ยฺหวิดเพ็ง

ระบบการถอดเป็นอักษรโรมันสำหรับภาษากวางตุ้ง

ยฺหวิดเพ็ง (Jyutping) เป็นระบบการถอดเป็นอักษรโรมันสำหรับภาษากวางตุ้ง พัฒนาโดยสมาคมภาษาศาสตร์ฮ่องกง (LSHK) ซึ่งเป็นกลุ่มวิชาการในปี 1993 ระบบนี้มีชื่อทางการคือ แบบแผนการถอดภาษากวางตุ้งด้วยอักษรโรมันสมาคมภาษาศาสตร์ฮ่องกง โดยทางสมาคมได้สนับสนุนและส่งเสริมการใช้ระบบการถอดเป็นอักษรโรมันระบบนี้

ยฺหวิดเพ็ง
การถอดเป็นอักษรโรมันแบบยฺหวิดเพ็ง
อักษรจีนตัวเต็ม粵拼
อักษรจีนตัวย่อ粤拼
ยฺหวิดเพ็งJyut6ping3
เยลกวางตุ้งYuhtping
ความหมายตามตัวอักษรการสะกดภาษาเยฺว่

คำว่า Jyutping (มาจากการถอดอักษรจีน 粵拼 เป็นอักษรโรมันแบบยฺหวิดเพ็งเอง) เป็นคำที่ย่อมาจาก 2 คำ ประกอบด้วย Jyut6jyu5 ยฺหวิดยฺหวี (粵語 หมายถึง "ภาษาเยฺว่") และ ping3jam1 เพ็งยั้ม (拼音 หมายถึง "สะกดเสียง" ซึ่งคำนี้ในภาษาจีนกลางออกเสียงว่า "พินอิน")

แม้จะเป็นระบบการถอดเป็นอักษรโรมันเพื่อแสดงวิธีการออกเสียง แต่ก็มีผู้ที่สนใจบางคนใช้ยฺหวิดเพ็งเพื่อหยั่งเสียงการเขียนภาษากวางตุ้งให้เป็นภาษาที่อ่านตามตัวอักษร (alphabetic language) โดยจะยกระดับจากตัวเขียนเพื่อช่วยการออกเสียงไปเป็นภาษาเขียนที่มีผลใช้บังคับจริง

ประวัติ แก้

ระบบยฺหวิดเพ็งถือเป็นระบบที่ปลีกแยกจากระบบการถอดภาษากวางตุ้งด้วยอักษรโรมันแบบก่อนหน้านี้ทั้งหมด[1] (ประมาณ 12 ระบบ เช่น งานริเริ่มของโรเบิร์ต มอร์ริสันในปี 1828 และการถอดเป็นอักษรโรมันแบบมาตรฐาน รวมถึงระบบที่ใช้กันแพร่หลายอย่าง ระบบเยล และระบบซิดนีย์ เหล่า) โดยนำอักษร z และ c มาใช้ในต้นพยางค์ และ eo และ oe ในท้ายพยางค์ รวมถึงการแทนที่อักษรต้นพยางค์ y ซึ่งใช้ในระบบก่อนหน้าทั้งหมดด้วยอักษร j[2]

ในปี 2018 ระบบยฺหวิดเพ็งได้รับการปรับปรุงโดยเพิ่มอักษรท้ายพยางค์ -a และ -oet เพื่อสะท้อนว่าเป็นพยางค์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบเสียงภาษากวางตุ้งในปี 1997 โดยกลุ่มงานยฺหวิดเพ็งของสมาคมภาษาศาสตร์ฮ่องกง[3]

ต้นพยางค์ แก้

b
/p/
p
/pʰ/
m
/m/
f
/f/
d
/t/
t
/tʰ/
n
/n/
l
/l/
g
/k/
k
/kʰ/
ng
/ŋ/
h
/h/
gw
/kʷ/
kw
/kʷʰ/
w
/w/
z
/ts/
c
/tsʰ/
s
/s/
j
/j/

ท้ายพยางค์ แก้

aa
/aː/
aai
/aːi̯/
aau
/aːu̯/
aam
/aːm/
aan
/aːn/
aang
/aːŋ/
aap
/aːp̚/
aat
/aːt̚/
aak
/aːk̚/
a
/ɐ/
[1]
ai
/ɐi̯/
西
au
/ɐu̯/
am
/ɐm/
an
/ɐn/
ang
/ɐŋ/
ap
/ɐp̚/
at
/ɐt̚/
ak
/ɐk̚/
e
/ɛː/
ei
/ei̯/
eu
/ɛːu̯/
[2]
em
/ɛːm/
[3]
  eng
/ɛːŋ/
ep
/ɛːp̚/
[4]
  ek
/ɛːk̚/
i
/iː/
  iu
/iːu̯/
im
/iːm/
in
/iːn/
ing
/ɪŋ/
ip
/iːp̚/
it
/iːt̚/
ik
/ɪk/
o
/ɔː/
oi
/ɔːy̯/
ou
/ou̯/
  on
/ɔːn/
ong
/ɔːŋ/
  ot
/ɔːt̚/
ok
/ɔːk̚/
u
/uː/
ui
/uːy̯/
    un
/uːn/
ung
/ʊŋ/
  ut
/uːt̚/
uk
/ʊk/
  eoi
/ɵy̯/
    eon
/ɵn/
    eot
/ɵt̚/
 
oe
/œː/
        oeng
/œːŋ/
  oet
/œːt̚/
[5]
oek
/œːk̚/
yu
/yː/
      yun
/yːn/
    yut
/yːt̚/
 
      m
/m̩/
  ng
/ŋ̩/
     
  • เฉพาะอักษรท้ายพยางค์ m และ ng เท่านั้นที่สามารถเขียนโดด ๆ ได้ ในฐานะพยางค์เสียงนาสิก
  • ^ ^ ^ เป็นการออกเสียงคำเหล่านี้ในแบบภาษาพูดที่ไม่เป็นทางการ
  • ^ ใช้ละเสียงในภาษาพูดที่ไม่เป็นทางการ เช่น a6 ใน 四十四 (sei3a6 sei3) ซึ่งมาจาก sei3 sap6 sei3[3]
  • ^ ใช้เป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น oet6 เสียงเรอ หรือ goet4 เสียงกรน

วรรณยุกต์ แก้

ภาษาจีนกวางตุ้งมีวรรณยุกต์ 9 เสียง วรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ 6 เสียง (contour tone) อย่างไรก็ตาม มี 3 ใน 9 เสียงที่เป็น entering tone (จีน: 入聲; ยฺหวิดเพ็ง: jap6sing1) ซึ่งปรากฏเฉพาะในพยางค์ที่ลงท้ายด้วย p, t, และ k เท่านั้น โดยไม่มีหมายเลขเพื่อบ่งบอกเสียงวรรณยุกต์เหล่านี้แยกต่างหาก (แต่มีในพินอินกวางตุ้ง ซึ่งจะแสดงในวงเล็บในตารางด้านล่าง) ประโยคช่วยจำ คือ「風水到時我哋必發達」 fung1 seoi2 dou3 si4 ngo5 dei6 bit1 faat3 daat6 อ่านว่า ฟงเสยโตวสี่หงอเต่ย์ปิ๊ดฝาดดาด หมายถึง “เมื่อฮวงจุ้ยมาเราจะเจริญรุ่งเรือง”

ชื่อวรรณยุกต์ ยั้มผิ่ง
jam1ping4
(陰平)
ยั้มเสิง
jam1soeng5
(陰上)
ยั้มโฮย
jam1heoi3
(陰去)
เหยิ่งผิ่ง
joeng4ping4
(陽平)
เหยิ่งเสิง
joeng4soeng5
(陽上)
เหยิ่งโฮย
joeng4heoi3
(陽去)
โก๊วยั้มหยับ
gou1jam1jap6
(高陰入)
ไต๊ยั้มหยับ
dai1jam1jap6
(低陰入)
เหยิ่งหยับ
joeng4jap6
(陽入)
หมายเลขวรรณยุกต์ 1 2 3 4 5 6 1 (7) 3 (8) 6 (9)
ระดับเสียง สูงเรียบ หรือ สูงตก กลางยก กลางเรียบ
(ตรงกับเสียงสามัญในภาษาไทย)
ต่ำตก ต่ำยก ต่ำเรียบ สูงเรียบ พยางค์หยุด กลางเรียบ พยางค์หยุด ต่ำเรียบ พยางค์หยุด
IPA[4] ˥ 55 / ˥˧ 53 ˧˥ 35 ˧ 33 ˨˩ 21 / ˩ 11 ˩˧ 13 ˨ 22 ˥ 5 ˧ 3 ˨ 2
ตัวอย่างอักษร 分/詩 粉/史 訓/試 焚/時 奮/市 份/是 忽/識 發/錫 佛/食
ตัวอย่าง fan1/si1 fan2/si2 fan3/si3 fan4/si4 fan5/si5 fan6/si6 fat1/7/sik1/7 faat3/8/sek3/8 fat6/9/sik6/9

ตัวอย่าง แก้

จีนตัวเต็ม จีนตัวย่อ ถอดเป็นอักษรโรมัน
廣州話 广州话 Gwong2 zau1 waa2
粵語 粤语 Jyut6 jyu5
你好 你好 nei5 hou2

ตัวอย่างการถอดเป็นอักษรโรมันแบบยฺหวิดเพ็งจากความตอนหนึ่งในบทกวีสมัยถัง 300 บท

春曉
孟浩然
Ceon1 Hiu2
Maang6 Hou6 Jin4
春眠不覺曉, Ceon1 min4 bat1 gok3 hiu2,
處處聞啼鳥。 cyu3 cyu3 man4 tai4 niu5.
夜來風雨聲, Je6 loi4 fung1 jyu5 sing1,
花落知多少? faa1 lok6 zi1 do1 siu2?

อ้างอิง แก้

  1. "The Jyutping Scheme". The Linguistic Society of Hong Kong. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 April 2013. สืบค้นเมื่อ 3 January 2016.
  2. Kataoka, Shin; Lee, Cream (2008). "A System without a System: Cantonese Romanization Used in Hong Kong Place and Personal Names". Hong Kong Journal of Applied Linguistics: 94–98.
  3. 3.0 3.1 Linguistic Society of Hong Kong. "Jyutping 粵拼". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-06. สืบค้นเมื่อ 2020-10-07.
  4. Matthews, S.; Yip, V. Cantonese: A Comprehensive Grammar; London: Routledge, 1994

หนังสืออ่านเพิ่ม แก้

  • Zee, Eric (1999). Handbook of the International Phonetic Association. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 58–60. ISBN 0521652367.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้