สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Telecommunication Union - ชื่อย่อ: ITU) เป็นองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งนับเป็นองค์การสากลที่เก่าแก่มากที่สุดอันดับสอง ที่ยังคงดำเนินการอยู่ โดยในระยะแรกเริ่ม ใช้ชื่อว่า สหภาพโทรเลขระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Telegraph Union) จัดตั้งขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1865 (พ.ศ. 2408) ปัจจุบัน มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ใกล้กับสำนักงานสหประชาชาติ

Small Flag of the United Nations ZP.svg
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
International Telecommunication Union logo.svg
ประเภทหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติ
รัสพจน์ITU
หัวหน้าเลขาธิการสหประชาชาติ
Houlin Zhao
สถานะยังดำเนินต่อ
จัดตั้ง17 พฤษภาคม 1865; 157 ปีก่อน (1865-05-17)
สำนักงานเจนีวา, ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
เว็บไซต์www.itu.int
ต้นสังกัดคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ
UN emblem blue.svg สถานีย่อยUnited Nations

สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศมีหน้าที่ในการพัฒนามาตรฐาน และกฎระเบียบ สำหรับการสื่อสารวิทยุ และโทรคมนาคมระหว่างประเทศ การกำหนดแถบคลื่นความถี่วิทยุ (อังกฤษ: Allocation of the Radio Spectrum) และบริหารจัดการ กรณีที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างประเทศ เช่น บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ อันเป็นภารกิจในเชิงโทรคมนาคม ในลักษณะเดียวกับการปฏิบัติงานของสหภาพสากลไปรษณีย์ ในกรณีของงานบริการไปรษณีย์

องค์ประกอบสหภาพแก้ไข

สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศมีสำนักเลขาธิการใหญ่ ซึ่งมีเลขาธิการ (อังกฤษ: Secretary General) เป็นผู้บริหารสูงสุด ในการบริหารจัดการงานรายวันของสหภาพฯ และภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย 4 ภาคส่วน ในภารกิจด้านต่าง ๆ ดังนี้[1][2]

  • ภาคการสื่อสารวิทยุ (ITU-R, Radiocommunication Sector) - มีหน้าที่บริหารแถบคลื่นความถี่วิทยุระหว่างประเทศ และทรัพยากรต่างๆ สำหรับการโคจรของดาวเทียม ITU-R มีสำนักเลขาธิการเรียกว่า สำนักการสื่อสารวิทยุ (Radiocommunication Bureau, BR) ซึ่งก่อนปี ค.ศ. 1992 เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาการวิทยุระหว่างประเทศ (International Radio Consultative Committee, CCIR)[3]
  • ภาคการกำหนดมาตรฐานโทรคมนาคม (ITU-T, Telecommunication Standardization Sector) - การกำหนดมาตรฐานโทรคมนาคม เป็นกิจกรรมที่มีมาช้านานของสหภาพฯ และเป็นภารกิจที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ในระดับสากล ITU-T มีสำนักเลขาธิการเรียกว่า สำนักมาตรฐานโทรคมนาคม (Telecommunication Standardization Bureau, TSB) ซึ่งก่อนปี ค.ศ. 1992 เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาโทรเลขและโทรศัพท์ระหว่างประเทศ (International Telephone and Telegraph Consultative Committee, CCITT)[4]
  • ภาคการพัฒนาโทรคมนาคม (ITU-D, Telecommunication Development Sector) - จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1992 เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศในนานาประเทศ อย่างเท่าเทียม พอเพียง และด้วยค่าใช้จ่ายที่ยอมรับได้ ITU-D มีสำนักเลขาธิการเรียกว่า สำนักพัฒนาโทรคมนาคม (Telecommunication Development Bureau, BDT)[5]
  • ภาคการจัดงาน ไอทียู เทเลคอม (ITU TELECOM) - เป็นการจัดงานแสดงสินค้า การประชุม และนิทรรศการระหว่างประเทศ โดยนำเทคโนโลยีชั้นนำ จากอุตสาหกรรมไอซีทีมาจัดแสดง รวมทั้งเชิญรัฐมนตรี ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงาน และผู้กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมของประเทศต่างๆ มาร่วมการประชุม เพื่อนำเสนอ และอภิปรายปัญหาการสื่อสารในระดับโลกด้วย[6]

สมาชิกแก้ไข

สมาชิกภาพของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศมี 3 ประเภท คือ[7]

  • ประเทศสมาชิก (Member States) ปัจจุบันมีจำนวน 191 ประเทศ
  • ธุรกิจอุตสาหกรรมด้านโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Sector Members) ปัจจุบันมีจำนวน 572 ราย
  • สมาคม (Associates) ปัจจุบันมีจำนวน 153 แห่ง

สภาบริหารสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศแก้ไข

 
สำนักงานใหญ ITU เมืองเจนีวา

สภาบริหารสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU Council) ได้รับการจัดตั้งขึ้น เมื่อปี ค.ศ. 1947 (พ.ศ. 2490) ประกอบด้วยสมาชิก จำนวนไม่เกินร้อยละ 25 ของสมาชิกสหภาพฯ ทั้งหมด ประกอบด้วยสมาชิกไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนสมาชิกสหภาพฯ ทั้งหมด ซึ่งได้มาโดยวิธีเลือกตั้งจากการประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มของสหภาพฯ โดยให้มีความเสมอภาค ตามจำนวนที่นั่งของสมาชิก ใน 5 ภูมิภาคตามการจัดแบ่งเพื่อการบริหารของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ คือ[8]

ปัจจุบัน สภาบริหารสหภาพฯ มีสมาชิกทั้งหมด 46 ประเทศ[9]

สภาบริหารสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศมีบทบาทในการพิจารณาปัญหาเชิงนโยบาย ด้านการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ในช่วงที่ยังไม่ถึง กำหนดการประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มของสหภาพฯ เพื่อให้การดำเนินงาน นโยบาย และยุทธศาสตร์ต่างๆ ของสหภาพฯ สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในยุคโลกาภิวัตน์ สภาบริหารนี้ มีหน้าที่จัดทำรายงานเกี่ยวกับนโยบาย และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ให้แก่สหภาพฯ นอกจากนั้น ยังรับผิดชอบในการดำเนินงานประจำวันของสหภาพฯ การประสานโครงการ และการอนุมัติและควบคุมงบประมาณและค่าใช้จ่ายของสหภาพฯ ด้วย

การประชุมระดับโลกว่าด้วยโทรคมนาคมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2555 (WCIT-12)แก้ไข

ระหว่างวันที่ 3-14 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ITU จัดการประชุมระดับโลกว่าด้วยโทรคมนาคมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2555 (WCIT-12) ในดูไบ WCIT-12 เป็นการประชุมระดับสนธิสัญญาเพื่อจัดการกฎระหว่างประเทศแก่โทรคมนาคม รวมทั้งพิกัดอัตราระหว่างประเทศ[10] รัฐมนตรีโทรคมนาคมจาก 193 ประเทศเข้าร่วมประชุม[11] การประชุมครั้งที่ผ่านมาเพื่อปรับระเบียบโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITR) จัดขึ้นในเมลเบิร์นใน พ.ศ. 2531[12]

เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 ITU เรียกร้องให้มีการปรึกษาหารือสาธารณะบนเอกสารร่างก่อนหน้าการประชุม[13] มีการอ้างว่า ข้อเสนอจะอนุญาตให้รัฐบาลจำกัดหรือบล็อกสารสนเทศที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตและสร้างระบอบการกำกับการสื่อสารอินเทอร์เน็ตทั่วโลก รวมทั้งเรียกร้องให้ผู้ที่รับและส่งสารสนเทศต้องระบุตนเอง นอกจากนี้ยังให้รัฐบาลปิดอินเทอร์เน็ตได้หากมีความเชื่อว่าอินเทอร์เน็ตอาจแทรกแซงกิจการภายในของัฐอื่นหรือาสารสนเทศที่ละเอียดอ่อนอาจถูกแบ่งปันได้[11]

โครงสร้างระเบียบปัจจุบันมีรากฐานอยู่บนโทรคมนาคมเสียง เมื่ออินเทอร์เน็ตเพิ่งเกิด เมื่อ พ.ศ. 2531 โทรคมนาคมดำเนินการอยู่ภายใต้การผูกขาดระเบียบในประเทศส่วนใหญ่ เมื่ออินเทอร์เน็ตเติบโตขึ้น องค์การอย่าง ICANN จึงกำเนิดขึ้นเพื่อจัดการทรัพยากรสำคัญอย่าง ที่อยู่อินเทอร์เน็ตและชื่อโดเมน บางคนที่อยู่นอกสหรัฐอเมริกาเชื่อว่าสหรัฐอเมริกากำกับอินเทอร์เน็ตมากเกินไป[14]

การเป็นสมาชิกของประเทศไทยแก้ไข

ประเทศไทยเริ่มเป็นสมาชิกของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ในสมัยที่ใช้ชื่อว่า สหภาพโทรเลขระหว่างประเทศ) ตั้งแต่เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883)[15] ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นกรรมการบริหารของสภาสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ 7 สมัย คือ [16]

การเป็นประเทศสมาชิกของประเทศไทยมี สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เป็นหน่วยงานอำนวยการในนามประเทศไทยของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายบริหารและกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมของประเทศ [17]

อ้างอิงแก้ไข

  1. ""About ITU"". International Telecummunication Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-15. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ""ITU's history"". International Telecummunication Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-06. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ""Radiocommunication Sector"". International Telecummunication Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-05. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ""Standardization Sector"". International Telecummunication Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-04. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. ""Development Sector"". International Telecummunication Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-18. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. ""ITU Telecom"". International Telecummunication Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-28. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ""Membership & Overview"". International Telecummunication Union. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. ""The ITU Council"". International Telecommunication Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-22. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. ""Council of the ITU (2006-2010) "". International Telecommunication Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-10. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "World Conference on International Telecommunications 2012". Itu.int. สืบค้นเมื่อ 2012-10-12.
  11. 11.0 11.1 "United Nations wants control of web kill switch". news.com.au. November 12, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-31. สืบค้นเมื่อ November, 2012. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "International Telecommunication Regulations" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2012-10-12.
  13. "ITU opens public consultation on internet regulation treaty". 16 August, 2012. สืบค้นเมื่อ November, 2012. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  14. "Russia calls for internet revolution". Indrus.in. 2012-05-29. สืบค้นเมื่อ 2012-10-12.
  15. Gray, Vanessa; Kelly, Tim; Minges, Michael (2002), "Bits and Bahts - Thailand Internet Case Study" (PDF), Geneva, Switzerland: International Telecommunication Union, p. 5, สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. ""Thailand elected for membership of ITU Executive Council for 7th consecutive term"". กระทรวงการต่างประเทศ. 2006-12-18. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  17. https://www.itu.int/online/mm/scripts/gensel9?_ctryid=1000100428&_ctryname=Thailand