ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน หรือ ภาษาฮกเกี้ยน (ภาษาหมิ่นใต้: 福建話, ภาษาจีน: 泉漳話) เป็นภาษาหมิ่นใต้ที่มีจำนวนผู้ใช้มากที่สุด มักจะใช้เรียกแทนภาษาหมิ่นใต้ ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐานมีแหล่งต้นกำเนิดมาจากจังหวัดจางจิว เจียงจิวและจังหวัดเอ้หมึงในมณฑลฝูเจี้ยน นอกไปจากนี้ยังมีจำนวนผู้ใช้จำนวนมากในไต้หวัน ประเทศสิงคโปร์ และประเทศฟิลิปปินส์บางส่วน
ภาษาฮกเกี้ยน | |
---|---|
福建話 / 福建语 hok-kiàn-uē | |
ประเทศที่มีการพูด | จีน, ไต้หวัน, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, ไทย(บริเวณจังหวัดภูเก็ตและใกล้เคียง) และบริเวณอื่น ๆ |
ตระกูลภาษา | จีน-ทิเบต
|
ภาษาถิ่น | |
ระบบการเขียน | อักษรจีน (ภาษาเขียนฮกเกี้ยน) อักษรละติน (Pe̍h-ōe-jī) |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | ไต้หวัน [a] |
ผู้วางระเบียบ | กระทรวงศึกษาธิการ (ในไต้หวัน) |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | nan |
การกระจายตัวของภาษาหมิ่นใต้ สีเขียวเข้ม: ฮกเกี้ยน | |
แดง: ทิศเหนือ (สำเนียงเจียงจิว, สำเนียงไต้หวัน) น้ำเงิน: ทิศใต้ (สำเนียงจางจิว, สำเนียงไต้หวัน) ชมพู: ทิศตะวันออก (สำเนียงเอ้หมึง, สำเนียงผสมไต้หวัน) เหลือง: ทิศตะวันตก (สำเนียงเล้งเยียน) | |
ภาษาหมิ่นใต้ถิ่นนั้นไต้หวันเรียกว่า ไตงี่ (จีน: 臺語) ในเอเชียตะวันออกเฉียงไต้เรียกว่า ฮกเกี้ยนอวย (เป่อ่วยยี: Hok-kiàn-ōe) ส่วนจีนกลางเรียกว่า เฉวียนจางฮว่า (泉漳話) หรือภาษาเจียงจิว-จางจิว เพื่อป้องกันการสับสนกับภาษาฮกจิว (จีน: 福州話)
ที่มาของชื่อ
แก้เกี่ยวกับการเรียกชื่อภาษาหมิ่นใต้นั้น ที่จริงแล้วยังมีคำอื่นที่ใช้เรียกตามความคลุมเครืออีกได้แก่ "ฮกเกี้ยน" (福建話), "หมิ่นใต้" (閩南話), "ไต้หวัน" (臺灣話),"ฮกเล่า" (福佬話), "เอ๋อเล่า" (鶴佬話), "โฮลก" (河洛話) โดยมีที่มาดังนี้
- "โฮลก" ในงานวิจัยของอู๋ฮวาย〈河洛語閩南語中之唐宋故事〉[6][7]ได้อธิบายไว้ว่า
- 學佬話: เป็นคำที่ใช้เรียกในบริเวณข้างเคียงไหหลำ สำหรับชาวแคะเรียกว่าฮกโล่ (hok-ló, 福佬)
- 福佬話: เป็นอีกคำที่ชาวแคะใช้เรียก
- 鶴佬話: เป็นคำที่ชาวกวางตุ้งใช้เรียก
- 臺灣話, 臺語: เป็นคำที่ชาวญี่ปุ่นใช้ในช่วงที่ชาวญี่ปุ่นปกครองไต้หวัน อย่างไรแต่ คำว่า 台灣語 ไม่ได้หมายถึงภาษาฮกเกี้ยนในภาษาญี่ปุ่น
การใช้ในท้องถิ่น
แก้มณฑลฝูเจี้ยน
แก้ปัจจุบันภาษาฮกเกี้ยนในประเทศจีนมีการแบ่งแยกเป็นท้องถิ่นอยู่อีกหลายที่ หลัก ๆ แบ่งได้เป็นสี่ที่[8]ได้แก่
- ฮกเกี้ยนภาคตะวันออก (สำเนียงเซี่ยเหมิน) โดยแบ่งออกเป็นสำเนียงย่อยในเกาะและนอกเกาะเซี่ยเหมิน
- ฮกเกี้ยนถิ่นจางจิว สามารถแบ่งย่อยเป็นสำเนียงย่อยดังนี้: สำเนียงถงอาน (同安话), สำเนียงจินเหมิน (金门话), สำเนียงหนานอาน (南安话), สำเนียงอานซี (安溪话), สำเนียงจิ้นเจียง (晋江话), สำเนียงสือซือ (石狮话), สำเนียงฮุ่ยอาน (惠安话), สำเนียงโถวเป่ย์ (头北话), สำเนียงฮุ่ยหนาน (惠南话)
- ฮกเกี้ยนถิ่นเจียงจิว สามารถแยกเป็นสำเนียงย่อยได้ดังนี้: สำเนียงหลงซี (龙溪话), สำเนียงจางผู่ (漳浦话), สำเนียงหนานจิ้ง (南靖话)
- ฮกเกี้ยนตะวันตก (สำเนียงหลงเซี่ยน) สามารถแบ่งย่อยเป็นสำเนียงย่อยคือสำเนียงซินหลัว (新罗话) กับสำเนียงจางผิง (漳平话)
ไต้หวัน
แก้เอเชียตะวันออกเฉียงไต้
แก้ภาษาฮกเกี้ยนในเอเชียตะวันออกเฉียงไต้สามารถแบ่งได้ตามประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่แล้วมีความใกล้เคียงกับภาษาไต้หวันโดยแบ่งออกเป็นตามประเทศต่าง ๆ ได้แก่
- ประเทศสิงคโปร์ มีความใกล้เคียงกับสำเนียงในจังหวัดจางจิว
- ประเทศมาเลเซียตอนบน เป็นภาษาถิ่นที่ใกล้เคียงกับจังหวัดจางจิว
- ประเทศมาเลเซียตอนใต้ เป็นภาษาถิ่นที่ใกล้เคียงกับจังหวัดเจียงจิว
การออกเสียง
แก้เสียงในแผ่นดินต่าง ๆ
แก้ภาษาฮกเกี้ยนในเอ้หมึงกับไต้หวันคือถิ่นจางจิวกับเจียงจิวผสมกัน แต่ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปตามวิวัฒนาการ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการออกเสียงจะมีการเปลี่ยนไปบ้าง แต่การใช้อักษรไม่มีการเปลี่ยนและมีการใช้สำนวนที่เหมือนกัน นอกนั้นในไต้หวันในช่วงที่ญี่ปุ่นเข้าครอบครองได้รับอิทธิพลจากภาษาญี่ปุ่นพอสมควร ส่วนที่เหลือจะมีการรับอิทธิพลจากภาษามลายู ภาษาอังกฤษ ภาษาแต้จิ๋ว ภาษากวางตุ้งเป็นต้น
ภาษาฮกเกี้ยนทุกถิ่นสามารถสื่อสารอย่างเข้าใจกันได้
อักษรศาสตร์และไวยากรณ์
แก้ภาษาฮกเกี้ยนจัดเป็นภาษาแยกหน่วยคำ (Analytic language) เหมือนภาษาไทย ดังนั้นคำแต่ละคำจะมีความหมายแยกออกชัดเจนและให้ความหมายตัวต่อตัว[10] ปรกติแล้วจะเป็น ประธาน-กริยา-กรรม เหมือนภาษาไทย ทว่า ภาษาฮกเกี้ยนจะเป็นภาษาเน้นหัวข้อ (Topic-prominent language) ดังนั้นไวยากรณ์จึงไม่มีมาตรฐาน ภาษาฮกเกี้ยนไม่มีเทนซ์ ไม่แบ่งเพศ ไม่มีเอกพจน์พหูพจน์ แต่จะเป็นการเติมคำแยกเหมือนภาษาไทย
บุรุษสรรพนาม
แก้บุรุษสรรพนามในภาษาฮกเกี้ยนมีดังนี้
บุรุษสรรพนาม | เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|---|
สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง |
| |
สรรพนามบุรุษที่สอง | ||
สรรพนามบุรุษที่สาม |
- 1 หมายถึง "พวกเรา" โดยไม่รวมผู้ฟัง
- 2 หมายถึง "พวกเรา" โดยรวมผู้ฟังด้วย
- 3 ใช้ในสำเนียงฮกเกี้ยนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปัจจัย (หน่วยคำเติมหลัง) สำหรับแสดงความเป็นเจ้าของมักใช้ 的 (ê) , ปัจจัย 之 (chi) ใช้ในคำภาษาจีนดั้งเดิม
- และปรกติพหูพจน์จะไม่เติมปัจจัยแสดงความเป็นเจ้าของ เช่น 阮 (goán) , 翁 (ang) , 姓 (sèⁿ) , 陳 (Tân)
อ้างอิง
แก้- ↑ "Draft national language development act clears legislative floor". focustaiwan.tw. 25 December 2018.
- ↑ "立院三讀《國家語言發展法》 公廣集團可設台語電視台". ltn.com.tw. 25 December 2018.
- ↑ "《國家語言發展法》立院三讀!政府得設台語專屬頻道". ltn.com.tw. 25 December 2018.
- ↑ 大眾運輸工具播音語言平等保障法
- ↑ Article 6 of the Standards for Identification of Basic Language Abilities and General Knowledge of the Rights and Duties of Naturalized Citizens เก็บถาวร 25 กรกฎาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 吳坤明 (June 2008). "臺灣閩南語之淵源與正名" (PDF). 臺灣學研究第五期. 臺灣學研究中心. pp. 54–73. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-06. สืบค้นเมื่อ 2017-08-10.
- ↑ 蕭藤村 (2012-10-25). 臺灣話俗諺語典(上,下冊). Taibei, ROC: 五南圖書出版股份有限公司. ISBN 9789571168333. OCLC 826833072.
- ↑ "福建概览 方言". 2015-10-23.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 周長楫 (2000). 李榮 (บ.ก.). 閩南語辭典,第21页 (ภาษาจีน). Tainan, ROC: 真平企業有限公司. p. 21. ISBN 9578447523. OCLC 813718937.
- ↑ Ratte, Alexander T. (May 2009). "A DIALECTAL AND PHONOLOGICAL ANALYSIS OF PENGHU TAIWANESE" (PDF). Williamstown, Massachusetts: Williams College: 4.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)
หมายเหตุ
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- คู่มือการท่องเที่ยว Minnan_phrasebook จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- "闽南语". จากสารานุกรมไป่ตู้ไป่เค่อ (ในภาษาจีน)