนก็ยังไม่อยู่ในความสงบเท่าใดนัก ชาวสเปนบางคนพยายามจะจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน (ระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ) และผลักดันให้กษัตริย์ออกไปจากประเทศ อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 1936 (พ.ศ. 2479) ความขัดแย้งระหว่างชาวสเปนกลุ่มที่นิยมประชาธิปไตยกับชาวสเปนที่นิยมเผด็จการได้ก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองสเปนขึ้น จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1939 (พ.ศ. 2482) ฝ่ายนิยมประชาธิปไตยพ่ายแพ้ และผู้นำเผด็จการที่มีชื่อว่า ฟรันซิสโก ฟรังโก ก็ได้เข้ามามีอำนาจในรัฐบาล

หลังจากจอมพลฟรังโกถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518) เจ้าชายฆวน การ์โลส (Prince Juan Carlos) ผู้เป็นพระราชนัดดาของกษัตริย์สเปนที่ถูกผลักดันให้ออกจากประเทศ ทรงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งสเปน จากการรับรองรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสเปน ปี ค.ศ. 1978 การเข้ามาของระบอบประชาธิปไตยได้ทำให้แคว้นบางแห่ง ได้แก่ ประเทศบาสก์และนาวาร์ ได้รับอัตตาณัติ (ความเป็นอิสระ) ทางการเงินอย่างสมบูรณ์ และแคว้นหลายแห่ง ได้แก่ บาสก์ กาตาลุญญา กาลิเซีย และอันดาลูซิอาก็ได้รับสิทธิในการปกครองตนเอง ซึ่งต่อมาก็ได้ขยายไปสู่แคว้นอื่น ๆ ในสเปนเช่นกัน ทำให้สเปนกลายเป็นเป็นประเทศที่มีการกระจายอำนาจทางการปกครองมากที่สุดในยุโรปตะวันตก แต่ในแคว้นประเทศบาสก์ยังคงมีลัทธิชาตินิยมหัวรุนแรงซึ่งสนับสนุนกลุ่มผู้ก่อการร้ายขององค์การเพื่อมาตุภูมิและอิสรภาพบาสก์หรือ "เอตา" (ETA) ซึ่งก่อตั้งในปี ค.ศ. 1959 ให้ก่อวินาศกรรมเพื่อแยกแคว้นนี้เป็นประเทศเอกราช อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2011 กลุ่มนี้ก็ได้ประกาศวางอาวุธอย่างเป็นทางการ

ตั้งแต่รัฐธรรมนูญสเปนฉบับปัจจุบันผ่านความเห็นชอบในปี ค.ศ. 1978 (พ.ศ. 2521) ประเทศสเปนมีนายกรัฐมนตรี (Presidentes del Gobierno) มาแล้ว 5 คน ได้แก่

ทุกวันนี้ สเปนเป็นประเทศประชาธิปไตยสมัยใหม่ ทำธุรกิจติดต่อค้าขายกับหลายประเทศในโลก รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป และใช้สกุลเงินยูโรในฐานะสกุลเงินประจำชาติตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542

การเมืองการปกครอง

แก้

ประเทศสเปนมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 (พ.ศ. 2521) หลังจากที่ถูกปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการโดยจอมพลฟรังโกมา 36 ปี (พ.ศ. 2482-2521) ในปี พ.ศ. 2521 เมื่อสเปนเปลี่ยนมาปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น คือ รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2521 ซึ่งมีผลบังคับใช้มาจนถึงปัจจุบัน

ประมุขแห่งรัฐ

แก้
 
สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปน พระมหากษัตริย์สเปนพระองค์ปัจจุบัน

ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของสเปน พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐและทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพสเปน

  • มีพระราชอำนาจที่จะอนุมัติและประกาศใช้พระราชบัญญัติต่าง ๆ
  • เรียกประชุม ยุบรัฐสภา และประกาศให้มีการเลือกตั้ง
  • ทรงเสนอนามผู้ที่ทรงเห็นว่าสมควรจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมทั้งทรงแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรีภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
  • ทั้งนี้ พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับราชการจะต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องผู้หนึ่ง ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และผู้รับสนองพระบรมราชโองการจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในพระราชกรณียกิจนั้น ๆ

นิติบัญญัติ

แก้

รัฐสภาสเปนหรือกอร์เตสเฆเนราเลส (Cortes Generales) ทำหน้าที่ออกกฎหมายของรัฐ รวมทั้งให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับงบประมาณ ควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล และใช้อำนาจอื่น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย

  • สภาผู้แทนราษฎร (Congress of Deputies; Congreso de los Diputados) ประกอบด้วยสมาชิกอย่างน้อย 300 คน และอย่างมาก 400 คน ขึ้นอยู่กับการแบ่งเขตเลือกตั้งและจำนวนพลเมือง ประเทศสเปนมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 350 คน ดำรงตำแหน่งวาระละ 4 ปี
  • วุฒิสภา (Senate; Senado) มีสมาชิกสภา 259 คน โดยในจำนวนนี้ 208 คนจะมาจากการเลือกตั้งเข้ามาโดยตรง และอีก 51 คนจะมาจากการแต่งตั้งของสภานิติบัญญัติของแคว้นปกครองตนเองแต่ละแห่ง สมาชิกวุฒิสภาสเปนดำรงตำแหน่งวาระละ 4 ปีเช่นเดียวกันกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎ

รัฐบาล

แก้
 
เปโดร ซันเชซ (ขวามือ) นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของประเทศสเปน

ตามรัฐธรรมนูญของสเปน รัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจและหน้าที่ฝ่ายบริหารภายใต้รัฐธรรมนูญและกฎหมาย เป็นผู้กำหนดและดำเนินนโยบายทั้งภายในและต่างประเทศ รวมทั้งการป้องกันประเทศ รัฐบาลประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี (President of the Government) รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้โดยกฎหมายในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี พระมหากษัตริย์จะทรงปรึกษาหารือกับผู้แทนของพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่มีสมาชิกอยู่ในรัฐสภา แล้วเสนอชื่อผู้ที่เห็นสมควรได้รับการเลือกตั้งไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อขอรับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎรด้วยคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด (absolute majority) พระมหากษัตริย์จะได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้เสนอรายชื่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้พระมหากษัตริย์มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งต่อไป โดยไม่จำเป็นต้องขอรับความไว้วางใจจากรัฐบาลอีก รัฐบาลมีวาระ 4 ปี หรือจนกว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อไป

ตุลาการ

แก้

พรรคการเมือง

แก้

พรรคการเมืองที่สำคัญในสเปน ได้แก่
1. พรรคแรงงานสังคมนิยมสเปน (Partido Socialista Obrero Español: PSOE) เป็นพรรคสังคมนิยมที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองไม่ซ้ายจัด ปัจจุบันมีเปโดร ซันเชซ เป็นเลขาธิการพรรค พรรคแรงงานสังคมนิยมสเปนเป็นพรรคที่มีบทบาทสำคัญและเป็นพรรคจัดตั้งรัฐบาลสเปนมานานถึง 14 ปีในสมัยแรก (ค.ศ. 1982-1996) โดยปัจจุบัน (การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 2008) พรรคนี้มีที่นั่งอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรสเปน 169 ที่นั่ง
2. พรรคประชาชน (Partido Popular: PP) เป็นพรรคการเมืองฝ่ายขวาที่เคยเป็นพรรครัฐบาล หัวหน้าพรรค คือ นายมาเรียโน ราฆอย เบรย์ (Mariano Rajoy Brey) ปัจจุบันพรรคนี้เป็นพรรคฝ่ายค้านที่ใหญ่ที่สุด โดยมี 153 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรสเปน
3. พรรคปรับร่วมและสหภาพ (Convergència i Unió: CiU) เป็นพรรคจากแคว้นกาตาลุญญา มีนายอาร์ตูร์ มัส อี กาบาร์โร (Artur Mas i Gavarró) เป็นหัวหน้าพรรค ปัจจุบันมีที่นั่งอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร 11 ที่นั่ง
4. พรรคชาตินิยมบาสก์ (Partido Nacionalista Vasco: EAJ/PNV) เป็นพรรคการเมืองของแคว้นประเทศบาสก์ มีนายอีญีโก อูร์กูยู (Iñigo Urkullu) เป็นหัวหน้าพรรค ปัจจุบันมีที่นั่งอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร 6 ที่นั่ง
5. พรรคฝ่ายซ้ายสาธารณรัฐนิยมแห่งกาตาลุญญา (Esquerra Republicana de Catalunya: ERC) เป็นพรรคฝ่ายซ้ายที่มีแนวคิดให้แคว้นกาตาลุญญาเป็นเอกราชจากสเปน มีนายโชอัน ปูอิกเซร์โกส อี โบยชาซา (Joan Puigcercós i Boixassa) เป็นเลขาธิการพรรค ปัจจุบันมีที่นั่งอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร 3 ที่นั่ง
6. พรรคฝ่ายซ้ายร่วม (Izquierda Unida: IU) เป็นพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายที่แต่เดิมคือพรรคคอมมิวนิสต์ มีนายกัสปาร์ ยามาซาเรส ตรีโก (Gaspar Llamazares Trigo) เป็นเลขาธิการพรรค ปัจจุบันมีที่นั่งอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร 2 ที่นั่ง
7. กลุ่มชาตินิยมกาลิเซีย (Bloque Nacionalista Galego: BNG) เป็นพันธมิตรทางการเมืองซึ่งเป็นตัวแทนจากแคว้นกาลิเซีย มีนายโชเซ มานวยล์ เบย์รัส (Xosé Manuel Beiras) เป็นหัวหน้ากลุ่ม ปัจจุบันมีที่นั่งอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร 2 ที่นั่ง
8. พรรคผสมกานาเรียส (Coalición Canaria: CC) พรรคการเมืองชาตินิยมและเสรีนิยมจากแคว้นกานาเรียส มีนายโคเซ ตอร์เรส สติงกา (José Torres Stinga) เป็นหัวหน้าพรรค ปัจจุบันมีที่นั่งอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร 2 ที่นั่ง
9. พรรคสหภาพ ก้าวหน้า และประชาธิปไตย (Unión, Progreso y Democracia: UPyD) เป็นพรรคการเมืองรัฐธรรมนูญนิยมและต่อต้านชาตินิยมที่เพิ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2007 โดยแกนนำพรรคมาจากแคว้นประเทศบาสก์และมีนางโรซา ดีเอซ (Rosa Díez) เป็นหัวหน้าพรรค ปัจจุบันมีที่นั่งอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร 1 ที่นั่ง
10. พรรคนาฟาร์โรอาไบย์ (Nafarroa Bai: Na-Bai) เป็นพรรคชาตินิยมบาสก์จากแคว้นนาวาร์ ปัจจุบันมีที่นั่งอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร 1 ที่นั่ง

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้
ดูบทความหลักที่ เขตการปกครองของสเปน

ประเทศสเปนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17 แคว้นปกครองตนเอง (autonomous communities; comunidades autónomas) และ 2 นครปกครองตนเอง (autonomous cities; ciudades autónomas) แต่ละแคว้นจะแบ่งย่อยออกไปอีกเป็น จังหวัด (provinces; provincias) รวมทั้งหมด 50 จังหวัด

แคว้นและนครปกครองตนเอง

แก้
 
กรุงมาดริด
 
เมืองบาร์เซโลนา

ปัจจุบันประเทศสเปนได้ชื่อว่าเป็น "รัฐแห่งการปกครองตนเอง (State of Autonomies)" แม้ว่าโดยทางการจะถือว่าเป็นรัฐเดี่ยว แต่ในความเป็นจริงแล้วมีลักษณะเป็นรัฐรวมที่มีการกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลางอย่างมาก โดยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเปิดโอกาสให้แคว้นต่าง ๆ มีสิทธิในการปกครองตนเองได้ในระดับที่ต่างกันตามภูมิหลังการปกครองตนเองของแต่ละแคว้น[38] เช่น ทุกแคว้นจะจัดการด้านสาธารณสุขและระบบการศึกษาของตนเอง บางแคว้น (เช่น ประเทศบาสก์และนาวาร์) มีหน้าที่จัดการด้านการเงินสาธารณะเพิ่มเติม ในแคว้นประเทศบาสก์และกาตาลุญญา หน่วยงานตำรวจของแคว้นจะมีบทบาทหน้าที่มากกว่าหน่วยงานตำรวจของส่วนกลาง เป็นต้น โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติของแต่ละแคว้นจะดำรงตำแหน่งวาระละ 4 ปีเช่นเดียวกับสมาชิกรัฐสภา โดยแคว้นปกครองตนเอง และนครปกครองตนเอง* (อยู่ในทวีปแอฟริกา) ของประเทศสเปน ประกอบด้วย

 
อาคารเมโตรโปลิส กรุงมาดริด
 
กาซามิลา (Casa Milà) เมืองบาร์เซโลนา
สถานที่ อุณหภูมิสูงสุดที่บันทึกไว้ อุณหภูมิต่ำสุดที่บันทึกไว้
เมดิเตอร์เรเนียน ) ) ) )
มูร์เซีย  47.2°ซ   117.0°ฟ    −6.0°ซ   21.2°ฟ  
มาลากา  44.2°ซ   111.6°ฟ   −3.8°ซ   25.1°ฟ  
บาเลนเซีย  42.5°ซ   108.5°ฟ   −7.2°ซ   19°ฟ  
อาลิกันเต  41.4°ซ   106.5°ฟ   −4.6°ซ   23.7°ฟ  
ปัลมาเดมายอร์กา  40.6°ซ   105.1°ฟ   -   - 
บาร์เซโลนา  39.8°ซ   103.6°ฟ   −10.0°ซ   14°ฟ  
ฌิโรนา  41.7°ซ   107°ฟ    −13.0°ซ   8.6°ฟ  
ดินแดนภายใน ) ) ) )
เซบิยา  47.0°ซ   116.6°ฟ    −5.5°ซ   22.1°ฟ  
กอร์โดบา  46.6°ซ   115.9°ฟ    -   -  
บาดาโฆซ  45.0°ซ   113°ฟ    -   -  
อัลบาเซเต  42.6°ซ   108.7°ฟ    −24.0°ซ   −11.2°ฟ  
ซาราโกซา  42.6°ซ   108.7°ฟ    -   -  
มาดริด  42.2°ซ   108.0°ฟ    −14.8°ซ   5.4°ฟ 
บูร์โกส  41.8°ซ   107.2°ฟ    −22.0°ซ   −7.6°ฟ 
บายาโดลิด  40.2°ซ   104.4°ฟ    -   - 
ซาลามังกา  -   -    −20.0°ซ   −4.0°ฟ 
เตรวยล์  -   -    −19.0°ซ   −2.2°ฟ 
ชายฝั่งแอตแลนติกเหนือ ) ) ) )
บิลบาโอ  42.0°ซ   107.6°ฟ    −8.6°ซ   16.5°ฟ 
อาโกรุญญา  37.6°ซ   99.7°ฟ    −4.8°ซ   23.4°ฟ 
ฆิฆอน  36.4°ซ   97.5°ฟ    −4.8°ซ   23.4°ฟ 
กานาเรียส ) ) ) )
ลัสปัลมัสเดกรันกานาเรีย  38.6°ซ   102°ฟ    11.4 °ซ   48.6°ฟ 

จังหวัด

แก้

นอกจากแคว้นปกครองตนเองดังกล่าวแล้ว สเปนยังแบ่งออกเป็น 50 จังหวัด โดยโครงสร้างนี้เป็นโครงสร้างรองถัดจากระดับแคว้นปกครองตนเองลงไป (ย้อนไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2376) ดังนั้น แคว้นปกครองตนเองจึงเกิดขึ้นจากกลุ่มของจังหวัด (เช่น แคว้นเอซเตรมาดูราประกอบด้วยจังหวัดกาเซเรสและจังหวัดบาดาโฆซ) แต่แคว้นปกครองตนเองอัสตูเรียส หมู่เกาะแบลีแอริก กันตาเบรีย ลาริโอฆา นาวาร์ ภูมิภาคมูร์เซีย และมาดริด แต่ละแคว้นดังกล่าวจะมีอยู่เพียงจังหวัดเดียว และแต่เดิมจังหวัดในแคว้นต่าง ๆ มักจะถูกแบ่งลงไปเป็น โกมาร์กัส (comarcas) เป็นเขตทางประวัติศาสตร์ที่มีรูปแบบคล้ายกับเคาน์ตีในสหรัฐอเมริกา แต่ในบางแคว้นจะไม่มี เขตการบริหารระดับล่างสุดจริง ๆ แล้วคือ เทศบาล (municipalities; municipios)

บริเวณอำนาจอธิปไตย

แก้

ประเทศสเปนมีดินแดนส่วนแยกตั้งอยู่ริมและนอกชายฝั่งทวีปแอฟริกาที่มีชื่อเรียกว่า ปลาซัสเดโซเบรานิอา (plazas de soberanía; places of sovereignty) ได้แก่ เซวตาและเมลียา ซึ่งเป็นนครปกครองตนเอง มีสถานะอยู่ระหว่างระดับเมืองกับระดับแคว้น ส่วนหมู่เกาะชาฟารีนัส (Islas Chafarinas) โขดหินอาลูเซมัส (Peñón de Alhucemas) และโขดหินเบเลซเดลาโกเมรา (Peñón de Vélez de la Gomera) ต่างอยู่ภายใต้การบริหารของสเปน

ข้อพิพาทเรื่องดินแดน

แก้

ดินแดนที่สเปนอ้างสิทธิ์

แก้

สเปนได้เรียกร้องให้มีการคืนยิบรอลตาร์ ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ใกล้จุดใต้สุดของคาบสมุทร ทางด้านตะวันออกของช่องแคบยิบรอลตาร์ ซึ่งแม้จะมีขนาดเล็กแต่ก็มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ยิบรอลตาร์ถูกยึดครองระหว่างสงครามสืบราชสมบัติสเปน ในปี ค.ศ. 1704 และถูกยกให้อยู่ภายใต้การปกครองของบริเตนอย่างถาวรตามสนธิสัญญาอูเทรคท์ (Treaty of Utrecht) ค.ศ. 1713 ประชากรส่วนใหญ่ของยิบรอลตาร์ประมาณ 30,000 คนยังต้องการให้ยิบรอลตาร์เป็นของบริเตนอยู่ โดยมีการออกเสียงลงประชามติเพื่อยืนยัน[39] สหประชาชาชาติได้เรียกสหราชอาณาจักรและสเปนให้มาทำข้อตกลงเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว ในขณะที่สเปนไม่ยอมรับเขตแดนนี้และมักจะมีการตรวจสอบการผ่านแดนอย่างเข้มงวดเสมอ โดยบ่อยครั้งที่มีการปิดชายแดนเพื่อที่จะกดดันยิบรอลตาร์ ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาสินค้าและแรงงานจากสเปน

นอกจากนั้นแล้ว การกำหนดเขตชายแดนตามสนธิสัญญาอูเทรคท์ก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันระหว่างทั้งสองฝ่าย โดยสเปนยืนยันว่าสหราชอาณาจักรเข้าครอบครองดินแดนส่วนคอคอดซึ่งเป็นที่ตั้งสนามบินซึ่งเดิมไม่ได้รวมอยู่ในสนธิสัญญาดังกล่าว[40]

ดินแดนของสเปนที่ประเทศอื่นอ้างสิทธิ์

แก้

โมร็อกโกได้อ้างสิทธิ์เหนือเมืองเซวตา เมืองเมลียา โขดหินเบเลซ โขดหินอาลูเซมัส หมู่เกาะชาฟารีนัส และเกาะเปเรฆิล ทั้งหมดตั้งอยู่ชายฝั่งทางเหนือของทวีปแอฟริกา โดยโมร็อกโกชี้แจงว่าดินแดนดังกล่าวถูกยึดเอาไปในขณะที่โมร็อกโกไม่สามารถขัดขวางได้และไม่เคยลงนามในสนธิสัญญาใด ๆ เพื่อยกให้ไป (แต่ก็ยังไม่ปรากฏประเทศโมร็อกโกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 และ 15 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดินแดนเหล่านั้นได้เข้าไปอยู่ในการครอบครองของสเปน) ส่วนสเปนก็อ้างว่าดินแดนดังกล่าวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับประเทศ ไม่สามารถแยกได้ ทั้งยังเป็นของสเปนหรือเชื่อมโยงกับสเปนมาตั้งแต่ก่อนการรุกรานของพวกมุสลิมในปี ค.ศ. 711 (สเปนกลับไปปกครองบริเวณเซวตาและเกาะเปเรฆิลอีกครั้งในปี ค.ศ. 1415 และได้ปกครองดินแดนส่วนที่เหลือด้วยเช่นกัน ในเวลาไม่กี่ปีหลังจากที่สามารถพิชิตเมืองกรานาดาได้เมื่อปี ค.ศ. 1492) สเปนยังกล่าวอีกด้วยว่าการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนดังกล่าวของโมร็อกโกนั้นเป็นเพียงการอ้างสิทธิ์ตามเขตภูมิศาสตร์เท่านั้น ลักษณะที่คล้ายกันในเรื่องการครอบครองดินแดนข้ามทวีปอย่างเช่นการเป็นเจ้าของคาบสมุทรไซนาย (ที่อยู่ในทวีปเอเชีย) ของอียิปต์ หรือการเป็นเจ้าของเมืองอิสตันบูล (อยู่ในทวีปยุโรป) ของตุรกี จึงมักถูกสเปนนำมาใช้สนับสนุนจุดยืนของตนเอง[ต้องการอ้างอิง]

ส่วนโปรตุเกสก็ไม่ยอมรับอำนาจอธิปไตยของสเปนเหนือเมืองโอลีเบนซา (Olivenza) ในแคว้นเอซเตรมาดูรา โดยกล่าวว่าสนธิสัญญาเวียนนา (Treaty of Vienna) ซึ่งสเปนได้ลงนามไว้เมื่อปี ค.ศ. 1815 นั้น ได้กำหนดให้สเปนคืนดินแดนดังกล่าวให้โปรตุเกสด้วย แต่สเปนก็อ้างว่าสนธิสัญญาเวียนนาได้เปิดช่องให้ข้อกำหนดในสนธิสัญญาบาดาโฆซ (Treaty of Badajoz) ที่โปรตุเกสยกเมืองดังกล่าวให้สเปน "ตลอดไป (perpetual)" ในปี ค.ศ. 1801 ยังคงอยู่[ต้องการอ้างอิง]

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

แก้

ความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป

แก้

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

แก้
ความสัมพันธ์สเปน – ไทย
 
 
สเปน
 
ไทย

ความสัมพันธ์ทางการทูต

แก้

สเปนเริ่มเข้ามาติดต่อกับไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และได้มีการทำสนธิสัญญาทางไมตรี การพาณิชย์ และการเดินเรือ (Treaty of Friendship, Commerce and Navigation) ซึ่งถือเป็นการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2413 (ค.ศ. 1870) และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2426 (ค.ศ.1883) ไทยได้แต่งตั้งอัครราชทูตประจำประเทศยุโรปให้ดำรงตำแหน่งอัครราชทูตไทยประจำกรุงมาดริดด้วย กระทั่งปี พ.ศ. 2504 ได้ยกระดับเป็นสถานเอกอัครราชทูต โดยได้ตั้งเอกอัครราชทูตไทยคนแรกไปประจำกรุงมาดริดเมื่อปี พ.ศ. 2506 [41] และ แต่งตั้งนายมนู อมาตยกุล ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริดเป็นคนแรก โดยเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศสเปนคนปัจจุบันคือ นายเกริกพันธุ์ ฤกษ์จำนง[42]

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ

แก้

โดยทั่วไปการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับสเปนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ อย่างไรก็ตาม ปริมาณการค้าและการลงทุนของทั้งสองประเทศในปัจจุบันยังมีไม่มากนัก เนื่องมาจากผลกระทบจากภาวะทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงก่อนหน้านี้ แต่แนวโน้มการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นของทั้งสองประเทศจะเป็นแรงจูงใจให้นักธุรกิจของทั้งสองประเทศหันมาค้าขายและลงทุนระหว่างกันมากขึ้น

เศรษฐกิจ

แก้

โครงสร้างเศรษฐกิจ

แก้

สเปนเป็นหนึ่งในประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่มากที่สุดประเทศหนึ่งของยุโรป ในปี พ.ศ. 2548 มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) อยู่ที่ 1,123,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในปี พ.ศ. 2549 มีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 27,542 ดอลลาร์สหรัฐ ตามการจัดอันดับของธนาคารโลก[43]ในปี พ.ศ. 2547 และ 2548 สเปนเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก

การท่องเที่ยว

แก้
 
ชายฝั่งแคว้นกันตาเบรียที่เรียกกันว่า สเปนเขียว (Green Spain)

หลังจากนายพลฟรังโกถึงแก่อสัญกรรม สเปนก็กลายเป็นจุดหมายปลายทางที่มีผู้ไปท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกรองจากฝรั่งเศส โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาในประเทศถึงปีละ 52 ล้านคน สร้างรายได้ให้กับประเทศประมาณ 46 พันล้านยูโร[ต้องการอ้างอิง]

สถานที่ท่องเที่ยวในสเปน ได้แก่ มาดริด บาร์เซโลนา ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุด สถานที่ที่น่าสนใจอื่น ๆ เช่น บีโกและโปนเตแบดราในแคว้นกาลิเซีย กอร์โดบา เซบิยา กรานาดา (สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม) มาลากา อวยลวา กาดิซ และอัลเมริอา (ชายหาด) ในแคว้นอันดาลูซิอา กาเซเรส กัวดาลูเป และเมรีดาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในแคว้นเอซเตรมาดูรา ซาลามังกา โตเลโด และเซโกเบียเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในส่วนอื่น ๆ ของประเทศ ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญซึ่งมีชายหาดสวยงามมาก ได้แก่ รีอัสไบคัส (ในจังหวัดโปนเตแบดรา) ซาโลว์ เบนิดอร์ม มายอร์กา อีบีซา (หมู่เกาะแบลีแอริก) แคว้นกานาเรียส แคว้นบาเลนเซีย แคว้นกาตาลุญญา และสเปนเขียว (ทางภาคเหนือ)

สายการบินแห่งชาติของสเปนคือไอบีเรียแอร์ไลน์ (Iberia Airlines) รถไฟความเร็วสูง เช่น อาเบเอ (AVE: Alta Velocidad Española) มีความเร็วสูงสุด 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือ ตัลโก (Talgo) และยังมีถนนคุณภาพดีมุ่งสู่เมืองสำคัญในส่วนต่าง ๆ ของประเทศ

โครงสร้างพื้นฐาน

แก้

คมนาคม และ โทรคมนาคม

แก้
 
รถรางขนาดเบาในบาร์เซโลนา

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี

แก้

การศึกษา

แก้

ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปสามารอ่านและเขียนได้ 92.2% ของประชากรทั้งหมด (ชาย 94% หญิง 90.5%) โดยมีมหาวิทยาลัยของรัฐที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดคือ National Autonomous University of Mexico (NAUM) ซึ่งก่อตั้งในปี 2094 (1551) และ มีนักศึกษาได้ 269,000 คน

สาธารณสุข

แก้

ประชากรศาสตร์

แก้

ประชากร

แก้
 
การกระจายตัวของประชากรสเปนตามเขตภูมิศาสตร์ในปี พ.ศ. 2548

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2548 ประเทศสเปนมีประชากร 44,108,530 คน ความหนาแน่นของประชากร 87.8 คนต่อตารางกิโลเมตร (220 คนต่อตารางไมล์) ซึ่งน้อยกว่าความหนาแน่นประชากรของประเทศในยุโรปตะวันตกส่วนใหญ่ และการกระจายตัวในแต่ละภูมิภาคก็ยังไม่เท่ากัน (ยกเว้นในจังหวัดที่อยู่รอบเมืองหลวงมาดริด) โดยบริเวณที่มีประชากรมากที่สุดจะอยู่ตามชายฝั่งทะเล

อย่างไรก็ตาม ในช่วง 25 ปีหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 อัตราการเกิดของประชากรได้ลดลงอย่างกะทันหัน โดยอัตราเจริญพันธุ์ของสเปนอยู่ที่ 1.29[44] (จำนวนบุตรที่ผู้หญิงจะมีโดยเฉลี่ยตลอดอายุขัย) ถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเจริญพันธุ์ที่ต่ำที่สุดในโลก ส่วนอัตราการรู้หนังสือในปี พ.ศ. 2546 ชาวสเปนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปสามารถอ่านออกเขียนได้ ซึ่งเป็นร้อยละ 97.9 ของประชากรทั้งหมด[44]

 
เขตมหานคร (metropolitan areas) หลัก ๆ ในประเทศสเปน (พ.ศ. 2548)

เมืองที่มีประชากรมากที่สุด (ไม่นับรวมในเขตมหานคร)

แก้
อันดับที่ เมือง แคว้น จำนวนประชากร (คน)[45]
1 มาดริด   มาดริด 3,128,600
2 บาร์เซโลนา   กาตาลุญญา 1,605,602
3 บาเลนเซีย   บาเลนเซีย 805,304
4 เซบิยา   อันดาลูซิอา 704,414
5 ซาราโกซา   อารากอน 649,181
6 มาลากา   อันดาลูซิอา 560,631
7 มูร์เซีย   ภูมิภาคมูร์เซีย 416,996
8 ลัสปัลมัสเดกรันกานาเรีย   กานาเรียส 377,056
9 ปัลมาเดมายอร์กา   หมู่เกาะแบลีแอริก 375,048
10 บิลบาโอ   ประเทศบาสก์ 354,145
11 กอร์โดบา   อันดาลูซิอา 322,867
12 อาลิกันเต   บาเลนเซีย 322,431
13 บายาโดลิด   กัสติยาและเลออน 319,943
14 บีโก   กาลิเซีย 293,255
15 ฆิฆอน   อัสตูเรียส 274,472
16 โลสปีตาเลตเดโยเบรกัต   กาตาลุญญา 248,150
17 อาโกรุญญา   กาลิเซีย 243,320
18 กรานาดา   อันดาลูซิอา 237,929
19 บีโตเรีย-กัสเตย์ซ   ประเทศบาสก์ 227,568
20 ซานตากรุซเดเตเนรีเฟ   กานาเรียส 223,148

การย้ายถิ่นเข้า

แก้

ผู้ย้ายเข้ามาในสเปนส่วนใหญ่มาจากลาตินอเมริกา (ร้อยละ 38.75) ยุโรปตะวันออก (ร้อยละ 16.33) มาเกร็บ (ร้อยละ 14.99) และแอฟริกากึ่งสะฮารา (ร้อยละ 4.08)[46] นอกจากนี้ ยังมีผู้มีถิ่นที่อยู่อาศัยในสเปนที่เป็นชาวยุโรปประเทศอื่น ๆ อีกบ้างบริเวณชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนและหมู่เกาะแบลีแอริก โดยมาใช้ชีวิตหลังปลดเกษียณหรือทำงานทางไกล

 
วิวัฒนาการทางประชากรศาสตร์ของสเปนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20

ข้อมูลจากรัฐบาลสเปน ในปี พ.ศ. 2548 ประเทศสเปนมีผู้มีถิ่นที่อาศัยเป็นชาวต่างชาติ 3.7 ล้านคน ประมาณ 5 แสนคนเป็นชาวโมร็อกโก อีก 5 แสนคนเป็นชาวเอกวาดอร์ กว่า 2 แสนคนเป็นชาวโรมาเนีย และประมาณ 2 แสน 7 หมื่นคนเป็นชาวโคลอมเบีย ชุมชนต่างชาติที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ชาวอังกฤษ (ร้อยละ 6.09 ของผู้มีถิ่นที่อยู่อาศัยทั้งหมด) ชาวอาร์เจนตินา (ร้อยละ 6.10) ชาวเยอรมัน (ร้อยละ 3.58) และชาวโบลิเวีย (ร้อยละ 2.63) เฉพาะในปี พ.ศ. 2548 เพียงปีเดียว มีประชากรที่ย้ายถิ่นเข้ามาในประเทศถึง 7 แสนคน

สเปนมีอัตราการเข้าเมืองมากที่สุดเป็นอันดับสองของสหภาพยุโรปรองจากประเทศไซปรัส[47] ซึ่งมีเหตุผลมาจากตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ แนวพรมแดนที่ยังรั่วไหล การขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งความเข้มแข็งของภาคเกษตรกรรมและภาคการก่อสร้างที่ต้องการแรงงานค่าจ้างต่ำเป็นจำนวนมาก

เชื้อชาติ

แก้

ประชากรสเปนส่วนใหญ่มีลักษณะผสมระหว่างชาติพันธุ์นอร์ดิกและชาติพันธุ์เมดิเตอร์เรเนียน ประกอบด้วยเชื้อชาติต่าง ๆ ได้แก่ ชาวสเปน มีจำนวนมากที่สุดประมาณร้อยละ 74 รองลงมาเป็นชาวกาตาลา ชาวกาลิเซีย และชาวบาสก์ตามลำดับ[ต้องการอ้างอิง]

ชนกลุ่มน้อย

แก้

ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา ชนกลุ่มน้อยที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศสเปน คือ พวกคีตาโนส (Gitanos) ซึ่งเป็น ชาวยิปซีกลุ่มหนึ่ง

ประเทศสเปนเป็นแหล่งพักพิงของประชากรสายเลือดแอฟริกาจำนวนมาก ซึ่งเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากประชากรในอดีตอาณานิคม (โดยเฉพาะอิเควทอเรียลกินี) แต่ผู้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในสเปนจากหลายประเทศในภูมิภาคแอฟริกากึ่งสะฮาราและแคริบเบียนก็มีจำนวนสูงกว่า และยังมีชาวสเปนเชื้อสายเอเชียจำนวนมากพอสมควร ส่วนใหญ่จะมีสายเลือดชาวจีน ชาวฟิลิปิโน ชาวตะวันออกกลาง ชาวปากีสถาน และชาวอินเดีย ส่วนชาวสเปนสายเลือดลาตินอเมริกาก็มีจำนวนมากเช่นกันและกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว[ต้องการอ้างอิง]

ประชากรยิวกลุ่มที่สำคัญถูกขับไล่หรือถูกบังคับให้เปลี่ยนศาสนาในปี ค.ศ. 1492 (พ.ศ. 2035) พร้อมกับการตั้งศาลศาสนาสเปน แต่หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาวยิวบางส่วนก็ได้เข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ในสเปน โดยอพยพเข้ามาจากอดีตอาณานิคมสแปนิชโมร็อกโก หลบหนีการกวาดล้างจากพวกนาซี และอพยพมาจากอาร์เจนตินา ปัจจุบันนี้เมลียามีอัตราส่วนชาวยิว (และชาวมุสลิม) สูงที่สุดในประเทศ และกฎหมายของสเปนยังอนุญาตให้ชาวยิวกลุ่มเซฟาร์ดี (Sephardi Jews) สามารถอ้างสิทธิการเป็นพลเมืองของรัฐได้

ภาษา

แก้
 
ภาษาต่าง ๆ ในสเปน (แบ่งอย่างง่าย)
  กาตาลา ภาษาทางการร่วม
  กาลิเซีย ภาษาทางการร่วม
  บาสก์ ภาษาทางการร่วม
  อัสตูเรียส ไม่เป็นภาษาทางการ
  อารากอน ไม่เป็นภาษาทางการ
  อารัน ภาษาทางการร่วม (ภาษาถิ่นของอุตซิตา)

แม้ว่ารัฐธรรมนูญของสเปนจะยืนยันอำนาจอธิปไตยของชาติก็ตาม แต่ก็ยังรับรองเชื้อชาติอื่น ๆ ที่มีมาในประวัติศาสตร์ด้วย

ทั้งภาษากาตาลา ภาษากาลิเซีย ภาษาอารัน (อุตซิตา) และภาษากัสติยาต่างสืบทอดมาจากภาษาละติน บางภาษาก็มีภาษาถิ่นของตนเอง ซึ่งภาษาถิ่นบางภาษาก็ได้รับการสนับสนุนจากผู้พูดภาษาถิ่นนั้นให้เป็นอีกภาษาหนึ่งต่างหากด้วย กรณีพิเศษได้แก่ ภาษาบาเลนเซีย (Valencian) เป็นชื่อที่เรียกภาษาถิ่นภาษาหนึ่งของภาษากาตาลา ซึ่งได้รับการรับรองให้เป็นภาษาทางการร่วมในแคว้นบาเลนเซีย

นอกจากนี้ ยังมีภาษาของชนกลุ่มน้อยที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ คือ ภาษาอัสตูเรียส / เลออน (Asturian / Leonese) พูดกันในแคว้นอัสตูเรียสและบางส่วนของจังหวัดเลออน เมืองซาโมรา และเมืองซาลามังกา ภาษาเอซเตรมาดูรา (Extremaduran) ใช้กันในจังหวัดกาเซเรสและจังหวัดซาลามังกา (ทั้งสองภาษาดังกล่าวสืบทอดมาจากภาษาถิ่นในอดีตของภาษาอัสตูร์-เลออน) ภาษาอารากอน (Aragonese) มีผู้พูดกันในพื้นที่บางส่วนของแคว้นอารากอน; ภาษาฟาลา (Fala) ยังมีผู้พูดอยู่บ้างในหมู่บ้านสามแห่งของแคว้นเอซเตรมาดูรา และภาษาโปรตุเกส (ภาษาถิ่น) ที่ใช้กันในบางเมืองของแคว้นเอซเตรมาดูราและแคว้นกัสติยา-เลออน อย่างไรก็ตาม ภาษาเหล่านี้ก็ไม่ได้มีสถานะเป็นภาษาทางราชการอย่างที่ภาษากาตาลา ภาษากาลิเซีย และภาษาบาสก์มี[48]

ภาษาถิ่นอันดาลูซิอา (Andalusian dialect) หรือ อันดาลุซ (Andaluz) พูดในแคว้นปกครองตนเองอันดาลูซิอาและยิบรอลตาร์ โดยมีความแตกต่างจากภาษากัสติยาในเรื่องการออกเสียงหลายประการ ซึ่งบางประการได้เข้าไปมีอิทธิพลในภาษาสเปนแบบลาตินอเมริกา ข้อแตกต่างเหล่านี้เห็นได้ในเรื่องสัทวิทยา (phonology) เช่นเดียวกับการใช้ทำนองเสียง (intonation) และคำศัพท์ (vocabulary)

ในย่านท่องเที่ยวตามชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนและหมู่เกาะ นักท่องเที่ยว ผู้อยู่อาศัยชาวต่างชาติ และผู้ทำงานท่องเที่ยวจะพูดภาษาอังกฤษและภาษาเยอรมัน ผู้ย้ายถิ่นชาวแอฟริกาและผู้สืบเชื้อสายชนกลุ่มน้อยเหล่านั้นจะพูดภาษายุโรปที่เป็นทางการของบ้านเกิดพวกเขา (ไม่ว่าจะเป็นภาษาโปรตุเกส ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส หรือครีโอลท้องถิ่น)

ศาสนา

แก้
 
อาสนวิหารซานเตียโกเดกอมโปสเตลา (Catedral of Santiago de Compostela) ในแคว้นกาลิเซีย

ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกมีผู้นับถือมากที่สุดในประเทศ จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ (เช่น เวิลด์แฟกต์บุ๊ก 2005 ของซีไอเอ ผลการสำรวจอย่างเป็นทางการของสเปน และแหล่งอื่น ๆ) ชาวสเปนร้อยละ 81-94 นับถือศาสนาคริสต์นิกายดังกล่าว ในขณะที่ประมาณร้อยละ 6-19 นับถือศาสนาอื่นหรือไม่นับถือศาสนาใดเลย[49] อย่างไรก็ตาม ชาวสเปนจำนวนมากที่ระบุว่าตนเองเป็นชาวคาทอลิกเนื่องจากได้เข้าพิธีศีลล้างบาปเท่านั้น ไม่ได้เคร่งศาสนาเท่าใดนัก อีกการสำรวจหนึ่งในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) โดยศูนย์สืบสวนทางสังคมวิทยาสเปน[50] แสดงให้เห็นว่าชาวสเปนร้อยละ 54 แทบจะไม่หรือไม่เคยไปโบสถ์เลย ในขณะที่ร้อยละ 15 ไปโบสถ์บางครั้งต่อปี ร้อยละ 10 ไปบางครั้งต่อเดือน และร้อยละ 19 ไปเป็นประจำทุกวันอาทิตย์หรือหลายครั้งต่อสัปดาห์

ชาวคริสต์โปรเตสแตนต์ก็มีเช่นกันในสเปน แต่มีจำนวนน้อยกว่า 5 หมื่นคน เช่น นิกายอีแวนเจลิคัล (Evangelism) ซึ่งนับถือกันในหมู่ชาวยิปซี นิกายมอร์มอน (Mormons) และลัทธิพยานพระยะโฮวาห์ (Jehovah's Witnesses)

คลื่นอพยพในระยะหลังได้เพิ่มจำนวนชาวมุสลิมมากขึ้น ซึ่งมีประมาณ 1 ล้านคน ชาวมุสลิมไม่ได้อาศัยอยู่ในสเปนมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อย่างไรก็ตาม การขยายดินแดนอาณานิคมในแอฟริกาตอนเหนือและตะวันตกก็ได้ให้สถานะความเป็นพลเมืองสเปนแก่ผู้ที่อาศัยอยู่ในสแปนิชโมร็อกโกและสแปนิชสะฮารา ทุกวันนี้ ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในสเปน รองจากศาสนาคริสต์ (นิกายโรมันคาทอลิก) โดยชาวมุสลิมในสเปนคิดเป็นร้อยละ 3 ของประชากรทั้งหมด แต่ชาวลาตินอเมริกา ซึ่งมักจะนับถือคาทอลิกอย่างแรงกล้าและเข้ามาพร้อมกับกระแสการอพยพดังกล่าวนี้ ก็ช่วยเพิ่มจำนวนผู้นับถือศาสนาคริสต์ให้กับศาสนจักรเช่นกัน

ในทางปฏิบัติแล้ว ศาสนายูดายไม่ปรากฏในสเปนจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งชาวยิวได้รับอนุญาตให้กลับเข้าประเทศอีกครั้ง ปัจจุบันมีชาวยิวในสเปนประมาณ 5 หมื่นคน คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 1 ของจำนวนประชากรทั้งหมด เชื่อกันว่าสเปนมีชาวยิวประมาณร้อยละ 8 ในช่วงเวลาก่อนการจัดตั้งศาลไต่สวนทางศาสนา

กีฬา

แก้

ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ทัพนักกีฬาสเปนคว้าเหรียญรางวัลไปทั้งหมด 19 เหรียญ (3 เหรียญทอง 11 เหรียญเงิน และ 5 เหรียญทองแดง) อยู่ในอันดับที่ 20[51] และในปี ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) นักกีฬาบาสเกตบอลของสเปนก็ได้รับเหรียญทองในการแข่งขันเวิลด์แชมเปียนชิปของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ (FIBA) ที่ประเทศญี่ปุ่น

ฟุตบอล

แก้
 
ขบวนพาเหรดฉลองแชมป์ฟุตบอลโลกของทีมชาติสเปนในปี 2010

กีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศคือกีฬาฟุตบอลเช่นเดียวกับชาติอื่น ๆ ทั่วไปในยุโรป โดยมีลาลิกาเป็นลีกสำหรับฟุตบอลอาชีพของประเทศ สโมสรฟุตบอลใหญ่อย่างเรอัลมาดริด อัตเลติโกเดมาดริด และบาร์เซโลนามักเป็นผู้ประสบความสำเร็จสูงสุดในการแข่งขันสืบต่อกันมา ฟุตบอลทีมชาติสเปนสามารถทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สเปนเคยได้แชมป์ฟุตบอลยูโรใน ค.ศ. 1964 และกลับมาครองแชมป์ฟุตบอลยุโรปอีกใน ค.ศ. 2008 เอาชนะทีมชาติเยอรมนีไปได้ในรอบชิงชนะเลิศ 1-0 โดยผู้ยิงประตูคือเฟร์นันโด ตอร์เรส และใน ค.ศ. 2010 ทีมชาติสเปนก็ประสบความสำเร็จในการคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกได้เป็นสมัยแรกที่ประเทศแอฟริกาใต้ โดยเอาชนะทีมชาติเนเธอร์แลนด์ 1-0 จากการยิงของอันเดรส อินิเอสตา ทำให้สเปนเป็นชาติที่ 8 ที่ได้แชมป์ฟุตบอลโลก ทีมชาติสเปนยังสามารถป้องกันแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (ยูโร 2012) เอาไว้ได้อีกหนึ่งสมัย โดยถล่มทีมชาติอิตาลีทีมร่วมกลุ่มไป 4-0 และยังสร้างสถิติใหม่ในรายการนี้มากมาย เช่น เป็นทีมแรกที่ถล่มคู่ต่อสู้ในนัดชิงชนะเลิศได้ขาดลอยที่สุด, เป็นทีมที่เสียประตูน้อยที่สุดตลอดการแข่งขัน (เสียไปเพียงหนึ่งประตูในนัดแรกของกลุ่มที่เสมออิตาลี 1-1) และเป็นทีมแรกที่คว้าแชมป์รายการใหญ่ได้ถึงสามรายการติดต่อกัน (ฟุตบอลยูโร 2008, ฟุตบอลโลก 2010 และฟุตบอลยูโร 2012)

บาสเกตบอล

แก้
 
เปา กาซ็อล และมาร์ก กาซ็อล สองพี่น้องนักบาสเกตบอลระดับโลกชาวสเปนในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก

บาสเกตบอลถือเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมรองจากฟุตบอลในสเปน โดยมีทีมใหญ่อย่างเรอัลมาดริดและบาร์เซโลนา ทีมบาสเกตบอลชุดใหญ่ของสเปนถือเป็นหนึ่งในทีมที่ประสบความสำเร็จสูงในการแข่งขันระดับโลก โดยคว้าตำแหน่งชนะเลิศในการแข่งชันชิงแชมป์โลก (FIBA World Cup) ได้ 2 สมัยใน ค.ศ. 2006 และ 2019 และเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 12 ครั้ง โดยสามารถคว้าเหรียญเงินได้ 3 สมัย (ค.ศ. 1984, 2008 และ 2012) รวมทั้งเหรียญทองแดงอีก 1 สมัย (ค.ศ. 2016) ทีมสเปนมีนักบาสเกตบอลระดับโลกที่ได้ร่วมเล่นอาชีพในการแข่งขันเอ็นบีเอมากมาย เช่น เปา กาซ็อล, มาร์ก กาซ็อล และริกี รูบิโอ

เทนนิส

แก้
 
ราฟาเอล นาดัล นักเทนนิสระดับโลกชาวสเปน

ในด้านกีฬาเทนนิสนั้น สเปนคว้าตำแหน่งชนะเลิศในการแข่งขันเดวิสคัพ (Davis Cup) ได้ถึง 6 สมัย (ค.ศ. 2000, 2004, 2008, 2009, 2011 และ 2019) โดยมีราฟาเอล นาดัล ผู้เล่นระดับโลกจากแคว้นแบลีแอริกอยู่ในตำแหน่งมือวางอันดับต้น ๆ ของโลกมาจนถึงปัจจุบัน

จักรยาน

แก้

การแข่งขันจักรยานก็ถือเป็นกีฬาหลักที่ได้รับความนิยมสูงเช่นกัน มีการจัดการแข่งขันจักรยานทางไกลรอบประเทศ คือ บูเอลตาเอสปัญญา และมิเกล อินดูไรน์ จากแคว้นนาวาร์ เป็นหนึ่งในชาวสเปนเพียงห้าคนที่คว้าชัยชนะในการแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์ที่มีชื่อเสียง

กีฬาสู้วัวกระทิง

แก้
 
การสู้วัวกระทิง

กีฬาสู้วัวกระทิงเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของสเปน แม้ว่าในช่วงหลังมานี้จะได้รับความสนใจลดลงบ้างและถูกองค์กรคุ้มครองสัตว์ต่าง ๆ ต่อต้าน กีฬานี้ก็ยังคงดำรงอยู่ได้อย่างดีในประเทศ การสู้วัวกระทิงมีมาตั้งแต่ยุคโบราณ (ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 8) และปัจจุบันได้รับความนิยมไปทั่วโลก

กีฬาอื่น ๆ

แก้

กีฬาท้องถิ่นอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมได้แก่ เปโลตา (Pelota) ควบคู่กับไฮอาไล (Jai Alai) เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างสูง โดยเข้ามาในสเปนผ่านทางชาวมัวร์ นอกจากนี้ การแข่งขันกีฬาอื่น ๆ ในระดับนานาชาติ สเปนยังประสบความสำเร็จในกีฬากรีฑาระยะกลาง (middle distance running) กอล์ฟ และแฮนด์บอลอีกด้วย

วัฒนธรรม

แก้

วัฒนธรรมสเปนมีรากฐานมาจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ อิทธิพลของชาวไอบีเรียนเดิมและชาวละตินในคาบสมุทรไอบีเรีย ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ศาสนาอิสลามของชาวมัวร์ ความตึงเครียดในระหว่างการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางของแคว้นกัสติยา และชนกลุ่มน้อย นอกจากนี้ ประวัติศาสตร์ของชาติ รวมทั้งสภาพทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนยังมีบทบาทสำคัญในการก่อร่างวัฒนธรรมสเปนด้วย

ธรรมเนียม

แก้

ในขณะที่ ซิเอสตา (siesta) หรือการพักจากการทำงานตอนบ่าย 1-2 ชั่วโมงกำลังลดลงโดยทั่วไป การดำเนินชีวิตใน 1 วันของชาวสเปนก็ค่อย ๆ มีความใกล้เคียงกับระเบียบของประเทศในทวีปยุโรปทั่วไปมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ร้านค้าและพิพิธภัณฑ์หลายแห่งยังคงแบ่งเวลาทำการออกเป็นสองช่วง โดยจะพักระหว่างนั้น 2-3 ชั่วโมง การเดินเล่น (paseo) ในช่วงเย็นหรือหัวค่ำยังเป็นสิ่งที่ผู้คนในเมืองเล็กหลาย ๆ เมืองกระทำกัน (รวมทั้งเมืองใหญ่ก็เช่นกัน) ส่วนเวลารับประทานอาหารเย็นก็เรียกได้ว่าช้าที่สุดในยุโรป กล่าวคือจะเริ่มรับประทานกันเวลา 21.00 น. หรือ 22.00 น. ดังนั้นชีวิตกลางคืนจึงเริ่มขึ้นช้าตามไปด้วย มีคลับเต้นรำมากมาย (แม้แต่ในเมืองเล็กบางเมือง) ที่เปิดตอนเวลาเที่ยงคืนจนถึงรุ่งเช้า

สถาปัตยกรรม

แก้

วรรณกรรม

แก้

อาหาร

แก้
 
ไข่เจียวสเปน (Tortilla de patatas)
 
ซุปเย็นกัซปาโช (Gazpacho)

อาหารสเปนประกอบด้วยอาหารหลายประเภท ซึ่งเป็นผลมาจากความแตกต่างทางด้านภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และภูมิอากาศ เช่น อาหารทะเลก็หาได้จากพื้นน้ำที่ล้อมรอบประเทศอยู่นั้น และเนื่องจากประเทศสเปนมีประวัติความเป็นมายาวนานรวมทั้งวัฒนธรรมที่แตกต่างกันซึ่งทยอยเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนนี้ อาหารสเปนจึงมีความหลากหลายอย่างยิ่ง แต่เครื่องปรุงและส่วนผสมต่าง ๆ เหล่านั้นก็ได้ประกอบกันขึ้นเป็นอาหารประจำชาติที่มีความเป็นเอกลักษณ์ พร้อมทั้งตำรับการประกอบอาหารและรสชาตินับพัน อิทธิพลส่วนมากในอาหารสเปนมาจากวัฒนธรรมยิวและมัวร์ ชาวมัวร์เป็นชาวมุสลิมจากแอฟริกาซึ่งเคยมีอำนาจปกครองสเปนอยู่หลายศตวรรษ และอาหารของชาวมัวร์ก็ยังคงมีรับประทานกันอยู่จนทุกวันนี้ ตัวอย่างอาหารสเปนที่มีชื่อเสียง เช่น

ดนตรี

แก้
 
ผู้แสดงระบำฟลาเมงโกที่เมืองเซบิยา

ชิ้นงานดนตรีของสเปนได้แก่ ดนตรีคลาสสิกตะวันตกและดนตรีคลาสสิกอันดาลูซิอา รวมทั้งอุตสาหกรรมดนตรีป็อปภายในประเทศ และดนตรีชาวบ้าน (folk music) นอกจากนี้ สเปนสมัยใหม่ยังมีผู้เล่นดนตรีแนวร็อกแอนด์โรล เฮฟวีเมทัล พังก์ร็อก และฮิปฮอปเป็นจำนวนมาก

ดนตรีชาวบ้านหรือโฟล์กมิวสิกของสเปนที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดน่าจะเป็น ฟลาเมงโก (flamenco) มีต้นกำเนิดจากในแคว้นอันดาลูซิอา รูปแบบของฟลาเมงโกได้ผลิตนักดนตรีชาวสเปนที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น นักร้องกามารอน เด ลา อิสลา (Camarón de la Isla) และนักกีตาร์การ์โลส มอนโตยา (Carlos Montoya)

 
นักเต้นระบำชาวอัสตูเรียส

นอกจากฟลาเมงโกแล้ว ดนตรีชาวบ้านของสเปนยังมีดนตรีตรีกีตีชา (trikitixa) และ แอกคอร์เดียน จากแคว้นประเทศบาสก์ ดนตรีไกย์ตา (gaita - ปี่สกอตชนิดหนึ่ง) จากแคว้นกาลิเซียและอัสตูเรียส และโคตา (jota) จากแคว้นอารากอน และแม้ว่าประเพณีท้องถิ่นบางอย่างจะสูญหายไปแล้ว แต่บางอย่างก็ยังคงได้รับความนิยมอยู่และได้รับการประยุกต์ดัดแปลงให้ทันสมัยเข้ากับรูปแบบและเครื่องดนตรีใหม่ ๆ เช่น ดนตรีเคลติก (Celtic music) ของกาลิเซีย นิวฟลาเมงโก (New Flamenco) เป็นต้น

ดนตรีสมัยใหม่ที่แตกต่างออกไปจากแนวพื้นบ้านเริ่มปรากฏในสเปนประมาณปี ค.ศ. 1959 (พ.ศ. 2502) จากนั้น ดนตรีพ็อปแนวเย-เย (Ye-yé) ก็เป็นที่นิยม ตามด้วยเพลงพ็อปและร็อกนำเข้าจากสหราชอาณาจักร สหรัฐ ฝรั่งเศส และอื่น ๆ ดนตรีสเปนทุกวันนี้ประกอบด้วยวงร็อกเป็นส่วนใหญ่ เช่น เอลกันโตเดลโลโก (El Canto Del Loco) และไดเกอส์ (Dikers) ดนตรีชนิดใหม่นี้ก็กำลังติดอันดับความนิยมในหลายชาร์ตของสเปน และน่าจะเป็นเช่นนี้ไปอีกระยะหนึ่ง

วันหยุด

แก้

ประเทศสเปนมีวันหยุดสำคัญทางราชการดังต่อไปนี้

 
การแสดงเครื่องบินรบของกองทัพอากาศสเปน ในพิธีเฉลิมฉลองวันชาติ

1 มกราคม = วันขึ้นปีใหม่

6 มกราคม = วันฉลองเทศกาลเสด็จมาของพระเยซูคริสต์; Epiphany Day

10 เมษายน = วันศุกร์ก่อนวันอีสเตอร์; Good Friday

13 เมษายน = วันอีสเตอร์

1 พฤษภาคม = วันแรงงาน

24 มิถุนายน = วันสมโภชนักบุญยอห์น

15 สิงหาคม = วันอัสสัมชัญ; Assumption Day

12 ตุลาคม = วันชาติสเปน

1 พฤศจิกายน = วันระลึกถึงนักบุญ; All Saints Day

6 ธันวาคม = วันรัฐธรรมนูญ

8 ธันวาคม = วันสมโภชพระแม่มารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล

25 ธันวาคม = วันคริสต์มาส

อ้างอิงโดย: สถานเอกอัครราชทูตสเปนประจำประเทศไทย[52] (Embajada de España en Tailandia)

การจัดอันดับนานาชาติ

แก้

สื่อสารมวลชน

แก้

ช่องสัญญาณโทรทัศน์แห่งชาติ (แอนะล็อก)

แก้

ช่องสัญญาณโทรทัศน์ระดับภูมิภาค

แก้

สถานีวิทยุ

แก้

หนังสือพิมพ์

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. 1.0 1.1 รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดภาษาราชการสำหรับประเทศสเปน ถึงแม้จะมีการใช้คำว่า España (สเปน), Estado español (รัฐสเปน) และ Nación española (ชาติสเปน) ในเอกสารต่าง ๆ ถึงกระนั้นกระทรวงการต่างประเทศสเปนออกพระราชกฤษฎีกาใน ค.ศ. 1984 ว่าการตั้งชื่อที่ใช้ได้เท่าเทียมกันในการสื่อถึงสเปนในสนธิสัญญาระหว่างประเทศคือ España (สเปน) และ Reino de España (ราชอาณาจักรสเปน) คำหลังมักใช้ในรัฐบาลส่วนกิจการระดับชาติและระหว่างประเทศทุกประเภท ซึ่งรวมไปถึงสนธิสัญญาต่างประเทศกับเอกสารราชการ และดังนั้นถือเป็นชื่อทางการตามองค์กรระหว่างประเทศหลาย ๆ องค์กร[1]
  2. 2.0 2.1 ในประเทศสเปน ภาษาอื่น ๆ ที่มีสถานะภาษาพื้นเมืองอย่างถูกกฎหมายตามรัฐธรรมนูญสเปน โดยชื่อประเทศแบบทางการคือ (สเปน: Reino de España, สะกด: [ˈrejno ð(e) esˈpaɲa]) เป็นไปตามนี้:
    • กาตาลา: Regne d'Espanya, สัทอักษรสากล: [ˈreŋnə ðəsˈpaɲə]
    • กาลิเซีย: Reino de España, สัทอักษรสากล: [ˈrejnʊ ð(ɪ) esˈpaɲɐ]
    • บาสก์: Espainiako Erresuma, สัทอักษรสากล: [es̺paɲiako eres̺uma]
    • อุตซิตา: Reiaume d'Espanha, สัทอักษรสากล: [reˈjawme ðesˈpaɲɔ]
  3. ภาษาทางการของรัฐตามส่วนที่ 3 ของรัฐธรรมนูญสเปนฉบับปี 1978 คือกัสติยา[3] ในแคว้นปกครองตนเอง ภาษากาตาลา, กาลิเซีย, บาสก์ และอุตซิตา (ในท้องถิ่นมีชื่อว่าภาษาถิ่นอารัน) เป็นภาษาร่วมทางการ ส่วนภาษาอารากอนและภาษาอัสตูเรียสได้รับการยอมรับบางส่วน
  4. สหภาพยุโรป (อียู) ตั้งแต่ ค.ศ. 1993
  5. จนถึงวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2020 ประชากรสเปนเพิ่มขึ้น 392,921 คนใน ค.ศ. 2019 ทำให้มีประชากรถึง 47,330 ล้านคน ในเวลาเดียวกัน จำนวนผู้มีสิทธิพลเมืองสเปนมีมากถึง 42,094,606 คน จำนวนชาวต่างชาติ (เช่น ผู้อพยพ ต่างด้าว และผู้ลี้ภัย ไม่รวมชาวต่างชาติที่ได้สิทธิพลเมืองสเปน) ที่อาศัยอยู่ในประเทศสเปนมีประมาณ 5,235,375 คน (11.06%) ใน ค.ศ. 2020[9]
  6. ก่อน ค.ศ. 2002 ใช้เปเซตา
  7. ยังใช้โดเมน .eu เพราะเป็นโดเมนสำหรับรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป นอกจากนี้ ยังมีโดเมน .cat สำหรับแคว้นกาตาลุญญา, .gal ในแคว้นกาลิเซีย และ .eus ในแคว้นปกครองตนเองแคว้นบาสก์

อ้างอิง

แก้
  1. "Acuerdo entre el Reino de España y Nueva Zelanda sobre participación en determinadas elecciones de los nacionales de cada país residentes en el territorio del otro, hecho en Wellington el 23 de junio de 2009". Noticias Jurídicas.
  2. Presidency of the Government (11 October 1997). "Real Decreto 1560/1997, de 10 de octubre, por el que se regula el Himno Nacional" (PDF). Boletín Oficial del Estado núm. 244 (ภาษาสเปน). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2015.
  3. "The Spanish Constitution". Lamoncloa.gob.es. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 March 2013. สืบค้นเมื่อ 26 April 2013.
  4. "Instituto Nacional de Estadística. Población (españoles/extranjeros) por País de Nacimiento, sexo y año". ine.es. Instituto Nacional de Estadística.
  5. CIS."Barómetro de Julio de 2021", 3,814 respondents. The question was "¿Cómo se define Ud. en materia religiosa: católico/a practicante, católico/a no practicante, creyente de otra religión, agnóstico/a, indiferente o no creyente, o ateo/a?".
  6. "Anuario estadístico de España 2008. 1ª parte: entorno físico y medio ambiente" (PDF). Instituto Nacional de Estadística (Spain). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 14 April 2015.
  7. "Surface water and surface water change". Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  8. "INEbase / Demografía y población /Padrón. Población por municipios /Estadística del Padrón continuo. Últimos datos datos". ine.es. สืบค้นเมื่อ 11 February 2021.
  9. 9.0 9.1 "Population Figures at 01 January 2019. Migrations Statistics. Year 2019" (PDF) (ภาษาสเปน). National Statistics Institute (INE). June 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2017.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 "World Economic Outlook Database, October 2020". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 11 February 2021.
  11. "Gini coefficient of equivalised disposable income – EU-SILC survey". ec.europa.eu. Eurostat. สืบค้นเมื่อ 3 August 2020.
  12. "Human Development Report 2020" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 10 December 2019. สืบค้นเมื่อ 10 December 2019.
  13. "Spain | Facts, Culture, History, & Points of Interest". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  14. "Surface area (sq. km) - Spain | Data". data.worldbank.org.
  15. "Spain Population (2021) - Worldometer". www.worldometers.info (ภาษาอังกฤษ).
  16. Babbel.com; GmbH, Lesson Nine. "The 10 Most Spoken Languages In The World". Babbel Magazine (ภาษาอังกฤษ).
  17. "The Second Most Spoken Languages Around the World". online.olivet.edu (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2015-04-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-17. สืบค้นเมื่อ 2021-09-17.
  18. Ghosh, Iman (2020-02-15). "Ranked: The 100 Most Spoken Languages Around the World". Visual Capitalist (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  19. Lillios, Katina T. (2019-12-05). The Archaeology of the Iberian Peninsula: From the Paleolithic to the Bronze Age (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. ISBN 978-1-107-11334-3.
  20. "La Moncloa. Culture of Spain [Spain/Culture]". www.lamoncloa.gob.es (ภาษาอังกฤษ).
  21. Flower, Harriet I. (2014-06-23). The Cambridge Companion to the Roman Republic (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. ISBN 978-1-107-03224-8.
  22. Flynn, Dennis O.; Giráldez Source, Arturo (1995). "Born with a 'Silver Spoon': The Origin of World Trade in 1571". Journal of World History. 6 (2): 202. JSTOR 20078638.
  23. Whitehouse, Mark (2010-11-06). "Number of the Week: $10.2 Trillion in Global Borrowing". Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0099-9660. สืบค้นเมื่อ 2021-06-23.
  24. "How Spain became the world leader in organ transplants". The Local Spain (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-09-15.
  25. ข้อมูลประเทศสเปน เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม (ไทย)
  26. "'First west Europe tooth' found". BBC. 2007-06-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-17. สืบค้นเมื่อ 2021-09-25. (อังกฤษ)
  27. Rinehart, Robert; Seeley, Jo Ann Browning. "A Country Study: Spain - Hispania." [Online]. Available: http://lcweb2.loc.gov/frd/cs/estoc.html 1998. Retrieved March 8, 2007.
  28. มณฑลของโรมันในดินแดนฮิสปาเนีย ได้แก่ (1) ฮิสปาเนียเบติคา (Hispania Baetica) เมืองหลักคือ กอร์ดูบา (Corduba) (2) ฮิสปาเนียลูซิทาเนีย (Hispania Lusitania) เมืองหลักคือ เอเมรีตาเอากุสตา (Emerita Augusta) (3) ฮิสปาเนียซีเตรีออร์ (Hispania Citerior) เมืองหลักคือ ตาร์ราโก (Tarraco) (4) ฮิสปาเนียโนวา (Hispania Nova) เมืองหลักคือ ติงกิส (Tingis) (5) ฮิสปาเนียโนวาซีเตรีออร์ (Hispania Nova Citerior) และอัสตูรีไอ-กัลเลกีไอ (Asturiae-Calleciae) สองมณฑลหลังได้รับการจัดตั้งขึ้นและสลายตัวไปในคริสต์ศตวรรษที่ 3
  29. Rinehart, Robert; Seeley, Jo Ann Browning. "A Country Study: Spain - Al Andalus." [Online]. Available: http://lcweb2.loc.gov/frd/cs/estoc.html 1998. Retrieved March 9, 2007.
  30. Payne, Stanley G. "A History of Spain and Portugal; Ch. 2 Al-Andalus." [Online]. Available: http://libro.uca.edu/payne1/spainport1.htm 1973. Retrieved March 9, 2007.
  31. Rinehart, Robert; Seeley, Jo Ann Browning. "A Country Study: Spain - Castile and Aragon." [Online]. Available: http://lcweb2.loc.gov/frd/cs/estoc.html 1998. Retrieved March 11, 2007.
  32. History Of Spain Worl History At KMLA
  33. สนธิสัญญากรานาดา 1492 (อังกฤษ)
  34. ชาวมุสลิมก็ถูกผลักดันออกไปเช่นกัน แต่เป็นกระบวนการที่กินเวลายาวนานกว่า โดยเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1502 และสิ้นสุดลงในช่วงเวลาประมาณปี ค.ศ. 1609-1614
  35. Rinehart, Robert; Seeley, Jo Ann Browning. "A Country Study: Spain - The Golden Age." [Online]. Available: http://lcweb2.loc.gov/frd/cs/estoc.html 1998. Retrieved March 11, 2007.
  36. Thomas, Hugh. Rivers of gold: the rise of the Spanish Empire. London: George Weidenfeld & Nicholson, 2003, passim.
  37. Rinehart, Robert; Seeley, Jo Ann Browning. "A Country Study: Spain - Spain in Decline." [Online]. Available: http://lcweb2.loc.gov/frd/cs/estoc.html 1998. Retrieved March 12, 2007.
  38. กระทรวงการต่างประเทศ. กรมยุโรป. "ประเทศสเปน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.mfa.go.th/web/479.php?id=231 เก็บถาวร 2005-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2550.
  39. The Referendum 1967 เรียกข้อมูลวันที่ 28-05-2550 (อังกฤษ)
  40. Official English translation of Matutes proposals for a Spanish Gibraltar PANORAMA newsweekly 7 ธันวาคม 2541 เรียกข้อมูลวันที่ 28-05-2550 (อังกฤษ)
  41. http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=142620&NewsType=1&Template=1
  42. "อดีตเอกอัครราชทูต". Royal Thai Embassy, Madrid, Spain.
  43. ข้อมูลสถิติการจัดอันดับของธนาคารโลก (อังกฤษ)
  44. 44.0 44.1 เดอะเวิลด์แฟกต์บุก เก็บถาวร 2009-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกข้อมูลวันที่ 28-05-2550
  45. ข้อมูลจากสถาบันสถิติแห่งชาติสเปน ณ วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2006 จำนวนประชากรสรุปตามเกณฑ์ต่าง ๆ เก็บถาวร 2007-08-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  46. สถาบันสถิติแห่งชาติ เก็บถาวร 2008-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (สเปน)
  47. Eurostat - ประชากรยุโรปในปี 2005 (อังกฤษ)
  48. รายงานภาษาในสเปนจากเว็บไซต์ Etnologue (อังกฤษ)
  49. การศึกษาเรื่องศาสนาครั้งล่าสุดของ CIS ปี 2005 คำถามที่ 35 เก็บถาวร 2009-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
  50. ศูนย์สืบสวนทางสังคมวิทยา (สเปน)
  51. Athens Olympics 2004: Medal Tally เว็บไซต์ abc.net.au (อังกฤษ)
  52. https://image.mfa.go.th/mfa/0/xzossgF56p/Calendario_2021_ENERO_2021.pdf
  53. รีพอร์ตเตอส์วิทเอาต์บอร์เดอส์ชี้ ปัญหาเสรีภาพสื่อในสเปนมาจากความรุนแรงและการคุกคามของผู้ก่อการร้าย ETA, 2006 เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)

ผลงานที่อ้างอิง

แก้
  • Gates, David (2001). The Spanish Ulcer: A History of the Peninsular War. Da Capo Press. ISBN 978-0-306-81083-1.

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Carr, Raymond, ed. Spain: a history. Oxford University Press, USA, 2000.
  • Callaghan O.F Joseph. A History of Medieval Spain Cornell University Press 1983

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
รัฐบาล
แผนที่
การท่องเที่ยว