หมู่เกาะมาเรียนา

หมู่เกาะมาเรียนา (อังกฤษ: Mariana Islands) เป็นหมู่เกาะที่เรียงตัวเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว ประกอบไปด้วยเกาะที่เกิดจากภูเขาไฟจำนวน 15 เกาะ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเหนือเส้นศูนย์สูตรของมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างเส้นพาราเซลเหนือที่ 12 และ 21 ในคาบเส้นเมริเดียนที่ 145 องศาตะวันออก

แผนที่แสดงหมู่เกาะมาเรียนา ทางตอนใต้แสดงดินแดนเกาะกวมของสหรัฐ และทางตอนเหนือแสดงดินแดนหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาของสหรัฐ และเครื่องหมายสามเหลี่ยมสีแดงคือตำแหน่งภูเขาไฟที่ปะทุอยู่

หมู่เกาะแห่งนี้ถูกตั้งชื่อตามพระนามของพระนางมาเรียนาโดยชาวสเปน ซึ่งเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้มาถึงยังหมู่เกาะนี้ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 และเข้ายึดครองหมู่เกาะแห่งนี้เป็นอาณานิคมจากชนพื้นเมืองที่เรียกตัวเองว่าชาวจามอร์โร จากการค้นคว้าของนักโบราณคดีพบว่า ชนพื้นเมืองบนหมู่เกาะนี้ได้มาตั้งรกรากตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และอาศัยอยู่อย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่านับพันปี โดยสันนิฐานว่าเกาะแรกที่พวกเขาเข้ามาตั้งรกรากคือเกาะติเนียน หนึ่งในสามเกาะหลักของหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา ซึ่งจะถือว่าเป็นการตั้งรกรากครั้งแรกของมนุษย์ในภูมิภาคโอเชียเนีย[1]

สแตมป์ของมาเรียนาในยุคเยอรมันปกครอง

เดิมหมู่เกาะนี้เป็นอาณานิคมของสเปน ภายใต้กำกับของรัฐบาลข้าหลวงใหญ่สเปนประจำฟิลิปปินส์ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1898 สเปนก็สูญเสียเกาะกวมแก่สหรัฐอเมริกาจากผลของสงครามสเปน–อเมริกาหมู่เกาะนี้เป็นดินแดนภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเข้าปกครองหมู่เกาะนี้มาตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง และจากการพ่ายแพ้ในสงครามครั้งนั้นทำให้ราชสำนักสเปนอ่อนแอลง และไม่มีกำลังทรัพย์มากพอจะดูแลเกาะน้อยใหญ่ใต้การปกครองกว่า 6,000 เกาะทั่วโลกได้อีก เช่นนั้นแล้วราชสำนักสเปนจึงได้เจรจากับจักรวรรดิเยอรมันในปี 1899 โดยทำสัญญาขายหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาตลอดจนเกาะอื่นๆของสเปนในมหาสมุทรแปซิฟิกแก่เยอรมนีในราคา 837,500 มาร์กทองเยอรมัน (หรือราว 4,100,000 ดอลลาร์สหรัฐในขณะนั้น) เมื่อการส่งมอบสมบูรณ์เยอรมนีก็จัดตั้งเยอรมันนิวกินีขึ้นมาในฐานะดินแดนในอารักขา และมีประชากรในหมู่เกาะในขณะนั้น 2,646 คน

ภายหลังเยอรมนีและฝ่ายมหาอำนาจกลางพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งเป็นสมาชิกไตรภาคีก็เข้ายึดครองหมู่เกาะแห่งนี้ต่อจากเยอรมนี ต่อมาในสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็เข้าโจมตีฐานทัพสหรัฐบนเกาะกวมในวันเดียวกับการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ต่อมาสหรัฐก็เข้ายึดครองหมู่เกาะนี้คืนได้ในปี 1944 และใช้เป็นฐานทัพอากาศในการทิ้งระเบิดทางอากาศต่อญี่ปุ่น ภายหลังสงครามสิ้นสุดลงก็อยู่ใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกาเรื่อยมา

รายชื่อเกาะ แก้

ชื่อเกาะ ประชากร
กวม 159,358
ไซปัน 48,220
ติเนียน 3,136
โรตา 2,477
อากุยกัน 0
ฟาราลอน เด ปาจาโรส 0
ม็อง 0
อะซุนเซียน 0
อะกริฮัน 0
ปากัน 0
อะลามากัน 0
กูงวน 0
ปาปาอุนงัน 0
ซาริกัน 0
อะนาตาฮัน 0
ฟาราลอน เด เมดีนิลลา 0

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  1. Zotomayor, Alexie Villegas (11 Mar 2013). "Archaeologist says migration to Marianas longest ocean-crossing in human history". Marianas Variety.