เบอร์ลินตะวันออก
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เบอร์ลินตะวันออก เป็นชื่อที่เรียกส่วนตะวันออกของเบอร์ลินระหว่างปี ค.ศ. 1949 ถึง 1990 ประกอบด้วยเขตเบอร์ลินใต้ปกครองของโซเวียตซึ่งก่อตั้งใน ค.ศ. 1945 ส่วนเขตใต้ปกครองของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศสนั้นรวมกัน "โดยพฤตินัย" เป็นเบอร์ลินตะวันตก
เบอร์ลินตะวันออก Ost-Berlin Восточный Берлин Berlin (Ost) | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เขตยึดครองโซเวียตในเบอร์ลิน (โดยนิตินัย); เมืองหลวงของเยอรมนีตะวันออก (โดยพฤตินัย) | |||||||||||
1949 – 1990 | |||||||||||
เขตยึดครองในกรุงเบอร์ลินของสี่มหาอำนาจ สีแดงคือเบอร์ลินตะวันออก | |||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||
• 1989 | 409 ตารางกิโลเมตร (158 ตารางไมล์) | ||||||||||
ประชากร | |||||||||||
• 1989 | 1279212 | ||||||||||
การปกครอง | |||||||||||
นายกเทศมนตรี | |||||||||||
• 1948-1967 (คนแรก) | ฟรีดริช เอเบิร์ท จูเนียร์ (SED) | ||||||||||
• 1991 (คนสุดท้าย) | Thomas Krüger (SDP) | ||||||||||
ยุคทางประวัติศาสตร์ | สงครามเย็น | ||||||||||
• ก่อตั้ง | 1949 | ||||||||||
3 ตุลาคม 1990 | |||||||||||
|
แม้เบอร์ลินตะวันออกจะมีสถานะเป็นเมืองที่ถูกยึดครอง ถึงอย่างไรก็ตามก็ยกให้เป็นเมืองหลวงของประเทศเยอรมนีตะวันออก ตั้งแต่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1961 ถึง 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 มันถูกแยกออกจากเบอร์ลินตะวันตกโดยกำแพงเบอร์ลิน
รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกเรียกเบอร์ลินตะวันออกเพียงแค่ "เบอร์ลิน" หรือบ่อย ๆ ว่า "Berlin, Hauptstadt der DDR" (เบอร์ลิน เมืองหลวงของเยอรมนีตะวันออก) คำว่า "Democratic Sector" (เขตประชาธิปไตย) ก็มีใช้เช่นกัน จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1960
ในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1990 ประเทศเยอรมนีตะวันตกและประเทศเยอรมนีตะวันออกได้รวมกัน จึงเป็นการสิ้นสุดการมีอยู่ของเบอร์ลินตะวันออกอย่างเป็นทางการ
ภาพเบอร์ลินตะวันออก
แก้-
อาคารชุดถนน Karl Marx Allee
-
"Hochhaus" ใน Weberwiese - อาคารชุดสูงหลังแรกที่สร้างหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
-
กลุ่มอาคารชุดของเยอรมนีตะวันออก ยุคปลายทศวรรษ 1980 บนถนน Wilhelmstraße
-
จัตุรัส Strausberger Platz ที่มีตึกแนว "เค้กแต่งงาน"
ในวัฒนธรรมร่วมสมัย
แก้- ภาพยนตร์ Good Bye Lenin! (พ.ศ. 2546) ภาพยนตร์ตลกโศกนาฏกรรม เกี่ยวกับความพยายามของลูกชายที่จะป้องกันไม่ให้แม่ของเขารู้ว่า เยอรมนีตะวันออกอันเป็นที่รักของเธอนั้น ไม่มีอยู่อีกต่อไปแล้ว ฉากเกือบทั้งเรื่องอยู่ในเบอร์ลินตะวันออก[1]
- ภาพยนตร์ Das Leben der Anderen (ชื่ออังกฤษ: The Lives of Others ; ชื่อไทย: วิกฤตรักเมืองเบอร์ลิน[2]) (พ.ศ. 2549) ซึ่งเกี่ยวกับชีวิตของสตาซี่ (Stasi - ตำรวจลับเยอรมนีตะวันออก) คนหนึ่ง มีฉากเกือบทั้งเรื่องในเบอร์ลินตะวันออก - ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลออสการ์และรางวัลลูกโลกทองคำ ประจำปี ค.ศ. 2007 (ในสาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม ทั้งสองรายการ) และภาพยนตร์เยอรมันยอดเยี่ยมประจำปี ค.ศ. 2006[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ Good Bye Lenin! (2003), IMDb
- ↑ The Lives of Others วิกฤตรักเมืองเบอร์ลิน เก็บถาวร 2008-12-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Popcorn Magazine
- ↑ Das Leben der Anderen (2006), IMDb
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ภาพถ่ายเบอร์ลิน ค.ศ. 1989-1999 เก็บถาวร 2019-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เบอร์ลินตะวันออก อดีตและปัจจุบัน เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- Old East Berlin Fades Away Amid Renovations (อังกฤษ)