ตระกูลภาษาญี่ปุ่น
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ เนื่องจากขาดข้อมูลสำคัญในหลายประเด็น และต้องการกล่องข้อมูล คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ตระกูลภาษาญี่ปุ่น (อังกฤษ: Japonic languages) หรือ ตระกูลภาษาญี่ปุ่น–รีวกีว (Japanese–Ryukyuan language family) เป็นกลุ่มของภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิมหรือภาษาญี่ปุ่น–รีวกีวดั้งเดิม จากนั้นจึงมีการแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดระหว่างภาษาญี่ปุ่นทุกสำเนียงกับภาษารีวกีว ฮัตโตริระบุเมื่อ พ.ศ. 2497 ว่าการแยกตัวน่าจะเกิดในยุคยามาโตะ แต่มีนักภาษาศาสตร์บางกลุ่มไม่เห็นด้วย
ตระกูลภาษาญี่ปุ่น | |
---|---|
ตระกูลญี่ปุ่น–รีวกีว | |
ภูมิภาค: | ญี่ปุ่น เดิมทีในคาบสมุทรเกาหลี |
การจําแนก ทางภาษาศาสตร์: | หนึ่งในตระกูลภาษาหลักของโลก |
ภาษาดั้งเดิม: | ญี่ปุ่นดั้งเดิม |
กลุ่มย่อย: |
|
ISO 639-5: | jpx |
กลอตโตลอก: | japo1237[1] |
![]() ภาษาและภาษาย่อยในตระกูลภาษาญี่ปุ่น |
สมาชิกแก้ไข
- ภาษาญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本語; โรมาจิ: Nihon-go) ได้แก่
- สำเนียงญี่ปุ่นแผ่นดินใหญ่ (ญี่ปุ่น: 本土方言; โรมาจิ: Hondo hōgen) ใช้พูดบนเกาะฮนชู คีวชู ชิโกกุ และฮกไกโด
- สำเนียงญี่ปุ่นตะวันออก (ญี่ปุ่น: 東日本方言; โรมาจิ: Higashi Nihon hōgen) ใช้พูดทางฝั่งตะวันออกของนาโงยะ รวมทั้งสำเนียงโตเกียว
- สำเนียงญี่ปุ่นตะวันตก (ญี่ปุ่น: 西日本方言; โรมาจิ: Nishi Nihon hōgen) ใช้พูดทางฝั่งตะวันตกของนาโงยะ รวมทั้งสำเนียงเกียวโต
- สำเนียงญี่ปุ่นคีวชู (ญี่ปุ่น: 九州方言; โรมาจิ: Kyūshū hōgen) ใช้พูดในบริเวณส่วนใหญ่ของคีวชู
- สำเนียงฮาชิโจ (ญี่ปุ่น: 八丈方言; โรมาจิ: Hachijō hōgen) สำเนียงของเกาะฮาชิโจจิมะ และหมู่เกาะไดโต
- สำเนียงญี่ปุ่นแผ่นดินใหญ่ (ญี่ปุ่น: 本土方言; โรมาจิ: Hondo hōgen) ใช้พูดบนเกาะฮนชู คีวชู ชิโกกุ และฮกไกโด
- ภาษารีวกีว (ญี่ปุ่น: 琉球語派; โรมาจิ: Ryūkyū-goha) เป็นภาษาดั้งเดิมที่ใช้กันบนหมู่เกาะรีวกีว ปัจจุบันภาษานี้กำลังอยู่ในภาวะวิกฤต จากการรับอิทธิพลของภาษาญี่ปุ่นหลังการสิ้นเอกราชของรีวกีว รวมทั้งอิทธิพลช่วงยุคเมจิ
- ภาษารีวกีวเหนือ (ญี่ปุ่น: 北琉球語群; โรมาจิ: Kita Ryūkyū-go-gun) เป็นสำเนียงที่ใช้กันทางตอนเหนือของหมู่เกาะรีวกีว อันได้แก่หมู่เกาะอามามิ และหมู่เกาะรีวกีว
- ภาษาอามามิ (ญี่ปุ่น: 奄美語; โรมาจิ: Amami-go) หรือ สำเนียงอามามิ (ญี่ปุ่น: 奄美方言; โรมาจิ: Amami hōgen) ใช้พูดกันบนหมู่เกาะอามามิ
- สำเนียงอามามิ-โอชิมะเหนือ (ญี่ปุ่น: 北奄美大島方言; โรมาจิ: Kita Amami Ōshima hōgen)
- สำเนียงอามามิ-โอชิมะใต้ (ญี่ปุ่น: 南奄美大島方言; โรมาจิ: Minami Amami Ōshima hōgen)
- สำเนียงคิไก (ญี่ปุ่น: 喜界方言; โรมาจิ: Kikai hōgen) หรือ ภาษาชิมะยูมิตะ (ญี่ปุ่น: シマユミタ; โรมาจิ: Shimayumita)
- ภาษาทากูโนชิมะ (ญี่ปุ่น: 徳之島語; โรมาจิ: Tokunoshima-go) หรือ สำเนียงทากูโนชิมะ (ญี่ปุ่น: 徳之島方言; โรมาจิ: Tokunoshima hōgen) หรือ ภาษาชิมะยูมิตะ (ญี่ปุ่น: シマユミィタ; โรมาจิ: Shimayumiita)
- ภาษาคูนิงามิ (ญี่ปุ่น: 国頭語; โรมาจิ: Kunigami-go) หรือ สำเนียงโอกินาวะเหนือ (ญี่ปุ่น: 沖縄北部方言; โรมาจิ: Okinawa Hokubu hōgen) หรือ ภาษายันบะรุคูตูบะ (ญี่ปุ่น: 山原言葉(ヤンバルクトゥーバ); โรมาจิ: Yanbaru Kutuuba) เป็นภาษาที่พูดกันทางตอนเหนือของหมู่เกาะโอกินาวะ
- ภาษาโอกิโนะเอราบุ (ญี่ปุ่น: 沖永良部方言; โรมาจิ: Okinoerabu-go) หรือ สำเนียงโอกิโนะเอราบุ (ญี่ปุ่น: 沖永良部方言; โรมาจิ: Okinoerabu hōgen) หรือ ภาษาชิมะมูนิ (ญี่ปุ่น: 島ムニ; โรมาจิ: Shimamuni)
- ภาษาโยรง (ญี่ปุ่น: 与論語; โรมาจิ: Yoron-go) หรือ สำเนียงโยรง (ญี่ปุ่น: 与論方言; โรมาจิ: Yoron hōgen) หรือ ภาษายูนนุฟูตูบะ (ญี่ปุ่น: ユンヌフトゥバ; โรมาจิ: Yunnu Futuba)
- ภาษาโอกินาวะ (ญี่ปุ่น: 沖縄語; โรมาจิ: Okinawa-go) หรือ สำเนียงโอกินาวะ (ญี่ปุ่น: 沖縄方言; โรมาจิ: Okinawa hōgen) หรือ ภาษาอูจินางูชิ (ญี่ปุ่น: 沖縄口・ウチナーグチ; โรมาจิ: Uchinaa-guchi) พูดกันทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะโอกินาวะ มีสำเนียงหลักคือสำเนียงเมืองนาฮะและชูริ
- ภาษาอามามิ (ญี่ปุ่น: 奄美語; โรมาจิ: Amami-go) หรือ สำเนียงอามามิ (ญี่ปุ่น: 奄美方言; โรมาจิ: Amami hōgen) ใช้พูดกันบนหมู่เกาะอามามิ
- ภาษารีวกีวใต้ (ญี่ปุ่น: 南琉球語群; โรมาจิ: Minami Ryūkyū-gogun) เป็นกลุ่มภาษาที่พูดกันทางตอนล่างของหมู่เกาะรีวกีว บริเวณหมู่เกาะซากิชิมะ
- ภาษามิยาโกะ (ญี่ปุ่น: 宮古語; โรมาจิ: Miyako-go) หรือ สำเนียงมิยาโกะ (ญี่ปุ่น: 宮古方言; โรมาจิ: Miyako hōgen) หรือ ภาษามิยากูฟูสึ (ญี่ปุ่น: ミャークフツ・宮古口; โรมาจิ: Myaaku-futsu) หรือ ภาษาซูมะฟูสึ (ญี่ปุ่น: スマフツ・島口; โรมาจิ: Suma-futsu) ใช้พูดบนหมู่เกาะมิยาโกะ
- ภาษายาเอยามะ (ญี่ปุ่น: 八重山語; โรมาจิ: Yaeyama-go) หรือ สำเนียงยาเอยามะ (ญี่ปุ่น: 八重山方言; โรมาจิ: Yaeyama hōgen) หรือ ภาษาไยมะมูนิ (ญี่ปุ่น: ヤイマムニ・八重山物言; โรมาจิ: Yaima-muni) ใช้พูดบนหมู่เกาะยาเอยามะ
- ภาษาโยนางูนิ (ญี่ปุ่น: 与那国語; โรมาจิ: Yonaguni-go) หรือ สำเนียงโยนางูนิ (ญี่ปุ่น: 与那国方言; โรมาจิ: Yonaguni hōgen) หรือ ภาษาดูนันมูนุย (ญี่ปุ่น: ドゥナンムヌイ・与那国物言; โรมาจิ: Dunan-munui) เป็นภาษาที่พูดบนเกาะโยนางูนิ
- ภาษารีวกีวเหนือ (ญี่ปุ่น: 北琉球語群; โรมาจิ: Kita Ryūkyū-go-gun) เป็นสำเนียงที่ใช้กันทางตอนเหนือของหมู่เกาะรีวกีว อันได้แก่หมู่เกาะอามามิ และหมู่เกาะรีวกีว
นอกจากนี้ คริสโตเฟอร์ เบ็กวิท ยังได้เพิ่มกลุ่มภาษาโบราณทางตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลีมาไว้ในกลุ่มตระกูลภาษาญี่ปุ่นโบราณ ได้แก่[2]
ซึ่งยังไม่มีการสรปุชี้ชัดว่า ก่อนคาระ (Pre-Kara) จะมีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับภาษาของรัฐคายาในกาลต่อมา
การจัดจำแนกแก้ไข
ความสัมพันธ์ของภาษากลุ่มญี่ปุ่นกับภาษากลุ่มอื่น ๆ ยังไม่แน่นอน มีทฤษฎีอธิบายมากมายแต่ไม่มีทฤษฎีใดได้รับการยอมรับโดยทั่วไป
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Japonic". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.CS1 maint: display-editors (link)
- ↑ Christopher Beckwith, 2007, Koguryo, the Language of Japan's Continental Relatives, pp 27–28