การปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีน

การปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีน เป็นที่รู้จักกันอย่างเป็นทางการว่า สงครามปลดปล่อยประชาชนชาวจีน ในสาธารณรัฐประชาชนจีน(PRC) และยังเป็นที่รู้จักอีกอย่างคือ สงครามพิทักษ์ชาติต่อต้านกบฎคอมมิวนิสต์ ในสาธารณรัฐจีน(ROC) เป็นช่วงเวลาของการปฏิวัติทางสังคมและการเมืองในจีนซึ่งเริ่มต้นขึ้นจากการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนใน ค.ศ. 1921 ต่อเนื่องเรื่อยมาไปจนถึงแนวร่วมที่หนึ่งใน ค.ศ. 1920 พรรคการเมืองนี้ถูกก่อตั้งขึ้นในหมู่ชนชั้นแรงงานภายในเมืองและทำงานเพื่อทำให้ชาวนาคนจีนที่มีความคิดแบบหัวรุนแรงทางเมืองผ่านการปฏิรูปที่ดิน อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 1927 การสังหารหมู่ที่เซี่ยงไฮ้ได้ทำให้แนวร่วมที่หนึ่งสิ้นสุดลง และพรรคถูกบีบบังคับให้ไปอยู่ในชนบท ในช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง(ค.ศ. 1937-45) และแนวร่วมที่สอง พรรคได้เรียกร้องการต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมเช่นกัน ในทางการทหาร การปฏิวัติได้สิ้นสุดลงด้วยสงครามกลางเมืองจีน(ค.ศ. 1945-1949) เมื่อกองทัพปลดปล่อยประชาชนสามารถเอาชนะกองทัพสาธารณรัฐจีนได้อย่างเด็ดขาด นำไปสู่การยุติสงครามที่ไม่ต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่าสองทศวรรษระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีน(CCP) และพรรคก๊กมินตั๋ง(KMT หรือ ชาตินิยม) รัฐบาลชาตินิยมของเจียง ไคเชกได้อพยพไปยังเกาะไต้หวัน และในฐานะประธานแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน เหมา เจ๋อตงได้กลายเป็นบุคคลสำคัญในรัฐบาลหลังการปฏิวัติของจีนแผ่นดินใหญ่

การปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีน
中国共产主义革命
Other Names
  • สงครามปลดปล่อยประชาชนชาวจีน
  • 中国人民解放战争
  • สงครามพิทักษ์ชาติต่อต้านกบฏคอมมิวนิสต์
  • 反共衛國戡亂戰爭
  • สงครามกลางเมืองก๊กมินตั๋ง-คอมมิวนิสต์
  • 第二次國共內戰 / 第二次国共内战
ส่วนหนึ่งของ สงครามกลางเมืองจีน (ค.ศ. 1927–)
ส่วนหนึ่งของสงครามเย็น (ค.ศ. 1947–1991)
หมุนตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย:
วันที่10 สิงหาคม ค.ศ. 1945 – 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949[a](4 ปี, 1 เดือน และ 3 สัปดาห์)
7 ธันวาคม ค.ศ. 19491 มกราคม ค.ศ. 1979
(วิกฤตการณ์ช่องแคบเกาะไต้หวัน)
(29 ปี, 5 เดือน, 2 สัปดาห์ และ 6 วัน)
สถานที่
จีนใน, แมนจูเรีย, ซินเจียง
(สงครามเย็น: เกาหลี เวียดนาม และพม่า)
ผล
คู่สงคราม

ได้รับการสนับสนุนโดย:
กลุ่มตะวันออก


ได้รับการสนับสนุนโดย:
กลุ่มตะวันตก

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
  • 1,270,000 นาย(กันยายน ค.ศ. 1945)
  • 2,800,000 นาย(มิถุนายน ค.ศ. 1948)
  • 4,000,000 นาย(มิถุนายน ค.ศ. 1949)
  • 4,300,000 นาย(กรกฎาคม ค.ศ. 1946)
  • 3,650,000 นาย(มิถุนายน ค.ศ. 1948)
  • 1,490,000 นาย(มิถุนายน ค.ศ.1949)
ความสูญเสีย
250,000 นายในสามการทัพ 1.5 ล้านนายในสามการทัพ[2]

ชัยชนะของคอมมิวนิสต์ได้ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสมดุลแห่งอำนาจของโลก: จีนกลายเป็นรัฐสังคมนิยมหลักที่สอง และภายหลังจากความแตกแยกระหว่างจีน-โซเวียตใน ค.ศ. 1956 มหาอำนาจที่สามในสงครามเย็น สาธารณรัฐประชาชนได้ให้การสนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อขบวนการลัทธิคอมมิวนิสต์ทั่วโลก และเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการเติบโตของพรรคการเมืองที่นิยมลัทธิเหมาในหลายประเทศ ความตกตะลึงในความสำเร็จของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และด้วยความเกรงกลัวต่อเหตุการณ์ที่คล้ายกันซึ่งจะเกิดขึ้นไปทั่วทั้งเอเชียตะวันออก ทำให้สหรัฐต้องเข้าแทรกแซงทางการทหารในเกาหลีและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(เช่น เวียดนาม) จนถึงทุกวันนี้ พรรคคอมมิวนิสต์จีนยังคงเป็นพรรคที่ปกครองจีนแผ่นดินใหญ่และเป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก[3]

หมายเหตุ แก้

  1. The exact beginning and end dates are debatable. See start and end dates for more details.

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 胡美; 任东来 (2007年). "1946~1947年美国对华军火禁运的几个问题". 《美國研究》 (第3期).
  2. Lynch, Michael (2010). The Chinese Civil War 1945–49. Osprey Publishing. p. 91. ISBN 978-1-84176-671-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-02. สืบค้นเมื่อ 2015-11-15.
  3. "最新!中国共产党党员总数为9514.8万名". 央视新闻. 30 June 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2021. สืบค้นเมื่อ 30 June 2021.