แม่น้ำหวงผู่ (จีนตัวย่อ: 黄浦江; จีนตัวเต็ม: 黃浦江; พินอิน: huáng pǔjiāng; pronunciation; อังกฤษ: Huangpu River; ชื่อย่อ หวงผู่ หรือ แม่น้ำผู่) เป็นแม่น้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นยาว 113 กิโลเมตร (70 ไมล์) ไหลไปทางเหนือผ่านใจกลางเซี่ยงไฮ้ เดิมชื่อ แม่น้ำหวงเซียผู่ (黄歇浦) หรือแม่น้ำชุนเชิน (春申江) ตามชื่อขุนนางชุนเชิน หนึ่งในสี่ขุนนางยุครณรัฐ ซึ่งเป็นผู้ดำริให้ถูกขุดครั้งแรก แม่น้ำหวงผู่นับเป็นสาขาสุดท้ายที่สำคัญของแม่น้ำแยงซีก่อนที่จะไหลลงสู่ทะเลจีนตะวันออก แม่น้ำหวงผู่แบ่งเมืองเซี่ยงไฮ้ออกเป็นสองฝาก คือ ผู่ซี ฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางเมืองเดิมและไว่ทาน (เดอะบันด์) และผู่ตง ฝั่งตะวันออกเป็นที่ตั้งย่านการเงินลู่เจียจุ่ยที่มีชื่อเสียงระดับโลก[2][3]

แม่น้ำหวงผู่
黃浦江
แม่น้ำผู่ (浦江)
แม่น้ำชุนเชิน (春申江)
แม่น้ำเชิน (申江)
ภาพมุมสูง แม่น้ำหวงผู่ไหลผ่านกลางเมืองเซี่ยงไฮ้ (กลางภาพ ย่านการเงินลู่เจียจุ่ย)
ชื่อท้องถิ่น  (จีน)
ที่ตั้ง
ประเทศจีน
นครปกครองโดยตรงเซี่ยงไฮ้
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำทะเลสาบเตี้ยนชาน
 • ตำแหน่งชิงผู่, เซี่ยงไฮ้, ประเทศจีน
ปากน้ำแม่น้ำแยงซี
 • ตำแหน่ง
เป่าชาน, เซี่ยงไฮ้, ประเทศจีน
ความยาว113 กม.
อัตราการไหล 
 • เฉลี่ย180 m3/s (6,400 cu ft/s)[1]
ลุ่มน้ำ
ลำน้ำสาขา 
 • ซ้ายแม่น้ำซูโจว
แม่น้ำหวงผู่
อักษรจีนตัวย่อ
อักษรจีนตัวเต็ม
ไปรษณีย์Whangpoo River
แม่น้ำหวงผู่ ภาพถ่ายจากอาคารสำนักงานในเขตหยางผู่, (ล่าง) กลุ่มอาคารอนุรักษ์ "โรงประปาเซี่ยงไฮ้ถนนหยางชู่ผู่"
บริการเรือล่องแม่น้ำ ในตอนกลางคืน

ภูมิศาสตร์ แก้

 
ปากแม่น้ำที่ ปากน้ำอู๋ซง

แม่น้ำหวงผู่เป็นแม่น้ำสายสำคัญของเซี่ยงไฮ้ ยาวประมาณ 113 กิโลเมตร[2] กว้าง 300-700 เมตร ไม่มีน้ำแข็งตลอดปี กว้างเฉลี่ย 400 เมตร (1,312 ฟุต) ลึกเฉลี่ย 9-10 เมตร (30 ฟุต)[2] จุดที่ลึกที่สุดคือประมาณ 17 เมตร แบ่งเมืองออกเป็นสองฝาก คือ ผู่ซี (浦西 แปลตามตัว "ฝั่งตะวันตกของหวงผู่") ศูนย์กลางเมืองเดิม และผู่ตง (浦东; "ฝั่งตะวันออกของหวงผู่")

เริ่มต้นจากทะเลสาบเตี้ยนชาน (淀山湖) ในเมืองจูเจียเจ่า เขตชิงผู่ของเซี่ยงไฮ้ และไหลลงสู่แม่น้ำแยงซีที่ปากน้ำอู๋ซง แม่น้ำหวงผู่เป็นแม่น้ำสาขาสายสุดท้ายของแม่น้ำแยงซีก่อนลงสู่ทะเล ต้นน้ำของแม่น้ำหวงผู่ได้รับจากทะเลสาบไท่ เพื่อระบายน้ำสู่ทะเลจีนตะวันออก ปัจจุบันแม่น้ำหวงผู่เป็นช่องทางหลักของน้ำร้อยละ 78 ที่ระบายน้ำออกจากทะเลสาบไท่ แม่น้ำสาขาย่อยของหวงผู่ ได้แก่ แม่น้ำอู๋ซง (แม่น้ำซูโจว), แม่น้ำเวินเจ้าปัง, แม่น้ำชฺวันหยาง, แม่น้ำเตี้ยนผู่, แม่น้ำต้าจื้อ, ทางน้ำเสียถาง, ทางน้ำหยวนเซี่ย และทางน้ำต้าเม่ากั่ง

แม่น้ำหวงผู่เคยเป็นทางน้ำหลักของอุตสาหกรรมการเดินเรือของเซี่ยงไฮ้ มีท่าเทียบเรือฉือลิ่วผู่ที่มีชื่อเสียง ปัจจุบันสถานะการขนส่งทางน้ำในแม่น้ำค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยท่าเรือน้ำลึก แม้ความลึกของช่องทางเดินยังเพียงพอสำหรับเรือเดินทะเลขนาด 3,000 ตันสามารถผ่านสะพานซงผู่ได้ตลอดทั้งปี, เรือเดินทะเลขนาด 5,000 ตันสามารถไปถึงเขตหมิ่นหางได้โดยตรง, เรือเดินทะเลขนาด 10,000 ตันสามารถไปถึงอู๋จิง และเรือเดินทะเลขนาด 50,000 ตันสามารถผ่านสะพานสูผู่ได้ นอกจากนี้แม่น้ำหวงผู่ใช้ในการชลประทานในพื้นที่ท้องถิ่นด้วย[4]

ประวัติ แก้

ครั้งหนึ่งแม่น้ำหวงผู่เคยถูกเรียกว่า แม่น้ำหวงเซียผู่ (黄歇浦) หรือแม่น้ำชุนเชิน (春申江) ตามชื่อขุนนางชุนเชิน หนึ่งในสี่ขุนนางยุครณรัฐ (มีชื่อกำเนิดคือ หวงเซีย; 黄歇) ซึ่งเป็นผู้ดำริให้สร้างแม่น้ำสายนี้เป็นครั้งแรกในประมาณช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตศักราช ระหว่างยุครณรัฐ (475 ถึง 221 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งเชื่อกันว่าเซี่ยงไฮ้ในปัจจุบันเคยเป็นส่วนหนึ่งในศักดินาของหวงเซีย อัครมหาเสนาบดีชุนเชินแห่งรัฐฉู่[2]

แม่น้ำหวงผู่เคยเป็นเพียงแม่น้ำสาขาของแม่น้ำอู๋ซง (แม่น้ำซูโจว) หลังจากโครงการขุดลอกขยายแม่น้ำหวงผู่ในรัชสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง แม่น้ำซูโจวถูกลดความสำคัญและตื้นเขินกลายเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำหวงผู่แทน และเกิดวลีที่ว่า "黄浦夺淞" (หวงผู่ซงซง) หมายถึง "หวงผู่ยึดซง" ที่แปลว่า แม่น้ำหวงผู่ยึดแม่น้ำอู๋ซงเจียง[4]

การพัฒนาพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำหวงผู่ แก้

 
แผนที่วิศวกรรมการปรับระบบการเดินเรือ การสร้างเขื่อนกั้นน้ำและอนุรักษ์แม่น้ำ (บน) แม่น้ำหวงผู่ ปี พ.ศ. 2449 (ล่าง) แม่น้ำหวงผู่ ปี พ.ศ. 2454 (ชื่อภาษาอังกฤษของแม่น้ำหวงผู่ในสมัยนั้นคือ Whangpoo River)
 
ภาพถ่ายจากสวนสาธารณะริมแม่น้ำในเขตหยางผู่ ทางตอนเหนือของเซี่ยงไฮ้

แผนการพัฒนาพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำหวงผู่ ที่วางไว้เริ่มจากปากน้ำอู๋ซง ถึงสะพานสูผู่ ความยาวตลอดแนวชายฝั่งทั้งสองด้านรวมประมาณ 85 กิโลเมตร และมีพื้นที่ควบคุมที่วางแผนไว้ประมาณ 74 ตารางกิโลเมตร เกี่ยวข้องกับ 6 เขตการปกครอง ได้แก่ ผู่ตง เป่าชาน หยางผู่ หงโข่ว หวงผู่ และสูฮุ่ย[5]

เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 พื้นที่สาธารณะริมชายฝั่งยาว 45 กิโลเมตรทั้งสองฝั่งของแม่น้ำหวงผู่ จากสะพานหยางผู่ ไปยังสะพานสูผู่ ได้เชื่อมต่อกันและเปิดให้บริการประชาชนทุกคน[6][7][8] ในปี 2564 มีโครงการปรับปรุงพื้นที่สาธารณะในส่วนที่เรียกว่า นอร์ทบันด์วอเตอร์ฟรอนท์ (ไว่ทานเหนือ) บนพื้นที่ริมแม่น้ำเดิมที่เคยเป็นท่าเรือที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองในยุคของบริษัทอินเดียตะวันออก (British East India) ในปี พ.ศ. 2388 ให้เป็น "ป่าในเมือง" ที่สามารถมองทิวทัศน์ที่กว้างขึ้นของฝั่งลู่เจียจุ่ยที่อยู่ตรงข้าม[9][10]

สะพานและอุโมงค์ แก้

สะพานและอุโมงค์ที่สำคัญ เรียงลำดับจากต้นน้ำ – ปลายน้ำ (ที่ปากน้ำอู๋ซง)

ชื่อสะพาน / อุโมงค์ ชื่อภาษาท้องถิ่น / ภาษาอังกฤษ ภาพ รายละเอียด
สะพานซงผู่ 松浦大桥 / Songpu Bridge   สะพานซงผู่ เดิมเรียกว่า “สะพานข้ามแม่น้ำหวงผู่” เป็นสะพานแห่งแรกที่สร้างข้ามแม่น้ำหวงผู่ เปิดให้สัญจรครั้งแรกในปี 1975 สะพานนี้ข้ามแม่น้ำในเขตซงเจียง
สะพานเฟิ่งผู่ 奉浦大桥 / Fengpu Bridge
สะพานหมิ่นผู่ 闵浦大桥 / Minpu Bridge  
อุโมงค์ถนนช่างจง 上中路隧道 / Shangzhong Road tunnel
อุโมงค์ถนนหลงเย่า 龙耀路隧道 / Longyao Road tunnel
สะพานสูผู่ 徐浦大桥 / Xupu Bridge   เปิดในปี พ.ศ. 2540
อุโมงค์ถนนต่าผู่ 打浦路隧道 / Dapu Road tunnel  
สะพานหลูผู่ 卢浦大桥 / Lupu Bridge   เปิดในปี พ.ศ. 2546
อุโมงค์ถนนซีจั้งหนาน 西藏南路隧道 / South Xizang Road tunnel
สะพานหนานผู่ 南浦大桥 / Nanpu Bridge   เปิดในปี พ.ศ. 2534
อุโมงค์ถนนฟู่ซิงตง 复兴东路隧道 / East Fuxing Road tunnel  
อุโมงค์ถนนเหรินหมิน 人民路隧道 / Renmin Road tunnel
อุโมงค์ถนนหยานอานตง 延安东路隧道 / East Yan'an Road tunnel  
อุโมงค์ทางลอดเดอะบันด์ 外滩观光隧道 / Bund Sightseeing tunnel   อุโมงค์เชื่อมด้วยรถรางทัศนาจรขนาดเล็ก
อุโมงค์ถนนซินเจี้ยน 新建路隧道 / Xinjian Road tunnel
อุโมงค์ถนนต้าเหลียน 大连路隧道 / Dalian Road tunnel
สะพานหยางผู่ 杨浦大桥 / Yangpu Bridge   สะพานหยางผู่เปิดในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 เป็นสะพานที่ยาวที่สุดแห่งหนึ่งของโลกซึ่งมีความยาวรวม 8,354 เมตร[2]
อุโมงค์ถนนจฺวินกง 军工路隧道 / Jungong Road tunnel  
อุโมงค์ถนนเสียงยิน 翔殷路隧道 / Xiangyin Road tunnel
อุโมงค์ถนนฉางเจียงตะวันตก 长江西路隧道 / West Changjiang Road tunnel
อุโมงค์ถนนวงแหวนรอบนอก 外环隧道 / Outer Ring Road tunnel

อ้างอิง แก้

  1. (四)水文 เก็บถาวร 2011-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาจีน)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Huangpu River Archives". Sublime China (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 2021-06-20.
  3. "The New Huangpu River Both Banks". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-13. สืบค้นเมื่อ Apr 16, 2014.
  4. 4.0 4.1 黄浦江(上海界内河流). Baidu Baike, สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2564.
  5. "浦江规划前言". 上海市黄浦江两岸开发工作领导小组办公室网站. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-05. สืบค้นเมื่อ 2012-05-08.
  6. 黄浦江两岸45公里公共空间今贯通,新一轮三年行动计划启动 Shanghai Observer, 2017-12-31.
  7. 还江于民 黄浦江两岸45公里公共空间全部贯通 เก็บถาวร 2018-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.第1财经.
  8. Holmes, Damian (2017-04-23). "Hongkou North Bund Waterfront Masterplan and Public Realm | Shanghai, China | HASSELL". World Landscape Architecture (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  9. "Major upgrade in works for North Bund waterfront". SHINE (ภาษาอังกฤษ).
  10. "North Bund seeking world's best designers". SHINE (ภาษาอังกฤษ).

แหล่งข้อมูลอื่น แก้