เย่ เจี้ยนอิง

ผู้นำคอมมิวนิสต์และนักการเมืองชาวจีน (ค.ศ. 1897–1986)

เย่ เจี้ยนอิง (จีนตัวย่อ: 叶剑英; จีนตัวเต็ม: 葉劍英; 28 เมษายน ค.ศ. 1897 – 22 ตุลาคม ค.ศ. 1986) เป็นผู้นำการปฏิวัติคอมมิวนิสต์และนักการเมืองชาวจีน หนึ่งในสิบจอมพลของสาธารณรัฐประชาชนจีน เขาเป็นผู้นำทหารชั้นนำในการรัฐประหาร ค.ศ. 1976 ที่ล้มล้างแก๊งออฟโฟร์และยุติการปฏิวัติทางวัฒนธรรม และเป็นผู้สนับสนุนหลักของเติ้ง เสี่ยวผิงในการแย่งชิงอำนาจกับฮฺว่า กั๋วเฟิงระหว่างปี ค.ศ. 1978 ถึง 1981 ซึ่งจบลงด้วยการที่ฮฺว่าเลือนหายไปในความคลุมเครือทางการเมือง ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ เย่ทำหน้าที่เป็นประมุขแห่งรัฐของจีนตั้งแต่ ค.ศ. 1978 จนถึง ค.ศ. 1983

เย่ เจี้ยนอิง
叶剑英
ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ คนที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
5 มีนาคม ค.ศ. 1978 – 17 มิถุนายน ค.ศ. 1983
ประธานาธิบดีไม่มี (ตำแหน่งถูกยกเลิกในปี 1975)
ก่อนหน้าซ่ง ชิ่งหลิง (รักษาการ)
ถัดไปเผิง เจิน
รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีนคนที่ 1 คนที่ 5
ดำรงตำแหน่ง
7 ตุลาคม ค.ศ. 1976 – 12 กันยายน ค.ศ. 1982
ประธานฮฺว่า กั๋วเฟิง
หู เย่าปัง
ก่อนหน้าฮฺว่า กั๋วเฟิง
ถัดไปยกเลิกตำแหน่ง
รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ดำรงตำแหน่ง
30 สิงหาคม ค.ศ. 1973 – 12 กันยายน ค.ศ. 1982
ประธานเหมา เจ๋อตง
ฮฺว่า กั๋วเฟิง
หู เย่าปัง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คนที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
17 มกราคม ค.ศ. 1975 – 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1978
หัวหน้ารัฐบาลโจว เอินไหล
ฮฺว่า กั๋วเฟิง
ก่อนหน้าจอมพล หลิน เปียว
ถัดไปจอมพล สฺวี เซี่ยงเฉียน
สมาชิก
สภาประชาชนแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
15 กันยายน ค.ศ. 1954 – 6 มิถุนายน ค.ศ. 1983
เขตเลือกตั้งกวางตุ้ง ทั้งหมด (1954–59)
กองทัพปลดปล่อยประชาชน ทั้งหมด (1959–83)
นายกเทศมนตรีกว่างโจว คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1949 – ค.ศ. 1952
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปเหอ เหว่ย์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
葉劍英

28 เมษายน ค.ศ. 1897(1897-04-28)
อำเภอเหมย์ กวางตุ้ง จักรวรรดิชิง
เสียชีวิต22 ตุลาคม ค.ศ. 1986(1986-10-22) (89 ปี)
ปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
เชื้อชาติจีน
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน (1927–1985)
คู่สมรส6
บุตร7 รวมถึงเย่ เสฺวี่ยนผิง และไต้ ฉิง
ศิษย์เก่าโรงเรียนการทหารยูนนาน
มหาวิทยาลัยคอมมิวนิสต์แห่งกรรมกรตะวันออก
ชื่อเล่น叶帅 (จอมพลเย่)
花帅 ("จอมพลเพลย์บอย")
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ พรรคคอมมิวนิสต์จีน
 สาธารณรัฐประชาชนจีน
สังกัด กองทัพบกกองทัพปลดปล่อยประชาชน
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) กลุ่มทัพที่ 18 กองทัพปฏิวัติแห่งชาติ
กองทัพแดงของกรรมกรและชาวนาจีน
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) กองทัพที่ 1 และกองทัพที่ 4 กองทัพปฏิวัติแห่งชาติ
ประจำการ1917–1985
ยศ จอมพลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
พลโท กองทัพปฏิวัติแห่งชาติ สาธารณรัฐจีน
บังคับบัญชาสาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) เสนาธิการ กองทัพที่ 4 กองทัพปฏิวัติแห่งชาติ
เสนาธิการ กองทัพแดงจีน
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) เสนาธิการ กลุ่มทัพที่ 18 กองทัพปฏิวัติแห่งชาติ
หัวหน้าฝ่ายเสนาธิการ คณะกรรมการการทหารส่วนกลาง
รางวัล เครื่องอิสริยาภรณ์ชัยแห่งการต่อต้านผู้รุกราน (1946)
เครื่องอิสริยาภรณ์ 1 สิงหาคม (ชั้นที่ 1) (1955)
เครื่องอิสริยาภรณ์เอกราชและเสรีภาพ (ชั้นที่ 1) (1955)
เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งการปลดปล่อย (ชั้นที่ 1) (1955)
รายละเอียด...
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวย่อ叶剑英
อักษรจีนตัวเต็ม葉劍英
Birth name
อักษรจีนตัวย่อ叶宜伟
อักษรจีนตัวเต็ม葉宜偉
ชื่อรอง
อักษรจีนตัวย่อ沧白
อักษรจีนตัวเต็ม滄白

ประวัติ

แก้

เย่ อี๋เหว่ย์ (จีน: 叶宜伟) เกิดในครอบครัวพ่อค้าชาวแคะคริสเตียนฐานะร่ำรวยในหมู่บ้านชนบทเก่าแก่ในอำเภอเจียอิง ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นเขตเหมย์เซี่ยน เมืองเหมย์โจว มณฑลกวางตุ้ง ชื่อรองของเขาคือ ชางไป๋ (滄白) พี่น้องของเย่ส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนจะเป็นผู้ใหญ่ด้วยอาการป่วยร้ายแรง[1]

หลังสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนการทหารยูนนานใน ค.ศ. 1919 เขาได้เข้าร่วมก๊กมินตั๋ง ทำงานสอนหนังสือที่โรงเรียนการทหารหวงผู่ และเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์ใน ค.ศ. 1927

ในปีนั้น เขาเข้าร่วมในการก่อการกำเริบหนานชางที่ล้มเหลวและถูกบังคับให้หลบหนีไปฮ่องกงพร้อมกับผู้นำการกำเริบอีกสองคน คือ โจว เอินไหลและเย่ ถิ่ง (ไม่มีความสัมพันธ์กัน) โดยมีเพียงปืนพกสองกระบอกที่แบ่งกันใช้ ไม่นานหลังจากนั้น เขาปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างซื่อสัตย์ในช่วงการก่อการกำเริบกว่างโจว แม้เขาจะต่อต้านก็ตาม เมื่อการกำเริบครั้งนี้ล้มเหลวเขาจึงจำต้องหนีไปฮ่องกงกับเย่ ถิ่งและเนี่ย หรงเจินอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เย่โชคดีกว่าเย่ ถิงมาก ซึ่งถูกใช้เป็นแพะรับบาปสำหรับความล้มเหลวของโคมินเทิร์นและถูกบังคับให้ลี้ภัย เย่ไม่ถูกตำหนิ และต่อมาได้ไปศึกษาวิทยาศาสตร์การทหารที่มอสโก

หลังกลับมายังประเทศจีนใน ค.ศ. 1932 เขาเข้าร่วมกองทัพโซเวียตเจียงซี โดยดำรงตำแหน่งเสนาธิการกองทัพหน้าที่สี่ของจาง กั๋วเทา อย่างไรก็ตาม หลังนักสู้ของจางพบกับกองกำลังของเหมา เจ๋อตงระหว่างการเดินทัพทางไกล ผู้นำทั้งสองก็มีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวในเวลาต่อมาของกองทัพแดงจีน จางยืนกรานที่กลับไปทางใต้เพื่อสร้างฐานที่มั่นใหม่ในพื้นที่ที่ชนกลุ่มน้อยทิเบตและเชียงอาศัยอยู่ (ภายหลังกลายเป็นหายนะอย่างที่เหมาคาดการณ์ไว้ โดยจางเสียกำลังพลไปกว่าร้อยละ 75 และต้องล่าถอยไปยังฐานทัพคอมมิวนิสต์ที่เมืองเหยียนอาน) ระหว่างที่ผู้นำทั้งสองมีความเห็นไม่ตรงกัน เย่ – แม้เขาจะเป็นเสนาธิการของจาง – กลับเข้าข้างเหมา และแทนที่จะสนับสนุนจางโดยไม่มีเงื่อนไขเช่นเดียวกับที่เขาทำในช่วงการก่อการกำเริบกว่างโจว เย่กลับหลบหนีไปที่สำนักงานใหญ่ของเหมาพร้อมกับหนังสือรหัสและแผนที่ของจาง เป็นผลให้การสื่อสารระหว่างจางกับโคมินเทิร์นถูกตัดขาด ขณะที่เหมาสามารถสร้างเครือข่ายทางวิทยุได้ เป็นผลให้โคมินเทิร์นยอมรับความเป็นผู้นำของเหมา เหมาจะไม่มีวันลืมผลงานของเย่ โดยเขากล่าวในเวลาต่อมาว่า "เย่ เจี้ยนอิงช่วยพรรค (คอมมิวนิสต์จีน) กองทัพแดง (จีน) และการปฏิวัติ (จีน)"

ภายหลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน เย่ได้รับแต่งตั้งให้ดูแลมณฑลกวางตุ้ง เป็นผลให้เขาต้องเสียอาชีพทางการเมืองภายใต้การปกครองของเหมา เย่เข้าใจว่าสภาพเศรษฐกิจในมณฑลนั้นต่างจากที่อื่น ๆ ในประเทศจีนมาก เนื่องจากเจ้าของที่ดินชาวกวางตุ้งส่วนใหญ่ก็เป็นชาวนาที่เข้าร่วมในการผลิตโดยไม่เอาเปรียบผู้เช่า ดังนั้นเขาจึงปฏิเสธที่จะยึดทรัพย์สินของเจ้าของที่ดิน และเลือกที่จะปกป้องธุรกิจและที่ดินของพวกเขาแทน อย่างไรก็ตาม นโยบายของเย่ขัดกับคำสั่งของการปฏิรูปที่ดินที่พรรคกำหนดซึ่งเน้นย้ำถึงการต่อสู้ทางชนชั้น นโยบายของเขาถูกมองว่าอ่อนเกินไป ทำให้เย่และคณะทำงานในพื้นที่ถูกแทนโดยหลิน เปียวในไม่ช้า และนโยบายที่เข้มงวดกว่ามากก็ถูกนำไปปฏิบัติ เจ้าของที่ดินชาวกวางตุ้งหลายแสนคนถูกประหารชีวิต เป็นผลให้อาชีพทางการเมืองของเย่สิ้นสุดลงโดยสิ้นเชิง

กระนั้น เหมาก็ไม่ได้ลืมสิ่งที่เย่ได้ทำเพื่อเขาในช่วงการเดินทัพทางไกล และด้วยเหตุนี้จึงปลดเขาออกจากตำแหน่งทางการเมืองเท่านั้นขณะที่ยังคงรักษาตำแหน่งทางทหารไว้ ผลก็คือจนถึง ค.ศ. 1968 เย่ยังคงปฏิบัติหน้าที่ทางทหารต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และได้รับแต่งตั้งเป็นจอมพลใน ค.ศ. 1955 เย่มีความฉลาดในการใช้อิทธิพลทางทหารของเขาเพื่อให้การสนับสนุนที่จำกัดและเขายังรับผิดชอบการแทรกแซงความพยายามลอบสังหารนักปฏิรูปอีกด้วย

หลิน เปียวเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกใน ค.ศ. 1971 (อุบัติการณ์หลิน เปียว)[2]: 154  ระหว่างการรณรงค์วิจารณ์หลิน วิจารณ์ขงจื๊อที่ตามมา นายพลหลายนายที่ได้รับการสนับสนุนจากหลินถูกปลดจากตำแหน่งและโครงการทางการทหารที่หลินได้ดำเนินการไว้ก็ถูกยกเลิก[2]: 154  ใน ค.ศ. 1973 กองทัพปลดปล่อยประชาชนทำการปรับโครงสร้างใหม่ทั้งหมด[2]: 154  จากนั้น เย่เป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติการของกองทัพฯ โดยปรึกษากับโจว เอินไหล[2]: 154  ใน ค.ศ. 1975 เย่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แทนตำแหน่งเดิมของหลิน ตั้งแต่ ค.ศ. 1973 เขายังดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนอีกด้วย

เย่เป็นผู้นำกลุ่มนายพลและผู้อาวุโสพรรคที่ล้มล้างเจียง ชิงและแก๊งออฟโฟร์ ในระหว่างการวางแผนเบื้องต้นที่บ้านพักของเขา เขากับหลี่ เซียนเนี่ยนสื่อสารกันด้วยการเขียน แม้พวกเขาจะนั่งข้างกันก็ตาม เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดการรบกวน วันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1976 เย่ได้สั่งจับกุมแก๊งออฟโฟร์และเหมา ยฺเหวี่ยนซิน[2]: 155 

ด้วยการสนับสนุนของเย่ต่อประธานฮฺว่า กั๋วเฟิง เขาจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธานพรรคในการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 11 ใน ค.ศ. 1977 เนื่องจากความต้องการทางกายภาพของรัฐมนตรีกลาโหมมีมากเกินไปสำหรับเย่ในวัย 80 ปี เขาจึงลาออกจากตำแหน่งดังกล่าวใน ค.ศ. 1978 และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ โดยดำรงตำแหน่งที่ว่างลงนี้นับตั้งแต่จู เต๋อเสียชีวิตใน ค.ศ. 1976 ดังนั้น เย่จึงเป็นประมุขแห่งรัฐทางพิธีการของจีน

สอดคล้องกับแนวทางหนึ่งประเทศ สองระบบของเติ้ง เย่ได้ขยายความการรวมประเทศกับไต้หวันอย่างสันติผ่าน "ข้อเสนอ 9 ประการ" ของเขาในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1981 ซึ่งไต้หวันจะมีอำนาจปกครองตนเองในระดับสูงหลังการรวมประเทศ[3]: 228  ข้อเสนอเก้าประการยังกล่าวถึงการค้า การขนส่ง และบริการไปรษณีย์เป็น "สามสัมพันธ์" ข้ามช่องแคบและ "การแลกเปลี่ยนสี่ประการ" ในด้านวัฒนธรรม วิชาการ เศรษฐศาสตร์ และกีฬา[3]: 228 

เย่เกษียณจากประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติใน ค.ศ. 1983 และใน ค.ศ. 1985 เขาก็ถอนตัวออกจากคณะกรรมาธิการสามัญกรมการเมืองอย่างสมบูรณ์ เขาเสียชีวิตประมาณหนึ่งปีต่อมาด้วยวัย 89 ปีในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1986[4]

ครอบครัว

แก้

เย่แต่งงานหกครั้งและมีลูกหกคน ลูกชายของเขา ได้แก่ เย่ เสฺวี่ยนผิง (1924–2019), เย่ เสฺวี่ยนหนิง (1938–2016) และเย่ เสฺวี่ยนเหลียน (叶选廉, เกิด ค.ศ. 1952) โรบินน์ ยิป (เกิด ค.ศ. 1986) หลานสาวของเย่ ลูกสาวของเสฺวี่ยนเหลี่ยน เป็นนักดนตรีอาชีพที่อาศัยอยู่ในฮ่องกง

รางวัลและเกียรติยศ

แก้
  สาธารณรัฐจีน
  เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชัยแห่งการต่อต้านผู้รุกราน (ค.ศ. 1946)
  สาธารณรัฐประชาชนจีน
  เครื่องอิสริยาภรณ์ 1 สิงหาคม (ชั้นที่ 1) (ค.ศ. 1955)
  เครื่องอิสริยาภรณ์เอกราชและเสรีภาพ (ชั้นที่ 1) (ค.ศ. 1955)
  เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งการปลดปล่อย (ชั้นที่ 1) (ค.ศ. 1955)

อ้างอิง

แก้
  1. "叶剑英和叶道英的兄弟情 - 全网搜".
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Li, Xiaobing (2018). The Cold War in East Asia. Abingdon, Oxon: Routledge. ISBN 978-1-138-65179-1.
  3. 3.0 3.1 Chen, Dean P. (2024). "Xi Jinping and the Derailment of the KMT-CCP "1992 Consensus"". ใน Fang, Qiang; Li, Xiaobing (บ.ก.). China under Xi Jinping: A New Assessment. Leiden University Press. ISBN 9789087284411.
  4. Pace, Eric (October 23, 1986). "Marshal Ye Jianyang Dies at 90; Had Been China's Head of State". The New York Times. p. D30. สืบค้นเมื่อ January 5, 2025.
แม่แบบ:S-par
ก่อนหน้า เย่ เจี้ยนอิง ถัดไป
เจ้าหน้าที่รัฐบาล
สมัยก่อนหน้า
หลิว เหยาจาง [zh]
นายกเทศมนตรีปักกิ่ง
ค.ศ. 1949
สมัยต่อมา
เนี่ย หรงเจิน
สมัยก่อนหน้า
ซฺเว ยฺเว่
as ประธานคณะรัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง
ผู้ว่าการมณฑลกวางตุ้ง
ค.ศ. 1949–1953
สมัยต่อมา
เถา จู้
Vacant
Title last held by
จอมพล หลิน เปียว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ค.ศ. 1975–1978
สมัยต่อมา
จอมพล สฺวี เซี่ยงเฉียน
สมัยก่อนหน้า
ซ่ง ชิ่งหลิง
as รักษาการประธานฯ
ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ
ค.ศ. 1978–1983
สมัยต่อมา
เผิง เจิน
ประมุขแห่งรัฐสาธารณรัฐประชาชนจีน
(ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ)

ค.ศ. 1978–1983
สมัยต่อมา
หลี่ เซียนเนี่ยน
as ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน
วาระในพรรคการเมือง
สมัยก่อนหน้า
เลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำมณฑลกวางตุ้ง
ค.ศ. 1949–1955
สมัยต่อมา
เถา จู้
Vacant
Title last held by
หลิน เปียว
รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ค.ศ. 1973–1982
Served alongside: โจว เอินไหล, ฮฺว่า กั๋วเฟิง, เติ้ง เสี่ยวผิง, วัง ตงซิ่ง, หลี่ เต๋อเชิง, คัง เชิง, หวัง หงเหวิน, เฉิน ยฺหวิน และจ้าว จื่อหยาง
ยกเลิกตำแหน่ง
ตำแหน่งทางทหาร
New title ผู้บัญชาการเขตทหารกวางตุ้ง กองทัพปลดปล่อยประชาชน
ค.ศ. 1949–1951
สมัยต่อมา
หฺวาง อีผิง [zh]
กรรมาธิการการเมืองเขตทหารกวางตุ้ง กองทัพปลดปล่อยประชาชน
ค.ศ. 1949–1950
สมัยต่อมา
ถาน เจิ้ง