การจราจรซ้ายมือและขวามือ
การจราจรซ้ายมือ (อังกฤษ: left-hand traffic; LHT) และการจราจรขวามือ (อังกฤษ: right-hand traffic; RHT) เป็นกฎระเบียบที่กำหนดสำหรับการจราจรแบบสองทิศทางทุกรูปแบบให้ขับยานพาหนะชิดซ้ายหรือชิดขวาบนถนนยกเว้นในกรณีอื่น ๆ ที่กำหนด[1] การจราจรนี้เป็นพื้นฐานของทิศทางจราจรซึ่งในบางครั้งถูกเรียกว่าเป็นกฎของถนน (อังกฤษ: rule of the road)[2]
มี 163 ประเทศและดินแดนที่ใช้การจราจรขวามือ ในขณะที่ 76 ประเทศที่เหลือใช้การจราจรซ้ายมือ ประเทศที่ใช้การจราจรซ้ายมือคิดเป็น 1 ใน 6 ของพื้นที่และ 1 ใน 4 ของถนนบนโลก [3] ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1900 บางประเทศรวมถึงแคนาดา สเปน และบราซิลมีกฎของการจราจรที่ต่างกันในแต่ละพื้นที่ของประเทศ และระหว่างทศวรรษที่ 1900 หลายประเทศได้กำหนดมาตรฐานในเขตอำนาจรัฐและเปลี่ยนจากการจราจรซ้ายมือเป็นขวามือเพื่อให้สอดคล้องกับขนบธรรมเนียมในแต่ละภูมิภาค ใน ค.ศ. 1919 มี 104 ประเทศในโลกที่ใช้การจราจรซ้ายมือและอีกครึ่งเป็นขวามือ ตั้งแต่ ค.ศ. 1919 ถึง 1986 มี 34 ประเทศที่เปลี่ยนการจราจรซ้ายมือเป็นขวามือ[4]
หลายประเทศที่ใช้การจราจรซ้ายมือประกอบด้วยอดีตอาณานิคมของอังกฤษในแคริบเบียน แอฟริกาตอนใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ สำหรับญี่ปุ่น ไทย เนปาล ภูฏาน โมซัมบิก ซูรินาเม ติมอร์ตะวันออก และอินโดนีเซียเป็นประเทศที่ใช้การจราจรซ้ายมือนอกเหนือจากจักรวรรดิอังกฤษ ในทวีปยุโรปมีเพียงสี่ประเทศยังคงขับยานพาหนะชิดซ้ายประกอบด้วยสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ มอลตา และไซปรัสซึ่งประเทศทั้งหมดนี้ตั้งอยู่บนเกาะที่ไม่มีถนนเชื่อมต่อโดยตรงกับประเทศที่ขับยานพาหนะชิดขวา
เกือบทุกประเทศใช้เพียงการจราจรเดียวสำหรับทุกพื้นที่ในประเทศ ข้อยกเว้นส่วนใหญ่มาจากดุลยพินิจในอดีตและ/หรือเกี่ยวข้องกับการที่หมู่เกาะไม่มีการเชื่อมต่อกับพื้นที่หลักของประเทศ จีนใช้การจราจรขวามือยกเว้นในเขตบริหารพิเศษฮ่องกงและมาเก๊า สหรัฐใช้การจราจรขวามือยกเว้นหมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐ[5] สหราชอาณาจักรใช้การจราจรซ้ายมือแต่ดินแดนโพ้นทะเลยิบรอลตาร์และบริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรีใช้การจราจรขวามือ
ตามที่อนุสัญญาว่าด้วยกฎข้อบังคับระหว่างประเทศสำหรับป้องกันเรือโดนกันในทะเล การจราจรทางน้ำจะใช้การจราจรขวามือ สำหรับอากาศยานข้อบังคับว่าด้วยการบินแห่งชาติของสหรัฐกำหนดให้มีการบินผ่านไปทางขวาทั้งในอากาศและทางน้ำ[6]
ในส่วนของทางรถไฟทางคู่ การจราจรบนทางรถไฟโดยทั่วไปวิ่งไปฝั่งใดฝั่งหนึ่งของเส้นทางซึ่งแตกต่างจากถนน ด้วยเหตุนี้ในเบลเยียม จีน ฝรั่งเศส (นอกเหนือจากแคว้นอาลซัสและลอแรนของเยอรมันในอดีต) สวีเดน (นอกเหนือจากเมืองมัลโมและทางตอนใต้) สวิตเซอร์แลนด์ และอิตาลีเป็นตัวอย่างของการจราจรบนทางรถไฟจะใช้การจราจรซ้ายมือ ในขณะที่ถนนจะใช้การจราจรขวามือ เนื่องจากได้รับอิทธิพลของระบบรถไฟจากอังกฤษในช่วงต้น แต่ในบางประเทศเช่นอินโดนีเซียกลับตรงข้ามกัน (ใช้การจราจรขวามือสำหรับทางรถไฟและการจราจรซ้ายมือสำหรับถนน) รถไฟรางเบาและระบบขนส่งมวลชนเร็วมักใช้ระบบเดียวกับการจราจรบนถนนในประเทศ (ยกเว้นในมาดริด โรม ลิสบอน ลียง สต็อกโฮล์ม ไคโร ลิมา บัวโนสไอเรส เทรนดอลาคอสและสายลิดินโกของสต็อกโฮล์ม
ไม่มีเหตุผลทางเทคนิคว่าการขับชิดฝั่งไหนดีมากกว่ากัน[7] ในกลุ่มประชากรที่มีสุขภาพแข็งแรงความปลอดภัยในการจราจรจะเท่ากันโดยไม่คำนึงถึงความถนัดของมือ แม้ว่านักวิจัยบางคนสันนิษฐานว่าการจราจรซ้ายมืออาจปลอดภัยมากกว่าสำหรับประชากรสูงอายุ[8] เนื่องจากมนุษย์โดยปกติมีความถนัดของตาขวามากกว่าตาซ้าย[9]
ประวัติ
แก้ในสมัยโบราณ กองทัพกรีก อียิปต์ และโรมันจัดวางแนวขบวนไว้ทางซ้ายมือ[10] ใน ค.ศ. 1998 นักโบราณคดีค้นพบถนนทางคู่ที่ยังคงสภาพเดิมไว้ซึ่งนำทางสู่เหมืองหินสมัยโรมันใกล้สวินดันทางตอนใต้ของเกาะอังกฤษ ช่องของถนนทางด้านซ้าย (มองจากเส้นทางที่ออกจากเหมืองหิน) มีความลึกที่มากกว่าฝั่งขวาซึ่งน่าจะเป็นการจราจรซ้ายมืออย่างน้อยในสถานที่นี้ เนื่องจากเกวียนจะออกจากเหมืองหินด้วยการบรรทุกหินจำนวนมากก่อนจะเทออกในภายหลัง [11]
การอ้างถึงการจราจรเป็นครั้งแรกเริ่มในกฎหมายอังกฤษซึ่งกำหนดให้ใช้การจราจรซ้ายมือใน ค.ศ. 1756 ซึ่งเกี่ยวข้องกับสะพานลอนดอน [12]
นักประวัติศาสตร์บางคนเช่นซี. นอร์ทโคท พาร์กินสัน เชื่อว่านักเดินทางขี่ม้าหรือเดินเท้าในสมัยโบราณโดยทั่วไปจะชิดซ้ายเนื่องจากคนส่วนใหญ่ถนัดมือขวา ถ้าคนขี่ม้าสองคนจะเริ่มการต่อสู้แต่ละคนจะชิดไปทางซ้าย[10] ใน ค.ศ. 1300 สมเด็จพระสันตะปาปาบอนิเฟซที่ 8กำหนดให้ผู้แสวงบุญเดินชิดซ้ายมือ[10]
ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1700 การจราจรในสหรัฐเป็นการจราจรขวามือซึ่งมาจากเกวียนบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ของคนขับรถบรรทุกซึ่งถูกพ่วงด้วยม้าจำนวนมาก เกวียนจะไม่มีที่นั่งคนขับทำให้คนขับรถ (โดยทั่วไปถนัดขวา) ใช้มือขวาถือแส้และนั่งอยู่บนหลังม้าทางซ้าย คนขับรถต้องการให้เกวียนคันอื่น ๆ เดินผ่านไปทางซ้ายเพื่อให้เขาสามารถมั่นใจได้ว่าจะมองเห็นล้อของเกวียนที่กำลังสวนมาได้ชัดเจน[13]
ในฝรั่งเศส การจราจรทางเท้าแบบดั้งเดิมจะเดินชิดขวาขณะที่การจราจรของรถจะชิดซ้าย หลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศสการจราจรทั้งหมดถูกกำหนดให้ชิดขวา [12] ตามด้วยสงครามนโปเลียนฝรั่งเศสได้กำหนดให้ใช้การจราจรขวามือในบางส่วนของยุโรป ในช่วงยุคอาณานิคมการจราจรขวามือถูกใช้โดยฝรั่งเศสในฝรั่งเศสใหม่ แอฟริกาตะวันตกของฝรั่งเศส มาเกร็บ อินโดจีนของฝรั่งเศส หมู่เกาะเวสต์อินดีส เฟรนช์เกียนา และเรอูนียง
ในขณะเดียวกันการจราจรซ้ายมือถูกใช้โดยอังกฤษในแอตแลนติกแคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัฐในอารักขาแอฟริกาตะวันออก บริติชอินเดีย เซาเทิร์นโรดีเชีย และอาณานิคมเคป (ซิมบับเวและแอฟริกาใต้ในปัจจุบัน) บริติชมาลายา (มาเลเซีย บรูไน และสิงคโปร์ในปัจจุบัน) บริติชเกียนา และบริติชฮ่องกง การจราจรซ้ายมือยังถูกใช้โดยจักรวรรดิโปรตุเกสในมาเก๊าของโปรตุเกส อาณานิคมบราซิล ติมอร์ตะวันออก โมซัมบิกของโปรตุเกส และแองโกลา
กฎหมายแรกที่กำหนดให้การขับขี่ในประเทศสหรัฐชิดขวาเริ่มใน ค.ศ. 1792 และถูกใช้บนทางด่วนฟิลาเดลเฟียและแลงคาสเตอร์[7] รัฐนิวยอร์กใช้การจราจรขวามืออย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1804 รัฐนิวเจอร์ซีย์ใน ค.ศ. 1813 และรัฐแมสซาชูเซตส์ใน ค.ศ. 1821[14]
การเปลี่ยน
แก้ยุโรป
แก้- สหราชอาณาจักร - ขับรถชิดซ้าย ยกเว้นยิบรอลตาร์และบริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรีที่ขับรถชิดขวา
- ออสเตรีย-ฮังการี - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาหลังจักรวรรดิล่มสลาย
- ออสเตรีย - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาหลังจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีล่มสลาย
- ฮังการี - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาหลังจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีล่มสลาย
- บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาหลังจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีล่มสลาย
- สโลวีเนีย - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาหลังจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีล่มสลาย
- โครเอเชีย - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาหลังจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีล่มสลาย
- เชโกสโลวาเกีย - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาหลังจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีล่มสลายและถูกนาซีเยอรมนียึด
- เช็กเกีย - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาตามเชโกสโลวาเกีย
- สโลวาเกีย - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาตามเชโกสโลวาเกีย
- สวีเดน - เคยขับรถชิดซ้ายตั้งแต่ ค.ศ. 1734-1967 ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
- ฟินแลนด์ - เคยขับรถชิดซ้ายจนถึงปี ค.ศ. 1858 ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาหลังจากถูกปกครองโดยรัสเซีย
- โปรตุเกส - เคยขับรถชิดซ้ายจนถึงปี ค.ศ. 1920 ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
- ไอซ์แลนด์ - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1968
- เนเธอร์แลนด์ - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1906
เอเชียและแปซิฟิก
แก้- ญี่ปุ่น - ขับรถชิดซ้าย ส่วนหมู่เกาะรีวกีวเคยขับรถชิดขวาหลังถูกสหรัฐปกครองแต่ก็เปลี่ยนมาขับรถชิดซ้ายหลังสหรัฐคืนดินแดนให้ญี่ปุ่น
- จีน - ได้เปลี่ยนขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1946 ไต้หวันได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา ฮ่องกงและมาเก๊าขับรถชิดซ้าย
- เกาหลีใต้ - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1945
- เกาหลีเหนือ - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1945
- พม่า - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1970
- ซามัว - เคยขับรถชิดขวา ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดซ้ายในปี ค.ศ. 2009
- ฟิลิปปินส์ - เคยขับรถชิดซ้ายในช่วงญี่ปุ่นยึดครอง ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1946
- อินโดนีเซีย - ขับรถชิดซ้ายมาตั้งแต่ต้น ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา และได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดซ้ายในปี ค.ศ. 1975
- ติมอร์-เลสเต - ขับรถชิดซ้ายมาตั้งแต่ต้น ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1928 และได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดซ้ายในปี ค.ศ. 1976
- อิสราเอล - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
- อิรัก - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
- คูเวต - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
- จอร์แดน - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
- บาห์เรน - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1967
- กาตาร์ - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
- อัฟกานิสถาน - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในทศวรรษ 1950
-
รถยนต์ต่างๆ เข้าออกเปลี่ยนการจราจรซ้าย-ขวาร่วมกัน
-
ญี่ปุ่นขับรถชิดซ้าย
-
เกาหลีใต้ขับรถชิดขวา
-
อินเดียขับรถชิดซ้าย
-
ออสเตรเลียขับรถชิดซ้าย
แอฟริกา
แก้- เซียร์ราลีโอน - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1971
- ไนจีเรีย - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1972
- กานา - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1974
- แกมเบีย - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1965
- ซูดาน - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1973
- เซาท์ซูดาน - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1973
- แองโกลา - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
- เอธิโอเปีย - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
- เอริเทรีย - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
- จิบูตี - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
- โซมาเลีย - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
- นามิเบีย - เคยขับรถชิดขวา ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดซ้ายในปี ค.ศ. 1920
- แทนซาเนีย - เคยขับรถชิดขวา ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดซ้ายในปี ค.ศ. 1918
- รวันดา - ขับรถชิดขวา ตั้งใจจะเปลี่ยนมาขับรถชิดซ้าย
- บุรุนดี - ขับรถชิดขวา ตั้งใจจะเปลี่ยนมาขับรถชิดซ้าย
อเมริกาเหนือ
แก้- สหรัฐ - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนมาขับรถชิดขวา ยกเว้นหมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐที่ยังขับรถชิดซ้าย
- แคนาดา - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในทศวรรษ 1920
- เบลีซ - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1961
อเมริกาใต้
แก้- บราซิล - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวาในปี ค.ศ. 1928
- อาร์เจนตินา - เคยขับรถชิดซ้าย ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
- อุรุกวัย - เคยขับรถชิดซ้ายตั้งแต่ ค.ศ. 1918-1945 ได้เปลี่ยนเป็นขับรถชิดขวา
การเปลี่ยนตามเขตแดน
แก้ประเทศไทยคือประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศที่ขับรถคนละด้าน คิดเป็นสัดส่วนมากที่สุดในโลก คือมีพรมแดนติดกับ พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย มีแค่มาเลเซียที่ขับรถด้านเดียวกับไทย ที่เหลือติดกับประเทศที่ขับรถคนละด้านกับไทยทั้งหมด
ฮ่องกงกับจีนแผ่นดินใหญ่เชื่อมและเปลี่ยนเส้นทางกันในปี ค.ศ. 2006
สะพานข้ามแม่น้ำตากุตุเป็นเขตแดนเปลี่ยนเส้นทางระหว่างกายอานากับบราซิล
สหราชอาณาจักรเชื่อมเส้นทางเข้ายุโรปแผ่นดินใหญ่ทางช่องแคบอังกฤษ โดยทางเชื่อมอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษ
การจราจรทางราง
แก้หลายรัฐในยุโรปมีการจราจรขวามือสำหรับถนน แต่มีการจราจรซ้ายมือสำหรับรถไฟ: เบลเยียม, อิตาลี, โมนาโก, โปรตุเกส, สโลวีเนีย, สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ ส่วนฝรั่งเศสมีรจราจรซ้ายมือสำหรับรถไฟ ยกเว้นอัลซาซ-ลอร์แรนซึ่งเป็นดินแดนฝรั่งเศสตะวันออก ซึ่งเคยเป็นของเยอรมนีในประวัติศาสตร์ ส่วนสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์มีการจราจรซ้ายมือทั้งทางถนนและทางราง
การจราจรทางเรือ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ระเบียงภาพ
แก้-
การจราจรขวามือในเยอรมนี
-
การจราจรซ้ายมือในสหราชอาณาจักร
-
ฮ่องกงขับรถชิดซ้าย
-
จีนแผ่นดินใหญ่ขับรถชิดขวา
-
การจราจรซ้ายมือในเวียนนา ประเทศออสเตรีย ประมาณ ค.ศ. 1930
-
ยิบรอลตาร์ขับรถชิดขวาตั้งแต่ ค.ศ. 1929
-
ป้ายเตือนคนขับเพื่อให้ขับทางซ้ายในประเทศไอซ์แลนด์
-
ป้ายในประเทศอังกฤษตั้งอยู่ทางด้านขวาของถนนในเคนต์
-
จุดเปลี่ยนเส้นทางจราจรที่สะพานมิตรภาพไทย–ลาว แห่งที่ 1
อ้างอิง
แก้- ↑ Draper, Geoff (1993). "Harmonized Headlamp Design for Worldwide Application". Motor Vehicle Lighting. Society of Automotive Engineers. pp. 23–36.
- ↑ Kincaid, Peter (December 1986). The Rule of the Road: An International Guide to History and Practice. Greenwood Press. pp. 50, 86–88, 99–100, 121–122, 198–202. ISBN 0-313-25249-1.
- ↑ Barta, Patrick. "Shifting the Right of Way to the Left Leaves Some Samoans Feeling Wronged". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 4 December 2016.(ต้องรับบริการ)
- ↑ Watson, Ian. "The rule of the road, 1919-1986: A case study of standards change" (PDF). สืบค้นเมื่อ 30 November 2016.
- ↑ "Travel Tips | US Virgin Islands". Usvitourism.vi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-16. สืบค้นเมื่อ 25 April 2012.
- ↑ FAR Sec. 91.115[ลิงก์เสีย](c): "When aircraft, or an aircraft and a vessel, are approaching head-on, or nearly so, each shall alter its course to the right to keep well clear."
- ↑ 7.0 7.1 Weingroff, Richard. "On The Right Side of the Road". United States Department of Transportation. สืบค้นเมื่อ 10 January 2014.
- ↑ Foerch, C; Steinmetz, H (2009). "Left-sided traffic directionality may be the safer "rule of the road" for ageing populations". Med Hypotheses. 73 (1): 20–3. doi:10.1016/j.mehy.2009.01.044. PMID 19327893.
- ↑ "Your Dominant Eye and Why it Matters". สืบค้นเมื่อ 11 December 2016.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 Anderson, Charles (2003). Puzzles and Essays from the Exchange Essays. Haworth Information Press. pp. 2–3.
{{cite book}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - ↑ Walters, Bryn. "Huge Roman Quarry found in North Wiltshire" (PDF). ARA The Bulletin of The Association for Roman Archaeology. Autumn 1998 (Six): 8–9. ISSN 1363-7967. สืบค้นเมื่อ 7 October 2016.
- ↑ 12.0 12.1 Hamer, Mike. "Left is right on the road". New Scientist (20 December 1986/1 January 1987): 16–18. สืบค้นเมื่อ 7 October 2016.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Why We Drive on the Right of the Road, ''Popular Science Monthly'', Vol.126, No.1, (January 1935), p.37. Books.google.com.au. สืบค้นเมื่อ 25 April 2012.
- ↑ "An Act Establishing the Law of the Road". Massachusetts General Court. สืบค้นเมื่อ 14 February 2014.