ทวีปอเมริกาใต้
อเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรพาดผ่าน อยู่ในซีกโลกตะวันตกและมีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ เป็นอนุทวีปทางใต้ของทวีปอเมริกา มีการใช้ทวีปอเมริกาใต้ในการเรียกแทนภูมิภาคต่าง ๆ (เช่น ลาตินอเมริกา กรวยใต้) เพิ่มมากขึ้นอันเป็นผลมากจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์[5]
พื้นที่ | 17,840,000 ตารางกิโลเมตร (6,890,000 ตารางไมล์) (อันดับที่ 4) |
---|---|
ประชากร | 420,458,044 (พ.ศ. 2560; อันดับที่ 5)[1] |
ความหนาแน่น | 21.4 คน/ตารางกิโลเมตร |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 6.53 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ ค.ศ. 2021; อันดับที่ 5)[2] |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2.90 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ ค.ศ. 2021; อันดับที่ 4)[3] |
จีดีพีต่อหัว | 6,720 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ ค.ศ. 2021; อันดับที่ 5)[4] |
เดมะนิม | ชาวอเมริกาใต้ |
ประเทศ |
|
ดินแดน | ภายนอก (2–4) ภายใน (1–4)
|
ภาษา | |
เขตเวลา | UTC-2 ถึง UTC-5 |
เมืองใหญ่ | รายชื่อเมืองในทวีปอเมริกาใต้ |
รหัส UN M49 | 005 – อเมริกาใต้419 – ลาตินอเมริกา019 – ทวีปอเมริกา001 – โลก |
ทางตะวันตกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันออกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก และทางเหนือติดกับทวีปอเมริกาเหนือ และ ทะเลแคริบเบียน ทวีปอเมริกาใต้ประกอบด้วยรัฐอธิปไตย 12 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา โบลิเวีย บราซิล ชิลี โคลอมเบีย เอกวาดอร์ กายอานา ปารากวัย เปรู ซูรินาม อุรุกวัย และ เวเนซุเอลา 1 จังหวัดโพ้นทะเลของฝรั่งเศส เฟรนช์เกียนา และดินแดนในภาวะพึ่งพิงอย่าง หมู่เกาะฟอล์กแลนด์และดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน นอกจากนี้หมู่เกาะเอบีซี, เซนต์เฮเลนา อัสเซนชัน และตริสตันดากูนยา, เกาะบูเว, บางส่วนของปานามา, เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช, ประเทศตรินิแดดและโตเบโก มักนับรวมอยู่ในเขตของทวีปอเมริกาใต้ด้วย
อเมริกาใต้มีขนาดพื้นที่ประมาณ 17,840,000 ล้านตารางกิโลเมตร ใน ค.ศ. 2018 มีประชากรอยู่ที่ 423 ล้านคน[1] อเมริกาใต้มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจาก เอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ บราซิลเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในทวีป คิดเป็นมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรในทวีป รองลงมาคือ โคลัมเบีย อาร์เจนตินา เวเนซุเอลา และเปรู ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา บราซิล สามารถสร้างมูลค่าจีดีพีได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของจีดีพีทวีป ทำให้บราซิลขึ้นเป็นมหาอำนาจประจำภูมิภาคนี้[5]
การตั้งถิ่นฐานของประชากรจะตั้งถิ่นฐานบริเวณชายฝั่งทางตะวันตกและทางตะวันออกของทวีป ภายในทวีปและภูมิภาคปาตาโกเนียเป็นพื้นที่ ๆ มีการตั้งถิ่นฐานเบาบางที่สุด บริเวณทางตะวันตกและทางใต้ของทวีปมีลักษณะเป็นเทือกเขา ส่วนทางตะวันออกจะมีทั้งพื้นที่สูง และที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ โดยมีแม่น้ำสายใหญ่ที่สำคัญ เช่น แม่น้ำแอมะซอน แม่น้ำโอริโนโก แม่น้ำปารานาไหลผ่าน ทวีปอเมริกาใต้ส่วนใหญ่อยู่ในเขตร้อน
วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ของประชากรในทวีปนี้มีต้นกำเนิดจากปฏิสัมพันธ์ของชนพื้นเมืองกับกองกิสตาดอร์และผู้อพยพชาวยุโรป ชาวพื้นเมืองกับทาสชาวแอฟริกัน ผลจากการเป็นอาณานิคมเป็นเวลานานทำให้ประชากรส่วนใหญ่ในทวีปพูดภาษาโปรตุเกสและภาษาสเปนเป็นหลัก มีวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตแบบตะวันตก ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้นเมื่อนำเทียบกับ ยุโรป เอเชีย และ แอฟริกาแล้วอเมริกาใต้ถือเป็นทวีปที่สงบสุขและมีสงครามเพียงเล็กน้อย[6]
ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์
แก้หลักฐานทางโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ พบว่ามีคนอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ตั้งแต่ประมาณ 12,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยพบเครื่องมือหินและเครื่องใช้ที่ทำด้วยหนังสัตว์ในประเทศชิลี กระทั่ง 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในประเทศเปรูปัจจุบันมีวัฒนธรรมนาสคาเกิดขึ้น โดยมีการศึกษาเกี่ยวกับการโคจรของดวงอาทิตย์และมีการใช้เครื่องประดับ
ประชากรในทวีปอเมริกาใต้ สันนิษฐานว่าอพยพมาจากทวีปเอเชียเข้าสู่ทวีปอเมริกาเหนือโดยผ่านช่องแคบเบริง แล้วเดินทางลงใต้ผ่านอเมริกากลางจนถึงอเมริกาใต้เช่นปัจจุบัน ดังนั้นชนพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้และอเมริกาเหนือจึงมีความสัมพันธ์กันทางเชื้อชาติ โดยในเปรู อินเดียนแดงได้สร้างจักรวรรดิอินคา ครอบคลุมอาณาเขตกว้างขวางทางตะวันตกของทวีป โดยมีเมืองกุสโกเป็นศูนย์กลางของอาณาจักร
ในปี พ.ศ. 2042 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางด้วยเรือมายังรอยต่อของอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ซึ่งชื่อของเขาก็เป็นที่มาของประเทศโคลอมเบียในปัจจุบัน กระทั่ง พ.ศ. 2043 ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปโดยเฉพาะประเทศสเปน อิตาลี โปรตุเกส อังกฤษ และฝรั่งเศส ได้เข้ามาสำรวจ และยึดครองดินแดนเป็นอาณานิคมเป็นจำนวนมาก ประเทศเจ้าของอาณานิคมจากยุโรปยึดครองและได้ผลประโยชน์จากดินแดนในทวีปอเมริกาใต้มานานหลายร้อยปี จนกระทั่งใน พ.ศ. 2261 โฆเซ เด ซาน มาร์ติน ปลดปล่อยประเทศอาร์เจนตินา, ชิลี, และเปรูให้เป็นอิสระจากสเปน และปลดปล่อยประเทศบราซิลให้เป็นอิสระจากโปรตุเกสในเวลาต่อมา ปัจจุบันประเทศฝรั่งเศสยังคงยึดครองดินแดนเฟรนช์เกียนาทางตอนเหนือของทวีปเอาไว้
ลักษณะทางกายภาพ
แก้ทำเลที่ตั้งและอาณาเขต
แก้ทวีปอเมริกาใต้ตั้งอยู่บนซีกโลกใต้เป็นส่วนมากโดยอยู่ระหว่างละติจูดที่ 12 องศาเหนือ ถึง 56 องศาใต้ และลองจิจูด 35 องศาตะวันออก ถึง 117 องศาตะวันตก มีเนื้อที่ประมาณ 17.8 ล้านตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยล่ะ 14 ของแผ่นดินโลก ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก และมีเนื้อที่แผ่นดินติดต่อกันทำให้ชายฝั่งของทะเลมีน้อยเมื่อเทียบกับขนาดของทวีป โดยทวีปอเมริกาใต้มีแผ่นดินใหญ่รูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม
อาณาเขต
แก้ทวีปอเมริกาใต้มีอาณาเขตติดต่อกับทวีปต่าง ๆ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับประเทศปานามาของทวีปอเมริกาเหนือ และจดทะเลแคริบเบียน
- ทิศตะวันออก จดมหาสมุทรแอตแลนติก อาณาเขตสิ้นสุดที่เกาะจอร์เจียใต้
- ทิศตะวันตก จดมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ และอาณาเขตสิ้นสุดที่เกาะอีสเตอร์ของประเทศชิลี
- ทิศใต้ จดช่องแคบเดรกในทวีปแอนตาร์กติกา และ อาณาเขตสิ้นสุดที่แหลมฮอร์นของประเทศชิลี
ทวีปอเมริกาใต้ประกอบด้วย 13 ประเทศ และ 3 เขตการปกครอง ซึ่งแบ่งออกตามลักษณะภูมิประเทศได้ 4 กลุ่ม ดังนี้
- เขตที่สูงกายอานา อยู่ทางตอนเหนือของทวีป มี 4 ประเทศ คือ ประเทศกายอานา ซูรินาม เวเนซุเอลา และโคลอมเบีย ประเทศโคลอมเบียมีประชากรมากที่สุดในเขตนี้
- เขตเทือกเขาแอนดีส อยู่ทางภาคตะวันตกของทวีป ประกอบด้วย 4 ประเทศ คือ ประเทศเปรู เอกวาดอร์ โบลิเวีย และ ชิลี ประเทศโบลิเวียมีเนื้อที่มากที่สุด ส่วนประเทศเปรูมีประชากรมากที่สุดในเขตนี้
- เขตลุ่มน้ำตะวันออกเฉียงใต้ของเทือกเขาแอนดิส ประกอบด้วยประเทศอาร์เจนตินา ปารากวัย และ อุรุกวัย ประเทศอาร์เจนตินามีเนื้อที่และประชากรมากที่สุดในเขตนี้
- เขตลุ่มน้ำแอมะซอนและที่ราบสูงบราซิล ได้แก่ ประเทศบราซิล ซึ่งมีเนื้อที่มากกว่า 8.5 ล้านตารางกิโลเมตร
ตารางแสดงประเทศในทวีปอเมริกาใต้
ประเทศ | พื้นที่ (km²) |
ประชากร (1 กรกฎาคม 2548) |
ความหนาแน่น (per km²) |
เมืองหลวง |
---|---|---|---|---|
กายอานา | 214,970 | 765,283 | 3.6 | จอร์จทาวน์ |
โคลอมเบีย | 1,138,910 | 42,954,279 | 37.7 | โบโกตา |
ชิลี [7] | 756,950 | 15,980,912 | 21.1 | ซานเตียโก |
ซูรินาม | 163,270 | 438,144 | 2.7 | ปารามาริโบ |
บราซิล | 8,514,877 | 187,550,726 | 22.0 | บราซิเลีย |
โบลิเวีย | 1,098,580 | 8,857,870 | 8.1 | ซูเกร |
ปารากวัย | 406,750 | 6,347,884 | 15.6 | อาซุนซิออน |
เปรู | 1,285,220 | 27,925,628 | 21.7 | ลิมา |
เวเนซุเอลา | 912,050 | 25,375,281 | 27.8 | การากัส |
หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ | 12,173 | 2,967 | 0.24 | สแตนลีย์ |
อาร์เจนตินา | 2,766,890 | 39,537,943 | 14.3 | บัวโนสไอเรส |
อุรุกวัย | 176,220 | 3,415,920 | 19.4 | มอนเตวิเดโอ |
เอกวาดอร์ | 283,560 | 13,363,593 | 47.1 | กีโต |
เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช ( บริเตนใหญ่) | 3,093 | 0 | 0 | คิงเอดเวิร์ดพอยต์ |
เฟรนช์เกียนา ( ฝรั่งเศส) | 91,000 | 195,506 | 2.1 | กาแยน |
ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้
แก้จุดที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ | สถานที่ | ประเทศ (จังหวัด/แคว้น/รัฐ) |
---|---|---|
จุดเหนือสุด | แหลมกายีนาส | ประเทศโคลอมเบีย (จังหวัดกวาคีรา) |
จุดใต้สุด | แหลมฟาวเวิร์ด | ประเทศชิลี (แคว้นมากายาเนสและลาอันตาร์ตีกาชีเลนา) |
จุดตะวันออกสุด | แหลมโคเคอรูส | ประเทศบราซิล (รัฐปาราอีบา) |
จุดตะวันตกสุด | แหลมปารีนเนียส | ประเทศเปรู (แคว้นปิวรา) |
ยอดเขาที่สูงที่สุด | ยอดเขาอากอนกากวา | ประเทศอาร์เจนตินา (รัฐเมนโดซา) |
เกาะที่ใหญ่ที่สุด | เกาะติเอร์ราเดลฟูเอโก | ประเทศอาร์เจนตินา (รัฐติเอร์ราเดลฟูเอโก) และประเทศชิลี (แคว้นมากายาเนสและลาอันตาร์ตีกาชีเลนา) |
แม่น้ำที่ยาวที่สุด | แม่น้ำแอมะซอน | ประเทศเปรู (แคว้นโลเรโต), ประเทศโคลอมเบีย (จังหวัดอามาโซนัส), และประเทศบราซิล (รัฐอามาโซนัส, รัฐปารา, รัฐอามาปา) |
ผิวน้ำต่ำที่สุด | ทะเลสาบซานตากรุซ | ประเทศอาร์เจนตินา (รัฐซานตากรุซ) |
ลักษณะภูมิประเทศ
แก้แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่
เขตที่สูงกายอานา
แก้เขตที่สูงกายอานาประกอบด้วย เขตที่สูงกายอานา (Guiana Highland) และที่ลุ่มยาโนส (Llanos) เป็นพื้นที่อยู่ทางทิศเหนือสุดของทวีป เป็นหินอัคนีหรือหินแกรนิต มีความยาวในแนวตะวันออกถึงตะวันตกมากว่า 1,600 กิโลเมตร พื้นที่สูงเริ่มจากตอนใต้ของประเทศเวเนซุเอลาไปถึงเหนือสุดของประเทศบราซิล ประกอบด้วยที่ราบสูง มีร่องน้ำลึกมาก มีน้ำตกที่สูงสุดของโลก คือ น้ำตกเอนเจลซึ่งมีความสูง 979 เมตร
ที่ลุ่มยาโนสอยู่ทางทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของที่สูงกายอานา เป็นพื้นที่ราบลุ่มระหว่างเทือกเขาแอนดีสและที่สูงกายอานา อยู่ในประเทศโคลอมเบียและประเทศเวเนซุเอลา มีแม่น้ำที่สำคัญ คือ โอริโนโค (Orinoco) ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำทำให้เป็นที่ราบลุ่มสมบูรณ์
เขตเทือกเขาแอนดีส
แก้เทือกเขาแอนดีส เป็นเทือกเขาแคบวางตัวยาวในแนวเหนือ-ใต้เลียบชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ เริ่มตั้งแต่แหลมเหนือสุดของทวีปอเมริกาใต้ เป็นแนวยาวลงไปจนสุดแหลมฮอร์นของประเทศชิลี ด้านทิศตะวันตกติดมหาสมุทรแปซิฟิก มีชายฝั่งแคบมากและภูเขาสูงชัน มีแม่น้ำสายสั้น ๆ ไหลลงมหาสมุทรแปซิฟิก บางบริเวณเป็นเขตแห้งแล้งหรือหนาวเย็นจัด ด้านทิศตะวันออกของเทือกเขาแอนดีสจะมีความลาดชันน้อยกว่าซีกตะวันตก และเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสำคัญ เช่น แม่น้ำแอมะซอน เป็นต้น
เขตลุ่มน้ำภาคใต้
แก้เขตลุ่มน้ำภาคใต้อยู่ทางทิศตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส เริ่มตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศโบลิเวียไปจนสุดแหลมภาคใต้ของประเทศอาร์เจนตินา ประกอบด้วยที่ราบแพมพาส (Pampas) และปาตาโกเนีย (Patagonia) ในประเทศอาร์เจนตินา
ที่ราบแพมพาสมีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติขนาดใหญ่ และมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านไปลงสู่อ่าวริโอเดลาปลาตา (Río de la Plata) ระหว่างเมืองหลวงของประเทศอุรุกวัย (กรุงมอนเตวิเดโอ) และประเทศอาร์เจนตินา (กรุงบัวโนสไอเรส)
ที่ราบปาตาโกเนีย มีภูมิอากาศแบบทะเลทรายหนาวเย็น อยู่ทางตอนใต้ของประเทศอาร์เจนตินา มีพื้นที่ค่อนข้างขรุขระและมีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น พื้นที่บางส่วนเป็นธารน้ำแข็งและทะเลสาบ ชายฝั่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเพนกวิน, แมวน้ำ, วาฬ, และสัตว์อื่น ๆ ที่อาศัยอยู่
เขตลุ่มแม่น้ำแอมะซอนและที่สูงบราซิล
แก้เขตลุ่มน้ำแอมะซอนและที่สูงบราซิลในประเทศบราซิล เริ่มตั้งแต่ด้านตะวันออกของเทือกเขาแอนดีสในประเทศเปรูจนถึงด้านตะวันออกของบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกลุ่มน้ำแอมะซอน หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "แอมะโซเนีย" (Amazonia) เป็นพื้นที่ราบต่ำ มีระดับความสูงต่ำกว่า 200 เมตร มีความลาดเทน้อยมาก แม่น้ำมีความยาว 6,570 กิโลเมตร คลุมพื้นที่มากกว่า 8 ล้านตารางกิโลเมตร พื้นที่เต็มไปด้วยป่าดิบชื้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ส่วนที่สูงบราซิลอยู่ทางทิศตะวันออกติดมหาสมุทรแอตแลนติก เริ่มตั้งแต่ตอนกลางของประเทศบราซิลลงไปติดประเทศอุรุกวัย มีความยาวประมาณ 1,280 กิโลเมตร ประกอบด้วยภูเขาไม่สูงมากนัก นอกจากภูมิประเทศทั้งหมด 4 เขต แล้ว ทวีปอเมริกาใต้ยังมีชายฝั่งทะเล โดยทางตะวันออกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก และทางตะวันตกติดมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งบริเวณชายฝั่งทางตอนใต้ของทวีปจะเป็นฟยอร์ด (Fjord) ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของธารน้ำแข็ง และมีสัตว์หลายชนิดอาศัยอยู่
ทางตอนเหนือของทวีปมีแม่น้ำไหลลงทะเลแคริบเบียน แม่น้ำแอมะซอนไหลจากเทือกเขาแอนดีสลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกที่เมืองมากาปา ประเทศบราซิล โดยบริเวณปากแม่น้ำนั้นมีเกาะเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีแม่น้ำปารากวัย, แม่น้ำอุรุกวัย, แม่น้ำซาลาโต, แม่น้ำซูบัต, และแม่น้ำสายสั้น ๆ อีกจำนวนมาก ไหลจากทางทิศตะวันตกของทวีปไปลงมหาสมุทรแอตแลนติกทางด้านตะวันออก
ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติ
แก้ลักษณะภูมิอากาศ
แก้ทวีปอเมริกาใต้ มีเนื้อที่ส่วนมากอยู่ในเขตร้อน โดยเฉพาะทางตอนเหนือของทวีป จะมีลักษณะอากาศแบบมรสุมเขตร้อนจนถึงแบบอบอุ่น ส่วนในทางใต้จะได้รับอิทธิพลจากขั้วโลกใต้ ทำให้มีอากาศหนาวเย็น สามารถแบ่งภูมิอากาศตามแบบเคิปเปนได้ดังนี้
- เขตภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น หรือฝนตกชุกเขตร้อน (Af) และภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน (Am) มีฝนตกชุกมากทั้งปี เช่น พื้นที่ชายฝั่งตะวันตกและตอนใต้ของประเทศโคลอมเบีย ตอนเหนือและชายฝั่งตะวันออกของประเทศบราซิล เป็นต้น
- เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) เป็นเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับแล้ง ได้แก่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศบราซิลและทางทิศตะวันตกของประเทศเอกวาดอร์
- เขตภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน (BWh) เป็นเขตภูมิอากาศที่มีฝนตกน้อยกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี เช่น พื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศเวเนซุเอลาที่ติดกับทะเลแคริบเบียน เป็นต้น
- เขตภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตหนาว (BWk) เป็นเขตภูมิอากาศแบบทะเลทรายแต่มีอากาศหนาวเย็น ได้แก่ พื้นที่ทางตะวันตกของเทือกเขาแอนดีส ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณประเทศเปรูและชิลี
- เขตภูมิอากาศแบบแห้งแล้งกึ่งทะเลทรายหรือทุ่งหญ้าสเตปป์ (BSh) เป็นเขตภูมิอากาศแบบแห้งแล้ง ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในรอบปี 380-760 มิลลิเมตร ได้แก่ พื้นที่ทางเหนือสุดของทวีปในประเทศโคลอมเบียและทางตอนกลางของอาร์เจนตินา
- เขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Cfa) เป็นเขตที่มีฝนตกชุก เนื้องจากชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันออก มีกระแสน้ำอุ่นบราซิลไหลเลียบชายฝั่งลงมาทางทิศใต้ เช่น บริเวณประเทศอาร์เจนตินาและอุรุกวัยที่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก
- เขตภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก (Cfb) มีฤดูหนาวยาวนาน ได้แก่ พื้นที่ด้านตะวันตกของประเทศชิลีและปลายแหลมของทวีป
- เขตภูมิอากาศแบบที่สูง (H) เป็นภูมิอากาศที่หนาวเย็นบนเทือกเขาสูง ได้แก่ บริเวณเทือกเขาแอนดีส
ลักษณะพืชพรรณธรรมชาติ
แก้ทวีปอเมริกาใต้เป็นทวีปที่มีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดในโลก โดยลุ่มน้ำแอมะซอนนั้นเป็นพื้นที่ป่าไม้เขตร้อนที่สำคัญ พืชพรรณธรรมชาติในทวีปอเมริกาแบ่งออกได้เป็นเขต
ป่าดิบ
แก้เป็นป่าไม้ที่มีลำต้นสูง ไม่มีกิ่วสาขาในระดับต่ำ รากมีลักษณะเป็นแนวนูนขึ้นมาบนต้น ใบใหญ่ และมีสีเขียวตลอดปี พันธุ์ไม้มีความหลากหลายมาก มักพบกล้วยไม้ ไม้เลื้อย เช่น เถาวัลย์ เฟิร์น และมอส เป็นต้น ป่าดิบชื้นในลุ่มน้ำแอมะซอนเป็นป่าไม้ประมาณร้อยล่ะ 25 ของพื้นที่ป่าไม้โลก นอกจากนั้นยังพบป่าดินชื้นในประเทศเวเนซุเอลา โคลอมเบีย และเอกวาดอร์ อีกด้วย
หมายเหตุ
แก้- ↑ บางครั้งถูกรวมด้วย ขึ้นอยู่กับคำนิยามของชายแดนอเมริกาเหนือ-ใต้ ประเทศปานามาอาจอยู่ในกลุ่มประเทศข้ามทวีป
- ↑ ถูกรวมเป็นครั้งคราว เกาะภูเขาไฟโดดเดี่ยวบนแผ่นอเมริกาใต้ ในทางธรณีวิทยา เกาะอัสเซนชันเป็นส่วนหนึ่งของอเมริกาใต้ แต่ในทางภูมิรัฐศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของทวีปแอฟริกา
- ↑ ถูกรวมเป็นครั้งคราว เกาะภูเขาไฟโดดเดี่ยวระหว่างแผ่นแอฟริกากับแผ่นแอนตาร์กติก ในทางชีวภูมิศาสตร์และธรณีวิทยา เกาะบูเวมีส่วนเกี่ยวข้องกับแอนตาร์กติกา ถึงแม้ว่าในทางภูมิศาสตร์มันจะอยู่ใกล้กับแอนตาร์กติกาและแอฟริกา แผนโลกของสหประชาชาติจัดให้เกาะนี้อยู่ในอเมริกาใต้แทน
- ↑ ในทางธรณีวิทยา เกาะเซาท์จอร์เจียและส่วนใต้สุดของอเมริกาใต้ฝั่งแผ่นดินใหญ่อยู่ในแผ่นสโกเชีย ในขณะที่หมู่เกาะเซาท์แซนด์วิชอยู่ใกล้กับแผ่นแซนด์วิช ในทางชีวภูมิศาสตร์และอุทกวิทยา เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิชมีส่วนเกี่ยวข้องกับแอนตาร์กติกา แผนโลกของสหประชาชาติได้รวมดินแดนพิพาทในอเมริกาใต้ด้วย
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
- ↑ "GDP PPP, current prices". International Monetary Fund. 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
- ↑ "GDP Nominal, current prices". International Monetary Fund. 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
- ↑ "Nominal GDP per capita". International Monetary Fund. 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
- ↑ 5.0 5.1 Schenoni, Luis L. (1 January 1970). "Unveiling the South American Balance". Estudos Internacionais 2(2): 215–232. สืบค้นเมื่อ 8 December 2016.
- ↑ Holsti 1996, p. 155
- ↑ Includes Easter Island in the Pacific Ocean, a Chilean territory frequently reckoned in Oceania. Santiago is the administrative capital of Chile; Valparaíso is the site of legislative meetings.
ข้อมูล
แก้- "South America". The Columbia Gazetteer of the World Online. 2005. New York: Columbia University Press.
- Latin American Network Information Database
- Holsti, Kalevi J. (1996). The State, War and the State of War. Cambridge Studies in International Relations.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Wikijunior South America ที่วิกิตำรา