ยุคยาโยอิ (ญี่ปุ่น: 弥生時代โรมาจิYayoi-jidai) จุดเริ่มต้นของยุคหินใหม่ในญี่ปุ่น ดำเนินต่อไปจนถึงยุคสำริด และสิ้นสุดที่ยุคเหล็ก[1]

ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1980 นักวิชาการได้โต้แย้งว่าช่วงเวลาที่ก่อนหน้านี้จัดว่าเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากยุคโจมงควรจัดประเภทใหม่เป็นยุคยาโยอิตอนต้น[2] วันที่เริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นที่ถกเถียงกัน โดยประมาณการตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 ถึงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล[1][3]

  • เริ่มเรียนรู้การเพาะปลูกข้าว วิชาช่าง เครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยทองสัมฤทธิ์และเหล็ก เช่น เครื่องมือเพาะปลูก ดาบ กระจกเงา
  • เครื่องปั้นดินเผายาโยอิ ใช้แกนหมุนในการขึ้นรูป เครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยโลหะและหินขัด
  • ชาวจีนเรียกแผ่นดินญี่ปุ่นว่า แผ่นดินของวา (วา แปลว่า แคระ)
  • ใน ค.ศ. 57 เจ้าเมืองแผ่นดินวา ได้รับตราประจำตำแหน่งทำด้วยทอง เขียนไว้ว่า “เจ้าเมืองแผ่นดินวาของฮั่น” หลังจากส่งเครื่องบรรณาการให้แก่ฮ่องเต้เมืองฮั่น
  • ศาสนาสมัยแรกของชาวญี่ปุ่นคือ ชินโต หรือ “ทางของเทพเจ้า” เป็นศาสนาที่สักการบูชาเทพเจ้า ซึ่งได้แก่ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ หรือบรรพบุรุษในตำนาน (สถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาชินโต ในสมัยนั้น)
  • ตอนต้นของศตวรรษแรก แผ่นดินวานี้แบ่งออกเป็นรัฐต่างๆน้อยใหญ่ประมาณ 100 กลุ่มชนด้วยกัน แต่ในศตวรรษต่อไปนั้นจำนวนรัฐลดเหลือเพียง 30 กลุ่มชน อยู่รวมกันภายใต้การคุ้มครองของราชินีองค์หนึ่ง นามว่า พระนางฮิมิโกะ ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ทางศาสนามากกว่าเป็นประมุขทางการเมือง พระนางทำหน้าที่เป็นคนทรงและประกอบเวทมนตร์คาถาให้ประชาชน ส่วนประมุขทางการเมืองยังเป็นจักรพรรดิ
  • ใน ค.ศ. 239 พระนางฮิมิโกะ ผู้ครองอาณาจักรยามาไท ส่งเครื่องบรรณาการไปยังเมืองเว่ย ของจีน
  • ช่วงศตวรรษที่ 3 มีการอพยพของคนจากแผ่นดินใหญ่ผ่านทางเกาหลีเข้ามายังญี่ปุ่น

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Shōda, Shinya (2007). "A Comment on the Yayoi Period Dating Controversy". Bulletin of the Society for East Asian Archaeology. 1.
  2. Habu, Junko (2004). Ancient Jomon of Japan. Cambridge University Press. p. 258. ISBN 978-0-521-77670-7.
  3. Mizoguchi, Koji (2013). The Archaeology of Japan: From the Earliest Rice Farming Villages to the Rise of the State. Cambridge University Press. pp. 35–36. ISBN 978-0-521-88490-7.