พรรคคอมมิวนิสต์จีน
พรรคคอมมิวนิสต์จีน (อังกฤษ: Chinese Communist Party: CCP)[3] มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน (จีน: 中国共产党; อังกฤษ: Communist Party of China: CPC)[4] เป็นพรรคผู้ก่อตั้งและพรรครัฐบาลเดียวของสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การนำของเหมา เจ๋อตง พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้รับชัยชนะในสงครามกลางเมืองจีนเหนือก๊กมินตั๋ง ใน ค.ศ. 1949 เหมาประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน นับตั้งแต่นั้นมา พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็ได้ปกครองจีนและมีอำนาจควบคุมกองทัพปลดปล่อยประชาชน (PLA) เพียงผู้เดียว บรรดาผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่สืบทอดต่อกันมาได้เพิ่มทฤษฎีของตนเองลงในธรรมนูญของพรรค ซึ่งระบุถึงอุดมการณ์ของพรรคโดยรวมว่า สังคมนิยมอัตลักษณ์จีน ณ ค.ศ. 2024 พรรคคอมมิวนิสต์จีนมีสมาชิกมากกว่า 99 ล้านคน ทำให้เป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกตามจำนวนสมาชิก รองจากพรรคภารตียชนตาของอินเดีย
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน 中国共产党 จงกั๋วก้งฉานต่าง | |
---|---|
![]() | |
ชื่อย่อ | พคจ. (CCP) |
ผู้ก่อตั้ง | |
เลขาธิการ | สี จิ้นผิง |
คำขวัญ | "รับใช้ประชาชน"[หมายเหตุ 1] |
ก่อตั้ง |
|
ที่ทำการ | จงหนานไห่ เขตซีเฉิง ปักกิ่ง |
หนังสือพิมพ์ | เหรินหมินรื่อเป้า |
ฝ่ายเยาวชน | สันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน |
ฝ่ายเด็ก | ผู้บุกเบิกรุ่นเยาว์แห่งประเทศจีน |
ฝ่ายทหาร | |
สำนักงานวิจัย | สำนักงานวิจัยนโยบายส่วนกลาง |
สมาชิกภาพ (ปี 2023) | ![]() |
อุดมการณ์ | คอมมิวนิสต์ ลัทธิมากซ์-เลนิน ความคิดของเหมา เจ๋อตง ทฤษฎีของเติ้ง เสี่ยวผิง ความคิดของสี จิ้นผิง |
กลุ่มระดับสากล | การประชุมพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคแรงงานนานาชาติ |
สี | แดง |
สภาประชาชนแห่งชาติ (ชุดที่ 13) | 2,090 / 2,980 |
คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ (ชุดที่ 14) | 116 / 175 |
เว็บไซต์ | |
12371 | |
ธงประจำพรรค | |
![]() | |
การเมืองจีน รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน | |||||||||||||||||||||||||||
![]() "พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน" ในอักษรจีนตัวย่อ (บน) และอักษรจีนตัวเต็ม (ล่าง) | |||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 中国共产党 | ||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 中國共產黨 | ||||||||||||||||||||||||||
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | Zhōngguó Gòngchǎndǎng | ||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||
ชื่อย่อ | |||||||||||||||||||||||||||
ภาษาจีน | 中共 | ||||||||||||||||||||||||||
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | Zhōnggòng | ||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาทิเบต | |||||||||||||||||||||||||||
อักษรทิเบต | ཀྲུང་གོ་གུང་ཁྲན་ཏང | ||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาจ้วง | |||||||||||||||||||||||||||
ภาษาจ้วง | Cunghgoz Gungcanjdangj | ||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษามองโกเลีย | |||||||||||||||||||||||||||
อักษรซิริลลิกมองโกเลีย | Дундад улсын (Хятадын) Эв хамт (Kоммунист) Нам | ||||||||||||||||||||||||||
อักษรมองโกเลีย | ᠳᠤᠮᠳᠠᠳᠤ ᠤᠯᠤᠰ ᠤᠨ (ᠬᠢᠲᠠᠳ ᠤᠨ) ᠡᠪ ᠬᠠᠮᠲᠤ (ᠺᠣᠮᠮᠤᠶᠢᠨᠢᠰᠲ) ᠨᠠᠮ | ||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาอุยกูร์ | |||||||||||||||||||||||||||
ภาษาอุยกูร์ | جۇڭگو كوممۇنىستىك پارتىيىسى | ||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาแมนจู | |||||||||||||||||||||||||||
อักษรแมนจู | ᡩᡠᠯᡳᠮᠪᠠᡳ ᡤᡠᡵᡠᠨ ᡳ (ᠵᡠᠨᡤᠣ ᡳ) ᡤᡠᠩᡮᠠᠨ ᡥᠣᡴᡳ | ||||||||||||||||||||||||||
อักษรโรมัน | Dulimbai gurun-i (Jungg'o-i) Gungcan Hoki |
ใน ค.ศ. 1921 เฉิน ตู๋ซิ่ว และหลี่ ต้าเจา เป็นผู้นำการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนโดยได้รับความช่วยเหลือจากสำนักงานตะวันออกไกลของพรรคคอมมิวนิสต์รัสเซีย (บอลเชวิค) และสำนักงานตะวันออกไกลของคอมมิวนิสต์สากล ในช่วงหกปีแรก พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เข้าร่วมกับก๊กมินตั๋ง (KMT) ในฐานะกลุ่มฝ่ายซ้ายที่จัดตั้งขึ้นภายในขบวนการชาตินิยมที่ใหญ่กว่า อย่างไรก็ตาม เมื่อฝ่ายขวาของก๊กมินตั๋ง นำโดยเจียง ไคเชก หันมาต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์จีนและสังหารสมาชิกพรรคไปหลายหมื่นคน ทั้งสองพรรคก็แตกแยกกันและเริ่มสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อ ในช่วงสิบปีถัดมาของสงครามกองโจร เหมา เจ๋อตงได้ก้าวขึ้นเป็นผู้ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในพรรคคอมมิวนิสต์จีน และพรรคได้ก่อตั้งฐานเสียงที่แข็งแกร่งในกลุ่มชาวนาในชนบทด้วยนโยบายปฏิรูปที่ดิน การสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์จีนยังคงเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง และหลังญี่ปุ่นยอมจำนนใน ค.ศ. 1945 พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็ได้รับชัยชนะในการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ต่อต้านรัฐบาลชาตินิยม หลังก๊กมินตั๋งถอนทัพไปยังไต้หวัน พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็ได้ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949
เหมา เจ๋อตง ยังคงเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มีอิทธิพลมากที่สุดจนกระทั่งเสียชีวิตใน ค.ศ. 1976 แม้เขาจะถอนตัวจากตำแหน่งผู้นำสาธารณะเป็นระยะ ๆ เมื่อสุขภาพของเขาเริ่มย่ำแย่ลงก็ตาม ภายใต้การนำของเหมา พรรคได้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินจนสำเร็จ เปิดตัวแผนห้าปีชุดหนึ่ง และในที่สุดก็แตกแยกจากสหภาพโซเวียต แม้เหมาจะพยายามกวาดล้างกลุ่มทุนนิยมและกลุ่มปฏิกิริยาออกจากพรรคในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม แต่หลังจากที่เขาเสียชีวิต นโยบายเหล่านี้ได้รับการสานต่อโดยแก๊งสี่คนเท่านั้นก่อนที่กลุ่มที่มีแนวคิดรุนแรงน้อยกว่าจะเข้ายึดอำนาจ ในคริสต์ทศวรรษ 1980 เติ้ง เสี่ยวผิง ชี้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนให้ละทิ้งความเชื่อดั้งเดิมของลัทธิเหมาและหันมาใช้นโยบายการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจแทน คำอธิบายอย่างเป็นทางการสำหรับการปฏิรูปเหล่านี้ก็คือจีนยังคงอยู่ในขั้นต้นของสังคมนิยม ซึ่งเป็นขั้นพัฒนาที่คล้ายกับวิถีการผลิตแบบทุนนิยม นับตั้งแต่การล่มสลายของกลุ่มตะวันออกและการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991 พรรคคอมมิวนิสต์จีนมุ่งเน้นไปที่การรักษาความสัมพันธ์กับพรรครัฐบาลของรัฐสังคมนิยมที่เหลืออยู่ พรรคคอมมิวนิสต์จีนยังสร้างความสัมพันธ์กับพรรคการเมืองที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์หลายพรรค รวมถึงพรรคชาตินิยมที่มีอิทธิพลในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศในแอฟริกา เอเชีย และลาตินอเมริกา ตลอดจนพรรคการเมืองประชาธิปไตยสังคมนิยมในยุโรปด้วย
พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้รับการจัดระเบียบบนพื้นฐานประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์ หลักการที่รวมถึงการหารือนโยบายอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับเงื่อนไขของความสามัคคีในหมู่สมาชิกพรรคในการยืนหยัดตามการตัดสินใจที่ตกลงกัน องค์กรสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีนคือสภาแห่งชาติ (National Congress) ซึ่งมีการประชุมทุกห้าปี เมื่อสภาแห่งชาติไม่ได้ประชุม คณะกรรมาธิการกลางจะเป็นองค์กรสูงสุด แต่เนื่องจากองค์กรดังกล่าวมักประชุมเพียงปีละครั้ง หน้าที่และความรับผิดชอบส่วนใหญ่จึงตกอยู่กับกรมการเมืองและคณะกรรมาธิการสามัญฯ สมาชิกกลุ่มหลังนี้ถือเป็นผู้นำระดับสูงของพรรคและของรัฐ[5] ปัจจุบันผู้นำพรรคดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค (รับผิดชอบหน้าที่ของพรรคฝ่ายพลเรือน) ประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง (CMC) (รับผิดชอบกิจการทหาร) และประธานาธิบดี (ตำแหน่งทางพิธีการเป็นหลัก) ด้วยตำแหน่งเหล่านี้ ผู้นำพรรคจึงถูกมองว่าเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศ ผู้นำคนปัจจุบันคือสี จิ้นผิง ผู้ซึ่งได้รับเลือกในช่วงการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 1 ของคณะกรรมาธิการกลางชุดที่ 18 เมื่อ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 และได้เลือกอีกสองครั้ง ได้แก่ เมื่อ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2017 โดยคณะกรรมาธิการกลางชุดที่ 19 และเมื่อ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2022 โดยคณะกรรมาธิการกลางชุดที่ 20
ประวัติ
แก้การก่อตั้งและประวัติศาสตร์ช่วงต้น
แก้การปฏิวัติเดือนตุลาคมและทฤษฎีมาร์กซิสต์เป็นแรงบันดาลใจในการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน[6]: 114 เฉิน ตูซิ่ว และหลี่ ต้าเจา เป็นกลุ่มแรก ๆ ที่สนับสนุนลัทธิเลนินและการปฏิวัติโลกอย่างเปิดเผย ทั้งคู่ถือว่าการปฏิวัติเดือนตุลาคมในรัสเซียคือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง และเชื่อว่าจะเป็นการเริ่มต้นสมัยใหม่ให้กับประเทศที่ถูกกดขี่ทั่วทุกแห่ง[7]
การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์บางส่วนถือว่าขบวนการ 4 พฤษภาคมเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อสู้ปฏิวัติที่นำไปสู่การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน[8]: 22 ภายหลังจากขบวนการดังกล่าว แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางสังคมก็เพิ่มมากขึ้น[9]: 14 ใน ค.ศ. 1939 เหมา เจ๋อตงระบุว่าขบวนการนี้แสดงให้เห็นว่าการปฏิวัติของชนชั้นกระฎุมพีต่อต้านจักรวรรดินิยมและจีนได้พัฒนาไปสู่ขั้นใหม่ แต่ชนชั้นกรรมาชีพจะเป็นผู้นำการปฏิวัติให้สำเร็จ[9]: 20 ขบวนการ 4 พฤษภาคมนำไปสู่การจัดตั้งปัญญาชนหัวรุนแรงที่ดำเนินการระดมชาวนาและแรงงานเข้าสู่พรรคคอมมิวนิสต์จีนและได้รับความเข้มแข็งภายในองค์กรที่ช่วยเสริมสร้างความสำเร็จของการปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีน[10] เฉินและหลี่เป็นหนึ่งในผู้ส่งเสริมลัทธิมากซ์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในจีนในช่วงเหตุการณ์ 4 พฤษภาคม[9]: 7 พรรคคอมมิวนิสต์จีนเองก็สนับสนุนขบวนการ 4 พฤษภาคม และมองว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของมรดกของขบวนการ[11]: 24
ไช่ เหอเซิน กล่าวว่าวงการศึกษานั้นเป็น "พื้นฐาน [ของพรรคเรา]"[12] มีการจัดตั้งวงการศึกษาหลายแห่งขึ้นในระหว่างขบวนการวัฒนธรรมใหม่ แต่ภายใน ค.ศ. 1920 หลายวงเริ่มมีความสงสัยเกี่ยวกับความสามารถของวงการศึกษาดังกล่าวในการนำมาซึ่งการปฏิรูป[13] ขบวนการปัญญาของจีนแตกกระจายในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1920[14]: 17 ขบวนการ 4 พฤษภาคมและขบวนการวัฒนธรรมใหม่ระบุถึงปัญหาที่กลุ่มก้าวหน้าของจีนให้ความสนใจอย่างกว้างขวาง รวมถึงการต่อต้านจักรวรรดินิยม การสนับสนุนชาตินิยม การสนับสนุนประชาธิปไตย การส่งเสริมลัทธิสตรีนิยม และการปฏิเสธค่านิยมแบบดั้งเดิม[14]: 17 อย่างไรก็ตาม วิธีแก้ปัญหาที่เสนอโดยกลุ่มก้าวหน้าของจีนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ[14]: 17
พรรคคอมมิวนิสต์จีนก่อตั้งขึ้นเมื่อ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1921 ด้วยความช่วยเหลือจากสำนักงานตะวันออกไกลของพรรคคอมมิวนิสต์รัสเซีย (บอลเชวิค) และสำนักเลขาธิการตะวันออกไกลของคอมมิวนิสต์สากล ตามบันทึกอย่างเป็นทางการของพรรคเกี่ยวกับประวัติศาสตร์พรรค[15][16] อย่างไรก็ตาม เอกสารของพรรคระบุว่าวันที่ก่อตั้งพรรคจริงคือ 23 กรกฎาคม วันแรกของการประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 1 ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน[17] การประชุมสภาแห่งชาติก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนจัดขึ้นในวันที่ 23–31 กรกฎาคม[18][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] ด้วยสมาชิกเพียง 50 คนในช่วงต้น ค.ศ. 1921 ซึ่งรวมถึงเฉิน ตู๋ซิ่ว หลี่ ต้าเจา และเหมา เจ๋อตง[19] องค์กรและหน่วยงานของพรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงเติบโตอย่างมาก[6]: 115 แม้การประชุมครั้งแรกจะจัดขึ้นที่บ้านหลังหนึ่งในเขตสัมปทานฝรั่งเศสเซี่ยงไฮ้ แต่ตำรวจฝรั่งเศสได้เข้ามาขัดขวางการประชุมในวันที่ 30 กรกฎาคม[20] และการประชุมได้ย้ายไปที่เรือท่องเที่ยวที่ทะเลสาบใต้ในเจียซิง มณฑลเจ้อเจียง[20] มีผู้แทนประมาณ 12 คนเข้าร่วมการประชุม โดยที่หลี่และเฉินไม่ได้เข้าร่วม[20] เฉินส่งผู้แทนส่วนตัวไปแทน[20] มติของการประชุมเรียกร้องให้จัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์เป็นสาขาหนึ่งขององค์การคอมมิวนิสต์สากล (โคมินเทิร์น) และเลือกเฉินเป็นผู้นำ ต่อมาเฉินทำหน้าที่เป็นเลขาธิการคนแรกของพรรคคอมมิวนิสต์จีน[20] และได้รับการขนานนามว่า "เลนินแห่งจีน"[ต้องการอ้างอิง]
โซเวียตหวังจะส่งเสริมกองกำลังนิยมโซเวียตในเอเชียตะวันออกเพื่อต่อสู้กับประเทศต่อต้านคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะญี่ปุ่น พวกเขาพยายามติดต่อกับขุนศึกอู๋ เพ่ย์ฝูแต่ล้มเหลว[21][22] จากนั้นโซเวียตติดต่อกับก๊กมินตั๋ง ผู้นำรัฐบาลกว่างโจวขนานไปกับรัฐบาลเป่ย์หยาง วันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1923 โคมินเทิร์นส่งมีฮาอิล โบโรดินไปที่กว่างโจว และโซเวียตสถาปนาความสัมพันธ์กับก๊กมินตั๋ง คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน[23] โจเซฟ สตาลิน ผู้นำโซเวียต[24] และโคมินเทิร์น[25] ต่างหวังว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะควบคุมก๊กมินตั๋งในที่สุดและเรียกฝ่ายตรงข้ามว่า "พวกขวาจัด"[26][หมายเหตุ 3] ซุน ยัตเซ็น ผู้นำก๊กมินตั๋ง คลี่คลายความขัดแย้งระหว่างคอมมิวนิสต์และฝ่ายตรงข้าม สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนเติบโตอย่างมากหลังการประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 4 ใน ค.ศ. 1925 จาก 900 เป็น 2,428 คน[28] พรรคคอมมิวนิสต์จีนยังคงปฏิบัติต่อซุน ยัตเซ็นในฐานะหนึ่งในผู้ก่อตั้งขบวนการของตน[29] เนื่องจากเขาถูกมองว่าเป็นคอมมิวนิสต์ยุคแรก[30] และองค์ประกอบทางเศรษฐกิจของอุดมการณ์ของซุนคือสังคมนิยม[31] ซุนกล่าวว่า "หลักการดำรงชีพของเราเป็นรูปแบบหนึ่งของลัทธิคอมมิวนิสต์"[32]
คอมมิวนิสต์ครอบงำฝ่ายซ้ายของก๊กมินตั๋งและต่อสู้แย่งชิงอำนาจกับฝ่ายขวาของพรรค[26] เมื่อซุน ยัตเซ็นเสียชีวิตในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1925 เจียง ไคเชก ผู้นำฝ่ายขวาก็ขึ้นดำรงตำแหน่งต่อจากซุน โดยเขาเริ่มการเคลื่อนไหวเพื่อกดขี่ตำแหน่งของคอมมิวนิสต์[26] เจียง ผู้ช่วยคนเก่าของซุน ไม่ได้ต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างแข็งขันในเวลานั้น[33] แม้เขาจะเกลียดทฤษฎีการต่อสู้ระหว่างชนชั้นและการยึดอำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์จีนก็ตาม[27] พวกคอมมิวนิสต์เสนอให้ล้มล้างอำนาจของเจียง[34] เมื่อเจียงได้รับการสนับสนุนจากประเทศตะวันตกมากขึ้นเรื่อย ๆ ความขัดแย้งระหว่างเขากับคอมมิวนิสต์ก็ยิ่งรุนแรงขึ้น เจียงขอให้ก๊กมินตั๋งเข้าร่วมโคมินเทิร์นเพื่อตัดความเป็นไปได้ในการขยายตัวอย่างลับ ๆ ของคอมมิวนิสต์ภายในก๊กมินตั๋ง ขณะที่เฉิน ตู๋ซิ่วหวังว่าคอมมิวนิสต์จะถอนตัวจากก๊กมินตั๋งอย่างสมบูรณ์ [35]
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1927 ทั้งเจียงและพรรคคอมมิวนิสต์จีนกำลังเตรียมพร้อมสำหรับความขัดแย้ง[36] หลังประสบความสำเร็จในการกำจัดขุนศึกจากการกรีธาทัพขึ้นเหนือ เจียงก็หันไปต่อต้านคอมมิวนิสต์ ซึ่งขณะนี้มีจำนวนนับหมื่นคนทั่วประเทศจีน[37] เขาเคลื่อนทัพไปยังเซี่ยงไฮ้ เมืองที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกองกำลังคอมมิวนิสต์ โดยเพิกเฉยต่อคำสั่งของรัฐบาลก๊กมินตั๋งที่ตั้งอยู่ในอู่ฮั่น แม้คอมมิวนิสต์จะยินดีต้อนรับการมาถึงของเจียง แต่เขากลับหันกลับมาต่อต้านพวกเขาโดยสังหารผู้คนไปกว่า 5,000 คน[หมายเหตุ 4] ด้วยความช่วยเหลือของแก๊งเขียว[37][40][41] กองทัพของเจียงเดินทัพไปยังอู่ฮั่นแต่ถูกขัดขวางไม่ให้เข้ายึดเมืองโดยเย่ ถิง นายพลพรรคคอมมิวนิสต์จีนและกองกำลังของเขา[42] พันธมิตรของเจียงยังโจมตีคอมมิวนิสต์ด้วย ตัวอย่างเช่น ในปักกิ่ง หลี่ ต้าเจาและคอมมิวนิสต์ชั้นนำอีก 19 คนถูกประหารชีวิตโดยจาง จั้วหลิน[43][38] เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ขบวนการชาวนาที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนโกรธเคืองมากขึ้น เย่ เต๋อฮุย นักวิชาการผู้มีชื่อเสียง ถูกคอมมิวนิสต์สังหารในฉางชา และเพื่อแก้แค้น แม่ทัพเหอ เจี้ยน แห่งกองทัพก๊กมินตั๋งและกองกำลังของเขาจึงยิงทหารอาสาสมัครชาวนาไปหลายร้อยคน[44] ในเดือนพฤษภาคมนั้น พรรคคอมมิวนิสต์และผู้เห็นอกเห็นใจนับหมื่นถูกกองกำลังของก๊กมินตั๋งสังหาร โดยที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนสูญเสียสมาชิกไปประมาณ 15,000 จากทั้งหมด 25,000 ราย[38]
สงครามกลางเมืองจีนและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
แก้พรรคคอมมิวนิสต์จีนยังคงสนับสนุนรัฐบาลก๊กมินตั๋งในอู่ฮั่น[38] แต่ในวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1927 รัฐบาลอู่ฮั่นขับไล่คอมมิวนิสต์ทั้งหมดออกจากก๊กมินตั๋ง[45] พรรคคอมมิวนิสต์จีนตอบโต้ด้วยการก่อตั้งกองทัพแดงของชนชั้นกรรมกรและชาวนาจีน หรือที่รู้จักกันในชื่อ "กองทัพแดง" เพื่อต่อสู้กับก๊กมินตั๋ง กองพันที่นำโดยนายพลจู เต๋อได้รับคำสั่งให้ยึดหนานชางในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1927 ซึ่งภายหลังเรียกเหตุการณ์นี้ว่าการก่อการกำเริบหนานชาง
ในช่วงแรก จูและกองกำลังของเขาถูกบังคับให้ล่าถอยหลังผ่านไปห้าวัน เดินทัพลงใต้สู่ซัวเถา และจากนั้นก็ถูกขับไล่เข้าสู่ถิ่นทุรกันดารของฝูเจี้ยน[45] เหมา เจ๋อตง ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพแดง และนำทหารสี่กรมเข้าโจมตีฉางชาในช่วงการก่อการกำเริบฤดูเก็บเกี่ยว โดยหวังจะจุดชนวนให้เกิดการลุกฮือของชาวนาทั่วหูหนาน[46] แผนของเขาคือโจมตีเมืองที่ก๊กมินตั๋งยึดครองจากสามทิศทางในวันที่ 9 กันยายน แต่กรมทหารที่ 4 กลับหันไปสนับสนุนก๊กมินตั๋งและโจมตีกรมทหารที่ 3 แทน กองทัพของเหมาเดินทางมาถึงฉางซาแต่ไม่สามารถยึดเมืองได้ ภายในวันที่ 15 กันยายน เขาก็ยอมรับความพ่ายแพ้ โดยผู้รอดชีวิต 1,000 คนเดินทัพทางตะวันออกสู่เทือกเขาจิ่งกังของเจียงซี[46][47][48]
การทำลายล้างองค์กรระดับเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเกือบจะสำเร็จ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับสถาบันภายในพรรค[49] พรรคนำแนวคิดประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์มาใช้ ซึ่งเป็นแนวทางในการจัดตั้งพรรคปฏิวัติ และจัดตั้งกรมการเมืองขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นคณะกรรมาธิการสามัญของคณะกรรมาธิการกลาง[49] ผลลัพธ์คือมีการรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางภายในพรรคมากขึ้น[49] ในทุกระดับของพรรค การดำเนินการดังกล่าวถูกทำซ้ำ โดยมีคณะกรรมาธิการสามัญทำหน้าที่ควบคุมอย่างมีประสิทธิผล[49] หลังถูกขับออกจากพรรค เฉิน ตู๋ซิ่วกลายมาเป็นผู้นำขบวนการทรอตสกีของจีน หลี่ ลี่ซานสามารถควบคุมพรรคโดยพฤตินัยได้ภายใน ค.ศ. 1929–1930[49]
การประชุมกู่เถียนใน ค.ศ. 1929 มีความสำคัญในการสร้างหลักการให้พรรคควบคุมกองทัพ ซึ่งยังคงเป็นหลักการสำคัญของอุดมการณ์ของพรรค[50]: 280
ความเป็นผู้นำของหลี่ถือเป็นความล้มเหลว ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนอยู่ในจุดวิกฤต[49] โคมินเทิร์นเข้ามาเกี่ยวข้อง และในช่วงปลาย ค.ศ. 1930 อำนาจของเขาถูกยึดไป[49] ใน ค.ศ. 1935 เหมากลายเป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนและผู้นำทหารอย่างไม่เป็นทางการของพรรค โดยมีโจว เอินไหลและจาง เหวินเทียน หัวหน้าพรรคอย่างเป็นทางการ ทำหน้าที่เป็นผู้แทนอย่างไม่เป็นทางการของเขา[49] ความขัดแย้งกับก๊กมินตั๋งนำไปสู่การจัดระเบียบกองทัพแดงใหม่ โดยขณะนี้อำนาจรวมศูนย์อยู่ที่ฝ่ายบริหารผ่านการจัดตั้งฝ่ายการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเพื่อรับผิดชอบการดูแลกองทัพ[49]
อุบัติการณ์ซีอานในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1936 ทำให้ความขัดแย้งระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับก๊กมินตั๋งหยุดชะงัก[51] ภายใต้แรงกดดันจากจอมพล จาง เสฺวเหลียงและพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในที่สุดเจียง ไคเชกก็ยอมตกลงร่วมแนวร่วมที่สองที่มุ่งเน้นการต่อต้านผู้รุกรานชาวญี่ปุ่น[52] แม้แนวร่วมนี้จะมีอย่างเป็นทางการจนถึง ค.ศ. 1945 แต่ความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่ายก็ยุติอย่างสิ้นเชิงใน ค.ศ. 1940[52] แม้จะมีพันธมิตรอย่างเป็นทางการ พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็ใช้โอกาสนี้ขยายและสร้างฐานปฏิบัติการอิสระเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสงครามที่กำลังจะมาถึงกับก๊กมินตั๋ง[53] ใน ค.ศ. 1942 ก๊กมินตั๋งเริ่มจำกัดการขยายตัวของพรรคคอมมิวนิสต์จีนภายในประเทศจีน[53] สิ่งนี้ทำให้เกิดการปะทะกันบ่อยครั้งระหว่างกองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์จีนและก๊กมินตั๋ง[53] ซึ่งคลี่คลายลงอย่างรวดเร็วเมื่อทั้งสองฝ่ายตระหนักว่าสงครามกลางเมืองท่ามกลางการรุกรานจากต่างชาติไม่ใช่ทางเลือก[53] ใน ค.ศ. 1943 พรรคคอมมิวนิสต์จีนขยายดินแดนของตนอีกครั้งโดยอาศัยอำนาจของก๊กมินตั๋ง[53]
เหมา เจ๋อตงได้รับตำแหน่งประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนใน ค.ศ. 1945 หลังญี่ปุ่นยอมจำนนใน ค.ศ. 1945 สงครามระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับก๊กมินตั๋งก็เริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจังอีกครั้ง[54] ช่วงเวลาระหว่าง ค.ศ. 1945 ถึง 1949 แบ่งออกเป็นสี่ระยะ ระยะแรกคือตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 (เมื่อญี่ปุ่นยอมจำนน) ถึงมิถุนายน ค.ศ. 1946 (เมื่อการเจรจาสันติภาพระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับก๊กมินตั๋งสิ้นสุดลง)[54] ภายใน ค.ศ. 1945 ก๊กมินตั๋งมีทหารภายใต้การบังคับบัญชามากกว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนถึงสามเท่าและในช่วงแรกดูเหมือนจะสามารถเอาชนะได้[54] ด้วยความร่วมมือจากสหรัฐและญี่ปุ่น กองทัพก๊กมินตั๋งจึงสามารถยึดพื้นที่สำคัญของประเทศคืนได้[54] อย่างไรก็ตาม การปกครองของก๊กมินตั๋งเหนือดินแดนที่ยึดคืนได้นั้นไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากการทุจริตทางการเมืองที่แพร่หลาย[54]
แม้จะมีจำนวนมากกว่า แต่ก๊กมินตั๋งก็ล้มเหลวในการยึดพื้นที่ชนบทซึ่งเป็นฐานที่มั่นของพรรคคอมมิวนิสต์จีนกลับคืนมา[54] ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น พรรคคอมมิวนิสต์จีนเปิดฉากรุกรานแมนจูเรีย โดยได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต[54] ระยะที่สอง กินเวลาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1946 ถึงมิถุนายน ค.ศ. 1947 เป็นช่วงที่ก๊กมินตั๋งขยายการควบคุมเหนือเมืองใหญ่ ๆ เช่น เหยียนอาน สำนักงานใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นส่วนใหญ่ในช่วงสงคราม[54] ความสำเร็จของก๊กมินตั๋งไร้ความหมาย พรรคคอมมิวนิสต์จีนถอนตัวออกจากเมืองต่าง ๆ อย่างมียุทธวิธี และหันมาบ่อนทำลายการปกครองของก๊กมินตั๋งแทนโดยยุยงให้นักศึกษาและปัญญาชนออกมาประท้วง ก๊กมินตั๋งตอบสนองต่อการชุมนุมเหล่านี้ด้วยการปราบปรามอย่างรุนแรง[55] ขณะเดียวกัน ก๊กมินตั๋งกำลังดิ้นรนกับการต่อสู้ภายในพรรคและการควบคุมแบบเบ็ดเสร็จของเจียง ไคเชกเหนือพรรค ทำให้ความสามารถในการตอบสนองต่อการโจมตีอ่อนแอลง[55]
ระยะที่สาม กินเวลาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1947 ถึงสิงหาคม ค.ศ. 1948 เป็นช่วงที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนเริ่มการตอบโต้แบบจำกัด[55] เป้าหมายคือการเคลียร์ "จีนตอนกลาง เสริมความแข็งแกร่งให้กับจีนตอนเหนือ และฟื้นฟูจีนตะวันออกเฉียงเหนือ"[56] ปฏิบัติการนี้ควบคู่ไปกับการหนีทัพจากก๊กมินตั๋งส่งผลให้ก๊กมินตั๋งเสียทหารไป 2 ล้านจากทั้งหมด 3 ล้านนายภายในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1948 และพบว่าการสนับสนุนการปกครองของก๊กมินตั๋งลดลงอย่างมาก[55] ผลที่ตามมาคือพรรคคอมมิวนิสต์จีนสามารถตัดกำลังทหารของก๊กมินตั๋งในแมนจูเรียและยึดดินแดนคืนได้หลายแห่ง[56]
ระยะสุดท้าย กินเวลาตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ. 1948 ถึงธันวาคม ค.ศ. 1949 เป็นช่วงที่คอมมิวนิสต์เริ่มรุก และการปกครองของก๊กมินตั๋งในจีนแผ่นดินใหญ่ทั้งหมดล่มสลาย[56] การประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนของเหมาในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 ถือเป็นจุดสิ้นสุดช่วงที่สองของสงครามกลางเมืองจีน (หรือที่เรียกว่าการปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีน ตามที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนเรียก)[56]
ประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนและคริสต์ทศวรรษ 1950
แก้เหมาประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนต่อหน้าฝูงชนจำนวนมากที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นหัวหน้ารัฐบาลประชาชนส่วนกลาง[6]: 118 นับตั้งแต่ช่วงเวลานี้จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1980 ผู้นำระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (เช่น เหมา เจ๋อตง, หลิน เปียว, โจว เอินไหล และเติ้ง เสี่ยวผิง) ส่วนใหญ่เป็นผู้นำทหารกลุ่มเดียวกันก่อนการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน[57] ส่งผลให้ความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ไม่เป็นทางการระหว่างผู้นำทางการเมืองและการทหารมีอิทธิพลเหนือความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือนกับทหาร[57]
สตาลินเสนอรัฐธรรมนูญพรรคเดียวเมื่อหลิว เช่าฉีเยือนสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1952[58] ต่อมารัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐประชาชนจีนใน ค.ศ. 1954 ได้ยุบรัฐบาลผสมก่อนหน้าและจัดตั้งระบบพรรคการเมืองเดียวของพรรคคอมมิวนิสต์จีนขึ้น[59][60] ใน ค.ศ. 1957 พรรคคอมมิวนิสต์จีนเปิดตัวการรณรงค์ต่อต้านฝ่ายขวาเพื่อต่อต้านนักการเมืองฝ่ายค้านและบุคคลสำคัญจากพรรคการเมืองขนาดเล็ก ซึ่งส่งผลให้มีผู้คนถูกข่มเหงทางการเมืองอย่างน้อย 550,000 คน การรณรงค์ดังกล่าวสร้างความเสียหายอย่างมากต่อลักษณะพหุนิยมแบบจำกัดในสาธารณรัฐสังคมนิยมและทำให้สถานะของประเทศแข็งแกร่งขึ้นในฐานะรัฐพรรคการเมืองเดียวโดยพฤตินัย[61][62]
การรณรงค์ต่อต้านฝ่ายขวาทำให้เกิดผลลัพธ์อันเลวร้ายของแผนห้าปีฉบับที่สองตั้งแต่ ค.ศ. 1958 ถึง ค.ศ. 1962 หรือที่เรียกว่าการก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้า ในการพยายามเปลี่ยนแปลงประเทศจากเศรษฐกิจเกษตรกรรมไปเป็นอุตสาหกรรม พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้รวมพื้นที่เกษตรกรรมเข้าด้วยกัน จัดตั้งคอมมูนของประชาชน และย้ายแรงงานไปที่โรงงาน การบริหารโดยทั่วไปที่ไม่เหมาะสมและการเก็บเกี่ยวเกินจริงโดยเจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนทำให้เกิดความอดอยากครั้งใหญ่ในจีน ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 15 ถึง 45 ล้านคน[63][64] ทำให้เป็นความอดอยากครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้[65][66][67]
ความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียตและการปฏิวัติวัฒนธรรม
แก้ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 พรรคคอมมิวนิสต์จีนประสบกับการแตกแยกทางอุดมการณ์อย่างมีนัยสำคัญจากพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียตซึ่งกำลังดำเนินไปในช่วงเวลาแห่งการ "ล้มล้างอิทธิพลสตาลิน" ภายใต้การนำของนีกีตา ครุชชอฟ[68] เมื่อถึงเวลานั้น เหมาเริ่มพูดว่า "การปฏิวัติอย่างต่อเนื่องภายใต้การปกครองแบบเผด็จการของชนกรรมาชีพ" กำหนดให้ศัตรูทางชนชั้นยังคงมีอยู่แม้การปฏิวัติสังคมนิยมดูเหมือนจะเสร็จสิ้นแล้วก็ตาม นำไปสู่การปฏิวัติวัฒนธรรมซึ่งมีผู้คนถูกข่มเหงและสังหารนับล้าน[69] ในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม ผู้นำพรรคเช่นหลิว เช่าฉี, เติ้ง เสี่ยวผิง, เผิง เต๋อหวย และเฮ่อ หลงถูกกวาดล้างหรือเนรเทศ และแก๊งสี่คน นำโดยเจียง ชิง ภริยาของเหมาได้ปรากฏตัวขึ้นเพื่อเติมเต็มช่องว่างอำนาจที่เหลืออยู่
การปฏิรูปภายใต้เติ้ง เสี่ยวผิง
แก้ภายหลังการเสียชีวิตของเหมาใน ค.ศ. 1976 การชิงอำนาจระหว่างฮฺว่า กั๋วเฟิง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน และรองประธานเติ้ง เสี่ยวผิงก็เกิดขึ้น[70] เติ้งได้รับชัยชนะในการต่อสู้และกลายเป็นผู้นำสูงสุดของจีนใน ค.ศ. 1978[70] เติ้ง ร่วมกับหู เย่าปัง และจ้าว จื่อหยาง เป็นผู้นำการดำเนินนโยบาย "ปฏิรูปและเปิดประเทศ" และนำเสนอแนวคิดทางอุดมการณ์ของสังคมนิยมอัตลักษณ์จีน โดยเปิดจีนสู่ตลาดโลก[71] ในการพลิกนโยบาย "ฝ่ายซ้าย" บางส่วนของเหมา เติ้งแย้งว่ารัฐสังคมนิยมสามารถใช้เศรษฐกิจแบบตลาดได้โดยไม่ต้องเป็นทุนนิยม[72] ขณะที่ยืนยันอำนาจทางการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน การเปลี่ยนแปลงนโยบายก็ก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ[ต้องการอ้างอิง] สิ่งนี้ได้รับการพิสูจน์โดยยึดหลัก "การปฏิบัติเป็นเกณฑ์เดียวสำหรับความจริง" หลักการนี้ได้รับการสนับสนุนผ่านบทความใน ค.ศ. 1978 ที่มุ่งต่อสู้กับลัทธิหัวรุนแรงและวิพากษ์วิจารณ์นโยบาย "สองสิ่งใดก็ตาม"[73][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] อย่างไรก็ตาม อุดมการณ์ใหม่ถูกต่อสู้อย่างดุเดือดจากทั้งสองฝ่าย ทั้งโดยกลุ่มเหมาอิสต์ที่อยู่ฝ่ายซ้ายของผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน และโดยกลุ่มที่สนับสนุนการเปิดเสรีทางการเมือง ใน ค.ศ. 1981 พรรคออกมติเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ซึ่งประเมินมรดกทางประวัติศาสตร์ของสมัยเหมาและลำดับความสำคัญในอนาคตของพรรคคอมมิวนิสต์จีน[74]: 6 ร่วมกับปัจจัยทางสังคมอื่น ๆ ความขัดแย้งถึงจุดสุดยอดในการประท้วงและการสังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ค.ศ. 1989[75] หลังการประท้วงถูกปราบปรามและจ้าว จื่อหยาง เลขาธิการพรรคสายปฏิรูปถูกกักบริเวณในบ้าน นโยบายเศรษฐกิจของเติ้งก็กลับมาดำเนินต่ออีกครั้งและในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 แนวคิดของเศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยมก็ได้รับการนำเสนอ[76] ใน ค.ศ. 1997 ความเชื่อของเติ้ง (มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "ทฤษฎีของเติ้ง เสี่ยวผิง") ถูกบรรจุลงในธรรมนูญของพรรคคอมมิวนิสต์จีน[77]
การปฏิรูปเพิ่มเติมภายใต้เจียง เจ๋อหมินและหู จิ่นเทา
แก้เจียง เจ๋อหมิน เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน สืบทอดตำแหน่งผู้นำสูงสุดของเติ้งในคริสต์ทศวรรษ 1990 และดำเนินนโยบายส่วนใหญ่ของเขาต่อไป[78] ในคริสต์ทศวรรษ 1990 พรรคคอมมิวนิสต์จีนมีการเปลี่ยนจากกลุ่มผู้นำที่เคยผ่านการปฏิวัติและมีบทบาททั้งทางทหารและการเมืองมาเป็นกลุ่มชนชั้นนำทางการเมืองที่สมาชิกใหม่ ๆ ได้รับการคัดเลือกและเลื่อนตำแหน่งตามกฎเกณฑ์และระเบียบของระบบรัฐการพลเรือน[57] การเลือกผู้นำส่วนใหญ่เป็นไปตามกฎเกณฑ์และบรรทัดฐานเกี่ยวกับการเลื่อนตำแหน่งและการเกษียณอายุ พื้นฐานการศึกษา และความเชี่ยวชาญด้านการจัดการและเทคนิค[57] กองทัพมีกลุ่มนายทหารอาชีพของตนเอง ซึ่งทำงานภายใต้การควบคุมของผู้นำพรรคระดับสูง โดยมีการติดต่อสื่อสารและสั่งการผ่านระบบและช่องทางที่เป็นทางการ[57]
พรรคคอมมิวนิสต์จีนให้สัตยาบันต่อแนวคิด "สามตัวแทน" ของเจียงสำหรับการแก้ไขธรรมนูญของพรรคใน ค.ศ. 2003 ในฐานะ "อุดมการณ์ชี้นำ" เพื่อสนับสนุนให้พรรคเป็นตัวแทนของ "พลังการผลิตที่ก้าวหน้า วิถีความก้าวหน้าของวัฒนธรรมจีน และผลประโยชน์พื้นฐานของประชาชน"[79] ทฤษฎีดังกล่าวทำให้เจ้าของธุรกิจเอกชนและกลุ่มชนชั้นกระฎุมพีเข้าร่วมพรรคได้อย่างถูกกฎหมาย[79] หู จิ่นเทา ผู้สืบทอดตำแหน่งเลขาธิการจากเจียงเข้ารับตำแหน่งใน ค.ศ. 2002[80] ต่างจากเหมา, เติ้ง และเจียง หูให้ความสำคัญกับภาวะผู้นำร่วมและต่อต้านการครอบงำระบบการเมืองโดยบุคคลคนเดียว[80] การยืนกรานที่จะมุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจนำไปสู่ปัญหาสังคมร้ายแรงมากมาย เพื่อตอบสนองต่อปัญหานี้ หูแนะนำแนวคิดอุดมการณ์หลักสองประการ ได้แก่ "ทัศนะวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการพัฒนา" และ "สังคมกลมกลืน"[81] หูลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนและประธานคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนในการประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 18 ที่จัดขึ้นใน ค.ศ. 2012 และสี จิ้นผิงสืบทอดทั้งสองตำแหน่งต่อจากเขา[82][83]
สมัยสี จิ้นผิง
แก้นับตั้งแต่เข้ารับอำนาจ สี จิ้นผิงริเริ่มการรณรงค์ต่อต้านการทุจริตในวงกว้าง ขณะเดียวกันก็รวมอำนาจไว้ที่สำนักเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนโดยไม่คำนึงถึงภาวะผู้นำร่วมในทศวรรษก่อน[84] นักวิจารณ์อธิบายว่าการรณรงค์ดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญในความเป็นผู้นำของสี จิ้นผิง ตลอดจนเป็น "เหตุผลหลักที่ทำให้เขาสามารถรวบอำนาจได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ"[85] ความเป็นผู้ของสียังกำกับดูแลการเพิ่มขึ้นของบทบาทของพรรคในประเทศจีน[86] สีบรรจุอุดมการณ์ที่ตั้งชื่อตามตนเองลงในธรรมนูญของพรรคคอมมิวนิสต์จีนใน ค.ศ. 2017[87] สีดำรงตำแหน่งเลขาธิการประธานาธิบดีต่อใน ค.ศ. 2022[57][88]
ตั้งแต่ ค.ศ. 2014 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้นำความพยายามในซินเจียงที่เกี่ยวข้องกับการกักขังชาวอุยกูร์และชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์อื่น ๆ มากกว่า 1 ล้านคนในค่ายปรับทัศนคติ รวมถึงมาตรการกดขี่อื่น ๆ เหตุการณ์นี้ได้รับการอธิบายว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยนักวิชาการและรัฐบาลบางส่วน[89][90] กลับกัน ประเทศจำนวนมากกว่าได้ลงนามในจดหมายที่เขียนถึงคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนเพื่อสนับสนุนนโยบายดังกล่าวในฐานะความพยายามปราบปรามการก่อการร้ายในภูมิภาค[91][92][93]
การเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งเป็นหนึ่งในสองร้อยปี จัดขึ้นเมื่อ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2021[94] ในการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 6 ของคณะกรรมาธิการกลางชุดที่ 19 ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2021 พรรคคอมมิวนิสต์จีนมีมติเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของพรรค เป็นครั้งแรกที่ยกย่องสีว่าเป็น "ผู้ริเริ่มหลัก" ของความคิดสี จิ้นผิง ขณะเดียวกันก็ประกาศว่าความเป็นผู้นำของสีเป็น "กุญแจสำคัญของการฟื้นฟูชาติจีนครั้งใหญ่"[95][96] เมื่อเทียบกับมติประวัติศาสตร์อื่น ๆ มติของสีไม่ได้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในวิธีที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนประเมินประวัติศาสตร์ของตน[97]
เมื่อ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 สีเป็นประธานการประชุมสุดยอดพรรคคอมมิวนิสต์จีนและพรรคการเมืองโลก ซึ่งมีตัวแทนจากพรรคการเมืองมากกว่า 500 พรรคจาก 160 ประเทศเข้าร่วม[98] สีเรียกร้องให้ผู้เข้าร่วมประชุมคัดค้าน "การกีดกันเทคโนโลยี" และ "การตัดขาดการพัฒนา" เพื่อมุ่งสร้าง "ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติ"[98]
อุดมการณ์
แก้อุดมการณ์อย่างเป็นทางการ
แก้อุดมการณ์หลักของพรรคมีการพัฒนาไปตามผู้นำจีนในแต่ละยุคสมัย เนื่องจากทั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนและกองทัพปลดปล่อยประชาชนต่างส่งเสริมสมาชิกตามลำดับอาวุโส จึงเป็นไปได้ที่จะแยกแยะผู้นำจีนออกเป็นรุ่นต่าง ๆ[99] ในวาทกรรมทางการ ผู้นำแต่ละรุ่นถูกระบุด้วยการขยายอุดมการณ์ของพรรคที่แตกต่างกัน นักประวัติศาสตร์ได้ศึกษาพัฒนาการของรัฐบาลจีนในแต่ละช่วงโดยแบ่งตาม "ผู้นำแต่ละรุ่น"[ต้องการอ้างอิง]
ลัทธิมากซ์–เลนินเป็นอุดมการณ์อย่างเป็นทางการแรกของพรรคคอมมิวนิสต์จีน[100] ตามที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนกล่าว "ลัทธิมากซ์–เลนินเปิดเผยกฎสากลที่ควบคุมการพัฒนาประวัติศาสตร์ของสังคมมนุษย์"[100] สำหรับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ลัทธิมากซ์–เลนินให้ "วิสัยทัศน์เกี่ยวกับความขัดแย้งในสังคมทุนนิยมและความเลี่ยงไม่ได้ของสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ในอนาคต"[100] ตามรายงานของเหรินหมินรื่อเป้า ความคิดของเหมา เจ๋อตง "คือลัทธิมากซ์–เลนินที่ถูกนำมาประยุกต์และพัฒนาในประเทศจีน"[100] ความคิดของเหมา เจ๋อตงไม่ได้ถูกสร้างขึ้นโดยเหมาเพียงคนเดียว แต่ถูกสร้างขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ชั้นนำของพรรคด้วย ตามรายงานของสำนักข่าวซินหัว[101]
ทฤษฎีของเติ้ง เสี่ยวผิงถูกบรรจุลงในธรรมนูญของพรรคในการประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 14 ใน ค.ศ. 1992[77] แนวคิดเรื่อง "สังคมนิยมอัตลักษณ์จีน" และ "ขั้นต้นของสังคมนิยม" ได้รับการยกย่องให้เป็นทฤษฎี[77] ทฤษฎีของเติ้ง เสี่ยวผิงสามารถนิยามได้ว่าเป็นความเชื่อที่ว่าสังคมนิยมของรัฐและการวางแผนของรัฐไม่ใช่คอมมิวนิสต์โดยนิยาม และกลไกตลาดเป็นกลางทางชนชั้น[102] นอกจากนี้ พรรคต้องตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีพลวัต เพื่อที่จะรู้ว่านโยบายบางอย่างล้าสมัยหรือไม่ พรรคต้อง "แสวงหาความจริงจากข้อเท็จจริง" และปฏิบัติตามคำขวัญ "การปฏิบัติเป็นเกณฑ์เดียวสำหรับความจริง"[103] ในการประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 14 เจียงย้ำคำขวัญของเติ้งว่าไม่จำเป็นต้องถามว่าสิ่งใดเป็นสังคมนิยมหรือทุนนิยม ปัจจัยสำคัญคือมันใช้ได้ผลหรือไม่[104]
"สามตัวแทน" ผลงานของเจียง เจ๋อหมินต่ออุดมการณ์ของพรรค ได้รับการรับรองโดยพรรคในการประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 16 สามตัวแทนกำหนดบทบาทของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และเน้นย้ำว่าพรรคจะต้องเป็นตัวแทนของความต้องการในการพัฒนาพลังการผลิตขั้นสูงของจีน ทิศทางของวัฒนธรรมขั้นสูงของจีน และผลประโยชน์พื้นฐานของประชาชนชาวจีนส่วนใหญ่[105][106] บางส่วนภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีนวิจารณ์สามตัวแทนว่าไม่เป็นไปตามหลักมาร์กซิสต์และเป็นการทรยศต่อค่านิยมพื้นฐานของลัทธิมากซ์ ผู้สนับสนุนมองว่าเป็นการพัฒนาเพิ่มเติมของลัทธิสังคมนิยมอัตลักษณ์จีน[107] เจียงไม่เห็นด้วยและสรุปว่าการบรรลุวิถีการผลิตแบบคอมมิวนิสต์ตามที่คอมมิวนิสต์รุ่นก่อน ๆ กำหนดไว้มีความซับซ้อนกว่าที่เคยตระหนัก และการพยายามบังคับให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีการผลิตนั้นไร้ประโยชน์ เพราะมันต้องพัฒนาไปตามธรรมชาติ โดยปฏิบัติตาม "กฎเศรษฐกิจของประวัติศาสตร์"[108] ทฤษฎีนี้โดดเด่นที่สุดในการอนุญาตให้กลุ่มทุนนิยม ซึ่งเรียกอย่างเป็นทางการว่า "ชนชั้นทางสังคมใหม่" เข้าร่วมพรรค โดยให้เหตุผลว่าพวกเขามีส่วนร่วมใน "แรงงานและการงานอันสุจริต" และด้วยแรงงานของพวกเขา พวกเขาจึงมีส่วนสนับสนุน "ในการสร้างสังคมนิยมอัตลักษณ์จีน"[109]
ใน ค.ศ. 2003 การประชุมเต็มคณะครั้งที่ 3 ของคณะกรรมาธิการกลางชุดที่ 16 มีแนวคิดและกำหนดอุดมการณ์ของทัศนะการพัฒนาวิทยาศาสตร์ (SOD)[110] ถือเป็นผลงานของหู จิ่นเทาต่อวาทกรรมทางอุดมการณ์อย่างเป็นทางการ[111] ทัศนะประกอบด้วยสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ การพัฒนาอย่างยั่งยืน สวัสดิการสังคม, สังคมที่มีมนุษยธรรม, ประชาธิปไตยที่เพิ่มขึ้น และสุดท้ายคือการสร้างสังคมนิยมแบบกลมกลืน ตามแถลงการณ์อย่างเป็นทางการของพรรคคอมมิวนิสต์จีน แนวคิดนี้ผนวก "ลัทธิมากซ์เข้ากับความเป็นจริงของจีนร่วมสมัยและลักษณะพื้นฐานของยุคสมัยของเรา และสะท้อนให้เห็นถึงโลกทัศน์และวิธีการพัฒนาแบบมาร์กซิสต์อย่างเต็มที่"[112]
ความคิดของสี จิ้นผิงว่าด้วยสังคมนิยมกับอัตลักษณ์จีนสำหรับสมัยใหม่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ความคิดของสีจิ้นผิง ได้รับการบรรจุลงในธรรมนูญของพรรคในการประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 19 เมื่อ ค.ศ. 2017[87] องค์ประกอบหลักของทฤษฎีนี้สรุปได้ใน 10 ข้อประกาศยืนยัน 14 ข้อผูกพัน และ 13 ด้านของความสำเร็จ[113]
พรรคยังผสมผสานองค์ประกอบของทั้งความรักชาติแบบสังคมนิยม[114][115][116][117] และชาตินิยมจีน[118]
เศรษฐกิจ
แก้เติ้งไม่เชื่อว่าความแตกต่างพื้นฐานระหว่างวิถีการผลิตแบบทุนนิยมและวิถีการผลิตแบบสังคมนิยมอยู่ที่การวางแผนจากส่วนกลางเทียบกับตลาดเสรี เขากล่าวว่า "เศรษฐกิจแบบวางแผนไม่ใช่คำจำกัดความของสังคมนิยม เพราะมีการวางแผนภายใต้ระบบทุนนิยม เศรษฐกิจตลาดก็เกิดขึ้นภายใต้สังคมนิยมเช่นกัน การวางแผนและกลไกตลาดเป็นเพียงวิธีการควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ"[72] เจียง เจ๋อหมินสนับสนุนแนวคิดของเติ้ง และกล่าวในที่ประชุมพรรคว่ากลไกบางอย่างจะเป็นทุนนิยมหรือสังคมนิยมนั้นไม่สำคัญ สิ่งสำคัญมีเพียงว่ามันใช้ได้ผลหรือไม่[76] ในการประชุมครั้งนี้เองที่เจียงนำเสนอคำว่าเศรษฐกิจตลาดสังคมนิยม ซึ่งเข้ามาแทนที่ "เศรษฐกิจตลาดสังคมนิยมแบบวางแผน" ของเฉิน ยฺหวิน[76] ในรายงานของเขาต่อการประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 14 เจียงกล่าวกับผู้แทนว่ารัฐสังคมนิยมจะ "ปล่อยให้กลไกตลาดมีบทบาทพื้นฐานในการจัดสรรทรัพยากร"[119] ในการประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 15 แนวทางของพรรคมีการเปลี่ยนแปลงเป็น "ให้กลไกตลาดมีบทบาทชัดเจนในการจัดสรรทรัพยากร" แนวทางนี้ยังคงดำเนินต่อไปจนถึงการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 3 ของคณะกรรมาธิการกลางชุดที่ 18[119] เมื่อมีการแก้ไขเป็น "ปล่อยให้กลไกตลาดมีบทบาทเด็ดขาดในการจัดสรรทรัพยากร"[119] แม้จะเป็นเช่นนี้ การประชุมเต็มคณะครั้งที่ 3 ของคณะกรรมาธิการกลางชุดที่ 18 ยังคงยึดมั่นในความเชื่อ "รักษาความเป็นใหญ่ของภาครัฐ และเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของรัฐวิสาหกิจ"[119]
— สี จิ้นผิง, เกี่ยวกับความหลีกเลี่ยงไม่ได้ของสังคมนิยม[120]
พรรคคอมมิวนิสต์จีนมองว่าโลกถูกจัดระเบียบออกเป็นสองค่ายที่ขัดแย้งกัน ได้แก่ ค่ายสังคมนิยมและค่ายทุนนิยม[121] พวกเขายืนกรานว่าสังคมนิยมบนพื้นฐานของวัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์จะมีชัยเหนือทุนนิยมในที่สุด[121] ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เมื่อพรรคถูกถามให้อธิบายปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์แบบทุนนิยม พรรคได้หวนกลับไปสู่งานเขียนของคาร์ล มาคส์[121] แม้จะยอมรับว่าโลกาภิวัตน์พัฒนาผ่านระบบทุนนิยม แต่ผู้นำและนักทฤษฎีของพรรคก็โต้แย้งว่าโลกาภิวัตน์ไม่ได้เป็นทุนนิยมโดยเนื้อแท้[122] เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นคือ หากโลกาภิวัตน์เป็นทุนนิยมอย่างแท้จริง มันจะกีดกันรูปแบบความทันสมัยแบบสังคมนิยมที่เป็นทางเลือก[122] ตามความเห็นของพรรค โลกาภิวัตน์ เช่นเดียวกับเศรษฐกิจแบบตลาด ไม่ได้มีลักษณะชนชั้นที่จำเพาะเจาะจง (ทั้งแบบสังคมนิยมหรือทุนนิยม)[122] การยืนกรานว่าโลกาภิวัตน์ไม่ได้มีลักษณะตายตัวนั้นมาจากการยืนกรานของเติ้งที่ว่าจีนสามารถพัฒนาสังคมนิยมให้ทันสมัยได้โดยการผสมผสานองค์ประกอบของทุนนิยม[122] ด้วยเหตุนี้ จึงมีความเชื่อมั่นอย่างมากภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีนว่าแม้ระบบทุนนิยมจะครอบงำโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน แต่โลกาภิวัตน์สามารถถูกเปลี่ยนให้เป็นเครื่องมือสนับสนุนสังคมนิยมได้[123]
การวิเคราะห์และวิจารณ์
แก้ขณะที่นักวิเคราะห์ต่างชาติโดยทั่วไปต่างเห็นพ้องกันว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนปฏิเสธลัทธิมากซ์–เลนินและความคิดของเหมา เจ๋อตง (หรืออย่างน้อยก็แนวคิดพื้นฐานในแนวคิดดั้งเดิม) แต่พรรคคอมมิวนิสต์จีนเองกลับไม่เห็นด้วย[124] นักวิจารณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนโต้แย้งว่าเจียง เจ๋อหมินยุติการยึดมั่นอย่างเป็นทางการของพรรคต่อลัทธิมากซ์–เลนินด้วยการนำเสนอทฤษฎีทางอุดมการณ์ที่เรียกว่า "สามตัวแทน"[125]
อย่างไรก็ตาม เหลิ่ง หรง นักทฤษฎีของพรรค ไม่เห็นด้วย โดยอ้างว่า "ประธานาธิบดีเจียงขจัดอุปสรรคทางอุดมการณ์ต่อความเป็นเจ้าของในรูปแบบต่าง ๆ ของพรรค... เขาไม่ได้ละทิ้งลัทธิมากซ์หรือสังคมนิยม เขาเสริมความแข็งแกร่งให้กับพรรคด้วยการให้ความเข้าใจสมัยใหม่เกี่ยวกับลัทธิมากซ์และสังคมนิยม ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงพูดถึง 'เศรษฐกิจตลาดสังคมนิยม' อัตลักษณ์จีน"[125] การบรรลุเป้าหมายของ "ลัทธิคอมมิวนิสต์" ที่แท้จริงยังคงถูกอธิบายว่าเป็น "เป้าหมายสูงสุด" ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนและประเทศจีน[126] ขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนอ้างว่าจีนอยู่ในขั้นต้นของสังคมนิยม นักทฤษฎีของพรรคกลับโต้แย้งว่าขั้นการพัฒนาในปัจจุบัน "แลดูคล้ายทุนนิยมมาก"[126] อีกทางหนึ่ง นักทฤษฎีพรรคบางคนโต้แย้งว่า "ทุนนิยมเป็นขั้นแรกหรือขั้นเริ่มต้นของลัทธิคอมมิวนิสต์"[126] บางคนปฏิเสธแนวคิดเรื่องขั้นต้นของสังคมนิยมโดยมองว่าเป็นความเย้ยหยันทางปัญญา[126] ตัวอย่างเช่น รอเบิร์ต ลอว์เรนซ์ คูน อดีตที่ปรึกษาต่างประเทศของรัฐบาลจีน กล่าวว่า: "ตอนแรกที่ผมได้ยินเหตุผลนี้ ผมคิดว่ามันออกจะตลกมากกว่าจะฉลาด เป็นภาพล้อเลียนอย่างแสบสันของนักโฆษณาชวนเชื่อจอมปลอมที่ถูกเปิดเผยโดยพวกปัญญาชนผู้เย้ยหยัน แต่ขอบเขตเวลา 100 ปีนั้นมาจากนักทฤษฎีการเมืองที่จริงจัง"[126]
เดวิด แชมบอห์ นักรัฐศาสตร์และนักวิชาการด้านจีนวิทยาชาวอเมริกัน โต้แย้งว่าก่อนการรณรงค์ "การปฏิบัติคือเกณฑ์เดียวสำหรับความจริง" ความสัมพันธ์ระหว่างอุดมการณ์กับการตัดสินใจทางการเมืองในจีนเป็นแบบนิรนัย กล่าวคือ การกำหนดนโยบายนั้นมาจากการนำความรู้ทางอุดมการณ์มาใช้[127] อย่างไรก็ตาม ภายใต้การนำของเติ้ง ความสัมพันธ์นี้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง แทนที่จะใช้อุดมการณ์นำการตัดสินใจ กลับกลายเป็นการใช้การตัดสินใจมาสนับสนุนอุดมการณ์แทน[127] ผู้กำหนดนโยบายของจีนอธิบายอุดมการณ์ของรัฐสหภาพโซเวียตว่า "แข็งทื่อ, ขาดจินตนาการ, ตายด้าน และตัดขาดจากความเป็นจริง" โดยเชื่อว่านี่เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้สหภาพโซเวียตล่มสลาย ดังนั้น แชมบอห์จึงโต้แย้งว่า ผู้กำหนดนโยบายของจีนเชื่อว่าอุดมการณ์ของพรรคต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อรักษาการปกครองของพรรค[127]
เคอร์รี บราวน์ นักจีนวิทยาชาวอังกฤษ โต้แย้งว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนไม่มีอุดมการณ์ และองค์กรของพรรคเป็นแบบปฏิบัตินิยม โดยสนใจเฉพาะสิ่งที่ได้ผลเท่านั้น[128] พรรคเองก็โต้แย้งต่อข้อกล่าวอ้างนี้ หู จิ่นเทากล่าวใน ค.ศ. 2012 ว่า "โลกตะวันตกกำลังคุกคามที่จะแบ่งแยกเรา" และ "วัฒนธรรมนานาชาติของตะวันตกนั้นแข็งแกร่ง ขณะที่เราอ่อนแอ... สนามรบทางอุดมการณ์และวัฒนธรรมคือเป้าหมายหลักของเรา"[128] ดังนั้น พรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงทุ่มเทความพยายามอย่างมากให้กับโรงเรียนของพรรคและการสร้างสรรค์สารทางอุดมการณ์ของตน[128]
วิธีการปกครอง
แก้ภาวะผู้นำร่วม
แก้ภาวะผู้นำร่วม แนวคิดที่ว่าการตัดสินใจต้องกระทำโดยฉันทามติ เป็นอุดมคติของพรรคคอมมิวนิสต์จีน[129] แนวคิดดังกล่าวมีต้นกำเนิดมาจากเลนินและพรรคบอลเชวิคของรัสเซีย[130] ในระดับของผู้นำพรรคส่วนกลาง สิ่งนี้หมายความว่า ตัวอย่างเช่น สมาชิกทุกคนของคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองมีสถานะเท่าเทียมกัน (สมาชิกแต่ละคนมีเพียงหนึ่งเสียง)[129] สมาชิกคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองมักเป็นตัวแทนของภาคส่วนต่าง ๆ ในช่วงการปกครองของเหมา เขาควบคุมกองทัพปลดปล่อยประชาชน คัง เชิง ควบคุมหน่วยความมั่นคง และโจว เอินไหล ควบคุมคณะมนตรีรัฐกิจและกระทรวงการต่างประเทศ[129] นี่ถือเป็นอำนาจที่ไม่เป็นทางการ[129] แม้ตามหลักการแล้วสมาชิกทุกคนจะเท่าเทียมกัน แต่ในความเป็นจริงกลับมีการจัดลำดับชั้นในองค์กร ซึ่งเป็นเรื่องที่ดูขัดแย้งกัน[129] โดยไม่เป็นทางการ ภาวะผู้นำร่วมจะถูกนำโดย "ผู้นำแกนหลัก" ซึ่งก็คือผู้นำสูงสุด บุคคลที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง และประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน[131] ก่อนที่เจียง เจ๋อหมินจะดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุด แกนกลางพรรคและผู้นำร่วมนั้นแยกกันไม่ออก[132] ในทางปฏิบัติแกนกลางไม่ได้รับผิดชอบต่อการเป็นภาวะผู้นำร่วม[132] อย่างไรก็ตาม ในสมัยของเจียง พรรคได้เริ่มเผยแพร่ระบบความรับผิดชอบ โดยกล่าวถึงระบบนี้ในคำประกาศอย่างเป็นทางการว่าเป็น "แกนหลักของภาวะผู้นำร่วม"[132] นักวิชาการสังเกตเห็นถึงความเสื่อมถอยของภาวะผู้นำร่วมภายใต้การนำของสี จิ้นผิง[133][134][135]
ประชาธิปไตยรวมศูนย์
แก้— เหมา เจ๋อตง, จากสุนทรพจน์ "โครงการทั่วไปของเรา"[136]
หลักการจัดองค์การของพรรคคอมมิวนิสต์จีนคือประชาธิปไตยรวมศูนย์ หลักการที่เกี่ยวข้องกับการเปิดกว้างสำหรับการอภิปรายนโยบายบนเงื่อนไขที่ว่าสมาชิกพรรคทุกคนจะต้องมีความเป็นเอกภาพในการสนับสนุนการตัดสินใจที่ตกลงกันไว้[137] มันตั้งอยู่บนหลักสองประการ ได้แก่ ประชาธิปไตย (ในวาทกรรมของทางการมีความหมายเหมือนกันกับ "ประชาธิปไตยสังคมนิยม" และ "ประชาธิปไตยภายในพรรค") และการรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง[136] นี่เป็นหลักการจัดองค์การของพรรคนับตั้งแต่การประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 5 ใน ค.ศ. 1927[136] ตามคำกล่าวในธรรมนูญพรรค "พรรคเป็นองค์การที่เป็นเอกภาพ จัดตั้งขึ้นภายใต้โครงการและธรรมนูญของพรรค และบนพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยรวมศูนย์"[136] ครั้งหนึ่งเหมาเคยกล่าวติดตลกว่าประชาธิปไตยรวมศูนย์เป็น "ทั้งประชาธิปไตยและอำนาจรวมศูนย์ โดยที่สองสิ่งที่ดูเหมือนจะตรงกันข้ามอย่างประชาธิปไตยและการรวมศูนย์นั้นรวมกันในรูปแบบที่ชัดเจน" เหมาอ้างว่าความเหนือกว่าของประชาธิปไตยรวมศูนย์อยู่ที่ความขัดแย้งภายในระหว่างประชาธิปไตยกับรวมศูนย์ และเสรีภาพกับวินัย[136] ปัจจุบันพรรคคอมมิวนิสต์จีนกำลังอ้างว่า "ประชาธิปไตยคือเส้นเลือดใหญ่ของพรรค เส้นเลือดใหญ่ของสังคมนิยม"[136] แต่เพื่อให้ประชาธิปไตยถูกนำไปใช้และทำงานได้อย่างเหมาะสม จึงจำเป็นต้องมีการรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง[136] พรรคคอมมิวนิสต์จีนเชื่อว่าประชาธิปไตยรูปแบบใดก็ตาม จำเป็นต้องมีระบบรวมศูนย์ เพราะหากปราศจากมันก็จะไม่มีระเบียบ[136]
ชวงกุย
แก้ชวงกุย เป็นกระบวนการทางวินัยภายในพรรคที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการสอบวินัยส่วนกลาง (CCDI) ซึ่งดำเนินการชวงกุยกับสมาชิกที่ถูกกล่าวหาว่า "ละเมิดวินัย" โดยทั่วไปหมายถึงการทุจริตทางการเมือง กระบวนการนี้ซึ่งแปลตรงตัวได้ว่า "กฎระเบียบสองเท่า" มีเป้าหมายเพื่อเค้นคำสารภาพจากสมาชิกที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎของพรรค ตามข้อมูลของมูลนิธิตุ้ยฮั่ว กลยุทธ์ต่าง ๆ เช่น การจี้บุหรี่ การทุบตี และการจมน้ำจำลอง เป็นส่วนหนึ่งของวิธีการที่ใช้ในการรีดเอาคำสารภาพ เทคนิคอื่น ๆ ที่มีการรายงาน ได้แก่ การทำให้เกิดอาการประสาทหลอน โดยมีผู้ที่เคยถูกใช้วิธีนี้รายงานว่า "สุดท้ายแล้วผมก็เหนื่อยล้ามาก ผมจึงยอมรับข้อกล่าวหาทั้งหมดที่มีต่อผม แม้ว่ามันจะเป็นเท็จก็ตาม"[138]
แนวร่วม
แก้พรรคคอมมิวนิสต์จีนใช้กลยุทธ์ทางการเมืองที่เรียกว่า "งานแนวร่วม" ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มและบุคคลสำคัญที่ได้รับอิทธิพลหรือถูกควบคุมโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน และถูกใช้เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ของพรรค[139][140] งานแนวร่วมถูกจัดการโดยหลัก ๆ แต่ไม่จำกัดเฉพาะกรมงานแนวร่วม[141] แนวร่วมในบริบทของจีนหมายถึงแนวร่วมทางการเมืองที่ประกอบด้วย 8 พรรคการเมืองที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย รวมถึงองค์กรประชาชนอื่น ๆ ซึ่งมีตัวแทนในนามในสภาประชาชนแห่งชาติ (NPC) และสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีน (CPPCC)[142] อย่างไรก็ตาม สภาปรึกษาการเมืองประชาชนจีนเป็นองค์กรที่ไม่มีอำนาจแท้จริง[143] แม้จะมีการปรึกษาหารือเกิดขึ้น แต่ก็อยู่ภายใต้การกำกับดูแลและสั่งการของพรรคคอมมิวนิสต์จีน[143] ภายใต้การนำของสี จิ้นผิง แนวร่วมและกลุ่มเป้าหมายที่มีอิทธิพลได้ขยายขนาดและขอบเขตออกไป[144][145]
โครงสร้าง
แก้องค์กรส่วนกลาง
แก้สภาแห่งชาติเป็นองค์กรสูงสุดของพรรค และนับตั้งแต่การประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 9 ใน ค.ศ. 1969 ได้มีการประชุมกันทุก 5 ปี (ก่อนหน้าการนั้นมีการประชุมกันแบบไม่สม่ำเสมอ) ตามธรรมนูญของพรรค การประชุมจะไม่ถูกเลื่อนออกไปยกเว้น "ภายใต้สถานการณ์พิเศษ"[146] ธรรมนูญของพรรคกำหนดให้สภาแห่งชาติมีความรับผิดชอบ 6 ประการ:[147]
- การเลือกคณะกรรมาธิการกลาง
- การเลือกคณะกรรมการสอบวินัยส่วนกลาง
- ตรวจสอบรายงานของคณะกรรมาธิการกลางชุดที่หมดวาระ
- การตรวจสอบรายงานของคณะกรรมการสอบวินัยส่วนกลางชุดที่หมดวาระ
- การอภิปรายและการตรานโยบายของพรรค และ
- การแก้ไขธรรมนูญของพรรค
ในทางปฏิบัติ ผู้แทนมักไม่ค่อยอภิปรายประเด็นต่าง ๆ อย่างละเอียดในการประชุมสภาแห่งชาติ การอภิปรายเนื้อหาสำคัญส่วนใหญ่เกิดขึ้นก่อนการประชุม ในช่วงเตรียมการ โดยกลุ่มผู้นำพรรคระดับสูง[147] ระหว่างการประชุมสภาแห่งชาติ คณะกรรมาธิการกลางเป็นสถาบันที่มีอำนาจตัดสินใจสูงสุด[148] คณะกรรมการสอบวินัยส่วนกลางมีหน้าที่รับผิดชอบการกำกับดูแลระบบต่อต้านการทุจริตและจริยธรรมภายในพรรค[149] ในระหว่างการประชุม คณะกรรมการสอบวินัยส่วนกลางจะอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมาธิการกลาง[149]
คณะกรรมาธิการกลาง สถาบันตัดสินใจสูงสุดของพรรคระหว่างการประชุมสภาแห่งชาติ มีหน้าที่เลือกองค์กรต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อดำเนินงานของตน[150] การประชุมเต็มคณะครั้งแรกของคณะกรรมาธิการกลางที่ได้รับการเลือกตั้งใหม่จะเลือกเลขาธิการใหญ่ของคณะกรรมาธิการกลาง ซึ่งเป็นผู้นำของพรรค, คณะกรรมการการทหารส่วนกลาง, กรมการเมือง และคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมือง ที่ประชุมเต็มคณะครั้งแรกยังรับรององค์ประกอบของสำนักเลขาธิการและความเป็นผู้นำของคณะกรรมการสอบวินัยส่วนกลางด้วย[150] ตามธรรมนูญพรรค เลขาธิการใหญ่จะต้องเป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมือง และมีหน้าที่รับผิดชอบการเรียกประชุมคณะกรรมาธิการสามัญฯ และกรมการเมือง ขณะเดียวกันก็ควบคุมดูแลการทำงานของสำนักเลขาธิการด้วย[151] เมื่อคณะกรรมาธิการกลางไม่ได้ประชุมใหญ่ กรมการเมืองจะเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจและดำเนินการแทน[152] คณะกรรมาธิการสามัญฯ เป็นสถาบันตัดสินใจสูงสุดของพรรคเมื่อกรมการเมือง คณะกรรมาธิการกลาง และสภาแห่งชาติไม่ได้ประชุม[153] จะมีการนัดประชุมกันอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง[154] มันถูกก่อตั้งขึ้นในการประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 8 ใน ค.ศ. 1958 เพื่อรับช่วงบทบาทการกำหนดนโยบายที่เดิมเป็นหน้าที่ของสำนักเลขาธิการ[155] สำนักเลขาธิการเป็นหน่วยงานปฏิบัติการสูงสุดของคณะกรรมาธิการกลาง และสามารถตัดสินใจภายในกรอบนโยบายที่กำหนดโดยกรมการเมืองได้ นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่กำกับดูแลการทำงานขององค์การที่รายงานตรงต่อคณะกรรมาธิการกลาง เช่น กรม คณะกรรมการ สิ่งพิมพ์ และอื่น ๆ[156] คณะกรรมการการทหารส่วนกลางเป็นสถาบันตัดสินใจสูงสุดในกิจการทางทหารภายในพรรค และควบคุมการปฏิบัติการของกองทัพปลดปล่อยประชาชน[157] เลขาธิการใหญ่ ตั้งแต่เจียง เจ๋อหมินเป็นต้นมา ยังดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลางด้วย[157] ต่างจากแนวคิดภาวะผู้นำร่วมขององค์กรพรรคอื่น ๆ ประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลางทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด โดยมีอำนาจเต็มในการแต่งตั้งหรือปลดนายทหารระดับสูงตามต้องการ[157]
การประชุมเต็มคณะครั้งแรกของคณะกรรมาธิการกลางยังเลือกหัวหน้าของกรม สำนัก กลุ่มผู้นำส่วนกลาง และสถาบันอื่น ๆ เพื่อดำเนินงานในช่วงวาระ ("วาระ" หมายถึงช่วงเวลาที่ผ่านไประหว่างการประชุมสภาแห่งชาติ โดยปกติคือห้าปี)[146] สำนักงานทั่วไปเป็น "ศูนย์กลางประสาท" ของพรรค มีหน้าที่รับผิดชอบงานบริหารประจำวัน รวมถึงการสื่อสาร พิธีการ และกำหนดวาระการประชุม[158] ปัจจุบันพรรคคอมมิวนิสต์จีนมี 6 หน่วยงานหลัก ได้แก่ กรมองค์การ มีหน้าที่ดูแลการแต่งตั้งข้าราชการระดับมณฑลและตรวจสอบคุณสมบัติข้าราชการเพื่อการแต่งตั้งในอนาคต[159] กรมประชาสัมพันธ์ (เดิมคือ "กรมโฆษณาชวนเชื่อ") มีหน้าที่ดูแลสื่อและกำหนดแนวทางของพรรคให้กับสื่อ[160][161] กรมงานแนวร่วม มีหน้าที่ดูแล 8 พรรคการเมืองขนาดเล็กของประเทศ องค์กรประชาชน และกลุ่มที่มีอิทธิพลทั้งภายในและนอกประเทศ[162] กรมต่างประเทศ ทำหน้าที่เป็น "กระทรวงการต่างประเทศ" ของพรรคในการติดต่อกับพรรคการเมืองอื่น กรมสังคมสงเคราะห์ มีหน้าที่จัดการงานที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มพลเมือง หอการค้า และกลุ่มอุตสาหกรรม และวิสาหกิจแบบผสมและที่ไม่ใช่ภาครัฐ[163] และคณะกรรมการการเมืองและกฎหมายส่วนกลาง มีหน้าที่ดูแลหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของประเทศ[164] คณะกรรมาธิการกลางยังมีการควบคุมโดยตรงต่อสำนักงานการวิจัยนโยบายกลาง ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบการวิจัยประเด็นที่ผู้นำพรรคให้ความสนใจเป็นพิเศษ[165] โรงเรียนส่วนกลางพรรค ซึ่งมีหน้าที่ให้การฝึกอบรมทางการเมืองและปลูกฝังอุดมการณ์คอมมิวนิสต์แก่แกนนำระดับสูงและแกนนำที่กำลังก้าวหน้า[166] สถาบันประวัติศาสตร์และวรรณกรรมพรรค สถาบันที่กำหนดลำดับความสำคัญสำหรับการวิจัยทางวิชาการในมหาวิทยาลัยของรัฐและโรงเรียนพรรคส่วนกลาง รวมถึงศึกษาและแปลผลงานของลัทธิมากซ์[167][168] เหรินหมินรื่อเป้า หนังสือพิมพ์ของพรรค อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงของคณะกรรมาธิการกลาง[169] และได้รับการตีพิมพ์ด้วยวัตถุประสงค์ "เพื่อเล่าเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับประเทศจีนและ (พรรค)" และเพื่อส่งเสริมผู้นำพรรค[170] ฉิวชื่อและสื่อศึกษา (Study Times) นิตยสารทางทฤษฎี จัดพิมพ์โดยโรงเรียนส่วนกลางพรรค[166] ไชน่ามีเดียกรุป ซึ่งดูแลสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CCTV), สถานีวิทยุแห่งชาติจีน (CNR) และไชนาเรดิโออินเตอร์เนชันแนล (CRI) อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงของกรมประชาสัมพันธ์[171] หน่วยงานต่าง ๆ ของ "กลุ่มผู้นำส่วนกลาง" เช่น สำนักงานกิจการฮ่องกงและมาเก๊า สำนักงานกิจการไต้หวัน และสำนักงานการคลังส่วนกลาง ก็รายงานต่อคณะกรรมาธิการกลางในการประชุมเต็มคณะด้วยเช่นกัน[172] นอกจากนี้ พรรคคอมมิวนิสต์จีนยังควบคุมกองทัพปลดปล่อยประชาชนแต่เพียงผู้เดียวผ่านคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง[173]
องค์กรระดับล่าง
แก้หลังยึดอำนาจทางการเมือง พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้นำระบบการสั่งการแบบพรรค-รัฐคู่ขนานไปใช้กับสถาบันของรัฐ องค์กรทางสังคม และหน่วยงานทางเศรษฐกิจทั้งหมด[174] คณะมนตรีรัฐกิจและศาลสูงสุดแต่ละแห่งมีกลุ่มพรรค (party group) ซึ่งก่อตั้งขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1949 คณะกรรมาธิการพรรคแทรกซึมอยู่ในหน่วยงานบริหารของรัฐทุกแห่ง รวมถึงสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนและองค์กรมวลชนในทุกระดับ[175] ตามที่รัช โดชิ นักวิชาการ กล่าวว่า "[พรรค] อยู่เหนือรัฐ ดำเนินงานขนานไปกับรัฐ และแทรกซึมอยู่ในทุกระดับของรัฐ"[175] โดยเลียนแบบระบบโนเมนคลาตูราของโซเวียต ฝ่ายองค์การของคณะกรรมาธิการพรรคในแต่ละระดับมีอำนาจสรรหา ฝึกอบรม ติดตาม ตรวจสอบ แต่งตั้ง และโยกย้ายเจ้าหน้าที่เหล่านี้[176]
พรรคมีคณะกรรมาธิการประจำอยู่ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับมณฑล เมือง อำเภอ ไปจนถึงชุมชน[177] คณะกรรมาธิการเหล่านี้เป็นตัวหลักในการกำหนดทิศทางนโยบายของแต่ละท้องที่ โดยการเลือกผู้นำท้องถิ่นและมอบหมายงานสำคัญ[5][178] เลขาธิการพรรคในแต่ละระดับมีอาวุโสกว่าผู้นำรัฐบาล โดยคณะกรรมาธิการสามัญประจำพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นแหล่งอำนาจหลัก[178] คณะกรรมาธิการพรรคในแต่ละระดับได้รับการคัดเลือกโดยผู้นำในระดับที่สูงกว่า โดยผู้นำระดับมณฑลได้รับการคัดเลือกโดยกรมองค์การกลาง และไม่สามารถถูกถอดถอนโดยเลขาธิการพรรคท้องถิ่น[178] โดยทั่วไปแล้ว คณะกรรมาธิการระดับชุมชนมักประกอบด้วยอาสาสมัครที่เป็นผู้สูงอายุ[179]: 118
คณะกรรมาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีอยู่ภายในบริษัทต่าง ๆ ทั้งเอกชนและรัฐวิสาหกิจ[180] ธุรกิจที่มีสมาชิกพรรคมากกว่าสามคนมีข้อกำหนดทางกฎหมายให้จัดตั้งคณะกรรมการหรือสาขา[181][182] ณ ค.ศ. 2021 บริษัทเอกชนในประเทศจีนมากกว่าครึ่งหนึ่งมีองค์กรดังกล่าว[183] สาขาเหล่านี้เป็นสถานที่สำหรับให้สมาชิกใหม่ได้เข้าสังคมและจัดกิจกรรมส่งเสริมขวัญกำลังใจสำหรับสมาชิกปัจจุบัน[184] พวกเขายังจัดหาช่องทางที่ช่วยให้บริษัทเอกชนติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลและเรียนรู้เกี่ยวกับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสาขาของพวกเขา[185] โดยเฉลี่ยแล้ว กำไรของบริษัทเอกชนที่มีสาขาของพรรคคอมมิวนิสต์จีนสูงกว่ากำไรของบริษัทเอกชนทั่วไปร้อยละ 12.6[186]
ในรัฐวิสาหกิจ สาขาเหล่านี้เป็นหน่วยงานกำกับดูแลที่ทำการตัดสินใจที่สำคัญและปลูกฝังอุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในหมู่พนักงาน[187] คณะกรรมาธิการพรรคหรือสาขาพรรคภายในบริษัทต่าง ๆ ยังมอบสวัสดิการหลากหลายให้แก่พนักงานด้วย[188] สิ่งเหล่านี้อาจรวมถึงโบนัส เงินกู้ปลอดดอกเบี้ย โครงการให้คำปรึกษา และบริการทางการแพทย์และบริการอื่น ๆ ฟรีสำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ[188] วิสาหกิจที่มีสาขาพรรคมักมอบสวัสดิการที่ครอบคลุมมากกว่าให้แก่พนักงานในด้านการเกษียณอายุ การดูแลทางการแพทย์ การว่างงาน การบาดเจ็บ และการคลอดบุตรและภาวะเจริญพันธุ์[189] พรรคคอมมิวนิสต์จีนกำลังเรียกร้องให้บริษัทเอกชนแก้ไขกฎบัตรของตนเพื่อรวมบทบาทของพรรคเข้าไปด้วยมากขึ้น[181]
งบประมาณ
แก้การให้ทุนสนับสนุนองค์กรทั้งหมดของพรรคคอมมิวนิสต์จีนส่วนใหญ่มาจากรายได้ทางการคลังของรัฐ ข้อมูลเกี่ยวกับสัดส่วนค่าใช้จ่ายขององค์กรพรรคคอมมิวนิสต์จีนทั้งหมดต่อรายได้ทางการคลังทั้งหมดของจีนนั้นไม่มีอยู่[ต้องการอ้างอิง]
สมาชิก
แก้พรรคคอมมิวนิสต์จีนมีสมาชิก 99.19 ล้านคน ณ สิ้น ค.ศ. 2023 เพิ่มขึ้นสุทธิ 1.1 ล้านคนจากปีก่อนหน้า[2][191] เป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากพรรคภารตียชนตาของอินเดีย[192]
การเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีน ผู้สมัครจะต้องผ่านกระบวนการอนุมัติ[193] ผู้ใหญ่สามารถยื่นใบสมัครเป็นสมาชิกได้ที่สาขาพรรคท้องถิ่นของตน[194] หลังจากนั้นจะมีกระบวนการคัดกรองเบื้องต้น คล้ายกับการตรวจสอบประวัติ[194] สมาชิกพรรคที่อยู่ในสาขาท้องถิ่นจะทำการตรวจสอบพฤติกรรมและทัศนคติทางการเมืองของผู้สมัครและอาจมีการสอบถามอย่างเป็นทางการไปยังสาขาพรรคที่อยู่ใกล้บ้านบิดามารดาของผู้สมัครเพื่อตรวจสอบความจงรักภักดีของครอบครัวต่อลัทธิคอมมิวนิสต์และพรรค[194] ใน ค.ศ. 2014 มีผู้สมัครเพียง 2 ล้านคนเท่านั้นที่ได้รับการอนุมัติ จากจำนวนผู้สมัครทั้งหมดราว 22 ล้านคน[195] สมาชิกที่ได้รับการอนุมัติจะใช้เวลาหนึ่งปีในฐานะสมาชิกทดลองงาน[190] โดยทั่วไปแล้ว สมาชิกที่อยู่ในช่วงทดลองงานจะได้รับการยอมรับเข้าเป็นสมาชิกพรรคอย่างเป็นทางการ[196] สมาชิกต้องจ่ายค่าบำรุงสมาชิกไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ใด และใน ค.ศ. 2019 คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ออกกฎที่กำหนดให้สมาชิกที่อยู่ต่างประเทศต้องติดต่อกับหน่วยพรรค (cells) ที่บ้านเกิดอย่างน้อยทุกหกเดือน[197]
ในอดีต พรรคคอมมิวนิสต์จีนให้ความสำคัญกับอุดมการณ์ของผู้สมัคร แต่ปัจจุบันเน้นคุณสมบัติทางเทคนิคและการศึกษามากกว่า[190] การเป็นสมาชิกทดลองงาน ผู้สมัครต้องกล่าวคำสาบานตนต่อหน้าธงของพรรค[190] องค์กรที่เกี่ยวข้องของพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีหน้าที่รับผิดชอบการสังเกตการณ์และให้การศึกษาแก่สมาชิกที่อยู่ระหว่างทดลองงาน[190] สมาชิกทดลองงานมีหน้าที่เช่นเดียวกับสมาชิกเต็มตัว เว้นแต่ว่าจะไม่สามารถลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งของพรรคหรือลงสมัครรับเลือกตั้งได้[190] หลายคนเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีนผ่านสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์[190] ภายใต้เจียง เจ๋อหมิน ผู้ประกอบการเอกชนได้รับอนุญาตให้เป็นสมาชิกพรรค[190]
ข้อมูลประชากรสมาชิก
แก้ณ เดือนธันวาคม ค.ศ. 2023 สมาชิกที่ระบุตนเองว่าเป็นเกษตรกร ผู้เลี้ยงสัตว์ และชาวประมงมีจำนวน 26 ล้านคน และสมาชิกที่ระบุตนเองว่าเป็นกรรมกรมีจำนวน 6.6 ล้านคน[195][2] กลุ่ม "บุคลากรบริหาร มืออาชีพ และเทคนิคในองค์กรและสถาบันของรัฐ" มีจำนวน 16.2 ล้านคน โดย 11.5 ล้านคนระบุว่าทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหาร และ 7.6 ล้านคนระบุว่าตนเองเป็นแกนนำพรรค[198] พรรคคอมมิวนิสต์จีนทำการสรรหาสมาชิกจากกลุ่มพนักงานสำนักงาน (white-collar workers) อย่างเป็นระบบมากกว่ากลุ่มทางสังคมอื่น ๆ[199] ภายใน ค.ศ. 2023 สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีแนวโน้มที่จะมีการศึกษาที่สูงขึ้น มีอายุน้อยลง และมีสัดส่วนของพนักงานใช้แรงงาน (blue-collar workers) น้อยลงกว่าในอดีต โดยมีสมาชิกพรรคร้อยละ 56.2 ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า[191] ณ ค.ศ. 2022 ผู้ประกอบการชาวจีนประมาณร้อยละ 30 ถึง 35 เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรค[200] ณ สิ้น ค.ศ. 2023 พรรคคอมมิวนิสต์จีนระบุว่ามีสมาชิกที่เป็นชนกลุ่มน้อยประมาณ 7.59 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 7.7 ของสมาชิกพรรคทั้งหมด[2]
สถานภาพสตรี
แก้ณ ค.ศ. 2023 มีสตรีที่เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนจำนวน 30.19 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 30.4 ของสมาชิกพรรคทั้งหมด[2] ผู้หญิงในประเทศจีนมีอัตราการมีส่วนร่วมในฐานะผู้นำทางการเมืองต่ำ ความเสียเปรียบของผู้หญิงเห็นได้ชัดเจนที่สุดจากการที่พวกเธอมีจำนวนน้อยอย่างมากในตำแหน่งทางการเมืองที่มีอำนาจมาก[201] ในระดับสูงสุดของการตัดสินใจ ไม่เคยมีผู้หญิงคนใดอยู่ในคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมือง ขณะที่กรมการเมืองในวงกว้างปัจจุบันไม่มีสมาชิกหญิงเลย มีรัฐมนตรีหญิงเพียง 3 คนจากรัฐมนตรีทั้งหมด 27 คน และที่สำคัญคือ นับตั้งแต่ ค.ศ. 1997 ประเทศจีนได้ตกลงมาอยู่ที่อันดับ 53 จากอันดับที่ 16 ของโลกในแง่ของการมีผู้แทนหญิงในสภาประชาชนแห่งชาติ ตามข้อมูลของสหภาพรัฐสภา[202] ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน เช่น จ้าว จื่อหยาง คัดค้านอย่างแข็งขันต่อการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในกระบวนการทางการเมือง[203] ภายในพรรค ผู้หญิงต้องเผชิญกับเพดานกระจก[204]
สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
แก้การศึกษาของมหาวิทยาลัยบิงแฮมตันใน ค.ศ. 2019 พบว่าสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้รับค่าจ้างในตลาดมากกว่าผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกร้อยละ 20[205] การศึกษาเชิงวิชาการในภายหลังพบว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของการเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนนั้นแข็งแกร่งที่สุดในกลุ่มผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ[205] ครัวเรือนของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีแนวโน้มที่จะสะสมความมั่งคั่งได้เร็วกว่าครัวเรือนที่ไม่ใช่สมาชิกพรรค[206]
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนบางคนสามารถเข้าถึงระบบจัดหาอาหารพิเศษที่เรียกว่า เถอกง[207] แกนนำพรรคคอมมิวนิสต์จีนสามารถเข้าถึงระบบบริการสุขภาพเฉพาะที่บริหารโดยสำนักงานทั่วไปของพรรคคอมมิวนิสต์จีน[208]
สันนิบาตเยาวชน
แก้สันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์ (CYL) เป็นฝ่ายเยาวชนของพรรคคอมมิวนิสต์จีนและเป็นองค์กรมวลชนที่ใหญ่ที่สุดสำหรับเยาวชนในประเทศจีน[209] ในการเข้าร่วม ผู้สมัครต้องมีอายุระหว่าง 14 ถึง 28 ปี[209] มันควบคุมและกำกับดูแลผู้บุกเบิกรุ่นเยาว์ องค์กรเยาวชนสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี[209] โครงสร้างองค์กรของสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์เป็นสำเนาที่เหมือนกับของพรรคคอมมิวนิสต์จีนทุกประการ โดยองค์กรสูงสุดคือสภาแห่งชาติ ตามด้วยคณะกรรมาธิการกลาง กรมการเมือง และคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมือง[210] อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการกลาง (และองค์กรส่วนกลางทั้งหมด) ของสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์ทำงานภายใต้การชี้นำของผู้นำส่วนกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน[211] จากการประมาณการใน ค.ศ. 2021 จำนวนสมาชิกสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์มีมากกว่า 81 ล้านคน[212]
สัญลักษณ์
แก้ในช่วงเริ่มต้นของประวัติศาสตร์พรรคคอมมิวนิสต์จีน พรรคไม่ได้มีธงมาตรฐานอย่างเป็นทางการเพียงแบบเดียว แต่กลับอนุญาตให้คณะกรรมาธิการพรรคแต่ละแห่งคัดลอกธงของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต[213] กรมการเมืองกลางมีมติให้กำหนดธงทางการเพียงธงเดียวเมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1942 ว่า: "ธงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีอัตราส่วนความยาวต่อความกว้าง 3:2 มีรูปค้อนเคียวอยู่ที่มุมบนซ้าย และไม่มีดาวห้าแฉก กรมการเมืองมอบอำนาจให้สำนักงานทั่วไปจัดทำธงมาตรฐานจำนวนหนึ่งและแจกจ่ายไปยังหน่วยงานหลักทั้งหมด"[213]
ตามที่เหรินหมินรื่อเป้ารายงานไว้ว่า "สีแดงเป็นสัญลักษณ์ของการปฏิวัติ ค้อนและเคียวเป็นเครื่องมือของกรรมกรและชาวนา หมายความว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของมวลชนและประชาชน สีเหลืองหมายถึงความสว่าง"[213]
ความสัมพันธ์ระหว่างพรรค
แก้กรมต่างประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีหน้าที่รับผิดชอบการเจรจาพูดคุยกับพรรคการเมืองทั่วโลก[214]
พรรคคอมมิวนิสต์
แก้พรรคคอมมิวนิสต์จีนยังคงมีความสัมพันธ์กับพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคแรงงานที่ไม่ใช่พรรครัฐบาลและเข้าร่วมการประชุมคอมมิวนิสต์นานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคแรงงานนานาชาติ[215] พรรคคอมมิวนิสต์จีนยังคงติดต่อกับพรรคการเมืองหลัก ๆ เช่น พรรคคอมมิวนิสต์โปรตุเกส[216] พรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส[217] พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย[218] พรรคคอมมิวนิสต์โบฮีเมียและโมราเวีย[219] พรรคคอมมิวนิสต์บราซิล[220] พรรคคอมมิวนิสต์กรีซ[221] พรรคคอมมิวนิสต์เนปาล (ลัทธิมากซ์–เลนิน)[222] และพรรคคอมมิวนิสต์สเปน[223] พรรคยังคงมีความสัมพันธ์กับพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคแรงงานขนาดเล็ก เช่น พรรคคอมมิวนิสต์ออสเตรเลีย[224] พรรคแรงงานบังกลาเทศ พรรคคอมมิวนิสต์บังกลาเทศ (ลัทธิมากซ์-เลนิน) (บารัว) พรรคคอมมิวนิสต์ศรีลังกา พรรคแรงงานเบลเยียม พรรคแรงงานฮังการี พรรคแรงงานโดมินิกัน พรรคกรรมกรและชาวนาเนปาล และพรรคเพื่อการเปลี่ยนแปลงฮอนดูรัส[225] พรรคมีความสัมพันธ์[คลุมเครือ] ที่ไม่ค่อยดีกับพรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่น[226] พรรคคอมมิวนิสต์จีนสังเกตเห็นการถูกลดความสำคัญลงอย่างต่อเนื่องของพรรคคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันตก โดยเปรียบเทียบกับความสำเร็จของการปฏิรูปตนเองของขบวนการสังคมประชาธิปไตยยุโรปในคริสต์ทศวรรษ 1980 และ 1990[227]
พรรครัฐบาลประเทศสังคมนิยม
แก้พรรคคอมมิวนิสต์จีนยังคงรักษาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพรรครัฐบาลที่ปกครองรัฐสังคมนิยมที่ยังคงสนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์ เช่น คิวบา ลาว เกาหลีเหนือ และเวียดนาม[228] มันใช้เวลาค่อนข้างมากในการวิเคราะห์สถานการณ์ในรัฐสังคมนิยมที่ยังเหลืออยู่ โดยพยายามหาข้อสรุปว่าทำไมรัฐเหล่านี้จึงอยู่รอดได้ ขณะที่รัฐอื่น ๆ จำนวนมากไม่รอด หลังการล่มสลายของรัฐสังคมนิยมในยุโรปตะวันออกใน ค.ศ. 1989 และการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991[229] ทั่วไปแล้ว การวิเคราะห์สถานะของรัฐสังคมนิยมที่เหลืออยู่และโอกาสในการอยู่รอดของพวกเขานั้นเป็นไปในทางบวก และพรรคคอมมิวนิสต์จีนเชื่อว่าขบวนการสังคมนิยมจะได้รับการฟื้นฟูในอนาคต[229]
พรรครัฐบาลที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนสนใจมากที่สุดคือพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (CPV)[230] ทั่วไปแล้ว พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามถูกมองว่าเป็นแบบอย่างของการพัฒนาสังคมนิยมในสมัยหลังโซเวียต[230] นักวิเคราะห์ชาวจีนที่ศึกษาเวียดนามเชื่อว่า การนำนโยบายปฏิรูป "โด๋ยเม้ย" มาใช้ในการประชุมสภาแห่งชาติครั้งที่ 6 ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เวียดนามประสบความสำเร็จในปัจจุบัน[230]
ขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนน่าจะเป็นองค์กรที่มีการเข้าถึงเกาหลีเหนือมากที่สุด แต่การเขียนเกี่ยวกับเกาหลีเหนือก็ถูกจำกัดอย่างเข้มงวด[229] รายงานเกี่ยวกับแผนการปฏิรูปเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือเป็นรายงานเพียงไม่กี่ฉบับที่ประชาชนทั่วไปสามารถหาอ่านได้[229] นักวิเคราะห์ชาวจีนเกี่ยวกับเกาหลีเหนือมีแนวโน้มที่จะพูดถึงเกาหลีเหนือในเชิงบวกในที่สาธารณะ แต่ในการอภิปรายอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 2008 พวกเขาแสดงความดูถูกระบบเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือ ลัทธิบูชาบุคคลที่แพร่กระจายไปทั่วสังคม ตระกูลคิม แนวคิดการสืบทอดอำนาจทางสายเลือดในรัฐสังคมนิยม รัฐความมั่นคง การใช้ทรัพยากรที่หายากกับกองทัพประชาชนเกาหลี และความยากจนทั่วไปของประชาชนเกาหลีเหนือ[231] ประมาณ ค.ศ. 2008 มีนักวิเคราะห์บางกลุ่มที่เปรียบเทียบสถานการณ์ปัจจุบันของเกาหลีเหนือกับสถานการณ์ของจีนในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม[232][ต้องการการอัปเดต] ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พรรคคอมมิวนิสต์จีนพยายามโน้มน้าวพรรคแรงงานเกาหลี (WPK, พรรครัฐบาลของเกาหลีเหนือ) ให้เริ่มการปฏิรูปเศรษฐกิจโดยการแสดงโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญในประเทศจีนให้พวกเขาดู[232] ตัวอย่างเช่น ใน ค.ศ. 2006 พรรคคอมมิวนิสต์จีนเชิญคิม จ็องอิล เลขาธิการพรรคแรงงานเกาหลีในขณะนั้น ไปยังมณฑลกวางตุ้งเพื่อแสดงความสำเร็จของการปฏิรูปเศรษฐกิจที่นำมาสู่ประเทศจีน[232] ทั่วไปแล้ว พรรคคอมมิวนิสต์จีนมองว่าพรรคแรงงานเกาหลีและเกาหลีเหนือเป็นตัวอย่างเชิงลบของพรรคคอมมิวนิสต์รัฐบาลและรัฐสังคมนิยม[232]
ภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีความสนใจในคิวบาในระดับมากพอสมควร[230] ฟิเดล กัสโตร อดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์คิวบา (PCC) เป็นที่ชื่นชมอย่างมาก และมีการเขียนหนังสือเกี่ยวกับความสำเร็จของการปฏิวัติคิวบาเป็นจำนวนมาก[230] การสื่อสารระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนและพรรคคอมมิวนิสต์คิวบาได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990[233] ในการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 4 ของคณะกรรมาธิการกลางชุดที่ 16 ซึ่งหารือถึงความเป็นไปได้ที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนจะเรียนรู้จากพรรครัฐบาลอื่น ๆ นั้นมีการยกย่องพรรคคอมมิวนิสต์คิวบาอย่างมาก[233] เมื่ออู๋ กวนเจิ้ง สมาชิกกรมการเมืองกลางพบกับฟิเดล กัสโตรใน ค.ศ. 2007 เขามอบจดหมายส่วนตัวที่เขียนโดยหู จิ่นเทาให้ โดยมีใจความว่า "ข้อเท็จจริงแสดงให้เห็นว่าจีนและคิวบาเป็นเพื่อนที่ดีที่ไว้ใจได้ เป็นสหายที่ดี และเป็นพี่น้องที่ดีที่ปฏิบัติต่อกันด้วยความจริงใจ มิตรภาพของสองประเทศได้ผ่านการทดสอบของสถานการณ์ระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป และมิตรภาพนั้นได้รับการเสริมสร้างและกระชับให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น"[234]
พรรคการเมืองที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์
แก้นับตั้งแต่การเสื่อมถอยและการล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้หันมาสร้างความสัมพันธ์กับพรรคการเมืองที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์[162] ความสัมพันธ์เหล่านี้ถูกแสวงหาเพื่อให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนสามารถเรียนรู้จากพวกเขาได้[235] ตัวอย่างเช่น พรรคคอมมิวนิสต์จีนกระตือรือร้นที่จะทำความเข้าใจว่าพรรคกิจประชาชนของสิงคโปร์ (PAP) รักษาการครอบงำการเมืองสิงคโปร์ทั้งหมดได้อย่างไร ผ่าน "การแสดงตนแบบเงียบ ๆ แต่ควบคุมทั้งหมด"[236] ตามการวิเคราะห์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเกี่ยวกับสิงคโปร์ เหตุผลที่พรรคกิจประชาชนครองอำนาจได้นั้นมาจาก "เครือข่ายทางสังคมที่แข็งแกร่ง ซึ่งควบคุมพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการแทรกซึมลึกเข้าไปในสังคมผ่านหน่วยงานรัฐและกลุ่มที่พรรคควบคุม"[236] ขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนยอมรับว่าสิงคโปร์เป็นประชาธิปไตยเสรีนิยม แต่พวกเขามองว่าสิงคโปร์เป็นประชาธิปไตยแบบชี้นำโดยพรรคกิจประชาชน[236] ตามมุมมองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ความแตกต่างที่สำคัญอื่น ๆ คือ "พรรคดังกล่าวไม่ใช่พรรคการเมืองที่ตั้งอยู่บนชนชั้นแรงงาน แต่เป็นพรรคการเมืองของชนชั้นนำ... และยังเป็นพรรคการเมืองของระบบรัฐสภา ไม่ใช่พรรคปฏิวัติ"[237] พรรคอื่น ๆ ที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนศึกษาและรักษาความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างพรรคด้วย ได้แก่ องค์การสหภาพมลายูแห่งชาติ ซึ่งปกครองมาเลเซีย (ค.ศ. 1957–2018, ค.ศ. 2020–2022) และพรรคเสรีประชาธิปไตยในญี่ปุ่น ซึ่งครองอำนาจทางการเมืองญี่ปุ่นมาตั้งแต่ ค.ศ. 1955[238]
ตั้งแต่สมัยของเจียง เจ๋อหมิน พรรคคอมมิวนิสต์จีนแสดงท่าทีเป็นมิตรกับศัตรูในอดีตอย่างก๊กมินตั๋ง พรรคคอมมิวนิสต์จีนเน้นย้ำถึงความสัมพันธ์อันแข็งแกร่งระหว่างพรรคกับก๊กมินตั๋งเพื่อเสริมสร้างโอกาสในการรวมไต้หวันเข้ากับจีนแผ่นดินใหญ่[239] อย่างไรก็ตาม มีการเขียนงานวิจัยหลายชิ้นเกี่ยวกับการที่ก๊กมินตั๋งสูญเสียอำนาจใน ค.ศ. 2000 หลังปกครองไต้หวันมาตั้งแต่ ค.ศ. 1949 (ก๊กมินตั๋งปกครองจีนแผ่นดินใหญ่อย่างเป็นทางการตั้งแต่ ค.ศ. 1928 ถึง 1949)[239] ทั่วไปแล้ว พรรคคอมมิวนิสต์จีนให้ความสนใจเป็นพิเศษกับรัฐพรรคการเมืองเดียวหรือรัฐพรรคเด่นพรรคเดียวและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพรรคต่อพรรคเพื่อศึกษาประเทศเหล่านั้น[239] ความมีอายุยืนยาวของสาขาภูมิภาคซีเรียของพรรคสังคมนิยมอาหรับบะอษ์นั้นเป็นผลมาจากการใช้อำนาจส่วนบุคคลในตระกูลอัลอะซัด ระบบประธานาธิบดีที่เข้มแข็ง การสืบทอดอำนาจซึ่งส่งต่อจากฮาฟิซ อัลอะซัดไปยังบัชชาร อัลอะซัด บุตรชายของเขา และบทบาทที่มอบให้กับกองทัพซีเรียในทางการเมือง[240]
ราว ค.ศ. 2008 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้แสดงความสนใจเป็นพิเศษในลาตินอเมริกา[240] เห็นได้จากการที่จีนส่งผู้แทนไปลาตินอเมริกาและรับผู้แทนจากประเทศเหล่านั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ[240] สิ่งที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนให้ความสนใจเป็นพิเศษคือการปกครองที่ยาวนาน 71 ปีของพรรคปฏิวัติสถาบัน (PRI) ในเม็กซิโก[240] ขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนให้เหตุผลว่าการครองอำนาจอันยาวนานของพรรคปฏิวัติสถาบันเป็นเพราะระบบประธานาธิบดีที่แข็งแกร่ง สอดคล้องกับวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ของประเทศ ท่าทีชาตินิยม การเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับประชากรในชนบท และการดำเนินการนโยบายโอนมาเป็นของรัฐควบคู่ไปกับการตลาดนิยมทางเศรษฐกิจ[240] พรรคคอมมิวนิสต์จีนสรุปว่าพรรคปฏิวัติสถาบันล้มเหลวเนื่องจากการขาดประชาธิปไตยภายในพรรค การดำเนินนโยบายประชาธิปไตยสังคมนิยม โครงสร้างพรรคที่แข็งทื่อซึ่งไม่สามารถปฏิรูปได้ การทุจริตทางการเมือง แรงกดดันของโลกาภิวัตน์ และการแทรกแซงของสหรัฐในการเมืองเม็กซิโก[240] ขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนรับรู้ถึงกระแสสีชมพูในลาตินอเมริกาช้าไปบ้าง แต่ก็ได้เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพรรคต่อพรรคกับพรรคการเมืองสังคมนิยมและต่อต้านอเมริกาหลายพรรคในช่วงหลายปีที่ผ่านมา[241] พรรคคอมมิวนิสต์จีนแสดงความไม่พอใจบ้างเป็นครั้งคราวต่อวาทศิลป์ต่อต้านทุนนิยมและต่อต้านอเมริกาของอูโก ชาเบซ[241] ถึงกระนั้น พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้บรรลุข้อตกลงใน ค.ศ. 2013 กับสหพรรคสังคมนิยมเวเนซุเอลา (PSUV) ซึ่งก่อตั้งโดยชาเบซ เพื่อให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนให้การศึกษาแก่บุคลากรของสหพรรคสังคมนิยมเวเนซุเอลาในด้านการเมืองและสังคม[242] ภายใน ค.ศ. 2008 พรรคคอมมิวนิสต์จีนอ้างว่าได้สร้างความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง 99 พรรคใน 29 ประเทศแถบลาตินอเมริกา[241]
ขยวนการประชาธิปไตยสังคมนิยมยุโรปในได้รับความสนใจอย่างมากจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1980[241] ยกเว้นช่วงเวลาสั้น ๆ ที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนสร้างความสัมพันธ์แบบพรรคต่อพรรคกับพรรคฝ่ายขวาจัดในคริสต์ทศวรรษ 1970 ในความพยายามที่จะหยุดยั้ง "การขยายอำนาจของโซเวียต" ความสัมพันธ์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับประชาธิปไตยสังคมนิยมยุโรปถือเป็นความพยายามอย่างจริงจังครั้งแรกในการสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรกับพรรคต่อพรรคกับพรรคที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์[241] พรรคคอมมิวนิสต์จีนยกย่องพรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมยุโรปที่สร้างระบบ "ทุนนิยมที่มีหน้าตาเป็นมนุษย์"[241] ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1980 พรรคคอมมิวนิสต์จีนมีมุมมองเชิงลบและดูถูกอย่างมากต่อระบอบประชาธิปไตยสังคมนิยท มุมมองที่สืบทอดมาจากองค์การสากลที่สอง (Second International) และมุมมองแบบมากซ์–เลนินต่อขบวนการประชาธิปไตยสังคมนิยม[241] พอถึงคริสต์ทศวรรษ 1980 มุมมองนั้นได้เปลี่ยนไป และพรรคคอมมิวนิสต์จีนก็ตระหนักว่าสามารถเรียนรู้บางสิ่งบางอย่างจากขบวนการประชาธิปไตยสังคมนิยมได้[241] ผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีนถูกส่งไปทั่วยุโรปเพื่อสังเกตการณ์ [243] ภายในคริสต์ทศวรรษ 1980 พรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมส่วนใหญ่ในยุโรปเผชิญปัญหาคะแนนนิยมตกต่ำและอยู่ในช่วงของการปฏิรูปตนเอง[243] พรรคคอมมิวนิสต์จีนติดตามเรื่องนี้ด้วยความสนใจอย่างมาก โดยให้ความสำคัญมากที่สุดกับความพยายามปฏิรูปภายในพรรคแรงงานอังกฤษและพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมนี[243] พรรคคอมมิวนิสต์จีนสรุปว่าทั้งสองพรรคได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาอีกครั้งเนื่องจากพวกเขาทันสมัย โดยการแทนที่หลักการรัฐสังคมนิยมแบบดั้งเดิมด้วยหลักการใหม่ที่สนับสนุนการแปรรูป การละทิ้งความเชื่อในรัฐบาลขนาดใหญ่ การสร้างมุมมองใหม่ต่อรัฐสวัสดิการ การเปลี่ยนแปลงมุมมองเชิงลบต่อตลาด และการย้ายฐานสนับสนุนแบบดั้งเดิมจากสหภาพแรงงานไปสู่ผู้ประกอบการ คนหนุ่มสาว และนักศึกษา[244]
ประวัติการเลือกตั้ง
แก้การเลือกตั้งสภาประชาชนแห่งชาติ
แก้การเลือกตั้ง | เลขาธิการ | ที่นั่ง | +/– | อันดับ |
---|---|---|---|---|
1982–1983 | หู เย่าปัง | 1,861 / 2,978
|
1 | |
1987–1988 | จ้าว จื่อหยาง | 1,986 / 2,979
|
125 | 1 |
1993–1994 | เจียง เจ๋อหมิน | 2,037 / 2,979
|
51 | 1 |
1997–1998 | 2,130 / 2,979
|
93 | 1 | |
2002–2003 | หู จิ่นเทา | 2,178 / 2,985
|
48 | 1 |
2007–2008 | 2,099 / 2,987
|
79 | 1 | |
2012–2013 | สี จิ้นผิง | 2,157 / 2,987
|
58 | 1 |
2017–2018 | 2,119 / 2,980
|
38 | 1 | |
2022–2023 | 1 |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 楊立傑 (30 April 2013). "共产主义小组的建立与中国共产党的成立". Xinhua (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2013. สืบค้นเมื่อ 3 December 2021.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "中国共产党党内统计公报" [Communist Party of China Party Statistics Announcement] (ภาษาChinese). State Council of the People's Republic of China. 30 June 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2024. สืบค้นเมื่อ 30 June 2024.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ "Chinese Communist Party". Encyclopædia Britannica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2019. สืบค้นเมื่อ 13 August 2020.
- ↑ "Style Guide: PRC, China, CCP or Chinese?". Asia Media Centre – New Zealand. Asia New Zealand Foundation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-06-19.
Chinese Communist Party (CCP): May also refer to Communist Party of China (CPC) ... CPC is used officially in China and by China's media, whereas English-language media outside of Chinese conventionally use CCP.
- ↑ 5.0 5.1 McGregor, Richard (2010). The Party: The Secret World of China's Communist Rulers. New York: Harper Perennial. ISBN 978-0-06-170877-0. OCLC 630262666.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Hunt, Michael (2013). The World Transformed: 1945 to the Present. Oxford University Press. ISBN 978-0-312-24583-2.
- ↑ Van de Ven 1991, pp. 26–27.
- ↑ Hammond, Ken (2023). China's Revolution and the Quest for a Socialist Future. New York, NY: 1804 Books. ISBN 978-1-7368500-8-4.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Huang, Yibing (2020). Zheng, Qian (บ.ก.). An Ideological History of the Communist Party of China. Vol. 2. แปลโดย Sun, Li; Bryant, Shelly. Montreal, Quebec: Royal Collins Publishing Group. ISBN 978-1-4878-0391-9.
- ↑ Hao, Zhidong (March 1997). "May 4th and June 4th compared: A sociological study of Chinese social movements". Journal of Contemporary China (ภาษาอังกฤษ). 6 (14): 79–99. doi:10.1080/10670569708724266. ISSN 1067-0564.
- ↑ Šebok, Filip (2023). "Historical Legacy". ใน Kironska, Kristina; Turscanyi, Richard Q. (บ.ก.). Contemporary China: a New Superpower?. Routledge. pp. 15–28. doi:10.4324/9781003350064-3. ISBN 978-1-03-239508-1.
- ↑ Van de Ven 1991, p. 38.
- ↑ Van de Ven 1991, p. 44.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 Karl, Rebecca E. (2010). Mao Zedong and China in the Twentieth-Century World: a Concise History. Asia-pacific: Culture, Politics, and Society series. Durham, NC: Duke University Press. doi:10.2307/j.ctv11hpp6w. ISBN 978-0-8223-4780-4. JSTOR j.ctv11hpp6w.
- ↑ Hé, Lìbō. "Xiǎn wéi rénzhī de zhōnggòng yī dà cānjiāzhě: Éguórén Níkē'ěrsījī" 鲜为人知的中共一大参加者:俄国人尼科尔斯基. People's Daily 中国共产党新闻网 [News of the Communist Party of China] (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2007. สืบค้นเมื่อ 7 December 2020.
- ↑ Party History Research Office of the CPC Central Committee (1997). 共產國際、聯共(布)與中國革命檔案資料叢書. Beijing Library Press. pp. 39–51.
- ↑ Tatlow, Didi Kirsten (20 July 2011). "On Party Anniversary, China Rewrites History". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2022. สืบค้นเมื่อ 2 June 2021.
- ↑ "1st. National Congress of The Communist Party of China (CPC)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2017. สืบค้นเมื่อ 8 October 2015.
- ↑ "Three Chinese Leaders: Mao Zedong, Zhou Enlai, and Deng Xiaoping". Asia for Educators. Columbia University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 December 2013. สืบค้นเมื่อ 21 March 2022.
- ↑ 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 Gao 2009, p. 119.
- ↑ "News of the Soviets of People's Deputies". 9 October 1920.
- ↑ "News of the Soviets of People's Deputies". 16 November 1921.
- ↑ 中央檔案館 (1989). 中共中央文件選集1. 中共中央黨校出版社. pp. 187, 271–297.
- ↑ 中共中央、共青團中央和共產國際代表聯席會議記錄. December 1924.
- ↑ 共產國際有關中國資料選輯 Collection of the Communist International's Materials on China. Institute of Modern History, Chinese Academy of Social Sciences. 1981. p. 83.
- ↑ 26.0 26.1 26.2 Schram 1966, pp. 84, 89.
- ↑ 27.0 27.1 Chiang, Chung Cheng (1957). Soviet Russia in China: a Summing Up at Seventy. Farrar, Straus and Cudahy. OL 89083W.
- ↑ 奎松, 楊 (April 2010). 中間地帶的革命. Taiyuan: 山西人民出版社.
- ↑ Allen-Ebrahimian, Bethany. "The Chinese Communist Party Is Still Afraid of Sun Yat-Sen's Shadow". Foreign Policy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2021. สืบค้นเมื่อ 1 March 2021.
- ↑ "Tug of war over China's founding father Sun Yat-sen as Communist Party celebrates his legacy". South China Morning Post. 10 November 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 March 2021. สืบค้นเมื่อ 1 March 2021.
- ↑ Dirlik 2005, p. 20.
- ↑ Godley, Michael R. (1987). "Socialism with Chinese Characteristics: Sun Yatsen and the International Development of China". The Australian Journal of Chinese Affairs (18): 109–125. doi:10.2307/2158585. JSTOR 2158585. S2CID 155947428.
- ↑ 獨秀, Du Xiu (3 April 1926). "中國革命勢力統一政策與廣州事變". 嚮導.
- ↑ 中央檔案館 (1989). 中共中央文件選集2. 中共中央黨校出版社. pp. 311–318.
- ↑ 奎松, 楊 (2002). "蔣介石從三二零到四一二的心路歷程". 史學月刊. 6.
- ↑ 上海市檔案館 (1983). 上海工人三次武裝起義. Shanghai People's Press.
- ↑ 37.0 37.1 Feigon 2002, p. 42.
- ↑ 38.0 38.1 38.2 38.3 Carter 1976, p. 62.
- ↑ Ryan, Tom (2016). Purnell, Ingrid; Plozza, Shivaun (บ.ก.). China Rising: The Revolutionary Experience. Collingwood: History Teachers' Association of Victoria. p. 77. ISBN 978-1-875585-08-3.
- ↑ Schram 1966, p. 106.
- ↑ Carter 1976, pp. 61–62.
- ↑ Schram 1966, p. 112.
- ↑ Schram 1966, pp. 106–109.
- ↑ Schram 1966, pp. 112–113.
- ↑ 45.0 45.1 Carter 1976, p. 63.
- ↑ 46.0 46.1 Carter 1976, p. 64.
- ↑ Schram 1966, pp. 122–125.
- ↑ Feigon 2002, pp. 46–47.
- ↑ 49.0 49.1 49.2 49.3 49.4 49.5 49.6 49.7 49.8 Leung 1992, p. 72.
- ↑ Duan, Lei (2024). "Towards a More Joint Strategy: Assessing Chinese Military Reforms and Militia Reconstruction". ใน Fang, Qiang; Li, Xiaobing (บ.ก.). China under Xi Jinping: A New Assessment. Leiden University Press. ISBN 978-90-8728-441-1.
- ↑ Leung 1992, p. 370.
- ↑ 52.0 52.1 Leung 1992, p. 354.
- ↑ 53.0 53.1 53.2 53.3 53.4 Leung 1992, p. 355.
- ↑ 54.0 54.1 54.2 54.3 54.4 54.5 54.6 54.7 Leung 1992, p. 95.
- ↑ 55.0 55.1 55.2 55.3 Leung 1992, p. 96.
- ↑ 56.0 56.1 56.2 56.3 Leung 1996, p. 96.
- ↑ 57.0 57.1 57.2 57.3 57.4 57.5 Miller, Alice. "The 19th Central Committee Politburo" (PDF). China Leadership Monitor, No. 55. Hoover Institution. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2021. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.
- ↑ 哲, 師 (1991). 在歷史巨人身邊——師哲回憶錄. Beijing: 中央文獻出版社. p. 531.
- ↑ 子陵, 辛 (2009). 紅太陽的隕落:千秋功罪毛澤東. Hong Kong: 書作坊. p. 88.
- ↑ 理羣, 錢 (2012). 毛澤東和後毛澤東時代. Taipei: 聯經. p. 64.
- ↑ King, Gilbert. "The Silence that Preceded China's Great Leap into Famine". Smithsonian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2019. สืบค้นเมื่อ 28 November 2019.
- ↑ Du, Guang (2007). ""反右"运动与民主革命——纪念"反右"运动五十周年". Modern China Studies (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2021. สืบค้นเมื่อ 18 July 2020.
- ↑ Gráda, Cormac Ó (2007). "Making Famine History" (PDF). Journal of Economic Literature. 45 (1): 5–38. doi:10.1257/jel.45.1.5. hdl:10197/492. ISSN 0022-0515. JSTOR 27646746. S2CID 54763671. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2021. สืบค้นเมื่อ 21 April 2021.
- ↑ Meng, Xin; Qian, Nancy; Yared, Pierre (2015). "The Institutional Causes of China's Great Famine, 1959–1961" (PDF). The Review of Economic Studies. 82 (4): 1568–1611. CiteSeerX 10.1.1.321.1333. doi:10.1093/restud/rdv016. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2020. สืบค้นเมื่อ 22 April 2020.
- ↑ Smil, Vaclav (18 December 1999). "China's great famine: 40 years later". The BMJ. 319 (7225): 1619–1621. doi:10.1136/bmj.319.7225.1619. ISSN 0959-8138. PMC 1127087. PMID 10600969.
- ↑ Mirsky, Jonathan (7 December 2012). "Unnatural Disaster". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2017. สืบค้นเมื่อ 22 April 2020.
- ↑ Dikötter, Frank. "Mao's Great Famine: Ways of Living, Ways of Dying" (PDF). Dartmouth College. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 July 2020.
- ↑ Kornberg & Faust 2005, p. 103.
- ↑ Wong 2005, p. 131.
- ↑ 70.0 70.1 Wong 2005, p. 47.
- ↑ Sullivan 2012, p. 254.
- ↑ 72.0 72.1 Deng Xiaoping (30 June 1984). "Building a Socialism with a specifically Chinese character". People's Daily. Central Committee of the Chinese Communist Party. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2013. สืบค้นเมื่อ 13 January 2013.
- ↑ "An article influences Chinese history". China Internet Information Center. 19 January 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 March 2008. สืบค้นเมื่อ 9 August 2021.
- ↑ Doyon, Jérôme; Froissart, Chloé (2024). "Introduction". ใน Doyon, Jérôme; Froissart, Chloé (บ.ก.). The Chinese Communist Party: a 100-Year Trajectory. Canberra: ANU Press. ISBN 978-1-76046-624-4.
- ↑ Sullivan 2012, p. 25.
- ↑ 76.0 76.1 76.2 Vogel 2011, p. 682.
- ↑ 77.0 77.1 77.2 Vogel 2011, p. 684.
- ↑ Sullivan 2012, p. 100.
- ↑ 79.0 79.1 Sullivan 2012, p. 238.
- ↑ 80.0 80.1 Sullivan 2012, p. 317.
- ↑ Sullivan 2012, p. 329.
- ↑ "Hu Jintao, Xi Jinping meet delegates to 18th CCP National Congress". Xinhua News Agency. 16 November 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2015. สืบค้นเมื่อ 4 January 2014.
- ↑ O'Keeffe, Kate; Ferek, Katy Stech (14 November 2019). "Stop Calling China's Xi Jinping 'President,' U.S. Panel Says". The Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0099-9660. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2019. สืบค้นเมื่อ 8 July 2023.
- ↑ "The Rise and Rise of Xi Jinping: Xi who must be obeyed". The Economist. 20 September 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2017. สืบค้นเมื่อ 26 October 2017.
- ↑ "Xi Jinping's Anti-Corruption Campaign: The Hidden Motives of a Modern-Day Mao". Foreign Policy Research Institute (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2020. สืบค้นเมื่อ 17 July 2020.
- ↑ Mitchell, Tom (25 July 2016). "Xi's China: The rise of party politics". Financial Times (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2020. สืบค้นเมื่อ 16 January 2020.
- ↑ 87.0 87.1 Phillips, Tom (24 October 2017). "Xi Jinping becomes most powerful leader since Mao with China's change to constitution". The Guardian. ISSN 0261-3077. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2017. สืบค้นเมื่อ 24 October 2017.
- ↑ "The 7 Men Who Will Run China". The Diplomat (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2020. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.
- ↑ Kirby, Jen (28 July 2020). "Concentration camps and forced labor: China's repression of the Uighurs, explained". Vox (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 December 2020. สืบค้นเมื่อ 22 August 2022.
- ↑ "'Cultural genocide': China separating thousands of Muslim children from parents for 'thought education'". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 5 July 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2021. สืบค้นเมื่อ 22 August 2022.
- ↑ Delmi, Boudjemaa (12 July 2019). "Letter to the HRC" (PDF). Human Rights Watch. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2019.
- ↑ Qiblawi, Tamara (17 July 2019). "Muslim nations are defending China as it cracks down on Muslims, shattering any myths of Islamic solidarity". CNN (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2019. สืบค้นเมื่อ 29 April 2022.
- ↑ Berlinger, Joshua (15 July 2019). "North Korea, Syria and Myanmar among countries defending China's actions in Xinjiang". CNN (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 April 2022. สืบค้นเมื่อ 29 April 2022.
- ↑ "Inside the plans for the CCP's 100th anniversary". The Week UK (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2021. สืบค้นเมื่อ 25 May 2021.
- ↑ "Chinese Communist party clears way for Xi to tighten grip on power". Financial Times. 11 November 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 December 2022. สืบค้นเมื่อ 11 August 2022.
- ↑ "China's Communist Party passes resolution amplifying President Xi's authority". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 12 November 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 August 2022. สืบค้นเมื่อ 11 August 2022.
- ↑ Wong, Chun Han; Zhai, Keith (17 November 2021). "How Xi Jinping Is Rewriting China's History to Put Himself at the Center". The Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0099-9660. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 August 2022. สืบค้นเมื่อ 11 August 2022.
- ↑ 98.0 98.1 Tian, Yew Lun (6 July 2021). "China's Xi takes dig at U.S. in speech to political parties around world". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2022. สืบค้นเมื่อ 27 June 2022.
- ↑ Whitson, William W. (1973). The Chinese High Command: A History of Communist Military Politics, 1927-71 (ภาษาอังกฤษ). Praeger. ISBN 978-0-333-15053-5.
- ↑ 100.0 100.1 100.2 100.3 "Ideological Foundation of the CPC". People's Daily. 30 October 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 December 2013. สืบค้นเมื่อ 26 December 2013.
- ↑ "Mao Zedong Thought". Xinhua News Agency. 26 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 26 December 2013.
- ↑ Vogel 2011, p. 668.
- ↑ Chan 2003, p. 180.
- ↑ Vogel 2011, p. 685.
- ↑ Selected Works of Jiang Zemin, Eng. ed., FLP, Beijing, 2013, Vol. III, p. 519.
- ↑ Chan 2003, p. 201.
- ↑ Kuhn 2011, pp. 108–109.
- ↑ Kuhn 2011, pp. 107–108.
- ↑ Kuhn 2011, p. 110.
- ↑ Izuhara 2013, p. 110.
- ↑ Guo & Guo 2008, p. 119.
- ↑ "Full text of Hu Jintao's report at 18th Party Congress". People's Daily. 19 November 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2013. สืบค้นเมื่อ 19 September 2014.
- ↑ "His own words: The 14 principles of 'Xi Jinping Thought'". BBC Monitoring. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2017. สืบค้นเมื่อ 28 October 2017.
- ↑ Zhao 2004, p. 28.
- ↑ Löfstedt 1980, p. 25.
- ↑ Li 1995, pp. 38–39.
- ↑ Ghai, Arup & Chanock 2000, p. 77.
- ↑ Zheng 2012, p. 119.
- ↑ 119.0 119.1 119.2 119.3 "Marketization the key to economic system reform". China Daily. Chinese Communist Party. 18 November 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 22 December 2013.
- ↑ Buckley, Chris (13 February 2014). "Xi Touts Communist Party as Defender of Confucius's Virtues". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2014. สืบค้นเมื่อ 13 February 2014.
- ↑ 121.0 121.1 121.2 Heazle & Knight 2007, p. 62.
- ↑ 122.0 122.1 122.2 122.3 Heazle & Knight 2007, p. 63.
- ↑ Heazle & Knight 2007, p. 64.
- ↑ Shambaugh 2008, p. 104.
- ↑ 125.0 125.1 Kuhn 2011, p. 99.
- ↑ 126.0 126.1 126.2 126.3 126.4 Kuhn 2011, p. 527.
- ↑ 127.0 127.1 127.2 Shambaugh 2008, p. 105.
- ↑ 128.0 128.1 128.2 Brown 2012, p. 52.
- ↑ 129.0 129.1 129.2 129.3 129.4 Unger 2002, p. 22.
- ↑ Baylis 1989, p. 102.
- ↑ Unger 2002, pp. 22–24.
- ↑ 132.0 132.1 132.2 Unger 2002, p. 158.
- ↑ Baranovitch, Nimrod (4 March 2021). "A Strong Leader for A Time of Crisis: Xi Jinping's Strongman Politics as A Collective Response to Regime Weakness". Journal of Contemporary China (ภาษาอังกฤษ). 30 (128): 249–265. doi:10.1080/10670564.2020.1790901. ISSN 1067-0564.
- ↑ Shirk, Susan L. (2018). "The Return to Personalistic Rule". Journal of Democracy (ภาษาอังกฤษ). 29 (2): 22–36. doi:10.1353/jod.2018.0022. ISSN 1086-3214. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2024. สืบค้นเมื่อ 21 April 2024.
- ↑ Lyman Miller, Alice (31 December 2020), Fingar, Thomas; Oi, Jean C. (บ.ก.), "1. Xi Jinping and the Evolution of Chinese Leadership Politics", Fateful Decisions, Stanford University Press, pp. 33–50, doi:10.1515/9781503612235-005, ISBN 978-1-5036-1223-5
- ↑ 136.0 136.1 136.2 136.3 136.4 136.5 136.6 136.7 Chuanzi, Wang (1 October 2013). "Democratic Centralism: The Core Mechanism in China's Political System". Qiushi. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2014. สืบค้นเมื่อ 5 January 2014.
- ↑ Biddulph, Sarah (5 July 2018), Fu, Hualing; Gillespie, John; Nicholson, Pip; Partlett, William Edmund (บ.ก.), "Democratic Centralism and Administration in China", Socialist Law in Socialist East Asia (1 ed.), Cambridge University Press, pp. 195–223, doi:10.1017/9781108347822.008, hdl:11343/254293, ISBN 978-1-108-34782-2
- ↑ Jacobs, Andrew (14 June 2012). "Accused Chinese Party Members Face Harsh Discipline". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2022. สืบค้นเมื่อ 17 July 2020.
- ↑ Brady, Anne-Marie (2017). "Magic Weapons: China's political influence activities under Xi Jinping" (PDF). Woodrow Wilson International Center for Scholars. S2CID 197812164. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2020.
- ↑ Tatlow, Didi Kirsten (12 July 2019). "The Chinese Influence Effort Hiding in Plain Sight". The Atlantic. ISSN 1072-7825. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2019. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
- ↑ Joske, Alex (9 June 2020). "The party speaks for you: Foreign interference and the Chinese Communist Party's united front system" (ภาษาอังกฤษ). Australian Strategic Policy Institute. JSTOR resrep25132. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2020. สืบค้นเมื่อ 9 June 2020.
- ↑ "The United Front in Communist China" (PDF). Central Intelligence Agency. May 1957. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 January 2017. สืบค้นเมื่อ 9 June 2020.
- ↑ 143.0 143.1 Mackerras, McMillen & Watson 2001, p. 70.
- ↑ Groot, Gerry (19 September 2016), Davies, Gloria; Goldkorn, Jeremy; Tomba, Luigi (บ.ก.), "The Expansion of the United Front Under Xi Jinping" (PDF), The China Story Yearbook 2015: Pollution, ANU Press, doi:10.22459/csy.09.2016.04a, ISBN 978-1-76046-068-6, เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2017, สืบค้นเมื่อ 31 August 2020
- ↑ Groot, Gerry (24 September 2019). "The CCP's Grand United Front abroad". Sinopsis (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2019. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
- ↑ 146.0 146.1 Mackerras, McMillen & Watson 2001, p. 228.
- ↑ 147.0 147.1 Mackerras, McMillen & Watson 2001, p. 229.
- ↑ Mackerras, McMillen & Watson 2001, p. 66.
- ↑ 149.0 149.1 Joseph 2010, p. 394.
- ↑ 150.0 150.1 Liu 2011, p. 41.
- ↑ "General Secretary of CPC Central Committee". China Radio International. 13 November 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 February 2016. สืบค้นเมื่อ 8 December 2013.
- ↑ Mackerras, McMillen & Watson 2001, p. 85.
- ↑ Miller 2011, p. 7.
- ↑ Joseph 2010, p. 169.
- ↑ Li 2009, p. 64.
- ↑ Fu 1993, p. 201.
- ↑ 157.0 157.1 157.2 Mackerras, McMillen & Watson 2001, p. 74.
- ↑ Sullivan 2012, p. 212.
- ↑ McGregor, Richard (30 September 2009). "The party organiser". Financial Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2022. สืบค้นเมื่อ 9 December 2013.
- ↑ McGregor 2012, p. 17.
- ↑ Guo 2012, p. 123.
- ↑ 162.0 162.1 Smith & West 2012, p. 127.
- ↑ Wang, Kelly (17 March 2023). "China's Institutional Shake-Up Produces New Department to Better Handle Public's Complaints". Caixin. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2023. สืบค้นเมื่อ 18 March 2023.
- ↑ Guo 2012b, pp. 99, 237.
- ↑ Finer 2003, p. 43.
- ↑ 166.0 166.1 Sullivan 2012, p. 49.
- ↑ Chambers 2002, p. 37.
- ↑ Yu 2010, p. viii.
- ↑ Latham 2007, p. 124.
- ↑ "Communist Party mouthpiece People's Daily launches English news app in soft power push". Hong Kong Free Press. 16 October 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2022. สืบค้นเมื่อ 16 October 2017.
- ↑ "Ownership and control of Chinese media". Safeguard Defenders (ภาษาอังกฤษ). 14 June 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 July 2021. สืบค้นเมื่อ 10 December 2022.
- ↑ Heath 2014, p. 141.
- ↑ "Annual Report to Congress – Military and Security Developments Involving the People's Republic of China 2019" (PDF). United States Department of Defense. p. 5. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2019. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
- ↑ Guo, Baogang (1 November 2020). "A Partocracy with Chinese Characteristics: Governance System Reform under Xi Jinping". Journal of Contemporary China (ภาษาอังกฤษ). 29 (126): 809–823. doi:10.1080/10670564.2020.1744374. ISSN 1067-0564. S2CID 216205948.
- ↑ 175.0 175.1 Doshi, Rush (30 September 2021). The Long Game: China's Grand Strategy to Displace American Order (ภาษาอังกฤษ) (1 ed.). Oxford University Press. p. 35. doi:10.1093/oso/9780197527917.001.0001. ISBN 978-0-19-752791-7. OCLC 1256820870.
- ↑ Pieke, Frank N. (2009). The Good Communist: Elite Training and State Building in Today's China. Cambridge: Cambridge University Press. doi:10.1017/cbo9780511691737. ISBN 978-0-511-69173-7.
- ↑ "China's Communist Party worries about its grassroots weakness". The Economist. 11 June 2020. ISSN 0013-0613. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2020. สืบค้นเมื่อ 14 June 2020.
- ↑ 178.0 178.1 178.2 Gao, Nan; Long, Cheryl Xiaoning; Xu, Lixin Colin (February 2016). "Collective Leadership, Career Concern, and the Housing Market in China: The Role of Standing Committees: Leadership, Careers and Housing Market". Review of Development Economics (ภาษาอังกฤษ). 20 (1): 1–13. doi:10.1111/rode.12202. S2CID 150576471.
- ↑ Jin, Keyu (2023). The New China Playbook: Beyond Socialism and Capitalism. New York: Viking. ISBN 978-1-9848-7828-1.
- ↑ Yan, Xiaojun; Huang, Jie (2017). "Navigating Unknown Waters: The Chinese Communist Party's New Presence in the Private Sector". China Review. 17 (2): 37–63. ISSN 1680-2012. JSTOR 44440170.
- ↑ 181.0 181.1 "China's Communist Party is tightening its grip in businesses". The Economist. 6 July 2023. ISSN 0013-0613. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2023. สืบค้นเมื่อ 9 July 2023.
- ↑ Marquis & Qiao 2022, p. 227.
- ↑ Marquis & Qiao 2022, p. 225.
- ↑ Marquis & Qiao 2022, p. 14.
- ↑ Marquis & Qiao 2022, p. 225–226.
- ↑ Marquis & Qiao 2022, p. 230.
- ↑ Marquis & Qiao 2022, p. 15.
- ↑ 188.0 188.1 Marquis & Qiao 2022, p. 228–229.
- ↑ Marquis & Qiao 2022, p. 229.
- ↑ 190.0 190.1 190.2 190.3 190.4 190.5 190.6 190.7 Sullivan 2012, p. 183.
- ↑ 191.0 191.1 Zhang, Phoebe (1 July 2024). "China's Communist Party on track for 100 million members by year's end". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2024. สืบค้นเมื่อ 1 July 2024.
- ↑ Balachandran, Manu; Dutta, Saptarishi (31 March 2015). "Here's How the BJP Surpassed China's Communists to Become the Largest Political Party in the World". Quartz. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2022. สืบค้นเมื่อ 28 October 2018.
- ↑ Marquis & Qiao 2022, p. 53–56.
- ↑ 194.0 194.1 194.2 Marquis & Qiao 2022, p. 53.
- ↑ 195.0 195.1 McMorrow, R. W. (19 December 2015). "Membership in the Communist Party of China: Who is Being Admitted and How?". JSTOR Daily (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 December 2015.
- ↑ Marquis & Qiao 2022, p. 55.
- ↑ Yu, Sun (July 3, 2024). "China demands loyalty from young expats in the US". Financial Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-07-03.
- ↑ "China's Communist Party membership tops entire population of Germany". South China Morning Post. SCMP Group. 30 June 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2015. สืบค้นเมื่อ 30 June 2015.
- ↑ Angiolillo, Fabio (22 December 2023). "Authoritarian Ruling Parties' Recruitment Dilemma: Evidence from China". Journal of East Asian Studies (ภาษาอังกฤษ): 1–25. doi:10.1017/jea.2023.20. ISSN 1598-2408.
- ↑ Marquis & Qiao 2022, p. 13.
- ↑ Bauer, John; Feng, Wang; Riley, Nancy E.; Xiaohua, Zhao (July 1992). "Gender inequality in urban China". Modern China. 18 (3): 333–370. doi:10.1177/009770049201800304. S2CID 144214400.
- ↑ Tatlow, Didi Kirsten (24 June 2010). "Women Struggle for a Foothold in Chinese Politics". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2022. สืบค้นเมื่อ 6 October 2021.
- ↑ Judd, Ellen R. (2002). The Chinese Women's Movement. Private Collection: Stanford University Press. p. 175. ISBN 0-8047-4406-8.
- ↑ Phillips, Tom (14 October 2017). "In China women 'hold up half the sky' but can't touch the political glass ceiling". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 December 2018. สืบค้นเมื่อ 17 February 2021.
- ↑ 205.0 205.1 "Does it pay to be a communist in China?". The Economist. 6 July 2023. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 8 July 2023.
- ↑ Targa, Matteo; Yang, Li (September 2024). "The impact of Communist Party membership on wealth distribution and accumulation in urban China". World Development (ภาษาอังกฤษ). 181: 106660. doi:10.1016/j.worlddev.2024.106660. hdl:10419/283577.
- ↑ Tsai, Wen-Hsuan (June 2016). "Delicacies for a Privileged Class in a Risk Society: The Chinese Communist Party's Special Supplies Food System". Issues & Studies (ภาษาอังกฤษ). 52 (2): 1650005. doi:10.1142/S1013251116500053. ISSN 1013-2511.
- ↑ Tsai, Wen-Hsuan (2018-11-02). "Medical Politics and the CCP's Healthcare System for State Leaders". Journal of Contemporary China (ภาษาอังกฤษ). 27 (114): 942–955. doi:10.1080/10670564.2018.1488107. ISSN 1067-0564.
- ↑ 209.0 209.1 209.2 Sullivan 2007, p. 582.
- ↑ Sullivan 2007, p. 583.
- ↑ "Constitution of the Communist Party of China". People's Daily. Chinese Communist Party. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2013. สืบค้นเมื่อ 2 January 2014.
- ↑ Tsimonis, Konstantinos (2021). The Chinese Communist Youth League: Juniority and Responsiveness in a Party Youth Organization. Amsterdam University Press. ISBN 978-90-485-4264-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2022. สืบค้นเมื่อ 15 August 2023.
- ↑ 213.0 213.1 213.2 "Flag and emblem of Communist Party of China". People's Daily. 29 March 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2015. สืบค้นเมื่อ 15 January 2014.
- ↑ Hackenesch, Christine; Bader, Julia (9 June 2020). "The Struggle for Minds and Influence: The Chinese Communist Party's Global Outreach". International Studies Quarterly (ภาษาอังกฤษ). 64 (3): 723–733. doi:10.1093/isq/sqaa028. hdl:11245.1/7324dee8-d4d7-4163-86c5-f0e467a5b65a. ISSN 0020-8833.
- ↑ "15 IMCWP, List of participants". International Meeting of Communist and Workers' Parties. Solidnet.org. 11 November 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2013. สืบค้นเมื่อ 4 January 2014.
- ↑ "Senior CPC official meets Portuguese Communist Party leader". People's Daily. 21 February 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2016. สืบค้นเมื่อ 4 January 2014.
- ↑ "Senior CPC official vows to develop friendly cooperation with French Communist Party". People's Daily. 8 November 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2012. สืบค้นเมื่อ 4 January 2014.
- ↑ "Senior CPC official meets Russian delegation". People's Daily. 24 August 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2014. สืบค้นเมื่อ 4 January 2014.
- ↑ "CPC to institutionalize talks with European parties". People's Daily. 19 May 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2011. สืบค้นเมื่อ 4 January 2014.
- ↑ "Senior CPC leader meets chairman of Communist Party of Brazil". People's Daily. 5 June 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2014. สืบค้นเมื่อ 4 January 2014.
- ↑ Vagenas, Elisseos (2010). "The International role of China". Communist Party of Greece. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 April 2016. สืบค้นเมื่อ 17 January 2022.
- ↑ "A Leadership Delegation of The Communist Party of Nepal (unified Marxist−Leninist)". China Executive Leadership Academy, Jinggangshan. 27 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2018. สืบค้นเมื่อ 4 January 2014.
- ↑ "CPC leader pledges exchanges with Communist Party of Spain". People's Daily. 6 April 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2014. สืบค้นเมื่อ 4 January 2014.
- ↑ "12th CPA Congress". Central Committee of the Communist Party of Australia. 12 September 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2015. สืบค้นเมื่อ 4 January 2014.
- ↑ "More foreign party leaders congratulate CPC on National Congress". Xinhua News Agency. 16 November 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2014. สืบค้นเมื่อ 4 January 2014.
- ↑ "中共与日共:曾经的"兄弟"为何一度关系不睦" (ภาษาChinese (China)). The Paper. 19 April 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2022. สืบค้นเมื่อ 27 September 2021.
- ↑ Shambaugh 2008, p. 100.
- ↑ Shambaugh 2008, p. 81.
- ↑ 229.0 229.1 229.2 229.3 Shambaugh 2008, p. 82.
- ↑ 230.0 230.1 230.2 230.3 230.4 Shambaugh 2008, p. 84.
- ↑ Shambaugh 2008, pp. 82–83.
- ↑ 232.0 232.1 232.2 232.3 Shambaugh 2008, p. 83.
- ↑ 233.0 233.1 Shambaugh 2008, p. 85.
- ↑ Shambaugh 2008, pp. 85–86.
- ↑ Shambaugh 2008, pp. 86–92.
- ↑ 236.0 236.1 236.2 Shambaugh 2008, p. 93.
- ↑ Shambaugh 2008, p. 94.
- ↑ Shambaugh 2008, pp. 95–96.
- ↑ 239.0 239.1 239.2 Shambaugh 2008, p. 96.
- ↑ 240.0 240.1 240.2 240.3 240.4 240.5 Shambaugh 2008, p. 97.
- ↑ 241.0 241.1 241.2 241.3 241.4 241.5 241.6 241.7 Shambaugh 2008, p. 98.
- ↑ "Chinese Communist Party to train chavista leaders". El Universal. 13 May 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2014. สืบค้นเมื่อ 4 January 2014.
- ↑ 243.0 243.1 243.2 Shambaugh 2008, p. 99.
- ↑ Shambaugh 2008, pp. 99–100.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ข่าวเกี่ยวกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนอย่างเป็นทางการ เก็บถาวร 2007-06-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- หนังสือพิมพ์ทางการ
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "หมายเหตุ" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="หมายเหตุ"/>
ที่สอดคล้องกัน