ภาษาญี่ปุ่น

ภาษาหลักของประเทศญี่ปุ่น

ภาษาญี่ปุ่น (คันจิ: 日本語 ฮิรางานะ: にほんご/にっぽんご[1][2][3] โรมาจิ: Nihongo, Nippongo ทับศัพท์: นิฮงโงะ, นิปปงโงะ, [ɲihoŋŋo, ɲippoŋŋo[1][2]] ( ฟังเสียง)) เป็นภาษาราชการของประเทศญี่ปุ่นโดยพฤตินัย[4][หมายเหตุ 1] ปัจจุบันมีผู้ใช้เป็นภาษาแม่ทั่วโลกประมาณ 125 ล้านคนโดยเป็นผู้อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นประมาณ 124 ล้านคน และมีผู้ใช้เป็นภาษาที่สองประมาณ 120,000 คน[5] นอกจากนี้ รัฐอาเงาร์ สาธารณรัฐปาเลา ยังได้กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในภาษาราชการร่วมกับภาษาปาเลาและภาษาอังกฤษ[6][หมายเหตุ 2]

ภาษาญี่ปุ่น
日本語
にほんご/にっぽんご
ニホンゴ/ニッポンゴ
nihongo/nippongo
Nihongo หรือ Nippongo ("ภาษาญี่ปุ่น") เขียนด้วยคันจิ
หนึ่งในอักขรวิธีของภาษาญี่ปุ่น
ออกเสียง/nihoNɡo/, /niQpoNgo/: [ɲihoŋŋo], [ɲippoŋŋo][1][2]
ประเทศที่มีการพูดญี่ปุ่น
ชาติพันธุ์ชาวญี่ปุ่น (ยามาโตะ)
จำนวนผู้พูดประมาณ 125 ล้านคน  (2022)
ตระกูลภาษา
ญี่ปุ่น
  • ภาษาญี่ปุ่น
รูปแบบก่อนหน้า
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ ญี่ปุ่น (โดยพฤตินัย)
 ปาเลา
(ในรัฐอาเงาร์)
รหัสภาษา
ISO 639-1ja
ISO 639-2jpn
ISO 639-3jpn
Linguasphere45-CAA-a
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษารูปคำติดต่อที่มีลักษณะทางวากยสัมพันธ์หรือการเรียงลำดับคำในประโยคแบบ ประธาน-กรรม-กริยา (subject-object-verb: SOV) แม้ว่าที่จริงแล้วลำดับคำจะมีความยืดหยุ่นในระดับหนึ่งก็ตาม[8] มีโครงสร้างพยางค์ที่ไม่ซับซ้อนและส่วนใหญ่เป็นพยางค์เปิด (open syllable)[9] คำศัพท์ที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่นมีทั้งคำญี่ปุ่นดั้งเดิม เรียกว่า "วาโงะ" (ญี่ปุ่น: 和語 โรมาจิ: Wago) คำที่มาจากภาษาจีน เรียกว่า "คังโงะ" (ญี่ปุ่น: 漢語 โรมาจิ: Kango) คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ เรียกว่า "ไกไรโงะ" (ญี่ปุ่น: 外来語 โรมาจิ: Gairaigo) และคำที่ประกอบด้วยคำจากสองประเภทขึ้นไป เรียกว่า "คนชูโงะ" (ญี่ปุ่น: 混種語 โรมาจิ: Konshugo)[10][หมายเหตุ 3] ภาษาญี่ปุ่นมีระบบการเขียนที่ใช้อักษรหลายประเภทร่วมกัน ได้แก่ อักษรฮิรางานะและอักษรคาตากานะ (พัฒนามาจากอักษรมันโยงานะ) เป็นตัวอักษรแสดงหน่วยเสียง (phonograph) ระดับพยางค์ และอักษรคันจิซึ่งเป็นตัวอักษรแสดงหน่วยคำ (logograph)[12] ส่วนอักษรโรมันหรือโรมาจินั้นปัจจุบันมีการใช้ที่จำกัด เช่น ข้อความบนป้ายสาธารณะตามท้องถนน ชื่อและนามสกุลบนหนังสือเดินทาง และการป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์[13]

ระบบเสียง

แก้

เสียงสระ

แก้
 
ตำแหน่งลิ้นของเสียงสระในภาษาญี่ปุ่น
แผนภาพไดอะแกรมแสดงช่องปากมนุษย์ บริเวณด้านซ้ายของไดอะแกรมเป็นบริเวณที่ใกล้กับฟันและริมฝีปาก บริเวณด้านขวาของไดอะแกรมเป็นบริเวณที่ใกล้กับช่องคอ จุดสีดำแสดงตำแหน่งที่ลิ้นยกตัวขึ้นระหว่างการออกเสียงสระ
สระหน้า
(front)
สระกลาง
(central)
สระหลัง
(back)
สระปิด
(close)
i u
สระระดับกลาง
(mid)
e o
สระเปิด
(open)
a
  • หน่วยเสียง /i/ ในการออกเสียงจริงระดับลิ้นจะลดต่ำลงมาเล็กน้อย[14][15] อาจเขียนเป็นสัทอักษรให้ละเอียดขึ้นได้ว่า [i̞]
  • หน่วยเสียง /e/ ในการออกเสียงจริงระดับลิ้นจะลดต่ำลงมาอยู่ระหว่างเสียง [e] กับ [ɛ][14] อาจเขียนเป็นสัทอักษรให้ละเอียดขึ้นได้ว่า [e̞]
  • หน่วยเสียง /a/ ในการออกเสียงจริงตำแหน่งลิ้นจะอยู่ระหว่างเสียง [a] กับ [ɑ][14] อาจเขียนเป็นสัทอักษรให้ละเอียดขึ้นได้ว่า [a̠]
  • หน่วยเสียง /o/ ในการออกเสียงจริงตำแหน่งลิ้นจะลดต่ำลงมาอยู่ระหว่างเสียง [o] กับ [ɔ][14] อาจเขียนเป็นสัทอักษรให้ละเอียดได้ขึ้นว่า [o̞]
  • หน่วยเสียง /u/ ในสำเนียงโตเกียวมีความแตกต่างจากเสียง [u] คือ ริมฝีปากไม่ห่อกลม กล่าวคือ ริมฝีปากจะผ่อนคลายแต่ไม่ถึงขั้นเหยียดริมฝีปากแบบ /i/ แม้ว่าอาจจะมีการหดริมฝีปาก (lip compression) กรณีที่ออกเสียงช้า ๆ อย่างระมัดระวังบ้างก็ตาม[16][17] อีกทั้งตำแหน่งลิ้นเยื้องมาข้างหน้าค่อนข้างมาก (โดยเฉพาะเมื่อตามหลังเสียงพยัญชนะ [s] [t͡s] [d͡z] [z] ตำแหน่งลิ้นจะเยื้องไปข้างหน้ามากยิ่งขึ้น) ดังนั้นจึงอาจเขียนสัทอักษรโดยละเอียดได้ว่า [ɯ̈][14][15][18][หมายเหตุ 4] อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนึงถึงเรื่องความแปลกเด่น (markedness) ที่ไม่สอดคล้องกันแล้ว กล่าวคือ โดยทั่วไปภาษาใดที่มีหน่วยเสียง /ɯ/ ซึ่งเป็นสมาชิกเสียงสระมาตรฐานชุดรอง ภาษานั้นก็ควรมีหน่วยเสียง /u/ ซึ่งเป็นสมาชิกเสียงสระมาตรฐานชุดหลักด้วย ไม่ควรจะมีเพียงแค่หน่วยเสียง /ɯ/ โดยไม่มีหน่วยเสียง /u/ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความประสานทางรูปแบบของการแจกแจง (หน่วยเสียงสระทั้ง 5 เสียงเป็นสมาชิกเสียงสระมาตรฐานชุดหลักเหมือนกันทั้งหมด) เราจึงควรเลือกเสียง [u] ขึ้นมาเป็นตัวแทนของหน่วยเสียงมากกว่าเสียง [ɯ][15] ดังที่แสดงในตารางข้างต้น
  • ความยาวของเสียงสระมีหน้าที่ในการแยกความหมาย เช่น เสียงสระ /i/ สั้น-ยาวในคำว่า ojiisan /ozisaN/ "ลุง, น้าหรืออาเพศชาย" เทียบกับ ojiisan /oziːsaN/ "ตา, ปู่, ชายสูงอายุ" หรือเสียงสระ /u/ สั้น-ยาวในคำว่า tsuki /tuki/ "พระจันทร์" เทียบกับ tsūki /tuːki/ "กระแสลม" อย่างไรก็ตาม นักภาษาศาสตร์ยังคงเห็นไม่ตรงกันว่าระบบเสียงภาษาญี่ปุ่นมีหน่วยเสียงสระยาว /aː/ /iː/ /uː/ /eː/ /oː/ หรือไม่ ทั้งนี้ กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยมักกำหนดให้มีหน่วยเสียงพิเศษ เช่น /R/ หรือ /H/ ตามหลังเสียงสระสั้น เช่น ojiisan → /oziRsaN/ หรือ /oziHsaN/, tsūki → /tuRki/ หรือ /tuHki/[17]

เสียงพยัญชนะ

แก้
ฐานริมฝีปากทั้งสอง ฐานปุ่มเหงือก ฐานปุ่มเหงือก-เพดานแข็ง ฐานเพดานแข็ง ฐานเพดานอ่อน ฐานลิ้นไก่ ฐานเส้นเสียง
เสียงกัก ไม่ก้อง p t k (ʔ)
ก้อง b d g
เสียงนาสิก m n (ɲ) (ŋ) (ɴ)
เสียงรัวลิ้น (r)
เสียงลิ้นกระทบ ɾ
เสียงเสียดแทรก ไม่ก้อง ɸ s ɕ (ç) (x) h
ก้อง (β) z ʑ (ɣ) (ɦ)
เสียงกักเสียดแทรก ไม่ก้อง (t͡s) (t͡ɕ)
ก้อง (d͡z) (d͡ʑ)
เสียงเปิด
(เสียงเลื่อน)
j ɰ   (w)
เสียงเปิดข้างลิ้น (l)

เสียงพยัญชนะควบกล้ำ

แก้

เสียงพยัญชนะควบกล้ำ (consonant cluster) ในภาษาญี่ปุ่นปรากฏเฉพาะตำแหน่งต้นพยางค์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ /Cy/ กับ /Cw/

  • /Cy/ คือ เสียงพยัญชนะควบกล้ำที่ตำแหน่งที่สองเป็นเสียงเลื่อน /y/ ในระบบการเขียนปัจจุบันแทนเสียงด้วยตัวอักษร 「や・ゆ・よ」/「ヤ・ユ・ヨ」 ขนาดเล็ก: 「ゃ・ゅ・ょ」/「ャ・ュ・ョ」เช่น 「き」(/kya/),「に」(/nyu/),「ひ」(hyo) เสียงพยัญชนะควบกล้ำชนิดนี้มีชื่อเรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า "ไคโยอง" (ญี่ปุ่น: 開拗音 โรมาจิ: Kaiyōon)
  • /Cw/ คือ เสียงพยัญชนะควบกล้ำที่ตำแหน่งที่สองเป็นเสียงเลื่อน /w/ ปัจจุบันเสียงนี้ได้สูญไปจากระบบเสียงภาษาญี่ปุ่น (ภาษากลาง) แล้ว แม้จะยังคงมีเหลือให้เห็นในการสะกดคำวิสามานยนามบางคำก็ตาม เช่น ชื่อมหาวิทยาลัย "Kwansei Gakuin University" อย่างไรก็ตาม ภาษาถิ่นบางถิ่นยังคงมีเสียงพยัญชนะควบกล้ำชนิดนี้อยู่[21] เสียงพยัญชนะควบกล้ำชนิดนี้มีชื่อเรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า "โกโยอง" (ญี่ปุ่น: 合拗音 โรมาจิ: Gōyōon)

เสียงพยัญชนะท้ายนาสิก

แก้

เขียนแทนหน่วยเสียงได้ด้วยอักษร N ใหญ่ (/N/) เป็นเสียงที่ปรากฏในตำแหน่งท้ายพยางค์และมีการกลมกลืนเสียง (assimilation) กับเสียงที่อยู่รอบข้าง[22] ในระบบการเขียนปัจจุบันแทนเสียงด้วยตัวอักษร 「ん」/「ン」 เสียงพยัญชนะท้ายนาสิกแบ่งเป็นหน่วยเสียงย่อยได้ดังนี้[14][17]

ตัวอย่างคำ ระดับหน่วยเสียง เสียงโดยละเอียด[หมายเหตุ 10] ความหมาย
เสียงนาสิก ริมฝีปาก: [m] 散歩(さぽ) /saNpo/ [sapo] เดินเล่น
เสียงนาสิก ปุ่มเหงือก: [n] 本当(ほとう) /hoNtoː/ [hotoː] จริง
เสียงนาสิก (หน้า) เพดานแข็ง: [ɲ] 筋肉(きにく) /kiNniku/ [kʲiɲːɲikɯ] กล้ามเนื้อ
เสียงนาสิก เพดานอ่อน: [ŋ] 頑固(がこ) /gaNko/ [gaŋːko] ดื้อรั้น
เสียงนาสิก ลิ้นไก่: [ɴ] 不満(ふま /humaN/ [ɸɯmaɴː] ไม่พอใจ
เสียงสระนาสิก: [Ṽ] 千円(せえん) /seNen/ [seeŋː] หนึ่งพันเยน
  1. จะออกเสียงเป็น [m] เมื่อตามด้วยเสียงพยัญชนะริมฝีปากที่มีการปิดฐานกรณ์: [p, b, m]
  2. จะออกเสียงเป็น [n] เมื่อตามด้วยเสียงพยัญชนปุ่มเหงือกที่มีการปิดฐานกรณ์: [t, d, n, t͡s, d͡z, ɾ]
  3. จะออกเสียงเป็น [ɲ] เมื่อตามด้วยเสียงพยัญชนะ (หน้า) เพดานแข็งที่มีการปิดฐานกรณ์: [t͡ɕ, d͡z, ɲ]
  4. จะออกเสียงเป็น [ŋ] เมื่อตามด้วยเสียงพยัญชนะเพดานอ่อนที่มีการปิดฐานกรณ์: [k, g, ŋ]
  5. จะออกเสียงเป็น [ŋ] หรือ [ɴ] เมื่อไม่มีเสียงอะไรตามมา (เช่น เมื่อพูดจบหรือเว้นช่วงระหว่างพูด)
  6. จะออกเสียงเป็นเสียงสระนาสิก (nasal vowel) เมื่อตามด้วยเสียงที่ไม่มีการปิดฐานกรณ์ โดยอาจจะออกเป็นเสียง [ã, ĩ, ɯ̃, ẽ] หรือ [õ] ขึ้นอยู่กับเสียงรอบข้าง (หากพูดช้า ๆ อาจจะเป็นเสียง [ŋ] หรือ [ɴ])

เสียงพยัญชนะซ้ำ

แก้

เขียนแทนหน่วยเสียงได้ด้วยอักษร Q ใหญ่ (/Q/) เป็นเสียงที่ปรากฏในตำแหน่งท้ายพยางค์และออกเสียงโดยซ้ำเสียงพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไปตามกระบวนการทางสัทวิทยาที่เรียกว่าการซ้ำเสียง (gemination)[23] ทำให้เสียงพยัญชนะเหล่านี้กลายเป็นเสียงพยัญชนะยาว (long consonant)[14][16] ในระบบการเขียนปัจจุบันแทนเสียงด้วยตัวอักษร 「つ」/「ツ」 ขนาดเล็ก: 「っ」/「ッ」

เสียงพยัญชนะที่ซ้ำ ตัวอย่างคำ ระดับหน่วยเสียง เสียงโดยละเอียด ความหมาย
เสียงกัก ริมฝีปาก ไม่ก้อง: [p] 一歩(いぽ) /iQpo/ [io] หนึ่งก้าว
เสียงกัก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง: [t] 夫(おと) /oQto/ [oo] สามี
เสียงกัก เพดานอ่อน ไม่ก้อง: [k] 真っ赤(まか) /maQka/ [maa] สีแดงสด
เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง: [s] 実際(じさい) /zyiQsai/ [d͡ʑiai̯] ความเป็นจริง
เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก-เพดานแข็ง ไม่ก้อง: [ɕ] 雑誌(ざし) /zaQsi/ [d͡zaɕːi] นิตยสาร

โดยปกติแล้ว เสียงพยัญชนะซ้ำ /Q/ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดกับเสียงพยัญชนะไม่ก้องเท่านั้น ยกเว้นคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศบางคำที่อาจจะพบการซ้ำเสียงพยัญชนะก้อง อีกทั้งยังพบการซ้ำเสียงพยัญชนะเสียดแทรก [ɸ, ç, h] (เสียงพยัญชนะของอักษรวรรค は) ในคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศบางคำด้วย

เสียงพยัญชนะซ้ำ /Q/ ที่ปรากฏเพิ่มเติมด้วยอิทธิพลของภาษาต่างประเทศ
เสียงพยัญชนะที่ซ้ำ ตัวอย่างคำ ระดับหน่วยเสียง เสียงโดยละเอียด ความหมาย
เสียงกัก ริมฝีปาก ก้อง: [b] ウェ /weQbu/ [weɯ] เว็บ (ภาษาอังกฤษ: "web")
เสียงกัก ปุ่มเหงือก ก้อง: [d] /beQdo/ [beo] เตียงนอน (ภาษาอังกฤษ: "bed")
เสียงกัก เพดานอ่อน ก้อง: [g] /baQgu/ [baɯ] กระเป๋า (ภาษาอังกฤษ: "bag")
เสียงเสียดแทรก ริมฝีปาก ไม่ก้อง: [ɸ] フル /waQfuru/ [waɸːɯɾɯ] ขนมรังผึ้ง (ภาษาอังกฤษ: "waffle")
เสียงเสียดแทรก เพดานแข็ง ไม่ก้อง: [ç] チューリ /tyuːriQhi/ [t͡ɕɯːçːi] เมืองซือริช (ภาษาเยอรมัน: "Zürich")
เสียงเสียดแทรก เส้นเสียง ไม่ก้อง: [h] /maQha/ [maa] เลขมัค (ภาษาเยอรมัน: "Mach")

อย่างไรก็ตาม คนญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะออกเสียงโดยเปลี่ยนจากเสียงก้องเป็นเสียงไม่ก้องอยู่หลายคำ เช่น [beo] → [beo], [baɯ] → [baɯ] บ่อยครั้งที่ป้ายหรือโฆษณาสะกดคำโดยใช้อักษรเสียงไม่ก้องแทน เช่น 「バッ」 เป็น 「バッ[14][24]

เสียงของอักษรคานะ

แก้
-a -i -u -e -o -ya -yu -yo

a

[a]

i

[i]

u

[ɯ]

e

[e]

o

[o]

ka

[ka]

ki

[kʲi]

ku

[kɯ]

ke

[ke]

ko

[ko]

きゃ

kya

[kja]

きゅ

kyu

[kjɯ]

きょ

kyo

[kjo]

sa

[sa]

si

[ɕi]

su

[sɯ]

se

[se]

so

[so]

しゃ

sya

[ɕa]

しゅ

syu

[ɕɯ]

しょ

syo

[ɕo]

ta

[ta]

ti

[t͡ɕi]

tu

[t͡sɯ]

te

[te]

to

[to]

ちゃ

tya

[t͡ɕa]

ちゅ

tyu

[t͡ɕɯ]

ちょ

tyo

[t͡ɕo]

na

[na]

ni

[ɲi]

nu

[nɯ]

ne

[ne]

no

[no]

にゃ

nya

[ɲa]

にゅ

nyu

[ɲɯ]

にょ

nyo

[ɲo]

ha

[ha]

hi

[çi]

hu

[ɸɯ]

he

[he]

ho

[ho]

ひゃ

hya

[ça]

ひゅ

hyu

[çɯ]

ひょ

hyo

[ço]

ma

[ma]

mi

[mʲi]

mu

[mɯ]

me

[me]

mo

[mo]

みゃ

mya

[mja]

みゅ

myu

[mjɯ]

みょ

myo

[mjo]

ya

[ja]

yu

[jɯ]

yo

[jo]

ra

[ɾa]

ri

[ɾʲi]

ru

[ɾɯ]

re

[ɾe]

ro

[ɾo]

りゃ

rya

[ɾja]

りゅ

ryu

[ɾjɯ]

りょ

ryo

[ɾjo]

wa

[ɰa]

(を)

(o)

([o])

ga

[ga/ŋa]

gi

[gʲi/ŋʲi]

gu

[gɯ/ŋɯ]

ge

[ge/ŋe]

go

[go/ŋo]

ぎゃ

gya

[gja/ŋja]

ぎゅ

gyu

[gjɯ/ŋjɯ]

ぎょ

gyo

[gjo/ŋjo]

za

[d͡za/za]

zi

[d͡ʑi/ʑi]

zu

[d͡zɯ/zɯ]

ze

[d͡ze/ze]

zo

[d͡zo/zo]

じゃ

zya

[d͡ʑa/ʑa]

じゅ

zyu

[d͡ʑɯ/ʑɯ]

じょ

zyo

[d͡ʑo/ʑo]

da

[da]

(ぢ)

(zi)

([d͡ʑi/ʑi])

(づ)

(zu)

([d͡zɯ/zɯ])

de

[de]

do

[do]

(ぢゃ)

(zya)

([d͡ʑa/ʑa])

(ぢゅ)

(zyu)

([d͡ʑɯ/ʑɯ])

(ぢょ)

(zyo)

([d͡ʑo/ʑo])

ba

[ba]

bi

[bʲi]

bu

[bɯ]

be

[be]

bo

[bo]

びゃ

bya

[bja]

びゅ

byu

[bjɯ]

びょ

byo

[bjo]

pa

[pa]

pi

[pʲi]

pu

[pɯ]

pe

[pe]

po

[po]

ぴゃ

pya

[pja]

ぴゅ

pyu

[pjɯ]

ぴょ

pyo

[pjo]

หน่วยเสียงอื่น ๆ
หน่วยเสียงพยัญชนะท้ายนาสิก /N/
หน่วยเสียงพยัญชนะซ้ำ /Q/
  • ตัวอักษร 「を」 ออกเสียงเหมือน 「お」[3][19][หมายเหตุ 11]
  • ตัวอักษร 「ぢ」「ぢゃ」「ぢゅ」「ぢょ」「づ」 ออกเสียงเหมือน 「じ」「じゃ」「じゅ」「じょ」「ず」 ตามลำดับ[3][14]
  • มีนักภาษาศาสตร์บางกลุ่มที่นับจำนวนหน่วยเสียงในภาษาญี่ปุ่นแตกต่างไปจากข้อมูลข้างต้น เช่น
    • กลุ่มที่นับเสียง [ŋ] (เสียงนาสิก เพดานอ่อน) แยกจากหน่วยเสียง /g/ (เสียงกัก เพดานอ่อน ก้อง) ออกมาเป็นอีกหนึ่งหน่วยเสียง[14][หมายเหตุ 12]
    • กลุ่มที่มองว่า [tʲi](てぃ/ティ) กับ [tɯ](とぅ/トゥ) ซึ่งใช้กับเฉพาะคำศัพท์ภาษาต่างประเทศ เช่น 「パーティー」 (อังกฤษ: party) 「タトゥー」 (อังกฤษ: tattoo) เป็นสมาชิกในระบบเสียงของภาษาญี่ปุ่นด้วย[19]
    • กลุ่มที่ไม่ยอมรับว่าภาษาญี่ปุ่นมีหน่วยเสียงพยัญชนะซ้ำ (Q)[19]
    • กลุ่มที่วิเคราะห์ว่ามีหน่วยเสียงยาว (R หรือ H) อยู่ในภาษาญี่ปุ่นด้วย[22]
  • เสียงพยัญชนะที่อยู่หน้าเสียงสระ /i/ จะมีการออกเสียงเพดานแข็ง (palatalization) ประกอบ โดยแบ่งระดับการยกลิ้นได้ 2 ระดับ[26]
    1. ยกลิ้นส่วนหน้าขึ้นใกล้เพดานแข็งมากจนทำให้จุดกำเนิดเสียงเคลื่อนออกไปจากจุดเดิมจนต้องเปลี่ยนไปใช้สัทอักษรตัวอื่น เช่น /si/ → [ɕi] (เปลี่ยนจาก s เป็น ɕ)
    2. ยกลิ้นส่วนหน้าขึ้นใกล้เพดานแข็งแต่ไม่มากจนต้องถึงขั้นเปลี่ยนสัทอักษร เช่น /ki/ → [kʲi] (เพิ่มเครื่องหมาย [ʲ] เพื่อแสดงว่ามีการยกลิ้นส่วนหน้าประกอบเท่านั้น)

การลดความก้องของเสียงสระ

แก้

การลดความก้องของเสียงสระ (ญี่ปุ่น: 母音無声化 โรมาจิ: Boin-museika อังกฤษ: vowel devoicing) พบได้ในภาษาญี่ปุ่นหลายถิ่นรวมถึงภาษากลาง (ภาษาโตเกียว) มักจะเกิดขึ้นเมื่อเสียงสระปิด (/i/ หรือ /u/) อยู่ระหว่างเสียงพยัญชนะไม่ก้องกับเสียงพยัญชนะไม่ก้อง[27] เช่น

(อักษรสีแดง คือ เสียงสระที่ลดความก้อง)

ตัวอย่างคำ ระดับหน่วยเสียง เสียงโดยละเอียด ความหมาย ตำแหน่งที่ลดความก้อง
ちか /tikai/ [t͡ɕkai̯] ใกล้ 「ち」:[t͡ɕi] → [t͡ɕi̥]
きた /oki-ta/ [ota] ตื่นแล้ว 「き」:[kʲi] → [kʲi̥]
失敗しっぱい /siQpai/ [ɕai̯] ผิดพลาด 「し」:[ɕi] → [ɕi̥]
学生がくせい /gakuseː/ [gakɯ̥seː] นักเรียน, นิสิต-นักศึกษา 「く」:[kɯ] → [kɯ̥]
息子むすこ /musuko/ [mɯsɯ̥ko] ลูกชาย 「す」:[sɯ] → [sɯ̥]
つくえ /tukue/ [t͡sɯ̥kɯe] โต๊ะ 「つ」:[t͡sɯ] → [t͡sɯ̥]

นอกจากนี้ การลดความก้องของเสียงสระมักจะเกิดขึ้นเมื่อเสียงสระปิดตามหลังเสียงพยัญชนะไม่ก้องและเป็นจังหวะที่ผู้พูดพูดจบหรือเว้นวรรค[14] เช่น

ตัวอย่างคำ ระดับหน่วยเสียง เสียงโดยละเอียด ความหมาย ตำแหน่งที่ลดความก้อง
あき /aki/ [a] ฤดูใบไม้ร่วง 「き」:[kʲi] → [kʲi̥]
菓子かし /okasi/ [okaɕ] ขนม 「し」:[ɕi] → [ɕi̥]
です /desu/ [desɯ̥] (คำกริยานุเคราะห์) 「す」:[sɯ] → [sɯ̥]
ます /masu/ [masɯ̥] (คำกริยานุเคราะห์) 「す」:[sɯ] → [sɯ̥]

โดยทั่วไป เจ้าของภาษามักจะเลี่ยงการลดความก้องแบบต่อเนื่องกัน ส่งผลให้มีเสียงสระปิดบางตำแหน่งไม่ลดความก้องแม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมตามเงื่อนไข[14] แต่ก็เป็นไปได้ที่จะออกเสียงโดยลดความก้องเสียงสระปิดแบบต่อเนื่องกัน[16]

ตัวอย่างคำ ระดับหน่วยเสียง เสียงโดยละเอียด ความหมาย ตำแหน่งที่ลดความก้อง
復習ふくしゅう /hukusyuu/ [ɸɯ̥kɯɕɯː] ~ [ɸɯ̥kɯ̥ɕɯː] ทบทวน 「ふ」:[ɸɯ] → [ɸɯ̥]

(「く」:[kɯ] → [kɯ̥])

知識ちしき /tisiki/ [t͡ɕiɕi] ~ [t͡ɕɕi] ความรู้ 「し」:[ɕi → ɕi̥]

(「ち」:[t͡ɕi] → [t͡ɕi̥]) 

寄付金きふきん /kihukiN/ [kʲiɸɯ̥iŋ] ~ [ɸɯ̥iŋ] เงินบริจาค 「ふ」:[ɸɯ] → [ɸɯ̥]

(「き」:[kʲi] → [kʲi̥])

อย่างไรก็ตาม การลดความก้องของเสียงสระอาจจะพบในเสียงสระที่ไม่ใช่สระปิดได้เช่นกัน[14][16]

ตัวอย่างคำ ระดับหน่วยเสียง เสียงโดยละเอียด ความหมาย ตำแหน่งที่ลดความก้อง
ほこり /hokori/ [hkoɾʲi] ฝุ่น 「ほ」:[ho[ → [ho̥]
かかる /kakaru/ [kkaɾɯ] ใช้ (เวลา, เงิน) 「か」:[ka] → [kḁ]
こころ /kokoro/ [kkoɾo] หัวใจ 「こ」:[ko] → [ko̥]

การลดความก้องของเสียงสระของคำศัพท์แต่ละคำสามารถตรวจสอบได้จากพจนานุกรมการออกเสียงภาษาญี่ปุ่น เช่น 『新明解しんめいかい日本語にほんごアクセント辞典じてん』 หรือ 『NHK日本語発音にほんごはつおんアクセント新辞典しんじてん』 ทั้งนี้ ปรากฏการณ์นี้พบได้น้อยในภาษาญี่ปุ่นตะวันตก (Western Japanese)[หมายเหตุ 13]

พยางค์และมอรา

แก้

พยางค์

แก้

พยางค์ในภาษาญี่ปุ่นสามารถแบ่งตามน้ำหนักของพยางค์ (syllable weight) ได้ดังนี้[16]

1. พยางค์เบา (light syllable)
พยางค์เบาในภาษาญี่ปุ่นประกอบด้วยเสียงสระสั้น จะมีเสียงพยัญชนะต้น/พยัญชนะต้นควบกล้ำหรือไม่ก็ได้
ตัวอย่าง: /i/ (กระเพาะ), /su/ น้ำส้มสายชู, /tya/ ชา
2. พยางค์หนัก (heavy syllable)
พยางค์หนักในภาษาญี่ปุ่นประกอบด้วยเสียงสระยาวหรือเสียงสระสั้นที่มีเสียงพยัญชนะท้าย จะมีเสียงพยัญชนะต้น/พยัญชนะต้นควบกล้ำหรือไม่ก็ได้
ตัวอย่าง: /oː/ (พระราชา), /zyuN/ (เกณฑ์)
3. พยางค์หนักมาก (superheavy syllable)
เป็นพยางค์ที่จำนวนหน่วยแยกส่วน (segment) มากกว่าจำนวนของหน่วยแยกส่วนในพยางค์เบาและพยางค์หนัก พยางค์ชนิดนี้มีเฉพาะในบางภาษาและองค์ประกอบของหน่วยส่วนแยกไม่ชัดเจนเพราะขึ้นอยู่กับลักษณะของพยางค์เบาและพยางค์หนักในภาษานั้น ๆ[28]
ตัวอย่าง: /aːN/ (เสียงร้องไห้ของเด็กทารก), /roːN/ (เงินกู้)

โครงสร้างพยางค์

แก้
ชนิดพยางค์ องค์ประกอบของพยางค์ ตัวอย่างคำ ระดับ
หน่วยเสียง
ความหมาย
พยางค์เบา
(light syllable)
สระสั้น (V) /i/ กระเพาะ
/o/ หาง
พยัญชนะต้น+สระสั้น (CV) /su/ น้ำส้มสายชู
/yu/ น้ำร้อน
พยัญชนะต้น+เสียงเลื่อน+สระสั้น (CyV)[หมายเหตุ 14] ちゃ /tya/ ชา
しゅ /syu/ ชนิด, ประเภท
พยางค์หนัก
(heavy syllables)
สระยาว (Vː ) 映画えいが /.ga/ ภาพยนตร์
おう // พระราชา
พยัญชนะต้น+สระยาว (CVː) とうさん /o.toː.saN/ คุณพ่อ
にいさん /o.niː.saN/ พี่ชาย
พยัญชนะต้น+เสียงเลื่อน+สระยาว (CyVː) じゅう /dyuː/ สิบ
ひょう /hyoː/ ตาราง
สระสั้น+พยัญชนะท้ายนาสิก (VN) あん /aN/ ร่าง (เอกสาร)
うん /uN/ โชค
พยัญชนะต้น+สระสั้น+พยัญชนะท้ายนาสิก (CVN) まん /maN/ หมื่น
きん /kiN/ ทอง
พยัญชนะต้น+เสียงเลื่อน+สระสั้น+พยัญชนะท้ายนาสิก (CyVN) じゅん /zyuN/ เกณฑ์
あかちゃん /a.ka.tyaN/ ทารก
สระสั้น+พยัญชนะซ้ำ (VQ) 悪化あっか /aQ.ka/ เลวร้ายลง
おっと /oQ.to/ สามี
พยัญชนะต้น+สระสั้น+พยัญชนะซ้ำ (CVQ) 作家さっか /saQ.ka/ นักเขียน
切手きって /kiQ.te/ ไปรษณียากร
พยัญชนะต้น+เสียงเลื่อน+สระสั้น+พยัญชนะซ้ำ (CyVQ) 若干じゃっかん /zyaQ.kaN/ เพียงเล็กน้อย
却下却下 /kyaQ.ka/ ยกฟ้อง
พยางค์หนักมาก
(superheavy syllable)
สระยาว+พยัญชนะท้ายนาสิก (VːN) ああん /aːN/ เสียงร้องไห้ของเด็กทารก
พยัญชนะต้น+สระยาว+พยัญชนะท้ายนาสิก (CVːN) ローン /roːN/ เงินกู้
พยัญชนะต้น+เสียงเลื่อน+สระยาว+พยัญชนะท้ายนาสิก (CyVːN) コミューン /ko.myuːN/ พูดคุยกันอย่างสนิทสนม
สระยาว+พยัญชนะซ้อน (VːQ) いいって /iːt.te/ "ไม่เป็นไรหรอก"
พยัญชนะต้น+สระยาว+พยัญชนะซ้ำ (CVːQ) こおった /koːQ.ta/ (น้ำ) แข็งตัว
พยัญชนะต้น+เสียงเลื่อน+สระยาว+พยัญชนะซ้ำ (CyVːQ) ひゅうっと /hyuːQ.to/ (เสียงลมพัด)
C หมายถึง เสียงพยัญชนะ (consonant)
V หมายถึง เสียงสระ (vowel)
y หมายถึง เสียงเลื่อน /y/
N หมายถึง เสียงพยัญชนะท้ายนาสิก /N/
Q หมายถึง เสียงพยัญชนะซ้ำ /Q/
เครื่องหมาย ː ใช้แสดงเสียงยาว (long)
เครื่องหมาย . ใช้แสดงขอบเขตระหว่างพยางค์ (syllable boundary)

มอรา

แก้

มอรา (ญี่ปุ่น: 拍 โรมาจิ: Haku) เป็นหน่วยการนับในระดับที่เล็กกว่าระดับคำตามทฤษฎีสัทวิทยาเน้นจังหวะ (metrical phonology)[31] เป็นการนับช่วงความยาวของเสียงที่เท่า ๆ กัน และเป็นหน่วยพื้นฐานกำหนดจังหวะ (rhythm) ของคำและประโยคภาษาญี่ปุ่น[32] จำนวนมอราของคำคำหนึ่งในภาษาญี่ปุ่นอาจจะเท่ากับจำนวนพยางค์หรือมากกว่าจำนวนพยางค์ โดยพยางค์เบา 1 พยางค์นับเป็น 1 มอรา พยางค์หนัก 1 พยางค์นับแยกเป็น 2 มอรา และพยางค์หนักมาก 1 พยางค์นับเป็น 3 มอรา[16] เช่น คำว่า 「おばあさん」 (ย่า, ยาย) หากนับจำนวนพยางค์จะได้ 3 พยางค์ แต่หากนับจำนวนมอราจะได้ 5 มอรา

นับตามจำนวนพยางค์ おばあさん /o.baː.saN/ (o|baː|saN)
นับตามจำนวนมอรา おばあさん /o.ba.a.sa.N/ (o|ba|a|sa|N)
(เครื่องหมาย "." ใช้แสดงขอบเขตระหว่างพยางค์หรือมอรา)

แม้ว่าเมื่อวัดค่าตามจริงแล้วมอราแต่ละมอราอาจจะไม่ได้เท่ากันในทางกายภาพ แต่เจ้าของภาษา (ในที่นี้คือผู้พูดภาษาญี่ปุ่น) ทั้งผู้พูดและผู้ฟังจะรับรู้ช่วงความยาวของของแต่ละมอราว่ายาวเท่า ๆ กัน (ความยาวทางจิตวิทยา)[14]

ความแตกต่างระหว่างการนับจำนวนพยางค์กับจำนวนมอราของคำในภาษาญี่ปุ่นสามารถสรุปโดยสังเขปได้ดังนี้

1. เสียงสระสั้นทุกเสียง หรือเสียงพยัญชนะตามด้วยเสียงสระสั้น นับเป็น 1 พยางค์ และนับเป็น 1 มอราเท่ากัน

ตัวอย่างคำ นับตามพยางค์ นับตามมอรา ความหมาย จำนวนพยางค์ต่อมอรา
えき /e.ki/ /e.ki/ สถานีรถไฟ 2:2
さくら /sa.ku.ra/ /sa.ku.ra/ ดอกซากุระ 3:3
地下鉄ちかてつ /ti.ka.te.tu/ /ti.ka.te.tu/ รถไฟใต้ดิน 4:4

2. เสียงสระตามด้วยเสียงพยัญชนะท้ายนาสิก (/N/) หรือเสียงพยัญชนะและเสียงสระตามด้วยเสียงพยัญชนะท้ายนาสิก (/N/) นับเป็น 1 พยางค์ แต่นับแยกเป็น 2 มอรา คือ CV กับ N

ตัวอย่างคำ นับตามพยางค์ นับตามมอรา ความหมาย จำนวนพยางค์ต่อมอรา
ほん /hoN/ /ho.N/ หนังสือ 1:2
演技えんぎ /eN.gi/ /e.N.gi/ การแสดง 2:3
オランダ /o.raN.da/ /o.ra.N.da ประเทศเนเธอร์แลนด์ 3:4

3. เสียงสระตามด้วยเสียงพยัญชนะซ้ำ (/Q/) หรือเสียงพยัญชนะและเสียงสระตามด้วยเสียงพยัญชนะซ้ำ (/Q/) นับเป็น 1 พยางค์ แต่นับแยกเป็น 2 มอรา คือ CV กับ Q

ตัวอย่างคำ นับตามพยางค์ นับตามมอรา ความหมาย จำนวนพยางค์ต่อมอรา
切符きっぷ /kiQ.pu/ /ki.Q.pu/ ตั๋ว 2:3
びっくり /biQ.ku.ri/ /bi.Q.ku.ri/ ตกใจ 3:4
まっすぐ /maQ.su.gu/ /ma.Q.su.gu/ ตรงไป 3:4

4. เสียงสระยาว หรือเสียงพยัญชนะและเสียงสระยาว นับเป็น 1 พยางค์ แต่นับแยกเป็น 2 มอรา

ตัวอย่างคำ นับตามพยางค์ นับตามมอรา ความหมาย จำนวนพยางค์ต่อมอรา
時計とけい /to.keː/ /to.ke.e/ นาฬิกา 2:3
かあさん /o.kaː.saN/ /o.ka.a.sa.N/ คุณแม่ 3:5
とうさん /o.toː.saN/ /o.to.o.sa.N/ คุณพ่อ 3:5

5. เสียงสระประสมสองส่วน (diphthong) นับเป็น 1 พยางค์ แต่นับแยกเป็น 2 มอรา

ตัวอย่างคำ นับตามพยางค์ นับตามมอรา ความหมาย จำนวนพยางค์ต่อมอรา
再会さいかい /sai.kai/ /sa.i.ka.i/ การพบกันใหม่ 2:4
社会しゃかい /sya.kai/ /sya.ka.i/ สังคม 2:3
オイル /oi.ru/ /o.i.ru/ น้ำมัน 2:3

ระดับเสียงแบบเสียงสูง-ต่ำ

แก้

ระดับเสียงแบบเสียงสูง-ต่ำ (ญี่ปุ่น: 高低アクセント โรมาจิ: Kōtei-akusento อังกฤษ: Pitch accent) เป็นหนึ่งในสัทลักษณะ (sound quality) ที่พบได้ในภาษาญี่ปุ่นหลายถิ่นรวมถึงภาษากลาง (ภาษาโตเกียว) จัดเป็นรูปแบบหนึ่งของการลงน้ำหนัก (accent) คำหรือพยางค์ในถ้อยความให้มีความเด่นชัดขึ้น[33] แตกต่างจากเสียงวรรณยุกต์ (tone) ตรงที่เสียงวรรณยุกต์เป็นระดับเสียงภายในพยางค์ (ต่ำ กลาง สูง ขึ้น ตก ฯลฯ ภายในพยางค์) ในขณะที่ระดับเสียงสูงต่ำในภาษาญี่ปุ่นเป็นระดับเสียงระหว่างมอรา (ต้องฟังเปรียบเทียบระหว่างมอราจึงจะทราบว่ามอราใดสูง มอราใดต่ำ)[14]

ประเภทของระดับเสียงแบบเสียงสูง-ต่ำ

แก้

คำในภาษากลาง (ภาษาโตเกียว) สามารถแบ่งประเภทตามตำแหน่งเสียงตก (ตำแหน่งที่เสียงเริ่มลดระดับต่ำลง ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 「がり」) ได้ดังนี้[1]

(เครื่องหมาย 「」 ใช้เพื่อแสดงตำแหน่งเสียงตก ส่วนเครื่องหมาย 「」 ใช้เพื่อแสดงว่าคำหรือหน่วยคำนั้นไม่มีตำแหน่งเสียงตก อักษรไม่เข้มใช้เพื่อแสดงว่ามอราดังกล่าวลดความก้องของเสียงสระ)

  1. คำที่มีตำแหน่งเสียงตกต้นคำ (ญี่ปุ่น: 頭高型あたまだかがた โรมาจิ: Atama-daka-gata ทับศัพท์: อาตามาดากางาตะ) มอราแรกเสียงจะสูง ถัดจากนั้นจะเริ่มลดระดับต่ำลง เช่น
    •   木: []      เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「キ」
    •   猫: []     เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「ネ」
    •   命: [ノチ]    เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「イ」
    •  埼玉: [イタマ]   เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「サ」
  2. คำที่มีตำแหน่งเสียงตกกลางคำ (ญี่ปุ่น: 中高型なかだかがた โรมาจิ: Naka-daka-gata ทับศัพท์: นากาดากางาตะ) เสียงจะสูงไปจนถึงตำแหน่งเสียงตก จากนั้นเสียงจะเริ่มลดระดับต่ำลง เช่น
    • あなた: [アナ]    เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「ナ」
    • 味噌汁: [ミソシ]   เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「シ」
    • 飛行機: [ヒーキ]   เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「コ」
    • 美術館: [ビジュカン] หรือビジュカン]  เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「ツ」 หรือ 「ジュ」
  3. คำที่มีตำแหน่งเสียงตกท้ายคำ (ญี่ปุ่น: 尾高型おだかがた โรมาจิ: O-daka-gata ทับศัพท์: โอดากางาตะ) เสียงจะสูงไปจนถึงท้ายคำ หากมีหน่วยคำ เช่น คำช่วย มาต่อท้าย เสียงจะเริ่มลดระดับต่ำลงตั้งแต่คำช่วยตัวดังกล่าว เช่น
    •   山: [ヤマ]     เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงเป็น [ヤマカ゚
    •   男: [オトコ]    เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงเป็น [オトコカ゚
    •   妹: [イモート]   เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงเป็น [イモートカ゚
  4. คำที่ไม่มีตำแหน่งเสียงตก (แบบราบ) (ญี่ปุ่น: 平板型へいばんがた โรมาจิ: Heiban-gata ทับศัพท์: เฮบังงาตะ)
    •   魚: [サカナ]    เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงราบต่อเนื่องไป [サカナカ゚
    •   竹: [タケ]     เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงราบต่อเนื่องไป [タケカ゚
    •  休日: [キュージツ]  เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงราบต่อเนื่องไป [キュージツカ゚

สัญลักษณ์แสดงตำแหน่งเสียงตก

แก้

ในอักขรวิธีของภาษาญี่ปุ่นไม่มีสัญลักษณ์ในการแสดงระดับเสียงแบบภาษาไทย (เครื่องหมายวรรณยุกต์) ดังนั้นในการแสดงตำแหน่งเสียงตกจึงจำเป็นต้องใช้สัญลักษณ์พิเศษบางอย่างซึ่งแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของหนังสือหรือพจนานุกรมเล่มนั้น เช่น

สัญลักษณ์ ความหมาย ตัวอย่าง หนังสือหรือพจนานุกรมที่ใช้
],

ใช้ระบุตำแหน่งเสียงตก

] ใช้ระบุว่าคำดังกล่าวไม่มีตำแหน่งเสียงตก

ミソシ

サカナ

『NHK日本語発音にほんごはつおんアクセント新辞典しんじてん
[↓],

[○]

[↓] ใช้ระบุตำแหน่งเสียงตก

[○] ใช้ระบุว่าคำดังกล่าวไม่มีตำแหน่งเสียงตก

みそし↓る

さかな○

小学館しょうがくかん デジタル大辞泉だいじせん 物書堂版ものかきどうばん
] หรือ 「❜」 ] หรือ 「❜」 ใช้ระบุตำแหน่งเสียงตก

ไม่มีเครื่องหมายเมื่อไม่มีตำแหน่งเสียงตก

みそし

みそし❜る

さかな

"การออกเสียงภาษาญี่ปุ่น จากทฤษฎีสู่ปฏิบัติ" (ยุพกา, 2018)

日本語音声学入門にほんごおんせいがくにゅうもん』 (Saitō, 2015)

นอกจากการใช้สัญลักษณ์ เช่น [] หรือ [ ] ในการแสดงตำแหน่งเสียงตก (がり) ของคำศัพท์แล้ว ยังมีการใช้ตัวเลขในการแสดงแกนเสียงสูง-ต่ำ (มอราตัวสุดท้ายก่อนที่เสียงจะเริ่มลดระดับต่ำลง ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า アクセントかく) เช่น ในพจนานุกรมภาษาญี่ปุ่น 『大辞林だいじりん』 หรือ 『新明解国語辞典しんめいかいこくごじてん

(สีน้ำเงินใช้แสดงตำแหน่งแกนเสียงสูง-ต่ำ)

  • き(1)【木】 หมายถึง แกนเสียงสูง-ต่ำอยู่ที่มอราที่ 1 นั่นคือ 「き」:[
  • いのち(1)【命】 หมายถึง แกนเสียงสูง-ต่ำอยู่ที่มอราที่ 1 นั่นคือ 「い」:[ノチ
  • みそしる(3)【味噌汁】 หมายถึง แกนเสียงสูง-ต่ำอยู่ที่มอราที่ 3 นั่นคือ 「し」:[ミソ
  • ひこうき(2)【飛行機】 หมายถึง แกนเสียงสูง-ต่ำอยู่ที่มอราที่ 2 นั่นคือ 「こ」:[ヒーキ
  • いもうと(4)【妹】 หมายถึง แกนเสียงสูง-ต่ำอยู่ที่มอราที่ 4 นั่นคือ 「と」:[イモー
  • さかな(0)【魚】 หมายถึง ไม่มีแกนเสียงสูง-ต่ำ:[サカナ

ระบบการเขียน

แก้

ปัจจุบันภาษาญี่ปุ่นใช้ระบบการเขียนแบบผสมผสาน โดยใช้อักษรฮิรางานะและอักษรคาตากานะซึ่งเป็นตัวอักษรแสดงหน่วยเสียง (phonograph) ระดับพยางค์ และอักษรคันจิซึ่งเป็นตัวอักษรแสดงหน่วยคำ (logograph)[12] ประโยคหนึ่งประโยคอาจมีอักษรทั้ง 3 ประเภทปะปนกัน

ประโยคตัวอย่าง 「朝食にハムエッグを食べました」 ("กินแฮมกับไข่เป็นอาหารเช้า")
ภาษาญี่ปุ่น 朝食 ハムエッグ まし
โรมาจิ chōshoku ni hamueggu o tabe mashi ta
ความหมาย อาหารเช้า (คำช่วย) แฮมกับไข่ (คำช่วย) กิน (แสดงความสุภาพ) (อดีตกาลหรือการณ์ลักษณะสมบูรณ์)

ประโยคข้างต้นประกอบด้วยตัวอักษรทั้ง 3 ประเภท สีเขียวคืออักษรฮิรางานะ สีน้ำเงินคืออักษรคาตากานะ และสีแดงคืออักษรคันจิ

คันจิ

แก้

ฮิรางานะและคาตากานะ

แก้

ไวยากรณ์

แก้

โครงสร้างประโยคพื้นฐาน

แก้

ลำดับของคำในประโยคภาษาญี่ปุ่นคือ ประธาน กรรม และกริยา โดยประธาน กรรม และส่วนอื่นๆ ในประโยคจะมี "คำช่วย" กำกับอยู่เพื่อบ่งบอกหน้าที่ของคำที่นำหน้า

โครงสร้างประโยคพื้นฐานในภาษาญี่ปุ่นประกอบด้วยหัวเรื่องและส่วนอธิบาย ตัวอย่างเช่น Kochira wa Tanaka-san desu (こちらは田中さんです) kochira แปลว่า "นี้" เป็นหัวเรื่องของประโยคเพราะมี wa กำกับอยู่ ส่วน Tanaka-san desu เป็นส่วนอธิบายของประโยค desu เป็นที่เติมท้ายคำนามเพื่อแสดงความสุภาพ ประโยคนี้แปลคร่าวๆ ได้ว่า "สำหรับคนนี้ เขาคือคุณทานากะ" ภาษาญี่ปุ่นมีความคล้ายกับภาษาในเอเชียหลายๆ ภาษาที่มักจะระบุหัวเรื่องของประโยคแยกจากประธาน กล่าวคือหัวเรื่องของประโยคไม่จำเป็นต้องเป็นประธานของประโยค ตัวอย่างเช่น Zō wa hana-ga nagai desu (象は鼻が長いです) แปลตามตัวได้ว่า "สำหรับช้าง จมูก(ของพวกมัน)ยาว" หัวเรื่องของประโยคคือ (ช้าง) ในขณะที่ประธานของประโยคคือ hana (จมูก)

ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่ชอบละคำ กล่าวคือ มักจะมีการละประธานหรือกรรมของประโยคที่เป็นที่รู้กันกันอยู่แล้ว นอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นยังรู้สึกว่าประโยคที่สั้นๆดีกว่าประโยคยาวๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาพูด ดังนั้นชาวญี่ปุ่นจึงมักจะละคำต่างๆในประโยคมากกว่าจะอ้างถึงมันด้วยคำสรรพนาม ตัวอย่างเช่น จากประโยคข้างบน hana-ga nagai ก็แปลได้ว่า "จมูก[ของช้าง]ยาว" โดยที่ไม่ต้องระบุหัวเรื่องของประโยคหากเป็นที่เข้าใจตรงกันว่ากำลังกล่าวถึงช้าง นอกจากนี้ กริยาเพียงตัวเดียวก็ถือว่าเป็นประโยคที่สมบูรณ์ได้ เช่น Yatta! แปลว่า "[ฉัน]ทำ[มันสำเร็จแล้ว]" คำคุณศัพท์เพียงตัวเดียวก็ถือว่าเป็นประโยคที่สมบูรณ์ได้เช่นกัน เช่น Urayamashii! แปลว่า "[ฉันรู้สึก]อิจฉา[มัน]"

แม้ว่าภาษาญี่ปุ่นจะมีคำบางคำที่ถือได้ว่าเป็นคำสรรพนาม แต่คนญี่ปุ่นก็ไม่ใช้คำสรรพนามบ่อยเท่ากับภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน ในทางกลับกัน คนญี่ปุ่นมักจะใช้กริยาพิเศษหรือกริยาช่วยเพื่อบ่งบอกทิศทางของการกระทำ เช่น "ล่าง" เพื่อบ่งบอกว่าการกระทำนี้เป็นการกระทำจากนอกกลุ่มที่เป็นผลประโยชน์ต่อในกลุ่ม และใช้คำว่า "บน" เพื่อบ่งบอกว่าเป็นการกระทำจากภายในกลุ่มที่เป็นประโยชน์ต่อนอกกลุ่ม ตัวอย่างเช่น oshiete moratta แปลว่า "[เขา/พวกเขา]อธิบายให้[ฉัน/พวกเรา]" ขณะที่ oshiete ageta แปลว่า "[ฉัน/พวกเรา]อธิบายให้[เขา/พวกเขา]" การใช้กริยาช่วยในลักษณะนี้ทำให้รู้ผู้กระทำและผู้ถูกกระทำได้เหมือนกับการใช้คำสรรพนามและคำบุพบทในภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน

คำสรรพนามในภาษาญี่ปุ่นมีลักษณะคล้ายคลึงกับคำนาม กล่าวคือ เราสามารถใช้คำขยายมาขยายคำสรรพนามได้ ซึ่งแตกต่างจากคำสรรพนามในภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนที่ไม่สามารถกระทำได้ เช่น

The amazed he ran down the street. (เขาที่กำลังงงวิ่งไปตามถนน)

ประโยคข้างบนนี้ไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ แต่ถือว่าถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น

驚いた彼は道を走っていた。 Odoroita kare wa michi o hashitte itta.

สาเหตุที่คำสรรพนามในภาษาญี่ปุ่นคล้ายคลึงกับคำนาม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคำสรรพนามบางคำมีต้นกำเนิดมาจากคำนาม เช่น kimi ที่แปลว่า "คุณ" แต่เดิมแปลว่า "เจ้านาย" และ boku ที่แปลว่า "ผม" แต่เดิมแปลว่า "ข้ารับใช้" ดังนั้น นักภาษาศาสตร์บางคนจึงไม่จัดว่าคำสรรพนามในภาษาญี่ปุ่นเป็นคำสรรพนามที่แท้จริง แต่เป็นคำนามที่ใช้อ้างอิง คนญี่ปุ่นจะใช้คำเรียกตัวเองในกรณีที่ต้องบอกว่าใครกำลังทำอะไรให้ใครเท่านั้น

คำสรรพนามที่ใช้เรียกตัวเองขึ้นอยู่กับเพศของผู้พูดและสถานการณ์ในขณะนั้น ในสถานการณ์ที่เป็นทางการ ผู้หญิงและผู้ชายสามารถใช้ watashi หรือ watakushi ได้ ส่วนในสถานการณ์ที่เป็นกันเอง ผู้ชายมักเรียกตัวเองว่า ore คำสรรพนามที่ใช้เรียกผู้ฟังนั้นขึ้นอยู่กับสถานภาพทางสังคมและความคุ้นเคยระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง คำบางคำอาจเป็นคำที่สุภาพในสถานการณ์หนึ่ง แต่อาจไม่สุภาพในอีกสถานการณ์หนึ่งก็ได้

ชาวญี่ปุ่นมักเรียกบุคคลด้วยตำแหน่งหน้าที่แทนการใช้สรรพนาม ตัวอย่าง เช่น นักเรียนเรียกอาจารย์ว่า sensei (先生, อาจารย์) ไม่ใช่ anata ซึ่งถือว่าไม่เหมาะสมเพราะคำว่า anata ใช้เรียกบุคคลที่มีสถานภาพเท่ากันหรือต่ำกว่าเท่านั้น

ชาวต่างชาติที่พูดภาษาญี่ปุ่นมักขึ้นต้นประโยคด้วยคำว่า watashi-wa แม้ว่าประโยคนี้จะถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ แต่ก็ฟังดูแปลกมากสำหรับชาวญี่ปุ่น เปรียบเทียบเหมือนกับการใช้คำนามซ้ำๆในภาษาไทย เช่น "สมชายกำลังมา กรุณาทำข้าวผัดให้สมชายเพราะสมชายชอบข้าวผัด ฉันหวังว่าสมชายจะชอบชุดที่ฉันใส่อยู่ ..."

ตัวอย่างประโยค

แก้
คำนาม 1 + は + คำนาม 2 + です。

มีความหมายว่า "คำนาม 1 นั้นคือ คำนาม 2" ตัวอย่างเช่น

私はソムチャイです。 Watashi wa Somuchai desu ฉันชื่อสมชาย
私はタイ人です。 Watashi wa Taijin desu ฉันเป็นคนไทย

ในโครงสร้างประโยคนี้ใช้ は (อ่านว่า วะ ไม่ใช่ ฮะ) เป็นคำช่วยใช้ชี้หัวข้อเรื่องที่กำลังจะพูด ในที่นี้คือ "ฉัน" ประโยคบอกเล่าสามารถเปลี่ยนให้เป็นประโยคคำถามเพื่อถามว่าใช่หรือไม่ โดยการเติม か ลงท้ายประโยค เวลาพูดให้ออกเสียงสูงท้ายประโยค ตัวอย่างเช่น

あなたは日本人ですか? Anata wa Nihonjin desu ka? คุณเป็นคนญี่ปุ่นใช่หรือไม่
いいえ、中国人です。 Iie, Chūgokujin desu ไม่ใช่, เป็นคนจีน

คำศัพท์

watashi ฉัน
あなた anata คุณ
タイ人 taijin คนไทย
日本人 Nihonjin คนญี่ปุ่น
中国人 Chūgokujin คนจีน
はい hai ใช่
いいえ iie ไม่ใช่


ประธาน + は + กรรม + を+ กริยา

มีความหมายว่า "ประธานกระทำกริยากับกรรม" ตัวอย่างเช่น

私はご飯を食べる。 Watashi wa gohan o taberu ฉันกินข้าว
彼は本を読みます。 Kare wa hon o yomimasu เขาอ่านหนังสือ

ในโครงสร้างประโยคนี้ จะเห็นว่าเราใช้คำช่วย を ต่อท้ายคำที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค

คำศัพท์

ご飯 gohan ข้าว
hon หนังสือ
食べる taberu กิน
読みます yomimasu อ่าน
kare เขา (ผู้ชาย)

กริยารูปอดีต และปฏิเสธ

แก้

ภาษาญี่ปุ่นมีการผันรูปของกริยา เป็นไปตามกาล(Tense)เช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ นอกจากนั้นในประโยคปฏิเสธมีการผันกริยาเพื่อแสดงความหมายว่า "ไม่" อีกด้วย หลักการผันกริยามีดังนี้

รูปปัจจุบัน บอกเล่า รูปอดีต บอกเล่า รูปปัจจุบัน ปฏิเสธ รูปอดีต ปฏิเสธ
~ます ~ました ~ません ~ませんでした
食べます
tabemasu
食べました
tabemashita
食べません
tabemasen
食べませんでした
tabemasendeshita
飲みます
nomimasu
飲みました
nomimashita
飲みません
nomimasen
飲みませんでした
nomimasendeshita
見ます
mimasu
見ました
mimashita
見ません
mimasen
見ませんでした
mimasendeshita
今日テレビを見ます。 Kyō terebi o mimasu วันนี้จะดูโทรทัศน์
昨日テレビを見ました。 Kinō terebi o mimashita เมื่อวานดูโทรทัศน์
今日テレビを見ません。 Kyō terebi o mimasen วันนี้จะไม่ดูโทรทัศน์
昨日テレビを見ませんでした。 Kinō terebi o mimasendeshita เมื่อวานไม่ได้ดูโทรทัศน์

คำศัพท์

見ます mimasu ดู
テレビ terebi โทรทัศน์
今日 kyō วันนี้
昨日 kinō เมื่อวาน

คำนามและคำบ่งชี้

แก้

คำสรรพนาม

แก้
คำสรรพนามที่ใช้กันทั่วไป
บุคคลที่ รูปทั่วไป รูปสุภาพ รูปยกย่อง
หนึ่ง 僕 (boku, ผู้ชาย)
あたし (atashi, ผู้หญิง)
俺(ore,ผู้ชาย)
私 (watashi) 私 (watakushi)
สอง 君 (kimi)
お前 (omae)
あなた (anata)
そちら (sochira)
あなた様 (anata-sama)
สาม 彼 (kare, ผู้ชาย)
彼女 (kanojo, ผู้หญิง)

แม้ว่าตำราไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นหลายเล่มจะกล่าวถึงคำสรรพนาม (代名詞 ไดเมชิ) แต่นั่นก็ไม่ใช่คำสรรพนามที่แท้จริง เพราะคำสรรพนามที่แท้จริงนั้นจะต้องไม่มีคำมาขยาย แต่ไดเมชิในภาษาญี่ปุ่นมีคำขยายได้ เช่น 背の高い彼女 (se no takai kanojo หมายถึง "เธอ" ที่มีคำว่า"สูง"มาขยาย) ปัจจุบันมีไดเมชิใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย ในขณะที่ไดเมชิเก่าๆก็กำลังหายไปอย่างรวดเร็ว

มีไดเมชิจำนวนหนึ่งที่ถือได้ว่าใกล้เคียงกับคำสรรพนาม เช่น 彼 (kare, เขา) 彼女 (kanojo, เธอ); 私 (watashi, ฉัน) ขณะที่ไดเมชิบางคำถือว่าเป็น"คำนามส่วนตัว" ไม่ใช่สรรพนาม เช่น 己 (onore, ฉัน (ให้ความหมายในทางอ่อนน้อมเป็นอย่างมาก)) หรือ 僕 (boku, ฉัน (เด็กผู้ชาย)) คำเหล่านี้เปรียบเสมือนชื่อตัวเอง นั่นคือคนอื่นอาจเรียกเราด้วยไดเมชิเดียวกับที่เราเรียกตัวเองก็ได้ ผู้อื่นอาจใช้ おのれ (onore) ซึ่งเป็นการเรียกผู้ฟังในเชิงหยาบคาย หรืออาจใช้ boku ซึ่งเป็นการเรียกผู้ฟังในเชิงเห็นผู้ฟังเป็นเด็ก นอกจากนี้ ยังมีไดเมชิบางคำที่มีหลายความหมาย เช่น kare และ kanojo สามารถแปลได้ว่า แฟน(ที่เป็นผู้ชาย) และ แฟน(ที่เป็นผู้หญิง) ตามลำดับ

คนญี่ปุ่นมักไม่ค่อยใช้ไดเมชิเรียกตัวเอง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภาษาญี่ปุ่นไม่จำเป็นต้องระบุประธานทุกครั้งในกรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังเข้าใจตรงกันอยู่แล้ว และโดยปกติ คนญี่ปุ่นมักจะเรียกชื่อหรือใช้คำนามเฉพาะเจาะจงแทนการใช้สรรพนาม เช่น

「木下さんは、背が高いですね。」
Kinoshita-san wa, se ga takai desu ne.
(กำลังพูดกับคุณคิโนะชิตะ) "คุณคิโนะชิตะสูงจังเลยนะครับ"

「専務、明日福岡市西区の山本商事の社長に会っていただけますか?」
Semmu, asu Fukuoka-shi Nishi-ku no Yamamoto-shōji no shachō ni atte itadakemasuka?
(กำลังพูดกับผู้จัดการ) "ท่านผู้จัดการจะสามารถไปพบท่านประธานบริษัทยามะโมโตะพรุ่งนี้ได้ไหมคะ?"

คำบ่งชี้

แก้
คำบ่งชี้
ko- so- a- do-
kore
อันนี้
sore
อันนั้น
are
อันโน้น
dore
อันไหน?
kono
นี้
sono
นั้น
ano
โน้น
dono
ไหน?
konna
เหมือนอย่างนี้
sonna
เหมือนอย่างนั้น
anna
เหมือนอย่างโน้น
donna
อย่างไร? เหมือนอย่างไหน
koko
ที่นี่
soko
ที่นั่น
asoko *
ที่โน่น
doko
ที่ไหน?
kochira
ทางนี้
sochira
ทางนั้น
achira
ทางโน้น
dochira
ทางไหน?

แบบนี้

แบบนั้น
ā *
แบบโน้น

แบบไหน?
* รูปพิเศษ

คำบ่งชี้มีทั้งหมดสามแบบคือ คำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย ko, so และ a คำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย ko ใช้ระบุสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวผู้พูดมากกว่าผู้ฟัง คำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย so ใช้ระบุสิ่งที่ใกล้ตัวผู้ฟังมากกว่าผู้พูด และคำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย a ใช้ระบุสิ่งที่อยู่ไกลทั้งผู้พูดและผู้ฟัง คำบ่งชี้สามารถทำให้เป็นรูปคำถามได้ด้วยการใช้คำว่า do ขึ้นต้น คำบ่งชี้ยังสามารถใช้ระบุบุคลได้ด้วย เช่น

「こちらは林さんです。」
Kochira wa Hayashi-san desu.
"นี่คือคุณฮะยะชิ"

คำบ่งชี้ที่ใช้เจาะจงคำนาม ต้องวางไว้หน้าคำนาม เช่น この本 (kono hon) แปลว่า หนังสือเล่มนี้ และ その本 (sono hon) แปลว่า หนังสือเล่มนั้น

เมื่อใช้คำบ่งชี้ระบุสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสิ่งที่ผู้พูดหรือผู้ฟังไม่เห็นในขณะนั้น คำบ่งชี้แต่ละคำจะมีความหมายในเชิงความรู้สึกที่แตกต่างกัน คำบ่งชี้ที่แสดงความไกลทั้งผู้พูดและผู้ฟัง มักจะใช้พูดถึงสิ่งหรือประสบการณ์ที่ผู้พูดมีร่วมกับผู้ฟัง เช่น

A:先日、札幌に行って来ました。
A: Senjitsu, Sapporo ni itte kimashita.
A: เมื่อไม่นานมานี้ ฉันไปซัปโปโรมา

B:あそこ(*そこ)はいつ行ってもいい所ですね。
B: Asoko (*Soko) wa itsu itte mo ii tokoro desu ne.
B: ไม่ว่าจะไปเมื่อไร ที่นั่นก็เป็นที่ที่ดีเสมอเลยเนอะ

หากใช้ soko แทน asoko ในประโยคนี้ จะหมายความว่า B ไม่มีความรู้เกี่ยวกับซัปโปโร ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะเขาแสดงความเห็นเกี่ยวกับซัปโปโร ดังนั้น จึงใช้ soko แทนไม่ได้ คำบ่งชี้ที่ใช้บอกว่าอยู่ใกล้ผู้ฟังมากกว่าผู้พูด มักใช้พูดถึงสิ่งหรือประสบการณ์ที่ผู้พูดและผู้ฟังไม่ได้มีร่วมกัน เช่น

佐藤:田中という人が昨日死んだって…
Satō: Tanaka to iu hito ga kinō shinda tte…
ซะโต: ฉันได้ยินว่าคนที่ชื่อทานากะตายเมื่อวานนี้…

森:えっ、本当?
Mori: E', hontō?
โมริ: เอ๊ะ จริงหรือ?

佐藤:だから、その(*あの)人、森さんの昔の隣人じゃなかったっけ?
Satō : Dakara, sono (*ano) hito, Mori-san no mukashi no rinjin ja nakatta 'kke?
ซะโต: ฉันถึงได้ถามไง เขาเป็นญาติของเธอไม่ใช่หรือ?

สังเกตว่า ถ้าใช้ ano แทน sono ในประโยคนี้จะไม่เหมาะสม เพราะว่าซะโตะไม่ได้รู้จักกับทานากะเป็นการส่วนตัว

ความสุภาพ

แก้

ภาษาญี่ปุ่นมีการใช้ไวยากรณ์พิเศษเพื่อแสดงถึงความสุภาพและความเป็นทางการ ซึ่งแตกต่างจากภาษาตะวันตก

สังคมญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในหลายระดับ กล่าวคือ คนหนึ่งมีสถานะสูงกว่าอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีปัจจัยที่มากำหนด อาทิ หน้าที่การงาน อายุ ประสบการณ์ และสถานะทางจิตใจ (ผู้คนจะเรียกร้องให้สุภาพต่อกัน) ผู้ที่มีวุฒิน้อยกว่าจะใช้ภาษาที่สุภาพ ขณะที่ผู้ที่มีวุฒิอาจใช้ภาษาที่เรียบง่าย ผู้ที่ไม่รู้จักกันมาก่อนจะใช้ภาษาสุภาพต่อกัน เด็กเล็กมักไม่ใช้ภาษาสุภาพจนกว่าจะเป็นวัยรุ่น เมื่อโตขึ้น พวกเขาจะพูดภาษาที่เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น

เทเนโงะ (丁寧語) (ภาษาสุภาพ) มักจะเป็นการผันคำเป็นส่วนใหญ่ ส่วนซงเคโงะ (尊敬語) (ภาษายกย่อง) และ เค็นโจโงะ (謙譲語) (ภาษาถ่อมตัว) จะใช้รูปคำกริยาพิเศษที่แสดงถึงการยกย่องและการถ่อมตัว เช่น อิคุ ที่แปลว่า "ไป" จะเปลี่ยนเป็น อิคิมะซุ เมื่ออยู่ในรูปสุภาพ เปลี่ยนเป็น อิรัสชะรุ เมื่ออยู่ในรูปยกย่อง และเปลี่ยนเป็น มะอิรุ เมื่ออยู่ในรูปถ่อมตัว

ภาษาถ่อมตัวจะใช้ในการพูดเกี่ยวกับตัวเอง หรือกลุ่มของตัวเอง (บริษัท, ครอบครัว) ขณะที่ภาษายกย่องจะใช้เมื่อกล่าวถึงผู้สนทนาหรือกลุ่มอื่น เช่น คำว่า -ซัง ที่ใช้ต่อท้ายชื่อ (แปลว่า คุณ-) ถือเป็นภาษายกย่องอย่างหนึ่ง จะไม่ใช้เรียกตนเองหรือเรียกคนที่อยู่ในกลุ่มของตนให้ผู้อื่นฟังเพราะบริษัทถือเป็นกลุ่มของผู้พูด เมื่อพูดกับผู้ที่อยู่สูงกว่าในบริษัทของตน หรือพูดกับพนักงานในบริษัทของตนเกี่ยวกับผู้ที่อยู่สูงกว่า ชาวญี่ปุ่นจะใช้ภาษายกย่องผู้ที่อยู่สูงกว่าในกลุ่มของตน แต่เมื่อพูดกับพนักงานบริษัทอื่น (คนที่อยู่นอกกลุ่ม) ชาวญี่ปุ่นจะใช้รูปแบบถ่อมตนเมื่ออ้างถึงคนที่สูงกว่าในบริษัทของตน

คำที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่นจะเกี่ยวข้องกับบุคคล ภาษาและการกระทำซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ละคนขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ (ทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่ม) ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงมีการกำหนดคำยกย่องทางสังคมที่เรียกว่า"การยกย่องแบบสัมพัทธ์" ซึ่งแตกต่างจากระบบของเกาหลีซึ่งเป็น"การยกย่องแบบสัมบูรณ์" กล่าวคือ ภาษาเกาหลีจะกำหนดคำที่ใช้คุยกับแต่ละคนๆไป (เช่น พ่อของตน, แม่ของตน, หัวหน้าของตน) โดยไม่ขึ้นกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ดังนั้น ภาษาสุภาพของเกาหลีจึงฟังดูบุ่มบ่ามเมื่อแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นตามตัวอักษร เช่นในภาษาเกาหลี เราพูดว่า "ท่านประธานบริษัทของพวกเรา... " กับคนที่อยู่นอกกลุ่มได้ตามปกติ แต่ชาวญี่ปุ่นถือว่าการพูดเช่นนี้ไม่สุภาพ

คำนามหลายคำในภาษาญี่ปุ่นอาจทำให้อยู่ในรูปสุภาพได้ ด้วยการเติมคำอุปสรรค โอะ- หรือ โกะ- นำหน้า คำว่า โอะ- มักใช้กับคำที่มาจากภาษาญี่ปุ่น ขณะที่คำว่า โกะ- ใช้กับคำที่รับมาจากภาษาจีน บางครั้ง คำที่เติมนำหน้าก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของคำนั้นอย่างถาวร และกลายเป็นคำศัพท์ที่อยู่ในรูปปกติ เช่นคำว่า โกะฮัง ที่แปลว่าอาหาร การใช้คำเหล่านี้แสดงถึงความเคารพต่อเจ้าของสิ่งของและเคารพต่อสิ่งของ เช่น คำว่า โทะโมะดะชิ ที่แปลว่าเพื่อน จะกลายเป็นคำว่า โอะ-โทะโมะดะชิ เมื่อกล่าวถึงเพื่อนของบุคคลที่สถานะสูงกว่า (แม้แต่แม่ก็มักจะใช้คำนี้เมื่อกล่าวถึงเพื่อนของลูก) ผู้พูดอาจใช้คำว่า โอะ-มิซุ ที่แปลว่าน้ำ แทนคำว่ามิซุเพื่อแสดงความสุภาพก็ได้

ชาวญี่ปุ่นจะใช้ภาษาสุภาพกับผู้ที่ยังไม่สนิทสนมกัน นั่นคือ พวกเขาจะใช้ภาษาสุภาพกับผู้ที่เพิ่งรู้จักกันใหม่ๆ แต่หลังจากสนิทสนมกันมากขึ้นแล้ว พวกเขาจะไม่ใช้ภาษาสุภาพอีกต่อไป ทั้งนี้ไม่ขึ้นกับอายุ สถานะทางสังคม หรือเพศ

คำศัพท์

แก้

ประวัติศาสตร์

แก้

วิวัฒนาการของภาษาญี่ปุ่นสามารถแบ่งออกเป็นยุคต่าง ๆ ได้ดังนี้[12]

  1. ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistoric age; 先史時代せんしじだい) อยู่ในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 8 ตรงกับยุคโจมง ยุคยาโยอิ ยุคโคฟุง และยุคอาซูกะ
  2. ภาษาญี่ปุ่นเก่า (Old Japanese; 上代語じょうだいご) อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 ตรงกับยุคนาระ
  3. ภาษาญี่ปุ่นกลางตอนต้น (Early Middle Japanese; 中古語ちゅうこご) อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 ตรงกับยุคเฮอัง
  4. ภาษาญี่ปุ่นกลางตอนปลาย (Late Middle Japanese; 中世語ちゅうせいご) อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ปี ตรงกับยุคคามากูระ ยุคมูโรมาจิ และยุคอาซูจิ-โมโมยามะ
  5. ภาษาญี่ปุ่นปัจจุบัน (Modern Japanese; 近世語きんせいご, 現代語げんだいご) เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงปัจจุบัน โดยอาจแบ่งย่อยได้เป็น 2 ช่วง ได้แก่ ภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในยุคเอโดะ (近世語きんせいご) กับภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ตั้งแต่ยุคเมจิจนถึงปัจจุบัน (現代語げんだいご)

การจำแนกตามภูมิศาสตร์

แก้

ภาษาญี่ปุ่นสามารถแบ่งเป็นภาษาย่อยได้ดังต่อไปนี้[34]

ภาษาย่อยของภาษาญี่ปุ่น
ภาษา ภาษาย่อย พื้นที่
ภาษาญี่ปุ่น (日本語にほんご ญี่ปุ่นตะวันออก (東日本ひがしにほん ฮอกไกโด北海道ほっかいどう
โทโฮกุ東北とうほく
คันโต関東かんとう
โทไก-โทซัง東海東山とうかいとうさん
ฮาจิโจจิมะ八丈島はちじょうじま
ญี่ปุ่นตะวันตก (西日本にしにほん โฮกูริกุ北陸ほくりく
คิงกิ近畿きんき
ชูโงกุ中国ちゅうごく
ชิโกกุ四国しこく
คีวชู九州きゅうしゅう
รีวกีว琉球りゅうきゅう อามามิ奄美あまみ
โอกินาวะ沖縄おきなわ
ซากิชิมะ先島さきしま

อย่างไรก็ตาม นักภาษาศาสตร์บางคนไม่จัดให้ภาษาที่พูดในหมู่เกาะรีวกีวเป็นภาษาย่อยของภาษาญี่ปุ่นตามตารางข้างต้น แต่จัดให้ภาษาดังกล่าวเป็นภาษาพี่น้องร่วมตระกูลกับภาษาญี่ปุ่น[35]

กลุ่มภาษา

แก้


การเรียนภาษาญี่ปุ่น

แก้

มหาวิทยาลัยจำนวนมากทั่วโลกมีการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนมัธยมและโรงเรียนประถมบางแห่งที่สอนภาษาญี่ปุ่นด้วย ภาษาญี่ปุ่นได้รับความสนใจตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1800 และเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในช่วงเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังเฟื่องฟูในทศวรรษ 1980 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะวัฒนธรรมป๊อปปูล่าร์ของญี่ปุ่น (เช่น อนิเมะ และ วิดีโอเกม) กำลังแพร่หลายไปทั่วโลกตั้งแต่ทศวรรษ 1990 ใน ค.ศ. 2003 มีผู้ศึกษาภาษาญี่ปุ่นอยู่ทั้งหมด 2.3 ล้านคนทั่วโลก แบ่งเป็น ชาวเกาหลีใต้ 900,000 คน ชาวจีน 389,000 ชาวออสเตรเลีย 381,000 คน และชาวอเมริกัน 140,000 คน ในญี่ปุ่นมีชาวต่างชาติที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่นทั้งที่มหาวิทยาลัยและที่โรงเรียนสอนภาษาอยู่ทั้งหมด 90,000 คน แบ่งเป็นชาวจีน 77,000 คน และชาวเกาหลีใต้ 15,000 นอกจากนี้ รัฐท้องถิ่นและกลุ่มองค์กรไม่หวังผลกำไรยังสนับสนุนให้มีการเรียนภาษาญี่ปุ่นฟรีสำหรับชาวต่างชาติที่พำนักอาศัยอยู่ รวมถึงชาวบราซิล-ญี่ปุ่น และชาวต่างชาติที่โอนสัญชาติเป็นญี่ปุ่นด้วย

รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนให้มีการสอบวัดระดับทักษะการใช้ภาษาญี่ปุ่นสำหรับชาวต่างชาติ การทดสอบที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดคือ การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น (JLPT) และการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ (JETRO) ที่จัดโดยองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น

หมายเหตุ

แก้
  1. แม้จะไม่มีการระบุสถานะของภาษาญี่ปุ่นไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่เอกสารทางราชการล้วนเขียนด้วยภาษาญี่ปุ่น และในพระราชบัญญัติศาล มาตราที่ 74 ระบุว่า "ในศาลให้ใช้ภาษาญี่ปุ่น" รวมทั้งยังบรรจุการศึกษาภาษาญี่ปุ่นในฐานะ "ภาษาของชาติ"(ญี่ปุ่น: 国語 โรมาจิ: Kokugo ทับศัพท์: โคคูโงะ)ไว้ในหลักสูตรการศึกษาด้วย
  2. อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลสำมะโนะประชากรเมื่อปี 2005 แสดงให้เห็นว่า ไม่มีผู้อยู่อาศัยถาวรอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปคนใดใช้ภาษาญี่ปุ่นในครัวเรือนเลย[7]
  3. บางครั้งไกไรโงะอาจรวมถึงคังโงะ (คำที่มาจากภาษาจีน) ด้วย แต่โดยทั่วไปจะไม่นับรวม[11]
  4. ต่างจากผู้พูดในฝั่งตะวันตกของญี่ปุ่นตั้งแต่นาโงยะเป็นต้นไปที่ออกเสียงใกล้เคียงกับเสียง [u] นั่นคือ มีการห่อริมฝีปากและตำแหน่งลิ้นเยื้องไปข้างหลังมากกว่า[18]
  5. อย่างไรก็ตาม Saito (2015) เห็นว่าควรถอดสัทอักษรเป็น [nʲ] มากกว่า เนื่องจากว่าในการออกเสียงจริง ตำแหน่งเกิดเสียงอยู่ที่หน้าเพดานแข็ง (ตำแหน่งปุ่มเหงือก-เพดานแข็ง) ไม่ใช่เพดานแข็งตามที่สัทอักษร ɲ แสดงเสียง[14]
  6. เสียง [ŋ] มีชื่อเรียกเฉพาะว่า "เสียงขุ่นนาสิก" (ญี่ปุ่น: 鼻濁音 โรมาจิ: Bidakuon ทับศัพท์: บิดากูอง)
  7. Saitō (2015) ได้ให้เสียง [ɣ̃] (เสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน นาสิก) เป็นหน่วยเสียงย่อยอีกหนึ่งเสียงด้วย
  8. ชาวเอโดะ หรือ เอดกโกะ หมายถึง คนที่เกิดและโตในเมืองเอโดะหรือคนที่อาศัยอยู่ในใจกลางเมืองของกรุงโตเกียวมาตั้งแต่บรรพบุรุษ การออกเสียงแบบนี้เป็นลักษณะเด่นของวิธีการพูดแบบ "เบรัมเม คูโจ" (ญี่ปุ่น: べらんめえ口調 โรมาจิ: Beranmē-kuchō ทับศัพท์: เบรัมเมคูโจ) ซึ่งเคยใช้ในหมู่พ่อค้าย่านใจกลางเมืองเอโดะ (กรุงโตเกียวในปัจจุบัน)[20]
  9. Saitō (2015) ได้ให้เสียง [χ] (เสียงเสียดแทรก ลิ้นไก่ ไม่ก้อง) เป็นหน่วยเสียงย่อยอีกหนึ่งเสียงด้วย
  10. เนื่องจากหน่วยเสียง /N/ ออกเสียงยาว 1 มอรา ในที่นี้จึงใช้สัญลักษณ์ "เสียงยาว" (long) ในการแสดงเสียงโดยละเอียดเช่นเดียวกับที่ปรากฏใน Vance (2008) อย่างไรก็ตาม Saito (2015) เลือกใช้สัญลักษณ์ "เสียงยาวครึ่งหนึ่ง" (half-long)
  11. 「を」 เดิมเคยใช้แสดงเสียง /wo/ ต่อมาในช่วงภาษาญี่ปุ่นกลางตอนต้นจนถึงช่วงต้นของภาษาญี่ปุ่นกลางตอนปลาย เสียง /wo/ ได้รวมเข้ากับเสียง /o/[12] ปัจจุบันคำศัพท์ที่เคยเขียนด้วย 「を」 ได้เปลี่ยนมาเขียนด้วย 「お」 ยกเว้นคำช่วย 「を」[25]
  12. สามารถเขียนแทนด้วยอักษรฮิรางานะ 「か゚・き゚・く゚・け゚・こ゚」 หรืออักษรคาตากานะ 「カ゚・キ゚・ク゚・ケ゚・コ゚」 นิยมใช้เฉพาะเมื่อมีความจำเป็น เช่น การแสดงเสียงอ่านในพจนานุกรมการออกเสียง
  13. Hasegawa (2015) ระบุว่าในภาษาคิงกิ (คันไซ) เสียงสระจะออกเป็นเสียงก้องอย่างชัดเจนถึงขนาดที่คำศัพท์ 1 มอรามักจะลากเสียงสระให้ยาวขึ้นเป็น 2 มอรา
  14. Hasegawa (2015) และนักภาษาศาสตร์บางคนได้รวมโครงสร้างพยางค์แบบ "พยัญชนะ+เสียงเลื่อน+สระ" เข้ากับ "พยัญชนะ+สระ" เนื่องจากมองว่าเสียงเลื่อนเหล่านี้เป็นเพียงการออกเสียงซ้อนของเสียงพยัญชนะ: (Cʲ) ในขณะที่นักภาษาศาสตร์อีกส่วนมองว่าเป็นเสียงพยัญชนะควบกล้ำ: (Cj)[29][30]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 NHK's New Dictionary of Japanese Pronunciation and Accentuation (ภาษาญี่ปุ่น). NHK Hōsō Bunka Kenkyūjo, 日本放送協会放送文化研究所. Tōkyō: Enueichikēshuppan. 2016. ISBN 978-4-14-011345-5. OCLC 950889281.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 2.2 Akinaga, Kazue; 秋永一枝 (2014). Shin Meikai Nihongo akusento jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Haruhiko Kindaichi, 金田一春彦 (Dai 2-han ed.). Tōkyō Chiyoda-ku. ISBN 978-4-385-13672-1. OCLC 874517214.
  3. 3.0 3.1 3.2 Nihon kokugo daijiten (ภาษาญี่ปุ่น). Shōgakkan. Kokugo Jiten Henshūbu, 小学館. 国語辞典編集部. (Seisenban, shohan ed.). Tōkyō: Shōgakkan. 2006. ISBN 4-09-521021-4. OCLC 70216445.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  4. Eberhard, David M., Gary F. Simons, and Charles D. Fennig (eds.). (2021). Ethnologue: Languages of the World. Twenty-fourth edition. Dallas, Texas: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com.[1]
  5. "Japanese". Ethnologue (ภาษาอังกฤษ).
  6. "Constitution of the State of Angaur: 9". www.pacificdigitallibrary.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "2005 Census of Population & Housing" (PDF). Bureau of Budget & Planning. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.
  8. Amano, Midori; 天野みどり (2020). "語順 (word order)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 71. ISBN 978-4-385-13580-9. OCLC 1160201927.
  9. Tanaka, Shin'ichi (2020). "音節 (syllable)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 21. ISBN 978-4-385-13580-9. OCLC 1160201927.
  10. Ikegami, Nao; 池上尚 (2020). "語彙 (lexicon, vocabulary)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 63. ISBN 978-4-385-13580-9. OCLC 1160201927.
  11. Meikyō kokugo jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Yasuo Kitahara, 保雄 北原 (Daisanhan ed.). Tōkyō. 2021. ISBN 978-4-469-02122-6. OCLC 1232142874.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 Frellesvig, Bjarke (2018). "Part I Overview Chapter 2 The History of the Language". The Cambridge handbook of Japanese linguistics. Yoko Hasegawa. Cambridge. ISBN 978-1-316-88446-1. OCLC 1030822696.{{cite book}}: CS1 maint: date and year (ลิงก์)
  13. Iwata, Kazunari; 岩田一成 (2018). "ローマ字 (the Roman alphabet)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 164. ISBN 978-4-385-13580-9. OCLC 1160201927.
  14. 14.00 14.01 14.02 14.03 14.04 14.05 14.06 14.07 14.08 14.09 14.10 14.11 14.12 14.13 14.14 14.15 Saitō, Yoshio; 斎藤純男 (2015). Nihongo onseigaku nyūmon (ภาษาญี่ปุ่น) (Kaiteiban ed.). Tōkyō: Sanseidō. ISBN 4-385-34588-0. OCLC 76917393.
  15. 15.0 15.1 15.2 Tanaka, Shin'ichi; 田中真一 (2020). "母音 (vowel)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō: Sanseidō. p. 145. ISBN 978-4-385-13580-9. OCLC 1160201927.
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 16.5 16.6 Hasegawa, Yoko (2015). Japanese : a linguistic introduction. Cambridge, United Kingdom. ISBN 978-1-107-61147-4. OCLC 873763304.
  17. 17.0 17.1 17.2 Vance, Timothy J. (2008). The sounds of Japanese. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-61754-3. OCLC 227031753.
  18. 18.0 18.1 Sugitō, Miyoko; 杉藤美代子 (1997). "日本語音声の音声学的特徴". Bme (ภาษาญี่ปุ่น). 11 (4): 2–8. doi:10.11239/jsmbe1987.11.4_2.
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 Harasawa, Itsuo; 原沢伊都夫 (2016). Nihongo kyōshi no tame no nyūmon gengogaku : enshū to kaisetsu (ภาษาญี่ปุ่น) (Shohan ed.). Tōkyō. ISBN 978-4-88319-739-2. OCLC 964677472.
  20. Daijisen (ภาษาญี่ปุ่น). Akira Matsumura, 松村明, Shōgakkan. "Daijisen" Henshūbu, 小学館. 大辞泉編集部. Tōkyō. 2012. ISBN 9784095012131. OCLC 928950458.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  21. Tanaka, Shin'ichi; 田中真一 (2020). "直音・拗音 (simplex onset mora/complex onset mora)". Meikai nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tokyō. p. 114. ISBN 978-4-385-13580-9. OCLC 1160201927.
  22. 22.0 22.1 Tanaka, Shin'ichi; 田中真一 (2020). "促音・拗音・撥音 (moraic obstruent/long vowel/moraic nasal)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 107. ISBN 978-4-385-13580-9. OCLC 1160201927.
  23. Tanaka, Shin'ichi; 田中真一 (2020). "子音 (consonant)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 79. ISBN 978-4-385-13580-9. OCLC 1160201927.
  24. Tsujimura, Natsuko (2013). An introduction to Japanese linguistics (3rd ed.). Hoboken. ISBN 978-1-118-58411-8. OCLC 842307632.
  25. "文化庁 | 国語施策・日本語教育 | 国語施策情報 | 内閣告示・内閣訓令 | 現代仮名遣い". www.bunka.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2021-06-22.
  26. Tanaka, Shin'ichi; 田中真一 (2020). "口蓋音 (palatal sound)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 64. ISBN 978-4-385-13580-9. OCLC 1160201927.
  27. Tanaka, Shin'ichi; 田中真一 (2020). "有声音・無声音 (voiced sound/voiceless sound)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 157. ISBN 978-4-385-13580-9. OCLC 1160201927.
  28. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (2017). "heavy syllable พยางค์หนักมาก". พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. p. 420. ISBN 978-616-389-060-3. OCLC 1201694777.
  29. Matsui, Michinao; 松井理直, 日本語開拗音の音声的特徴について (ภาษาญี่ปุ่น), doi:10.14946/00002100, สืบค้นเมื่อ 2021-06-28
  30. Tanaka, Shin'ichi; 山田真一 (2020). "直音・拗音 (simplex onset mora/complex onset mora)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 114. ISBN 978-4-385-13580-9. OCLC 1160201927.
  31. Yamaoka, Kanako; 山岡華菜子 (2020). "モーラ・シラブル (mora/syllable)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō: Sanseidō. p. 153. ISBN 978-4-385-13580-9. OCLC 1160201927.
  32. ยุพกา ฟูกุชิม่า (2018). การออกเสียงภาษาญี่ปุ่นจากทฤษฎีสู่ปฏิบัติ. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ISBN 978-616-556-144-0. OCLC 900808629.
  33. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (2017). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตสภา. p. 4. ISBN 978-616-389-060-3. OCLC 1201694777.
  34. Shimoji, Michinori (2018). "Dialects". The Cambridge handbook of Japanese linguistics. Yoko Hasegawa. Cambridge. ISBN 978-1-316-88446-1. OCLC 1030822696.
  35. Hayashi, Yuka; 林由華 (2020). "琉球語 (the Ryukyuan language)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. ISBN 978-4-385-13580-9. OCLC 1160201927.

ผลงานที่อ้างอิง

แก้
  • Bloch, Bernard (1946). Studies in colloquial Japanese I: Inflection. Journal of the American Oriental Society, 66, pp. 97–130.
  • Bloch, Bernard (1946). Studies in colloquial Japanese II: Syntax. Language, 22, pp. 200–248.
  • Chafe, William L. (1976). Giveness, contrastiveness, definiteness, subjects, topics, and point of view. In C. Li (Ed.), Subject and topic (pp. 25–56). New York: Academic Press. ISBN 0-12-447350-4.
  • Dalby, Andrew. (2004). "Japanese," เก็บถาวร 2022-03-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน in Dictionary of Languages: the Definitive Reference to More than 400 Languages. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-11568-1, 978-0-231-11569-8; OCLC 474656178
  • Frellesvig, Bjarke (2010). A history of the Japanese language. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-65320-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-27. สืบค้นเมื่อ 2021-11-17.
  • Frellesvig, B.; Whitman, J. (2008). Proto-Japanese: Issues and Prospects. Amsterdam studies in the theory and history of linguistic science / 4. John Benjamins Publishing Company. ISBN 978-90-272-4809-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-27. สืบค้นเมื่อ 2022-03-26.
  • Kindaichi, Haruhiko; Hirano, Umeyo (1978). The Japanese Language. Tuttle Publishing. ISBN 978-0-8048-1579-6.
  • Kuno, Susumu (1973). The structure of the Japanese language. Cambridge, MA: MIT Press. ISBN 0-262-11049-0.
  • Kuno, Susumu. (1976). "Subject, theme, and the speaker's empathy: A re-examination of relativization phenomena," in Charles N. Li (Ed.), Subject and topic (pp. 417–444). New York: Academic Press. ISBN 0-12-447350-4.
  • McClain, Yoko Matsuoka. (1981). Handbook of modern Japanese grammar: 口語日本文法便覧 [Kōgo Nihon bumpō]. Tokyo: Hokuseido Press. ISBN 4-590-00570-0, 0-89346-149-0.
  • Miller, Roy (1967). The Japanese language. Chicago: University of Chicago Press.
  • Miller, Roy (1980). Origins of the Japanese language: Lectures in Japan during the academic year, 1977–78. Seattle: University of Washington Press. ISBN 0-295-95766-2.
  • Mizutani, Osamu; & Mizutani, Nobuko (1987). How to be polite in Japanese: 日本語の敬語 [Nihongo no keigo]. Tokyo: The Japan Times. ISBN 4-7890-0338-8.
  • Robbeets, Martine Irma (2005). Is Japanese Related to Korean, Tungusic, Mongolic and Turkic?. Otto Harrassowitz Verlag. ISBN 978-3-447-05247-4.
  • Okada, Hideo (1999). "Japanese". Handbook of the International Phonetic Association. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 117–119.
  • Shibamoto, Janet S. (1985). Japanese women's language. New York: Academic Press. ISBN 0-12-640030-X. Graduate Level
  • Shibatani, Masayoshi (1990). The languages of Japan. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0-521-36070-6. ISBN 0-521-36918-5 (pbk).
  • Tsujimura, Natsuko (1996). An introduction to Japanese linguistics. Cambridge, MA: Blackwell Publishers. ISBN 0-631-19855-5 (hbk); ISBN 0-631-19856-3 (pbk). Upper Level Textbooks
  • Tsujimura, Natsuko (Ed.) (1999). The handbook of Japanese linguistics. Malden, MA: Blackwell Publishers. ISBN 0-631-20504-7. Readings/Anthologies
  • Vovin, Alexander (2010). Korea-Japonica: A Re-Evaluation of a Common Genetic Origin. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-3278-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-23. สืบค้นเมื่อ 2015-10-18.

อ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้