ทวีปเอเชีย
เอเชีย (อังกฤษ: Asia; กรีก: Ασία อาเซีย) เป็นทวีปขนาดใหญ่และมีประชากรมากสุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและซีกโลกตะวันออก ทวีปเอเชียเป็นส่วนหนึ่งของทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และเป็นส่วนหนึ่งของทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานาน[6]และเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เป็นเพียงทวีปขนาดใหญ่และมีประชากรเยอะ แต่ยังมีสถานที่และการตั้งถิ่นฐานหนาแน่นมีขนาดใหญ่ แต่เช่นเดียวกันทวีปเอเชียก็มีบริเวณที่มีประชากรเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน (ข้อมูลเมื่อ มิถุนายน 2019[update]) คิดเป็น 60% ของประชากรโลก[7]
พื้นที่ | 44,579,000 ตารางกิโลเมตร (อันดับที่ 1)[1] |
---|---|
ประชากร | 4,462,676,731 (พ.ศ. 2560; อันดับที่ 1)[2] |
ความหนาแน่น | 100 คน/ตารางกิโลเมตร |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 63.35 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ พ.ศ. 2564; อันดับที่ 1)[3] |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 34.39 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ พ.ศ. 2564; อันดับที่ 1)[4] |
จีดีพีต่อหัว | 7,850 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ พ.ศ. 2564; อันดับที่ 4)[5] |
ศาสนา | |
เดมะนิม | ชาวเอเชีย |
ประเทศ | สมาชิกสหประชาชาติ 49 ประเทศ, สังเกตการณ์ 1 ประเทศ, รัฐอื่น ๆ 5 ประเทศ |
ดินแดน | |
จำนวนรัฐที่ไม่ใช่สมาชิก UN | |
ภาษา | รายชื่อภาษา |
เขตเวลา | UTC+2 ถึง UTC+12 |
โดเมนระดับบนสุด | .asia |
เมืองใหญ่ | |
รหัส UN M49 | 142 – เอเชีย001 – โลก |
โดยทั่วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้สามารถเห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตก และแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน[8]
จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก[9][10][11][12] และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย[13] สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามทะเลมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของ ประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ[14] เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, พระพุทธศาสนา, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย
เนื่องจากเอเชียมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ[15] เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมาก เช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั้วโลกในไซบีเรีย
ศัพทมูลวิทยา
แก้เดิมที คำว่า "เอเชีย" นั้นเกิดจากแนวความคิดต้องการสร้างอารยธรรมแบบตะวันตก คำว่า "เอเชีย" ในฐานะที่เป็นชื่อสถานที่นั้น แม้ปรากฏในภาษาปัจจุบันหลายภาษาหลายรูปแบบ แต่ก็ไม่ปรากฏแหล่งที่มาดั้งเดิมแน่ชัด ทั้งไม่ปรากฏด้วยว่าเป็นหรือมาจากภาษา,ละตินแปลว่าดินแดนที่แตกต่างสุดแต่เท่าที่ทราบ "เอเชีย" เป็นชื่อที่เก่าแก่มากที่สุดชื่อหนึ่งซึ่งได้รับการบันทึกเอาไว้ และมีผู้เสนอแนวคิดมากมายเกี่ยวกับศัพทมูลวิทยาของคำนี้
ยุคโบราณสมัยคลาสสิก
แก้คำ "Asia" ในภาษาละติน และคำ "Ἀσία" ในภาษากรีกนั้นปรากฏว่าเป็นคำเดียวกัน นักประพันธ์ชาวโรมันแปลคำว่า "Ἀσία" เป็น "Asia" และชาวโรมันเองตั้งชื่อท้องที่แห่งหนึ่งซึ่งปัจจุบันอยู่ในทวีปเอเชียนี้ว่า "Asia" อนึ่ง ครั้งนั้นยังมีดินแดนที่เรียก "เอเชียน้อย" (Asia Minor) และ "เอเชียใหญ่" (Asia Major คืออิรักในปัจจุบัน) ด้วย เนื่องจากหลักฐานแรกสุดเกี่ยวกับชื่อ "เอเชีย" นี้เป็นหลักฐานภาษากรีก เมื่อว่ากันตามพฤติการณ์แล้ว จึงเป็นไปได้ว่า คำ "เอเชีย" มาจากคำ "Ἀσία" ในภาษากรีก แต่ที่มา ที่ไปเกี่ยวกับการรับหรือถ่ายทอดคำนั้นยังค้นไม่พบ เพราะยังขาดบริบททางภาษา[16]
เฮรอโดตัส (Herodotus) นักประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ชาวกรีก เป็นบุคคลแรกที่ใช้คำ "เอเชีย" เรียกทวีป ทั้งนี้ ไม่ใช่เพราะว่าเขาประดิษฐ์คำนี้ขึ้น แต่เพราะข้อเขียนเรื่อง ฮิสตอรีส์ (Histories) ของเขาเป็นงานชิ้นเดียวที่บรรยายทวีปเอเชียไว้โดยละเอียดและเหลือรอดมาถึงยุคปัจจุบัน เฮรอโดตัสนิยามคำว่า "เอเชีย" เอาไว้อย่างครบถ้วนกระบวนความ เขากล่าว่า เขาได้อ่านผลงานของนักภูมิศาสตร์หลายคนซึ่งปัจจุบันสาบสูญไปทั้งสิ้นแล้ว พบว่า ชาวกรีกส่วนใหญ่ถือกันว่า ชื่อทวีปเอเชียนั้นมาจากชื่อของนางฮีไซโอนี (Hesione) ภริยาของพรอมีเธียส (Prometheus) ขณะที่ชาวลิเดียถือว่า ชื่อทวีปเอเชียมาจากชื่อเจ้าชายเอเซียส (Asies) โอรสแห่งโคติส (Cotys) และนัดดาของพระเจ้าเมนีส (Manes) เฮรอโดตัสแสดงความเห็นแย้งว่า ชื่อ "เอเชีย" มาจากชื่อของพรายนางหนึ่งซึ่งเป็นเทพีประจำเมืองลิเดียตามความในเทพปกรณัมกรีก และแสดงความสงสัยไว้ว่า เหตุใดจึงเอานามสตรีสามนาง "ไปตั้งเป็นนามภูมิภาคซึ่งแท้จริงแล้วเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน" กล่าวคือ ชื่อนางยูโรปา (Europa) สำหรับยุโรป นางเอเชียสำหรับเอเชีย และนางลิเบีย (Libya) สำหรับแอฟริกา[17]
ความสงสัยข้างต้นของเฮรอโดตัสอาจเป็นเพียงการแสดงความไม่เห็นด้วยหลังจากที่ได้อ่านวรรณกรรมกรีกหลายต่อหลายฉบับและได้สดับตรับฟังถ้อยคำของคนอื่น ๆ แต่มิได้หมายความว่า เขาไม่ทราบเหตุผลที่เอาชื่อสตรีเพศไปตั้งเป็นชื่อสถานที่ เพราะตามศาสนากรีกโบราณแล้ว สถานที่ทั้งปวงมีเทพารักษ์เป็นสตรี และสถานที่อื่น ๆ หลายแห่งในครั้งนั้นก็เอาชื่อสตรีมาตั้ง เช่น เอเธนส์ (Athens), ไมซีนี (Mycenae) และธีบส์ (Thebes)
ยุคสำริด
แก้ก่อนสมัยวรรณกรรมของกรีกข้างต้น ท้องที่แถบทะเลอีเจียนนั้นตกอยู่ในยุคมืด โดยในครั้งที่เริ่มยุคมืดนี้ ผู้คนได้เลิกเขียนหนังสือเป็นพยางค์ แต่ก็ยังมิได้เริ่มใช้ตัวอักษร และนับขึ้นไปก่อนสมัยนั้นอีกซึ่งเป็นยุคสัมฤทธิ์ ปรากฏบันทึกหลายฉบับของจักรวรรดิอัสซีเรีย จักวรรดิฮิตไทต์ และรัฐไมซีเนียหลาย ๆ รัฐแห่งจักรวรรดิกรีก ที่เอ่ยถึงภูมิภาคซึ่งได้แก่เอเชียในปัจจุบัน บันทึกเหล่านี้เป็นเอกสารทางการเมืองการปกครอง ไม่มีเนื้อหาเชิงวรรณกรรมแม้แต่น้อย
บรรดารัฐไมซีเนียนั้นถูกกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งทำลายจนล่มจมไปทั้งสิ้นเมื่อราว ๆ 1200 ปีก่อนคริสตกาล กลุ่มบุคคลดังกล่าวจะเป็นผู้ใดแท้จริงยังไม่ทราบ แต่ก็มีสำนักทางความคิดสำนักหนึ่งถือสืบ ๆ กันมาจนบัดนี้ว่า เป็นการรุกรานของชาวดอริส (Dorian invasion) การที่หมู่พระราชวังถูกเพลิงเผาพลาญนั้นส่งผลให้เหล่าบันทึกทางการเมืองการปกครองข้างต้นซึ่งจารด้วยอักษรกรีกลงบนแผ่นดินเหนียวถูกอบเป็นแผ่นแข็ง แผ่นจารึกเหล่านี้ต่อมาได้รับการถอดรหัสโดยคณะผู้สนใจคณะหนึ่ง ซึ่งรวมถึงนักวิทยาการเข้ารหัสลับผู้เยาว์รายหนึ่งในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง คือ ไมเคิล เวนทริส (Michael Ventris) ผู้ซึ่งต่อมาได้รับความช่วยเหลือจากนักวิชาการจอห์น ชัดวิก (John Chadwick) ในการบุกเบิกท้องที่แถบนี้ นักโบราณคดีคาร์ล เบลเกน (Carl Blegen) ได้พบกรุสมบัติขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ณ ซากเมืองพีลอส (Pylos) ในกรุนี้มีบัญชีรายชื่อบุคคลหญิงชายจำนวนมากซึ่งทำขึ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ หลายประการ
หญิงชายจำนวนหนึ่งในกลุ่มที่ปรากฏนามในบัญชีข้างต้นถูกเอาตัวลงเป็นทาส และถูกใช้งานในการค้าขาย เช่น ให้เย็บปักถักร้อย โดยในเวลาที่ถูกเกณฑ์มา ลูกเล็กเด็กแดงของพวกเขามักถูกนำพามาด้วย คนทั้งนั้นถูกเรียกด้วยถ้อยคำหยาบช้าเพื่อใช้บ่งบอกถึงแหล่งกำเนิดของพวกเขา เช่น มีการใช้ว่า "aswiai" แปลว่า นางคนเอเชีย (women of Asia)[18] ข้อนี้ เบื้องต้นมีการตั้งข้อสังเกตว่า พวกเขาถูกจับถูกคร่ามาจากเอเชีย แต่เมื่อปรากฏว่า บางคนถูกพามาจากแห่งอื่นก็มี เช่น กลุ่มที่เรียก "ไมลาเทีย" (Milatiai) นั้นมาจากอาณานิคมไมเลทัส (Miletus) ของกรีก ชัดวิกจึงตั้งสมมุติฐานว่า บัญชีรายชื่อข้างต้นระบุถึงสถานที่ที่คนเหล่านี้ถูกซื้อขาย มากกว่าจะเป็นสถานที่ที่ได้ตัวมา[19]
คำว่า "aswiai" เป็นอิตถีลึงค์ซึ่งเป็นพหูพจน์ ส่วนอิตถีลึงค์เอกพจน์คือ "aswia" ซึ่งใช้เป็นทั้งชื่อประเทศประเทศหนึ่งและเป็นคำเรียกสตรีของประเทศนี้ด้วย และปุรุสลึงค์คือ "aswios" ในการนี้ ปรากฏว่า ประเทศ Aswia คือ สันนิบาตอัสสุวา (Assuwa league) ซึ่งเป็นสหพันธรัฐตั้งอยู่ตอนกลางของจักรวรรดิลิเดีย หรือทางตะวันตกของบริเวณแอนาโทเลีย (Anatolia) หรือที่เรียกกันว่า "เอเชียโรมัน" (Roman Asia, คือ ประเทศตุรกีในปัจจุบัน) และถูกชาวฮิตไทต์ในรัชสมัยพระเจ้าทุดฮาลิยาที่ 1 (Tudhaliya I) ยึดครองเมื่อราว ๆ 1400 ปีก่อนคริสกาล จึงมีผู้เสนอว่า ชื่อทวีปเอเชียอาจมาจากชื่อสันนิบาตดังกล่าวก็เป็นได้[20]
ข้อสันนิษฐานอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับที่มาที่ไปของคำว่า "เอเชีย" ว่า คำนี้อาจมาจากคำในภาษาแอกแคด (Akkadian) ว่า " (w) aṣû (m)" มีความหมายว่า ออกไป (go outside) หรือ ขึ้น (ascend) สื่อว่า เป็นทิศทางที่ดวงตะวันขึ้นสู่ฟากฟ้าในภูมิภาคตะวันออกกลาง นอกจากนี้ ยังเป็นไปได้ว่า คำดังกล่าวเกี่ยวเนื่องกับคำในภาษาฟีนิเชีย (Phoenician) ว่า "asa" ซึ่งหมายถึง ตะวันออก ตรงกันข้ามกับชื่อทวีปยุโรปซึ่งตั้งสมมุติฐานกันว่า มาจากคำในภาษาแอกแคดว่า "erēbu (m)" ซึ่งหมายความว่า เข้าไป (enter) หรือ ลง (set) สื่อถึงอาการที่ตะวันตก
ที.อาร์. เรด นักประพันธ์ชาวอเมริกัน สนับสนุนข้อสันนิษฐานนี้ เขากล่าวว่า คำ "เอเชีย" ในภาษากรีกนั้นต้องมาจากคำ "asus" ในภาษาอัสซีเรียที่หมายความว่า ตะวันออก เป็นแน่ ตรงกันข้ามกับคำ "ยุโรป" ที่มาจากคำ "ereb" ในภาษาเดียวกัน หมายถึง ตะวันตก[21] ส่วนนักภาษาศาสตร์ดักลัส ฮาร์เปอร์ (Douglas Harper) บันทึกว่า "เอเชีย" มาจากภาษาละตินซึ่งมาจากภาษากรีก ว่ากันว่ามาจากคำ asu ในภาษาแอกแคด แปลว่า 'ออกไป, ขึ้น' ซึ่งสื่อถึงดวงตะวัน ฉะนั้น เอเชียแปลว่า 'แดนอาทิตย์อุทัย' (the land of the sunrise)"[22]
ภูมิศาสตร์เอเชีย
แก้เขตแดน
แก้เขตแดนของเอเชียนั้นจะขึ้นอยู่ว่าการแบ่งเขตนั้นยึดตามหลักภูมิศาสตร์หรือยึดตามหลักอื่นๆเช่นถ้ายึดตามหลักวัฒนธรรมเอเชียตะวันตกและเอเชียกลางก็จะมีความคล้ายคลึงกับทวีปยุโรปมากกว่า หรือยกตัวอย่างในตะวันออกกลางที่มีประเทศอียิปต์รวมอยู่ด้วยนั้นก็จะไม่นับประเทศอียิปต์เข้ามารวมกับทวีปเอเชียถึงแม้จะเป็นประเทศตะวันออกกลางเหมือกันกับประเทศตะวันออกกลางอื่นๆอย่างประเทศอิรัก,ประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นต้น
ขนาด
แก้ทวีปเอเชียมีขนาด43,608,000ตารางกิโลเมตรหรือ16,837,000 ตารางไมล์ พื้นที่ทั้งหมดของทวีปเอเชียนั้นอยู่ภายในรูปสี่เหลี่ยมของเส้นพิกัดภูมิศาสตร์โดยมีพิกัดดังนี้
เหนือสุดของเอเชียคือแหลมเชลยูสกิน พิกัดคือ 77° เหนือ 105°ตะวันออก
ใต้สุดของเอเชียอยู่ที่ แหลมมลายู พิกัดคือ 1° เหนือ 104°ตะวันออก
ตะวันออกสุดของเอเชียคือ แหลมเดจเนฟ พิกัดคือ 65° เหนือ 169° ตะวันตก
ตะวันตกสุดของเอเชียคือ แหลมบาบา พิกัดคือ 39°เหนิอ 26°ตะวันออก
ระยะทางคือกว้างประมาณ 8,560 กิโลเมตร (5,320 ไมล์) และยาว 9,600 กิโลเมตร (6,000 ไมล์) ตามหลัก Chambers , หรือ 8,700 กิโลเมตร (5,400 ไมล์) ยาว 9,700 กิโลเมตร (6,000 ไมล์) ตามหลัก Pearson's
- หมายเหตุ พื้นที่และอาณาเขตทั้งหมดนี้เป็นพิกัดของเอเชียแผ่นดินใหญ่ (ไม่รวมหมู่เกาะและประเทศอินโดนีเซีย)
ที่สุดในทวีปเอเชีย
แก้จุดที่สุดในทวีปเอเชีย | สถานที่ | ประเทศ/ทวีป | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
จุดเหนือสุด: | แหลมเชลยูสกิล | ประเทศรัสเซีย | |
จุดใต้สุด: | เกาะปามานา | ประเทศอินโดนีเซีย | |
จุดตะวันออกสุด: | แหลมเดจนอวา | ประเทศรัสเซีย | |
จุดตะวันตกสุด: | แหลมบาบา | ประเทศตุรกี | |
ยอดเขาที่สูงที่สุด: | ยอดเขาเอเวอเรสต์* | เอเชียใต้และเอเชียตะวันออก | ตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย |
แม่น้ำสายยาวที่สุด: | แม่น้ำแยงซี | ประเทศจีน | |
เกาะที่ใหญ่ที่สุด: | เกาะบอร์เนียว | ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน | |
แอ่งน้ำใหญ่ที่สุด: | แม่น้ำอ็อบ | ประเทศรัสเซีย | |
ทะเลสาบใหญ่ที่สุด: | ทะเลแคสเปียน* | เอเชียกลางและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ | |
ผิวน้ำต่ำที่สุด: | ทะเลเดดซี* | ประเทศอิสราเอลและจอร์แดน | ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 400 เมตร |
ผืนแผ่นดินต่ำที่สุด: | ทะเลสาบไบคาล* | ไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย | ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,750 เมตร |
ปริมาณน้ำฝนสูงที่สุด: | รัฐอัสสัม* | ประเทศอินเดีย | 10,719 มิลลิเมตรต่อปี |
* เป็นข้อมูลที่สุดในโลกด้วย
การแบ่งภูมิภาค
แก้ทวีปเอเชียนอกจากจะเป็นอนุภูมิภาคของยูเรเชีย ยังอาจแบ่งออกเป็นส่วนย่อยดังนี้
เอเชียเหนือ
แก้นักภูมิศาสตร์ใช้คำนี้น้อยมาก แต่โดยปกติหมายถึงรัสเซีย เรียกอีกอย่างว่าไซบีเรีย บางครั้งรวมถึงประเทศทางตอนเหนือของเอเชียด้วย เช่น คาซัคสถาน
เอเชียกลาง
แก้เอเชียกลาง เป็นภูมิภาคที่เกิดขึ้นใหม่จากประเทศต่าง ๆ ที่แยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต (เฉพาะที่มีเขตแดนอยูในทวีปเอเชีย) มีขนาดพื้นที่ประมาณ 4,021,431 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 61,551,945 คน (กุมภาพันธ์ 2553) เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่อันกว้างใหญ่ของภูมิภาค เอเชียกลางจึงเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีประชากรอาศัยอย่างเบาบางที่สุดแห่งหนึ่งของโลก (เฉลี่ยทั้งภูมิภาค 15 คนต่อตารางกิโลเมตร) และเหตุที่ประเทศภูมิภาคเอเชียกลางไม่มีทางออกสู่ทะเล การส่งออกและการค้าของเอเชียกลางจึงพัฒนาอย่างช้า ๆ โดยประเทศส่งออกหลักของกลุ่มประเทศเอเชียกลาง ได้แก่ รัสเซีย ยุโรปตะวันออก และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียกลางเป็นแบบที่ราบสูง แต่จะมีที่ราบลุ่มบริเวณทะเลแคสเปียน ด้านศาสนา ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียกลางนับถือศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์
ธงชาติ | ประเทศ | เมืองหลวง | พื้นที่ (ตร.กม.) | ประชากร (พ.ศ. 2560) |
---|---|---|---|---|
คาซัคสถาน | อัสตานา | 2,724,900 | 17,987,736 | |
เติร์กเมนิสถาน | อาชกาบัต | 488,100 | 5,662,544 | |
อุซเบกิสถาน | ทาชเคนต์ | 447,400 | 31,446,795 | |
คีร์กีซสถาน | บิชเคก | 194,500 | 5,955,734 | |
ทาจิกิสถาน | ดูชานเบ | 143,100 | 8,734,951 |
เอเชียตะวันออก
แก้เอเชียตะวันออก หรือ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 11,640,000 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 15 และ 20 ของพื้นที่ทั้งหมดของทวีปเอเชีย นับเป็นภูมิภาคย่อยซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในทวีปเอเชีย ประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ประเทศจีน มีพื้นที่ประมาณ 9,584,492 ตารางกิโลเมตร เอเชียตะวันออกมีประชากรมากกว่า 1,500 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 40 ของของชาวเอเชียทั้งหมด หรือประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นภูมิภาคที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อัตราความหนาแน่นของประชากรในเอเชียตะวันออกอยู่ที่ 230 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราความหนาแน่นโดยเฉลี่ยของประชากรโลกถึง 5 เท่า ประเทศที่มีประชากรมากที่สุด คือ ประเทศจีน มีประชากรประมาณ 1,322,044,605 หรือร้อยละ 85 ของประชากรในภูมิภาค ส่วนประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุด คือ ไต้หวัน ความหนาแน่นเฉลี่ย 626.7 คนต่อตารางกิโลเมตร
นอกจากนี้ เอเชียตะวันออกยังเป็นภูมิภาคที่ได้ชื่อว่าเจริญที่สุดในทวีปเอเชีย เพราะเป็นภูมิภาคเดียวที่การทำอุตสาหกรรมก้าวหน้าไปมาก โดยเฉพาะญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน และไต้หวัน ส่วนประเทศมองโกเลียและเกาหลีเหนือ อุตสาหกรรมยังไม่ค่อยพัฒนานัก เมืองอุตสาหกรรมสำคัญของเอเชียตะวันออก ได้แก่ โตเกียว ฮิโระชิมะ นะงะซะกิ โซล ปูซาน ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ไทเป อินช็อน เทียนสิน ฮ่องกง เป็นต้น
ธงชาติ | ประเทศ | เมืองหลวง | พื้นที่ (ตร.กม.) | ประชากร (พ.ศ. 2560) |
---|---|---|---|---|
จีน | ปักกิ่ง | 9,671,018 | 1,403,500,365 | |
ญี่ปุ่น | โตเกียว | 377,944 | 127,748,513 | |
ไต้หวัน | ไทเป | 36,191 | 23,556,706 | |
เกาหลีเหนือ | เปียงยาง | 120,540 | 25,368,620 | |
เกาหลีใต้ | โซล | 100,140 | 50,791,919 | |
มองโกเลีย | อูลานบาตาร์ | 1,564,116 | 3,027,398 | |
ฮ่องกง (เขตบริหารพิเศษของ จีน) | - | 1,104 | 7,302,843 | |
มาเก๊า (เขตบริหารพิเศษของ จีน) | - | 29 | 612,167 |
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แก้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ เอเชียอาคเนย์ มีพื้นที่ประมาณ 4,600,000 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 593,000,000คน (2008) ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 116.5 คนต่อตารางกิโลเมตร มีที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศ 11 ประเทศ ลักษณะทำเลที่ตั้งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนภาคพื้นทวีปและภาคพื้นสมุทร ส่วนภาคพื้นทวีป ได้แก่ พม่า ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา และมาเลเซียตะวันตก และภาคพื้นสมุทร ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต บรูไน และสิงคโปร์ ลักษณะภูมิประเทศแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ (ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา) ที่ราบสูง (ที่ราบสูงในรัฐฉาน เทือกเขายะไข่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของลาว ตอนเหนือของมาเลเซียตะวันตก) และ เขตหมู่เกาะ (หมู่เกาะอินโดนีเซีย หมู่เกาะฟิลิปปินส์ เกาะสิงคโปร์)
โครงสร้างทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่เป็นแบบเกษตรกรรม ยกเว้นสิงคโปร์และบรูไนซึ่งมีการพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวหน้าไปมาก ในขณะเดียวกันทุกประเทศก็พัฒนาอุตสาหกรรมจนมีความก้าวหน้าไปมาก เช่น ไทย มาเลเซีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย ในปัจจุบัน กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการรวมกลุ่มกันเป็นสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเมืองใหญ่ที่สำคัญหลายเมือง เช่น จาการ์ตา (เมืองใหญ่ที่สุดในภูมิภาค) กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สงขลา โฮจิมินห์ซิตี ฮานอย ปูตราจายา กัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ บันดาร์เซอรีเบอกาวัน ภูเก็ต เป็นต้น
ธงชาติ | ประเทศ | เมืองหลวง | พื้นที่ (ตร.กม.) | ประชากร (พ.ศ. 2560) |
---|---|---|---|---|
อินโดนีเซีย | จาการ์ตา | 1,904,569 | 261,115,456 | |
พม่า | เนปยีดอ | 678,000 | 52,885,223 | |
ไทย | กรุงเทพมหานคร | 514,000 | 68,863,514 | |
เวียดนาม | ฮานอย | 337,912 | 94,569,072 | |
มาเลเซีย | กัวลาลัมเปอร์ | 329,758 | 31,187,265 | |
ฟิลิปปินส์ | มะนิลา | 300,000 | 103,320,222 | |
ลาว | เวียงจันทน์ | 236,800 | 6,758,353 | |
กัมพูชา | พนมเปญ | 181,035 | 15,762,370 | |
บรูไน | บันดาร์เซอรีเบอกาวัน | 5,765 | 423,196 | |
สิงคโปร์ | สิงคโปร์ | 712 | 5,622,455 | |
ติมอร์-เลสเต | ดิลี | 15,010 | 1,268,671 |
เอเชียใต้
แก้เอเชียใต้ หรือ ชมพูทวีป หรือ อนุทวีป เป็นทวีปที่อยู่ทางใต้ของทวีปเอเชีย เป็นต้นกำเนิดพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เอเชียใต้มีพื้นที่ประมาณ 5,180,000 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 10 ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้ยังเป็นภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดอีกแห่งหนึ่งของโลก มีจำนวนประชากรกว่า 1 พันล้านคนอาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ ซึ่งคิดเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนเท่ากับ 1 ใน 3 ของชาวเอเชียทั้งหมด หรือ 1 ใน 5 ของประชากรโลก อัตราความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 305 คนต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าอัตราความหนาแน่นโดยเฉลี่ยของประชากรโลกถึง 7 เท่า ประเทศที่มีประชากรมากที่สุด คือ ประเทศอินเดีย (1,198,003,000 คน)
ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียใต้ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง (เช่นที่ราบสูงเดกกันในประเทศอินเดีย) และยังมีที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา (ในประเทศอินเดีย) ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ (ในประเทศปากีสถาน) และที่ราบลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร (ในประเทศบังกลาเทศ) ทางตอนเหนือของเอเชียใต้ติดกับที่ราบสูงทิเบตและเทือกเขาหิมาลัย ทำให้มีอากาศหนาวเย็น
ด้านเศรษฐกิจ ทุกประเทศยังมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรม อุตสาหกรรมยังไม่พัฒนามากนัก มีเพียงอินเดียชาติเดียวที่พัฒนาอุตสาหกรรมได้เจริญรุ่งเรือง เพราะได้รับการช่วยเหลือจากประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของเอเชีย คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน นอกจากนี้ ภาษาที่ใช้ในเอเชียใต้มีมากถึง 800 ภาษา แต่ภาษากลางจะใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร เมืองที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียใต้ คือ มุมไบ ซึ่งเป็นเมืองท่าทางตะวันตกของประเทศอินเดีย
ธงชาติ | ประเทศ | เมืองหลวง | พื้นที่ (ตร.กม.) | ประชากร (พ.ศ. 2560) |
---|---|---|---|---|
อินเดีย | นิวเดลี | 3,287,240 | 1,324,171,354 | |
ปากีสถาน | อิสลามาบาด | 803,940 | 193,203,476 | |
อัฟกานิสถาน | คาบูล | 647,500 | 34,656,032 | |
บังกลาเทศ | ธากา | 147,570 | 162,951,560 | |
เนปาล | กาฐมาณฑุ | 147,181 | 28,982,771 | |
ศรีลังกา | ศรีชยวรรธนปุระโกฏเฏ | 65,610 | 20,798,492 | |
ภูฏาน | ทิมพู | 48,394 | 797,765 | |
มัลดีฟส์ | มาเล | 300 | 427,756 |
เอเชียตะวันตกเฉียงใต้
แก้เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ หรือ ตะวันออกกลาง หรือ เอเชียตะวันตก มีพื้นที่ประมาณ 6,835,434 ตารางกิโลเมตร เป็นดินแดนที่ปกคลุมไปด้วยทะเลทรายแห้งแล้งกว้างใหญ่ ในภูมิภาคนี้ยังมีแม่น้ำสายสำคัญที่เป็นแหล่งอารยธรรมโลก คือ แม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีสในประเทศอิรัก เป็นบริเวณที่มีการทำการเกษตรได้ดีที่สุด ด้วยลักษณะทางกายภาพส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย ดินแดนแถบนี้จึงอุดมไปด้วยทรัพยากรน้ำมัน ทำให้น้ำมันกลายเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศในแถบนี้ อย่างไรก็ตาม เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ยังให้กำเนิดศาสนาที่สำคัญ เช่น ศาสนาคริสต์ ศาสนายูดาย และศาสนาอิสลาม ถึงแม้ว่าดินแดนแถบนี้จะแห้งแล้ง แต่เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง เพราะมีอาณาเขตติดต่อกับทวีปแอฟริกาทางด้านตะวันตก และทวีปยุโรปทางตะวันตกเฉียงเหนือและทิศเหนือ ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีลักษณะส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง (เช่น ที่ราบสูงอิหร่านและที่ราบสูงอานาโตเลีย) นอกจากนี้ ยังมีบริเวณที่เป็นคาบสมุทรที่สำคัญ คือ คาบสมุทรอาหรับ
ลักษณะทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ คือ อุตสาหกรรมน้ำมัน (โดยเฉพาะประเทศซาอุดีอาระเบีย เป็นประเทศที่มีน้ำมันสำรองมากที่สุดในโลก) ประเทศที่มีความเจริญทางด้านอุตสาหกรรมมากที่สุดในภูมิภาคนี้ คือ ตุรกี
ตุรกี ไซปรัส อาร์มีเนีย จอร์เจีย อิสราเอล ปาเลสไตน์ และอาเซอร์ไบจาน อาจถูกจัดให้อยู่ในทวีปยุโรปในบางครั้ง เนื่องจากมีลักษณะทางวัฒนธรรมจากทวีปยุโรปมากกว่าทวีปเอเชีย
ธงชาติ | ประเทศ | เมืองหลวง | พื้นที่ (ตร.กม.) | ประชากร (พ.ศ. 2560) |
---|---|---|---|---|
ซาอุดีอาระเบีย | รียาด | 1,960,582 | 32,275,687 | |
อิหร่าน | เตหะราน | 1,648,195 | 80,277,428 | |
ตุรกี | อังการา | 783,562 | 79,512,426 | |
เยเมน | ซานา | 527,090 | 27,584,213 | |
อิรัก | แบกแดด | 438,317 | 37,202,572 | |
โอมาน | มัสกัต | 236,800 | 2,569,804 | |
ซีเรีย | ดามัสกัส | 185,180 | 18,430,453 | |
จอร์แดน | อัมมาน | 89,342 | 9,455,802 | |
อาเซอร์ไบจาน | บากู | 86,600 | 9,725,376 | |
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | อาบูดาบี | 82,880 | 9,269,612 | |
จอร์เจีย | ทบิลิซี | 69,700 | 3,925,405 | |
อาร์มีเนีย | เยเรวาน | 29,743 | 2,924,816 | |
อิสราเอล | เยรูซาเลม | 20,770 | 8,191,828 | |
คูเวต | คูเวตซิตี | 17,820 | 4,052,584 | |
กาตาร์ | โดฮา | 11,437 | 2,569,804 | |
เลบานอน | เบรุต | 10,452 | 6,006,668 | |
ไซปรัส | นิโคเซีย | 9,251 | 1,170,125 | |
ปาเลสไตน์ | รอมัลลอฮ์ | 6,220 | 4,790,705 | |
บาห์เรน | มานามา | 665 | 1,425,171 |
ประชากร
แก้ประชากรของเอเชียมีประชากรร้อยละ 60 ของประชากรโลก ทวีปเอเชียประกอบด้วยหลายเผ่าพันธุ์ จำแนกตามเชื้อชาติได้ดังนี้
- เผ่าพันธุ์มองโกลอยด์ แบ่งได้เป็น 2 พวก
- พวกมองโกลอยด์เหนือ เป็นพวกผิวเหลืองและเป็นประชากรส่วนมากของทวีปเอเชีย อาศัยตามทางเอเชียเหนือและทางเอเชียตะวันออก เช่น จีน ญี่ปุ่น มองโกเลีย เกาหลี เป็นต้น
- พวกมองโกลอยด์ใต้ เป็นพวกผิวเหลืองอาศัยอยู่ตามทางตอนเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย พม่า ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น
- เผ่าพันธุ์คอเคซอยด์ เป็นพวกผิวขาว รูปร่างสูงใหญ่เหมือนชาวทวีปยุโรป แต่ตาและผมสีเข้มกว่า อาศัยอยู่ในเขตเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และทางภาคเหนือของปากีสถานและอินเดีย เช่น ชนชาติอาหรับ ปากีสถาน เนปาล และบางส่วนของชาวอินเดีย
- เผ่าพันธุ์นิกรอยด์ เป็นพวกผิวดำ มีรูปร่างเล็ก ผมหยิก เช่น บางส่วนของอินเดีย ศรีลังกา และหมู่เกาะต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เศรษฐกิจ
แก้- ตารางแสดงประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจหรือจีดีพีมากที่สุดในทวีปเอเชีย 10 อันดับแรก1
อันดับ (เอเชีย) | ประเทศ | ค่าจีดีพี (ล้าน $) ปี 2010 | อันดับ (โลก) |
---|---|---|---|
จีน | |||
ญี่ปุ่น | |||
อินเดีย | |||
เกาหลีใต้ | |||
อินโดนีเซีย | |||
ซาอุดีอาระเบีย | |||
ไต้หวัน | |||
ไทย | |||
อิหร่าน |
- 1 ข้อมูลโดย IMF
- ตารางแสดงประเทศในทวีปเอเชียที่มีจีดีพีต่อหัวมากที่สุด 10 อันดับแรก 2
อันดับ (เอเชีย) | ประเทศ | ค่าจีดีพีต่อหัว ($) ปี 2009 | อันดับ (โลก) |
---|---|---|---|
กาตาร์ | |||
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | |||
ญี่ปุ่น | |||
สิงคโปร์ | |||
คูเวต | |||
ฮ่องกง ( จีน) | |||
อิสราเอล | |||
บรูไน | |||
บาห์เรน | |||
โอมาน |
- 2 ข้อมูลโดย IMF
เอเชียกลาง
แก้- เกษตรกรรม:
- พื้นที่ซึ่งมีการเกษตรกรรมหนาแน่นคือบริเวณหุบเขาลุ่มแม่น้ำฝั่งตะวันออก เช่น หุบเขาเฟียร์กานา มีการปลูกธัญพืชและผลไม้ต่างๆ เช่น พีช แตงโม แอพริคอต การเลี้ยงสัตว์ก็ถือเป็นอาชีพสำคัญ โดยเลี้ยงแพะ แกะ และวัว ไร้ฝ้ายขนาดใหญ่ก็เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ มีอยู่ในพื้นที่ซึ่งได้รับการชลประทานจากแม่น้ำอามูดาร์ยา
- อุตสาหกรรม:
- ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียกลางยังคงยากจน เพราะไม่มีชายฝั่งทะเล เศรษฐกิจส่วนใหญ่จึงต้องพึ่งพาเกษตรกรรม
- พาณิชยกรรม:
- คู่ค้าสำคัญ:
เอเชียตะวันออก
แก้- เกษตรกรรม
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
- อุตสาหกรรม
- ภูมิภาคเอเชียตะวันออกมีการพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวหน้าไปมาก (ยกเว้นประเทศมองโกเลียและเกาหลีเหนือที่อุตสาหกรรมยังไม่พัฒนามากนัก) ซึ่งได้รับการยอมรับจากตลาดโลกอย่างกว้างขวาง สรุปได้ดังนี้
- อุตสาหกรรมในญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก มีการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐ และเป็นอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย มีการผลิตทั้งอุตสาหกรรมขนาดหนักและอุตสาหกรรมขนาดเบา เช่น การต่อเรือ การผลิตรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เหล็กและเหล็กกล้า คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมืองอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ได้แก่ โตเกียว ฮิโระชิมะ โอะซะกะ นะโงะยะ นะงะซะกิ โยะโกะฮะมะ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมในเกาหลีใต้
ประเทศเกาหลีใต้ มีการพัฒนาอุตสาหกรรมรวดเร็วมากจนกลายเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย (รองจากญี่ปุ่น) อุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ ได้แก่ การต่อเรือ เคมีภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น เมืองอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนกลางและตอนล่างของประเทศ เช่น โซล ปูซาน
- อุตสาหกรรมในจีน
ประเทศจีน สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมได้รวดเร็วเช่นกัน เนื่องจากวัตถุดิบมีมาก ค่าจ้างแรงงานต่ำ และนโยบายของรัฐบาลที่เชิญญชวนชาวต่างชาติให้เข้ามาลงทุน อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อาวุธสงคราม การทอผ้า รถบรรทุก ฯลฯ เมืองอุตสาหกรรมของประเทศจีน ได้แก่ ปักกิ่ง เทียนสิน ฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมในไต้หวัน
อุตสาหกรรมของไต้หวัน ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเบาและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ของเล่นเด็ก เมืองหลักของอุตสาหกรรมไต้หวัน คือ ไทเป
- พาณิชยกรรม
- กรุงโตเกียวของประเทศญี่ปุ่นและเขตบริหารพิเศษฮ่องกงของประเทศจีน เป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งสินค้าที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม
- การประมง
- การประมงน้ำจืด:
ประเทศจีนเป็นผู้นำในการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืด โดยมีแหล่งประมงที่สำคัญอยู่ที่แม่น้ำแยงซีและมณฑลกวางตุ้ง
- การประมงน้ำเค็ม:
ประเทศญี่ปุ่นเป็นชาติที่มีการทำประมงทางทะเลมากที่สุดในโลก มีเรือประมงที่ทันสมัยและมีขนาดใหญ่ มีอุปกรณ์และเทคโนโลยีก้าวหน้า แหล่งสำคัญอยู่ที่ คูริลแบงก์ ทางเหนือของเกาะฮกไกโด
- การทำป่าไม้:
- การทำอุตสาหกรรมป่าไม้ในประเทศจีน:
มีการทำป่าไม้ในภาคเหนือของประเทศ แถบมณฑลเฮย์หลงเจียงและมณฑลเสฉวน
- การทำอุตสาหกรรมป่าไม้ในประเทศญี่ปุ่น:
เป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกที่มีการพัฒนาการทำป่าไม้ไปมาก
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แก้- เกษตรกรรม แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
- การเพาะปลูกเพื่อยังชีพ:
เป็นการเพาะปลูกแบบดั้งเดิม อาศัยฝนตามธรรมชาติ ใช้ความรู้หรือเทคโนโลยีมาช่วยไม่มากนัก เช่น การเพาะปลูกในประเทศพม่า ลาว กัมพูชา ติมอร์-เลสเต เป็นต้น
- การเพาะปลูกเพื่อการค้า:
เป็นการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศและเป็นสินค้าส่งออกสู่ตลาดโลก ซึ่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่สามารถส่งออกสินค้าเกษตรกรรมได้มาก โดยเฉพาะข้าว ประเทศที่ปลูกข้าวมาก ได้แก่ ประเทศไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย เป็นต้น
- การทำเหมืองแร่:
- แร่ธาตุหลายชนิด ได้แก่ ดีบุก น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ โดยประเทศมาเลเซีย เป็นประเทศที่ส่งออกดีบุกมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมากที่สุดในโลก และน้ำมันก็เป็นสินค้าส่งออกของหลาย ๆ ประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม บรูไน และอินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังพบก๊าซธรรมชาติมากในอ่าวไทยในประเทศไทยและอ่าวเมาะตะมะในประเทศพม่า
- อุตสาหกรรม:
- ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังไม่เจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมเท่าที่ควร เนื่องจากขาดแคลนเงินทุน และความรู้ทางเทคโนโลยี ยกเว้นสิงคโปร์ซึ่งอุตสาหกรรมได้พัฒนาก้าวหน้าไปมาก ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงประกอบอาชีพเกษตรกรรม อาชีพอุตสาหกรรมจึงยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
- พาณิชยกรรม:
- เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแหล่งการค้าสำคัญอีกแห่งหนึ่ง อันเนื่องมาจาก การขยายตัวทางเศรษฐกิจของหลายประเทศในภูมิภาค และในภูมิภาคก็ยังมีสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาดโลก เช่น ยางพารา ดีบุก น้ำมันปาล์ม ข้าวโพด ข้าวเจ้า ฯลฯ
เมืองที่เป็นศูนย์กลางของพาณิชยกรรมของภูมิภาคนี้ คือ สิงคโปร์ กัวลาลัมเปอร์ กรุงเทพมหานคร และจาการ์ตา เป็นต้น
- การประมง:
- สภาวะทางธรรมชาติทั่วไปของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งที่อุดมด้วยสัตว์น้ำ ทั้งแหล่งน้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย การประมงจึงเป็นอาชีพสำคัญของประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกอาชีพหนึ่ง โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ริมชายฝั่งทะเล
ในปัจจุบัน ทุกประเทศได้ขยายน่านน้ำเศรษฐกิจจำเพาะจาก 12 ไมล์ทะเล เป็น 200 ไมล์ทะเล ทำให้จับสัตว์น้ำได้มากขึ้น แต่การจับสัตว์น้ำในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้เสียสมดุลทางธรรมชาติ ในปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นประเทศที่จับปลาได้มากเป็นอันดับ 1 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองลงมา คือ อินโดนีเซียและมาเลเซีย ตามลำดับ
- การทำป่าไม้
- ประเทศที่มีผลผลิตจากป่าไม้ ได้แก่ ประเทศมาเลเซียและพม่า เนื่องจากมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์
เอเชียตะวันตกเฉียงใต้
แก้- เกษตรกรรม:ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
- อุตสาหกรรม:ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
- พาณิชยกรรม:ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
- การประมง:ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
- คู่ค้าสำคัญ:ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
ดูเพิ่ม
แก้- เอเชียนเกมส์ - การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศในทวีปเอเชีย
- เอเชียนคัพ - การแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศในเอเชีย
อ้างอิง
แก้- ↑ National Geographic Family Reference Atlas of the World. Washington, DC: National Geographic Society (U.S.). 2006. p. 264.
- ↑ "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
- ↑ "GDP PPP, current prices". International Monetary Fund. 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
- ↑ "GDP Nominal, current prices". International Monetary Fund. 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
- ↑ "Nominal GDP per capita". International Monetary Fund. 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
- ↑ "The World at Six Billion". UN Population Division. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 5, 2016., Table 2
- ↑ "Population of Asia. 2019 demographics: density, ratios, growth rate, clock, rate of men to women". www.populationof.net. สืบค้นเมื่อ 2 June 2019.
- ↑ National Geographic Atlas of the World (7th ed.). Washington, DC: National Geographic. 1999. ISBN 978-0-7922-7528-2. "Europe" (pp. 68–69) ; "Asia" (pp. 90–91) : "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles."
- ↑ "Professor M.D. Nalapat. Ensuring China's "Peaceful Rise"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2010. สืบค้นเมื่อ January 22, 2016.
- ↑ "Dahlman, Carl J; Aubert, Jean-Eric. China and the Knowledge Economy: Seizing the 21st Century. WBI Development Studies. World Bank Publications. Accessed January 22, 2016". Eric.ed.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2017.
- ↑ "The Real Great Leap Forward. The Economist. Sept 30, 2004". The Economist. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 ธันวาคม 2016.
- ↑ [1] [ลิงก์เสีย]
- ↑ [2] เก็บถาวร 20 พฤศจิกายน 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Like herrings in a barrel". The Economist. The Economist online, The Economist Group (Millennium issue: Population). 23 ธันวาคม 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มกราคม 2010..
- ↑ "Asia". AccessScience. McGraw-Hill. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2011. สืบค้นเมื่อ 26 July 2011.
- ↑ Henry George Liddell (2007) [1940]. "Ἀσία". A Greek-English Lexicon. Medford: Perseus Digital Library, Tufts University.
{{cite encyclopedia}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ "Asie". Encyclopedia: Greek Gods, Spirits, Monsters. Theoi Greek Mythology, Exploring Mythology in Classical Literature and Art. 2000–2011.
{{cite web}}
: CS1 maint: date format (ลิงก์) - ↑ Ventris & Chadwick 1973, p. 536.
- ↑ Ventris & Chadwick 1973, p. 410
- ↑ Bossert, Helmut T., Asia, Istanbul, 1946.
- ↑ Reid, T.R. Confucius Lives Next Door: What living in the East teaches us about living in the west Vintage Books (1999).
- ↑ "Asia from L., from Gk. Asia, speculated to be from Akkad. asu "to go out, to rise," in reference to the sun, thus "the land of the sunrise."" ("Asia." Online Etymology Dictionary. Douglas Harper, Historian. 03 Feb. 2013. <Dictionary.com http://dictionary.reference.com/browse/Asia>.)
บรรณานุกรม
แก้- Lewis, Martin W.; Wigen, Kären (1997). The myth of continents: a critique of metageography. Berkeley and Los Angeles: University of California Press. ISBN 978-0-520-20743-1.
- Ventris, Michael; Chadwick, John (1973). Documents in Mycenaean Greek (2nd ed.). Cambridge: University Press.
อ่านเพิ่ม
แก้- Embree, Ainslie T., ed. Encyclopedia of Asian history (1988)
- Higham, Charles. Encyclopedia of Ancient Asian Civilizations. Facts on File library of world history. New York: Facts On File, 2004.
- Kamal, Niraj. "Arise Asia: Respond to White Peril". New Delhi: Wordsmith, 2002, ISBN 978-81-87412-08-3
- Kapadia, Feroz, and Mandira Mukherjee. Encyclopaedia of Asian Culture and Society. New Delhi: Anmol Publications, 1999.
- Levinson, David, and Karen Christensen, eds. Encyclopedia of Modern Asia. (6 vol. Charles Scribner's Sons, 2002).
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- "Display Maps". The Soil Maps of Asia. European Digital Archive of Soil Maps – EuDASM. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2011. สืบค้นเมื่อ 26 July 2011.
- "Asia Maps". Perry–Castañeda Library Map Collection. University of Texas Libraries. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2011. สืบค้นเมื่อ 20 July 2011.
- "Asia". Norman B. Leventhal Map Center at the Boston Public Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2011. สืบค้นเมื่อ 26 July 2011.
- Bowring, Philip (12 February 1987). "What is Asia?". Eastern Economic Review. 135 (7). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 April 2009.