ดีนาร์อิรัก
ดีนาร์ (อาหรับ: دينار, เสียงอ่านภาษาอาหรับ: [diːˈnɑːr]; สัญลักษณ์: د.ع; รหัส: IQD) เป็นสกุลเงินของประเทศอิรัก ออกโดยธนาคารกลางอิรัก สามารถแบ่งได้เป็นหน่วยย่อยได้ 1000 ฟิลส์ (فلس) แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้ เนื่องจากผลของเงินเฟ้อ
ดีนาร์อิรัก | |
---|---|
دينار عراقي (อาหรับ) دیناری عێراقی (เคิร์ด) | |
ISO 4217 | |
รหัส | IQD |
การตั้งชื่อ | |
หน่วยย่อย | |
11,000 | ฟิลส์ |
สัญลักษณ์ | د.ع |
ธนบัตร | |
ใช้บ่อย | 250, 500, 1,000, 5,000, 10,000, 25,000 ดีนาร์ |
ไม่ค่อยใช้ | 50,000 ดีนาร์ |
เหรียญ | 25, 50, 100 ดีนาร์ |
ข้อมูลการใช้ | |
ผู้ใช้ | อิรัก |
การตีพิมพ์ | |
ธนาคารกลาง | ธนาคารกลางอิรัก |
เว็บไซต์ | www |
การประเมินค่า | |
อัตราเงินเฟ้อ | 1.79% |
ที่มา | ธนาคารกลางอิรัก, พฤษภาคม ค.ศ. 2015 |
ประวัติ
แก้ดีนาร์อิรักเริ่มใช้ในระบบครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1932 [1][2][3][4][5] โดนแทนที่เงินสกุลรูปีอินเดียซึ่งใช้มาตั้งแต่การครอบครองของสหราชอาณาจักรในช่วงสงครามครั้งที่ 1
พัฒนาการหลัง ค.ศ. 1990
แก้หลังจากสงครามอ่าวในปี ค.ศ. 1990 เนื่องจากถูกคว่าบาตรโดยสหประชาชาติ แม่พิมพ์เดิมที่สวิสจึงไม่สามารถใช้ได้ ดังนั้นจึงมีการพิมพ์ธนบัตรรุ่นใหม่ที่คุณภาพต่ำลงมาใช้แทน และธนบัตรรุ่นเดิมถูกเรียกว่า "ดีนาร์สวิส" ส่วนธนบัตรรุ่นใหม่ถูกเรียกว่า "ดีนาร์ซัดดัม"
อย่างไรก็ตาม ดีนาร์สวิสยังคงใช้หมุนเวียนในพื้นที่ชาวเคิร์ดในอิรัก โดยรัฐบาลเคิร์ดปฏิเสธที่จะยอมรับธนบัตรดีนาร์ซัดดัมซึ่งมีคุณภาพต่ำ และเนื่องจากการเพิ่มขึ้นอย่างมากของปริมาณเงินดีนาร์ซัดดัม ในขณะที่ปริมาณดีนาร์สวิสมีเท่าเดิม ดีนาร์สวิสจึงแข็งค่าขึ้นอย่างมาก ดังนั้นพื้นที่ทางตอนเหนือของอิรักใช้สกุลเงินที่เสถียรจึงไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่ส่วนอื่นๆ ของประเทศต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้ออย่างหนัก [6]
หลังจากซัดดัม ฮุสเซนถูกโค่นล้มในการการบุกครองอิรัก ค.ศ. 2003 สภาปกครองอิรักได้พิมพ์เงินดีนาร์ซัดดัมออกมาเพิ่มเป็นมาตรการชั่วคราวในระหว่างกระบวนการสร้างสกุลเงินใหม่
และในช่วงตั้งแต่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ถึง 15 มกราคม ค.ศ. 2004 รัฐบาลชั่วคราวร่วมได้ออกเงินดีนาร์อิรักใหม่ เงินดีนาร์อิรักใหม่ถูกแลกเปลี่ยนโดยกำหนดอัตราเท่าเดิมสำหรับดีนาร์ซัดดัม ในขณะที่ดีนาร์สวิสถูกแลกเปลี่ยนในอัตรา 1 ดีนาร์สวิส = 150 ดีนาร์ใหม่
อ้างอิง
แก้- ↑ Epstein, Mortimer (2016). The Statesman's Year-Book: Statistical and Historical Annual of the States of the World for the Year 1943. The Statesman's Year-Book. Palgrave Macmillan Limited. ISBN 978-0230270725.
- ↑ Naval Intelligence Division (2014). Iraq & The Persian Gulf. Geographical handbook. Routledge. ISBN 978-1136892660.
- ↑ Sassoon, Joseph (1987). Economic Policy in Iraq, 1932-1950. Cass. ISBN 1136285687.
- ↑ "Iraq Monetary History". Dinar2u.com. สืบค้นเมื่อ 27 December 2020.
- ↑ Symes, Peter; Hanewich, Murray; Al-Muderis, Layth. "The Bank Notes of the Iraq Currency Board". p j symes. สืบค้นเมื่อ 27 December 2020.
- ↑ Foote, Christopher; Block, William; Crane, Keith; Gray, Simon; และคณะ (Summer 2004). "Economic Policy and Prospects in Iraq". The Journal of Economic Perspectives. 18 (3): 47–70. doi:10.1257/0895330042162395.