สงครามกลางเมืองจีน
สงครามกลางเมืองจีน (อังกฤษ: Chinese Civil War; จีน: 国共内战) เป็นสงครามกลางเมืองที่สู้รบกันระหว่างพรรคก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน[6] เพื่อแย่งชิงอำนาจเหนือประเทศจีน ส่งผลให้จีนถูกแบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ สาธารณรัฐจีน ซึ่งครอบครองเกาะไต้หวัน กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งครอบครองจีนแผ่นดินใหญ่ สงครามกลางเมืองจีนเป็นสงครามที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามในประวัติศาสตร์โลก รองจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองเท่านั้น
สงครามกลางเมืองจีน 国共内战 Chinese Civil War | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
พรรคก๊กมินตั๋ง หลังปี 1949: ปัจจุบัน: ไต้หวัน สหรัฐ สนับสนุน NATO EU เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น |
พรรคคอมมิวนิสต์จีน หลัง 1949: ปัจจุบัน: จีน | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
เจียง ไคเช็ค ปัจจุบัน ไช่ อิงเหวิน โจ ไบเดน |
เหมา เจ๋อตุง ปัจจุบัน สี จิ้นผิง | ||||||
กำลัง | |||||||
4,300,000 (กรกฎาคม 1945)[4] 3,650,000 (มิถุนายน 1948) 1,490,000 (มิถุนายน 1949) |
1,200,000 (กรกฎาคม 1945)[4] 2,800,000 (มิถุนายน 1948) 4,000,000 (มิถุนายน 1949) | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
1928–1936: ความสูญเสียทางทหาร ~2 ล้านนาย 1945–1949: เสียชีวิต ~1-3 ล้านคน[5] |
สงครามเริ่มต้นเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1927 ท่ามกลางการกรีฑาทัพขึ้นเหนือ (Northern Expedition)[7] และสิ้นสุดลงในช่วง ค.ศ. 1949-1950 จนถึงปัจจุบันนี้ แม้จะไม่มีการรบแล้ว แต่สงครามก็ยังคงไม่สิ้นสุดอย่างเป็นทางการ เพราะยังไม่มีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพใด ๆ[8] ความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไปในรูปของการขู่ใช้กำลังทหาร การกดดันทางการเมือง และการกดดันทางเศรษฐกิจ สถานะทางการเมืองของไต้หวันยังคงเป็นข้อขัดแย้งที่สำคัญในปัจจุบัน โดยความตึงเครียดที่ดำเนินต่อมานั้นถูกเรียกว่าเป็น "ความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบ"
สงครามนี้เป็นสัญลักษณ์ความแตกแยกทางอุดมการณ์ระหว่างพรรคก๊กมินตั๋งชาตินิยมกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในจีนแผ่นดินใหญ่ปัจจุบัน สามปีสุดท้ายของสงคราม (ค.ศ. 1947-1949) เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ สงครามปลดปล่อย หรืออีกชื่อหนึ่งว่า สงครามปฏิวัติภายในที่สาม (第三次國内革命戰爭) ส่วนในไต้หวัน สงครามนี้รู้จักกันในชื่อ สงครามต่อต้านการก่อการกำเริบต่อคอมมิวนิสต์ (戡亂戰爭) ก่อน ค.ศ. 1991 หรือโดยทั่วไปคือ สงครามกลางเมืองชาตินิยม-คอมมิวนิสต์ (國共內戰) สำหรับทั้งสองฝ่าย
สงครามกลางเมืองดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งจักรวรรดิญี่ปุ่นได้รุกรานจีนอีกครั้ง ทำให้ทั้งสองพรรคต้องร่วมกันจัดตั้งแนวร่วมเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น เมื่อญี่ปุ่นพ่ายแพ้ใน ค.ศ. 1945 และสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง จึงทำให้สงครามกลางเมืองดำเนินต่อไปอีกครั้งใน ค.ศ. 1946 หลังจากผ่านไปสี่ปี การรบทางทหารก็ยุติลง โดยสาธารณรัฐประชาชนจีนมีอำนาจเหนือจีนแผ่นดินใหญ่และเกาะไห่หนาน ส่วนสาธารณรัฐจีนมีอำนาจเหนือเกาะไต้หวัน เผิงหู หมู่เกาะจินเหมิน หมู่เกาะหมาจู่และหมู่เกาะห่างไกลต่าง ๆ
จวบจนทุกวันนี้ ยังไม่มีการลงนามสัญญาสงบศึกหรือลงนามสนธิสัญญาสันติภาพใด ๆ ฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีนยังคงอ้างว่าไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และยังขู่ใช้กำลังทหารต่อไต้หวัน ส่วนฝ่ายไต้หวันเองก็อ้างสิทธิ์เหนือจีนแผ่นดินใหญ่ ทั้งสองฝ่ายยังคงมีความขัดแย้งกันในด้านการทูต ด้านการเมือง และด้านเศรษฐกิจ นอกจากนี้ สาธารณรัฐประชาชนจีนยังขู่ว่าจะใช้กำลังทหารรุกรานไต้หวัน หากไต้หวันประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการ โดยสถานการณ์มีความตึงเครียดขึ้นมาเป็นครั้งคราว ทั้งสองฝ่ายมีการส่งเครื่องบินรบและเรือรบผ่านช่องแคบบ่อยครั้ง[9][10]
อ้างอิง
แก้- ↑ Li, Xiaobing (2012). China at War: An Encyclopedia. p. 295. ISBN 9781598844153.
- ↑ Tsang, Steve. Government and Politics. p. 241.
- ↑ Tsang, Steve. The Gold War's Odd Couple: The Unintended Partnership Between the Republic of China and the UK, 1950–1958. p. 62.
- ↑ 4.0 4.1 Hsiung, James C. Levine, Steven I. [1992] (1992). M.E. Sharpe publishing. Sino-Japanese War, 1937–1945. ISBN 1-56324-246-X.
- ↑ http://www.scaruffi.com/politics/massacre.html
- ↑ Gay, Kathlyn. [2008] (2008). 21st Century Books. Mao Zedong's China. ISBN 0-8225-7285-0. pg 7
- ↑ Hutchings, Graham. [2001] (2001). Modern China: A Guide to a Century of Change. Harvard University Press. ISBN 0-674-00658-5.
- ↑ Leslie C. Green. The Contemporary Law of Armed Conflict. p. 79.
- ↑ "Record number of China planes enter Taiwan air defence zone". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-10-05. สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.
- ↑ Reuters (2021-08-28). "U.S. warship transits Taiwan Strait after Chinese assault drills". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.