ยุมิ (ญี่ปุ่น: โรมาจิYumi) เป็นธนูชนิดหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยปีกธนูที่ยาวกว่าเรียกว่า ไดกีว (daikyū, 大弓) และปีกธนูที่สั้นกว่า ฮังกีว (hankyū, 半弓) ยุมิเป็นอาวุธที่สำคัญมากของซามูไรในช่วงสงครามระหว่างไดเมียวของแต่ละแคว้นของญี่ปุ่น

ยุมิ, ลูกธนู และที่ใส่ลูกธนู

ประวัติที่มาของยุมิ

แก้

ในช่วงเริ่มต้นประเทศญี่ปุ่นมีการใช้ธนูหลากหลายประเภทแต่ส่วนใหญ่จะเป็นธนูสั้นที่มีด้ามจับอยู่ตรงช่วงกึ่งกลาง โดยช่วง 300 ปีก่อนคริสตกาล ธนูได้มีขนาดเพิ่มขึ้นจนมีขนาดความยาวเกือบถึง 2 เมตร คันธนูชนิดได้ เรียกว่า มะรุกิยุมิ สร้างมาจากไม้ลวกหรือกิ่งไม้ขนาดเล็ก ซึ่งไม่ทราบที่มาว่าทำไมสัดส่วนของธนูชนิดนี้ถึงไม่สมมาตรกัน แต่ได้มีการค้นพบบันทึกต้นฉบับภาษาจีนถึงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3 ซึ่งบรรยายถึงผู้คนบนเกาะญี่ปุ่นที่ใช้ ธนูที่มีความยาวของปีกธนูด้านบนและปีกธนูด้านล่างต่างกัน และลูกธนูที่มีก้านธนูทำด้วยไม้ไผ่กับหัวธนูที่ทำด้วยกระดูกหรือเหล็ก ยุมิที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดค้นพบในเมืองนะระซึ่งคาดว่าน่าจะมาจากช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 [1]

ในช่วงสมัยเฮอัง (ค.ศ. 794 - ค.ศ. 1185) ความยาวของยุมิได้ถูกสร้างให้มีขนาดประมาณเกิน 2 เมตรเล็กน้อย และใช้รูปแบบการสร้างของไม้ลามิแนต (ไม้ที่ประกอบด้วยชั้นหลายชั้น) ที่มีการประยุกต์มาจากประเทศจีน ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ชาวญี่ปุ่นได้มีการพัฒนาโดยการใช้ไม้ลามิแนตที่มีส่วนผสมของไม้ไผ่และแผ่นไม้ 2ชิ้นประกบเข้าเป็นยุมิ กว่าหลายร้อยปีที่ยุมิได้มีการวิวัฒนาการเพิ่มขึ้นจนถึงช่วงประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 16 การออกแบบของยุมิได้ถือว่าเกือบจะสมบรูณ์แบบ ปัจจุบันรูปทรงของธนูไม้ไผ่ยุมิเกือบจะเสมือนธนูในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 [2]

ลักษณะของยุมิ

แก้
 
ส่วนต่าง ๆ ของยุมิ

ยุมิ เป็นธนูที่มีความสูงเป็นพิเศษเกินกว่า 2 เมตร และมีความสูงเหนือความสูงของนักธนู ตามแบบดั้งเดิมมันถูกสร้างด้วยแผ่นไม้ไผ่ ไม้ และหนังสัตว์ ด้วยกรรมวิธีที่ไม่เปลี่ยนแปลงมานานหลายศตวรรษ แม้ว่านักธนูบางคน(โดยเฉพาะนักธนูมือใหม่) อาจใช้คันธนูที่สร้างจากวัสดุสังเคราะห์

สัดส่วนที่ไม่สมมาตรกันของยุมิ ตามที่สหพันธ์นิปปงคีวโดได้กำหนดไว้ว่า นิงิริ (ด้ามจับ) จะต้องอยู่ในตำแหน่งประมาณสองในสามของระยะคันธนูจากส่วนปลายด้านบน

ปีกด้านบนและปีกด้านล่างก็มีความโค้งแตกต่างกัน จากสมมุติฐานหลายคนได้แสดงความคิดเห็นว่ารูปร่างที่ไม่สมมาตรของคันธนูนี้ได้ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานบนหลังม้า โดยเฉพาะการหันคันยุมิจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งในขณะที่อยู่บนหลังม้า อย่างไรก็ตาม จากตำแหน่งด้ามจับที่โผล่มาขณะง้างธนูอยู่บนหลังม้าก็ทำให้กินพื้นที่เป็นวงกว้างมาก (ดูเพิ่ม ยะบุซะเมะ)

สายธนู

แก้

สายธนู (สึรุ) ของยุมิแบบดั้งเดิมสร้างจากเชือกปอ ถึงแม้ว่าสายของธนูสมัยใหม่ส่วนใหญ่จะใช้วัสดุสังเคราะห์เช่น เส้นใยเคฟลาร์ ซึ่งมีอายุการใช้งานนานกว่า โดยปรกติสายธนูมักจะไม่มีการเปลี่ยนจนกว่ามันจะถูกใช้งานจนขาด ซึ่งจะมีผลให้คันยุมิบิดงอไปในทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางที่ใช้ดึงปรกติ และจะทำให้อายุการใช้งานของยุมิสั้นลง จุดกระแทกปลายลูกธนูในสายธนูถูกทากาวไว้เพื่อป้องกันสายธนูและให้มีความหนาเพื่อความสะดวกในการจับปลายน็อก(ฮะซุ) ของลูกธนู(ยะ) ในตำแหน่งนั้นขณะง้างสายยุมิ

 
ยุมิ, ธนูที่ใหญ่ที่สุดในโลก

การดูแลรักษา

แก้

ธนูยุมิต้องอาศัยความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยหากไม่ระวัง อาจจะทำให้รูปทรงของคันธนูบิดเบี้ยวผิดรูปและในที่สุดอาจจะทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ รูปทรงของธนูยุมิจะเปลี่ยนขณะใช้งานปรกติและสามารถคืนรูปกลับได้ เพื่อไม่ให้เกิดแรงกดมากนักเมื่อไม่ต้องการใช้งานควรปลดหรือหย่อนสายคล้องออก

รูปทรงโค้งของปีกธนูยุมิมีผลอย่างมากต่อการยิงธนู ธนูยุมิที่มีความโค้งมากเกินไปจะทำให้ธนูไม่มีพลังในช่วงเวลาที่ง้างสาย

ความยาวของยุมิ

แก้
ความสูงของนักธนู ความยาวของลูกธนู ความยาวของยุมิ
< 150 cm < 85 cm Sansun-zume (212 cm)
150–165 cm 85–90 cm Namisun (221 cm)
165–180 cm 90–100 cm Nisun-nobi (227 cm)
180–195 cm 100–105 cm Yonsun-nobi (233 cm)
195–205 cm 105–110 cm Rokusun-nobi (239 cm)
> 205 cm > 110 cm Hassun-nobi (245 cm)

โครงสร้างของยุมิแบ่งตามประวัติศาสตร์

แก้
ช่วงเวลา ชนิดของธนู การขึ้นรูปคันธนู
ก่อนประวัติศาสตร์ มะรุกิ ทำด้วยไม้ชิ้นเดียว
ค.ศ. 800-900 ฟุเซะตะเกะ ทำด้วยไม้ ด้านหน้าประกบด้วยไม้ไผ่
ค.ศ. 1100 ซัมไมอุชิ ทำด้วยไม้ ประกบด้วยไม้ไผ่ทั้งด้านหน้าและหลัง
ค.ศ. 1300–1400 ชิโฮะชิกุ ทำด้วยไม้ไผ่ ประกบด้วยไม้ทั้งด้านหน้าและหลัง
ค.ศ. 1550 ซัมบงฮิโงะ (ฮิโงะยุมิ) แกนกลางทำด้วยแผ่นไม้ไผ่ 3 ชั้น แผ่นไม้ด้านข้าง ประกบด้วยไม้ไผ่ทั้งด้านหน้าและหลัง
ค.ศ. 1600 โยะฮนฮิโงะ (ฮิโงะยุมิ) แกนกลางทำด้วยแผ่นไม้ไผ่ 4 ชั้น แผ่นไม้ด้านข้าง ประกบด้วยไม้ไผ่ทั้งด้านหน้าและหลัง
ค.ศ. 1650 โกะฮนฮิโงะ (ฮิโงะยุมิ) แกนกลางทำด้วยแผ่นไม้หรือไม้ไผ่ 5 ชั้น แผ่นไม้ด้านข้าง ประกบด้วยไม้ไผ่ทั้งด้านหน้าและหลัง
ค.ศ. 1971-ปัจจุบัน เส้นใยแก้ว แกนกลางทำด้วยแผ่นไม้ลามิแนต, เอฟอาร์พี(เส้นใยแก้วชนิดพิเศษ) ประกบด้านหน้าและหลัง

รูปตัวอย่าง

แก้

อ้างอิง

แก้

หนังสืออ่านเพิ่ม

แก้
  • Herrigel, Eugen (1999). Zen in the Art of Archery. Vintage. ISBN 0-375-70509-0.
  • Michael, Henry N. (1958). "The Neolithic Age in Eastern Siberia". Transactions of the American Philosophical Society. New Series. Philadelphia: The American Philosophical Society (ตีพิมพ์ April 1958). 49 (2): 1–108. doi:10.2307/1005699. สืบค้นเมื่อ 2008.02.13.. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)