กรวยใต้

ภูมิภาคทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม

39°06′00″S 67°54′00″W / 39.1000°S 67.9000°W / -39.1000; -67.9000

กรวยใต้
  พื้นที่ที่จัดอยู่ในกรวยใต้เสมอ
  พื้นที่ที่มักจัดอยู่ในกรวยใต้
  โดยทั่วไปมักไม่รวมรัฐของบราซิล
พื้นที่5,712,034 ตารางกิโลเมตร (2,205,429 ตารางไมล์)
ประชากร135,707,204 (ประมาณกรกฎาคม ค.ศ. 2010)
ความหนาแน่น27.45 ต่อตารางกิโลเมตร (71.1 ต่อตารางไมล์)[1]
ประเทศ
ดินแดน
ภาษาสเปน, โปรตุเกส, มาปูเช และกวารานี
เขตเมืองใหญ่สุด1. บราซิล เซาเปาลู
2. อาร์เจนตินา บัวโนสไอเรส
3. ชิลี ซานเตียโก
4. บราซิล กูรีชีบา
5. บราซิล โปร์ตูอาแลกรี
6. อาร์เจนตินา กอร์โดบา
7. อุรุกวัย มอนเตวิเดโอ
8. บราซิล Guarulhos
9. บราซิล Campinas
10. อาร์เจนตินา โรซาริโอ

กรวยใต้ (สเปน: Cono Sur; โปรตุเกส: Cone Sul) เป็นภูมิภาคทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ใต้และรอบเส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์นทางตอนใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ ตามธรรมเนียม ภูมิภาคนี้ครอบคลุมประเทศชิลี อาร์เจนตินา และอุรุกวัย โดยจรดมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันตกและจรดบริเวณเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศใต้ และเป็นแผ่นดินทวีปที่อยู่ใกล้กับทวีปแอนตาร์กติกามากที่สุด (ห่างกัน 960 กิโลเมตร) ในแง่ภูมิศาสตร์สังคม ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ และภูมิศาสตร์การเมือง กรวยใต้ประกอบด้วยชิลี อาร์เจนตินา อุรุกวัย ภาคใต้ของบราซิล และรัฐเซาเปาลูของบราซิล (ไม่ใช่ทั้งภาคตะวันออกเฉียงใต้ของบราซิล) ภายใต้คำจำกัดความที่กว้างที่สุด กรวยใต้ยังรวมถึงภาคใต้ของโบลิเวีย (พื้นที่ที่ได้รับการพัฒนามากที่สุดของประเทศ) และปารากวัย (เนื่องจากมีลักษณะทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ร่วมกัน)[2]

อายุขัยเฉลี่ยที่สูง ดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงสุดในลาตินอเมริกา มาตรฐานการครองชีพที่สูง อัตราเจริญพันธุ์ต่ำ การมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญในตลาดโลก และเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตของบรรดาประเทศสมาชิก ทำให้กรวยใต้เป็นมหภูมิภาคที่มั่งคั่งที่สุดของลาตินอเมริกา[2][3]

หมายเหตุ แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 บางครั้งมีการรวมด้วย
  2. 2.0 2.1 บางครั้งมีการรวมด้วย เป็นดินแดนพิพาทที่บริหารโดยสหราชอาณาจักร อ้างสิทธิโดยอาร์เจนตินา

อ้างอิง แก้

  1. This North American density figure is based on a total land area of 4,944,081sq km
  2. 2.0 2.1 Steven, F. (2001). Regional Integration and Democratic Consolidation in the Southern Cone of Latin America. Democratization. Vol. 14. Routledge. pp. 75–100. ISBN 978-950-738-053-2. สืบค้นเมื่อ 12 May 2009.
  3. Krech III, Shepard; Merchant, Carolyn; McNeill, John Robert, บ.ก. (2004). Encyclopedia of World Environmental History. Vol. 3: O–Z, Index. Routledge. pp. 1142–. ISBN 978-0-415-93735-1.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Southern Cone