อักษรจีนตัวเต็ม

อักษรจีนตัวเต็ม เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน ปรากฏครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. 337 - 763) อักษรจีนตัวเต็มนั้นสามารถพบได้ในพจนานุกรมคังซี รูปทรงที่ทันสมัยของตัวอักษรจีนดั้งเดิมปรากฏตัวครั้งแรกพร้อมกับการเกิดขึ้นของอักษรไพร่ (อักษรจีนแบบลี่ซู) ของราชวงศ์ฮั่น ตัวอักษรแบบดั้งเดิมได้รับการปรับปรุงให้มีเสถียรภาพมากขึ้นหรือน้อยลงตั้งแต่ศตวรรษที่ 5 (ในช่วงราชวงศ์เหนือใต้)

อักษรจีนตัวเต็ม
ชนิดอักษรภาพ
ภาษาพูดภาษาจีน
ใช้เป็นอักษรทางการใน
ช่วงยุคคริสต์ศตวรรษที่ 5
ระบบแม่
อักษรจารึกบนกระดองเต่า (เจี๋ยกู่เหวิน)
ระบบลูก
ISO 15924Hant
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด
Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ตัวอักษรจีน เขียนด้วยอักษรจีนตัวเต็ม

อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้เป็นอักษรทางการใน สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ฮ่องกง มาเก๊า และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชน

ที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวเต็ม หรืออักษรจีนดั้งเดิม ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวย่อ ซึ่งประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนของ สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน

วิวัฒนาการ แก้

หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของอักษรจีนพบหลักฐานปรากฏมาจากแหล่งโบราณคดีปั้นปอ ของทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน สามารถนับย้อนหลังกลับไปได้กว่า 5,000 ปี โดยอยู่ในรูปของอักษรภาพที่สลักเป็นลักษณะรูปวงกลมเสี้ยวพระจันทร์และภูเขาห้ายอดบนเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งนับเป็นยุคต้นของศิลปะการเขียนอักษรจีน อักษรภาพที่เก่าแก่ที่สุดในจีน ต่อมาเป็นที่เรียกกันว่า อักษรจารึกบนกระดูกสัตว์ หรือ (甲骨文) เป็นอักษรที่ใช้มีดแกะสลักหรือจารึกลงบนกระดองเต่าหรือกระดูกสัตว์ ปรากฏแพร่หลายใน เมื่อ 1,300–1,100 ปีก่อนคริสตกาล อักษรที่จารึกบนกระดูกสัตว์ได้พัฒนาไปเป็นอักษรหลอมหรือจารึกบนโลหะหรืออักษรโลหะ หรือจินเหวิน (金文) เป็นอักษรที่ใช้ในสมัยซางต่อเนื่องถึงราชวงศ์โจว (1,100 – 771 ปีก่อนคริสต์ศักราช) มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘จงติ่งเหวิน’ (鐘鼎文) หมายถึงอักษรที่หลอมลงบนภาชนะทองเหลืองหรือสำริด เนื่องจากตัวแทนภาชนะสำริดในยุคนั้นได้แก่ ‘ติ่ง’ซึ่งเป็นภาชนะคล้ายกระถางมีสามขา

ต่อมาได้มีการพัฒนาไปเป็น (大篆) ซึ่งอักษรต้าจ้วนเป็นอักษรจีนที่ใช้ตั้งแต่ยุคปลาย เกือบเข้ายุคประมุของค์สุดท้ายของโจวตะวันตก จนถึง

อักษรจีนได้มีวิวัฒนาการต่อเนื่องมาถึงในสมัย ในรัชสมัย เสนาบดี ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบอักษรโดยย่ออักษรจีนมาเป็นอักษรชุดใหม่ที่เรียกว่)โดยย่ออักษรจีนต้าจ้วน อักษรจีนแบบเสี่ยวจ้วนที่เสนาบดีหลี่ซือประดิษฐ์ถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการสมัยจักรพรรดิจิ๋นซี

หลังจากจักรพรรดิจิ๋นซีผนวก6รัฐเข้ากับรัฐฉิน ออกราชโองการให้ดินแดนที่เคยเป็นรัฐทั้ง 6 เปลี่ยนมาใช้อักษรแบบเดียวกันหมด ทุกรัฐต้องใช้อักษรเหมือนกัน โดยใช้เสี่ยวจ้วนที่เสนาบดีหลี่ซือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ก่อนหน้าที่มีอักษรเสี่ยวจ้วน คนจีนใช้อักษรต้าจ้วนเป็นหลัก

ในสมัยจักรพรรดิจิ๋นซี มีทาสคนนึงนามว่า เฉิงเหมี่ยว (程邈) ประดิษฐ์อักษรชุดหนึ่ง ซึ่งภายหลังอักษรนี้ถูกใช้คู่กับเสี่ยวจ้วนในสมัยราชวงศ์ฉิน และเป็นแบบอักษรมาตรฐานในสมัยราชวงศ์ฮั่นจนถึงยุค อักษรชุดใหม่ที่ทาสผู้นี้ประดิษฐ์เรียกว่า ลี่ซู (隸書) อักษรลี่ซูพบหลักฐานตั้งแต่สมัยจ้านกั๋ว แต่พบไม่มาก ต่อมาเฉิงเหมี่ยวประดิษฐ์อักษรชุดนี้เพิ่มจนเป็นอักษรที่ใช้คู่กับอักษรเสี่ยวจ้วนของเสนาบดีหลี่ซือ

หลังจากราชวงศ์ฉินถูกโค่นโดย (劉邦) หลิวปังก่อตั้ง อักษรลี่ซูที่ใช้ในสมัยราชวงศ์ฉินเป็นอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้ในยุคราชวงศ์ฮั่นจนถึงยุค

ต่อมาอักษรลี่ซูได้พัฒนาไปเป็น ซึ่งเป็นอักษรแบบเส้นสัญลักษณ์ที่ประกอบกันขึ้น ภายใต้กรอบสี่เหลี่ยม หลุดพ้นจากรูปแบบอักษรภาพของตัวอักขระยุคโบราณอย่างสิ้นเชิง อักษรข่ายซูมีต้นกำเนิดในยุคปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ภายหลังราชวงศ์วุ่ยจิ้น (สามก๊ก) (คริสต์ศักราช 220 – 316) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จากการก้าวเข้าสู่ขอบเขตขั้นก้าวพ้นจากข้อจำกัดของลายเส้นที่มาจากการแกะสลัก เมื่อถึง (คริสต์ศักราช 618 – 907) จึงก้าวสู่ยุคทองของอักษรข่ายซูอย่างแท้จริง อักษรข่ายซูยังเป็นอักษรมาตรฐานของอักษรจีนจวบจนปัจจุบัน

ในสมัยราชวงศ์หมิงได้มีการรวบรวมแบบอักษรจีนดั้งเดิมที่สืบมาจากอักษรข่ายซูไว้ใน ที่จดบันทึกเกี่ยวกับศาสตร์วิชาต่างๆ จนถึงสมัย ในรัชสมัย ได้มีการทำพจนานุกรมรวบรวมอักษรจีนขึ้นอย่างเป็นระบบหรือที่เรียกว่า อักษรจีนได้สืบทอดการใช้จนมาถึงยุค ได้ใช้เป็นอักษรทางการหรือเรียกว่า อักษรจีนตัวเต็ม การใช้อักษรจีนตัวเต็มอย่างเป็นทางการได้ยุติลงเมื่อรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐจีนแพ้ ทำให้ปกครองแผ่นดินใหญ่แทนและสถาปนาขึ้น ในยุครัฐบาลคอมมิวนิสต์ได้ประกาศใช้ตัวที่เตรียมมา ส่วนฝ่ายสาธารณรัฐจีนที่ไปไต้หวันก็ยังคงรักษารูปแบบอักษรจีนตัวเต็มไว้เป็นอักษรทางการและต่อต้านการใช้อักษรจีนตัวย่อ

ข้อถกเถียงเกี่ยวกับการเรียกชื่อ แก้

ชาวจีนแต่ละที่จะเรียกชื่ออักษรจีนตัวเต็มนี้ต่างกัน รัฐบาลสาธารณรัฐจีน หรือไต้หวัน เรียกอักษรจีนตัวเต็มว่า ตัวอักษรมาตรฐาน (อักษรจีนตัวเต็ม: 正體字; อักษรจีนตัวย่อ: 正体字; พินอิน: zhèngtǐzì เจิ้งถี่จื้อ) โดยอ้างว่าอักษรจีนตัวเต็มเป็นอักษรดั้งเดิมที่ถูกต้องและสมบูรณ์ ในทางตรงกันข้าม กลุ่มผู้ใช้อักษรจีนตัวย่อ จะเรียกอักษรจีนตัวเต็มว่า ตัวอักษรซับซ้อน (อักษรจีนตัวเต็ม: 繁體字; อักษรจีนตัวย่อ: 繁体字; พินอิน: fántǐzì ฝานถี่จื้อ) หรือเรียกว่า ตัวอักษรเก่า (老字; พินอิน: lǎozì เหล่าจื้อ) โดยอ้างว่าอักษรจีนตัวเต็มถูกแทนที่แล้ว และไม่ได้นำมาใช้อีก

กลุ่มผู้ใช้อักษรจีนตัวเต็ม โต้แย้งว่า อักษรจีนตัวเต็มไม่ควรถูกเรียกว่า ตัวอักษรซับซ้อน เนื่องด้วยอักษรจีนตัวเต็มไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงให้ซับซ้อนขึ้นแต่อย่างใด เป็นเพียงการใช้มาแต่โบราณ ในทางกลับกัน กลุ่มผู้ใช้อักษรจีนตัวย่อ ก็โต้แย้งกับชื่อ ตัวอักษรมาตรฐาน ด้วยเห็นว่าอักษรจีนตัวย่อเป็นอักษรมาตรฐานใหม่ และยังแย้งอีกว่าอักษรจีนตัวเต็มไม่ใช่อักษรดั้งเดิมที่แท้จริง เพราะอักษรจีนมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด

ชาวจีนสูงอายุมักเรียกอักษรจีนตัวเต็มว่า ตัวอักษรสมบูรณ์ (正字; พินอิน: zhèngzì เจิ๋งจื้อ) และเรียกอักษรจีนตัวย่อว่า ตัวอักษรขีดง่าย (อักษรจีนตัวเต็ม: 簡筆字; อักษรจีนตัวย่อ: 简笔字; พินอิน: jiǎnbǐzì เจี๋ยนปี่จื้อ) หรือ ตัวอักษรลดขีด (อักษรจีนตัวเต็ม: 減筆字; อักษรจีนตัวย่อ: 减笔字; พินอิน: jiǎnbǐzì เจี๋ยนปี่จื้อ)

หมายเหตุ: คำว่า ง่าย 簡 และ ลด 減 ทั้งคู่อ่านออกเสียงว่า jiǎn เจี่ยน เหมือนกัน

สิ่งพิมพ์ แก้

ในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ตามปกติแล้ว ประชาชนในจีนแผ่นดินใหญ่และสิงคโปร์นิยมใช้อักษรจีนตัวย่อ ซึ่งรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน กำหนดขึ้นในยุค 1950 ให้เป็นอักษรที่ใช้เป็นทางการอย่างไรก็ตาม ทางสาธารณรัฐประชาชนจีนพิมพ์สื่อที่จะนำเผยแพร่นอกจีนแผ่นดินใหญ่โดยใช้อักษรจีนตัวเต็ม ส่วนในการเขียน คนส่วนมากจะเขียนตัวอักษรแบบหวัด ขีดบางขีดของตัวอักษรอาจถูกย่อ ซึ่งแล้วแต่ลายมือของแต่ละบุคคล โดยส่วนมากแล้ว คนนิยมเขียนโดยใช้ตัวอักษรที่เลือกได้ (異體字) คือการเลือกเขียนตัวอักษรที่มีความหมายเดียวกัน แต่เลือกตัวที่ขีดน้อยกว่า ตัวอย่างเช่น เขียน 体 แทน 體 ตัวอักษรที่เลือกได้เหล่านี้ยังคงเป็นตัวอักษรตัวเต็ม แต่ผู้คนมักเข้าใจผิดอยู่บ่อยๆว่าเป็นอักษรจีนตัวย่อ แม้การใช้ตัวอักษรที่เลือกได้จะไม่เป็นมาตรฐาน แต่ก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป และใช้กันอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างที่สำคัญเช่น คำว่า ไต้หวัน (台灣 Táiwān ไถวาน) นิยมใช้ 台 แทน 臺 ซึ่งเป็นตัวอักษรมาตรฐาน

อ้างอิง แก้

  • Huang, Jack. Huang, Tim. [1989] (1989) Introduction to Chinese, Japanese, and Korean Computing. World Scientific publishing.