เติ้ง เสี่ยวผิง
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เติ้ง เสี่ยวผิง (จีนตัวย่อ: 邓小平; จีนตัวเต็ม: 鄧小平; พินอิน: Dèng Xiǎopíng; เวด-ไจลส์: Teng Hsiao-p'ing) (22 สิงหาคม พ.ศ. 2447 – 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540) เป็นนักการเมืองชาวจีนที่เป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 จนกระทั่งเขาเกษียณอายุในปี ค.ศ. 1992 ภายหลังจากประธานเหมา เจ๋อตงถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1976 เติ้งได้ค่อย ๆ ลุกขึ้นสู่อำนาจและนำประเทศจีนผ่านชุดการปฏิรูปเศรษฐกิจ-ตลาดที่กว้างขวาง ซึ่งทำให้เขาได้มีชื่อเสียงในฐานะ "ผู้ออกแบบประเทศจีนสมัยใหม่"[1]
เติ้ง เสี่ยวผิง | |
---|---|
邓小平 | |
![]() | |
ประธานคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาส่วนกลาง แห่งพรรคคอมมิวนิสต์ | |
ดำรงตำแหน่ง 13 กันยายน พ.ศ. 2525 – 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 (5 ปี 50 วัน) | |
เลขาธิการใหญ่ | หู เย่าปัง จ้าว จื่อหยาง |
ก่อนหน้า | ตำแหน่งใหม่ |
ถัดไป | เฉิน ยฺหวิน |
ประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง แห่งพรรคคอมมิวนิสต์ | |
ดำรงตำแหน่ง 28 มิถุนายน พ.ศ. 2524 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 (8 ปี 134 วัน) | |
ก่อนหน้า | ฮั่ว กั๋วเฟิง |
ถัดไป | เจียง เจ๋อหมิน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 สิงหาคม พ.ศ. 2447 มณฑลเสฉวน จักรวรรดิชิง |
เสียชีวิต | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 (92 ปี) กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน |
พรรคการเมือง | พรรคคอมมิวนิสต์จีน |
คู่สมรส | จัว หลิน (2482–2540) |
เติ้ง เสี่ยวผิง | |||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 邓小平 | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 鄧小平 | ||||||||
| |||||||||
เติ้ง เซียนเฉิง | |||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 邓先圣 | ||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 鄧先聖 | ||||||||
| |||||||||
Deng Xixian | |||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 邓希贤 | ||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 鄧希賢 | ||||||||
|
เขาเกิดในตระกูลเจ้าของที่ดินที่มีการศึกษาในมณฑลเสฉวน เติ้งได้เรียนและทำงานในฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1920 ที่นั่นเขาได้กลายเป็นสาวกลัทธิมากซ์และลัทธิเลนิน เขาเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี ค.ศ. 1923 เมื่อเดินทางกลับจีน เติ้งก็ได้เข้าร่วมกับองค์กรพรรคในเซี่ยงไฮ้กลายเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจการทางการเมือง (คอมมิสซาร์) จากกองทัพแดงในพื้นที่ชนบท ในปี ค.ศ. 1931 เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งภายในพรรค เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากเหมา เจ๋อตง แต่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งอีกครั้งในช่วงการประชุมซุนยี่ ค.ศ. 1935 ในปลายปี ค.ศ. 1930 เติ้งได้ถูกมองว่าเป็น "ทหารผ่านศึกการปฏิวัติ" เพราะเขาเข้าร่วมในการเดินทัพทางไกล ภายหลังจากการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ. 1949 เติ้งทำงานในทิเบตเช่นเดียวกับในจีนตะวันตกเฉียงใต้เพื่อรวบรวมการควบคุมคอมมิวนิสต์ ในฐานะเลขาธิการพรรคในปี ค.ศ. 1950 เติ้งได้เป็นประธานในการรณรงค์ต่อต้านฝ่ายขวาที่ถูกเปิดฉากโดยประธานเหมา และกลายเป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของจีนในช่วงหลังการก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้า (ค.ศ. 1958–1960) อย่างไรก็ตาม นโยบายทางเศรษฐกิจของเขาทำให้เขาหลุดออกจากความโปรดปรานของประธานเหมา และถูกรังแกข่มเหงถึงสองครั้งในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม
ภายหลังเหมา เจ๋อตงได้ถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1976 เติ้งได้เอาชนะด้วยเล่ห์เหลี่ยมกับผู้สืบทอดตำแหน่งประธานคนต่อมาอย่างฮั่ว กั๋วเฟิงและกลายเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของจีนคนใหม่ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1978 การสืบสานต่อประเทศที่รุมเร้าไปด้วยความขัดแย้งทางสังคม ความไม่ลงรอยกันของพรรคคอมมิวนิสต์ และความวุ่นวายของสถาบันอันเป็นผลมาจากนโยบายที่ยุ่งเหยิงในยุคสมัยเหมา เติ้งได้เริ่มต้นนโยบาย "โปล่วน ฝ่านเจิ้ง" (拨乱反正; กำจัดความวุ่นวายและกลับสู่ปกติ) ซึ่งนำประเทศกลับคืนสู่ความสงบเรียบร้อย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1977 ถึงต้นปี ค.ศ. 1979 เขาได้กลับมาสอบเข้าเรียนวิทยาลัยในจีนซึ่งถูกขัดจังหวะจากการปฏิวัติทางวัฒนธรรมเป็นเวลาสิบปี ได้ริเรื่มการปฏิรูปและเปิดประเทศในประวัติศาสร์ และเริ่มสงครามจีน-เวียดนามในเวลาหนึ่งเดือน ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1982 เขาได้เริ่มปฏิรูปทางการเมืองของจีนโดยกำหนดวาระที่จำกัดของเจ้าหน้าที่ทางการและเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่สามของจีนอย่างเป็นระบบซึ่งถูกทำขึ้นภายใต้ยุคสมัยฮั่ว กั๋วเฟิง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ถูกรวบรวมตามรัฐธรรมนูญนิยมแบบของจีน และผ่านความเห็นชอบของสภาประชาชนแห่งชาติในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1982 โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ยังมีผลบังคับใช้จนถึงทุกวันนี้ ในปี ค.ศ. 1980 เติงได้สนับสนุนนโยบายการวางแผนครอบครัวเพื่อรับมือกับวิกฤตจากการมีประชากรมากเกินไปของจีน ช่วยสร้างระบบการศึกษาภาคบังคับเป็นเวลาเก้าปีของจีน และเปิดโครงการ 863 สำหรับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในขณะที่เติ้งไม่เคยดำรงตำแหน่งเป็นประมุขแห่งรัฐ หัวหน้ารัฐบาล หรือเลขาธิการ (ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์) บางคนจะเรียกเขาว่า "ผู้ออกแบบ" ของเครื่องหมายใหม่ของแนวคิดที่ผสมผสานอุดมการณ์สังคมนิยมกับองค์กรอิสระ ที่ถูกเรียกว่า "ลัทธิสังคมนิยมด้วยลักษณะพิเศษของจีน"[2] เขาได้เปิดประเทศจีนเพื่อการลงทุนจากต่างประเทศและตลาดโลก นโยบายที่ให้เครดิตกับการพัฒนาประเทศจีนให้เป็นหนึ่งในประเทศเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในโลกมาหลายชั่วรุ่นและยกระดับมาตรฐานการครองชีพหลายร้อยล้านคน[3] เติ้งเป็นบุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์ในฉบับปี ค.ศ. 1978 และ ค.ศ. 1985[4][5] ผู้นำจีนคนที่สามและผู้นำสมัยที่สี่ของพรรคคอมมิวนิสต์ที่ถูกรับเลือกมา เขาได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นผู้ออกคำสั่งในการปราบปรามการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ปี ค.ศ. 1989 แต่ได้รับความนิยมจากการยืนยันใหม่ของการปฏิรูปโครงการในการท่องเทียวภาคใต้ในปี ค.ศ. 1992 เช่นเดียวกับการได้รับฮ่องกงกลับคืนสู่การควบคุมของจีนในปี ค.ศ. 1997
อ้างอิง แก้
- ↑ Faison, Seth (1997-02-20). "DENG XIAOPING IS DEAD AT 92; ARCHITECT OF MODERN CHINA". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-04-19.
- ↑ "CONSTITUTION OF THE COMMUNIST PARTY OF CHINA" (PDF). Xinhuanet.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Denmark, Abraham. "40 years ago, Deng Xiaoping changed China — and the world". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2021-04-19.
- ↑ "TIME Magazine Cover: Teng Hsiao-p'ing, Man of the year - Jan. 1, 1979". TIME.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-04-19.
- ↑ "TIME Magazine Cover: Deng Xiaoping, Man of the Year - Jan. 6, 1986". TIME.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-04-19.
ก่อนหน้า | เติ้ง เสี่ยวผิง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
อันวาร์ ซาดัต | บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์ (ค.ศ. 1978) |
อะญาตุลลอฮ์ โคไมนี | ||
ปีเตอร์ อูเบอร์รอธ | บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์ (ค.ศ. 1985) |
คอราซอน อากีโน |