เกาะบูเว
เกาะบูเว (อังกฤษ: Bouvet Island /ˈbuːveɪ/; นอร์เวย์: Bouvetøya[1] [bʉˈvèːœʏɑ][2] บูเวเอยยา) เป็นเกาะภูเขาไฟกึ่งแอนตาร์กติกและเขตสงวนธรรมชาติที่ไม่มีผู้อยู่อาศัย ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้สุดของเทือกเขากลางสมุทรแอตแลนติก เกาะบูเวเป็นดินแดนในภาวะพึ่งพิงของประเทศนอร์เวย์ ตามด้วยเกาะปีเตอร์ที่ 1 และควีนม็อดแลนด์ กลายเป็นส่วนหนึ่งของสามเขตสังกัดของนอร์เวย์ และเป็นเขตสังกัดเดียวที่อยู่นอกเหนือภูมิภาคในระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติก
เกาะบูเว Bouvetøya (นอร์เวย์) | |
---|---|
ชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะบูเว ค.ศ. 1898 | |
ที่ตั้งของเกาะบูเว (ระบุด้วยวงกลมสีแดงในมหาสมุทรแอตแลนติก) | |
ประเทศ | นอร์เวย์ |
ผนวกโดยนอร์เวย์ | 23 มกราคม ค.ศ. 1928 |
สถานะเขตสังกัด | 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1930 |
ประกาศเป็นเขตสงวน | 17 ธันวาคม ค.ศ. 1971 |
การปกครอง | |
• ประเภท | เขตสังกัดภายใต้ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ |
• พระมหากษัตริย์ | ฮารัลด์ที่ 5 |
• ควบคุมโดย | กระทรวงยุติธรรมและความมั่นคงสาธารณะ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 49 ตร.กม. (19 ตร.ไมล์) |
ธารน้ำแข็ง: 93% | |
ความสูงจุดสูงสุด | 780 เมตร (2,560 ฟุต) |
ประชากร | |
• ประมาณ | 0 |
รหัส ISO 3166 | BV |
โดเมนบนสุด | |
ไอยูซีเอ็นกลุ่ม 1 ก (เขตสงวนเคร่งครัด) | |
^a โดเมนระดับบนสุด .bv ถูกจัดสรรแก่เกาะบูเว แต่ไม่ได้นำมาใช้ |
เกาะบูเวเป็นเกาะห่างไกลที่สุดในโลก[3] เพราะที่ตั้งอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่คือชายฝั่งพรินเซสอัสตริดของควีนม็อดแลนด์ 1,700 กิโลเมตรทางทิศเหนือ[4] และแผ่นดินใหญ่ที่มีผู้อยู่อาศัยคือแหลมอะกะลัสของประเทศแอฟริกาใต้ 2,200 กิโลเมตรทางทิศตะวันตกเฉียงใต้[1][5] เกาะบูเวมีพื้นที่ทั้งหมด 49 ตารางกิโลเมตร[1] ร้อยละ 93 ของพื้นที่ปกคลุมด้วยธารน้ำแข็ง[6] ศูนย์กลางเป็นปล่องภูเขาไฟรูปโล่ปกคลุมด้วยน้ำแข็ง[7] และจุดสูงสุดอยู่บนยอดเขาโอลาฟ (Olavtoppen) ด้วยความสูง 780 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล[6] ชายฝั่งรายล้อมด้วยเกาะโขดหินบางส่วนและเกาะขนาดเล็กกว่าแห่งหนึ่งคือเกาะลาร์ส (Larsøya) ที่ขึ้นฝั่งอย่างง่ายเพียงแห่งเดียวอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือชื่อนีเรยซา (Nyrøysa) สัตว์มีกระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่บนเกาะบูเวนั้นมีเพียงแค่นกทะเลและแมวน้ำ[8]
นักสำรวจชาวฝรั่งเศส ฌ็อง-บาติสต์ ชาร์ล บูเว เดอ โลซีเย พบเกาะบูเวเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1739[9] โดยเขาระบุพิกัดของเกาะคลาดเคลื่อน[10] ทำให้นักสำรวจคนอื่นไม่พบเกาะจนกระทั่งการเดินทางของเจมส์ ลินด์ซีย์ และทอมัส ฮอปเปอร์ ใน ค.ศ. 1808[11] เบนจามิน มอร์เรล ใน ค.ศ. 1822 ผู้สามารถขึ้นฝั่งได้เป็นครั้งแรกตามบันทึกของเขาซึ่งเป็นข้อสงสัยจากนักวิชาการ[12] และจอร์จ นอร์ริส ใน ค.ศ. 1825 ผู้อ้างสิทธิเหนือเกาะเป็นของสหราชอาณาจักร[13][14] และพบเกาะทอมป์สันตั้งอยู่ใกล้เคียง ซึ่งภายหลังถูกเผยว่าเป็นเกาะที่ไม่มีอยู่จริง[15] พวกเขาต่างบันทึกพิกัดของเกาะแตกต่างกัน จนถึงการเดินทางวัลดีวีอาของนักชีววิทยาทางทะเลชาวเยอรมัน คาร์ล คุน ใน ค.ศ. 1898 ได้ระบุพิกัดของเกาะอย่างแม่นยำ[14]
คณะเดินทางนอร์วีเจียครั้งที่หนึ่งอยู่อาศัยระยะยาวบนเกาะครั้งแรกใน ค.ศ. 1927 พร้อมอ้างสิทธิเป็นของนอร์เวย์และตั้งชื่อตามบูเว เดอ โลซีเย[16] สหราชอาณาจักรพิพาทการอ้างสิทธิของนอร์เวย์ก่อนจะสละสิทธิของตน[17] เกาะบูเวถูกประกาศเป็นเขตสังกัดของนอร์เวย์ตามพระราชบัญญัติ ค.ศ. 1930 ภายใต้การควบคุมของกรมกิจการขั้วโลก กระทรวงยุติธรรมและความมั่นคงสาธารณะ[18] พื้นที่ทั้งหมดและน่านน้ำอาณาเขตของเกาะบูเวได้รับการคุ้มครองเป็นเขตสงวนธรรมชาติใน ค.ศ. 1971[19] และพื้นที่สำคัญเพื่อการอนุรักษ์นกจากเบิร์ดไลฟ์อินเตอร์เนชันแนล[20] การสำรวจทางวิทยาศาสตร์บนเกาะเริ่มต้นใน ค.ศ. 1978[21] โดยสถาบันขั้วโลกนอร์เวย์จัดตั้งสถานีวิจัยและสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติบนนีเรยซา และส่งนักวิจัยมาประจำการทุกฤดูร้อน[22]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Bouvetøya". Stadnamn i norske polarområde. Norwegian Polar Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2013.
- ↑ Berulfsen 1969, p. 51.
- ↑ "Volcanology Highlights". Global Volcanism Program. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 May 2012.
- ↑ Barr 1987, p. 58.
- ↑ "Bouvetøya". Norwegian Polar Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2012.
- ↑ 6.0 6.1 Barr 1987, p. 59.
- ↑ "Bouvet". Global Volcanism Program. Smithsonian Institution.
- ↑ Huyser 2001, p. 114.
- ↑ Mills 2003, p. 96.
- ↑ Mill 1905, p. 47.
- ↑ Burney 1817, p. 35.
- ↑ Mills 2003, p. 434-435.
- ↑ Barr 1987, p. 62.
- ↑ 14.0 14.1 Barr 1987, p. 63.
- ↑ "Thompson Island". Global Volcanism Program. Smithsonian Institution. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2012.
- ↑ Baker 1967, p. 72.
- ↑ Kyvik 2008, p. 52.
- ↑ "Lov om Bouvet-øya, Peter I's øy og Dronning Maud Land m.m. (bilandsloven)" (ภาษานอร์เวย์). Lovdata. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2013.
- ↑ "Forskrift om fredning av Bouvetøya med tilliggende territorialfarvann som naturreservat" (ภาษานอร์เวย์). Lovdata. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2014.
- ↑ Huyser 2001, p. 113.
- ↑ Rubin 2005, p. 155.
- ↑ Molde, Eivind (7 February 2014). "Ny «ekstremstasjon» på Bouvetøya" (ภาษานอร์เวย์). NRK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2023.
บรรณานุกรม
แก้- Baker, P. E. (September 1967). Adie, R. J.; Todd, E. (บ.ก.). "Historical and geological notes on Bouvetøya" (PDF). British Antarctic Survey Bulletin. London: British Antarctic Survey (13): 71–84. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2022.
- Barr, Susan (1987). Norway's Polar Territories. Oslo: Aschehoug. ISBN 8203156894.
- Berulfsen, Bjarne (1969). Norsk Uttaleordbok (ภาษานอร์เวย์). Oslo: H. Aschehoug & Co (W Nygaard).
- Burney, James (1817). A Chronological History of the Discoveries in the South Sea or Pacific Ocean. Vol. V. London: Luke Hansard & Sons.
- Huyser, Onno (2001). Fishpool, Lincoln D. C.; Evans, Michael I. (บ.ก.). "Bouvetøya (Bouvet Island)" (PDF). Important Bird Areas in Africa and Associated Islands: Priority Sites for Conservation. BirdLife Conservation Series. Cambridge: Birdlife International (11): 113–116. ISBN 187435720X. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2022.
- Kyvik, Helga, บ.ก. (2008). Norge i Antarktis (ภาษานอร์เวย์). Oslo: Schibsted. ISBN 978-82-516-2589-0.
- Mill, Hugh Robert (1905). The Siege of the South Pole. London: Alston Rivers.
- Mills, William James (2003). Exploring Polar Frontiers: A Historical Encyclopedia. Vol. 1. Santa Barbara, California: ABC-Clio. ISBN 978-1576074220.
- Rubin, Jeff (2005). Antarctica. Footscray, Victoria: Lonely Planet. ISBN 1740590945.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เกาะบูเว. เดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก. สำนักข่าวกรองกลาง.
- สถานีนอร์เวเจีย – สถานีวิจัยตั้งอยู่ที่นีเรยซา บนเกาะบูเว
- ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ เกาะบูเว ที่โอเพินสตรีตแมป