ริโอเดลาปลาตา
ริโอเดลาปลาตา (สเปน: Río de la Plata หมายถึง "แม่น้ำแห่งแร่เงิน") หรือที่นิยมเรียกว่า แม่น้ำเพลต (River Plate) ในภาษาอังกฤษ เป็นชะวากทะเลที่เกิดจากการบรรจบกันของแม่น้ำอุรุกวัยกับแม่น้ำปารานาที่ปุนตาโกร์ดา โดยไหลออกสู่มหาสมุทรแอตแลนติกและสร้างส่วนเว้ารูปกรวยที่ชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกาใต้ ริโอเดลาปลาตาอาจเป็นได้ทั้งแม่น้ำ ชะวากทะเล อ่าว หรือทะเลชายขอบทวีป ขึ้นอยู่กับคำนิยามของนักภูมิศาสตร์[3][7][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] ถ้าถือเป็นแม่น้ำ ริโอเดลาปลาตาจะเป็นแม่น้ำที่กว้างที่สุดในโลก โดยมีความกว้างสูงสุด 220 กิโลเมตร (140 ไมล์)
ริโอเดลาปลาตา แม่น้ำเพลต, แม่น้ำลาปลาตา | |
---|---|
ภาพถ่ายริโอเดลาปลาตาโดยนาซามาจากทิศตะวันเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ บัวโนสไอเรสอยู่ทางด้านขวาใกล้สามเหลี่ยมปากแม่น้ำปารานา ตะกอนแม่น้ำ ทำให้น้ำทะเลเป็นสีน้ำตาลในพื้นที่มอนเตวิเดโอที่ชายฝั่งด้านซ้าย | |
แผนที่ลุ่มน้ำริโอเดลาปลาตา แสดงริโอเดลาปลาตาที่ปากแม่น้ำปารานาและอุรุกวัย ใกล้บัวโนสไอเรส | |
ที่มาของชื่อ | ภาษาสเปนที่แปลว่า "แม่น้ำแห่งแร่เงิน" |
ที่ตั้ง | |
ประเทศ | อาร์เจนตินาและอุรุกวัย |
นคร | |
ลักษณะทางกายภาพ | |
ต้นน้ำ | จุดที่แม่น้ำปารานากับอุรุกวัยบรรจบกัน |
• ตำแหน่ง | อาร์เจนตินา/อุรุกวัย |
• พิกัด | 34°0′5″S 58°23′37″W / 34.00139°S 58.39361°W[1] |
ปากน้ำ | มหาสมุทรแอตแลนติก |
• ตำแหน่ง | ทะเลอาร์เจนติน ประเทศอาร์เจนตินา |
• พิกัด | 35°40′S 55°47′W / 35.667°S 55.783°W[2] |
ความยาว | 290 km (180 mi)[3] ถ้ารวมแม่น้ำปารานา จะยาว 4,876 กิโลเมตร (3,030 ไมล์) |
พื้นที่ลุ่มน้ำ | 3,170,000 km2 (1,220,000 sq mi)[4] 3,182,064 km2 (1,228,602 sq mi)[5] |
อัตราการไหล | |
• ตำแหน่ง | ริโอเดลาปลาตา มหาสมุทรแอตแลนติก |
• เฉลี่ย | (ช่วง ค.ศ. 1971-2010)
27,225 m3/s (961,400 cu ft/s)[5] 22,000 m3/s (780,000 cu ft/s)[3] 884 km3/a (28,000 m3/s)[6] |
• ต่ำสุด | 12,000 m3/s (420,000 cu ft/s) |
• สูงสุด | 50,000 m3/s (1,800,000 cu ft/s) |
ลุ่มน้ำ | |
ลำน้ำสาขา | |
• ซ้าย | แม่น้ำอุรุกวัย, แม่น้ำซันฆวน, แม่น้ำซันตาลูเซีย |
• ขวา | แม่น้ำปารานา, แม่น้ำลูฆัน, แม่น้ำซาลาโด |
แม่น้ำนี้มีความยาวประมาณ 290 กิโลเมตร (180 ไมล์) และกว้างประมาณ 2 กิโลเมตร (1.2 ไมล์) จากต้นน้ำถึงประมาณ 220 กิโลเมตร (140 ไมล์) ที่ปากแม่น้ำ[8] เป็นพรมแดนทางธรรมชาติระหว่างประเทศอาร์เจนตินากับประเทศอุรุกวัย โดยมีเมืองท่าหลักและเมืองหลวงอย่างบัวโนสไอเรสทางตะวันตกเฉียงเหนือ และมอนเตวิเดโอทางตะวันออกเฉียงใต้
ภูมิศาสตร์
แก้ริโอเดลาปลาตาเริ่มต้นที่จุดบรรจบกันระหว่างแม่น้ำอุรุกวัยกับปารานาที่ปุนตาโกร์ดา และไหลไปทางตะวันออกถึงมหาสมุทรแอตแลนติดตอนใต้ ไม่มีจุดระบุว่าส่วนตะวันออกของแม่น้ำสิ้นสุดที่ไหน โดยทางองค์การอุทกศาสตร์สากลนิยานขอบเขตทางตะวันออกของริโอเดลาปลาตาเป็น "เส้นที่เชื่อมระหว่างปุนตาเดลเอสเต ประเทศอุรุกวัยกับกาโบซันอันโตนิโอ ประเทศอาร์เจนตินา"[2]
แม้ว่าโดยทั่วไปจะเรียกว่าแม่น้ำ นักภูมิศาสตร์บางคนถือให้ริโอเดลาปลาตาเป็นอ่าวหรือทะเลชายขอบทวีปขนาดใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติก[3][8] ส่วนผู้ที่ถือว่าเป็นแม่น้ำ จะถือว่าที่นี่เป็นแม่น้ำที่กว้างที่สุดในโลก โดยมีความกว้างสูงสุดประมาณ 220 กิโลเมตร (140 ไมล์) และพื้นที่ผิวรวมประมาณ 35,000 ตารางกิโลเมตร (14,000 ตารางไมล์)[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ Río Paraná Guazú ที่ GEOnet Names Server (main distributary of the Río Paraná)
- ↑ 2.0 2.1 "Limits of Oceans and Seas, 3rd edition" (PDF). International Hydrographic Organization. 1953. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 October 2011. สืบค้นเมื่อ 28 December 2020.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Río de la Plata". Encyclopædia Britannica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2015. สืบค้นเมื่อ 11 August 2010.
- ↑ Raúl A. Guerrero; และคณะ (June 1997). "Physical oceanography of the Río de la Plata Estuary, Argentina". Continental Shelf Research. 17 (7): 727–742. Bibcode:1997CSR....17..727G. doi:10.1016/S0278-4343(96)00061-1.
- ↑ 5.0 5.1 "Balance hídrico en la Cuenca del Plata". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-19. สืบค้นเมื่อ 2023-08-16.
- ↑ "Transboundary River Basin Overview – La Plata" (PDF).
- ↑ "Limits in the Sea No. 44 Straight Baselines: Argentina" (PDF). The Geogrpher, Bueau of Intelligence and Research, Department of State of United States of America. August 10, 1972.
- ↑ 8.0 8.1 Fossati, Monica; Piedra-Cueva, Ismael. "Salinity Simulations of the Rio de la Plata" (PDF). International Conference on Estuaries and Coasts. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 March 2012. สืบค้นเมื่อ 11 August 2010.