ธนูและลูกธนู

(เปลี่ยนทางจาก ธนู)

ธนูและลูกธนู (อังกฤษ: Bow and arrow) จัดเป็นอาวุธระยะไกล ที่ได้รับการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นวิวัฒนาการที่สำคัญในเกือบทุกวัฒนธรรมโบราณ โดยการยิงธนูถือเป็นศาสตร์และศิลป์อย่างหนึ่งที่ผู้ใช้ต้องใช้เวลาฝึกฝนเป็นระยะเวลานาน ปัจจุบันธนูได้ถูกพัฒนามาเพื่อใช้ในการล่าสัตว์ และเพื่อใช้ในการกีฬาเท่านั้น

ธนูคอมโพสิทสมัยใหม่

หลักการทำงานของธนู

แก้

ธนูเป็นอุปกรณ์ที่ใช้คุณสมบัติการยืดหยุ่นของวัสดุ ซึ่งอาศัยหลักการพุ่งออกไปแบบโปรเจ็กไทล์และหลักอากาศพลศาสตร์ของลูกธนู เมื่อสายธนูได้ถูกง้าง และปล่อยออกมา จะทำให้เกิดการถ่ายเทพลังงานจลน์ของวัสดุที่เกร็งเกิดเป็นแรงผลักลูกธนู

ประวัติ

แก้

ธนูไม่ได้เป็นอาวุธระยะไกลชนิดแรกที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น มันได้ถูกพัฒนาขึ้นมาจากหนังสติ๊กและหอกพุ่งแหลน ธนูเป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้ในการล่าสัตว์และป้องกันตัวตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ โดยเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญต่อการดำรงชีพและการทหารของมนุษย์ในยุคโบราณ มีหลักฐานค้นพบหัวของลูกธนูโบราณที่ยังสภาพดีอยู่ประมาณ 64,000 ปีในถ้ำซิบูดูทวีปแอฟริกาใต้ และมีการค้นพบหินเหล็กไฟ (flint) ที่ถูกพันด้ามไว้ด้วยเอ็น ปีกลูกธนู (Fletching) ถูกทำด้วยขนนกติดกาวและผูกติดกับลำธนูตั้งแต่ช่วงยุคหินกลาง หรือประมาณ 16,000 ปีก่อนคริสตกาล

ธนูที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงสภาพดีอยู่ คือ ธนูที่ทำด้วยต้นเอล์มจากเมืองโฮล์มการ์ด (elm Holmegaard bow) ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งคาดว่ากำเนิดในช่วง 9,000 ปีก่อนคริสตกาล ธนูชนิดนี้เป็นคันธนูไม้ที่มีประสิทธิภาพสูงที่ปัจจุบันยังคงผลิตตามรูปแบบสไตล์เมืองโฮล์มการ์ดอยู่

โครงสร้าง

แก้

ส่วนประกอบของธนู

แก้

องค์ประกอบพื้นฐานของธนูจะประกอบด้วยปีกธนูที่มีความยืดหยุ่น

ส่วนประกอบของธนูรีเคิร์ฟแบบสมัยใหม่

แก้

อุปกรณ์หลัก

  • คันธนู (Riser)
  • ปีกธนู (Limb) เป็นส่วนที่เพิ่มแรงดีดของลูกธนู
  • สายธนู (Bow string)
  • ที่จับ (Grip)
  • ช่องมองเป้า (Sight window) ธนูสมัยใหม่จะทำช่องโค้งเพื่อให้สามารถเล็งเป้าได้
  • ที่พักลูกธนู (Arrow rest) ฐานพักลูกธนูขณะง้างสาย
  • น็อก (Nock) เป็นที่ยึดลูกธนูขณะเล็งเป้า และเป็นจุดกระแทกปลายลูกธนูเมื่อเกิดแรงดีด
  • ร่องพาดสายธนู (Center string serving) เป็นจุดสำหรับพาดนิ้วและง้างสายธนู
  • ปลายปีกธนู (Bow Tip) มีผลต่อการสะบัดและความแม่นยำในการยิง
  • ที่คล้องสายธนู (String nock)

ศูนย์เล็ง (Sight)

  • แท่งปรับศูนย์เล็ง (Sight bar with scale) ใช้สำหรับปรับระยะเล็งตามหลักโปรเจ็กไทล์
  • หมุดเล็งเป้า (Sight pin & aperture) เพื่อเพิ่มความแม่นยำ
  • จุดยึดศูนย์เล็ง (Sight block) เพื่อไม่ให้ศูนย์เล็งเขยื่อนเมื่อปรับระยะแล้ว

อุปกรณ์เสริม

  • คลิกเกอร์ (Clicker) ที่วัดระยะปลายลูกธนูเพื่อกำหนดระยะความแม่นยำในการดึงลูกธนู
    ซึ่งนักกีฬาแต่ละคนจะมีการคำนวณความยาวของก้านลูกธนูที่เหมาะสำหรับตัวเอง
  • ศูนย์ถ่วง (Stabilizer thread) เพื่อช่วยให้สามารถจับคันธนูได้นิ่งขึ้น

ส่วนประกอบของธนูแบบดั้งเดิม

แก้
 
  • คันธนู
  • ปีกธนู
  • สายธนู

ประเภทของธนู

แก้

ธนูแบบดั้งเดิม

แก้

ธนูประดิษฐ์ (Self Bow) เป็นธนูประดิษฐ์ในยุคแรกเริ่ม มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน และมีขนาดเล็กสะดวกในการพกพาในพื้นที่จำกัดอย่างเช่น การล่าสัตว์ในป่า

ธนูยาว (Long Bow) เป็นธนูที่พัฒนาเพื่อใช้ในทางการทหาร โดยลักษณะของธนูส่วนปีกจะมีความยาวมากกว่าธนูสั้น เพื่อเพิ่มแรงส่งของลูกธนูให้ไกลขึ้น และเพิ่มอำนาจการทำลายล้างเพิ่มขึ้น ประเภทของธนูยาวจะแบ่งตามวัฒนธรรมต่างๆ เช่น ธนูยาวอังกฤษ, ธนูยุมิ (ธนูยาวญี่ปุ่น)

ธนูคอมโพสิท (Composite Bow) เป็นธนูที่มีส่วนประกอบของคันธนูหลายชิ้นส่วนมาประกอบเข้าด้วยกัน ธนูเตอร์กิส, ธนูสมัยราชวงศ์หมิง และ ธนูมองโกล

ทั้งนี้ธนูแบบดั้งเดิมยังมีแบบพิเศษอื่น ๆ อีกเช่น ธนูกักกุง (Gak Gung) ของเกาหลีที่ทำจากเขาควาย และธนูถักสายแอ่น (Cable-backed bow) ของชนเผ่าเอสกิโม

ธนูสมัยใหม่

แก้

ธนูปีกโค้งกลับ (Recurve Bow) เป็นธนูสมัยใหม่ที่รูปทรงใกล้เคียงกับธนูยาวโดยมีเคล็ดลับที่ส่วนปลายปีกของธนูจะมีรูปทรงโค้งกลับเพื่อทำให้เกิดความแม่นยำในการยิงเพิ่มขึ้น และธนูสมัยใหม่จะมีอุปกรณ์เสริมต่างๆเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการยิง

ธนูทดกำลัง (Compound Bow) เป็นธนูที่มีการพัฒนาด้วยหลักกลศาสตร์สมัยใหม่โดยการใช้รอกทดกำลัง

ลูกธนู

แก้
 
โครงสร้างของลูกธนู

ส่วนประกอบหลักของลูกธนูคือก้านธนู (Shaft) หัวลูกธนู (Arrow head) อยู่ตรงส่วนหน้าของลูกธนู ปีกธนูและน็อก อยู่ตรงส่วนท้ายของลูกธนู ปัจจุบันก้านธนูมักทำจากเส้นใยคาร์บอนแทนวัสดุไม้แบบดั้งเดิมเพราะให้ความตรง, น้ำหนัก และความทนทานดีกว่า ความยาวของลูกธนูแบบดั้งเดิมจะขึ้นอยู่กับประเภทของธนูในแต่ละวัฒนธรรม ความยาวของลูกธนูสมัยใหม่จะมีความยาวประมาณ 22 - 30นิ้ว

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้