ISO 3166
ISO 3166 คือมาตรฐานที่เผยแพร่โดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) เพื่อกำหนดรหัสสำหรับประเทศ, ดินแดนในปกครอง, พื้นที่พิเศษที่น่าสนใจทางภูมิศาสตร์, และเขตการปกครองหลัก (เช่นจังหวัดหรือรัฐ) ชื่ออย่างเป็นทางการของมาตรฐานคือ รหัสสำหรับการแสดงชื่อประเทศและเขตการปกครอง (Codes for the representation of names of countries and their subdivisions)
มาตรฐานย่อย
แก้มาตรฐานประกอบด้วย 3 มาตราฐานย่อย คือ:[1]
- ISO 3166-1 รหัสสำหรับการแสดงชื่อประเทศและเขตการปกครอง – ส่วนที่ 1: รหัสประเทศ กำหนดรหัสประเทศและดินแดนต่างๆ มี 3 มาตรฐานย่อย:
- ISO 3166-1 alpha-2 – ใช้อักษรโรมัน 2 ตัวเป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดใน 3 มาตรฐานย่อยและใช้สำหรับรหัสอินเทอร์เน็ตและโดเมนระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (มีข้อยกเว้นบางประการเช่น GB แทน UK สำหรับสหราชอาณาจักร)
- ISO 3166-1 alpha-3 – ใช้อักษรโรมัน 3 ตัว ซึ่งจะสามารถเจาะจงชื่อประเทศได้ดีกว่ารหัส alpha-2
- ISO 3166-1 numeric – ใช้เลข 3 หลัก รหัสชุดนี้ตรงกับรหัสที่แผนกสถิติขององค์การสหประชาชาติใช้ทุกประการและรหัสนี้ยังเอาไวใช้ในประเทศที่ไม่มีอักษรละติน
- ISO 3166-2 รหัสสำหรับการแสดงชื่อประเทศและเขตการปกครอง – ส่วนที่ 2: รหัสเขตการปกครอง กำหนดรหัสสำหรับชื่อของเขตการปกครอง (เช่นจังหวัดหรือรัฐ) ของประเทศทั้งหมดที่มีมาตรฐาน ISO 3166-1
- ISO 3166-3 รหัสสำหรับการแสดงชื่อประเทศและเขตการปกครอง – ส่วนที่ 3: รหัสสำหรับชื่อเดิมของประเทศ เอาไวกำหนดรหัสสำหรับประเทศที่ถูกลบออกจากมาตรฐาน ISO 3166-1 ตั้งแต่การเผยแพร่ครั้งแรกใน พ.ศ. 2517
รุ่น
แก้รุ่นแรกของ ISO 3166 เผยแพร่ใน พ.ศ. 2517 ซึ่งมีเฉพาะรหัสที่เป็นตัวอักษร รุ่นที่ 2 เผยแพร่ใน พ.ศ. 2524 ซึ่งแผยแพร่พร้อมกับรหัสเลข รุ่นที่ 3 และ 4 เผยแพร่ใน พ.ศ. 2531 และ 2536 ตามลำดับ รุ่นที่ 5 เผยแพร่ระหว่าง พ.ศ. 2540 ถึง 2542 ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ รหัสสำหรับเขตการปกครองและประเทศในอดีต[2]
หน่วยงานบำรุงรักษา
แก้มาตรฐาน ISO 3166 ได้รับการบำรุงโดย หน่วยงานบำรุงรักษา ISO 3166 (ISO 3166 Maintenance Agency) ชื่อย่อคือ (ISO 3166/MA) ในอดีตตั้งอยู่ในสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมเยอรมัน (Deutsches Institut für Normung) ชื่อย่อคือ (DIN) ในเบอร์ลินประเทศเยอรมนี แต่ปัจจุบันตั้งอยู่ที่สำนักงานกลาง ISO ในกรุงเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีหน้าที่หลักคือ:[3]
- เพิ่มและยกเลิกชื่อประเทศ (ตามลำดับ, ชื่อเขตการปกครอง) และกำหนดองค์ประกอบรหัสให้พวกเขา
- เผยแพร่รายชื่อประเทศ (ตามลำดับ, ชื่อเขตการปกครอง) และองค์ประกอบรหัส
- เพื่อรักษารายการอ้างอิงขององค์ประกอบรหัสประเทศและองค์ประกอบรหัสย่อยเขตการปกครองของประเทศที่ใช้และระยะเวลาการใช้งาน
- เผยแพร่และการประกาศการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในตารางรหัส
- ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้มาตรฐาน ISO 3166
สมาชิก
แก้มีผู้เชี่ยวชาญ 14 คนที่มีสิทธิออกเสียงใน ISO 3166/MA[4] แปดคนเป็นตัวแทนขององค์กรในการจัดการมาตรฐาน (standards organization) สากล:
- สถาบันมาตรฐานของฝรั่งเศส (AFNOR) – ฝรั่งเศส
- สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐ (ANSI) – สหรัฐ
- สถาบันมาตรฐานอังกฤษ (BSI) – สหราชอาณาจักร
- สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมเยอรมัน (DIN) – เยอรมัน
- คณะกรรมการมาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Japanese Industrial Standards Committee) (JISC) - ญี่ปุ่น
- สำนักงานมาตรฐานเคนยา (KEBS) - เคนย่า
- คณะกรรมการบริการจัดการมาตรฐานแห่งชาติจีน (SAC) - จีน
- สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศสวีเดน (SIS) – สวีเดน
อีกหกคนเป็นตัวแทนของกลุ่มหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติหรือองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่ใช้มาตรฐาน ISO 3166-1:
- ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA)
- องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)
- สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)
- องค์กรความร่วมมือด้านการจัดสรรชื่อและหมายเลขทางอินเทอร์เน็ต (ICANN)
- สหภาพไปรษณีย์สากล (UPU)
- คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งสหประชาชาติสำหรับยุโรป (UNECE)
ISO 3166/MA มีสมาชิกที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการโหวตแต่ผู้ที่เชี่ยวชาญซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อขั้นตอนการตัดสินใจในหน่วยงานการบำรุงรักษา
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "What is ISO 3166?". องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO).
- ↑ "Development of ISO 3166". ISO.
- ↑ "Tasks of ISO 3166/MA". ISO.
- ↑ "Members of ISO 3166/MA". ISO.
ดูเพิ่ม
แก้- ISO 3166 Maintenance Agency, องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO)