การสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น

การสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本語能力試験ทับศัพท์: นิฮงโงะโนเรียวคึชิเคง; อังกฤษ: Japanese Language Proficiency Test ตัวย่อ JLPT) เป็นการสอบเพื่อวัดผลและรับรองความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาต่างชาติที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่นภายในและนอกประเทศ[1] ถูกจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) การสอบจะถูกจัดขึ้นในวันอาทิตย์แรกของเดือนกรกฎาคมและธันวาคมในทุก ๆ ปี โดยแบ่งระดับความยากง่ายเป็น 4 ระดับ และมีระดับ 1 เป็นระดับที่มีความยากที่สุด

ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ N5 N4 N3 N2 และ N1 ซึ่งเริ่มใช้สอบตั้งแต่เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา ปัจจุบันมีการรับสมัครสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นเรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์[2] JLPT Online โดยสมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น (ส.น.ญ.)

ในการสอบครั้งที่ 24 ปี พ.ศ. 2550 นั้น ได้มีผู้เข้ารับการสอบกว่า 4 แสน 3 หมื่นคน โดยถูกจัดขึ้นใน 20 จังหวัดทั่วประเทศญี่ปุ่น และ 46 ประเทศ 127 เมืองทั่วโลก [2][1]

การสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นมักถูกเข้าใจสับสนกับการสอบรับรองความรู้ภาษาญี่ปุ่น (日本語検定) มาเป็นเวลานานแม้จวบจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งการสอบรับรองความรู้ภาษาญี่ปุ่น (日本語検定) นี้เป็นการสอบวัดภาษาญี่ปุ่นภายในประเทศญี่ปุ่นสำหรับชาวญี่ปุ่นผู้ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาแม่ซึ่งมีระดับความยากที่ยากกว่าการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น (日本語能力試験) สำหรับชาวต่างชาติ เนื่องจากการสอบรับรองความรู้ภาษาญี่ปุ่น (日本語検定) สำหรับชาวญี่ปุ่นถูกออกแบบมาเพื่อทดสอบชาวญี่ปุ่นที่ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาแม่โดยเฉพาะ

ในทางตรงกันข้ามการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น (日本語能力試験) เป็นการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นของชาวต่างชาติที่เรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาต่างประเทศ ความเข้าใจสับสนนี้จึงกลายเป็นที่มาของคำกล่าวที่เข้าใจสับสนกันโดยทั่วไปในหมู่ชาวไทยผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นในฐานะภาษาต่างประเทศ (รวมถึงชาวญี่ปุ่นที่เข้าใจสับสนระหว่างการสอบสองประเภทนี้) ว่า "ระดับ1แม้แต่คนญี่ปุ่นก็ยังสอบไม่ผ่าน" ซึ่งระดับ1ตามความหมายของคำกล่าวนี้คือการสอบรับรองความรู้ภาษาญี่ปุ่น (日本語検定) ซึ่งเป็นการสอบสำหรับชาวญี่ปุ่น ไม่ได้หมายถึงการสอบวัดความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น (日本語能力試験) ซึ่งเป็นการสอบสำหรับชาวต่างชาติ

ความเข้าใจสับสนกันโดยทั่วไปดังกล่าวข้างต้นอาจสืบเนื่องมาจากชื่อเรียกที่มีความคล้ายคลึงกัน อีกทั้งมีเป้าหมายการทดสอบที่เป็นภาษาญี่ปุ่นเหมือนกัน มีการแบ่งระดับความยากง่ายเป็นระดับต่างๆเหมือนกัน

รายละเอียดของการสอบและเกณฑ์การสอบวัดผล

แก้
รูปแบบเดิม
ระดับ ไวยากรณ์ ความรู้ คันจิ คำศัพท์ ช.ม. เรียน การวัดผล
(ของคะแนนเต็มถือว่าสอบผ่าน)
1 ระดับสูง มีความรู้พื้นฐานพอที่จะใช้ภาษาในการใช้ชีวิตในสังคม การศึกษาในระดับอุดมศึกษา หรือเพื่อการวิจัย 2,000 ตัว 10,000 ตัว 1,800~4,500 ช.ม. 70 %
2 ระดับค่อนข้างสูง มีความสามารถที่จะใช้บทสนทนาทั่วไปได้ และสามารถอ่าน-เขียนได้ 1,000 ตัว 6,000 ตัว 1,400~3,200 ช.ม. 60 %
3 ระดับพื้นฐาน มีความสามารถที่จะใช้บทสนทนาในชีวิตประจำวันได้ และอ่าน-เขียนประโยคง่าย ๆ ได้ 300 ตัว 1,500 ตัว 375~750 ช.ม. 60 %
4 ระดับต้น ใช้บทสนทนาง่าย ๆ ได้ และอ่าน-เขียนประโยคง่าย ๆ ได้ 100 ตัว 800 ตัว 200~400 ช.ม. 60 %
รูปแบบใหม่
ระดับ รอบการสอบ
(เวลาการสอบ)
รวมเวลาการสอบ
N1 ความรู้เกี่ยวกับภาษา (คำศัพท์/ไวยากรณ์) ・การอ่าน
(110 นาที)
การฟัง
(60 นาที)
170 นาที
N2 ความรู้เกี่ยวกับภาษา (คำศัพท์/ไวยากรณ์) ・การอ่าน
(105 นาที)
การฟัง
(60 นาที)
155 นาที
N3 ความรู้เกี่ยวกับภาษา (คำศัพท์)
(30 นาที)
ความรู้เกี่ยวกับภาษา (ไวยากรณ์) ・การอ่าน
(70 นาที)
การฟัง
(40 นาที)
140 นาที
N4 ความรู้เกี่ยวกับภาษา (คำศัพท์)
(30 นาที)
ความรู้เกี่ยวกับภาษา (ไวยากรณ์) ・การอ่าน
(60 นาที)
การฟัง
(35 นาที)
125 นาที
N5 ความรู้เกี่ยวกับภาษา (คำศัพท์)
(25 นาที)
ความรู้เกี่ยวกับภาษา (ไวยากรณ์) ・การอ่าน
(50 นาที)
การฟัง
(30 นาที)
105 นาที

คำศัพท์ดังกล่าวรวมทั้งคันจิ และคำศัพท์แล้ว (ก่อนหน้านี้คือ 文字・語彙)

ระดับของการสอบแบใหม่ รายละเอียดของแต่ละระดับ มาตรฐานการวัดผลภาษาต่างประเทศของกลุ่มในประเทศทวีปยุโรป
N1 สามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ในวงกว้างได้ (การอ่าน) อ่านบทความ บทวิจารณ์ในหนังสือพิมพ์ที่เขียนเกี่ยวกับหัวเรื่องต่าง ๆ ในวงกว้างหรือข้อความที่เป็นแนวตรรกะ มีความซับซ้อน มีความเป็นนามธรรมสูง แล้วสามารถเข้าใจโครงสร้างและเนื้อหาได้ อ่านเรื่องที่มีหัวข้อหลากหลายและมีเนื้อหาลึกซึ้งแล้วสามารถเข้าใจลำดับเนื้อเรื่องและรายละเอียดของสิ่งที่ต้องการสื่อในสำนวน (การฟัง) – ฟังบทสนทนา ข่าว การบรรยายที่มีเรื่องราวในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยมีระดับความเร็วในการพูดที่เป็นธรรมชาติ แล้วสามารถเข้าใจลำดับเนื้อเรื่อง เนื้อหา ความสัมพันธ์ของบุคคลและโครงสร้างความเป็นมาของเนื้อหาอย่างละเอียดและจับประเด็นได้ C1~C2
N2 สามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในสถานการณ์ชีวิตประจำวันได้ และสามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในสถานการณ์ในวงกว้างได้ในระดับหนึ่ง (การอ่าน) อ่านบทความที่มีประเด็นชัดเจนอย่างเช่น บทความในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารที่เขียนเกี่ยวกับหัวเรื่องต่าง ๆ ในวงกว้าง หรือคำอธิบายหรือบทวิจารณ์ง่าย ๆ และสามารถเข้าใจเนื้อหาของบทความได้ (การฟัง) – ฟังบทสนทนา ข่าว ที่มีเรื่องราวในสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งสถานการณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันโดยมีระดับความเร็วในการพูดที่ใกล้เคียงกับ ธรรมชาติ แล้วสามารถเข้าใจลำดับเนื้อเรื่อง เนื้อหา ความสัมพันธ์ของบุคคลและจับประเด็นได้ B2~C1
N3 สามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ในระดับหนึ่ง (การอ่าน) อ่านบทความที่มีเนื้อหาเป็นรูปธรรมที่เป็นหัวเรื่องเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน แล้วสามารถเข้าใจได้ สามารถจับใจความคร่าว ๆ ของข้อมูลที่มาจากหัวข้อข่าว เป็นต้น หากให้ข้อความที่ใช้สำนวนอีกแบบหนึ่ง จะสามารถเข้าใจความสำคัญของข้อความที่พบเห็นในชีวิตประจำวันที่ค่อนข้างมีความยากได้ (การฟัง) - ฟังบทสนทนาในชีวิตประจำวัน โดยมีระดับความเร็วในการพูดใกล้เคียงกับระดับธรรมชาติเล็กน้อย แล้วสามารถพอจะเข้าใจเนื้อหารวมทั้งความสัมพันธ์ของบุคคลได้ B1~B2
N4 เข้าใจภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานได้ (การอ่าน) – อ่านทำความเข้าใจเรื่องใกล้ตัวในชีวิตประจำวันที่เขียนด้วยคำศัพท์และอักษรคันจิขั้นพื้นฐานได้ (การฟัง) - ฟังบทสนทนาในชีวิตประจำวันที่พูดช้าเล็กน้อยแล้วพอที่จะเข้าใจเนื้อหาได้เป็นส่วนใหญ่ A2~B1
N5 เข้าใจภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานได้ในระดับหนึ่ง (การอ่าน) – อ่านประโยค วลีที่เขียนด้วยอักษรฮิรางานะ คาตากานะ และคันจิอย่างง่าย ๆ ในชีวิตประจำวันได้ (การฟัง) - ฟังบทสนทนาสั้น ๆ ในห้องเรียน ในชีวิตประจำวันที่พูดอย่างช้า ๆ แล้วเข้าใจเนื้อหาข้อมูลได้ A1~A2

จำนวนผู้เข้ารับการสอบ

แก้
ข้อมูลปี 2551
ประเทศ ผู้เข้ารับการสอบ ร้อยละของจำนวนทั้งหมด
จีน (31 เมือง) 223,378 49.7%
เกาหลีใต้ (5 เมือง) 81,739 18.1%
ไต้หวัน (3 เมือง) 59,186 13.2%
ไทย (4 เมือง ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ สงขลา และขอนแก่น) 15,846 3.5%
เวียดนาม (2 เมือง) 13,854 3.1%
อินโดนีเซีย (7 เมือง) 8,397 1.9%
อื่น ๆ 47,410 10.5%
รวม (144 เมืองใน 51 ประเทศนอกญี่ปุ่น) 449,810 100%
ในญี่ปุ่น(29 จังหวัด) 109,247 -

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-21. สืบค้นเมื่อ 2008-03-04.
  2. 2.0 2.1 http://www.jees.or.jp/cgi-bin/jlpt-faq.cgi เก็บถาวร 2008-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 日本語能力試験 (にほんごのうりょくしけん)  よくある質問

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้