ยุคโจมง
ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ยุคโจมง (ญี่ปุ่น: 縄文時代; โรมาจิ: Jōmon jidai) เป็นช่วงเวลาระหว่าง ป. 14,000 ถึง 300 ปีก่อน ค.ศ.[1][2][3] ในช่วงนั้น ญี่ปุ่นมีประชากรเก็บของป่าล่าสัตว์และเกษตรกรยุคแรกหลายกลุ่มอาศัยอยู่ ซึ่งอยู่ร่วมกับผ่านวัฒนธรรมโจมง คำว่า "ลายเชือก" ใช้งานครั้งแรกโดยเอ็ดเวิร์ด เอส. มอร์ส นักสัตววิทยาและนักบูรพาคดีชาวอเมริกันที่ค้นพบชิ้นส่วนเครื่องปั้นดินเผาใน ค.ศ. 1877 และภายหลังแปล "ลายเชือก" ไปเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า โจมง[4] ลักษณะเครื่องปั้นดินเผาของวัฒนธรรมโจมงระยะแรกได้รับการตกแต่งด้วยการร้อยเชือกลงบนพื้นผิวดินเหนียวเปียก และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นหนึ่งในเครื่องปั้นดินเผาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[5]
ยุคโจมงอุดมไปด้วยเครื่องมือและเครื่องประดับที่ทำจากกระดูก หิน เปลือกหอย และเขากวาง รูปแกะสลักเครื่องปั้นดินเผาและภาชนะ และเครื่องเขิน[6][7][8][9] มักเทียบกับวัฒนธรรมก่อนโคลัมบัสในอเมริกาเหนือฝั่งแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ และโดยเฉพาะวัฒนธรรมบัลดีเบียในประเทศเอกวาดอร์ เนื่องจากในสภาพแวดล้อมเหล่านี้ ความซับซ้อนทางวัฒนธรรมพัฒนาขึ้นจากบริบทการเก็บของป่าล่าสัตว์เป็นหลัก โดยมีการใช้พืชกรรมสวนอย่างจำกัด[10][11][12][13]
เส้นเวลา
แก้ยุคโจมงที่กินระยะเวลาประมาณ 14,000 ปีแบ่งออกเป็นหลายระยะ แต่ละระยะสั้นกว่าระยะก่อนหน้า: ตั้งเค้า (13,750–8,500), เริ่มแรก (8,500–5,000), ตอนต้น (5,000–3,520), ตอนกลาง (3,520–2,470), ตอนปลาย (2,470–1,250) และ ท้ายสุด (1,250–500 ปีก่อน ค.ศ.)[14] ข้อเท็จจริงที่ว่านักโบราณคดีตั้งชื่อช่วงเวลาทั้งหมดให้เหมือนกันไม่ควรถือว่ายุคนี้ไม่มีความหลากหลายทางภูมิภาคและเวลามากนัก ช่วงเวลาระหว่างเครื่องปั้นดินเผาโจมงแรกสุดกับสมัยโจมงตอนกลางที่เป็นที่รู้จักมากกว่า มีระยะห่างนานกว่าการสร้างมหาพีระมิดแห่งกีซาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 21 ประมาณสองเท่า
การระบุระยะย่อยโจมงโดยหลักอิงจากการจัดจำแนกวัตถุเครื่องปั้นดินเผา และการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีในระดับที่น้อยกว่า
การค้นคว้าล่าสุดได้ปรับเปลี่ยนระยะสุดท้ายของยุคโจมงที่ 300 ปีก่อน ค.ศ.[1][2][3] ตามหลักฐานจากคาร์บอนกัมมันตรังสี ยุคยาโยอิเริ่มต้นระหว่าง 500 ถึง 300 ปีก่อน ค.ศ. ในขณะที่เครื่องปั้นดินเผาแบบยาโยอิพบในพื้นที่โจมงในคีวชูเหนือมีอายุที่ 800 ปีก่อน ค.ศ.[15][16][17]
เครื่องปั้นดินเผา
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เส้นเวลาการจำแนกเครื่องปั้น
แก้ยุคโจมงตั้งเค้า (14,000–7,500 ปีก่อน ค.ศ.)[18]
- ลายปั้นแปะ
- ลายเล็บกด
- ลายเชือกทาบ
- มูโรยะล่าง
ยุคโจมงเริ่มแรก (7,500–4,000 ปีก่อน ค.ศ.)[19][20]
- โบตาซาวะ
- อิงูซะ
- อินาริได
- มิโตะ
- โนจิมะ
- ทาโดะล่าง
- ทาโดะบน
- ชิโบงูจิ
- คายามะ
- อูงาชิมะ
ยุคโจมงตอนต้น (5,000–3,520 ปีก่อน ค.ศ.)[21]
- โกเรียวงาได
- จูซัมโบได
- คิตะ-ชิรากาวะ
- โมโรอิโซะ
- โอกิตสึ
- อูกิชิมะ
ยุคโจมงตอนกลาง (3,520–2,470 ปีก่อน ค.ศ.)[22]
- คาโซริ อี
- คัตสึซากะ
- โอตามาได
ยุคโจมงตอนปลาย (2,470–1,250 ปีก่อน ค.ศ.)
ยุคโจมงท้ายสุด (1,250–500 ปีก่อน ค.ศ.)[25]
- อังเงียว[26]
- ฟูเซ็มมง
- โฮกูริกูบันกิ
- คาเมงาโอกะ
- มาเออูระ
- นางาตาเกะ
- นิชิฮมมาเก็ง
- นูซาไม
- ชิโมโนะ
ยุคโจมงตั้งเค้าและโจมงเริ่มแรก (10,000 – 4,000 ก่อน ค.ศ.)
แก้รูปแบบการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่เริ่มมีรูปแบบคงที่นั้น เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 10,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชถึงยุคหินกลาง หากแต่นักวิชาการบางคนเสนอว่าเป็นยุคหินใหม่ที่มีคุณลักษณะบางอย่างของทั้งยุคหินกลางและหินใหม่ ในยุคดังกล่าวนี้ สมาชิกของวัฒนธรรมโจมงซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายกลุ่ม และเป็นไปได้ว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวไอนุในญี่ปุ่นปัจจุบัน ได้ทิ้งร่องรอยทางโบราณคดีไว้อย่างชัดเจนที่สุด วัฒนธรรมโจมงนี้อาจนับได้อย่างคร่าว ๆ ว่าอยู่ร่วมสมัยกับอารยธรรมในเมโสโปเตเมีย ลุ่มแม่น้ำไนล์ และลุ่มแม่น้ำสินธุ
เครื่องดินเผายุคแรก
แก้โดยอาศัยหลักฐานทางโบราณคดี ชาวโจมงอาจเป็นคนพวกแรกในโลกที่ทำภาชนะดินเผาขึ้นเมื่อสหัสวรรษที่ 11 ก่อนคริสต์ศักราช อีกทั้งยังเป็นพวกแรกที่ทำเครื่องมือหินอีกด้วย ความเก่าแก่ของเครื่องดินเผาเหล่านี้ได้รับการระบุภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยวิธีการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี อย่างไรก็ตาม นักวิชาการชาวญี่ปุ่นบางคนเชื่อว่าการผลิตเครื่องดินเผาน่าจะเกิดขึ้นบนแผ่นดินใหญ่ก่อน เนื่องจากแหล่งเครื่องดินเผาในบริเวณซึ่งอยู่ในประเทศจีนและรัสเซียปัจจุบันนั้นได้ผลิตเครื่องดินเผาซึ่ง "อาจจะเก่าพอ ๆ กับเครื่องดินเผาถ้ำฟุกุอิ แม้จะไม่เก่ากว่าก็ตาม" ชาวโจมงได้ปั้นตุ๊กตาและภาชนะจากดินเหนียวและทำลวดลายอย่างซับซ้อนด้วยการกดดินที่ยังหมาดอยู่ด้วยเชือกทั้งแบบที่ฟั่นเป็นเกลียวและไม่ฟั่น และกิ่งไม้
รูปแบบของยุคหินใหม่
แก้โดยทั่วไป การผลิตเครื่องดินเผาสามารถบอกเป็นนัยได้ถึงรูปแบบการดำรงชีวิตแบบอยู่ติดที่ ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าเครื่องดินเผานั้นแตกหักได้ง่ายและย่อมไม่มีประโยชน์กับผู้ดำรงชีวิตแบบหาของป่า-ล่าสัตว์ซึ่งต้องย้ายถิ่นฐานอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ ชาวโจมงจึงน่าจะเป็นคนพวกแรกในโลกที่ดำรงชีวิตแบบอยู่ติดที่ หรืออย่างน้อยก็เป็นแบบกึ่งติดที่ ชาวโจมงใช้เครื่องมือหินทั้งแบบที่ขึ้นรูปด้วยการสกัดและการบด และใช้ธนู อีกทั้งยังน่าจะชำนาญในการหาของป่า-ล่าสัตว์และการประมงทั้งชายฝั่งและน้ำลึก ชาวโจมงได้เริ่มทำการเกษตรขั้นตั้นและอาศัยในถ้ำ ซึ่งภายหลังได้ย้ายมาอาศัยในหลุมขุดตื้น ๆ และบ้านที่สร้างขึ้นบนพื้นดิน ร่องรอยที่เหลือของที่อาศัยเหล่านี้เป็นประโยชน์สำหรับการศึกษาทางโบราณคดีในภายหลัง ร่องรอยเหล่านี้เองเป็นเหตุให้นักวิชาการส่วนหนึ่งยกให้ญี่ปุ่นเป็นแหล่งที่เริ่มต้นทำการเกษตรเป็นที่แรกในโลกเมื่อ 10,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ก่อนที่เกษตรกรรมจะแพร่หลายในตะวันออกกลางถึงสองพันปี อย่างไรก็ตาม หลักฐานทางโบราณคดีบางอย่างชี้ว่าการทดลองทำการเกษตรบนเนินเขาและในหุบเขาต่าง ๆ ของเขตพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นประเทศซีเรีย จอร์แดน ตุรกี และอิรักนั้น มีมาแล้วตั้งแต่ประมาณ 11,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช
การขยายตัวของประชากร
แก้วัฒนธรรมแบบกึ่งอยู่ติดที่นี้ได้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างสำคัญ จนกระทั่งมีหลักฐานว่าวัฒนธรรมโจมงมีความหนาแน่นประชากรสูงที่สุดแห่งหนึ่งในบรรดากลุ่มประชากรที่ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ การศึกษาแผนที่ทางพันธุกรรมโดยลุยจี ลูกา กาวัลลี-สฟอร์ซา ได้แสดงให้เห็นรูปแบบของการขยายตัวทางพันธุกรรมจากพื้นที่ในทะเลญี่ปุ่นไปยังพื้นที่อื่น ๆ ในเอเชียตะวันออก การขยายตัวครั้งนี้นับว่าเป็นครั้งที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับสามของเอเชียตะวันออก (รองจาก "การขยายตัวครั้งใหญ่" จากทวีปแอฟริกา และการขยายตัวครั้งที่สองจากตอนเหนือของไซบีเรีย) ซึ่งสื่อถึงการขยายตัวทางภูมิศาสตร์ในยุคโจมงตอนต้น การศึกษาเหล่านี้ยังชี้ว่าการขยายตัวของกลุ่มประชากรชาวโจมงครั้งนี้อาจแผ่ไปจนถึงทวีปอเมริกาผ่านเส้นทางเลียบชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก
ยุคโจมงตอนต้นถึงท้ายสุด (4,000 – 400 ก.ค.ศ.)
แก้ยุคโจมงตอนต้นและตอนกลางนั้นมีการขยายตัวของประชากรอย่างมาก ซึ่งเห็นได้จากปริมาณของหลักฐานที่ขุดพบได้จากสองยุคนี้ ทั้งสองยุคดังกล่าวสอดคล้องกับกับช่วงภูมิอากาศร้อนสุดในยุคโฮโลซีน (ระหว่าง 4,000 ถึง 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ซึ่งอุณหภูมิเฉลี่ยขึ้นสูงกว่าปัจจุบันหลายองศาเซลเซียส และระดับน้ำทะเลสูงกว่าปัจจุบันประมาณ 5 ถึง 6 เมตร งานศิลปะที่งดงามเช่นภาชนะดินเผารูปเปลวไฟซึ่งประดับประดาอย่างซับซ้อนนั้นเกิดขึ้นในยุคนี้ หลังจาก 1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ภูมิอากาศเริ่มเย็นลง และประชากรเริ่มหดตัวลงอย่างมาก การค้นพบแหล่งทางโบราณคดีหลัง 1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราชมีจำนวนน้อยลง
เมื่อถึงช่วงท้ายของยุคโจมง ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญเกิดขึ้นในแง่โบราณคดี โดยการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวได้พัฒนาจากแบบเริ่มต้นมาเป็นนาข้าวแบบซับซ้อนและเกิดระบบการปกครองขึ้น องค์ประกอบอื่น ๆ หลายอย่างของวัฒนธรรมญี่ปุ่นอาจนับย้อนไปได้ถึงยุคนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งสะท้อนถึงการอพยพเข้ามาผสมปนเปกันของชาวแผ่นดินใหญ่จากเอเชียตอนเหนือและชาวแปซิฟิกตอนใต้ องค์ประกอบเหล่านั้นมีทั้งเทพปกรณัมชินโต ประเพณีการแต่งงาน ลีลาทางสถาปัตยกรรม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น ภาชนะเคลือบเงา สิ่งทอ คันธนูที่ทำโดยการอัดไม้ต่างชนิดเข้าด้วยกัน งานโลหะ และงานแก้ว
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Perri, Angela R. (2016). "Hunting dogs as environmental adaptations in Jōmon Japan" (PDF). Antiquity. 90 (353): 1166–1180. doi:10.15184/aqy.2016.115. S2CID 163956846.
- ↑ 2.0 2.1 Timothy Jinam; Hideaki Kanzawa-Kiriyama; Naruya Saitou (2015). "Human genetic diversity in the Japanese Archipelago: dual structure and beyond". Genes & Genetic Systems. 90 (3): 147–152. doi:10.1266/ggs.90.147. PMID 26510569.
- ↑ 3.0 3.1 Robbeets, Martine (2015), Diachrony of Verb Morphology: Japanese and the Transeurasian Languages, De Gruyter, p. 26, ISBN 978-3-11-039994-3
- ↑ Mason, 14
- ↑ Kuzmin, Y.V. (2006). "Chronology of the Earliest Pottery in East Asia: Progress and Pitfalls". Antiquity. 80 (308): 362–371. doi:10.1017/s0003598x00093686. S2CID 17316841.
- ↑ Birmingham Museum of Art (2010). Birmingham Museum of Art : Guide to the Collection. Birmingham, AL: Birmingham Museum of Art. p. 40. ISBN 978-1-904832-77-5.
- ↑ Imamura, K. (1996) Prehistoric Japan: New Perspectives on Insular East Asia. Honolulu: University of Hawaiʻi Press
- ↑ Mizoguchi, Koji (2002). An Archaeological History of Japan, 30,000 B.C. to A.D. 700. University of Pennsylvania Press, Incorporated. ISBN 978-0-8122-3651-4.
- ↑ 長野県立歴史館 (1996-07-01). "縄文人の一生". Comprehensive Database of Archaeological Site Reports in Japan. สืบค้นเมื่อ 2016-09-02.
- ↑ Koyama, Shuzo, and David Hurst Thomas (eds.). (1979). Affluent Foragers: Pacific Coasts East and West. Senri Ethnological Studies No. 9. Osaka: National Museum of Ethnology.
- ↑ Aikens, C. Melvin (1992). Pacific northeast Asia in prehistory: hunter-fisher-gatherers, farmers, and sociopolitical elites. WSU Press. ISBN 978-0-87422-092-6.
- ↑ Fiedel, Stuart J. (1992). Prehistory of the Americas (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. ISBN 9780521425445.
- ↑ "Archaeology | Studies examine clues of transoceanic contact". The Columbus Dispatch (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-10-04.
- ↑ Sakaguchi, Takashi. (2009). Storage adaptations among hunter–gatherers: A quantitative approach to the Jomon period. Journal of anthropological archaeology, 28(3), 290–303. SAN DIEGO: Elsevier Inc.
- ↑ Silberman et al., 154–155.
- ↑ Schirokauer et al., 133–143.
- ↑ Shōda, Shinya (2007). "A comment on the Yayoi Period dating controversy". Bulletin of the Society for East Asian Archaeology. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-01. สืบค้นเมื่อ 2024-06-23.
- ↑ Dresner, Melvyn. 2016. Jomon pottery as hunter-gatherer technology. UCL Institute of Archaeology. Pristupljeno 18. studenoga 2023.
- ↑ Kudo, Yuichiro (June 2007). "The Temporal Correspondences between the Archaeological: Chronology and Environmental Changes from to 11,500 to 2,800 cal BP on the Kanto Plain, Eastern Japan". The Quaternary Research. 46 (3): 187–194. doi:10.4116/jaqua.46.187 – โดยทาง J-Stage.
- ↑ Motohashi, Emiko (25 January 1996). "Jomon Lithic Raw Material Exploitation in the Izu Islands, Tokyo, Japan". Bulletin of the Indo-Pacific Prehistory Association. 2 (15): 131–137. สืบค้นเมื่อ 18 November 2023 – โดยทาง Open Journal Systems.
- ↑ Habu, Junko; Hall, Mark E. (1999). "Jomon Pottery Production in Central Japan". Asian Perspectives. 38 (1): 90–110. ISSN 0066-8435. JSTOR 42928448.
- ↑ "Japanese art – Jomon, Pottery, Sculpture | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-11-17.
- ↑ "Jōmon Pottery at the World's Columbian Exposition". web.sas.upenn.edu. สืบค้นเมื่อ 2023-11-17.
- ↑ Hall, Mark E (2004-10-01). "Pottery production during the Late Jomon period: insights from the chemical analyses of Kasori B pottery". Journal of Archaeological Science. 31 (10): 1439–1450. doi:10.1016/j.jas.2004.03.004. ISSN 0305-4403.
- ↑ Kobayashi, Seiji (24 January 2008). "Eastern Japanese pottery during the Jomon-Yayoi transition: a study in forager-farmer interaction". Bulletin of the Indo-Pacific Prehistory Association. 5 (21): 37–42. สืบค้นเมื่อ 17 November 2023 – โดยทาง Open Journal Systems.
- ↑ Kushihara, Koichi (2014). "Jomon Period" (PDF). Archaeologia Japonica. 2: 74–77. สืบค้นเมื่อ 17 November 2023.
ข้อมูล
แก้- Aikens, C. Melvin, and Takayasu Higuchi. (1982). Prehistory of Japan. Studies in Archaeology. New York: Academic Press. (main text 337 pages; Jōmon text 92 pages) ISBN 0-12-045280-4
- Craig, O.E; Saul, H. (2013). "Earliest evidence for the use of pottery". Nature. 496 (7445): 351–4. Bibcode:2013Natur.496..351C. doi:10.1038/nature12109. PMID 23575637. S2CID 3094491.
- Habu, Junko (2004). Ancient Jomon of Japan. Cambridge, MA: Cambridge Press. ISBN 978-0-521-77670-7.
- Habu, Junko, "Subsistence-Settlement systems in intersite variability in the Moroiso Phase of the Early Jōmon Period of Japan"
- Hudson, Mark J., Ruins of Identity: Ethnogenesis in the Japanese Islands, University of Hawai`i Press, 1999, ISBN 0-8248-2156-4
- Imamura, Keiji, Prehistoric Japan, University of Hawai`i Press, 1996, ISBN 0-8248-1852-0
- Kobayashi, Tatsuo. (2004). Jōmon Reflections: Forager Life and Culture in the Prehistoric Japanese Archipelago. Ed. Simon Kaner with Oki Nakamura. Oxford, England: Oxbow Books. (main text 186 pages, all on Jōmon) ISBN 978-1-84217-088-5
- Koyama, Shuzo, and David Hurst Thomas (eds.). (1979). Affluent Foragers: Pacific Coasts East and West. Senri Ethnological Studies No. 9. Osaka: National Museum of Ethnology.
- Mason, Penelope E., with Donald Dinwiddie, History of Japanese art, 2nd edn 2005, Pearson Prentice Hall, ISBN 0-13-117602-1, 9780131176027
- Michael, Henry N., "The Neolithic Age in Eastern Siberia." Henry N. Michael. Transactions of the American Philosophical Society, New Ser., Vol. 48, No. 2 (1958), pp. 1–108. (laminated bow from Korekawa, Aomori)
- Mizoguchi, Koji, An Archaeological History of Japan: 10,000 B.C. to A.D. 700, University of Pennsylvania Press, 2002, ISBN 0-8122-3651-3
- Pearson, Richard J., Gina Lee Barnes, and Karl L. Hutterer (eds.). (1986). Windows on the Japanese Past: Studies in Archaeology and Prehistory. Ann Arbor, Michigan: Center for Japanese Studies, The University of Michigan. (main text 496 pages; Jōmon text 92 pages)
- Schirokauer, Conrad (2013). A Brief History of Chinese and Japanese Civilizations. Boston: Wadsworth Cengage Learning.
- Silberman, Neil Asher (2012). The Oxford Companion to Archaeology. New York: Oxford University Press.
- Temple, DH (2007). "Stress and dietary variation among prehistoric Jomon foragers". American Journal of Physical Anthropology. 133 (4): 1035–1046. doi:10.1002/ajpa.20645. PMID 17554758.
- Temple, DH (2008). "What can stature variation reveal about environmental differences between prehistoric Jomon foragers? Understanding the impact of developmental stress on environmental stability". American Journal of Human Biology. 20 (4): 431–439. doi:10.1002/ajhb.20756. PMID 18348169. S2CID 8905568.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- BBC audio file (15 minutes). Discussion of Jōmon pots. A History of the World in 100 Objects.
- Department of Asian Art. "Jōmon Culture (ca. 10,500–ca. 300 B.C.)". In Heilbrunn Timeline of Art History. New York: The Metropolitan Museum of Art, 2000–. (October 2002)
- Comprehensive Database of Archaeological Site Reports in Japan, the Nara National Research Institute for Cultural Properties.
- Memory of the Jōmon Period by The University Museum, The University of Tokyo
- The Prehistoric Archaeology of Japan by the Niigata Prefectural Museum of History
- Chronologies of the Jōmon Period
- Jōmon Culture by Professor Charles T Keally
- Yayoi Culture by Professor Charles T Keally
- The life of Jōmon people, Tamagawa University