พืชกรรมสวน หรือ วิชาพืชสวน (อังกฤษ: horticulture) คือวิชาที่ครอบคลุมอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์แห่งการเพาะปลูกพืชผล นักพืชสวน หรือพืชกรสวน (horticulturists) ทำงานและปฏิบัติงานค้นคว้าวิจัยในงานในสาขาการขยายพันธุ์พืช การเพาะปลูก การผลิตกรรมทางเกษตร การปรับปรุงพันธุ์พืช งานวิศวกรรมพันธุศาสตร์ ชีวเคมีพืช และสรีรวิทยาพืช ขอบเขตของงานเกี่ยวข้องกับ ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ผล เบอร์รี (berries) ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว (nuts) ผัก ไม้ยืนต้น ไม้พุ่มและหญ้าสนาม พืชกรทำการปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชผล คุณค่าทางอาหารของพืชผลและการต้านทานต่อโรค แมลงและสภาพเครียดทางสิ่งแวดล้อม

สวนไม้ดอกในฝรั่งเศส

การศึกษาด้านพืชกรรมสวน

แก้

การศึกษาด้านพืชสวนแบ่งออกได้เป็น 8 สาขาซึ่งสามารถจัดเป็นกลุ่มกว้าง ๆ ได้ 2 กลุ่มคือ พืชประดับ (ornamentals) และพืชอาหาร (edibles)

  • รุกขกรรม (arboriculture) อันได้แก่การศึกษา การคัดเลือก การปลูก การดูแลรักษาและการโค่นต้นไม้ใหญ่ ไม้พุ่ม ไม้เลื้อย และไม้หลายปีมีแก่น (perennial woody plants)
  • บุษบากรรม หรือวิชาไม้ดอก (floriculture) อันได้แก่การผลิตและการตลาดด้านพืชผลไม้ดอก
  • พืชกรรมภูมิทัศน์ (landscape horticulture) อันได้แก่การผลิตและการตลาดและการดูแลรักษาพืชพรรณภูมิทัศน์ (landscape plants)
  • วิชาพืชผัก (olericulture) อันได้แก่การผลิตและการตลาดพืชผัก
  • วิทยาไม้ผล (pomology) ได้แก่การผลิตและการตลาดผลไม้
  • วิชาการปลูกองุ่น (viticulture) ได้แก่ ได้แก่การปลูกและการตลาดองุ่น
  • สรีรวิทยาหลังเก็บเกี่ยว (postharvest physiology) ได้แก่การรักษาคุณภาพและป้องกันการเน่าเสียของผลิตผลพืชสวน

พืชกรสวนทำงานในภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐและสถาบันการศึกษา หรือเป็นนักสะสมเอกชน พวกเขาสามารถวิศวกรระบบพืชผล (cropping systems engineers) ผู้จัดการธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ผู้เชี่ยวชาญด้านการขยายพันธุ์และเพาะเนื้อเยื่อ (ไม้ผล ผัก ไม้ดอกและหญ้า) เป็นผู้ตรวจพืชผล ที่ปรึกษาด้านการผลิต ผู้เชี่ยวชาญงานอบรม นักปรับปรุงพันธุ์ นักวิจัยและครูอาจารย์

สาขาวิชาหรืออาชีพที่สัมพันธ์เกื้อกูลกับวิชาพืชกรรมสวนรวมถึง ชีววิทยา พฤกษศาสตร์ กีฏวิทยา เคมี คณิตศาสตร์ พันธุศาสตร์ สรีรวิทยา สถิติ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และ การสื่อสาร การออกแบบสวน การออกแบบปลูกต้นไม้ พืชศาสตร์ วิชาในสาขาพืชกรรมสวนรวมถึง วัสดุพืชพรรณ วิชาการขยายพันธุ์พืช การผลิต การจัดการหลังเก็บเกี่ยว การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การผสมเกษร โภชนาการพืชผล กีฏวิทยา พยาธิวิทยาพืช เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ อาชีพพืชกรรมสวนในบางครั้งต้องการพื้นความรู้ในระดับปริญญโทหรือปริญญาเอก

มีการนำวิชาพืชกรรมสวนไปปฏิบัติตามสวนต่าง ๆ เช่น ในศูนย์เพาะชำและเรือนเพาะชำ งานที่ปฏิบัติมีตั้งแต่การจัดเตรียมเมล็ดพันธุ์ กิ่งชำไปจนถึงการทำต้นไม้ขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่มักจำหน่ายให้สวนไม้ประดับและตลาดขายต้นไม้ทั่วไป

พืชกรรมสวนกับมานุษยวิทยา

แก้

ต้นกำเนิดของพืชกรรมสวนเกิดจากการเปลี่ยนจากการเป็นชุมชนเร่ร่อนที่เปลี่ยนที่อยู่ตามแหล่งล่าสัตว์และเก็บกินอาหารมาเป็นชุมชนอยู่เป็นที่หรือกึ่งเป็นที่ในพื้นที่เพาะปลูก มีการเริ่มเพาะปลูกพืชผลชนิดต่าง ๆ ในขนาดเล็กรอบที่พัก หรือมิฉะนั้นก็เป็นการเดินทางจากที่พักไปยังที่เพาะปลูกตามฤดูแล้วกลับที่พัก เช่น มิลปาหรือไร่ข้าวโพดของวัฒนธรรมอเมริกายุคกลาง[1] ในพื้นที่ป่า งานพืชกรรมสวนมักทำโดยการโค่นและเผา (slash and burn) ของสวีเดน[2] ลักษณะของชุมชนเพาะปลูกทั่วไปจะปลูกต้นไม้ที่เป็นประโยชน์อยู่รอบ ๆ ชุมชน หรือด้วยการรักษาต้นไม้โดยรอบไว้ตามระบบนิเวศเดิม

ในบางครั้งพืชกรรมสวนมีความแตกต่างไปจากการเกษตร คือ (1) เป็นการเพาะปลูกขนาดเล็ก ใช้แปลงปลูกขนาดเล็กที่ปลูกพืชผลคละหลายชนิดมากกว่าการเป็นแปลงขนาดใหญ่ที่ปลูกพืชชนิดเดียว (2) ปลูกพืชผลหลากชนิดที่มักรวมกับไม้ผล ในอเมริการเหนือก่อนมีการติดต่อกับคนภายนอกมีชุมชนกึ่งอยู่กับที่ชุมชน "อีสเทิร์นวู๊ดแลนด์" (ปลูกข้าวโพด บวบและทานตะวัน) ซึ่งต่างกันเป็นอย่างมากจากชุมชนเรร่อนเคลื่อนย้ายของชาวอินเดียน ในอเมริกากลาง พืชกรรมสวนของอารยธรรมมายาจะใช้วิธีปลูกเพิ่มในป่าเดิมด้วยมะละกอ อโวกาโด โกโก ซีบาและละมุดฝรั่ง ในไร่ข้าวโพดมีการปลูกพืชหลากชนิด เช่น ถั่ว (ใช้ต้นตอข้าวโพดทำร้านค้ำ) บวบ ฟักทองและพริก ในบางวัฒนธรรมใช้ผู้หญิงล้วน ๆ เป็นคนเพาะปลูก[3]

ระเบียงภาพ

แก้

ดูเพิ่ม

แก้
  • ชีววิทยา
  • งานแสดงดอกไม้เชลซี
  • การทำสวน
  • งานแสดงดอกไม้แฮมตันคอร์ท
  • ประวัติศาสตร์การทำสวน
  • รายชื่อวิชาด้านเกษตรกรรม
  • ป่าถาวร
  • ราชสมาคมพืชกรรม
  • แผ่นคลุมดิน
  • งานแสดงดอกไม้

อ้างอิง

แก้
  1. von Hagen, V.W. (1957) The Ancient Sun Kingdoms Of The Americas. Ohio: The World Publishing Company
  2. McGee, J.R. and Kruse, M. (1986) Swidden horticulture among the Lacandon Maya [videorecording (29 mins.)]. University of California, Berkeley: Extension Media Center
  3. Thompson, S.I. (1977) Women, Horticulture, and Society in Tropical America. American Anthropologist, N.S., 79: 908-910

บรรณานุกรม

แก้
  • Principles of Horticulture, C K Adams, Butterworth-Heinemann; 5 edition (11 Aug 2008), ISBN 0750686944

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้