เซี่ยงไฮ้

นครปกครองโดยตรงของประเทศจีน

เซี่ยงไฮ้ หรือ ช่างไห่ (จีน: 上海; พินอิน: Shànghǎi, เสียงอ่านภาษาจีนมาตรฐาน: [ʂâŋ.xài] ( ฟังเสียง), เสียงอ่านภาษาเซี่ยงไฮ้ [zɑ̃̀.hɛ́]) เป็นหนึ่งในสี่นครปกครองโดยตรงของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่บริเวณทางใต้ของปากแม่น้ำแยงซี และมีแม่น้ำหฺวางผู่ไหลผ่านกลางเมือง มีประชากรใน ค.ศ. 2023 จำนวน 24.8 ล้านคน ทำให้เป็นเขตเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศจีน และเป็นนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันได้รับการจัดอันดับเป็นหนึ่งในเมืองที่พัฒนามากที่สุดในโลก[12] และหนึ่งในศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลก[13]

เซี่ยงไฮ้

上海市

ช่างไห่
ที่มาของชื่อ: 上海浦 (Shànghăi Pǔ)
"ชื่อเดิมของแม่น้ำหฺวางผู่"
แผนที่
ที่ตั้งของเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ในประเทศจีน
ที่ตั้งของเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ในประเทศจีน
พิกัด (จัตุรัสประชาชน): 31°13′43″N 121°28′29″E / 31.22861°N 121.47472°E / 31.22861; 121.47472
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ตั้งถิ่นฐานป. 4000 ปีก่อนคริสตกาล[1]
ก่อตั้ง
 • เมืองชิงหลง

ค.ศ. 746[2]
 • อำเภอเซี่ยงไฮ้ค.ศ. 1292[3]
 • เทศบาลนคร7 กรกฎาคม ค.ศ. 1927
เขตการปกครอง
 • ระดับอำเภอ
 • ระดับตำบล

16 เขต
210 เมืองและแขวง
การปกครอง
 • ประเภทนครปกครองโดยตรง
 • เลขาธิการพรรคหลี่ เฉียง (李强)
 • นายกเทศมนตรีกง เจิ้ง (龚正)
พื้นที่[4][5][6]
 • เทศบาลนคร6,341 ตร.กม. (2,448 ตร.ไมล์)
 • พื้นน้ำ697 ตร.กม. (269 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง (ค.ศ. 2018)[7]4,000 ตร.กม. (1,550 ตร.ไมล์)
ความสูง[8]4 เมตร (13 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2019)[9]
 • เทศบาลนคร24,281,400 คน
 • อันดับที่ 1 ของประเทศ
 • ความหนาแน่น3,800 คน/ตร.กม. (9,900 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล[10]34,000,000 คน
เขตเวลาUTC+08:00 (CST)
รหัสไปรษณีย์200000–202100
รหัสพื้นที่21
รหัส ISO 3166CN-SH
Nominal GDP[9]2019
 • ทั้งหมด3.82 ล้านล้านเหรินหมินปี้ (ที่ 11 ของประเทศ)
 • ต่อหัว157,279 เหรินหมินปี้ (ที่ 2 ของประเทศ)
 • ความเติบโตเพิ่มขึ้น 6.0%
HDI (ค.ศ. 2018)0.867[11] (ที่ 2 ของประเทศ) – สูงมาก
ป้ายทะเบียนรถ沪A, B, D, E, F, G, H, J, K, L, M, N
沪C (เฉพาะชานเมืองด้านนอก)
อักษรย่อSH / ฮู่ (; )
ดอกไม้ประจำนครอฺวี้หลานแมกโนเลีย (Magnolia denudata)
ภาษาภาษาเซี่ยงไฮ้
ภาษาจีนมาตรฐาน
เว็บไซต์www.shanghai.gov.cn

เซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลางระดับโลกทางด้านการเงิน, การวิจัย, นวัตกรรม, อุตสาหกรรมการผลิต, การท่องเที่ยว, วัฒนธรรม และการขนส่ง คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในนครเซี่ยงไฮ้มีมูลค่าสูงถึง 13 ล้านล้านหยวน (1.9 ล้านล้านดอลลาร์) ใน ค.ศ. 2022[14] เซี่ยงไฮ้ในอดีตเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมง และเริ่มมีการพัฒนามากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในศตวรรษที่ 19 เนื่องมาจากการค้าขายและทำเลที่ตั้งท่าเรือที่เหมาะสม ท่าเรือเซี่ยงไฮ้เป็นหนึ่งในห้าท่าเรือที่ต้องเปิดให้มีการค้าต่างประเทศหลังสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง ตามมาด้วยยุทธการชื่นปีครั้งที่สองใน ค.ศ. 1841 ซึ่งอยู่ห่างจากมาเก๊าของโปรตุเกสไปทางทิศตะวันออกมากกว่า 60 กิโลเมตร (37 ไมล์) มาเก๊าถูกควบคุมโดยโปรตุเกสตามข้อตกลงลูโซ-จีนใน ค.ศ. 1554 จนถึงการส่งมอบมาเก๊าไปยังจีนในวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1999 ตามมาด้วยการก่อตั้งเขตการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศเซี่ยงไฮ้ และเขตสัมปทานฝรั่งเศสตามลำดับ

เซี่ยงไฮ้เติบโตขึ้นจนกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้า และการเงินของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในทศวรรษ 1930 หลังเหตุการณ์ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ตามมาด้วยสงครามกลางเมืองจีน ซึ่งอุบัติขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างพรรคชาตินิยมจีน และพรรคคอมมิวนิสต์จีน และหลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เข้าครอบครองจีนแผ่นดินใหญ่ใน ค.ศ. 1949 อิทธิพลทางการค้าของเซี่ยงไฮ้ลดลงเป็นเวลากว่าสองทศวรรษ ในช่วงทศวรรษ 1980 การปฏิรูปเศรษฐกิจจีนโดยเติ้ง เสี่ยวผิง ส่งผลให้เกิดการพัฒนาเมืองครั้งใหญ่ โดยเฉพาะเขตผู่ตง การลงทุนจากต่างประเทศกลับมายังเซี่ยงไฮ้ และมีสถานะเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอีกครั้ง เซี่ยงไฮ้เป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ หนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกโดยมูลค่าตามราคาตลาด และเขตการค้าเสรีเซี่ยงไฮ้เป็นเขตการค้าเสรีแห่งแรกของจีน เซี่ยงไฮ้ได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองระดับโลก (Global City)[15] โดยเครือข่ายการวิจัยโลกาภิวัตน์และเมืองโลก และเป็นที่ตั้งของบริษัทชั้นนำของโลกโดยฟอร์จูน โกลบอล 500 จำนวน 13 แห่ง และอยู่ในอันดับ 4 ตามการจัดอันดับตามดัชนีศูนย์กลางการเงินโลก เซี่ยงไฮ้ยังเป็นที่ตั้งของสำนักวิจัยและสถานศึกษาชื่อดังหลายแห่ง[16] เช่น มหาวิทยาลัยฟู่ตัน และ มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง รถไฟใต้ดินเซี่ยงไฮ้ซึ่งให้บริการมาตั้งแต่ ค.ศ. 1993 ยังเป็นเป็นเครือข่ายระบบขนส่งมวลชนเร็วที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยวัดตามความยาวเส้นทางทั้งหมด ให้บริการการเดินทางซึ่งคิดเป็น 73% ของการคมนาคมทั้งหมดในเซี่ยงไฮ้ นอกจากนี้ ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ยังถือเป็นท่าเรือที่คับคั่งที่สุดในโลก[17]

เซี่ยงไฮ้ได้รับการยอมรับในระดับสากลมาเป็นเวลาเกือบหนึ่งศตวรรษ และได้รับการยกย่องเป็น "แหล่งเชิดหน้าชูตา" ให้แก่เศรษกิจและวัฒนธรรมของประเทศ เมืองนี้ยังมีจุดเด่นในด้านสถาปัตยกรรมที่มีความหลากหลาย ได้รับการตกแต่งตามแบบอลังการศิลป์ และสถาปัตยกรรมดั้งเดิมแบบชิกุเมน สถานที่ซึ่งเป็นที่รู้จักได้แก่ ลู่เจียจุ่ย หนึ่งในศูนย์กลางทางการเงินของประเทศ และยังรายล้อมไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เช่น ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเซี่ยงไฮ้ และ สวนยฺวี่-ยฺเหวียน งานเซียงไฮ้เอ็กซ์โปยังถือเป็นงานจัดแสดงที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยกินพื้นที่กว่า 5.28 ตารางกิโลเมตร หอไข่มุกตะวันออกเป็นอีกสถานที่สำคัญซึ่งได้รับการจัดอันดับคุณภาพให้เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวระดับ 5A เซี่ยงไฮ้ยังมีจุดเด่นในด้านอาหารเซี่ยงไฮ้, ภาษาเซี่ยงไฮ้ และวัฒนธรรมสากล และมีจำนวนตึกระฟ้ามากที่สุดอันดับหกของโลก และอันดับสามในประเทศต่อจากเชินเจิ้น และ กว่างโจว

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

นครเซี่ยงไฮ้มีพื้นที่ติดต่อดังนี้

ภูมิประเทศ

แก้

มีสัดส่วนเป็นร้อยละ 0.06 ของพื้นที่ทั่วประเทศ ทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นเนินเขาสองลูกสูงไม่เกิน 120 เมตร ทอดยาวชื่อ เขาเฉอ หรือ เฉอชาน (佘山) เขตเมืองเป็นที่ราบตะกอนน้ำพากว้างใหญ่ ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 4 เมตร มีเกาะอย่างน้อย 10 เกาะ โดยเกาะฉงหมิงมีพื้นที่มากที่สุดคือ 1,370 ตารางกิโลเมตรในปี พ.ศ. 2563[18] และขยายขนาดทุกปี ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 3 ของจีน (รองจากเกาะไต้หวัน และเกาะไหหลำ)[18]

ภูมิอากาศ

แก้

อยู่ในเขตมรสุมร้อนเอเชียเหนือ แบ่งเป็น 4 ฤดูชัดเจนและมีปริมาณฝนและแสงแดดที่เพียงพอ ฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงระยะเวลาค่อนข้างสั้น ฤดูหนาวและร้อนค่อนข้างยาวนาน

การคมนาคม

แก้

ทางบก

แก้
 
แผนผังของเครือข่ายรถไฟใต้ดินเซี่ยงไฮ้

มหานครเซี่ยงไฮ้มีเส้นทางเดินรถไฟฟ้าชนิดต่างๆเกือบ 100 เส้นทาง และมีโครงการขยายการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมและทางด่วน เชื่อมต่อกับเมืองและเขตสำคัญๆ อาทิ สายในประเทศ เซี่ยงไฮ้-ฮ่องกง-มาเก๊า สายเหนือ เซี่ยงไฮ้ - รัสเซีย - ยุโรป สายตะวันตก เซี่ยงไฮ้ - เอเชียกลาง

ทางอากาศ

แก้

สำหรับเส้นทางขนส่งทางอากาศ นครเซี่ยงไฮ้มีสนามบินแห่งชาติ 2 แห่ง คือ ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียว และท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยงไฮ้ผู่ตง

ทางทะเล

แก้

เซี่ยงไฮ้มีพื้นที่ของท่าเทียบเรือกว่า 13.6 ตร.กม. นับตั้งแต่ปีทศวรรษที่ 80 ท่าเรือขนส่งเซี่ยงไฮ้เป็นท่าเรือ ขนาดใหญ่ติดอันดับโลก ที่มีสินค้าเข้าออกสูงกว่า 100 ล้านตัน ปลายปี พ.ศ. 2546 มหานครเซี่ยงไฮ้ (Shanghai) ได้รับการขนานนามว่าเป็น "นครปารีสแห่งตะวันออก" ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มมหานครไฮโซอันดับ 5 ของโลก รองจาก กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. นิวยอร์ก ลอนดอน และ ปารีส รูปแบบการปกครองของมหานครเซี่ยงไฮ้จัดอยู่ในกลุ่มเมืองที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง ซึ่งไม่ขึ้นต่อมณฑลใด ๆ ทั้งสิ้น และปัจจุบันประเทศจีนมีเมืองที่มีรูปแบบการปกครองลักษณะนี้ทั้ง สิ้น 4 เมืองด้วยกัน ได้แก่ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เทียนจินและฉงชิ่ง มหานครเซี่ยงไฮ้ ปัจจุบันนับเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเมืองหนึ่งของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศจีน เป็นเมืองศูนย์กลางความเจริญในด้านต่างๆ ของภูมิภาค ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การเงิน การลงทุน รวมถึง ด้านแฟชั่น และการท่องเที่ยว โดยการผลักดันของรัฐบาลซึ่งให้นครเซี่ยงไฮ้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำ และเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย เซี่ยงไฮ้จึงนับเป็นความภูมิใจของชาวจีน โดยเฉพาะชาวเมืองซึ่งถือกันว่าเมืองของตนเป็นสัญลักษณ์ของจีนยุคใหม่ ในด้านความก้าวหน้า และทันสมัย เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่มีการผสมผสานทางด้านวัฒนธรรม ทั้งของจีนและตะวันตกได้อย่างกลมกลืน โดยจะเห็นได้จากอาคารสถาปัตยกรรมในยุคอาณานิคมตามเขตเช่าเดิมของชาวตะวันตก ซึ่งในปัจจุบันกลายมาเป็น สัญลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของเมือง[ต้องการอ้างอิง]

ในเขตเมืองเก่าบริเวณยู่หยวน (豫园 - Yu Garden) ที่ถูกสร้างในสมัยราชวงศ์หมิง ซึ่งยังคงไว้ด้านรูปแบบอาคารสถาปัตยกรรมแบบจีน ปัจจุบันกลายเป็นสถานที่ขายของที่ระลึกและศิลปะต่างๆ นอกจากนั้นสถานที่ ซึ่งนักท่องเที่ยวที่มาเยีอนเซียงไฮ้จะพลาดไม่ได้คือ ถนนหนานจิง อันเป็นสัญลักษณ์สำคัญอันหนึ่งของเซี่ยงไฮ้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองและ เป็นถนนคนเดินที่เต็มไปด้วยแหล่งร้านค้าสินค้าต่าง ๆ รวมทั้งนักท่องเที่ยวที่มาจับจ่ายซื้อสินค้ามากมาย หนึ่งในย่านนั้นมีอาคารจินเม่าทาวเวอร์ อาคารเซี่ยงไฮ้เวิร์ดไฟแนนเชียลเซ็นเตอร์ และ เซี่ยงไฮ้ทาวเวอร์ ซึ่งเป็นตึกที่สูงที่สุดในประเทศจีน นอกจากนั้นเซี่ยงไฮ้ยังเป็นเมืองทันสมัยอันดับที่ 25 ของโลกจาก 53 เมืองใหญ่ทั่วโลก เช่น ปักกิ่ง มอสโก นิวยอร์ก โตเกียว ลอนดอน และปารีส[ต้องการอ้างอิง]

ประชากร

แก้

ประชากรในเขตเซี่ยงไฮ้มีประมาณ 19,213,200 คน โดยอายุ 0-14 คิดเป็น 12.2% อายุระหว่าง 15-64 คิดเป็น 76.3% อายุ 65 ปีขึ้นไป คิดเป็น 11.5%

เศรษฐกิจ

แก้

ภาพในเมืองเซี่ยงไฮ้

แก้
 
ทิวทัศน์เซี่ยงไฮ้ยามกลางคืน (ฝั่งผู่ตง)

อ้างอิง

แก้
  1. "The Shanghainese of 6000 Years Ago – the Majiabang Culture". Shanghai Qingpu Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มกราคม 2017. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2017.
  2. 上海青浦青龙镇遗址 [Ruins of Qinglong Town in Qingpu, Shanghai]. Institute of Archaeology, Chinese Academy of Social Sciences. 24 March 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 August 2017. สืบค้นเมื่อ 16 July 2017.
  3. 上海镇、上海县、上海县城考录 (ภาษาจีน). Government of Shanghai. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2017.
  4. "Doing Business in China – Survey". Ministry Of Commerce – People's Republic Of China. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 พฤษภาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2013.
  5. "Land Area". Basic Facts. Shanghai Municipal People's Government. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ตุลาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2011.
  6. "Water Resources". Basic Facts. Shanghai Municipal People's Government. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2011. สืบค้นเมื่อ 19 July 2011.
  7. Cox, W. (2018). Demographia World Urban Areas. 14th Annual Edition (PDF). St. Louis: Demographia. p. 22. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2018. สืบค้นเมื่อ 15 June 2018.
  8. "Topographic Features". Basic Facts. Shanghai Municipal People's Government. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2011. สืบค้นเมื่อ 19 July 2011.
  9. 9.0 9.1 2019年上海市国民经济和社会发展统计公报 [Statistical Communiqué of Shanghai on the 2019 National Economic and Social Development]. tjj.sh.gov.cn (ภาษาจีน). Shanghai Municipal Statistics Bureau. 9 March 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-24. สืบค้นเมื่อ 24 March 2020.
  10. Justina, Crabtree (20 September 2016). "A tale of megacities: China's largest metropolises". CNBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2017. สืบค้นเมื่อ 8 December 2017.
  11. "Subnational Human Development Index". Global Data Lab China. 2020. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. 张洁. "Top 10 Chinese cities with great development potential". global.chinadaily.com.cn.
  13. "Shanghai rated world's number-one smart city for 2022 | Computer Weekly". ComputerWeekly.com (ภาษาอังกฤษ).
  14. "2022年GDP100强城市榜:江苏13市均超4000亿,10强有变化". web.archive.org. 2024-01-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-31. สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  15. aoife.oriordan (2024-07-24). "Global City Guidebook: Shanghai". Global Traveler (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  16. "Top 6 Innovation Centres in Shanghai | Collective Campus". collectivecampus.io (ภาษาอังกฤษ).
  17. Gardham, Richard (2021-09-17). "The ten busiest ports in the world by container traffic". Investment Monitor (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  18. 18.0 18.1 "崇明门户·走进崇明". www.shcm.gov.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-11. สืบค้นเมื่อ 2021-08-11.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้