รัฐบาลเป่ย์หยาง

รัฐบาลสาธารณรัฐจีนที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งตั้งอยู่ในปักกิ่งตั้งแต่ ค.ศ. 1912

รัฐบาลเป่ย์หยาง[b] เป็นรัฐบาลสาธารณรัฐจีนที่ได้รับการรับรองในระดับสากลตั้งแต่ ค.ศ. 1912 ถึง ค.ศ. 1928 โดยตั้งอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งอยู่ภายใต้การครอบงำของนายพลแห่งกองทัพเป่ย์หยาง

สาธารณรัฐจีน

中華民國  (จีน)
จงหฺวาหมิงกั๋ว
ถอดเป็นอักษรโรมัน: Chunghwa Minkuo
พินอิน: Zhōnghuá Mínguó
ค.ศ. 1912–1928
ตราแผ่นดินของรัฐบาลเป่ย์หยาง
ตราแผ่นดิน
เพลงชาติ
หลายเพลง
สาธารณรัฐจีนในระหว่าง ค.ศ. 1912–1928
สาธารณรัฐจีนในระหว่าง ค.ศ. 1912–1928
เมืองหลวงปักกิ่ง
39°54′N 116°23′E / 39.900°N 116.383°E / 39.900; 116.383
เมืองใหญ่สุดเซี่ยงไฮ้
ภาษาราชการจีนมาตรฐาน
การปกครองสหพันธรัฐแบบสาธารณรัฐระบบรัฐสภา
(ค.ศ. 1912–1914, ค.ศ. 1916–1923, ค.ศ. 1924, ค.ศ. 1926–1927)
สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี
(ค.ศ. 1914–1916, ค.ศ. 1923–1924, ค.ศ. 1924–1926, ค.ศ. 1927–1928)
รัฐภายใต้เผด็จการทหาร
(ค.ศ. 1927–1928)
ประธานาธิบดี 
• ค.ศ. 1912–1916
ยฺเหวียน ชื่อไข่ (คนแรก)
• ค.ศ. 1927–1928
จาง จั้วหลิน (คนสุดท้าย)[a]
นายกรัฐมนตรี 
• ค.ศ. 1912
ถัง เช่าอี๋ (คนแรก)
• ค.ศ. 1927–1928
พัน ฟู่ (คนสุดท้าย)
สภานิติบัญญัติสมัชชาแห่งชาติ
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
ประวัติศาสตร์ 
• การเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของยฺเหวียน ชื่อไข่
10 มีนาคม ค.ศ. 1912
• เปิดการประชุมสภานิติบัญญัติ
8 เมษายน ค.ศ. 1913
4 พฤษภาคม ค.ศ. 1919
9 กรกฎาคม ค.ศ. 1926
4 มิถุนายน ค.ศ. 1928
29 ธันวาคม ค.ศ. 1928
สกุลเงินหยวนจีน
ก่อนหน้า
ถัดไป
ค.ศ. 1912:
ราชวงศ์ชิง
รัฐบาลชั่วคราว
ค.ศ. 1916:
จักรวรรดิจีน
ค.ศ. 1915:
จักรวรรดิจีน
ค.ศ. 1927:
เขตโซเวียต
ค.ศ. 1928:
รัฐบาลชาตินิยม

ชื่อ "เป่ย์หยาง" นั้นมาจากกองทัพเป่ย์หยาง (北洋軍) ของยฺเหวียน ชื่อไข่ (袁世凱) อดีตขุนศึกแห่งราชวงศ์ชิง (清朝) ที่ได้เป็นใหญ่ในทางการเมืองหลังราชวงศ์ล่มสลาย แม้รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีรัฐบาลพลเรือน แต่รัฐบาลพลเรือนก็ปกครองประเทศแต่ในนามเท่านั้น แม่ทัพนายกองจากทัพเป่ย์หยางเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการปกครองที่แท้จริง กระนั้น ก็ได้รับการรับรองจากนานาชาติให้เป็นรัฐบาลโดยชอบธรรมของประเทศ มีอำนาจใช้จ่ายและเรียกเก็บภาษีอากร ทั้งขอกู้ยืมเงินจากต่างชาติได้ ครั้นยฺเหวียน ชื่อไข่ สิ้นชีพลงใน ค.ศ. 1916 ทัพเป่ย์หยางก็ระส่ำระสาย เพราะแตกแยกออกเป็นหมู่เป็นเหล่าและช่วงชิงอำนาจกันเอง ต่อมาใน ค.ศ. 1917 พรรคชาตินิยม (國民黨) ของซุน ยัตเซ็น หรือซุน อี้เซียน (孫逸仙) ก็ออกหน้าคัดค้านความชอบธรรมของรัฐบาลเป่ย์หยาง จนเกิดสู้กันในการกรีธาทัพขึ้นเหนือ (北伐) เมื่อช่วง ค.ศ. 1926–1928 ผลลัพธ์ คือ รัฐบาลเป่ย์หยางกับกลุ่มอื่น ๆ พ่ายแพ้ และพรรคชาตินิยม ภายใต้การนำของเจียง ไคเช็ก หรือเจี่ยง เจี้ยฉือ (蔣介石) ที่สืบทอดตำแหน่งจากซุน อี้เซียน สามารถหลอมรวมประเทศเข้าเป็นหนึ่งได้อีกครั้งใน ค.ศ. 1928 พรรคชาตินิยมเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาลชาตินิยมของตนขึ้นที่หนานจิง (南京) ระเบียบทางการเมืองเช่นนี้ทำให้ประเทศกลายเป็นรัฐที่มีพรรคการเมืองเดียว (one-party state) แต่ภายหลังก็ได้รับการรับรองจากชาติต่าง ๆ ให้เป็นรัฐบาลโดยชอบธรรมของประเทศจีน

หมายเหตุ แก้

  1. ในตำแหน่งจอมพลสูงสุดแห่งรัฐบาลทหารสาธารณรัฐจีน
  2. จีน: 北洋政府; พินอิน: Běiyáng Zhèngfǔ; เวด-ไจลส์: Pei-yang Chêng-fu; อังกฤษ: Beiyang Government; บางครั้งถอดเป็นอักษรโรมันได้ว่า Peiyang Government