พ.ศ. 2532
ปี
(เปลี่ยนทางจาก ค.ศ. 1989)
พุทธศักราช 2532 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1989 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
- ปีมะเส็ง เอกศก จุลศักราช 1351 (วันที่ 16 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2532 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 1989 MCMLXXXIX |
Ab urbe condita | 2742 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1438 ԹՎ ՌՆԼԸ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6739 |
ปฏิทินบาไฮ | 145–146 |
ปฏิทินเบงกอล | 1396 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2939 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 37 Eliz. 2 – 38 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2533 |
ปฏิทินพม่า | 1351 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7497–7498 |
ปฏิทินจีน | 戊辰年 (มะโรงธาตุดิน) 4685 หรือ 4625 — ถึง — 己巳年 (มะเส็งธาตุดิน) 4686 หรือ 4626 |
ปฏิทินคอปติก | 1705–1706 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3155 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1981–1982 |
ปฏิทินฮีบรู | 5749–5750 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2045–2046 |
- ศกสมวัต | 1911–1912 |
- กลียุค | 5090–5091 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 11989 |
ปฏิทินอิกโบ | 989–990 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1367–1368 |
ปฏิทินอิสลาม | 1409–1410 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชโชวะ 64 / ศักราชเฮเซ 1 (平成元年) |
ปฏิทินจูเช | 78 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4322 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 78 民國78年 |
เวลายูนิกซ์ | 599616000–631151999 |
ผู้นำประเทศไทย
แก้- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี: พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ (4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534)
เหตุการณ์
แก้มกราคม-มิถุนายน
แก้- 7 มกราคม - จักรพรรดิโชวะเสด็จสวรรคต สิ้นสุดยุคโชวะ
- 8 มกราคม - เจ้าฟ้าชายอะกิฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็น สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งประเทศญี่ปุ่น เรียกว่า ยุคเฮเซ
- 14 กุมภาพันธ์ – ดาวเทียมดวงแรกในกลุ่มดาวเทียมจีพีเอส เข้าสู่วงโคจร
- 14 กุมภาพันธ์ - เจ้าชายฮันส์-อาดัมที่ 2 แห่งลิกเตนสไตน์ ขึ้นครองราชย์เป็นพระประมุขแห่งลิกเตนสไตน์
- 15 กุมภาพันธ์ – การรุกรานอัฟกานิสถานของสหภาพโชเวียด: สหภาพโซเวียตประกาศถอนกำลังออกจากอัฟกานิสถานอย่างเป็นทางการ
- 12 มีนาคม - วันก่อตั้งแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติตรีปุระ
- 24 มีนาคม – เรือบรรทุกน้ำมัน เอกซ์ซอน วาลเดซ ปล่อยน้ำมันราว 11-35 ล้านแกลลอนลงสู่ช่องแคบพรินซ์วิลเลียมในรัฐอะแลสกา ทำให้เกิดภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อม
- 4 เมษายน - กลุ่มอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ เปิดอย่างเป็นทางการ ในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
- 15 เมษายน – เกิดภัยพิบัติที่ฮิลล์สเบอโร ซึ่งเป็นหนึ่งในโศกนาฏกรรมที่ร้ายแรงที่สุดในวงการฟุตบอลยุโรป
- 23 พฤษภาคม - เกิดอุบัติเหตุรถไฟขบวนที่ 38 (รถเร็ว เชียงใหม่ - กรุงเทพ ) ตกรางที่ระหว่างสถานีรถไฟผาคันและสถานีรถไฟปางป๋วย
- 1 มิถุนายน – วันเปิดบริการเซเว่น อีเลฟเว่นสาขาแรกในประเทศไทย คือสาขาหัวมุมถนนพัฒน์พงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
- 3 มิถุนายน – รัฐบาลจีนส่งทหารไปสลายผู้ชุมนุมที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน หลังการชุมนุมประท้วงนาน 7 สัปดาห์
- 4 มิถุนายน – กำลังทหารของจีนเข้าสลายผู้ชุมนุมในเหตุการณ์ การชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน
- 21 มิถุนายน - ก่อตั้งขบวนการนักสู้เสรีกัมพูชา
กรกฎาคม-ธันวาคม
แก้- 9 กรกฎาคม – เกิดระเบิดขึ้นสองครั้งที่นครเมกกะทำให้ผู้แสวงบุญรายหนึ่งเสียชีวิตและบาดเจ็บอีก 16 ราย
- 12 กรกฎาคม – ทีมฟุตบอลทีมชาติบราซิลชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอเมริกาใต้ ครั้งที่ 34 ณ ประเทศบราซิล
- 17 กรกฎาคม – เครื่องบินสเตลท์บี 2 ทยานสู่น่านฟ้าของสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก
- 19 กรกฎาคม – เกิดเหตุเครื่องบินแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 232 ตก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 111 คน ผู้บาดเจ็บ 172 คน และรอดชีวิต 185 คน
- 25 สิงหาคม – ยานวอยเอเจอร์ 2 เดินทางถึงดาวเนปจูน ก่อนมุ่งหน้าไปสู่ด้านนอกของระบบสุริยะ
- 31 สิงหาคม - ก่อตั้งขบวนการร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี
- 17 ตุลาคม – เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.1 ในแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีความรุนแรงที่สุดนับจากปี พ.ศ. 2449
- 18 ตุลาคม – ยานกาลิเลโอถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ ในการเดินทางไปสำรวจดาวพฤหัสบดี
- 4 พฤศจิกายน – พายุไต้ฝุ่นเกย์ซึ่งเข้าสู่อ่าวไทย เคลื่อนเข้าถล่มพื้นที่จังหวัดชุมพรและมุ่งลงสู่มหาสมุทรอินเดีย
- 9 พฤศจิกายน – เยอรมนีตะวันออกเปิดกำแพงเบอร์ลินให้สามารถเดินทางผ่านได้โดยเสรี ซึ่งเป็นสัญลักษณ์จุดจบของสงครามเย็น นำไปสู่การสิ้นสุดสนธิสัญญาวอร์ซอ และเป็นจุดเริ่มต้นของการล่มสลายของสหภาพโซเวียต
- 17 พฤศจิกายน – เริ่มการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากคอมมิวนิสต์เป็นประชาธิปไตยในเชกโกสโลวาเกีย
- 1 ธันวาคม - เปิดตัวรายการ "สภาผู้บริโภค" ออกอากาศทางช่อง 7
- 16 ธันวาคม - เกิดการปฏิวัติโรมาเนีย เป็นการก่อเหตุจลาจลและประท้วง เพื่อโค่นอำนาจรัฐบาลและประหารชีวิต นีกอลาเอ ชาวูเชสกู อันเป็นการสิ้นสุด สาธารณรัฐสังคมนิยมโรมาเนีย
- 17 ธันวาคม – การ์ตูนเรื่อง เดอะซิมสันส์ ออกอากาศเป็นครั้งแรกทางสถานีเครือข่าย Fox
วันเกิด
แก้มกราคม
แก้- 1 มกราคม - ปภาวิน หงษ์ขจร นักแสดงชาวไทย
- 9 มกราคม - นีน่า โดเบรฟ นักแสดงชาวบัลแกเรีย-แคนาดา
กุมภาพันธ์
แก้- 1 กุมภาพันธ์
- เดียร์ ดารินทร์ นักร้องลูกทุ่งชาวไทย
- 6 กุมภาพันธ์ - ณฐพร เตมีรักษ์ (แต้ว) นักแสดงหญิงชาวไทย
- 8 กุมภาพันธ์ - เมธัส ตรีรัตนวารีสิน (แจ๊ค) นักร้อง นักแสดง และ นายแบบชาวไทย
- 10 กุมภาพันธ์ - วรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล 1 สมัย
- 28 กุมภาพันธ์ - แองเจลาเบบี นักแสดงจีน
มีนาคม
แก้- 5 มีนาคม
- เค็นซุเกะ นะงะอิ นักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น
- ชนินทร จิตปรีดา นักแสดง/พิธีกรชาวไทย
- 6 มีนาคม
- หทัยวรรณ งามสุคนธภูษิต นักร้อง/นักแสดงชาวไทย
- กรกช วรมุกสิก นักแสดงชาวไทย
- 7 มีนาคม - กฤตฤทธิ์ บุตรพรม (บิ๊กเอ็ม) นักแสดงชาวไทย
- 9 มีนาคม - คิม แท-ย็อน หัวหน้าวงเกิลส์เจเนอเรชัยและเกิลส์เจเนอเรชัน-แททีซอ
- 16 มีนาคม
- กาบรีแยล อาตาล นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสคนที่ 26
- ทีโอ วอลคอตต์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- จิรายุ ตันตระกูล (ก๊อต) นักแสดงชาวไทย
- 26 มีนาคม - ชลิต ตันติธนากุน โปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ไทย
- 28 มีนาคม - ไปรยา สวนดอกไม้ ลุนด์เบิร์ก (ปู) นักแสดง และนางแบบชาวไทย
เมษายน
แก้- 7 เมษายน - จงเบ ปาร์ค นักร้องไทย เชื้อชาติเกาหลี
- 10 เมษายน
- วรรณรท สนธิไชย (วิว) นักแสดงหญิงชาวไทย
- ชัยวัฒน์ ทองแสง นักแสดงชาวไทย
- 18 เมษายน - เจสซิกา ช็อง สมาชิกวงเกิลส์เจเนอเรชัน
- 26 เมษายน - แดซ็อง สมาชิกวง บิกแบง (วงดนตรีเกาหลีใต้)
- 28 เมษายน
- พีชญา วัฒนามนตรี (มิน) นักแสดงชาวไทย
- คิม ซ็อง-กยู นักร้องชาวเกาหลีใต้วงอินฟินิต
- 30 เมษายน - จาง อูยอง สมาชิกวง ทูพีเอ็ม
พฤษภาคม
แก้- 1 พฤษภาคม - ภัทร์ ฉัตรบริรักษ์ นายแบบ/นักแสดงชาวไทย
- 7 พฤษภาคม - เรนา (นักร้อง) สมาชิกวงอาฟเตอร์สกูล (วงดนตรีเกาหลี)
- 15 พฤษภาคม - ซันนี (นักร้อง) สมาชิกวง เกิลส์เจเนอเรชัน
- 26 พฤษภาคม - เยอึน สมาชิกวง Wonder Girls
- 31 พฤษภาคม - ปาโบล อัลโบรัน นักดนตรี นักร้อง และนักแต่งเพลงชาวสเปน
มิถุนายน
แก้- 5 มิถุนายน
- คณวัฒน์ จันทรลาวัณย์ นักแสดง และนายแบบชาวไทย
- ณัฎฐ์ ทิวไผ่งาม (นัททิว AF5) นักร้อง/นักแสดงชาวไทย
- 13 มิถุนายน - เฉลิมพล ทิฆัมพรธีรวงศ์ (แจ๊ค) นักแสดงชาวไทย
- 22 มิถุนายน - จอง ยงฮวา สมาชิกวง CNBLUE
กรกฎาคม
แก้- 7 กรกฎาคม - โตนนท์ วงศ์บุญ (บอส) นักแสดงชาวไทย
- 10 กรกฎาคม - นันทรัตน์ ชาวราษฎร์ นักแสดงชาวไทย
- 13 กรกฎาคม - ซายูมิ มิจิชิเงะ นักร้องชาวญี่ปุ่น
- 19 กรกฎาคม - วรภร เลิศเกียรติไพบูลย์ นักแสดง พิธีกรชาวไทย
- 20 กรกฎาคม - วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล นักร้องและนักแสดงชาวไทย
- 23 กรกฎาคม - แดเนียล แรดคลิฟฟ์ นักแสดงชาวอังกฤษ
- 28 กรกฎาคม - ภีรนีย์ คงไทย (แมท) นักแสดงชาวไทย
สิงหาคม
แก้- 1 สิงหาคม - ทิฟฟานี ยัง สมาชิกวง เกิลส์เจเนอเรชัน
- 10 สิงหาคม - กวิตา รอดเกิด (เพลง) นักแสดงชาวไทย
- 11 สิงหาคม - กิตตน์ก้อง ขำกฤษ (บูม) นักแสดงชายชาวไทย
- 12 สิงหาคม
- นลินทิพย์ สกุลอ่องอำไพ นักแสดงชาวไทย
- มินซ็อนเย หัวหน้าวง Wonder Girls
- 13 สิงหาคม - ชินวุฒ อินทรคูสิน นักร้องและนักแสดงชาวไทย
- 15 สิงหาคม - โจ โจนาส นักแสดงและนักร้องชาวอเมริกัน
- 16 สิงหาคม - ข้าวทิพย์ ธิดาดิน นักร้องลูกทุ่งชาวไทย
- 28 สิงหาคม - ดรัลชรัส ศุขีวิริยะ (ดาต้า) นักแสดงหญิง/นักร้องหญิงชาวไทย
กันยายน
แก้- 4 กันยายน
- พีรกร โพธิ์ประเสริฐ (กัสเบล) นักแสดงชายชาวไทย
- พิมดาว พานิชสมัย (มัดหมี่) นักร้องและนักแสดงหญิงชาวไทย
- 5 กันยายน - พรปวีณ์ เทพมงคล นักแสดงหญิงชาวไทย
- 13 กันยายน - โทมัส มึลเลอร์ นักฟุตบอลชาวเยอรมัน
- 14 กันยายน - อัษฎาพร สิริวัฒน์ธนกุล (กรีน) นักร้อง/นักแสดง/นักร้องหญิงชาวไทยดิษ
- 16 กันยายน - สุคนเพชร ผลประฐานนท์ (เพชรหอม) พิธีกร/ผู้ประกาศข่าวทางช่อง 7HD
- 22 กันยายน - คิม ฮโยยอน สมาชิกวง เกิลส์เจเนอเรชัน
- 28 กันยายน - รี ซ็อล-จู นักร้องหญิงชาวประเทศเกาหลีเหนือ และเป็นภริยาของ คิม จ็อง-อึน ผู้นำประเทศเกาหลีเหนือ
ตุลาคม
แก้- 4 ตุลาคม - ดาโกต้า จอห์นสัน นักแสดงชาวอเมริกัน
- 6 ตุลาคม - สุวรรณ บวรศิริเกียรติ นักแสดงชาวไทย
- 10 ตุลาคม - วี จิราพร นักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย
- 11 ตุลาคม - มิเชล วี นักกอล์ฟชาวอเมริกัน
- 22 ตุลาคม - ธนะรัศมิ์ฐา อุดมฉวี นักวอลเลย์บอลชายหาดชาวไทย
- 23 ตุลาคม - ปิยะธาดา คำคล้าย นักแสดงชาวไทย
- 24 ตุลาคม - พิวดี้พาย ผู้ใช้ยูทูบชาวสวีเดนที่มีชื่อเสียง
พฤศจิกายน
แก้- 2 พฤศจิกายน - กัญญา รัตนเพชร (ตาล) นักแสดงชาวไทย
- 8 พฤศจิกายน - ฮารุ สุประกอบ นักแสดงชาวไทย
- 10 พฤศจิกายน - ปิยะนุช แป้นน้อย (แป้น) นักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย
- 11 พฤศจิกายน - เรนะ ทานากะ นักร้องชาวญี่ปุ่น
- 24 พฤศจิกายน - ภัทรากร ตั้งศุภกุล (พลอย) นักแสดงหญิงชาวไทย
ธันวาคม
แก้- 5 ธันวาคม - คว็อน ยู-รี สมาชิกวง เกิลส์เจเนอเรชัน
- 10 ธันวาคม - เนโกะ จัมพ์ นักร้องชาวไทย
- 13 ธันวาคม - เทย์เลอร์ สวิฟต์ นักร้อง นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน
- 14 ธันวาคม - อนยู สมาชิกวง ชายนี
- 15 ธันวาคม
- กฤษฎา สุภาพพร้อม นักแสดงชาวไทย
- แอรอน เครสส์เวลล์ นักฟุตบอลอาชีพชาวอังกฤษ
- 19 ธันวาคม
- หรรษา จึงวิวัฒนวงศ์ (นิวเคลียร์) นักแสดงชาวไทย
- ยง จุน-ฮย็อง สมาชิกวง ไฮไลต์
- 24 ธันวาคม - ราณี แคมเปน (เบลล่า) นักแสดงลูกครึ่งไทย-อังกฤษ
วันถึงแก่กรรม
แก้- 7 มกราคม - จักรพรรดิโชวะ จักรพรรดิของประเทศญี่ปุ่น (ประสูติ 29 เมษายน พ.ศ. 2444)
- 23 มกราคม - ซัลวาดอร์ ดาลี จิตรกรชาวสเปน (เกิด 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2447)
- 9 กุมภาพันธ์ - เทะซึกะ โอะซะมุ นักเขียนการ์ตูนชาวญี่ปุ่น (เกิด 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471)
- 26 มีนาคม - เจ้าทิพวรรณ ณ เชียงตุง (ประสูติ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2446)
- 30 เมษายน - เจ้าหญิงบังจา มกุฎราชกุมารีองค์สุดท้ายของเกาหลี (ประสูติ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444)
- 1 พฤษภาคม - หนุ่ม เมืองไพร นักร้องลูกทุ่งชาวไทย (เกิด 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492)
- 16 พฤษภาคม - ชาตรี ศรีชล นักร้อง นักแต่งเพลงลูกทุ่งชาวไทย (เกิด 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492)
- 3 มิถุนายน - อยาตุลเลาะห์ รูฮัลลาห์ โคไมนี ผู้นำอิสลามชาวอิหร่าน (เกิด 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2443)
- 29 สิงหาคม - ปีเตอร์ สกอตต์ นักธรรมชาติวิทยา จิตรกร และนักสำรวจชาวอังกฤษ (เกิด 14 กันยายน พ.ศ. 2452)
- 28 กันยายน - เฟอร์ดินันด์ มาร์กอส อดีตประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ (เกิด 11 กันยายน พ.ศ. 2460)
- 6 ตุลาคม - เบตตี เดวิส นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 5 เมษายน พ.ศ. 2451)
รางวัล
แก้- สาขาเคมี – Sidney Altman, Thomas R. Cech
- สาขาวรรณกรรม – คามิโล โฮเซ เซลา
- สาขาสันติภาพ – ทะไลลามะ องค์ที่สิบสี่
- สาขาฟิสิกส์ – นอร์แมน ฟอสเตอร์ แรมซีย์ จูเนียร์, ฮันส์ เกออร์ก เดห์เมลท์, โวล์ฟกัง เพาล์
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – เจ. ไมเคิล บิชอป, ฮาโรลด์ อี. วาร์มุส
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – Trygve Haavelmo