ประเทศเยอรมนีตะวันออก

(เปลี่ยนทางจาก เยอรมนีตะวันออก)

เยอรมนีตะวันออก (อังกฤษ: East Germany) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (เยอรมัน: Deutsche Demokratische Republik[g]; อังกฤษ: German Democratic Republic[h]) เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ที่ดำรงอยู่ในช่วงปี 1949 ถึงปี 1990 โดยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเยอรมันที่ถูกปกครองโดยอดีตสหภาพโซเวียต หลังจากการยึดครองเยอรมนีของกองทัพโซเวียตสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีตะวันออกเป็นประเทศหนึ่งที่เข้าร่วมสนธิสัญญาวอร์ซอ ในช่วงสงครามเย็น โดยเยอรมนีตะวันออกได้นิยามตัวเองว่าเป็นรัฐสังคมนิยม "ของคนงานและชาวนา"[7] และเขตที่ถูกยึดครอง ได้รับการปกครองโดยกองกำลังโซเวียตในตอนท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง เขตยึดครองโซเวียตตามข้อตกลงพ็อทซ์ดัมซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกติดกับแนวโอเดอร์–ไนเซอ เขตยึดครองโซเวียตล้อมรอบเบอร์ลินตะวันตก แต่ไม่รวมถึง เป็นผลให้เบอร์ลินตะวันตกยังคงอยู่นอกเขตอำนาจของเยอรมนีตะวันออก

สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี

Deutsche Demokratische Republik
1949–1990
ธงชาติประเทศเยอรมนีตะวันออก
ธง
(1959–1990)
คำขวัญ"Proletarier aller Länder, vereinigt Euch!"
("ชนชั้นกรรมาชีพทั่วโลก, จงสามัคคีกัน!")
เพลงชาติ"เอาฟ์แอร์ชตันเดินเอาส์รูอีเนิน"
("ฟื้นฟูขึ้นจากซากปรักหักพัง")
ดินแดนสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (ประเทศเยอรมนีตะวันออก) โดยก่อตั้งในวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1949 จนกระทั่งถูกยุบในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1990
ดินแดนสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (ประเทศเยอรมนีตะวันออก) โดยก่อตั้งในวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1949 จนกระทั่งถูกยุบในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1990
สถานะสมาชิกกติกาสัญญาวอร์ซอ (1955–1989)
รัฐบริวารของสหภาพโซเวียต (1949–1989)[1]
สมาชิกคอมิคอน (1950–1990)[2]
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
เบอร์ลินตะวันออก[a] (โดยพฤตินัย)
ภาษาราชการเยอรมัน
ซอร์เบีย (ในส่วนของเขตเดรสเดินและเขตค็อทบุส)
ศาสนา
ดูศาสนาในประเทศเยอรมนีตะวันออก
เดมะนิมชาวเยอรมันตะวันออก
การปกครองสหพันธ์ ลัทธิมากซ์-เลนิน รัฐพรรคการเมืองเดียว สาธารณรัฐสังคมนิยม
(1949–1952)
รัฐเดี่ยว ลัทธิมากซ์-เลนิน รัฐพรรคการเมืองเดียว สาธารณรัฐสังคมนิยม
(1952–1989)
รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภา
(1989–1990)
เลขาธิการ 
• ค.ศ. 1946–1950[b]
วิลเฮ็ล์ม พีคกับอ็อทโท โกรเทอโวล[c]
• ค.ศ. 1950–1971
วัลเทอร์ อุลบริชท์
• ค.ศ. 1971–1989
เอริช ฮ็อนเน็คเคอร์
• ค.ศ. 1989[d]
เอก็อน เคร็นทซ์
ประมุขแห่งรัฐ 
• 1949–1960 (คนแรก)
วิลเฮ็ล์ม พีค
• 1990 (คนสุดท้าย)
ซาบีเนอ แบร์คมัน-โพล
หัวหน้ารัฐบาล 
• ค.ศ. 1949–1964 (คนแรก)
อ็อทโท โกรเทอโวล
• ค.ศ. 1990 (คนสุดท้าย)
โลทาร์ เดอ เม็ซซีแอร์
สภานิติบัญญัติหอประชารัฐ (สภาสูง)
หอประชาชน (สภาล่าง)
ยุคประวัติศาสตร์สงครามเย็น
7 ตุลาคม 1949
16 มิถุนายน ค.ศ. 1953
14 พฤษภาคม 1955
4 มิถุนายน 1961
13 มิถุนายน 1973
18 กันยายน ค.ศ. 1973
13 ตุลาคม ค.ศ. 1989
9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989
12 กันยายน ค.ศ. 1990
3 ตุลาคม 1990
พื้นที่
• รวม
108,333 ตารางกิโลเมตร (41,828 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1950
18,388,000[e][3]
• 1970
17,068,000
• 1990
16,111,000
149 ต่อตารางกิโลเมตร (385.9 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 1989 (ประมาณ)
• รวม
525.29 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[4]
42,004 ดอลลาร์สหรัฐ[4]
เอชดีไอ (1989)0.953[5]
สูงมาก
สกุลเงิน
เขตเวลา(UTC+1)
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+37
โดเมนบนสุด.dd[f][6]
ก่อนหน้า
ถัดไป
เยอรมนีภายใต้การยึดครองของโซเวียต
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมนีที่รวมเป็นหนึ่ง)
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมนี
ธงชาติเยอรมนีตะวันออกที่นำมาใช้ใน ค.ศ. 1949 คล้ายกับธงของประเทศเยอรมนีตะวันตก ใน ค.ศ. 1959 รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกได้ตีพิมพ์ธงใหม่พร้อมกับเพลงชาติ เพื่อสร้างความแตกต่างระหว่างตะวันออกและตะวันตก

สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีก่อตั้งขึ้นในเขตโซเวียต ขณะที่สหพันธรัฐจัดตั้งขึ้นในสามเขตตะวันตก เยอรมนีตะวันออกเป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียต[8] เจ้าหน้าที่ยึดครองโซเวียตได้เริ่มถ่ายโอนความรับผิดชอบในการบริหารให้กับผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนีในปี 1948 และเริ่มมีบทบาทเป็นรัฐเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 1949 อย่างไรก็ตามกองทัพโซเวียตยังคงกำลังอยู่ในประเทศตลอดช่วงสงครามเย็น จนถึง 1989 เยอรมนีตะวันออกถูกปกครองโดยพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี แม้ว่าพรรคอื่น ๆ ในนามขององค์กรพันธมิตรแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติเยอรมนี[9] พรรคเอกภาพสังคมนิยมยังได้บังคับให้ทุกโรงเรียนต้องสอนแนวคิดลัทธิมากซ์ - เลนิน และภาษารัสเซีย[10]

เศรษฐกิจมีการวางแผนจากส่วนกลางและเป็นของรัฐมากขึ้น[11] ราคาที่อยู่อาศัยสินค้าพื้นฐานและบริการถูกกำหนดโดยนักวางแผนของรัฐบาลกลางมากกว่าการเพิ่มขึ้นและลดลงตามอุปสงค์และอุปทาน และได้รับเงินอุดหนุนอย่างมาก แม้ว่าเยอรมนีตะวันออกจะต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามอย่างมหาศาลให้กับสหภาพโซเวียต แต่ก็กลายเป็นเศรษฐกิจที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในกลุ่มตะวันออก การอพยพไปทางเยอรมนีตะวันตกเป็นปัญหาสำคัญเนื่องจากผู้อพยพหลายคนเป็นเยาวชนที่มีการศึกษาดีทำให้เศรษฐกิจของประเทศอ่อนแอลง รัฐบาลเสริมสร้างพรมแดนด้านเยอรมนีตะวันตกและในปี 1961 รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกได้สร้างกำแพงเบอร์ลินขึ้นมา หลายคนที่พยายามหลบหนีจะถูกสังหารโดยเจ้าหน้าที่ชายแดน หรือโดนกับดักหลุมพรางเช่นทุ่นระเบิดเป็นต้น[12]

ในปี 1989 ปัญหาทางสังคม, เศรษฐกิจ และการเมืองที่มากขึ่นในเยอรมนีตะวันออกและต่างประเทศได้นำไปสู่การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินและการจัดตั้งรัฐบาลที่มุ่งมั่นในการเปิดเสรี ส่งผลให้เกิดการจัดการเลือกตั้งเสรีขึ้นเป็นครั้งแรกในเยอรมนีตะวันออกเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 1990[13] นำไปสู่การเจรจาระหว่างเยอรมนีทั้งสองประเทศ และ ชาติมหาอำนาจอีกสี่ชาติที่เคยยึดครองเยอรมนีในอดีต จึงก่อให้เกิดการลงนามในข้อตกลงของ สนธิสัญญาสองบวกสี่ (สนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี) ณ กรุงมอสโก สหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1990 โดยให้อำนาจอธิปไตยอย่างสมบูรณ์แก่ประเทศเยอรมนีที่รวมกันใหม่ และเยอรมนีได้รวมตัวกันอีกครั้งเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 1990 และกลายเป็นรัฐอธิปไตยอย่างเต็มที่อีกครั้ง ผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์คนสุดท้ายของเยอรมนีตะวันออกคือ เอก็อน เคร็นทซ์ ได้ถูกดำเนินคดีในข้อหาก่ออาชญากรรมในช่วงสงครามเย็นหลังเยอรมนีรวมประเทศ

ด้านภูมิศาสตร์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีติดกับทะเลบอลติกไปทางทิศเหนือ สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ไปทางทิศตะวันออก, เชโกสโลวาเกียไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และเยอรมนีตะวันตกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้และตะวันตก ภายในเยอรมนีตะวันออกยังมีล้อมนอกรอบเขตโซเวียตของเบอร์ลินภายใต้การยึดครองของสัมพันธมิตร เรียกว่า เบอร์ลินตะวันออก ซึ่งได้กลายเป็นเมืองหลวงในทางพฤตินัย นอกจากนี้ยังมีล้อมรอบสามเขตที่ยึดครองโดยสหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศสถูกเรียกว่า เบอร์ลินตะวันตก ทั้งสามเขตถูกครอบครองโดยประเทศตะวันตกถูกปิดผนึกออกจากส่วนที่เหลือของเยอรมนีตะวันออกโดยกำแพงเบอร์ลินจากการก่อสร้างในปี 1961 จนกระทั่งถูกทุบลงในปี 1989

ข้อตกลงการตั้งชื่อ แก้

ชื่ออย่างเป็นทางการว่า Deutsche Demokratische Republik (สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี) มักจะย่อด้วยคำว่า DDR ทั้งสองคำจะถูกใช้ในเยอรมนีตะวันออก ด้วยการใช้ที่เพิ่มมากขึ่นของรูปแบบย่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่เยอรมนีตะวันออกได้ถือว่าชาวเยอรมันตะวันตกและชาวเบอร์ลินตะวันตกเป็นชาวต่างชาติหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่สองในปี ค.ศ. 1968 ชาวเยอรมันตะวันตกและรัฐบุรุษต่างได้หลีกเลี่ยงการใช้ชื่ออย่างเป็นทางการและใช้คำย่อ แทนที่จะใช้คำอื่นๆ เช่น ออสโซน (โซนตะวันออก)[14] Sowjetische Besatzungszone (เขตการยึดครองของโซเวียต; มักจะย่อด้วยคำว่า SBZ) และ sogenannte DDR[15] (หรือ "เรียกว่า GDR")[16]

ศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองในเบอร์ลินตะวันออกที่ถูกเรียกว่า Pankow (ที่นั่งของกองบัญชาการแห่งกองทัพโซเวียตในเยอรมนีตะวันออกที่ถูกเรียกว่า Karlshorst[17]) เมื่อเวลาผ่านไป, อย่างไรก็ตาม, คำย่อว่า DDR ยังถูกใช้มากขึ้นเรื่อยๆโดยชาวเยอรมันตะวันตกและสื่อเยอรมันตะวันตก[18]

คำว่า Westdeutschland (เยอรมนีตะวันตก) เมื่อถูกใช้โดยชาวเยอรมันตะวันตกที่เกือบตลอดที่อ้างอิงไปยังพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของภูมิภาคเยอรมนีตะวันตก และไม่ใช่พื้นที่ภายในเขตแดนของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี อย่างไรก็ตาม, การใช้คำนี้ยังไม่ถูกเสมอไป จากตัวอย่างเช่น ชาวเบอร์ลินตะวันตกมักใช้คำว่า Westdeutschland เพื่อกล่าวถึงสหพันธ์สาธารณรัฐ[19] ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง, Ostdeutschland (เยอรมนีตะวันออก) เป็นการใช้คำเพื่ออ้างอิงถึงดินแดนทั้งหมดทางตะวันออกของแม่น้ำเอ็ลเบอ (แม่น้ำเอ็ลเบอตะวันออก) เป็นผลสะท้อนให้เห็นในผลงานของนักสังคมนิยม มักซ์ เวเบอร์และนักทฤษฎีการเมือง คาร์ล ซมิตต์[20][21][22][23][24]

ประวัติศาสตร์ แก้

 
ภาพตำรวจเยอรมนีตะวันออกยืนคุมสถานการณ์บริเวณประตูบรานเดนบวร์กก่อนการเปิดประตูในวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1989 (พ.ศ. 2532)

การอธิบายถึงผลกระทบภายในของระบอบในเยอรมนีตะวันออก จากภาพรวมของประวัติศาสตร์เยอรมนีในระยะเวลาอันยาวนาน นักประวัติศาสตร์ เจอร์ฮาร์ด เอ. ริตเตอร์ (ค.ศ. 2002) ได้แย้งว่า รัฐเยอรมนีตะวันออกได้ถูกกำหนดโดยสองกองกำลังหลักคือ ฝ่ายคอมมิวนิสต์สายโซเวียตในมือข้างหนึ่งและขนบประเพณีเยอรมันได้ผ่านการคัดกรองผ่านประสบการณ์ระหว่างสงครามของคอมมิวนิสต์ในด้านอื่น ๆ มันได้ถูกจำกัดโดยตัวอย่างที่มีประสิทธิภาพของความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้นของฝ่ายตะวันตก ซึ่งชาวเยอรมันตะวันออกได้เปรียบเทียบกับประเทศของตน การเปลี่ยนแปลงที่ได้กระทำโดยคอมมิวนสต์เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดมากที่สุดในการสิ้นสุดของทุนนิยมและการเปลี่ยนแปลงโรงงานอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ในยุทธภิวัตน์ของสังคม และในแรงผลักดันทางการเมืองของระบบการศึกษาและสื่อ ในทางกลับกัน มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ที่มีอิสระในด้านทางวิทยาศาสตร์ วิชาชีพวิศวกรรม คริสจักรนิกายโปรเตสแตนต์ และในวิถีชีวิตของชนชั้นกลางหลายคน นโยบายทางสังคม ได้กล่าวว่า Ritter กลายเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมที่สำคัญในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาและสังคมนิยมแบบผสมผสานและส่วนดั้งเดิมเกี่ยวกับความเท่าเทียม

การกำเนิด แก้

ที่การประชุมยัลตาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตร (สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสหภาพโซเวียต) ได้เห็นตกลงกันว่าจะแบ่งแยกประเทศของนาซีเยอรมนีที่ได้พ่ายแพ้ไปแล้วให้กลายเป็นเขตยึดครอง และแบ่งแยกกรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงของเยอรมนี ท่ามกลางอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรเช่นกัน ในช่วงแรกการสร้างเขตยึดครองทั้งสาม ได้แก่ อเมริกัน อังกฤษ และโซเวียต ต่อมาเขตยึดครองของฝรั่งเศสได้ถูกแบ่งแยกออกมาจากเขตอเมริกันและอังกฤษ

การก่อตั้ง ปี ค.ศ. 1949 แก้

การปกครองของพรรคคอมมิวสต์ เป็นที่รู้จักกันคือ พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี (SED) ถูกก่อตั้งในเดือนเมษายน ค.ศ. 1946 จากการรวมตัวกันระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนี (KPD) และพรรคประชาธิปไตยสังคมแห่งเยอรมนี (SPD) โดยอาณัติของโจเซฟ สตาลิน อดีตทั้งสองฝ่ายเป็นคู่แข่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังเมื่อพวกเขาได้เคลื่อนไหวก่อนที่นาซีได้รวมรวมอำนาจไว้ทั้งหมดและได้ถูกประกาศว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมายได้สร้างความวุ่นวายต่อพวกเขา การรวมตัวกันของทั้งสองฝ่ายกลายเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ใหม่ของนักสังคมนิยมเยอรมันในการเอาชนะศัตรูทั่วไปของพวกเขา อย่างไรก็ตาม ฝ่ายคอมมิวนิสต์ก็ได้ถือเสียงส่วนใหญ่ที่มีอำนาจควบคุมนโยบายทั้งหมด SED เป็นพรรคที่ปกครองจากตลอดระยะเวลาของรัฐเยอรมนีตะวันออก มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียต ซึ่งกองกำลังทหารยังคงรักษาการณ์ในเยอรมนีตะวันออกจนกระทั่งได้ถูกยุบลงในปี ค.ศ. 1991 (สหพันธรัฐรัสเซียยังคงให้กองกำลังทหารยังคงรักษาการณ์ในสิ่งที่เคยเป็นเยอรมนีตะวันออกจนถึง ค.ศ. 1994) ด้วยวัตถุประสงค์ที่ได้ระบุไว้ว่าเพื่อตอบโต้ฐานที่มั่นของนาโต้ในเยอรมนีตะวันตก นักประวัติศาสตร์ได้ถกเถียงกันว่า การตัดสินใจในการจัดตั้งประเทศที่แยกจากกันได้ถูกริเริ่มโดยสหภาพโซเวียตหรือ SED

ในขณะที่เยอรมนีตะวันตกได้ถูกก่อตั้งและได้รับเอกราชจากผู้ยึดคีอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมันได้ถูกก่อตั้งในเยอรมนีตะวันออกในปี ค.ศ. 1949 การสร้างทั้งสองรัฐขึ้นในปี ค.ศ. 1945 ส่วนหนึ่งของเยอรมนี เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1952 (ในสิ่งที่กลายเป็นที่รู้จักกันคือ โน้ตสตาลิน) สตาลินได้ยื่นข้อเสนอให้รวมประเทศเยอรมนีด้วยนโยบายความเป็นกลาง, ด้วยปราศจากเงื่อนไขใดๆเกี่ยวกับนโยบายทางเศรษฐกิจและด้วยการรับประกันสำหรับ"สิทธิมนุษย์และเสรีภาพขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเสรีภาพในการพูด กดดัน การชักชวนทางศาสนา, ความเชื่อมั่นทางการเมือง และการชุมนุม" และเคลื่อนไหวอย่างเสรีของพรรคประชาธิปไตยและองค์กร ตอนนี้ได้ถูกปิดลง การรวมประเทศไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับความเป็นผู้นำของเยอรมนีตะวันตก และอำนาจของนาโต้ได้ปฏิเสธข้อเสนอโดยอ้างว่าเยอรมนีควรที่จะเข้าร่วมนาโต้และการเจรจาต่อรองกับสหภาพโซเวียตจะถูกมองว่าเป็นการยอมจำนน มีการอภิปรายหลายครั้งเกี่ยวกับมีโอกาสที่จะรวมตัวอีกครั้งหรือไม่ซึ่งพลาดในปี ค.ศ. 1952

ในปี ค.ศ. 1949 โซเวียตได้หันไปควบคุมเยอรมนีตะวันออกเหนือต่อพรรคเอกภาพสังคมนิยม ผู้นำโดย วิลเฮ็ล์ม พีค (ค.ศ. 1876-1960) ซึ่งเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี และดำรงตำแหน่งจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม ในขณะที่ผู้บริหารส่วนใหญ่ได้สมมุติโดยเลขาธิการใหญ่ วัลเทอร์ อุลบริชท์ ผู้นำสังคมนิยม อ็อทโท โกรเทอโวล (ค.ศ. 1894-1964) เป็นนายกรัฐมนตรีจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม

รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกได้ประณามความล้มเหลวของเยอรมนีตะวันตกในทำให้เกิดการขจัดและละทิ้งความเกี่ยวข้องกับอดีตนาซีที่จำคุกเป็นจำนวนมาก และขัดขวางไม่ให้พวกเขากลับมาสู่ตำแหน่งรัฐบาลอีก พรรคเอกภาพสังคมนิยมได้กำหนดเป้าหมายหลักของการกำจัดร่องรอยของระบอบฟาสซิสต์ทั้งหมดของเยอรมนีตะวันออก พรรคเอกภาพสังคมนิยมได้อ้างว่าจะสนับสนุนการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยและการปกป้องเสรีภาพส่วนบุคคลในการสร้างสังคมนิยม

เขตยึดครอง แก้

ในการประชุมยัลตาและพ็อทซ์ดัม ฝ่ายสัมพันธมิตรได้จัดตั้งกองกำลังทหารยึดครองร่วมกันและบริหารประเทศเยอรมนีผ่านสภาควบคุมฝ่ายสัมพันธมิตร (ACC) สี่มหาอำนาจ (สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ สหภาพโซเวียต และฝรั่งเศส) รัฐบาลทหารที่มีประสิทธิภาพจนถึงฟื้นฟูอธิปไตยของเยอรมัน ในเยอรมนีตะวันออก เขตยึดครองของโซเวียต (SBZ – Sowjetische Besatzungszone) ประกอบด้วยห้ารัฐ (Länder) เมคเลินบวร์ค-ฟอร์พ็อมเมิร์น บรันเดินบวร์ค แซกโซนี ซัคเซิน-อันฮัลท์ และทูรินเจีย

หมายเหตุ แก้

  1. ไม่ยอมรับโดยสามอำนาจ: ฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร และสหรัฐ
  2. พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนีก่อตั้งในเยอรมนีภายใต้การยึดครองของโซเวียต ก่อนการก่อตั้งประเทศเยอรมนีตะวันออก
  3. ดำรงตำแหน่งประธานร่วมกัน
  4. ตุลาคม–ธันวาคม
  5. สถิติประชากรจาก Statistisches Bundesamt
  6. ถึงแม้ว่า .dd ถูกใช้ในฐานะรหัสไอเอสโอสำหรับเยอรมนีตะวันออก มันไม่ถูกใช้ก่อนที่ประเทศนี้ถูกรวมกับฝั่งตะวันตก
  7. ย่อเป็น DDR
  8. ย่อเป็น GDR

อ้างอิง แก้

  1. "Warsaw Pact". Encyclopedia Britannica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2018. สืบค้นเมื่อ 6 March 2018.
  2. "Council for Mutual Economic Assistance". Encyclopedia.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2018. สืบค้นเมื่อ 6 March 2018.
  3. "Bevölkerungsstand" (ภาษาเยอรมัน). Statistisches Bundesamt. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2013.
  4. 4.0 4.1 . World Inequality Database = GDR https://wid.world/world/#agdpro_p0p100_z/DD/last/eu/k/p/yearly/a/false/6676.3185/35000/curve/false/country = GDR. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); ตรวจสอบค่า |url= (help)
  5. "Human Development Report 1990" (PDF). hdr.undp.org.
  6. "Top-Level-Domain .DD" (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2015.
  7. Patrick Major, Jonathan Osmond, The Workers' and Peasants' State: Communism and Society in East Germany Under Ulbricht 1945–71, Manchester University Press, 2002, ISBN 9780719062896
  8. Karl Dietrich Erdmann, Jürgen Kocka, Wolfgang J. Mommsen, Agnes Blänsdorf. Towards a Global Community of Historians: the International Historical Congresses and the International Committee of Historical Sciences 1898–2000. Berghahn Books, 2005, pp. 314. ("However the collapse of the Soviet empire, associated with the disintegration of the Soviet satellite regimes in East-Central Europe, including the German Democratic Republic, brought about a dramatic change of agenda.")
  9. Eugene Register-Guard 29 October 1989. p. 5A.
  10. Grix, Jonathan; Cooke, Paul (2003). East German Distinctiveness in a Unified Germany. p. 17. ISBN 1902459172.
  11. Peter E. Quint. The Imperfect Union: Constitutional Structures of German Unification Princeton University Press 2012, pp. 125-126.
  12. "More Than 1,100 Berlin Wall Victims". Deutsche Welle. 9 August 2005. สืบค้นเมื่อ 8 August 2009.
  13. Geoffrey Pridham, Tatu Vanhanen. Democratization in Eastern Europe Routledge, 1994. ISBN 0-415-11063-7 pp. 135
  14. Berlin Korrespondent. "Nationale Front in der Ostzone". Die Zeit, June 1949. สืบค้นเมื่อ 10 May 2013.
  15. Vom Sogenannten, Der Spiegel, 21 October 1968, page 65
  16. Facts about Germany: The Federal Republic of Germany, 1959 - Germany (West), page 20
  17. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ zeit492
  18. The use of the abbreviation BRD (FRG) for West Germany, the Bundesrepublik Deutschland (Federal Republic of Germany), on the other hand, was never accepted in West Germany since it was considered a political statement. Thus BRD (FRG) was a term used by East Germans, or by West Germans who held a pro-East-German view. Colloquially, West Germans called West Germany simply "Germany" (reflecting West Germany's claim to represent the whole of Germany) or, alternatively, the Bundesrepublik or Bundesgebiet (federal republic, or federal territory, respectively), referring to the country, and Bundesbürger (federal citizen[s]) for its citizens, with the adjective, bundesdeutsch (federal German).
  19. Lora Wildenthal. The Language of Human Rights in West Germany. p. 210.
  20. Cornfield, Daniel B. and Hodson, Randy (2002). Worlds of Work: Building an International Sociology of Work. Springer, p. 223. ISBN 0306466058
  21. Östereichische Zeitschrift für Soziologie, by Michael Pollock. Zeitschrift für Soziologie; ZfS, Jg. 8, Heft 1 (1979) ; 50-62. 01/1979 (เยอรมัน)
  22. Baranowsky, Shelley (1995). The Sanctity of Rural Life: Nobility, Protestantism, and Nazism in Weimar Prussia. Oxford University Press, pp. 187-188. ISBN 0195361660
  23. Schmitt, Carl (1928). Political Romanticism. Transaction Publishers, Preface, p. 11. ISBN 1412844304
  24. Each spring, millions of workmen from all parts of western Russia arrived in eastern Germany, which, in political language, is called East Elbia. from The Stronghold of Junkerdom, by George Sylvester Viereck. Viereck's, Volume 8. Fatherland Corporation, 1918

ข้อมูล

  • Judt, Tony (2005). Postwar: A History of Europe Since 1945.
  • McCauley, Martin (1983). The German Democratic Republic since 1945. Palgrave Macmillan. ISBN 978-0-333-26219-1.
  • Weitz, Eric D. (1997). Creating German Communism, 1890–1990: From Popular Protests to Socialist State. Princeton, New Jersey: Princeton University Press.

อ่านเพิ่ม แก้

  • Allinson, Mark. Politics and Popular Opinion in East Germany 1945–68 (2000)
  • Anon. (1986). The German Democratic Republic. Dresden: Zeit im Bild. OCLC 221026743.
  • Augustine, Dolores. Red Prometheus: Engineering and Dictatorship in East Germany, 1945–1990 (2007) 411pp
  • Baylis, Thomas A., David H Childs, Erwin L. Collier, and Marilyn Rueschemeyer, eds. East Germany in Comparative Perspective (Routledge, 1989)
  • Berger, Stefan, and Norman LaPorte, eds. The Other Germany: Perceptions and Influences in British-East German Relations, 1945–1990 (Augsburg, 2005).
  • Berger, Stefan, and Norman LaPorte, eds. Friendly Enemies: Britain and the GDR, 1949–1990 (2010) online review
  • Berghoff, Hartmut, and Uta Andrea Balbier, eds. The East German Economy, 1945–2010: Falling Behind Or Catching Up? (Cambridge University Press, 2013).
  • Betts, Paul. Within Walls: Private Life in the German Democratic Republic, Oxford: Oxford University Press, 2013
  • Childs, David H.. The Fall of the GDR, Longman Personed.co.uk, 2001. ISBN 978-0-582-31569-3, ISBN 0-582-31569-7
  • Childs, David H.. & Richard Popplewell. The Stasi: East German Intelligence and Security Service, Palgrave Macmillan Palgrave.com, Amazon.co.uk 1996.
  • Childs, David H.. The GDR: Moscow's German Ally, George Allen & Unwin, 1983. ISBN 0-04-354029-5, ISBN 978-0-04-354029-9.
  • Childs, David H.. The Two Red Flags: European Social Democracy & Soviet Communism Since 1945, Routledge, 2000.
  • De La Motte and John Green, "Stasi State or Socialist Paradise? The German Democratic Republic and What became of it", Artery Publications. 2015
  • Fulbrook, Mary. The People's State: East German Society from Hitler to Honecker (Yale University Press, 2005). 352 pp. ISBN 0-300-10884-2.
  • Fulbrook; Mary. Anatomy of a Dictatorship: Inside the GDR, 1949–1989 (Oxford University Press, 1995).
  • Fulbrook, Mary and Andrew I. Port, eds., Becoming East German: Socialist Structures and Sensibilities after Hitler (New York and Oxford: Berghahn, 2013).
  • Gray, William Glenn. Germany's Cold War: The Global Campaign to Isolate East Germany, 1949–1969 (University of North Carolina Press, 2003). online
  • Grieder, Peter. The German Democratic Republic (Palgrave Macmillan, 2012), scholarly history.
  • Grix, Jonathan. The Role of the Masses in the Collapse of the GDR Macmillan, 2000
  • Heitzer, Heinz (1981). GDR: An Historical Outline. Dresden: Zeit im Bild. OCLC 1081050618.
  • Jarausch, Konrad H., and Eve Duffy; Dictatorship as Experience: Towards a Socio-Cultural History of the GDR (Berghahn Books, 1999).
  • Kupferberg, Feiwel. The Rise and Fall of the German Democratic Republic (2002) 228pp; online review
  • McAdams, A. James. "East Germany and Détente" (Cambridge University Press, 1985).
  • McAdams, A. James. "Germany Divided: From the Wall to Reunification" (Princeton University Press, 1992 and 1993).
  • McLellan, Josie. Love in the Time of Communism: Intimacy and Sexuality in the GDR. (Cambridge University Press, 2011).
  • Major, Patrick, and Jonathan Osmond, eds. The Workers' and Peasants' State: Communism and Society in East Germany under Ulbricht 1945–71 (Manchester University Press, 2002), 272 pp.
  • Naimark, Norman M. The Russians in Germany: A History of the Soviet Zone of Occupation, 1945–1949 (1997) excerpt and text search
  • Pence, Katherine and Paul Betts. Socialist Modern: East German Everyday Culture and Politics, Ann Arbor: University of Michigan Press, 2008
  • Port, Andrew I. Conflict and Stability in the German Democratic Republic. Cambridge University Press, 2007.
  • Preuss, Evelyn I. (2005). "The Wall You Will Never Know". Perspecta: The Yale Architectural Journal. 36: 19–31.
  • Ritter, Gerhard A. "Die DDR in der Deutschen Geschichte", [The GDR in German history] Vierteljahrshefte für Zeitgeschichte, April 2002, Vol. 50, Issue 2, pp. 171–200.
  • Pritchard, Gareth, The Making of the GDR 1945–53: From Antifascism to Stalinism (2000)
  • Steiner, André. The Plans That Failed: An Economic History of East Germany, 1945–1989 (2010)
  • Sarotte, Mary Elise. Collapse: The Accidental Opening of the Berlin Wall, New York: Basic Books, 2014
  • Spilker, Dirk. The East German Leadership and the Division of Germany: Patriotism and Propaganda 1945–1953. (2006). online review
  • Stokes, Raymond G. Constructing Socialism: Technology and Change in East Germany, 1945–1990 (2000)
  • Zatlin, Jonathan R. The Currency of Socialism: Money and Political Culture in East Germany (2007). 377 pp. online review

ประวัติศาสตร์นิพนธ์และความทรงจำ แก้

  • Bridge, Helen. Women's Writing and Historiography in the GDR (Oxford University Press, 2002).
  • Hodgin, Nick, and Caroline Pearce, eds. The GDR remembered: representations of the East German state since 1989 (Camden House, 2011). excerpt
  • Kwiet, Konrad. "Historians of the German Democratic Republic on Antisemitism and Persecution." The Leo Baeck Institute Yearbook 21.1 (1976): 173–198.
  • Port, Andrew I. (2013). "The Banalities of East German Historiography" (PDF). ใน Fulbrook, Mary; Port, Andrew I. (บ.ก.). Becoming East Germans: Socialist Structures and Sensibilities After Hitler. New York: Berghahn Books. ISBN 978-0-85745-974-9.
  • Port, Andrew I. (2015). "Central European History since 1989: Historiographical Trends and Post-Wende 'Turns'". Central European History. Vol. 48. pp. 238–248. doi:10.1017/S0008938915000588. S2CID 151405931.
  • Ritter, Gerhard A. "Die DDR in der Deutschen Geschichte", [The GDR in German history] Vierteljahrshefte für Zeitgeschichte, April 2002, Vol. 50 Issue 2, pp. 171–200.
  • Ross, Corey. The East German Dictatorship: Problems and Perspectives in the Interpretation of the GDR (Oxford University Press, 2002).
  • Saunders, Anna, and Debbie Pinfold, eds. Remembering and rethinking the GDR: multiple perspectives and plural authenticities (Springer, 2012).
  • Steding, Elizabeth Priester. "Losing Literature: The Reduction of the GDR to History". German Politics & Society 32.4 (2014): 39–55. Argues the history of East Germany is taught in 21st-century German schools, but not its literature.

ในภาษาเยอรมัน แก้

  • Dahn, Daniela. Wenn und Aber: Anstiftungen zem Widerspruch, Berlin: Rowohlt Verlag, 1997
  • Dahn, Daniela. Westwärts und nicht vergessen: Vom Unbehagen in der Einheit, Rowohlt Verlag, 1997
  • Dahn, Daniela. Vertreibung ins Paradies: Unzeitgemäße Texte zur Zeit, Berlin: Rowohlt Verlag, 1998

แหล่งข้อมูลอื่น แก้