นิรุกติศาสตร์

การศึกษาภาษาด้วยการใช้หลักฐานตามประวัติศาสตร์

นิรุกติศาสตร์ คำว่า "นิรุกติ" แปลว่า "ภาษา" ส่วนคำว่า "ศาสตร์" แปลว่า "วิชา" หรือแปลให้เข้าใจง่ายขึ้นคือ "การเรียนรู้สิ่ง ๆ หนึ่ง" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ระบุไว้คือแม่คำของ "นิรุกติศาสตร์" คือ นิรุกติ และนิรุกติ คือ ภาษา, คำพูด โดยมี "นิรุกติศาสตร์" เป็นลูกคำ[1] นิรุกติศาสตร์ จึงมีความหมายในภาษาไทยคือ ศาสตร์หรือวิชาที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ด้านภาษา เช่น นิรุกติศาสตร์ ภาษาไทย หมายถึง การเรียนรู้ศึกษาประวัติ ความเป็นมา รูปแบบ วิธีใช้ วิธี พูด อ่าน เขียน เกี่ยวกับภาษาไทย ที่ใช้มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงวิวัฒนาการของภาษาและการเปลี่ยนแปลง ในแต่ละช่วงเวลาที่สำคัญ

ประวัติความเป็นมา

แก้

นิรุกติศาสตร์ การเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ของภาษา เป็นลูกคำของคำว่า "นิรุกติ" แปลว่า ภาษา ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายไว้ ซึ่งคำว่า นิรุกติศาสตร์ หรือ การเรียนรู้เกี่ยวกับที่มาของภาษา ซึ่งตรงกับศัพท์บัญญัติ จากคำว่า philology[2] ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีการเริ่มใช้ในระหว่าง ค.ศ. 1350-1400 โดยก่อนหน้านั้นในอดีตมีการใช้คำว่า "linguistics" ซึ่งคำว่า philology มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน และภาษากรีก ก็คือ การเรียนรู้ถึงภูมิหลัง และการใช้ในปัจจุบัน ของการสื่อสารของมนุษย์ ไม่ว่าด้วยวิธีการพูดหรือการเขียน แม้ว่าคุณลักษณะทั่วไปของภาษาที่ถูกศึกษา จะมีความสำคัญมากกว่าที่มา หรืออายุ แต่การศึกษาเรื่องที่มาและอายุของคำก็มีความสำคัญเช่นกัน

คำว่า ฟิโลโลจี (philology) ในภาษาอังกฤษ มาจากคำศัพท์ภาษากรีก ฟิลอส (Φιλος) ความรักอย่างพี่น้อง และ โลกอส (λογος) สนใจ หมายถึง ความรักในคำศัพท์ การศึกษาเชิงนิรุกติศาสตร์ คือการทำความเข้าใจถึง ที่มาของภาษา และมักใช้ในการศึกษาภาษา หรือคัมภีร์โบราณ

คำนี้ มักจะใช้สับสนกับคำว่า ศัพทมูลวิทยา (etymology) ซึ่งเป็นการศึกษาที่มาของคำศัพท์

ดูเพิ่ม

แก้

บรรณานุกรม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.royin.go.th/dictionary/นิรุกติ
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-02. สืบค้นเมื่อ 2018-11-09.