สือดิบผู้จ่อง
สือดิบผู้จ่อง (จ้วง: Sawndip สือดิบ: 𭨡𮄫;[a] θaɯ˨˦ɗip˥) เป็นอักษรจีนที่ใช้เขียนภาษาจ้วงในมณฑลกวางซีและมณฑลยูนนานของจีน ไม่เพียงแค่ชาวจ้วงเท่านั้นที่ใช้อักษรนี้ แต่ยังรวมถึงชาวปู้อี้ในมณฑลกุ้ยโจว ประเทศจีน; ชาวตั่ยในประเทศเวียดนาม และชาวนุงในมณฑลยูนนาน ประเทศจีนและเวียดนาม[2] สือดิบเป็นศัพท์ภาษาจ้วงที่หมายถึง "อักษรอ่อน" ศัพท์ภาษาจ้วงสำหรับอักษรจีนที่ใช้ในภาษาจีนคือ sawgun (𭨡倱 'อักษรฮั่น')
สือดิบผู้จ่อง อักษรจ้วงเก่า | |
---|---|
ตัวอักษรสำหรับคำว่า saw 'อักษร' กับ ndip 'ดิบ' ในภาษาจ้วง | |
ชนิด | |
ช่วงยุค | คริสต์ศตวรรษที่ 7 – ปัจจุบัน |
ภาษาพูด | จ้วง, ปู้อี้, ตั่ย, นุง |
อักษรที่เกี่ยวข้อง | |
ระบบแม่ | เจี๋ยกู่เหวิน
|
ชื่อ
แก้สือดิบผู้จ่องยังมีอีกชื่อว่า อักษรจ้วงเก่า ส่วนใหญ่ใช้แยกอักษรนี้จากภาษาจ้วงมาตรฐานที่อิงอักษรละติน ในภาษาจีนมาตรฐาน อักษรจ่วงเก่าได้รับการเรียกขานเป็น กู่จ้วงซื่อ (古壮字; "อักษรจ้วงเก่า") หรือ ฟางไคว่จ้วงซื่อ (方块壮字; "อักษรจ้วงรูปเหลี่ยม")
ลักษณะ
แก้สือดิบหนึ่งตัวจะประกอบด้วยอักษรจีนสองตัว ตัวหนึ่งแทนเสียง อีกตัวหนึ่งแทนความหมาย เช่นคำว่า "นา" จะใช้อักษรจีนที่อ่านว่า "หน่า" ผสมกับตัวที่อ่านว่า "หลาย" ซึ่งหมายถึงนาในภาษาจีน มาสร้างเป็นตัวสือดิบอ่านเป็นภาษาจ้วงว่า "นา" เป็นต้น
ประวัติ
แก้ต้นกำเนิดของอักษรสือดิบนั้นไม่มีหลักฐานแน่นอน นักวิชาการบางส่วนกล่าวว่ามีกำเนิดสมัยราชวงศ์ถัง บางส่วนกล่าวว่าเริ่มใช้ในสมัยราชวงศ์ซ้อง อย่างไรก็ตาม สือดิบไม่ได้มีสถานะเป็นอักษรราชการ เพราะชาวจ้วงอยู่ภายใต้การปกครองของจีน จึงใช้ภาษาจีนและอักษรจีนเป็นภาษาและอักษรราชการ ส่วนมากชาวจ้วงใช้สือดิบบันทึกเพลงและวรรณกรรมพื้นบ้าน เขียนจดหมายหรือใช้ในทางไสยศาสตร์ในแวดวงของหมอผีโดยใช้ปนกับอักษรจีน สือดิบจัดว่าเป็นอักษรที่ไม่ได้พัฒนามากนัก ปัจจุบันมีสือดิบเพียง 2,000 ตัวซึ่งถือว่าไม่เพียงพอต่อการใช้งานในฐานะอักษรภาพ นอกจากนั้น ภาษาจ้วงยังมีแตกต่างไปหลายสำเนียง แต่ละท้องถิ่น กำหนดสือดิบของตนขึ้นใช้โดยไม่มีสือดิบมาตรฐานสำหรับคนที่อยู่ต่างท้องที่กัน
นอกจากนี้ การนำอักษรจีนมาใช้ปนกับสือดิบก็มีวิธีใช้ต่างกันไป บางครั้งนำมาใช้แทนเสียงโดยไม่คำนึงถึงความหมาย บางครั้งนำมาใช้โดยยึดความหมายแต่อ่านเป็นภาษาจ้วง ตัวอย่างเช่น อักษรจีนที่แปลว่า "ข้าพเจ้า" เมื่อนำมาใช้ในสือดิบจะใช้แต่ความหมาย โดยอ่านออกเสียงว่าเป็นภาษาจ้วงว่า "กู" เป็นต้น
ตัวอย่าง
แก้จากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 1 ในภาษาจ้วงเหนือ:
- ถอดความเป็นละติน (อักขรวิธี ค.ศ. 1982): Boux boux ma daengz lajmbwn couh miz cwyouz, cunhyenz caeuq genzli bouxboux bingzdaengj. Gyoengq vunz miz lijsing caeuq liengzsim, wngdang daih gyoengq de lumj beixnuengx ityiengh.
- ถอดความเป็นละติน (อักขรวิธี ค.ศ. 1957): Bouч bouч ma dəŋƨ laзƃɯn couƅ miƨ cɯyouƨ, cunƅyenƨ cəuƽ genƨli bouчbouч biŋƨdəŋз. Gyɵŋƽ vunƨ miƨ liзsiŋ cəuƽ lieŋƨsim, ɯŋdaŋ daiƅ gyɵngƽ de lumз beiчnueŋч ityieŋƅ.
- อักษรยูนิโคด (อักษรที่ยังไม่ได้บรรจุในปัจจุบันแทนด้วย Ideographic Description Sequences ในวงเล็บ): 佈佈𲃖[⿰丁刂]𨑜[⿰云天]就𠷯自由,尊严𪝈权利佈佈平等。𬾀伝𠷯理性𪝈良心,应当待𬾀𬿇㑣[⿰彳比][⿰彳农]一样。
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ The character for saw meaning either book or written character, 𭨡, has a 書 'book' radical on the left and a 史 'scholar' radical on the right. Similarly, ndip 'raw', 'uncooked', 'unripe', 𮄫, is composed of the ⽴ 'STAND' and ⽣ 'LIFE' radicals. At present, there are limitations in displaying Zhuang logograms as many have only recently been encoded in Unicode and are only supported by a few fonts. Sawndip characters have not been standardised, and different writers use different characters for the same word; the examples here are from Sawndip Sawdenj.[1]
อ้างอิง
แก้- ↑ Su (1989).
- ↑ Holm (2013), p. 1.
ข้อมูล
แก้- Bauer, Robert S. (2000), "The Chinese-based writing system of the Zhuang language", Cahiers de Linguistique Asie Orientale, 29 (2): 223–253, doi:10.3406/clao.2000.1573.
- Holm, David (2003), Killing a buffalo for the ancestors: a Zhuang cosmological text from Southwest China, Northern Illinois University, ISBN 978-1-891-13425-8.
- —— (2004), "The Old Zhuang script", ใน Diller, Anthony; Edmondson, Jerry; Luo, Yongxian (บ.ก.), The Tai-Kadai languages, Routledge, pp. 415–428, ISBN 978-0-203-64187-3.
- —— (2013), Mapping the Old Zhuang Character Script: A Vernacular Writing System from Southern China, Brill, ISBN 978-9-004-22369-1.
- Su, Yǒngqín 苏永勤, บ.ก. (1989), Sawndip Sawdenj / Gǔ Zhuàngzì zìdiǎn 古壮字字典 [Dictionary of old Zhuang characters] (ภาษาจีน), Nanning: Guangxi minzu chubanshe, ISBN 978-7-536-30614-1.
- Qin Xiaohang (覃晓航) (2010), 方块壮字研究 [Research on Zhuang square characters] (ภาษาจีน), Minzu chubanshe, ISBN 978-7-105-11041-4.
- Tai, Chung-pui (2005), Literacy practices and functions of the Zhuang character writing system (MPhil Thesis), University of Hong Kong, doi:10.5353/th_b3073066 (inactive 2024-04-12), hdl:10722/31897.
{{citation}}
: CS1 maint: DOI inactive as of เมษายน 2024 (ลิงก์) - Zhang Yuansheng (张元生) (1984), 壮族人民的文化遗产——方块壮字 [The cultural legacy of the Zhuang nationality: the Zhuang square characters], 中国民族古文字研究 [Research on the ancient scripts of China's nationalities] (ภาษาจีน), Beijing: Zhongguo shehui kexue chubanshe, pp. 455–521.
- Zheng Yiqing (鄭貽青) (1996), 靖西壮語研究 [Research on Jingxi Zhuang] (ภาษาจีน), 中国社会科学院民族研究所.
อ่านเพิ่ม
แก้- Holm, David (2020). "The Tày and Zhuang vernacular scripts: Preliminary comparisons". Journal of Chinese Writing Systems. 4 (3): 197–213. doi:10.1177/2513850220940044. S2CID 222315681.
- Liáng Tíngwàng 梁庭望 (ed.): Gǔ Zhuàngzì wénxiàn xuǎnzhù 古壮字文献选注 (Tiānjīn gǔjí chūbǎnshè 天津古籍出版社 1992).
- Lín Yì 林亦: Tán lìyòng gǔ Zhuàngzì yánjiū Guǎngxī Yuèyǔ fāngyán 谈利用古壮字研究广西粤语方言. In: Mínzú yǔwén 民族语文 2004.3:16–26.
- 覃暁航:「方塊壮字経久不絶却難成通行文字的原因」『広西民族研究』,2008年3期。
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Asian Character Tables, Free (GPL) Sawndip data.
- "Proposal to add kZhuang to Unihan (IRG N2677)" ในเว็บไซต์ยูนิโคด