ทะเลญี่ปุ่น
ทะเลญี่ปุ่น (สำหรับชื่ออื่น ๆ ดูด้านล่าง) (ญี่ปุ่น: 日本海; โรมาจิ: Nihonkai) เป็นทะเลชายอาณาเขตทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างแผ่นดินใหญ่เอเชีย หมู่เกาะญี่ปุ่น และเกาะซาฮาลิน ล้อมรอบด้วยประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศเกาหลีเหนือ และประเทศรัสเซีย เป็นผืนน้ำที่ถูกปิดกั้นจากมหาสมุทรแปซิฟิกเกือบสมบูรณ์ ทำให้แทบไม่มีปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งคล้ายกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน[1] และความโดดเดี่ยวเช่นนี้ยังทำให้จำนวนชนิดพันธุ์สัตว์และความเค็มของน้ำมีน้อยกว่าในมหาสมุทร ภายในพื้นที่ไม่มีเกาะ อ่าว หรือแหลมขนาดใหญ่ สมดุลของน้ำได้รับอิทธิพลอย่างมากจากกระแสน้ำที่ไหลเข้าและออกผ่านช่องแคบต่างๆ ที่เชื่อมต่อกับทะเลรอบข้างและมหาสมุทรแปซิฟิก ขณะที่แม่น้ำที่ไหลลงสู่ทะเลแห่งนี้มีจำนวนน้อย จึงมีผลต่อปริมาตรน้ำในทะเลเพียงไม่เกินร้อยละ 1
ทะเลญี่ปุ่น | |||||||
แผนที่ทะเลญี่ปุ่น | |||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาษาจีน | 日本海 | ||||||
| |||||||
ชื่อเกาหลีเหนือ | |||||||
โชซ็อนกึล | |||||||
ฮันจา | |||||||
ความหมายตามตัวอักษร | East Sea of Korea | ||||||
| |||||||
ชื่อเกาหลีใต้ | |||||||
ฮันกึล | |||||||
ฮันจา | |||||||
ความหมายตามตัวอักษร | East Sea | ||||||
| |||||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||||
คันจิ | 日本海 | ||||||
ฮิรางานะ | にほんかい | ||||||
| |||||||
ชื่อภาษารัสเซีย | |||||||
ภาษารัสเซีย | Японское море | ||||||
อักษรโรมัน | Yaponskoye more | ||||||
ชื่อManchu | |||||||
Manchu | ᡩᡝᡵᡤᡳ ᠮᡝᡩᡝᡵᡳ dergi mederi |
น้ำในทะเลญี่ปุ่น มีความเข้มข้นของออกซิเจนละลายอยู่สูง ส่งผลให้ความอุดมสมบูรณ์ทางชีวภาพ การประมงจึงมีความสำคัญทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ และการขนส่งทางเรือในทะเลญี่ปุ่นกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออก แม้ว่าในอดีตจะไม่คับคั่งนักเนื่องด้วยประเด็นปัญหาทางการเมือง ขณะที่ชื่อของผืนน้ำแห่งนี้ยังคงเป็นประเด็นขัดแย้ง เนื่องจากเกาหลีใต้พยายามเรียกร้องให้ใช้ชื่อว่า ทะเลตะวันออก
ขอบเขต
แก้องค์การอุทกศาสตร์สากลได้กำหนดขอบเขตของทะเลญี่ปุ่นไว้ดังนี้[2]
- ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ขอบเขตด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลจีนตะวันออก [จากแหลมโนะโมะบนเกาะคิวชู ถึงปลายด้านทิศใต้ของเกาะฟุกุเอะ (หมู่เกาะโกะโต)] และด้านทิศตะวันตกของทะเลในเซะโตะ
- ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ในช่องแคบคันมง จากแหลมนะโงะยะ (130°49'E) บนเกาะคิวชู ถึงมุระซะกิฮะนะ (34°01'N) บนเกาะฮอนชู
- ด้านทิศตะวันออก ในช่องแคบสึงะรุ จากปลายสุดแหลมชิริยะ (141°28'E) ถึงปลายสุดแหลมเอะซัง (41°48'N)
- ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่องแคบลาเปรูส (ช่องแคบโซยะ) จากแหลมโซยะ ถึงแหลมนิชิโนะโตะโระ
- ด้านทิศเหนือ จากแหลมตุยค์ (51°45'N) ถึงแหลมซูเชวา
ภูมิศาสตร์และธรณีวิทยา
แก้ทะเลญี่ปุ่นเคยถูกล้อมรอบด้วยแผ่นดินในยุคสมัยที่ยังคงมีสะพานแผ่นดินในภูมิภาคเอเชียตะวันออก[3] โดยหมู่เกาะญี่ปุ่นเริ่มก่อตัวขึ้นจากการแยกตัวของพื้นที่ทางตอนเหนือและใต้ในสมัยไมโอซีนตอนต้น[4] ซึ่งทำให้ทะเลญี่ปุ่นเริ่มเชื่อมต่อกับทะเลเปิด พื้นที่ทางตอนเหนือของหมู่เกาะยังคงแยกแตกกระจายกันจนกระทั่งเกิดกลุ่มเกาะทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในสมัยไมโอซีนตอนปลาย[4] ขณะที่พื้นที่ทางใต้ยังคงเป็นผืนดินขนาดใหญ่ และเมื่อถึงสมัยไมโอซีนตอนปลายก็เริ่มขยายตัวไปทางทิศเหนือ[4]
ทะเลญี่ปุ่นถูกล้อมรอบด้วยแผ่นดินรัสเซียและเกาะซาคาลินทางเหนือ คาบสมุทรเกาหลีทางตะวันตก และหมู่เกาะญี่ปุ่นทางตะวันออก และเชื่อมต่อกับทะเลอื่น ๆ โดยช่องแคบ 5 แห่ง ได้แก่ ช่องแคบตาตาร์ระหว่างทวีปเอเชียกับเกาะซาฮาลิน ช่องแคบลาเปรูสระหว่างเกาะซาฮาลินกับเกาะฮกไกโด ช่องแคบสึงารุระหว่างเกาะฮกไกโดกับเกาะฮนชู ช่องแคบคัมมงระหว่างเกาะฮนชูกับเกาะคีวชู และช่องแคบเกาหลีระหว่างคาบสมุทรเกาหลีกับเกาะคีวชู
ความลึกเฉลี่ย 1,062 เมตร จุดที่ลึกที่สุดลึกจากระดับน้ำทะเล 3,742 เมตร และมีพื้นที่ประมาณ 978,000 ตารางกิโลเมตร กิจกรรมที่สำคัญที่ทะเลแห่งนี้คือการทำประมง ปลาที่จับได้จะมีลักษณะคล้ายปลาในทะเลเบริง นอกจากนี้ยังมีการจับปลิงทะเลด้วย
กรณีพิพาทชื่อ
แก้ในปี พ.ศ. 2535 เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ได้ยกประเด็นว่าด้วยชื่อของทะเลที่ถูกห้อมล้อมโดยรัสเซีย, ญี่ปุ่น, เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ แม้ว่าชื่อของ "ทะเลญี่ปุ่น" หรือการแปลเทียบเท่าอื่น จะได้รับการตั้งชื่ออื่นในต่างประเทศ อย่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ต่างก็ให้มีการใช้ชื่อที่ต่างออกไป โดยเกาหลีเหนือให้ใช้ชื่อว่า "ทะเลเกาหลีตะวันออก"[5] และเกาหลีใต้ให้ใช้ชื่อว่า "ทะเลตะวันออก"[6] แทนชื่อของ "ทะเลญี่ปุ่น" อย่างไรก็ดีในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 สหประชาชาติได้มีหนังสือถึงรัฐบาลญี่ปุ่นว่า จะใช้ชื่อ "ทะเลญี่ปุ่น" เป็นชื่อสากลในเอกสารราชการที่ออกโดยสหประชาชาติ[7] แต่ยังคงเปิดให้มีการอภิปรายในประเด็นว่าด้วยชื่อทะเลดังกล่าวต่อไป นอกจากนี้ใน พ.ศ. 2555 องค์การอุทกศาสตร์สากล (International Hydrographic Organization) ซึ่งเป็นองค์การว่าด้วยอุทกศาสตร์และมีหน้าที่หนึ่งในการกำหนดชื่อทางอุทกศาสตร์สากล ได้ให้การยอมรับชื่อ "ทะเลญี่ปุ่น" เป็นชื่อเดียวที่จะปรากฏในสื่อสิ่งพิมพ์ขององค์การ และปฏิเสธชื่อ "ทะเลตะวันออก" ตามที่เกาหลีใต้เสนอ โดยจะมีการอภิปรายเรื่องชื่ออีกครั้งเมื่อถึง พ.ศ. 2560[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Tides in Marginal, Semi-Enclosed and Coastal Seas – Part I: Sea Surface Height". ERC-Stennis at Mississippi State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2004. สืบค้นเมื่อ 2 February 2007.
- ↑ "Limits of Oceans and Seas, 3rd edition" (PDF). องค์การอุทกศาสตร์สากล. 1953. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-08. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Totman, Conrad D. (2004). Pre-Industrial Korea and Japan in Environmental Perspective. ISBN 978-9004136267. สืบค้นเมื่อ 2 February 2007.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Kameda Y. & Kato M. (2011). "Terrestrial invasion of pomatiopsid gastropods in the heavy-snow region of the Japanese Archipelago". BMC Evolutionary Biology 11: 118. doi:10.1186/1471-2148-11-118.
- ↑ Efforts of the Government of Japan in Response to the Issue of the Name of the Sea of Japan (1) The 8th UNCSGN, The Ministry of Foreign Affairs of Japan
- ↑ "Ministry of Foreign Affairs and Trade. East Sea". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-06. สืบค้นเมื่อ 2012-05-23.
- ↑ "The Policy of the United Nations Concerning the Naming of 'Sea of Japan'". Ministry of Foreign Affairs of Japan. มิถุนายน พ.ศ. 2547. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ Kyodo News, "Sea of Japan name dispute rolls on เก็บถาวร 2012-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Japan Times, 3 May 2012, p. 3; Kyodo News, "IHO nixes 'East Sea' name bid", Japan Times, 28 April 2012, p. 2; Rabiroff, Jon, and Yoo Kyong Chang, "Agency rejects South Korea's request to rename Sea of Japan เก็บถาวร 2016-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Stars and Stripes, 28 April 2012, p. 5.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Sea of Japan