ภาษาจีนฮกเกี้ยนสำเนียงไต้หวัน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ภาษาจีนฮกเกี้ยนสำเนียงไต้หวัน (อังกฤษ: Taiwanese Hokkien; จีน: 臺灣福建話; พินอิน: Táiwān fújiàn huà) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาษาไต้หวัน (อังกฤษ: Taiwanese; จีน: 臺灣話; พินอิน: Táiwān huà; ไต้หวัน: Tâi-oân-oē; หรือ จีน: 臺語; พินอิน: Tái yǔ; ไต้หวัน: Tâi-gí) เป็นภาษาจีนสำเนียงฮกเกี้ยนซึ่งใช้โดยราว ๆ ร้อยละเจ็ดสิบของประชากรในสาธารณรัฐจีน (ประเทศไต้หวัน) จัดเป็นสำเนียงย่อยของภาษาจีนฮกเกี้ยนที่เรียก ฮกโล (Hoklo) และเป็นภาษาประจำชาติไต้หวัน อย่างไรก็ดี ภาษาราชการของสาธารณรัฐจีน คือ ภาษาจีนสำเนียงกลางซึ่งใช้รูปแบบการเขียนแตกต่างจากสำเนียงกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) เพราะชาวไต้หวันยังใช้ตัวอักษรจีนดั้งเดิมซึ่งเรียก อักษรจีนตัวเต็ม ส่วนจีนแผ่นดินใหญ่ปรับปรุงระบบตัวอักษรให้เขียนง่ายขึ้นเรียก อักษรจีนตัวย่อ
ภาษาฮกเกี้ยนสำเนียงไต้หวัน | |
---|---|
臺灣話 Tâi-oân-oē | |
ประเทศที่มีการพูด | ไต้หวัน |
ภูมิภาค | เอเชีย |
จำนวนผู้พูด | ราว 15 ล้านคนในไต้หวัน; 49 ล้านคน (ภาษาจีนฮกเกี้ยน) (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | จีน-ทิเบต
|
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | ไต้หวัน [a] |
ผู้วางระเบียบ | กระทรวงศึกษาธิการ (ในไต้หวัน) |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | zh |
ISO 639-2 | chi (B) zho (T) |
ISO 639-3 | nan |
ไวยากรณ์
แก้ใกล้เคียงกับภาษาจีนสำเนียงทางใต้เช่นภาษาฮากกาการเรียงประโยคเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม เช่นเดียวกับภาษาจีนกลาง แต่สามารเรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยาได้เมื่อเป็นรูปถูกกระทำและเติมอนุภาคของคำ ตัวอย่างเช่นประโยค "ฉันจับคุณ" คำที่เก่ยวข้องคือ: goá ("ฉัน" ในรูปประธานและกรรม), phō ("จับ"), lí ("คุณ").
- ประธาน-กริยา-กรรม (แบบมาตรฐาน) : เป็น: Goá phō lí. ("ฉันจับคุณ")
- ประธาน-kā- กรรม-กริยา เป็น Goá kā lí phō, ความหมายเปลี่ยนไปเล็กน้อยคือ "ฉันเข้าถึงคุณและจับ"
- กรรม- hō•- ประธาน-กริยา (รูปถูกกระทำ) : เป็น Lí hō• goá phō ความหมายเปลี่ยนไปเล็กน้อยเป็นรูปถูกกระทำคือ "คุณยอมให้ตัวของคุณถูกจับโดยฉัน" หรือ "คุณทำให้ตัวคุณถูกฉันจับได้"
ด้วยวิธีนี้จะทำให้สร้างประโยคที่ซับซ้อนขึ้นได้ เช่น Goá kā chúi hō• lí lim ("ฉันให้น้ำแก่คุณเพื่อดื่ม ": chúi หมายถึง "น้ำ"; lim หมายถึง "ดื่ม").
การจัดจำแนก
แก้ภาษาไต้หวันเป็นรูปแบบหนึ่งของภาษาอมอยที่เป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาจีนฮกเกี้ยน และเป็นส่วนหนึ่งของภาษาจีนหมิ่นและภาษาจีน การเป็นภาษาหรือสำเนียงของภาษาไต้หวันขึ้นกับมุมมองทางการเมือง ภาษาจีนหมิ่นเป็นภาษาเดียวของภาษาจีนที่ไม่ได้มาจากภาษาจีนยุคกลางโดยตรง บางครั้งจึงยากที่จะหาอักษรจีนที่เหมาะสมสำหรับคำศัพท์ในภาษาจีนฮกเกี้ยน และเป็นเหตุผลหนึ่งทำให้ผู้พูดภาษานี้เข้าใจกับผู้พูดภาษาจีนกลางหรือผู้พูดภาษาจีนสำเนียงอื่นๆได้ยาก
ผู้พูดภาษาไต้หวันทั้งหมดเกือบจะถือว่าเป็นผู้พูดภาษาอมอยด้วย ความผันแปรทางด้านพื้นที่ภายในภาษาไต้หวัน อาจจะติดตามย้อนกลับไปสู่ความแตกต่างของภาษาอมอยในมณฑลฝูเจี้ยนตอนใต้ ภาษาไต้หวันมีคำยืมจากภาษาญี่ปุ่นและกลุ่มภาษาเกาะฟอร์โมซา ในปัจจุบันได้มีการทำงานวิจัยเกี่ยวกับความเกี่ยวข้องของคำศัพท์พื้นฐานในภาษาไต้หวันกับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนและตระกูลภาษาขร้า-ไท
ผู้พูดภาษาจีนฮกเกี้ยน ส่วนใหญ่อยู่ในมณฑลฝูเจี้ยน และต่อมาบางส่วนได้อพยพไปสู่ไต้หวัน งานเขียนเกี่ยวกับละครที่ตีพิมพ์ในสมัยราชวงศ์หมิงเมื่อราว พ.ศ. 2103 เป็นส่วนหนึ่งของงานที่มีการรู้จักในช่วงแรกๆ แต่รูปแบบของภาษาแบบนี้ส่วนใหญ่เลิกใช้แล้ว
รากศัพท์
แก้งานศึกษาทางด้านภาษาศาสตร์สมัยใหม่ประมาณว่าคำศัพท์ 75 – 90% ของคำศัพท์ในภาษาไต้หวันมีความคล้ายคลึงกับภาษาจีนอื่นๆ ตัวอย่างเช่น cháu หมายถึงวิ่ง ในภาษาไต้หวัน ส่วนในภาษาจีนกลาง zou หมายถึงเดิน นอกจากนั้น phin หมายถึงจมูก (ภาษาจีนกลาง bi) แต่หมายถึงได้กลิ่นได้ด้วย แต่ก็มีบางคำที่มีความหมายแตกต่างไปจากภาษาจีนอื่นๆทั้งหมด
ความใกล้ชิดกับภาษาญี่ปุ่นทำให้มีคำยืมจากภาษาญี่ปุ่น แม้ว่าจะมีจำนวนน้อย แต่ใช้บ่อยเพราะเป็นศัพท์ในสังคมสมัยใหม่เช่นคำว่า oo-to-bái มาจากภาษาญี่ปุ่น ootobai ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษอีกต่อหนึ่ง และ pháng มาจากภาษาญี่ปุ่น pan (ขนมปัง) ที่มาจากภาษาโปรตุเกสอีกต่อหนึ่ง มีการยืมหน่วยทางไวยากรณ์จากภาษาญี่ปุ่นเช่น te_k (จาก teki) และ ka ซึ่งพบในภาษาไต้หวันที่พูดโดยผู้สูงอายุ ภาษาไต้หวันไม่มีรูปพหูพจน์ที่แท้จริง เช่นเดียวกับภาษาจีนอื่นๆ
ภาษาจีนมีสรรพนามบุรุษที่ 1 พหูพจน์สองคำคือการรวมผู้ฟังและไม่รวมผู้ฟัง เช่น goán = พวกเราไม่รวมคุณ ในขณะที่ lán = พวกเรารวมคุณด้วย คำว่า lán ยังใช้เพื่อแสดงความสุภาพ การแบ่งแยกนี้เป็นลักษณะทั่วไปของกลุ่มภาษาจีน-ทิเบต
อักษรและการออกเสียง
แก้ภาษาไต้หวันไม่มีการเขียนเป็นของตนเองก่อนพุทธศตวรรษที่ 14 ผู้พูดภาษาไต้หวันใช้อักษรจีน ระบบการเขียนที่ใช้อักษรละตินที่เรียกว่าเป่อ่วยยี (POJ) ได้พัฒนาขึ้นขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 24 ปัจจุบันนี้ ผู้พูดภาษาไต้หวันนิยมเขียนด้วยอักษรจีน โดยใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ของภาษาจีนกลาง
อักษรจีนหรืออักษรฮั่น
แก้โดยส่วนใหญ่ผู้พูดภาษาไต้หวันใช้อักษรที่มีลักษณะของอักษรฮั่นหรืออักษรจีน โดยยืมอักษรที่มีเสียงคล้ายกัน
อักษรละติน
แก้ในบางครั้งภาษาไต้หวันเขียนด้วยอักษรละติน ตามการออกเสียงเรียกอักษรเป่อ่วยยี พัฒนาขึ้นครั้งแรกโดยมิชชันนารีนิกายเพรสไบทีเรียนและปรับปรุงโดยมิชชันนารีนิกายนี้ที่เป็นชาวไต้หวัน ระบบอื่นๆที่ใช้ภาษาละตินได้แก่ อักษรสัทศาสตร์ภาษาไต้หวัน (TLPA) ภาษาไต้หวันสมัยใหม่ (MTL) และโฟซิสไดบูอัน (PSDB)
ในการเขียนแบบเป่อ่วยยีมีตัวอักษร 24 ตัวรวมทั้ง ts ซึ่งใช้แสดงเสียง /ch/ มีเครื่องหมายแสดงเสียงนาสิกและวรรณยุกต์ ใน พ.ศ. 2549 คณะกรรมการภาษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการของสาธารณรัฐจีนได้เสนอการเขียนแบบการออกเสียงแบบโรมันสำหรับภาษาไต้หวัน โดยรวมแบบเป่อ่วยยีกับ TLPA การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือเปลี่ยนจาก ts เป็น ch และ tsh เป็น chh
อักษรคานะ
แก้ภาษาไต้หวันเคยเขียนด้วยอักษรคานะแบบญี่ปุ่นเมื่ออยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น รัฐบาลก๊กมินตั๋งเคยเสนอการเขียนแบบ Bopomofo
ในคอมพิวเตอร์
แก้ภาษาจีนฮกเกี้ยนได้ลงทะเบียนใน RFC 3066 เป็น zh-min-nan ภาษาไต้หวันใช้รหัสว่า zh-min-nan-TW
เปรียบเทียบการเขียนภาษาไต้หวัน
แก้IPA | a | ap | at | ak | aʔ | ã | ɔ | ɔk | ɔ̃ | ə | o | e | ẽ | i | ɪɛn | iŋ |
เป่อ่วยยี | a | ap | at | ak | ah | aⁿ | o͘ | ok | oⁿ | o | o | e | eⁿ | i | ian | eng |
Revised TLPA | a | ap | at | ak | ah | aN | oo | ok | ooN | o | o | e | eN | i | ian | ing |
TLPA | a | ap | at | ak | ah | ann | oo | ok | oonn | o | o | e | enn | i | ian | ing |
BP | a | ap | at | ak | ah | na | oo | ok | noo | o | o | e | ne | i | ian | ing |
MLT | a | ab/ap | ad/at | ag/ak | aq/ah | va | o | og/ok | vo | ø | ø | e | ve | i | ien | eng |
DT | a | āp/ap | āt/at | āk/ak | āh/ah | ann/aⁿ | o | ok | onn/oⁿ | or | or | e | enn/eⁿ | i | ian/en | ing |
คานะไต้หวัน | アア | アプ | アツ | アク | アア | アア | オオ | オク | オオ | オオ | ヲヲ | エエ | エエ | イイ | イエヌ | イエン |
จู้อินแบบใส่เพิ่ม | ㄚ | ㄚㆴ | ㄚㆵ | ㄚㆶ | ㄚㆷ | ㆩ | ㆦ | ㆦㆶ | ㆧ | ㄜ | ㄛ | ㆤ | ㆥ | ㄧ | ㄧㄢ | ㄧㄥ |
ไถหลัว | a | ap | at | ak | ah | ann | oo͘ | ok | onn | o | o | e | enn | i | ian | ing |
ตัวอย่าง (จีนตัวเต็ม) | 亞 洲 |
壓 力 |
警 察 |
沃 水 |
牛 肉 |
三 十 |
烏 色 |
中 國 |
澳 洲 |
澳 洲 |
下 晡 |
醫 學 |
鉛 筆 |
英 國 | ||
ตัวอย่าง (จีนตัวย่อ) | 亚 洲 |
压 力 |
警 察 |
沃 水 |
牛 肉 |
三 十 |
烏 色 |
中 国 |
澳 洲 |
澳 洲 |
下 晡 |
医 学 |
铅 笔 |
英 国 |
IPA | ɪk | ĩ | ai | aĩ | au | am | ɔm | m̩ | ɔŋ | ŋ̍ | u | ua | ue | uai | uan | ɨ | (i)ũ |
อักษรเป่อ่วยยี | ek | iⁿ | ai | aiⁿ | au | am | om | m | ong | ng | u | oa | oe | oai | oan | i | (i)uⁿ |
Revised TLPA | ik | iN | ai | aiN | au | am | om | m | ong | ng | u | ua | ue | uai | uan | ir | (i)uN |
TLPA | ik | inn | ai | ainn | au | am | om | m | ong | ng | u | ua | ue | uai | uan | ir | (i)unn |
BP | ik | ni | ai | nai | au | am | om | m | ong | ng | u | ua | ue | uai | uan | i | n(i)u |
MLT | eg/ek | vi | ai | vai | au | am | om | m | ong | ng | u | oa | oe | oai | oan | i | v(i)u |
DT | ik | inn/iⁿ | ai | ainn/aiⁿ | au | am | om | m | ong | ng | u | ua | ue | uai | uan | i | (i)unn/uⁿ |
คานะแบบไต้หวัน | イエク | イイ | アイ | アイ | アウ | アム | オム | ム | オン | ン | ウウ | ヲア | ヲエ | ヲアイ | ヲアヌ | ウウ | ウウ |
จู้อินแบบใส่เพิ่ม | ㄧㆶ | ㆪ | ㄞ | ㆮ | ㆯ | ㆰ | ㆱ | ㆬ | ㆲ | ㆭ | ㄨ | ㄨㄚ | ㄨㆤ | ㄨㄞ | ㄨㄢ | ㆨ | ㆫ |
ไถหลัว | ik | inn | ai | ainn | au | am | om | m | ong | ng | u | ua | ue | uai | uan | i | iunn |
ตัวอย่าง (อักษรจีนตัวเต็ม) | 翻 譯 |
病 院 |
愛 情 |
歐 洲 |
暗 時 |
阿 姆 |
王 梨 |
黃 色 |
有 無 |
歌 曲 |
講 話 |
奇 怪 |
人 員 |
豬 肉 |
舀 水 | ||
ตัวอย่าง (อักษรจีนตัวย่อ) | 翻 译 |
病 院 |
爱 情 |
欧 洲 |
暗 时 |
阿 姆 |
王 梨 |
黄 色 |
有 无 |
歌 曲 |
讲 话 |
奇 怪 |
人 员 |
猪 肉 |
舀 水 |
IPA | p | b | pʰ | m | t | tʰ | n | nŋ | l | k | ɡ | kʰ | h | tɕi | ʑi | tɕʰi | ɕi | ts | dz | tsʰ | s |
อักษรเป่อ่วยยี | p | b | ph | m | t | th | n | nng | l | k | g | kh | h | chi | ji | chhi | si | ch | j | chh | s |
Revised TLPA | p | b | ph | m | t | th | n | nng | l | k | g | kh | h | zi | ji | ci | si | z | j | c | s |
TLPA | p | b | ph | m | t | th | n | nng | l | k | g | kh | h | zi | ji | ci | si | z | j | c | s |
BP | b | bb | p | bb | d | t | n | lng | l | g | gg | k | h | zi | li | ci | si | z | l | c | s |
MLT | p | b | ph | m | t | th | n | nng | l | k | g | kh | h | ci | ji | chi | si | z | j | zh | s |
DT | b | bh | p | m | d | t | n | nng | l | g | gh | k | h | zi | r | ci | si | z | r | c | s |
อักษรคานะแบบไต้หวัน | パア | バア | パ̣ア | マア | タア | タ̣ア | ナア | ヌン | ラア | カア | ガア | カ̣ア | ハア | チイ | ジイ | チ̣イ | シイ | サア | ザア | サ̣ア | サア |
จู้อินแบบใส่เพิ่ม | ㄅ | ㆠ | ㄆ | ㄇ | ㄉ | ㄊ | ㄋ | ㄋㆭ | ㄌ | ㄍ | ㆣ | ㄎ | ㄏ | ㄐ | ㆢ | ㄑ | ㄒ | ㄗ | ㆡ | ㄘ | ㄙ |
ไถหลัว | p | b | ph | m | t | th | n | nng | l | k | g | kh | h | tsi | ji | tshi | si | ts | j | tsh | s |
ตัวอย่าง (อักษรจีนตัวเต็ม) | 報 紙 |
閩 南 |
普 通 |
請 問 |
豬 肉 |
普 通 |
過 年 |
雞 卵 |
樂 觀 |
價 值 |
牛 奶 |
客 廳 |
煩 惱 |
支 持 |
漢 字 |
支 持 |
是 否 |
報 紙 |
熱 天 |
參 加 |
司 法 |
ตัวอย่าง(อักษรจีนตัวย่อ) | 报 纸 |
闽 南 |
普 通 |
请 问 |
猪 肉 |
普 通 |
过 年 |
鸡 卵 |
乐 观 |
价 值 |
牛 奶 |
客 厅 |
烦 恼 |
支 持 |
汉 字 |
支 持 |
是 否 |
报 纸 |
热 天 |
参 加 |
司 法 |
ชื่อวรรณยุกต์ | ระดับหยิน 陰平(1) |
Yin rising 陰上(2) |
Yin departing 陰去(3) |
Yin entering 陰入(4) |
ระดับหยาง 陽平(5) |
Yang rising 陽上(6) |
Yang departing 陽去(7) |
Yang entering 陽入(8) |
High rising (9) |
Neutral tone (0) |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
IPA | a˥ | a˥˧ | a˨˩ | ap˩ at˩ ak˩ aʔ˩ |
a˧˥ | a˥˧ | a˧ | ap˥ at˥ ak˥ aʔ˥ |
a˥˥ | a˨ |
อักษรเป่อ่วยยี | a | á | à | ap at ak ah |
â | á | ā | a̍p a̍t a̍k a̍h |
--a | |
Revised TLPA TLPA |
a1 | a2 | a3 | ap4 at4 ak4 ah4 |
a5 | a2 (6=2) | a7 | ap8 at8 ak8 ah8 |
a9 | a0 |
BP | ā | ǎ | à | āp āt āk āh |
á | ǎ | â | áp át ák áh |
||
MLT |
af | ar | ax | ab ad ag aq |
aa | aar | a | ap at ak ah |
~a | |
DT | a | à | â | āp āt āk āh |
ǎ | à | ā | ap at ak ah |
á | å |
อักษรคานะแบบไต้หวัน (normal vowels) |
アア | アア | アア | アプ アツ アク アア |
アア | アア | アア | アプ アツ アク アア |
||
อักษรคานะแบบไต้หวัน (สระนาสิก) |
アア | アア | アア | アプ アツ アク アア |
アア | アア | アア | アプ アツ アク アア |
||
จู้อิน | ㄚ | ㄚˋ | ㄚᒻ | ㄚㆴ ㄚㆵ ㄚㆶ ㄚㆷ |
ㄚˊ | ㄚˋ | ㄚ⊦ | ㄚㆴ̇ ㄚㆵ̇ ㄚㆶ̇ ㄚㆷ̇ |
||
ไถหลัว | a | á | à | ah | â | á | ā | a̍h | ||
ตัวอย่าง (อักษรจีนตัวเต็ม) |
公司 | 報紙 | 興趣 | 血壓 警察 中國 牛肉 |
人員 | 草地 | 配合 法律 文學 歇熱 |
社子 | 進去 | |
ตัวอย่าง (อักษรจีนตัวย่อ) |
公司 | 报纸 | 兴趣 | 血压 警察 中国 牛肉 |
人员 | 草地 | 配合 法律 文学 歇热 |
社子 | 進去 |
สัทศาสตร์เชิงสังคม
แก้ความผันแปรในแต่ละบริเวณ
แก้ในไต้หวัน สำเนียงไทนานทางใต้ของไต้หวันเป็นสำเนียงหลัก สำเนียงอื่น ๆ ได้แก่ สำเนียงทางเหนือ สำเนียงภาคกลางและสำเนียงตามแนวชายฝั่งทางเหนือ ลักษระที่แตกต่างไปของสำเนียงตามแนวชายฝั่งคือการใช้สระ ‘uiⁿ’ แทนที่ ng สำเนียงทางเหนือแตกต่างไปโดยไม่มีเสียงวรรณยุกต์เสียงที่ 8 สำเนียงกลางเพิ่มเสียงสระ [ɨ] หรือ [ø]ซึ่งอยู่ระหว่าง i และ u
อิทธิพล
แก้ประชาชนส่วนใหญ่ในไต้หวันพูดทั้งภาษาจีนกลางและภาษาไต้หวันทำให้มีอิทธิพลระหว่างกัน มีประชากรในไต้หวันประมาณ 20 - 30% ไม่สามารถพูดภาษาไต้หวันได้เลย ในขณะเดียวกันมีชาวไต้หวันประมาณ 10 - 20% ส่วนใหญ่เกิดก่อน พ.ศ. 2493 ไม่สามารถพูดภาษาจีนกลางได้เลย ชาวฮากกาในไต้หวันประมาณ 1/2 หนึ่งพูดภาษาไต้หวันได้ มีหลายครอบครัวที่เป็นเลือดผสมระหว่างฮากกา ฮกโล และชาวพื้นเมือง มีชาวไต้หวันจำนวนมากที่สามารถเข้าใจภาษาไต้หวันได้ดีกว่าการพูดภาษาไต้หวัน
โดยทั่วไปประชาชนจะใช้ภาษาจีนกลางในสถานะที่เป็นทางการ และใช้ภาษาไต้หวันในสถานะที่ไม่เป็นทางการ ภาษาไต้หวันจะใช้มากในเขตชนบท และใช้ภาษาจีนกลางมากในเขตเมือง คนอายุมากมีแนวโน้มใช้ภาษาไต้หวัน ในขณะที่วัยรุ่นมีแนวโน้มใช้ภาษาจีนกลาง สื่อต่าง ๆ เช่น วิทยุ ละครใช้ภาษาไต้หวัน ส่วนงานที่เป็นเอกสารใช้ภาษาจีนกลาง การสื่อสารทางการเมืองใช้ภาษาไต้หวันและภาษาจีนกลาง
ศิลปะและกวีนิพนธ์
แก้Chhit-jī-á เป็นการเขียนกวีนิพนธ์ของภาษาไต้หวัน แต่ละวรรคมี 7 พยางค์ และมีรูปแบบเฉพาะสำหรับการแสดงละครเรียก koa-á-hì และหุ่นกระบอกแบบไต้หวันเรียก Pò͘-tē-hì
การแปลไบเบิล
แก้เช่นเดียวกับภาษาอื่น ๆ การแปลไบเบิลเป็นภาษาไต้หวันมีลำดับขั้นของการจัดมาตรฐานภาษาและการออกเสียง การแปลไบเบิลเป็นภาษาอมอยหรือภาษาไต้หวันด้วยการออกเสียงแบบเป่อ่วยยีโดยมิชชันนารีที่เข้ามาอยู่ในไต้หวัน James Laidlaw Maxwell ส่วนที่เป็นพันธสัญญาใหม่เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2416 ส่วนพันธสัญญาเก่าเผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2427
การแปลไบเบิลรุ่นต่อมาดำเนินการโดย Thomas Barclay ทั้งในมณฑลฝูเจี้ยนและไต้หวัน[6][7] ภาคพันธสัญญาใหม่แปลเป็นภาษาไต้หวันโดยสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2459 การแปลทั้งสองภาคเป็นภาษาไต้หวันโดยใช้การออกเสียงแบบเป่อ่วยยีสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2473 และตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2476 และได้ปริวรรตเป็นรูปที่ใช้อักษรจีนใน พ.ศ. 2539 [8]
การตีพิมพ์ไบเบิลปกแดงซึ่งใช้การออกเสียงแบบเป่อ่วยยี ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2516 โดยใช้ศัพท์สมัยใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนกลาง การแปลเป็นภาษาไต้ไหวันโดยใช้รูปแบบอักษรโรมันปัจจุบันของไต้หวันตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2551[9] เฉพาะพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเก่ากำลังจัดพิมพ์[10]
การเมือง
แก้ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 การใช้ภาษาไต้หวันร่วมกับสำเนียงอื่น ๆ ของภาษาจีนที่ไม่ใช่ภาษาจีนกลางถูกควบคุมโดยรัฐบาลก๊กมินตั๋งทั้งการใช้ในโรงเรียนและสื่อออกอากาศ การจำกัดถูกยกเลิกเมื่อ พ.ศ. 2533 เนื่องมีกระแสการสร้างความสำคัญของท้องถิ่น ภาษาจีนกลางยังคงเป็นภาษาสำคัญในโรงเรียน แต่ภาษาไต้หวันจะถูกสอนในโรงเรียนในฐานะภาษาแม่ ซึ่งเลือกได้ระหว่างภาษาไต้หวัน ภาษาฮากกา และภาษาของชาวพื้นเมือง การรณรงค์ให้ใช้ภาษาไต้หวันมากกว่าภาษาจีนกลางเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการไต้หวันเอกราชในอดีต แต่ความเชื่อมโยงระหว่างการเมืองกับภาษาในปัจจุบันลดน้อยลง ผลทางการเมืองของการใช้ภาษาไต้หวันมีทั้งเพื่อการเรียกร้องเอกราช และความเป็นหนึ่งเดียวกันของไต้หวัน การใช้ภาษาไต้หวันเพื่อการเรียกร้องเอกราชได้ลดลงเพราะต้องการความร่วมมือจากชาวจีนแผ่นดินใหญ่และชาวฮากกา
อ้างอิง
แก้- ↑ "Draft national language development act clears legislative floor". focustaiwan.tw. 25 December 2018.
- ↑ "立院三讀《國家語言發展法》 公廣集團可設台語電視台". ltn.com.tw. 25 December 2018.
- ↑ "《國家語言發展法》立院三讀!政府得設台語專屬頻道". ltn.com.tw. 25 December 2018.
- ↑ 大眾運輸工具播音語言平等保障法
- ↑ Article 6 of the Standards for Identification of Basic Language Abilities and General Knowledge of the Rights and Duties of Naturalized Citizens เก็บถาวร 25 กรกฎาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "本土聖經" (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2008-07-14.
- ↑ "書評『聖經--台語漢字本』" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-20. สืบค้นเมื่อ 2008-07-14.
- ↑ 台語信望愛: 《當上帝開嘴講台語》: 4.1.4 《台語漢字本》
- ↑ PeoPo: 現代台語新約羅馬字聖經 出版感謝e話
- ↑ 台灣聖經公會 (The Bible Society of Taiwan) : 台語聖經
หมายเหตุ
แก้หนังสือและสื่ออื่น ๆ
แก้(หนังสือเกี่ยวกับภาษาไต้หวันที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษมีจำกัด ส่วนใหญ่เป็นภาษาญี่ปุ่นและภาษาเยอรมัน)
- ตำราและพจนานุกรมภาษาอังกฤษ
- Yeh, Chieh-Ting; Lee, Marian (2005), Harvard Taiwanese 101, Tainan: King-an Publishing, ISBN 957-29355-9-3 Format: Paperback and CDs
- Su-chu Wu, Bodman, Nicholas C.: Spoken Taiwanese with cassette (s), 1980/2001, ISBN 0-87950-461-7 or ISBN 0-87950-460-9 or ISBN 0-87950-462-5
- Campbell, William: Ē-mn̂g-im Sin Jī-tián (Dictionary of the Amoy Vernacular). Tainan, Taiwan: Tâi-oân Kàu-hoē Kong-pò-siā (Taiwan Church Press, Presbyterian Church in Taiwan). June 1993 (First published July 1913).
- Iâu Chèng-to: Cheng-soán Pe̍h-oē-jī (Concise Colloquial Writing). Tainan, Taiwan: Jîn-kong (an imprint of the Presbyterian Church in Taiwan). 1992.
- Tân, K. T: A Chinese-English Dictionary: Taiwan Dialect. Taipei: Southern Materials Center. 1978.
- Maryknoll Language Service Center: English-Amoy Dictionary. Taichung, Taiwan: Maryknoll Fathers. 1979.
- Klöter, Henning. Written Taiwanese. Wiesbaden: Harrassowitz, 2005. ISBN 3-447-05093-4.
- หนังสือภาษาญี่ปุ่น
- 樋口 靖: 台湾語会話, 2000, ISBN 4-497-20004-3 (Good and yet concise introduction to the Taiwanese language in Japanese; CD: ISBN 4-497-20006-X)
- 趙 怡華: はじめての台湾語, 2003, ISBN 4-7569-0665-6 (Introduction to Taiwanese [and Mandarin]; in Japanese).
- 鄭 正浩: 台湾語基本単語2000, 1996, ISBN 4-87615-697-2 (Basic vocabulary in Taiwanese 2000; in Japanese).
- 趙 怡華, 陳 豐惠, たかお かおり, 2006, 絵でわかる台湾語会話. ISBN 978-4-7569-0991-6 (Conversations in Taiwanese [and Mandarin] with illustrations; in Japanese).
- อื่น ๆ
- Katharina Sommer, Xie Shu-Kai: Taiwanisch Wort für Wort, 2004, ISBN 3-89416-348-8 (Taiwanese for travellers, in German. CD: ISBN 3-8317-6094-2) (เยอรมัน)
- บทความและสื่ออื่น
- Tiuⁿ Jū-hông: Principles of Pe̍h-oē-jī or the Taiwanese Orthography: an introduction to its sound-symbol correspondences and related issues. Taipei: Crane Publishing, 2001. ISBN 957-2053-07-8
- Wi-vun Taiffalo Chiung: Tone Change in Taiwanese: Age and Geographic Factors.
- Taiwanese learning resources (a good bibliography in English) (Google cache as a web page)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เกี่ยวกับภาษา
- An introduction to the Taiwanese language for English speakers
- Blog on the Taiwanese language and language education in Taiwan
- How to Forget Your Mother Tongue and Remember Your National Language, by Victor H. Mair.
- Ethnologue Report For Chinese Min-Nan (15th edition) ; Ethnologue Report For Chinese Min-Nan (14th edition). This report uses a classification which considers Taiwanese a dialect of Min-Nan, which is classified as a separate language from Mandarin. This view of Taiwanese is controversial for the political reasons mentioned above.
- พจนานุกรม
- By the Republic of China's Ministry of Education (จีน)
- Taiwanese-Mandarin on-line dictionary เก็บถาวร 2011-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Taiwanese Hokkien Han Character Dictionary เก็บถาวร 2011-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Taiwanese-Hakka-Mandarin on-line เก็บถาวร 2006-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (จีน)
- The Maryknoll Taiwanese-English Dictionary and English-Amoy Dictionary
- ทางการศึกษา
- Intermediate Taiwanese grammar (as a blog)
- Taiwanese vocabulary: word of the day (blog)
- Taiwanese teaching material เก็บถาวร 2018-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: Nursery rhymes and songs in Han characters and romanization w/ recordings in MP3
- Learn Taiwanese by James Campbell. The orthography used appears to be slightly modified pe̍h-oē-jī.
- Travlang (language resources for travellers) : Hō-ló-oē เก็บถาวร 2017-05-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- อื่น ๆ