ประเทศอิรัก
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
พิกัดภูมิศาสตร์: 33°N 44°E / 33°N 44°E
ประเทศอิรัก (อาหรับ: الْعِرَاق, อักษรโรมัน: al-ʿIrāq; เคิร์ด: عێراق, อักษรโรมัน: Êraq; อังกฤษ: Iraq) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (อาหรับ: جُمْهُورِيَّة ٱلْعِرَاق Jumhūriīyah al-ʿIrāq; เคิร์ด: کۆماری عێراق, อักษรโรมัน: Komarî Êraq; อังกฤษ: Republic of Iraq) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีอาณาเขตทางทิศเหนือจรดประเทศตุรกี ทางทิศตะวันออกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จรดประเทศคูเวต ทางทิศใต้จรดประเทศซาอุดีอาระเบีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดประเทศจอร์แดน และทางทิศตะวันตกจรดประเทศซีเรีย กรุงแบกแดด ซึ่งเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ในกลางประเทศ ราว 97% ของประชากรอิรัก 36 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม ส่วนใหญ่มีเชื้อสายซุนนีย์ ชีอะฮ์และเคิร์ด
สาธารณรัฐอิรัก | |
---|---|
![]() | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | แบกแดด 33°20′N 44°23′E / 33.333°N 44.383°E |
ภาษาราชการ | |
| |
กลุ่มชาติพันธุ์ | |
ศาสนา |
|
เดมะนิม | ชาวอิรัก |
การปกครอง | สหพันธ์ ระบบรัฐสภา สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญ |
บัรฮัม ศอเลียะห์ | |
มุศเฏาะฟา อัลกาซิมี | |
มุฮัมมัด อัลฮัลบูซี | |
มิดฮัต อัลมะห์มูด | |
สภานิติบัญญัติ | สภาผู้แทนราษฎร |
ก่อตั้ง | |
3 ตุลาคม ค.ศ. 1932 | |
14 กรกฎาคม ค.ศ. 1958 | |
15 ตุลาคม ค.ศ. 2005 | |
พื้นที่ | |
• รวม | 438,317 ตารางกิโลเมตร (169,235 ตารางไมล์) (อันดับที่ 58) |
4.62 (ใน ค.ศ. 2015)[4] | |
ประชากร | |
• ค.ศ. 2020 ประมาณ | ![]() |
82.7 ต่อตารางกิโลเมตร (214.2 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 125) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | ค.ศ. 2020 (ประมาณ) |
• รวม | 399.400 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] (46) |
• ต่อหัว | 10,175 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 111) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | ค.ศ. 2019 (ประมาณ) |
• รวม | 250.070 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[8] (อันดับที่ 48) |
• ต่อหัว | 4,474 ดอลลาร์สหรัฐ[8] (อันดับที่ 97) |
จีนี (ค.ศ. 2012) | 29.5[9] ต่ำ |
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019) | ![]() ปานกลาง · อันดับที่ 123 |
สกุลเงิน | ดีนาร์อิรัก (IQD) |
เขตเวลา | UTC+3 (AST) |
ขับรถด้าน | ขวา |
รหัสโทรศัพท์ | +964 |
โดเมนบนสุด | .iq |
|
ประเทศอิรักมีแนวชายฝั่งส่วนแคบวัดความยาวได้ 58 กิโลเมตรทางเหนือของอ่าวเปอร์เซีย และอาณาเขตของประเทศครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาซากรอส และทะเลทรายซีเรียส่วนตะวันออก สองแม่น้ำหลัก แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ไหลลงใต้ผ่านใจกลางประเทศและไหลลงสู่ชัฏฏุลอะร็อบใกล้อ่าวเปอร์เซีย แม่น้ำเหล่านี้ทำให้ประเทศอิรักมีดินแดนอุดมสมบูรณ์มากมาย
ภูมิภาคระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสมักเรียกว่า เมโสโปเตเมีย และคาดว่าเป็นบ่อเกิดของการเขียนและอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก พื้นที่นี้ยังเป็นที่ตั้งของอารยธรรมที่สืบทอดต่อกันมานับแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล ในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ อิรักเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอัคคาเดีย ซูเมเรีย อัสซีเรีย และบาบิโลเนีย นอกจากนี้ยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมีเดีย อะคีเมนิด เฮลเลนนิสติก พาร์เธีย แซสซานิด โรมัน รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะห์ มองโกล ซาฟาวิด อาฟชาริยะห์และออตโตมัน และเคยเป็นอาณาเขตในอาณัติสันนิบาตชาติภายใต้การควบคุมของอังกฤษ
พรมแดนสมัยใหม่ของประเทศอิรักส่วนใหญ่ปักใน ค.ศ. 1920 โดยสันนิบาตชาติ เมื่อจักรวรรดิออตโตมันถูกแบ่งตามสนธิสัญญาแซฟวร์ ประเทศอิรักถูกกำหนดให้อยู่ในอำนาจของสหราชอาณาจักรเป็นอาณาเขตในอาณัติเมโสโปเตเมียของอังกฤษ พระมหากษัตริย์สถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 1921 และราชอาณาจักรอิรักได้รับเอกราชจากอังกฤษใน ค.ศ. 1932 ใน ค.ศ. 1958 พระมหากษัตริย์ถูกล้มล้างและมีการสถาปนาสาธารณรัฐอิรัก ประเทศอิรักถูกควบคุมโดยพรรคบะอัธสังคมนิยมอาหรับตั้งแต่ ค.ศ. 1968 ถึง 2003 หลังการบุกครองโดยสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร พรรคบะอัธของซัดดัม ฮุสเซนถูกโค่นจากอำนาจและมีการจัดการเลือกตั้งรัฐสภาหลายพรรคขึ้น ทหารสหรัฐออกจากอิรักทั้งหมดใน ค.ศ. 2011 แต่การก่อการกำเริบอิรักยังดำเนินต่อไปและทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อนักรบจากสงครามกลางเมืองซีเรียไหลบ่าเข้าประเทศ
ภูมิศาสตร์แก้ไข
อิรักมีพื้นที่ทั้งหมด 437,072 ตารางกิโลเมตร ทิศตะวันออกติดกับ อิหร่าน ทิศเหนือ ติดกับตุรกี ทิศใต้ติดกับคูเวต ทิศตะวันตกติดกับ ซีเรีย และจอร์แดน สภาพทางภูมิศาสตร์ของอิรัก เป็นทะเลทรายร้ออิรักยละ 40 ที่ราบสูง ยากแต่การทำการเกษตรทำให้อิรักต้องนำเข้าสินค้าภาคการเกษตรเช่น ข้าวสาลี ข้าวจ้าว ธัญพืช แต่อย่างไรก็ดี อิรักก็มีแม่น้ำไหลผ่าน 2 สาย คือ ไทรกิส ยูเฟรตีส ทำให้ยังพอมีความอุดมสมบูรณ์อยู่บ้าง
ประวัติศาสตร์แก้ไข
ยุคโบราณแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ยุคกลางแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ยุคอาณาจักรออตโตมันแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
- พ.ศ. 2281 - ตกอยู่ใต้อาณาจักรออตโตมาน
รัฐในอาณัติ และ ราชอาณาจักรแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงอาณาจักรออตโตมันที่เคยเป็นมหาอำนาจในตะวันออกกลางตกเป็นผู้แพ้สงคราม ดินแดนต่าง ๆ ที่ออตโตมันปกครองก็ถูกแบ่งแยกออกเป็นรัฐต่าง ๆ อิรักเป็นหนึ่งในรัฐที่ถูกแบ่งแยกออกมาโดยอังกฤษที่สามารถยึดครองอิรักจากออตโตมันได้ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1
อังกฤษได้เข้ามาปกครองอิรัก ในฐานะรัฐอารักขาตั้งแต่ ค.ศ. 1920 จนกระทั่งใน ค.ศ. 1932 อังกฤษได้ให้เอกราชแก่อิรักโดยมีราชวงศ์ฮัชไมต์ปกครองประเทศอิรัก
สาธารณรัฐ และ พรรคบะอัธแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
- พ.ศ. 2511 - เริ่มต้นการปกครองโดยพรรคบาธ โดยมีประธานาธิบดี Ahmad Masan Al Bakr และรองประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซน (Saddam Hussein)
- พ.ศ. 2522 - ซัดดัม ฮุสเซน ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
- พ.ศ. 2523-2531 -สงครามระหว่างอิรัก-อิหร่าน (สงครามอ่าวครั้งที่ 1)
- พ.ศ. 2533 - เข้ายึดครองคูเวต(สงครามอ่าวครั้งที่ 2)
- พ.ศ. 2533 - ถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจโดยสหประชาชาติ
สหรัฐอเมริกาเข้ายึดอิรักแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การแบ่งเขตการปกครองแก้ไข
ประเทศอิรักแบ่งออกเป็น 19 เขตผู้ว่าการ (อาหรับ: muhafazat, เคิร์ด: Pârizgah) ได้แก่
- ดะฮูก
- นิเนเวห์/นีนะวา
- อัรบีล
- คีร์คูก
- อัสซุลัยมานียะฮ์
- เศาะลาฮุดดีน
- อัลอันบาร
- แบกแดด/บัฆดาด
- ดิยาลา
- กัรบะลาอ์
- บาบิโลน/บาบิล
- วาซิฏ
- นาจาฟ/อันนัจญัฟ
- อัลกอดิซียะฮ์
- มัยซาน
- อัลมุษันนา
- ษีกอร
- บัสรา/อัลบัศเราะฮ์
- ฮะลับญะฮ์ (ไม่แสดงในแผนที่ อยู่ทางด้านตะวันออกของเขตผู้ว่าการอัสซุลัยมานียะฮ์หรือหมายเลข 5)
เขตปกครองตนเองเคอร์ดิสถาน (Kurdistan Autonomous Region) ซึ่งได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ มีพื้นที่รวมบางส่วนของเขตผู้ว่าการทางเหนือ และปกครองตนเองในเรื่องราชการภายในส่วนใหญ่
กองทัพแก้ไข
เศรษฐกิจแก้ไข
โครงสร้างแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ระบอบเศรษฐกิจของอิรักเป็นแบบ สังคมนิยม รวมอำนาจไว้ที่ศุนย์กลาง นั่นคือรัฐบาลกลางของอิรัก มีระบบรัฐสวัสดิการมีการแจก ข้าว น้ำตาล ยารักษาโรคบางชนิด นม เสื้อผ้า ให้แก่ประชากรของอิรัก เศรษฐกิจของอิรักค่อนข้างถูกกดดันจากประชาคมโลกโดยเฉพาะในช่วงวิกฤติการณ์อ่าวเปอร์เซีย สงครามอิรัก และช่วงเหตุการณ์ 9/11 ทำให้เศรษฐกิจของอิรักบอบช้ำ แต่ยุทธปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญของอิรักคือ น้ำมัน อิรักเป็นประเทศที่มีน้ำมันไว้ในครอบครองเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากซาอุดีอาระเบีย โดยผลิตได้วันละ 2.58 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้อิรักกลายเป็นดินแดนที่น่าสนใจอย่างยิ่งโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจน้ำมันจากสหรัฐอเมริกาที่มุ่งหวังเข้าไปกอบโกยทรัพยากรล้ำค่าอย่างทองคำดำในอิรัก
ประชากรศาสตร์แก้ไข
เชื้อชาติแก้ไข
สังคมของอิรักเป็นสังคมหลากหลายชาติพันธุ์ เป็นเหตุมาจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่เป็นแหล่งอารยธรรมมาหลายพันปี พลเมืองของอิรักที่นับถือศาสนาอิสลามนั้น ได้แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ มุสลิมชีอะห์(ร้อยละ 65) และ มุสลิมสุหนี่ (ร้อยละ 20) นอกจากนี้ยังมีชาวเคิร์ด อยู่ในบริเวณเคอร์ดิสถาน ชาวเคริ์ดในอิรักมีอยู่ประมาณ 3,700,000 คน นับว่าเป็นคนส่วนน้อยในอิรัก และเนื่องด้วยรูปแบบการปกครองที่ให้สิทธิของชนชาติอาหรับ และผูกขาดอำนาจทางเศรษฐกิจให้กับมุสลิมสุหนี่ ส่งผลให้ กลายเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างศาสนา และชาติพันธุ์ในอิรัก ทั้งกับมุสลิมด้วยกันเองคือ สุหนี่และชีอะห์ และ ยังปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวคิร์ดกับรัฐบาลกลางของอิรัก เพื่อเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียมอีกด้วย
ภาษาแก้ไข
ภาษาทางการของอิรัก คือ ภาษาอาหรับ และส่วนอื่นคือ ภาษาเคิร์ด
เมืองใหญ่แก้ไข
ศาสนาแก้ไข
ชาวอิรักส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม 96% แบ่งเป็นนิกาย ชีอะห์ 31.5% กับ ซุนนีย์ 64.5% ลัทธิเหตุผล กับ Yazdânism 2.0% ศาสนาคริสต์ 1.2% ศาสนาอื่น ๆ 0.8%
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Iraq, Ministry of Interior – General Directorate for Nationality: Iraqi Constitution (2005)
- ↑ 2.0 2.1 "Iraq". The World Factbook.
- ↑ "Why Iraqi Turkmens are excluded from the new government".
- ↑ "Surface water and surface water change". Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
- ↑ "Population, total - Iraq | Data".
- ↑ "World Economic Outlook Database, October 2020". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 14 March 2020.
- ↑ "World Economic Outlook Database, October 2020". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 14 March 2020.
- ↑ 8.0 8.1 "World Economic Outlook Database, October 2018". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 7 March 2019.
- ↑ "World Bank GINI index". Data.worldbank.org. สืบค้นเมื่อ 17 August 2016.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ http://citypopulation.de/Iraq-Cities.html
- ประเทศอิรัก เก็บถาวร 2011-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
บรรณานุรมแก้ไข
- Bosworth, C. E. (1998). "ʿERĀQ-E ʿAJAM(Ī)". Encyclopaedia Iranica, Vol. VIII, Fasc. 5. p. 538.
- Shadid, Anthony 2005. Night Draws Near. Henry Holt and Co., NY, US ISBN 0-8050-7602-6
- Hanna Batatu, "The Old Social Classes and the Revolutionary Movements of Iraq", Princeton: Princeton University Press, 1978
- Charles Glass, "The Northern Front: A Wartime Diary"' Saqi Books, London, 2004, ISBN 0-86356-770-3
- A Dweller in Mesopotamia, being the adventures of an official artist in the garden of Eden, by Donald Maxwell, 1921. (a searchable facsimile at the University of Georgia Libraries; DjVu & layered PDF format)
- By Desert Ways to Baghdad, by Louisa Jebb (Mrs. Roland Wilkins) With illustrations and a map, 1908 (1909 ed). (a searchable facsimile at the University of Georgia Libraries; DjVu & layered PDF format)
- "Iraqi Constitution" (PDF). Ministry of Interior – General Directorate For Nationality. 30 January 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 November 2016. สืบค้นเมื่อ 18 February 2013.
- Benjamin Busch, "'Today is Better than Tomorrow'. A Marine returns to a divided Iraq", Harper's Magazine, October 2014, pp. 29–44.
- Global Arms Exports to Iraq 1960–1990, Rand Research report
อ่านเพิ่มแก้ไข
- Tripp, Charles R. H. (2002). A History of Iraq. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-87823-4.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
บทความนี้ใช้ลิงก์ภายนอกไม่เป็นไปตามนโยบายหรือแนวทางการเขียนของวิกิพีเดีย(June 2021) |
คอมมอนส์มีภาพและสื่อที่เกี่ยวข้องกับIraq |
รัฐบาล
- Presidency of Iraq เก็บถาวร 2019-01-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Cabinet of Iraq
ข้อมูลทั่วไป
- Iraq. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- Wikimedia Atlas of Iraq
- ประเทศอิรัก แหล่งข้อมูลบนเครือข่ายเว็บจัดทำโดย GovPubs ที่หอสมุดมหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์
- ประเทศอิรัก คู่มือการท่องเที่ยวจากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ ประเทศอิรัก ที่ OpenStreetMap
- ประเทศอิรัก ที่เว็บไซต์ Curlie
- Iraq profile from the BBC News