วิลเฮ็ล์ม พีค

นักการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมัน

ฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม ไรน์ฮ็อลท์ พีค (เยอรมัน: Friedrich Wilhelm Reinhold Pieck) เป็นนักการเมืองและนักลัทธิคอมมิวนิสต์ชาวเยอรมัน เขากลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี ซึ่งตำแหน่งถูกยกเลิกหลังพีคถึงแก่อสัญกรรม[1] ผู้สืบต่อในฐานะประมุขแห่งรัฐของเขาคือ วัลเทอร์ อุลบริชท์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานสภาแห่งรัฐ

วิลเฮ็ล์ม พีค
Wilhelm Pieck
ประธานาธิบดีเยอรมนีตะวันออก
ดำรงตำแหน่ง
11 ตุลาคม 1949 – 7 กันยายน 1960
ก่อนหน้าคาร์ล เดอนิทซ์ (ในตำแหน่งประธานาธิบดีไรช์)
ถัดไปวัลเทอร์ อุลบริชท์
(ในตำแหน่งประธานสภาแห่งรัฐ)
หัวหน้าพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี
(เยอรมนีตะวันออก)
ดำรงตำแหน่ง
22 เมษายน 1946 – 25 กรกฎาคม 1950
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ อ็อทโท โกรเทอโวล
ก่อนหน้าไม่มี (สถาปนาตำแหน่ง)
ถัดไปวัลเทอร์ อุลบริชท์ (ในฐานะ เลขาธิการที่ 1)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม ไรน์ฮ็อลท์ พีค

3 มกราคม ค.ศ. 1876(1876-01-03)
กูเบิน, จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิต7 กันยายน ค.ศ. 1960(1960-09-07) (84 ปี)
เบอร์ลินตะวันออก, เยอรมนีตะวันออก
เชื้อชาติเยอรมัน
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปไตยสังคม (1895–1918)
พรรคคอมมิวนิสต์ (1918–1946)
พรรคเอกภาพสังคมนิยม (1946–1960)
คู่สมรสคริสทีเนอ เฮ็ฟเคอ
บุตรเอ็ลลี วินเทอร์ (1898–1987)
อาร์ทัวร์ พีค (1899–1970)
เอเลโอโนเรอ ชไตเมอร์ (1906-1998)

พีคเป็นลูกชายของฟรีดริช พีค คนขับรถม้า กับเอากุสเทอ ภรรยาของเขาในภาคตะวันออกของกูเบิน เยอรมนี[2] สองปีต่อมาแม่ของพีคได้เสียชีวิตลง พ่อของพีคจึงแต่งงานใหม่กับวิลเฮ็ลมีเนอ บาโร หลังจากเข้าเรียนในโรงเรียนประถม เด็กหนุ่มวิลเฮ็ล์มได้ฝึกงานช่างไม้เป็นเวลา 4 ปี ในฐานะที่เป็นคนงานเขาเดินเข้าไปเข้าร่วมกับสมาคมแรงงานช่างไม้เยอรมันในปี 1894

ในฐานะช่างไม้ใน ค.ศ. 1894 พีคเข้าร่วมสหพันธ์กรรมกรไม้ซึ่งนำพาเขาไปสู่พรรคสังคมประชาธิปไตยแห่งเยอรมนี (เอ็สเพเด)[2] ในปีต่อมา พีคกลายเป็นประธานของพรรคในเขตเมืองใน ค.ศ. 1899 และใน ค.ศ. 1906 ได้กลายเป็นเลขาธิการเต็มเวลาของพรรคสังคมประชาธิปไตย ใน ค.ศ. 1914 เขาย้ายไปอยู่ที่อะพาร์ตเมนต์ 3 ห้องในชเตกลิทซ์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1915 เขาถูกจับในการประท้วงของผู้หญิงที่หน้าไรชส์ทาค และถูกอยู่ไว้ใน "การดูแลคุ้มครอง" จนถึงเดือนตุลาคม ในฐานะเลขานุการพรรคเบรเมินใน ค.ศ. 1916 พีคได้ขอให้อันโตน ปันเนอกุก สอนทฤษฎีสังคมนิยมต่อในโรงเรียนของพรรค[3] แม้ว่าส่วนใหญ่ของพรรคสังคมประชาธิปไตยสนับสนุนรัฐบาลเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พีคเป็นสมาชิกพรรคฝ่ายซ้ายซึ่งต่อต้านสงคราม การเปิดกว้างของพีค ในการทำเช่นนั้นทำให้เขาถูกจับกุมและคุมขังในเรือนจำทหาร หลังจากได้รับการปล่อยตัว พีคจึงได้ลี้ภัยไปอยู่ที่กรุงอัมสเตอร์ดัมชั่วคราว[2] เมื่อเขากลับมายังกรุงเบอร์ลินใน ค.ศ. 1918 พีคได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนี

ในวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1919 พีคถูกจับกุมพร้อมกับโรซา ลุกเซิมบวร์ค และคาร์ล ลีพคเน็ชท์ ในระหว่างการประชุมที่โรงแรมเบอร์ลินอีเดน ลุกเซิมบวร์ค และ ลีพคเน็ชท์ถูกฆ่าในขณะที่ "ถูกพาตัวเข้าคุก" โดยหน่วยไฟรคอร์[4] ขณะที่ทั้งสองกำลังถูกฆ่า พีคสามารถหลบหนีออกมาได้ ใน ค.ศ. 1922 เขาได้กลายเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของ International Red Aid ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารเป็นครั้งแรก ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1925 เขาก็กลายเป็นประธานของ Ride Hilfe[2]

ในวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1933 หนึ่งวันก่อนการเลือกตั้งสมาชิกไรชส์ทาค ครอบครัวของพีคอพยพออกจากอะพาร์ตเมนต์ที่ชเตกลิทซ์ และย้ายไปอยู่ในห้องปรุงอาหาร ลูกชายและลูกสาวของเขาเคยอยู่ในสหภาพโซเวียตตั้งแต่ ค.ศ. 1932 ขณะที่เอ็ลลี วินเทอร์ ยังคงอยู่ในเยอรมนี เมื่อถึงต้นเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1933 เขาจึงได้เดินทางไปกรุงปารีสก่อน แล้วจึงไปกรุงมอสโก[2] ในกรุงมอสโก พีคทำหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์ในหน้าที่ที่หลากหลาย ตั้งแต่ ค.ศ. 1935–1943 เขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การคอมมิวนิสต์สากล และใน ค.ศ. 1943 พีคเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งคณะกรรมาธิการแห่งชาติเพื่อการปลดปล่อยเยอรมนี ซึ่งวางแผนไว้สำหรับอนาคตของเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ในตอนท้ายของสงครามใน ค.ศ. 1945 พีคกลับไปเยอรมนีกับกองทัพแดงที่มีชัย[5] อีกหนึ่งปีต่อมาเขาช่วยในการรวมพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคประชาธิปไตยสังคมเป็นพรรคเอกภาพสังคมนิยมแห่งเยอรมนี เขาได้รับเลือกให้เป็นประธานร่วมของพรรคที่ควบรวมร่วมกับอ็อทโท โกรเทอโวล อดีตผู้นำพรรคเอกภาพสังคมนิยม

อ้างอิง แก้

  1. Rolf Badstübner and Wilfried Loth (eds) Wilhelm Pieck - Aufzeichnungen zur Deutschlandpolitik 1945-1953, Berlin: Wiley-VCH, 1994
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Wilhelm Pieck timeline เก็บถาวร 2000-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved June 10, 2010 (เยอรมัน)
  3. Bourrinet, Philippe. The Dutch and German Communist Left (1900–68). p. 55.
  4. Wolfe, Bertram D. in introduction to"The Russian Revolution" Luxemburg p. 18 1967.
  5. Eric D. Weitz, Creating German Communism, 1890-1990: From Popular Protests to Socialist State. Princeton, NJ: Princeton University Press, 1997