ภาษาไอนุ หรือ ไอนู /ˈn/[2] (ไอนุ: アイヌ イタㇰ ไอนู อีตัก; ญี่ปุ่น: アイヌ語 ไอนูโงะ) เป็นภาษาของชาวไอนุ ชนกลุ่มน้อยในเกาะฮกไกโด ครั้งหนึ่งเคยใช้พูดในหมู่เกาะคูริล ทางภาคเหนือของเกาะฮนชูและภาคใต้ของเกาะซาฮาลิน คำหลายคำของภาษาไอนุก็ได้กลายเป็นคำในภาษาญี่ปุ่นเลยด้วย เช่นชื่อเมืองซัปโปโระบนเกาะฮกไกโด และคำว่ารักโกะ ที่แปลว่าแมวน้ำ

ภาษาไอนุ
Ainuic
ภูมิภาค:ปัจจุบันอยู่ในเกาะฮกไกโด; อดีตรวมถึงพื้นที่เกาะซาฮาลินตอนใต้และตอนกลาง หมู่เกาะคูริล และอาจรวมถึงเกาะฮนชูตอนเหนือ
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
หนึ่งในตระกูลของภาษาหลักของโลก
กลุ่มย่อย:
ISO 639-2 / 5:ain
ISO 639-3:ain
กลอตโตลอก:ainu1252[1]
{{{mapalt}}}
แผนที่บริเวณที่มีการใช้ภาษาและภาษาย่อยไอนุ

การจัดลำดับแก้ไข

Vovin (1993) แยก "ภาษาย่อย" ไอนุได้ ดังนี้:[3]

ไวยากรณ์แก้ไข

ภาษาไอนุเรียงประโยคแบบประธาน - กรรม - กริยา ใช้ปรบท ประธานและกรรมระบุด้วยปรบทคำนามสามารถจับกลุ่มกันเพื่อขยายกันเอง คำหลักอยู่ข้างท้าย ลักษณะทางไวยากรณ์ทั่วไปใกล้เคียงกับภาษาญี่ปุ่นและภาษาเกาหลี

ผู้พูดแก้ไข

 
พิพิธภัณฑ์ปีร์กาโคตัน ศูนย์กลางภาษาและวัฒนธรรมไอนุในเมืองซัปโปะโระ

ภาษาไอนุถือเป็นภาษาใกล้ตายหรือใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต ในปี ค.ศ. 1960 ชาวไอนุในญี่ปุ่นกว่า 15,000 คน ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาแม่เพียงภาษาเดียว ปี ค.ศ. 1980 ในเมืองนิบูตานิยังเหลือผู้ใช้ภาษาไอนุกว่าร้อยคนแต่มีเพียง 15 คนเท่านั้นที่ใช้พูดกันในชีวิตประจำวัน[4] และในปี พ.ศ. 2550 มีผู้พูดเหลืออยู่เพียง 10 คน ซึ่งผู้พูดมีอายุมากกว่า 80 ปี และผู้ใช้ที่พูดเป็นภาษารองหรือพอพูดได้บ้างก็มีอายุกว่า 60 ปี

อ้างอิงแก้ไข

  1. Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Ainu". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
  2. Bauer, Laurie (2007). The Linguistics Student's Handbook. Edinburgh: Edinburgh University Press.
  3. Vovin 1993, p. 157.
  4. SIL Ethnologue, 15th edition (2005)

บรรณานุกรมแก้ไข

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข