แผ่นอเมริกาใต้
แผ่นอเมริกาใต้ (อังกฤษ: South American Plate) เป็นแผ่นธรณีแปรสัณฐานที่ประกอบด้วยทวีปอเมริกาใต้รวมไปถึงพื้นที่อันกว้างใหญ่ของก้นมหาสมุทรแอตแลนติกทอดยาวไปทางตะวันออกจนถึงแผ่นแอฟริกาโดยมีส่วนใต้ของสันเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นตัวกั้น
แผ่นอเมริกาใต้ | |
---|---|
ประเภท | แผ่นหลัก |
พื้นที่โดยประมาณ | 43,600,000 กม.2[1] |
การเคลื่อนตัว1 | ทิศตะวันตก |
อัตราเร็ว1 | 27–34 มม./ปี |
ลักษณะภูมิศาสตร์ | ทวีปอเมริกาใต้, มหาสมุทรแอตแลนติก |
1โดยเทียบกับแผ่นแอฟริกา |
ขอบด้านตะวันออกของแผ่นอเมริกาใต้ติดกับแผ่นแอฟริกาโดยมีแนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัวเป็นตัวแบ่ง ขอบด้านใต้ติดกับแผ่นแอนตาร์กติก แผ่นสโกเชีย และแผ่นแซนด์วิชโดยมีแนวหน่วยหินซับซ้อนเป็นตัวแบ่ง ขอบด้านตะวันตกติดกับแผ่นนัซกาที่มุดตัวลงใต้แผ่นอเมริกาใต้โดยมีแนวแผ่นเปลือกโลกมุดตัวเป็นตัวแบ่ง และขอบด้านเหนือติดกับแผ่นแคริบเบียนและแผ่นอเมริกาเหนือส่วนเปลือกสมุทร
งานวิจัยทางธรณีวิทยาแนะนำว่าแผ่นอเมริกาใต้กำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกออกห่างจากแนวสันเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก โดยระบุว่า "ส่วนของขอบแผ่นนั้นประกอบไปด้วยรอยเลื่อนแบบเคลื่อนผ่านกันสั้น ๆ สลับกับสันเขาที่กำลังขยายออกสังเกตได้จากลักษณะปรากฏทั่วไปตามแนวขอบ"[2] โดยเป็นผลให้แผ่นนัซกาที่กำลังมีการเคลื่อนที่ไปทางตะวันออกและมีความหนาแน่นมากกว่านั้น เกิดการมุดตัวลงบริเวณขอบด้านตะวันตกของแผ่นอเมริกาใต้ตามแนวชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกด้วยอัตรา 77 มิลลิเมตรต่อปี[3] การชนกันของแผ่นทั้งสองนี้ทำให้เกิดการการยกตัวขึ้นของเทือกเขาแอนดีสขนาดมหึมา และยังทำให้เกิดภูเขาไฟขึ้นเป็นจำนวนมาก (มีทั้งภูเขาไฟกรวยสลับชั้นและแบบรูปโล่) กระจายไปทั่วบริเวณ[4][5]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Here are the Sizes of Tectonic or Lithospheric Plates". about.com. สืบค้นเมื่อ 6 April 2018.
- ↑ Meijer, P.T.; Wortel, M.J.R. (July 30, 1992). "The Dynamics of Motion of the South American Plate". Journal of Geophysical Research. 97 (B8): 11915. Bibcode:1992JGR....9711915M. doi:10.1029/91jb01123.
- ↑ Pisco, Peru, Earthquake of August 15, 2007: Lifeline Performance. Reston, VA: ASCE, Technical Council on Lifeline Earthquake Engineering. 2010. ISBN 9780784410615. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 14, 2012.
- ↑ "Convergent Plate Boundaries - Oceanic/Continental: The Andes". The Geological Society. สืบค้นเมื่อ 2 July 2018.
- ↑ Penvenne, Laura Jean (27 January 1996). "South America buckles under the pressure". New Scientist. สืบค้นเมื่อ 2 July 2018.