ที่ราบลุ่มแม่น้ำ

ที่ราบลุ่มแม่น้ำ, พื้นที่ลุ่มน้ำ หรือ ลุ่มน้ำ (อังกฤษ: river basin, drainage basin หรือ watershed) คือ พื้นที่บริเวณหนึ่งที่มีขอบเขตแบ่งพื้นที่ที่ล้อมรอบด้วยสันปันน้ำ และเป็นพื้นที่รองรับหยาดน้ำฟ้า สะสมตัว และระบายออกสู่แหล่งน้ำทั่วไป เช่น ลงสู่แม่น้ำ อ่าว หรือแหล่งกักเก็บน้ำอื่นๆ ในลักษณะเป็นแอ่งระบายน้ำ น้ำที่สะสมและระบายออกจากที่ราบลุ่มแม่น้ำรวมถึงน้ำผิวดินทั้งหมด ได้แก่จากการไหลบ่าของฝน หิมะละลาย ลูกเห็บ และลำน้ำสาขาที่ไหลลงสู่ทางระบายเดียวกัน รวมทั้งน้ำบาดาล (น้ำใต้ดิน) ที่ซึมออกมาบนผิวโลก[1] พื้นที่ลุ่มน้ำสามารถเชื่อมต่อกับพื้นที่ลุ่มน้ำอื่น ๆ ที่ระดับต่ำกว่าในรูปแบบลำดับชั้น หรือเป็นการรวมกันของพื้นที่ลุ่มน้ำย่อย ๆ ซึ่งทั้งหมดระบายน้ำออกสู่ทางระบายร่วม (จุดออกร่วม)[2]

ภาพประกอบของอ่างระบายน้ำ เส้นประคือส่วนกักเก็บน้ำหลักของที่ราบลุ่มแม่น้ำ ซึ่งรวมทั้งสันปันน้ำ
แผนที่ภูมิประเทศแบบดิจิทัลของพื้นที่ลุ่มแม่น้ำ Latoria ในโรมาเนีย เส้นสีแดง: แนวสันปันน้ำ ภายในเส้นเรียก พื้นที่ลุ่มน้ำย่อย
แบบจำลองภูมิประเทศดิจิทัลของพื้นที่ลุ่มแม่น้ำ Latorița ในโรมาเนีย
แผนที่พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา
แผนที่พื้นที่ลุ่มน้ำมูลและชี

ความหมายของพื้นที่ลุ่มน้ำ ยังได้แก่ พื้นที่กักเก็บน้ำ (catchment area), แอ่งกักเก็บน้ำ (catchment basin), พื้นที่ระบายน้ำ (drainage area)[3], แอ่งน้ำ และพื้นที่รับน้ำ (water basin)[4][5]

ในระบบพื้นที่ลุ่มน้ำแบบปิด (พื้นที่ลุ่มน้ำเอนดอร์เฮอิก หรือพื้นที่ลุ่มน้ำภายในทวีป; endorheic basin) น้ำไหลมาบรรจบกันที่จุดเดียวภายในแอ่ง เรียกว่าทะเลปิด ซึ่งอาจเป็นทะเลสาบถาวรน้ำจืดหรือน้ำเค็ม ทะเลสาบแห้ง หรือจุดที่น้ำผิวดินกลายเป็นธารน้ำให้น้ำ[6]

ระบบ

แก้

พื้นที่ลุ่มน้ำทำหน้าที่แบบกรวย รวบรวมน้ำทั้งหมดภายในพื้นที่ลุ่มน้ำและบังคับให้ไหลไปตามช่องระบายเดียว พื้นที่ลุ่มน้ำแต่ละแห่งถูกแยกด้วยภูมิประเทศจากพื้นที่ลุ่มน้ำอื่นด้วยปริมณฑล (เส้นแบ่งเขตตามธรรมชาติ) เรียก สันปันน้ำ ซึ่งเป็นลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่สูงอย่างต่อเนื่องเป็นแนว (เช่นแนวสันเขา เนินเขา หรือภูเขา) ทำหน้าที่เป็นแนวแบ่งกั้นน้ำ

การไหลของน้ำเมื่อแบ่งออกจากกันตามปริมณฑลภูมิประเทศ คือ สันปันน้ำ (drainage divine) จะไหลลงสู่ลำน้ำสาขาย่อยหรือลำน้ำต้นน้ำ (sub-stream) ในตอนบนของพื้นที่ลุ่มน้ำ แล้วลงตามความลาดชันสู่แม่น้ำสาขาและพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา (stream และ sub-drainage basin) รวมกันลงสู่แม่น้ำสายหลัก (mainstream) จนไหลออกปากน้ำ (outlet) ในที่สุด

ยกตัวอย่างเช่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีระบบสันปันน้ำในภาคเหนือของประเทศไทยและพื้นที่ต้นน้ำในจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง แพร่ และอื่น ๆ รองรับน้ำฝน สะสมและระบายลงสู่พื้นที่ลุ่มน้ำสาขา (พื้นที่ลุ่มน้ำย่อย) ได้แก่ ลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำวัง ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำน่าน แล้วไหลรวมกันลงผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา ลงสู่อ่าวไทย

มีการจัดระดับพื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งคล้ายกับการจัดระบบหน่วยทางอุทกศาสตร์

พื้นที่ลุ่มน้ำที่สำคัญของโลก

แก้
 
การแบ่งแยกทวีปที่สำคัญตามพื้นที่ลุ่มน้ำที่ไหลลงสู่มหาสมุทรต่าง ๆ (สีเขียวอ่อน-สีเขียว-สีฟ้า) พื้นที่ลุ่มน้ำที่ไหลลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก, (สีเขียวเทา) พื้นที่ลุ่มน้ำที่ไหลลงสู่มหาสมุทรอาร์กติก, (สีม่วง) พื้นที่ลุ่มน้ำที่ไหลลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก, (สีแดง) พื้นที่ลุ่มน้ำที่ไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดีย, (สีน้ำตาล) พื้นที่ลุ่มน้ำที่ไหลลงสู่มหาสมุทรใต้ เรียงตามลำดับขนาด และ (สีเทาดำ) พื้นที่ลุ่มน้ำแบบปิดที่ไม่ระบายน้ำออกสู่มหาสมุทร[7]

แอ่งมหาสมุทร

แก้

ในทางอุทกวิทยา แอ่งมหาสมุทร (oceanic basin) อาจอยู่ที่ใดก็ได้บนโลกที่มีน้ำทะเลปกคลุม แต่ในเชิงธรณีวิทยา แอ่งมหาสมุทรเป็นแอ่งทางธรณีวิทยาขนาดใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ทางธรณีวิทยามีลักษณะทางธรณีสัณฐานใต้ทะเลอื่นๆ เช่น ไหล่ทวีป ร่องลึกก้นสมุทร และเทือกเขาใต้ทะเล (เช่น สันเขากลางมหาสมุทร) ซึ่งไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของแอ่งมหาสมุทร ในขณะที่อุทกวิทยาแอ่งมหาสมุทรรวมถึงชั้นทวีปขนาบข้างและทะเลลึกตื้น

หากคำนวนขนาดจากเส้นแบ่งทวีปมีพื้นดินทั้งหมดโดยประมาณ 146.6 ล้านตารางกิโลเมตร[8] หรือคำนวนเฉพาะที่ราบลุ่มแม่น้ำและสาขาโดยไม่รวมที่ลุ่มน้ำแบบปิดมีพื้นที่ประมาณ 90.7 ล้านตารางกิโลเมตร[9] พื้นที่ลุ่มน้ำที่ระบายน้ำจืดไหลลงสู่มหาสมุทรและแอ่งมหาสมุทรที่สำคัญได้แก่

  • มหาสมุทรใต้ ได้หยาดน้ำฟ้าจากทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งแอนตาร์กติกาคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 14 ล้านตารางกิโลเมตร[8] คิดเป็นร้อยละ 9.5 ของพื้นดินโลก

พื้นที่ลุ่มน้ำที่ใหญ่ที่สุด

แก้

พื้นที่ลุ่มน้ำที่ใหญ่ที่สุด 5 แห่ง (ตามขนาดพื้นที่) จากใหญ่ที่สุดสู่อับดับรองลงไปคือ พื้นที่ลุ่มแม่น้ำแอมะซอน (7 ล้านตารางกิโลเมตร), พื้นที่ลุ่มแม่น้ำคองโก (4 ล้านตารางกิโลเมตร), พื้นที่ลุ่มแม่น้ำไนล์ (3.4 ล้านตารางกิโลเมตร), พื้นที่ลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี (3.22 ล้านตารางกิโลเมตร) และ พื้นที่ลุ่มแม่น้ำริโอเดลาปลาตา (3.17 ล้านตารางกิโลเมตร) แม่น้ำสามสายที่ระบายน้ำได้มากที่สุด จากมากไปน้อย คือแม่น้ำแอมะซอน แม่น้ำคงคา และแม่น้ำคองโก[11]

พื้นที่ลุ่มน้ำแบบปิด

แก้
 
พื้นที่ลุ่มน้ำแบบปิดในเอเชียกลาง

พื้นที่ลุ่มน้ำแบบปิด เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่ไม่ระบายออกสู่มหาสมุทร ประมาณร้อยละ 13 ของพื้นดินโลก[7] ที่น้ำไหลลงสู่ทะเลปิด ทะเลปิดที่ใหญ่ที่สุดเหล่านี้ส่วนมากอยู่ภายในทวีปเอเชีย ได้แก่ ทะเลแคสเปียน ทะเลอารัล และทะเลสาบขนาดเล็กจำนวนมาก ภูมิภาคพื้นที่ลุ่มน้ำแบบปิดอื่น ๆ ได้แก่ เกรตเบซินในสหรัฐอเมริกา, พื้นที่ส่วนใหญ่ของทะเลทรายสะฮารา, พื้นที่ลุ่มแม่น้ำโอกาวางโก (ลุ่มน้ำคาลาฮารี), ที่ราบสูงรอบแอฟริกาเกรตเลคส์, ภายในของทวีปออสเตรเลีย และภายในคาบสมุทรอาหรับ บางส่วนในเม็กซิโก และบางส่วนของเทือกเขาแอนดีส บางส่วนของภูมิภาคเหล่านี้ เช่น เกรตเบซินไม่ใช่พื้นที่ลุ่มน้ำแบบปิดเดี่ยว แต่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำแบบปิดที่อยู่ติด ๆ กัน

ในแหล่งน้ำนิ่งของพื้นที่ลุ่มน้ำแบบปิด ซึ่งมีการระเหยเป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียน้ำ ทำให้โดยทั่วไปปกติน้ำในพื้นที่เหล่านี้เป็นน้ำเกลือ และอาจมีความเค็มมากกว่ามหาสมุทร ตัวอย่างที่ชัดเจนคือทะเลเดดซี

พื้นที่ลุ่มน้ำในประเทศไทย

แก้

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 คณะกรรมการอุทกวิทยาแห่งชาติ แบ่งพื้นที่ลุ่มน้ำเป็น 25 ลุ่มน้ำหลัก (254 ลุ่มน้ำสาขา) ปัจจุบันประเทศไทยมี 22 ลุ่มน้ำหลัก (353 ลุ่มน้ำสาขา) ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 คือ ลุ่มน้ำสาละวิน, ลุ่มน้ำโขงเหนือ (เดิมลุ่มน้ำกก), ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ, ลุ่มน้ำชี, ลุ่มน้ำมูล, ลุ่มน้ำปิง, ลุ่มน้ำวัง, ลุ่มน้ำยม, ลุ่มน้ำน่าน, ลุ่มน้ำเจ้าพระยา, ลุ่มน้ำสะแกกรัง, ลุ่มน้ำป่าสัก, ลุ่มน้ำท่าจีน, ลุ่มน้ำแม่กลอง, ลุ่มน้ำบางประกง (ซึ่งผนวกรวมลุ่มน้ำปราจีนบุรี), ลุ่มน้ำโตนเลสาบ, ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก, ลุ่มน้ำอ่าวไทยฝั่งตะวันตก (รวมเดิมลุ่มน้ำเพชรบุรีและลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลประจวบคีรีขันธ์), ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน, ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนกลาง (ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา), ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง และลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งทะเลตะวันตก[12][13][14]

ปัจจัยการกักเก็บน้ำ

แก้

การเก็บกักน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการกำหนดปริมาณหรือแนวโน้มที่จะเกิดน้ำท่วม กล่าวคือยิ่งมีการเก็บกักน้ำที่ดีโอกาสการเกิดน้ำท่วมยิ่งมีมาก

ปัจจัยการกักเก็บน้ำ ได้แก่ ภูมิประเทศ รูปทรงขนาด ชนิดของดิน และการใช้ที่ดิน (พื้นที่ลาดยางหรือมีสิ่งก่อสร้างปกคลุม) ภูมิประเทศและรูปทรงของการกักเก็บน้ำเป็นตัวกำหนดระยะเวลาจากหยาดน้ำฟ้า (ฝน) ที่ตกลงมาจนไหลไปถึงแม่น้ำ ในขณะที่ขนาดการเก็บน้ำ ชนิดของดิน และการพัฒนาที่ดิน จะเป็นตัวกำหนดปริมาณน้ำที่จะไปถึงแม่น้ำ

ภูมิประเทศ

แก้

โดยทั่วไป ภูมิประเทศมีส่วนอย่างมากในการที่น้ำจะไหลลงสู่แม่น้ำได้เร็วเพียงใด ฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ภูเขาสูงชันจะถึงแม่น้ำสายหลักในแอ่งระบายน้ำได้เร็วกว่าพื้นที่ราบหรือลาดเอียงเล็กน้อย (เช่น ความลาดเอียงมากกว่าร้อยละ 1)

รูปทรง

แก้

รูปทรงจะช่วยให้ความเร็วที่ไหลบ่าถึงแม่น้ำ การเก็บกักน้ำแบบบางและยาวจะใช้เวลาระบายน้ำนานกว่าการเก็บกักน้ำแบบกลุ่มก้อน

ขนาด

แก้

ขนาดจะช่วยกำหนดปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำ เนื่องจากแหล่งกักเก็บน้ำที่มากขึ้น โอกาสที่น้ำจะท่วมก็จะมากขึ้น นอกจากนี้ยังกำหนดตามความยาวและความกว้างของอ่างระบายน้ำ

ประเภทของดิน

แก้

ชนิดของดินจะช่วยกำหนดปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่แม่น้ำ ปริมาณน้ำที่ไหลบ่าออกจากพื้นที่ระบายน้ำขึ้นอยู่กับชนิดของดิน ดินบางชนิด เช่น ดินทราย มีการระบายน้ำอย่างอิสระ และฝนบนดินทรายก็มีแนวโน้มที่จะถูกดินดูดกลืน อย่างไรก็ตามดินที่มีดินเหนียวแทบจะซึมผ่านไม่ได้ ดังนั้นปริมาณน้ำฝนบนดินเหนียวจะไหลออกและมีส่วนทำให้เกิดน้ำท่วม หลังจากฝนตกเป็นเวลานาน แม้แต่ดินที่ระบายน้ำอิสระก็สามารถอิ่มตัวได้ ซึ่งหมายความว่าปริมาณน้ำฝนเพิ่มเติมจะไปถึงแม่น้ำแทนที่จะถูกดูดซับโดยพื้นดิน หากพื้นผิวไม่สามารถซึมผ่านได้ ฝนจะทำให้เกิดการไหลบ่าของพื้นผิวซึ่งจะนำไปสู่ความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมสูงขึ้น ถ้าดินซึมเข้าไปได้ ฝนก็จะแทรกซึมเข้าไปในดิน

การพัฒนาที่ดิน

แก้

การใช้ที่ดินสามารถส่งผลต่อปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่แม่น้ำได้เช่นเดียวกับดินเหนียว ตัวอย่างเช่น ปริมาณน้ำฝนบนหลังคา ทางเท้า และถนนจะถูกรวบรวมโดยแม่น้ำโดยแทบไม่ดูดซึมลงสู่น้ำใต้ดิน

การจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำ

แก้

การจัดการลุ่มน้ำคือ การจัดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติภายในพื้นที่ลุ่มน้ำแบบผสมผสาน โดยเฉพาะทรัพยาการที่ดิน ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ เกษตรกรรม แหล่งน้ำ ชุมชน พื้นที่เมือง ให้มีสัดส่วนการกระจายตัวที่เหมาะสม มีมาตรการป้องกันและควบคุมผลกระทบจากการพัฒนาที่ดิน และมีการปรับปรุงฟื้นฟูส่วนที่เสื่อมโทรม ให้พื้นที่ลุ่มน้ำนั้นยังคงทำหน้าที่ตอบสนองต่อความต้องการทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์ โดยเฉพาะทรัพยากรน้ำ และป่าไม้ได้อย่างยั่งยืน สิ่งบ่งชี้ถึงผลสัมฤทธิ์ของการจัดการดูได้จาก ปริมาณน้ำที่เพียงพอ ช่วงเวลาการไหลสม่ำเสมอและคุณภาพดี รวมถึงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำ[13]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "drainage basin". The Physical Environment. University of Wisconsin–Stevens Point. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 21, 2004.
  2. "What is a watershed and why should I care?". university of delaware. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-21. สืบค้นเมื่อ 2008-02-11.
  3. "คำศัพท์ drainage basin แปลว่าอะไร?". Longdo Dict.
  4. Lambert, David (1998). The Field Guide to Geology. Checkmark Books. pp. 130–13. ISBN 0-8160-3823-6.
  5. Uereyen, Soner; Kuenzer, Claudia (9 December 2019). "A Review of Earth Observation-Based Analyses for Major River Basins". Remote Sensing. 11 (24): 2951. Bibcode:2019RemS...11.2951U. doi:10.3390/rs11242951.
  6. "Hydrologic Unit Geography". Virginia Department of Conservation & Recreation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 December 2012. สืบค้นเมื่อ 21 November 2010.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Vörösmarty, C. J.; Fekete, B. M.; Meybeck, M.; Lammers, R. B. (2000). "Global system of rivers: Its role in organizing continental land mass and defining land-to-ocean linkages". Global Biogeochemical Cycles (ภาษาอังกฤษ). 14 (2): 599–621 (p 609-611). doi:10.1029/1999GB900092. ISSN 1944-9224. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-15. สืบค้นเมื่อ 2021-08-15.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 "Largest Drainage Basins in the World". WorldAtlas (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 Peucker-Ehrenbrink, Bernhard (2009). "Land2Sea database of river drainage basin sizes, annual water discharges, and suspended sediment fluxes". Geochemistry, Geophysics, Geosystems (ภาษาอังกฤษ). 10 (6). doi:10.1029/2008GC002356. ISSN 1525-2027. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-13. สืบค้นเมื่อ 2021-08-13.
  10. Vörösmarty, C. J.; Fekete, B. M.; Meybeck, M.; Lammers, R. B. (2000). "Global system of rivers: Its role in organizing continental land mass and defining land-to-ocean linkages". Global Biogeochemical Cycles (ภาษาอังกฤษ). 14 (2): 599–621. doi:10.1029/1999GB900092. ISSN 1944-9224. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-15. สืบค้นเมื่อ 2021-08-15.
  11. Encarta Encyclopedia articles on Amazon River, Congo River, and Ganges Published by Microsoft in computers.
  12. "คำสั่ง คกก.ลุ่มน้ำ – สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  13. 13.0 13.1 RECOFTC. "การจัดการลุ่มน้ำอย่างมีส่วนร่วม". www.recoftc.org.
  14. "ปฏิรูประบบลุ่มน้ำ กรอบชัดเจนของ 22 ลุ่มน้ำหลักใหม่". mgronline.com (ภาษาอังกฤษ). 2019-06-11.