เฟรนช์เกียนา

จังหวัดในประเทศฝรั่งเศส

เฟรนช์เกียนา[6] (อังกฤษ: French Guiana) หรือ กุยยาน[7] (ฝรั่งเศส: Guyane) เป็นจังหวัดโพ้นทะเล (département d'outre-mer) ของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่บนชายฝั่งทางเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ทิศเหนือจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับประเทศบราซิล และทางทิศตะวันตกติดกับประเทศซูรินาม

เฟรนช์เกียนา

ดินแดนโพ้นทะเลเฟรนช์เกียนา
Collectivité territoriale de Guyane  (ฝรั่งเศส)
ตราราชการของเฟรนช์เกียนา
ตราอาร์ม
คำขวัญ: 
Fert Aurum Industria
เพลง: ลามาร์แซแยซ
พิกัด: 4°N 53°W / 4°N 53°W / 4; -53พิกัดภูมิศาสตร์: 4°N 53°W / 4°N 53°W / 4; -53
ประเทศ ฝรั่งเศส
เมืองหลักกาแยน
การปกครอง
 • ผู้ว่าาการจังหวัดThierry Queffelec[1]
 • ประธานสมัชชาGabriel Serville (Guyane Kontré pour avancer)
 • สภานิติบัญญัติAssembly of French Guiana
พื้นที่[2][3]
 • ทั้งหมด83,846 ตร.กม. (32,373 ตร.ไมล์)
 • พื้นดิน83,534 ตร.กม. (32,253 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับ 2 ของแคว้น และอันดับ 1 ของจังหวัด
ประชากร
 (มกราคม ค.ศ. 2022)[4]
 • ทั้งหมด294,436 คน
 • ความหนาแน่น3.5 คน/ตร.กม. (9.1 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC-3:00 (BRT)
รหัส ISO 3166
จีดีพี (2019)[5]อันดับที่ 17
รวม4.41 พันล้านยูโร (4.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ต่อหัว15,521 ยูโร (17,375 ดอลลาร์สหรัฐ)
ภูมิภาค NUTSFRA
เว็บไซต์Territorial Collectivity
Prefecture

เช่นเดียวกับจังหวัดโพ้นทะเลของฝรั่งเศสจังหวัดอื่น ๆ เฟรนช์เกียนายังมีฐานะเป็นแคว้นโพ้นทะเล (région d'outre-mer) ซึ่งเป็น 1 ใน 18 แคว้นของประเทศฝรั่งเศสด้วย โดยถือเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับประเทศฝรั่งเศสในทวีปยุโรปและใช้สกุลเงินยูโรเช่นกัน

ประวัติศาสตร์ แก้

เฟรนช์เกียนาเดิมเป็นที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองอเมริกันจำนวนมาก มีชาวฝรั่งเศสเข้ามาตั้งถิ่นฐานระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของนักโทษซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อว่าเกาะเดวิลส์ (Devil's Island) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1852 (พ.ศ. 2395)-ค.ศ. 1951 (พ.ศ. 2494) ต่อมาข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับบราซิลเกิดขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในพื้นที่ป่าอันกว้างขวางทางภาคใต้ นำไปสู่การประกาศรัฐเอกราชนิยมฝรั่งเศสที่มีชื่อว่ากูนานี (Counani) ในเขตที่เกิดเป็นข้อพิพาทรวมทั้งเกิดการต่อสู้ระหว่างผู้ตั้งถิ่นฐานด้วยกันเอง ก่อนที่ข้อพิพาทจะยุติลงโดยการตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการจากรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ให้บราซิลได้รับผลประโยชน์เป็นส่วนใหญ่ จากนั้นเฟรนช์เกียนาได้กลายเป็นจังหวัดโพ้นทะเลของฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1946 (พ.ศ. 2489) ในคริสต์ทศวรรษ 1970 มีการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของผู้ลี้ภัยชาวม้งจากประเทศลาว การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองมากขึ้นจากฝรั่งเศสเริ่มขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1970 และ 1980 การต่อต้านโดยกลุ่มที่เรียกร้องการปกครองตนเองนั้นก็มีเสียงเรียกร้องเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่การเดินขบวนในปี ค.ศ. 1996 (พ.ศ. 2539) ค.ศ. 1997 (พ.ศ. 2540) และ ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) ทั้งหมดจบลงด้วยความรุนแรง

การเมือง แก้

เฟรนช์เกียนาเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป (เนื่องจากมีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศส) เป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรปนอกทวีปยุโรป โดยมีหนึ่งในเขตแดนภายนอกของสหภาพยุโรปที่ยาวที่สุด และเป็นหนึ่งในดินแดน 3 แห่งนอกทวีปยุโรปของสหภาพยุโรปที่ไม่ได้เป็นเกาะ (อีก 2 แห่งคือเมืองเซวตาและเมืองเมลียาของสเปนในทวีปแอฟริกา)

ประมุขแห่งรัฐคือประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งจะแต่งตั้งผู้ว่าการ (prefect - ผู้สำเร็จราชการที่ประจำอยู่ที่ศาลากลางแคว้นในเมืองกาแยน) เป็นผู้แทนของตน เฟรนช์เกียนามีองค์กรนิติบัญญัติ 2 ส่วน คือ สภาทั่วไป (General Council) มีสมาชิก 19 คน และสภาแคว้น (Regional Council) มีสมาชิก 34 คน มาจากการเลือกตั้งทั้ง 2 สภา

เฟรนช์เกียนาจะส่งผู้แทน 2 คนไปยังสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส โดยคนแรกจะเป็นตัวแทนจากเทศบาลเมืองกาแยนและเทศบาลเมืองมากูรียา ส่วนอีกคนหนึ่งจะเป็นตัวแทนจากพื้นที่ที่เหลือทั้งหมดของเฟรนช์เกียนา ซึ่งเขตหลังนี้ถือเป็นเขตเลือกตั้งที่มีเนื้อที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐฝรั่งเศส นอกจากนี้เฟรนช์เกียนายังมีสมาชิกวุฒิสภา 1 คนในวุฒิสภาฝรั่งเศสด้วย

ประเด็นปัญหาเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อเฟรนช์เกียนาได้แก่ การทะลักของผู้อพยพเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายและผู้ลักลอบสำรวจทองคำจากประเทศบราซิลและประเทศซูรินาม และยังมีปัญหาเกี่ยวกับแม่น้ำมาโรนี (Maroni) ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างเฟรนช์เกียนากับซูรินามก็ไหลผ่านป่าดงดิบ ทำให้ยากต่อการเข้าไปสำรวจของทหารฝรั่งเศส ดังนั้น แนวพรมแดนระหว่างประเทศทั้งสองจึงยังเป็นที่ขัดแย้งอยู่

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

เฟรนช์เกียนาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 เขต (arrondissements), 19 อำเภอ (cantons - ไม่แสดงในที่นี้) และ 22 เทศบาล (communes) ได้แก่

 
เขตแซ็ง-โลร็อง-ดูว์-มารอนี เขตแซ็ง-ฌอร์ฌ เขตกาแยน
  1. อาวาลา-ยาลีมาโป (Awala-Yalimapo)
  2. มานา (Mana)
  3. แซ็ง-โลร็อง-ดูว์-มารอนี (Saint-Laurent-du-Maroni)
  4. อาปาตู (Apatou)
  5. กร็อง-ซองตี (Grand-Santi)
  6. ปาปาอิชตง (Papaïchton)
  7. ซาอูล (Saül)
  8. มารีปาซูลา (Maripasoula)
  1. กาโมปี (Camopi)
  2. แซ็ง-ฌอร์ฌ (Saint-Georges)
  3. วานารี (Ouanary)
  4. เรฌีนา (Régina)
  1. รูรา (Roura)
  2. แซ็งเตลี (Saint-Élie)
  3. อีรากูโบ (Iracoubo)
  4. ซีนามารี (Sinnamary)
  5. กูรู (Kourou)
  6. มากูรียา (Macouria)
  7. มงซีเนรี-ตอนกร็องด์ (Montsinéry-Tonnegrande)
  8. มาตูรี (Matoury)
  9. กาแยน (Cayenne)
  10. เรอมีร์-มงฌอลี (Remire-Montjoly)

ภูมิศาสตร์ แก้

 
แผนที่เฟรนช์เกียนา

แม้เฟรนช์เกียนาจะมีความเกี่ยวข้อง

ทางวัฒนธรรมกับดินแดนที่พูดภาษาฝรั่งเศสในแถบแคริบเบียน แต่ก็ไม่สามารถจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคแห่งนั้นได้ เนื่องจากทะเลแคริบเบียนนั้นตั้งอยู่ห่างเฟรนช์เกียนาไปทางทิศตะวันตกหลายร้อยกิโลเมตร และอยู่ถัดจากส่วนโค้งของหมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลีสเข้าไปอีก

เฟรนช์เกียนาประกอบด้วยเขตภูมิศาสตร์สองเขต คือ เขตชายฝั่งซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรส่วนใหญ่ และเขตป่าดงดิบหนาทึบและเข้าถึงได้ยากซึ่งค่อย ๆ ไล่ระดับความสูงขึ้นไปถึงยอดเขาต่าง ๆ ของทิวเขาตูมัก-อูมักตามแนวพรมแดนที่ติดกับบราซิล จุดสูงสุดของเฟรนช์เกียนาคือ แบลวูว์เดอลีนีนี (Bellevue de l'Inini) มีความสูง 851 เมตร ภูเขาอื่น ๆ ได้แก่ มงมาชาลู (782 เมตร) ปิกกูโดร (711 เมตร) และมงแซ็งมาร์แซล (635 เมตร) มงฟาวาร์ (200 เมตร) และมงตาญดูว์มาอูว์รี (156 เมตร) มีเกาะ 3 เกาะตั้งอยู่ใกล้กับชายฝั่ง ได้แก่ อีลดูว์ซาลูว์ หรือหมู่เกาะแซลเวชันซึ่งเป็นที่ตั้งของเกาะเดวิลส์ และที่อาศัยของนกบนอีลดูว์กอเนตาบล์ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งไปทางบราซิล

เขื่อนเปอตี-โซ (Barrage de Petit-Saut) ทางตอนเหนือของเฟรนช์เกียนาก่อให้เกิดทะเลสาบเทียมขึ้นและแจกจ่ายกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ มีแม่น้ำหลายสายในเฟรนช์เกียนา

เศรษฐกิจ แก้

เฟรนช์เกียนาพึ่งพิงฝรั่งเศสอย่างมากทั้งในด้านเงินอุดหนุนและด้านสินค้า อุตสาหกรรมหลักได้แก่ อุตสาหกรรมการประมง (มีส่วนแบ่ง 3 ใน 4 ส่วนของสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศ) การทำเหมืองทองคำ และการป่าไม้ นอกจากนี้ ศูนย์อวกาศเกียนาที่เมืองกูรูยังสามารถว่าจ้างคนได้ประมาณ 1,700 คนและมีส่วนแบ่งร้อยละ 25 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) อุตสาหกรรมการผลิตมีน้อยมากและเกษตรกรรมส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการพัฒนา การท่องเที่ยว (โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ) กำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ การว่างงานเป็นปัญหาสำคัญ โดยมีอัตราประมาณร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 30

การขนส่ง แก้

 
เมืองกาแยน

ท่าอากาศนานาชาติหลักของเฟรนช์เกียนาคือ ท่าอากาศยานกาแยน-โรช็องโบ (Cayenne-Rochambeau) ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลมาตูรี ชานเมืองทางทิศใต้ของเมืองกาแยน มีเที่ยวบินหนึ่งเที่ยวต่อวันไปกรุงปารีส (ท่าอากาศยานออร์ลี) และมีเที่ยวบินหนึ่งเที่ยวต่อวันมาจากกรุงปารีสเช่นกัน เที่ยวบินจากจากเมืองกาแยนไปกรุงปารีสใช้เวลา 8 ชั่วโมง 25 นาที ส่วนจากกรุงปารีสมาที่เมืองกาแยนใช้เวลา 9 ชั่วโมง 10 นาที และนอกจากนี้ยังมีเที่ยวบินสู่เมืองฟอร์-เดอ-ฟร็องส์ ปวงตาปิทร์ ปอร์โตแปรงซ์ ไมแอมี มากาปา เบเลง และโฟร์ตาเลซาอีกด้วย

ท่าเรือหลักของเฟรนช์เกียนาคือท่าเรือของเมืองเดกราเดกาน (Dégrad des Cannes) ตั้งอยู่บนชะวากทะเลของแม่น้ำมาอูว์รี ในเขตเทศบาลเรอมีร์-มงฌอลี ชานเมืองทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกาแยน ท่าเรือเดกราเดกานสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2512 เพื่อใช้แทนท่าเรือเก่าของกาแยนซึ่งคับแคบและไม่สามารถรับมือกับการจราจรในสมัยใหม่ได้ ปัจจุบันสินค้านำเข้าและสินค้าส่งออกเกือบทั้งหมดของเฟรนช์เกียนาจะต้องผ่านท่าเรือแห่งนี้

ถนนยางมะตอยจากเมืองเรชีนาไปยังเมืองแซ็ง-ฌอร์ฌ-เดอ-ลัวยาป็อก (Saint-Georges-de-l'Oyapock) เปิดใช้ในปี พ.ศ. 2547 ถือเป็นการเชื่อมโยงเส้นทางจากกาแยนไปสู่ชายแดนที่ติดกับประเทศบราซิลได้อย่างสมบูรณ์ โดยปัจจุบันนี้เราสามารถขับรถบนถนนลาดยางอย่างดีจากเมืองแซ็ง-โลร็อง-ดูว์-มารอนีที่ชายแดนซูรินามไปยังเมืองแซ็ง-ฌอร์ฌ-เดอ-ลัวยาป็อกที่ชายแดนบราซิล และจากสัญญาที่มีการลงนามระหว่างฝรั่งเศสกับบราซิลเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 สะพานข้ามแม่น้ำออยาพ็อก (Oyapock) ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติด้านตะวันออกของเฟรนช์เกียนากำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างโดยมีกำหนดเปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2553 โดยสะพานแห่งนี้จะเป็นที่ข้ามดินแดนแห่งแรกที่เคยเปิดใช้ขึ้นระหว่างฝรั่งเศสกับบราซิลและระหว่างเฟรนช์เกียนากับดินแดนส่วนอื่น ๆ ของโลก เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีสะพานแห่งอื่นที่สร้างข้ามแม่น้ำออยาพ็อก และยังไม่มีสะพานข้ามแม่น้ำมาโรนีซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติด้านตะวันตกด้วย โดยมีเพียงเรือข้ามฟากไปยังเมืองอัลบีนาของซูรินามเท่านั้น เมื่อสะพานที่เปิดใช้ เราก็จะสามารถขับรถได้อย่างต่อเนื่องจากกาแยนไปยังเมืองมากาปา เมืองหลักของรัฐอามาปาของบราซิล

ประชากรศาสตร์ แก้

สถิติจำนวนประชากร
1790
ประมาณการ
1839
ประมาณการ
1857
ประมาณการ
1891
ประมาณการ
1946
สำมะโนประชากร
1954
สำมะโนประชากร
1961
สำมะโนประชากร
1967
สำมะโนประชากร
1974
สำมะโนประชากร
1982
สำมะโนประชากร
1990
สำมะโนประชากร
1999
สำมะโนประชากร
2006
สำมะโนประชากร
2007
ประมาณการ
2008
ประมาณการ
14,520 20,940 25,561 33,500 25,499 27,863 33,505 44,392 55,125 73,022 114,678 157,213 205,954 213,500 221,500
ใช้ปีค.ศ., ข้อมูลทางการจากการสำรวจสำมะโนประชากรและการประมาณการของ INSEE

อ้างอิง แก้

  1. "Un nouveau préfet pour Wallis et Futuna". Wallis-et-Futuna la 1ère (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 11 February 2021.
  2. Christiane Taubira (28 April 2009). "FICHE QUESTION". Questions National Assembly of France (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 27 November 2021.
  3. "Population by sex, annual rate of population increase, surface area and density" (PDF). United Nations. 2013. p. 5. สืบค้นเมื่อ 27 November 2021.
  4. INSEE. "Estimation de population par région, sexe et grande classe d'âge – Années 1975 à 2022" (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 21 January 2022.
  5. "Produits intérieurs bruts régionaux et valeurs ajoutées régionales de 2000 à 2020". INSEE. สืบค้นเมื่อ 2022-03-25.
  6. "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  7. ราชบัณฑิตยสถาน. หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2555, หน้า 54.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้