เสฉวน[4] หรือ ซื่อชวน[4] (จีน: 四川; พินอิน: Sìchuān) เป็นมณฑลหนึ่งทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน กินพื้นที่ส่วนใหญ่ของแอ่งเสฉวนและพื้นที่ทางตะวันออกสุดของที่ราบสูงทิเบต ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำจินชาทางตะวันตก ภูเขาต้าปาทางเหนือ และที่ราบสูงยูนนาน–กุ้ยโจวทางทิศใต้ เมืองหลวงของเสฉวนคือ เฉิงตู มีประชากรในเสฉวนอยู่ที่ 81 ล้านคน

มณฑลเสฉวน

四川省
(ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน)
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลเสฉวน
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลเสฉวน
พิกัด: 30°08′N 102°56′E / 30.133°N 102.933°E / 30.133; 102.933
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
เฉิงตู
จำนวนเขตการปกครอง21 จังหวัด, 181 อำเภอ, 5,011 ตำบล
การปกครอง
 • เลขาธิการพรรคเผิง ชิงฮฺหวา (彭清华)
 • ผู้ว่าการหยิ่น ลี่ (尹力)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด485,000 ตร.กม. (187,000 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 5
ความสูงจุดสูงสุด7,556 เมตร (24,790 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2013)[2]
 • ทั้งหมด81,100,000 คน
 • อันดับอันดับที่ 4
 • ความหนาแน่น170 คน/ตร.กม. (430 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 22
ประชากรศาสตร์
 • องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ฮั่น – 95%
อี๋ – 2.6%
ทิเบต – 1.5%
เชียง – 0.4%
อื่น ๆ - 0.5%
 • ภาษาและภาษาถิ่นภาษาจีนกลางตะวันตกเฉียงใต้ (สำเนียงเสฉวน), ภาษาทิเบตคาม, ภาษาแคะ
รหัส ISO 3166CN-SC
GDP (ค.ศ. 2017)3.70 ล้านล้านเหรินหมินปี้
547.71 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 6)
 • ต่อหัว44,651 เหรินหมินปี้
6,613 ดอลลาร์สหรัฐ (อับดับที่ 22)
HDI (ค.ศ. 2018)0.716[3] (สูง) (อันดับที่ 26)
เว็บไซต์www.sc.gov.cn

ในสมัยโบราณ เสฉวนเป็นที่ตั้งของรัฐปาและรัฐสู่ ต่อมาได้ถูกพิชิตโดยรัฐฉิน ซึ่งทำให้รัฐฉินแข็งแกร่งขึ้นและปูทางไปสู่การรวมจีนของจิ๋นซีฮ่องเต้กลายเป็นราชวงศ์ฉิน ในยุคสามก๊ก ก๊กสู่ฮั่นของเล่าปี่มีที่ตั้งอยู่ในเสฉวน ในศตวรรษที่ 17 พื้นที่แห่งนี้ได้รับความเสียหายจากการก่อกบฏของจางเซี่ยนจง และถูกปราบโดยแมนจูในเวลาต่อมา แต่ก็ได้รับการฟื้นฟูจนกลายเป็นพื้นที่ที่มีประสิทธิผลมากที่สุดแห่งหนึ่งของจีนในศตวรรษที่ 19 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ฉงชิ่งเคยเป็นเมืองหลวงชั่วคราวของสาธารณรัฐจีน ทำให้ที่นี่เป็นจุดสนใจในการทิ้งระเบิดของญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในพื้นที่สุดท้ายในจีนแผ่นดินใหญ่ที่กองทัพปลดปล่อยประชาชนยึดได้ในช่วงสงครามกลางเมืองจีน และถูกแบ่งออกเป็นสี่ส่วนตั้งแต่ปี 1949 ถึง 1952 โดยฉงชิ่งได้รับการบูรณะในอีกสองปีต่อมา เสฉวนได้ประสบกับทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในจีนในปี 1959 ถึง 1961 แต่ก็ยังคงเป็นมณฑลที่มีประชากรมากที่สุดของจีนจนกระทั่งมีการแยกฉงชิ่งเพื่อตั้งขึ้นเป็นนครปกครองโดยตรงในปี 1997

ชาวจีนฮั่นในเสฉวนพูดภาษาจีนกลางด้วยสำเนียงท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเป็นรูปเป็นร่างขึ้นในช่วงที่มีการขยายตัวของประชากรในพื้นที่ในสมัยราชวงศ์หมิง ปัจจุบันกลุ่มภาษาถิ่นนี้มีผู้พูดประมาณ 120 ล้านคน ซึ่งทำให้ภาษานี้เป็นภาษาที่มีคนพูดมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลกหากนับแยกกัน ด้วยสภาพอากาศที่ชื้นและอบอุ่นในพื้นที่ทำให้อาหารเสฉวนเป็นอาหารที่มีรสชาติเผ็ดมาช้านาน โดยเฉพาะรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของพริกไทยเสฉวนที่กลายเป็นวัตถุดิบหลักของอาหารจีนทั่วโลก เช่น ไก่กังเปา หมาผัวโต้วฟู

ในปี 1950 มณฑลซีคังถูกยุบและต่อมาถูกแยกไปรวมกับเขตปกครองตนเองทิเบตที่ก่อตั้งขึ้นใหม่และมณฑลเสฉวน ทำให้พื้นที่ทางตะวันตกและตะวันเฉียงเหนือของเสฉวนประกอบด้วยเขตปกครองตนเองของชนชาติทิเบตและชนชาติเชียง

ชื่อ

แก้

ชื่อ "เสฉวน" มีความหมายว่า "แม่น้ำสี่สาย" เพราะมณฑลเสฉวนตั้งอยู่บนพื้นที่ของแม่น้ำ 3 สายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำแยงซีเกียง แม่น้ำหลินเจียง และแม่น้ำจินซางเจียง มีชื่อย่อคือ ชวน ()หรือ สู่, จ๊ก)

ประวัติศาสตร์

แก้

ในทางประวัติศาสตร์เคยเป็นราชธานีก๊กสู่ฮั่นของเล่าปี่และขงเบ้งในสมัยสามก๊ก ปลายราชวงศ์ฮั่น ขงเบ้งได้เลือกเอาเสฉวนเป็นราชธานีของก๊กสู่ เพื่อหมายฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น

ภูมิศาสตร์

แก้

มณฑลเสฉวนมีพื้นที่ติดต่อดังนี้

มณฑลเสฉวนมีภูมิประเทศสวยงามหลายรูปแบบทั้งภูเขาหิมะที่ราบสูงแม่น้ำ และมีมรดกโลกได้แก่

สภาพอากาศเป็นแบบกึ่งร้อนชื้น สภาพโดยทั่วไปจะมีความชื้นในอากาศสูง สภาพอากาศจึงค่อนข้างครึ้มไม่ค่อยมีแสงแดด โดยในรอบสัปดาห์จะมีแสงแดดหรือเห็นพระอาทิตย์เพียงไม่กี่วัน แต่จะมีหมอกปกคลุมเป็นปกติ จนได้รับฉายาว่า "เมืองในหมอก" หรือ "หมาเห่าพระอาทิตย์"

เศรษฐกิจ

แก้

ในมลฑลเสฉวนมีการลงทุนภาคอุตสาหกรรมหนัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ โดย First Automotive Works (FAW) ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของจีน ลงทุนร่วมกับโตโยต้า และมีศูนย์กลางการผลิตแม่พิมพ์เหล็กสำหรับรถยนต์ที่เมืองฉางเฟย [5]

อ้างอิง

แก้
  1. "Doing Business in China – Survey". Ministry Of Commerce – People's Republic Of China. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2014. สืบค้นเมื่อ 5 August 2013.
  2. "Communiqué of the National Bureau of Statistics of People's Republic of China on Major Figures of the 2010 Population Census [1] (No. 2)". National Bureau of Statistics of China. 29 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2013. สืบค้นเมื่อ 4 August 2013.
  3. "Sub-national HDI - Subnational HDI - Global Data Lab". globaldatalab.org. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
  4. 4.0 4.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  5. อักษรศรี พานิชสาส์น,เศณษฐกิจจีนในมุมมองนักเศรษฐศาสตร์ไทยมมี.ค. 2554
  • Marks, Thomas A., Counterrevolution in China: Wang Sheng and the Kuomintang, Frank Cass (London: 1998), ISBN 0-7146-4700-4. Partial view on Google Books. p. 116.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้