ภาษาญี่ปุ่นกลางตอนต้น

ภาษาญี่ปุ่นกลางตอนต้น[a] (ญี่ปุ่น: 中古日本語โรมาจิchūko nihongoอังกฤษ: Early Middle Japanese) เป็นภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 12 ตรงกับยุคเฮอัง[2] ภาษาญี่ปุ่นกลางตอนต้นเป็นภาษาที่สืบเนื่องต่อจากภาษาญี่ปุ่นเก่าและพัฒนาเป็นภาษาญี่ปุ่นกลางตอนปลายในเวลาถัดมา บางครั้งอาจเรียกว่า ภาษาญี่ปุ่นเก่าตอนปลาย (Late Old Japanese)

ภาษาญี่ปุ่นกลางตอนต้น
中古日本語
ประเทศที่มีการพูด ญี่ปุ่น
ตระกูลภาษา
จาโปนิก
  • ภาษาญี่ปุ่นกลางตอนต้น
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาญี่ปุ่นเก่า
  • ภาษาญี่ปุ่นกลางตอนต้น
ระบบการเขียนฮิรางานะ คาตากานะ คันจิ
รหัสภาษา
ISO 639-3

ประวัติ แก้

ในยุคนี้อักษรมันโยงานะซึ่งเป็นการใช้อักษรจีนแสดงเสียงได้พัฒนารูปร่างให้ง่ายขึ้นกลายเป็นอักษรคานะ (เช่น 安 → あ, 阿 → ア) และยังคงถูกใช้มาจนถึงปัจจุบัน เอกสารและวรรณกรรมจำนวนมากเกิดขึ้นในยุคนี้ มีทั้งแบบที่เขียนด้วยอักษรคานะเพียงอย่างเดียว เช่น ตำนานเก็นจิ (源氏物語げんじものがたり) มากูระโนะโซชิ (枕草子まくらのそうし) และแบบที่เขียนด้วยอักษรคานะและอักษรคันจิปนกัน เช่น ตำนานเฮเกะ (平家物語へいけものがたり) คนจากุโมโนงาตาริชู (今昔物語集こんじゃくものがたりしゅう)[3]

หน่วยเสียง แก้

รูปแบบพยางค์ในช่วงต้นของยุคภาษาญี่ปุ่นกลางตอนต้นมีดังต่อไปนี้

พยางค์ในภาษาญี่ปุ่นกลางตอนต้น (ช่วงแรก)
-a -i -u -e -o
a i u e o
k- ka ki ku ke ko, kwo
g- ga gi gu ge go, gwo
s- sa si su se so
z- za zi zu ze zo
t- ta ti tu te to
d- da di du de do
n- na ni nu ne no
p- pa pi pu pe po
b- ba bi bu be bo
m- ma mi mu me mo
y- ya yu ye yo
r- ra ri ru re ro
w- wa wi we wo

อักขรวิธีอักษรคานะแบบพิเศษ (ญี่ปุ่น: 上代特殊仮名遣โรมาจิjōdai tokushu kana-zukaiทับศัพท์: โจได โทกูชุ คานาซูไก) ที่ใช้ในยุคภาษาญี่ปุ่นเก่าได้แสดงให้เห็นว่าภาษาญี่ปุ่นเก่ามีเสียงรูปแบบพยางค์มากกว่าในปัจจุบัน และเมื่อเข้าสู่ช่วงต้นยุคภาษาญี่ปุ่นกลาง หน่วยเสียงและรูปแบบพยางค์ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น เช่น

(อ้างอิง Frellesvig, 2018)[3]

  1. ในช่วงต้นยุคภาษาญี่ปุ่นกลางตอนต้น ได้เกิดการสูญเสียง (sound loss) ในโครงสร้างพยางค์แบบ /Cw-/ กับ /Cy-/ โดยเสียง /w/ และ /y/ ได้หายไป ยกเว้น /kwo/ กับ /gwo/ ซึ่งสูญเสียงตามไปในภายหลัง หลังจากนั้นเสียง /w/ และ /y/ ตำแหน่งต้นพยางค์ก็เกิดการสูญเสียงไปเช่นกัน เช่น こい/kwopwi/ > /kwopi/ > /kopi/ > /kowi/ > /koi/
  2. /p/ เปลี่ยนเป็นเสียง /-w-/ เมื่อปรากฏระหว่างเสียงสระ (intervocalic) เช่น かお/kapo/ > /kawo/ ก่อนที่เปลี่ยนเป็น /kao/ ตามปรากฏการณ์ในข้อ 1
  3. เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "เสียงสะดวก" (ญี่ปุ่น: 音便โรมาจิonbinทับศัพท์: อมบิง) เช่น รูป テ ของ む: /yomite/ > /yoNde/ หรือ /youde/

ไวยากรณ์ แก้

หมายเหตุ แก้

  1. เทียบเคียงกับ "อังกฤษกลาง" ซึ่งเป็นคำแปลของ "Middle English" ปรากฏอยู่ใน "พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป) ฉบับราชบัณฑิตยสภา"[1]

อ้างอิง แก้

  1. พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. 2017. p. 206. ISBN 978-616-389-060-3. OCLC 1201694777.
  2. Hasegawa, Yoko (2015). Japanese : a linguistic introduction. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-1-107-61147-4. OCLC 873763304.
  3. 3.0 3.1 Frellesvig, Bjarke (2018). Hasegawa, Yoko (บ.ก.). The Cambridge handbook of Japanese linguistics. Cambridge: Cambridge University Press. p. 15. ISBN 978-1-316-88446-1. OCLC 1030822696.