เกาะไซปัน (ชามอร์โร: Sa’ipan; Carolinian: Seipél; อดีตในสเปน: Saipán และญี่ปุ่น: 彩帆島, อักษรโรมัน: Saipan-tō; อังกฤษ: Saipan) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาของสหรัฐอเมริกา ในมหาสมุทรแปซิฟิก มีเนื้อที่ประมาณ 115 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากเกาะกวมไปทางเหนือประมาณ 190 กิโลเมตร รายงานจากสำมะโน ค.ศ. 2020 ของสำนักงานสำรวจสำมะโนประชากรสหรัฐ ประชากรบนเกาะไซปันมี 43,385 คน ลดลง 10% จากจำนวนใน ค.ศ. 2010 ที่ 48,220 คน[2]

เกาะไซปัน
บน: ตึกระฟ้า Garapan; ล่าง: แผนที่ภูมิประเทศของเกาะไซปัน
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งมหาสมุทรแปซิฟิก
พิกัด15°11′N 145°45′E / 15.183°N 145.750°E / 15.183; 145.750
กลุ่มเกาะมาเรียนา
พื้นที่118.98 ตารางกิโลเมตร (45.94 ตารางไมล์)[1]
ความยาว12 ไมล์ (19 กม.)
ความกว้าง5.6 ไมล์ (9 กม.)
ระดับสูงสุด1,560 ฟุต (475 ม.)
จุดสูงสุดMount Tapochau
การปกครอง
สหรัฐ
เครือจักรภพหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา
นายกเทศมนตรีRamon Camacho
ประชากรศาสตร์
เดมะนิมSaipanese
ประชากร43,385 (2020)
กลุ่มชาติพันธุ์
ข้อมูลอื่น ๆ
รหัส ZIP96950
รหัสพื้นที่670
Sai

ในอดีตเกาะไซปันเคยเป็นถิ่นฐานของชาวยุโรปจากประเทศสเปน ต่อมาได้ถูกยึดครองโดยเยอรมนีตั้งปี ค.ศ. 1899 จนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจึงตกอยู่ภายใต้การยึดครองของจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยมีชาวญี่ปุ่นมาตั้งถิ่นฐานประมาณ 25,000 คน และกำลังทหารญี่ปุ่นประมาณ 30,000 นาย[3]

เกาะไซปันมีชื่อเสียงจากการรบที่เกาะไซปันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพสหรัฐอเมริกาส่งนาวิกโยธินยกพลขึ้นบกที่ชายหาดทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1944 และทำการสู้รบกับทหารญี่ปุ่นเป็นเวลาสามสัปดาห์ ก่อนจะจบลงด้วยการเสียชีวิตของทหารญี่ปุ่นเกือบทั้งหมด รวมทั้งครอบครัวชาวญี่ปุ่นอีกหลายพันคน โดยการฆ่าตัวตายที่หน้าผาบันไซ และหน้าผาฆ่าตัวตาย[4] ทางตอนเหนือของเกาะ โดยไม่มีการประกาศยอมแพ้

อ้างอิง

แก้
  1. "8 SAIPAN" (PDF). National Oceanic and Atmospheric Administration. p. 1. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2020. สืบค้นเมื่อ 15 November 2020.
  2. Bureau, US Census. "Census Bureau Releases 2020 Census Population and Housing Unit Counts for the Commonwealth of the Northern Mariana Islands". Census.gov. สืบค้นเมื่อ 2022-07-07.
  3. "A Go: Another Battle for Sapian เก็บถาวร 2009-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน"
  4. "Battle of Saipan". Historynet.com.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้