จู้อิน หรือ จู้อินฝูเฮ่า (จีน: 注音符號; พินอิน: zhùyīnfúhào; เวด-ไจลส์: chu⁴yin¹fu²hao⁴ แปลว่า เครื่องหมายกำกับเสียง) เป็นระบบสัทอักษรสำหรับการถอดเสียงในภาษาจีน โดยเฉพาะภาษาจีนกลาง เป็นระบบกึ่งพยางค์ที่มีใช้อย่างกว้างขวางในสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ประกอบด้วยอักษร 37 ตัวและวรรณยุกต์ 4 ตัว ซึ่งเพียงพอที่จะใช้ถอดเสียงที่เป็นไปได้ในภาษาจีนกลาง

ปอพอมอฟอ
จู้อินฝูเฮ่า
ㄅㄞˇ ㄎㄜ ㄑㄩㄢˊ ㄕㄨ 百科全書 百科全书 (สารานุกรม) ในอักษรจู้อินฝูเฮ่า
ชนิด
ผู้ประดิษฐ์Commission on the Unification of Pronunciation
นำเสนอโดยรัฐบาลเป่ย์หยางของสาธารณรัฐจีน
ช่วงยุค
ค.ศ. 1918[1] ถึง ค.ศ. 1958 ในจีนแผ่นดินใหญ่ (ใช้เสริมฮั่นยฺหวี่พินอินในXiandai Hanyu Cidianทุกฉบับตั้งแต่ ค.ศ. 1960 ถึงปัจจุบันใน ค.ศ. 2016);
ค.ศ. 1945 ถึงปัจจุบันในไต้หวัน
ทิศทางซ้ายไปขวา, ขวาไปซ้าย Edit this on Wikidata
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
Oracle Bone Script
ระบบลูก
Cantonese Bopomofo, Taiwanese Phonetic Symbols, Suzhou Phonetic Symbols, Hmu Phonetic Symbols, Matsu Fuchounese Bopomofo [zh]
ระบบพี่น้อง
จีนตัวย่อ, คันจิ, ฮันจา, จื๋อโนม, คีตัน
ISO 15924
ISO 15924Bopo (285), ​Bopomofo
ยูนิโคด
ยูนิโคดแฝง
Bopomofo
ช่วงยูนิโคด
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ
เครื่องหมายกำกับเสียงภาษาจีนกลาง
อักษรจีนตัวเต็ม注音符號
อักษรจีนตัวย่อ注音符号
จู้อินพื้นฐาน เทียบกับพินอิน

ถึงแม้ว่าจู้อินจะถูกจัดว่าเป็นชุดตัวอักษร (alphabet) อย่างหนึ่ง ระบบนี้ก็ไม่ได้ประกอบด้วยพยัญชนะกับสระ แต่ประกอบด้วยต้นพยางค์ (syllable onset) กับสัมผัสพยางค์ (syllable rime) ระบบนี้มีพื้นฐานจากตารางสัมผัส (rime table) ของภาษาจีน แต่ใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษร (diacritics) แทนเสียงวรรณยุกต์แยกออกจากเสียงสัมผัส ในฐานะชุดตัวอักษร พยัญชนะต้นพยางค์มีอักษรใช้แทน 21 ตัว ที่เหลือเป็นสระเดี่ยว สระประสม และสระที่มีพยัญชนะสะกดซึ่งใช้อักษรแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น luan จะเขียนเป็น ㄌㄨㄢ (l-u-an) ซึ่งอักษรตัวสุดท้ายใช้แทนสระที่มีพยัญชนะสะกด -an ทั้งชุด เป็นต้น (อย่างไรก็ตาม พยัญชนะสะกด -p, -t, -k ไม่มีการใช้ในภาษาจีนกลาง แต่มีในสำเนียงอื่น สามารถเขียนเป็นตัวห้อยของพยัญชนะเหล่านี้หลังเสียงสระแทน)

ในภาษาพูดทุกวันนี้ จู้อินมักถูกเรียกว่า ปอพอมอฟอ (ㄅㄆㄇㄈ: bopomofo) ซึ่งเป็นอักษรชุดแรกในระบบนี้ เอกสารอย่างเป็นทางการในบางโอกาสจะเรียกว่า Mandarin Phonetic Symbols I (國語注音符號第一式) หรือย่อเป็น MPS I (注音一式) ซึ่งชื่อนี้ไม่ค่อยปรากฏการใช้ในภาษาอื่น เลขโรมันที่ปรากฏหลังชื่อมีไว้เพื่อแยกแยะออกจากระบบ MPS II ที่คิดค้นขึ้นในยุคเดียวกันแต่ไม่มีการใช้งานแล้วในปัจจุบัน

ประวัติ

แก้
 
ตาราง กว๋ออินจื้อหมู่ ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น จู้อินฝูเฮ่า

โครงการรวมเสียงอ่านเป็นหนึ่งเดียว (讀音統一會: Commission on the Unification of Pronunciation) นำโดย อู๋ จิ้งเหิง (吳敬恆) นักภาษาศาสตร์และนักปรัชญา ดำเนินงานเมื่อ ค.ศ. 19121913 ในสาธารณรัฐจีน[2] ได้สร้างระบบแทนเสียงอ่านที่มีชื่อว่า กว๋ออินจื้อหมู่ (國音字母) หรือ จู้อินจื้อหมู่ (註音字母 หรือ 注音字母) โดยใช้พื้นฐานจากบันทึก จี้อินจื้อหมู่ (記音字母) ของ จาง ปิ่งหลิน (章炳麟) [3] นักนิรุกติศาสตร์ ซึ่งระบบใหม่นี้มีความแตกต่างจากระบบของจางบ้างเล็กน้อย เช่นการเพิ่มหรือตัดตัวอักษรบางตัวออกไป ฉบับร่างของระบบนี้ได้เผยแพร่โดยกระทรวงศึกษาธิการแห่งชาติของสาธารณรัฐจีนเมื่อ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1913 แต่ยังไม่ได้ประกาศรับรองอย่างเป็นทางการจนกระทั่ง 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1928[2]

ต่อมา จู้อินจื้อหมู่ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น จู้อินฝูเฮ่า ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1930 ดังคำพูดโดย จอห์น เดอฟรังซิส (John DeFrancis) จากหนังสือ The Chinese Language: Fact and Fantasy ที่กล่าวไว้ว่า

สัญลักษณ์เหล่านี้เดิมมีชื่อเรียกว่า จู้อินจื้อหมู่ (ชุดอักษรแทนเสียง) ต่อมามีชื่อเรียกอีกชื่อว่า กว๋ออินจื้อหมู่ (ชุดอักษรแทนเสียงแห่งชาติ) แต่ด้วยเกรงว่ามันอาจถูกตีความเป็นระบบการเขียนอักขระแบบชุดตัวอักษรอิสระ ในปี ค.ศ. 1930 จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น จู้อินฝูเฮ่า (สัญลักษณ์แทนเสียง)

— จอห์น เดอฟรังซิส[4]

แต่ในเวลาต่อมา ระบบพินอินซึ่งประกาศใช้โดยจีนแผ่นดินใหญ่ เริ่มเข้ามาแทนที่ระบบจู้อิน ถึงแม้ว่าคำอ่านในพจนานุกรมมาตรฐานบางครั้งก็ระบุการถอดเสียงทั้งแบบพินอินและจู้อิน[5] กระทรวงศึกษาธิการของไต้หวันได้พยายามที่จะยกเลิกการใช้งานระบบจู้อินมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว เนื่องจากความเห็นชอบที่จะใช้ระบบที่มีพื้นฐานบนอักษรละตินมากกว่า (เช่น MPS II) อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนี้ดำเนินไปอย่างช้ามาก เนื่องจากความยากลำบากในการอบรมให้ครูโรงเรียนประถมทั้งหมดเข้าใจในระบบอักษรละตินใหม่นี้

การใช้งานในสมัยใหม่

แก้

วิธีการป้อนข้อมูล

แก้

จู้อินสามารถใช้เป็นวิธีการป้อนข้อมูลสำหรับอักษรจีน เนื่องจากสามารถป้อนตามเสียงอ่านได้โดยตรง เป็นหนึ่งในไม่กี่วิธีที่สามารถพบได้ในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ไม่ได้ดาวน์โหลดหรือติดตั้งซอฟต์แวร์ใดเพิ่มเติม รวมทั้งการป้อนข้อมูลอักษรจีนบนโทรศัพท์มือถือ

 
ผังแป้นพิมพ์ระบบจู้อินในคอมพิวเตอร์
 
อักษรจู้อินบนปุ่มโทรศัพท์มือถือ พบได้ทั่วไปในไต้หวัน

การแปลศัพท์บนจอภาพ

แก้
 
โปรแกรมแปลภาษาบนหน้าจอที่ปรากฏอักษรจู้อิน

ซอฟต์แวร์แปลศัพท์ภาษาจีนบนจอภาพสามารถนำไปใช้ได้หลายจุดประสงค์ จู้อินก็ถือเป็นแนวทางหนึ่งในการศึกษาเรียนรู้ภาษาจีนกลางสำหรับนักเรียนนักศึกษา อักษรจู้อินมีจำนวนตัวอักษรน้อยกว่า มีกฎการเปลี่ยนรูปอักษรน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับพินอินที่กำกับคำศัพท์คำเดียวกัน (ข้อเท็จจริงคือระบบจู้อินไม่มีการเปลี่ยนรูปเลย) และอักษรจู้อินบางตัวก็มีลักษณะคล้ายอักษรจีนอยู่แล้ว ทำให้นักเรียนนักศึกษาสามารถเรียนรู้ก้าวหน้าไปอีกขั้น

ที่มาของอักษร

แก้

อักษรจู้อินทั้งหมดประดิษฐ์ขึ้นโดย จาง ปิ่งหลิน ซึ่งนำมาจากอักษรจีนโบราณหรืออักษรที่เขียนแบบหวัดเป็นหลัก หรือใช้เพียงส่วนหนึ่งของตัวอักษรเหล่านั้น หนังสือสมัยใหม่ก็ยังคงมีเสียงอ่านเหมือนเช่นตัวอักษรตัวนั้นนำเสนอ

อักษรจู้อินในฟอนต์มักจะนำเสนอด้วยการเขียนด้วยพู่กันคงไว้เช่นนั้น (เหมือนการเขียนแบบ regular script) อักษรจู้อินบรรจุอยู่บนยูนิโคดในบล็อกปอพอมอฟอ [1] ที่รหัส U+3105 ถึง U+312D โดยมีตัวสุดท้ายแทนเสียงสระ ㄭ (ih) และสามตัวถัดมาเป็นสำเนียงที่ไม่มีอยู่ในภาษาจีนกลางได้แก่ ㄪ (v), ㄫ (ng), และ ㄬ (ny) นอกจากนี้ยังมีบล็อกปอพอมอฟอส่วนขยาย [2] ที่รหัส U+31A0 ถึง U+31B7 สำหรับภาษาจีนฮกเกี้ยนและภาษาจีนแคะ

อักษรจู้อิน ที่มาของอักษรจู้อิน
b-ป มาจาก 勹 ส่วนบนของ 包 bāo
p-พ มาจาก 攵 รูปประกอบอักษรของ 攴
m-ม มาจาก 冂 รูปโบราณของหมวดนำ 冖
f-ฟ มาจาก 匚 fāng
v, vo-/ฟ̃/ มาจาก 万 wàn บางสำเนียงออกเสียงเป็น vàn
d-ต มาจากรูปโบราณของ 刀 dāo เปรียบเทียบกับอักษรบนไม้ไผ่  
t-ท มาจาก 𠫓 คล้ายตัวกลับหัวของ 子 ส่วนบนของ 充
n-น มาจาก   รูปโบราณของ 乃 nǎi
l-ล มาจากอักษรหวัดของ 力
g-ก มาจากอักษรที่เลิกใช้ 巜 guài
k-ค มาจาก 丂 kǎo
ng-ง มาจาก 兀 บางสำเนียงออกเสียงเป็น ngō
h-ฮ มาจาก 厂 hàn
j-จ มาจากรูปโบราณของ 丩 jīu
q-ช มาจากรูปโบราณของ ㄑ quǎn ส่วนหนึ่งของ 巛 chuān ปัจจุบันใช้ 川
ny-ญ มาจาก 广 iǎn บางสำเนียงออกเสียงเป็น nyiǎn
x-ศ มาจาก 丅 ส่วนหนึ่งของ 下 xià
zh มาจาก   รูปโบราณของ 之 zhī
ch มาจากหมวดนำ 彳 chì
sh มาจากอักษรที่เลิกใช้ 𡰣 shī
r มาจากอักษรกึ่งหวัดของ 日
zตซ(จ) มาจากหมวดนำ 卩 jié บางสำเนียงออกเสียงเป็น zié
cทซ(ช) รูปแบบอื่นของ 七 บางสำเนียงออกเสียงเป็น ciī เปรียบเทียบกับอักษรกึ่งหวัด และส่วนหนึ่งของ
s มาจากอักษรเก่า 厶 ปัจจุบันใช้ 私
i, y-อยฺ มาจาก 一
u, w-อวฺ มาจาก 㐅 รูปโบราณของ 五
ü, yu, iu มาจากอักษรโบราณ 凵 ปัจจุบันเหลือเพียงหมวดนำ
a มาจาก 丫
o มาจากอักษรที่เลิกใช้ 𠀀 ด้านกลับข้างของ 丂 kǎo ซึ่งสงวนไว้สำหรับ 可 [6]
e ดัดแปลงมาจากเสียงในภาษาจีนกลาง ㄛ o
e, eh มาจาก 也 เปรียบเทียบกับอักษรบนไม้ไผ่
ai มาจาก   hài, รูปโบราณของ 亥
ei มาจากอักษรที่เลิกใช้ 乁 ปัจจุบันใช้ 移
ao มาจาก 幺 yāo
ou มาจาก 又 yòu
an มาจากอักษรที่เลิกใช้ ㄢ hàn ซึ่งสงวนไว้สำหรับ 犯 fàn
en มาจาก 乚 yǐn
ang มาจาก 尢 wāng
eng มาจากอักษรที่เลิกใช้ 厶 ปัจจุบันใช้ 厷 gōng
er มาจาก 儿 ส่วนล่างของ 兒 ér ใช้ในแบบเขียนหวัด
ih ( ) มาจาก 市 เป็นสระสำหรับเผื่อเลือกของ ㄓ, ㄔ, ㄕ, ㄖ, ㄗ, ㄘ, ㄙ ที่นำเสนอโดย "ih" ในทงย่งพินอินกับเวด-ไจลส์ และ "i" ในพินอิน

การนำไปใช้

แก้

สัญลักษณ์แทนเสียงเหล่านี้บางครั้งปรากฏเป็นอักษรประกอบคำ (ruby character) ซึ่งพิมพ์ไว้ถัดจากอักษรจีนในตำราเรียนของเด็ก และในหนังสือที่มีอักษรแบบดั้งเดิมซึ่งอักษรนั้นไม่ได้ใช้ในการเขียนปกติทั่วไปในสมัยใหม่ บางครั้งในสื่อโฆษณาใช้แทนคำลงท้ายบางคำ (เช่นใช้ ㄉ แทน 的 เป็นต้น) อย่างไรก็ตามสัญลักษณ์เหล่านี้พบที่ใช้ในสื่อสาธารณะต่างๆ ได้น้อยมาก ที่นอกเหนือไปจากการอธิบายคำอ่านในพจนานุกรม อักษรจู้อินยังถูกจับคู่กับปุ่มต่างๆ บนแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ (1=ปอ, q=พอ, a=มอ, z=ฟอ, ฯลฯ) เพื่อเป็นวิธีการหนึ่งสำหรับการป้อนข้อความที่เป็นอักษรจีนเข้าสู่คอมพิวเตอร์

จุดประสงค์เพียงอย่างเดียวของจู้อินในการเรียนในชั้นประถมศึกษา คือเพื่อสอนให้เด็กๆ รู้จักการอ่านภาษาจีนกลางแบบมาตรฐาน (ซึ่งต่างกับพินอินในแง่ของการศึกษาโดยชาวต่างชาติและการทับศัพท์) ตำราชั้น ป.1 ของทุกวิชาจะถูกจัดพิมพ์เป็นจู้อินทั้งหมด หลังจาก ป.1 อักษรจีนจะเข้ามาแทนที่จู้อิน แต่ก็ยังมีจู้อินกำกับไว้ข้างๆ ในช่วง ป.4 การปรากฏของจู้อินจะลดน้อยลงอย่างมาก ซึ่งจะเหลือเพียงแค่ส่วนของการสอนอักษรจีนตัวใหม่ และเมื่อเด็กนักเรียนสามารถเรียนรู้อักษรต่างๆ ได้ ก็จะสามารถถอดเสียงอ่านที่ให้ไว้ในพจนานุกรมภาษาจีนได้ และยังสามารถค้นหาว่าคำๆ หนึ่งเขียนอย่างไรโดยที่ทราบเพียงแค่เสียงอ่านของมัน

บางครั้งจู้อินใช้เขียนภาษากลุ่มเกาะฟอร์โมซาบางภาษา อาทิ ภาษาอตายัล [3], ภาษาซีดิก [4], ภาษาไปวัน [5], หรือ ภาษาเตา [6] เป็นต้น จุดประสงค์เพื่อใช้เป็นระบบการเขียนหลักของภาษานั้น ไม่ได้ใช้เป็นระบบการเขียนโบราณอย่างภาษาจีน

การเขียน

แก้
 
กล่องสี่เหลี่ยมแสดงขอบเขตรอบนอกของอักษรจีนและอักษรจู้อิน
วรรณยุกต์ จู้อิน พินอิน
1 ไม่ปรากฏ ◌̄
2 ◌́ ◌́
3 ◌̌ ◌̌
4 ◌̀ ◌̀
5 ◌̇ ไม่ปรากฏ

อักษรจู้อินถูกเขียนให้เหมือนกับอักษรจีนทั่วไป รวมทั้งกฎเกณฑ์ของลำดับการขีดและตำแหน่ง ปกติอักษรจู้อินจะเขียนไว้ที่ด้านขวาของอักษรจีนตัวนั้นเสมอ ไม่ว่าอักษรจีนจะเขียนแนวตั้งหรือแนวนอน โดยทางเทคนิคแล้วการเขียนแบบนี้เรียกว่าอักษรประกอบคำ (ruby character) และพบได้น้อยมากที่อักษรประกอบคำจะไปปรากฏอยู่ข้างบนเมื่อเขียนตามแนวนอน (คล้ายกับฟุริงะนะที่กำกับคันจิในภาษาญี่ปุ่น) กล่องแสดงสัญลักษณ์มักจะมีอักษรจู้อินสองหรือสามตัว (ซึ่งตัวมันเองนั้นมีขนาดพอดีกับสี่เหลี่ยมจัตุรัส) วางซ้อนกันในแนวตั้ง ทำให้กล่องของอักษรจีนหนึ่งตัวมีความยาวเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า

เครื่องหมายวรรณยุกต์ของจู้อินมี 4 ตัว ได้แก่ ⟨◌́⟩ แทนเสียงที่สอง, ⟨◌̌⟩ แทนเสียงที่สาม, ⟨◌̀⟩ แทนเสียงที่สี่, และ ⟨◌̇⟩ แทนเสียงที่ห้า (เสียงเบา) ในภาษาจีนกลาง สำหรับเสียงที่หนึ่งจะไม่มีการเขียนวรรณยุกต์กำกับ ระบบพินอินได้นำเอาวรรณยุกต์เหล่านี้ไปใช้ โดยตัดรูปวรรณยุกต์เสียงที่ห้าออก แล้วเพิ่มรูปวรรณยุกต์ ⟨◌̄⟩ สำหรับเสียงที่หนึ่งแทน ตามตาราง ส่วนทงย่งพินอินนั้นใช้วรรณยุกต์เหมือนกับจู้อิน การเขียนวรรณยุกต์จะเขียนที่กึ่งกลางค่อนไปทางขวาของกล่องจู้อิน เว้นแต่เครื่องหมายจุดของเสียงที่ห้า จะเขียนไว้บนสุดของกล่อง

จู้อินเทียบกับระบบอื่น

แก้

ทั้งจู้อินและพินอินต่างก็มีพื้นฐานมาจากการออกเสียงภาษาจีนกลางเหมือนกัน ซึ่งสามารถจับคู่สัญลักษณ์ที่ใช้ระหว่างสองระบบนี้ได้แบบหนึ่งต่อหนึ่ง ในตารางต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นถึงความเทียบเท่ากันระหว่างจู้อินและพินอิน อักษรในวงเล็บ 【】 ใช้แสดงถึงรูปแบบสำหรับประกอบกับอักษรตัวอื่น

ยูนิโคด

แก้
ปอพอมอฟอ (ชื่อตามมาตรฐานยูนิโคด)
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+310x          
U+311x
U+312x    


ปอพอมอฟอ ส่วนขยาย (ชื่อตามมาตรฐานยูนิโคด)
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+31Ax
U+31Bx          


อ้างอิง

แก้
  1. 中國文字改革委員會 (Committee for the Reform of the Chinese Written Language) 漢語拼音方案(草案) (Scheme for the Chinese Phonetic Alphabet (Draft)). Beijing. Feb 1956. Page 15. "注音字母是1913年拟定,1918年公布的。"
  2. 2.0 2.1 Taiwan Yearbook 2006 จาก Archive.org
  3. จู้อินจื้อหมู่ เก็บถาวร 2015-04-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ห้องสมุดสาธารณะไทเป แปลด้วยกูเกิล
  4. John DeFrancis. The Chinese Language: Fact and Fantasy. Honolulu, HI, USA: University of Hawaii Press, 1984. p. 242.
  5. New Taiwanese dictionary unveiled เก็บถาวร 2007-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก Taiwan Headlines
  6. "Unihan data for U+20000".