สมัชชาแห่งชาติ (ประเทศฝรั่งเศส)
สมัชชาแห่งชาติ (ฝรั่งเศส: Assemblée Nationale) เป็นสภาล่างของรัฐสภาฝรั่งเศส ประกอบด้วยสมาชิก 577 คน เรียกว่า "ผู้แทน" (ฝรั่งเศส: député; อังกฤษ: deputy) ผู้แทน 289 คนถือเป็นเสียงส่วนใหญ่ในสภา และมีประธานสภา 1 คนเป็นผู้ควบคุมการประชุม และมีรองประธานสภาอีก 1 คนหรือกว่านั้น
สมัชชาแห่งชาติ Assemblée nationale | |
---|---|
สภานิติบัญญัติฝรั่งเศส ชุดที่ 17 | |
ตราสัญลักษณ์สมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส | |
ประเภท | |
ประเภท | เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภาฝรั่งเศส |
ประวัติ | |
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1958 |
ก่อนหน้า | สมัชชาแห่งชาติ (สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 4) |
ผู้บริหาร | |
ประธาน | |
โครงสร้าง | |
สมาชิก | 577 |
กลุ่มการเมือง | ฝ่ายรัฐบาล (รักษาการ) ร่วมกันเพื่อสาธารณรัฐ (99) นักประชาธิปไตย (36) โฮรีซงส์และอิสระ (31) ฝ่ายค้าน ไม่มีสังกัด (8) |
คณะกรรมาธิการ | 8 |
การเลือกตั้ง | |
ระบบสองรอบ | |
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด | 30 มิถุนายน และ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2024 |
ที่ประชุม | |
พระราชวังบูร์บง กรุงปารีส ฝรั่งเศส | |
เว็บไซต์ | |
assemblee-nationale.fr |
สมาชิกสมัชชาแห่งชาติดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี สิ้นสุดวาระในวันอังคารของสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมิถุนายน ปีที่ 5 นับแต่วันเลือกตั้ง การเลือกตั้งครั้งใหม่ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วันก่อนที่สมัชชาแห่งชาติชุดเดิมจะหมดอายุลง ประธานาธิบดีสามารถประกาศยุบสมัชชาแห่งชาติได้ ภายหลังจากที่ได้ปรึกษากับนายกรัฐมนตรีและประธานสภาทั้งสองแล้ว โดยเมื่อมีประกาศยุบสภา จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปอย่างเร็วที่สุดภายใน 20 วัน แต่ไม่เกิน 40 วัน
อนึ่ง ในกรณีที่มีการยุบสภา หรือสมาชิกลาออก หรือตาย หรือไปปฏิบัติหน้าที่อื่นซึ่งรวมไปถึงงานของรัฐบาล สมาชิกสมัชชาแห่งชาติอาจมีการดำรงตำแหน่งน้อยกว่า 5 ปีได้
สมัชชาแห่งชาติประชุม ณ พระราชวังบูร์บง ริมฝั่งแม่น้ำแซน ในกรุงปารีส
ความสัมพันธ์กับฝ่ายบริหาร
แก้รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 เพิ่มอำนาจของฝ่ายบริหารมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ (สาธารณรัฐที่ 3 และสาธารณรัฐที่ 4)[1]
ประธานาธิบดีฝรั่งเศสสามารถใช้อำนาจตัดสินใจยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่ได้ โดยใช้เป็นวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่สมัชชาแห่งชาตินั้นไม่สามารถหาทางออกได้ ซึ่งการยุบสภานั้นเกิดขึ้นเป็นบางครั้ง การยุบสภาครั้งสุดท้ายนั้นเกิดขึ้นในสมัยของประธานาธิบดีฌัก ชีรัก (Jacques Chirac) ในปี ค.ศ. 1997 ภายหลังจากการขาดเสียงสนับสนุนที่เพียงพอต่อนายกรัฐมนตรีอาแล็ง ฌูว์เป อย่างไรก็ตามแผนการยุบสภาครั้งนี้นั้นทำให้เกิดปัญหามากขึ้นอีกเนื่องจากพรรคการเมืองเสียงข้างมากนั้นกลับกลายเป็นฝั่งตรงข้ามแทน
สมาชิกสมัชชาแห่งชาติสามารถใช้อำนาจถอดถอนฝ่ายบริหาร (ซึ่งประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี) ผ่านการเสนอญัตติไม่ไว้วางใจ (motion de censure) ซึ่งเป็นเหตุให้นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีนั้นจะต้องได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองเสียงข้างมากหรือพรรคร่วมฯในสมัชชาแห่งชาติ ในกรณีที่ประธานาธิบดีกับสมัชชาแห่งชาตินั้นมาจากพรรคการเมืองฝั่งตรงข้ามกัน จะเกิดเหตุการณ์ที่นำไปสู่สถานการณ์การบริหารร่วมกัน "Cohabitation" ซึ่งเกิดขึ้นทั้งหมดสามครั้ง ย่อมทำให้การบริหารประเทศเป็นไปอย่างลำบาก ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประธานาธิบดีมีค่อนข้างมาก ดังปรากฏให้เห็นในปี 1997-2002 ที่ประธานาธิบดีฌัก ชีรัก เป็นฝ่ายขวา ในขณะที่นายกรัฐมนตรีลียอแนล ฌ็อสแป็ง (Lionel Jospin) รัฐบาลและเสียงข้างมากในสมัชชาแห่งชาติเป็นฝ่ายซ้าย ซึ่งต่อไปจะมีโอกาสเกิดน้อยลงภายหลังจากการปรับวาระของประธานาธิบดี และสมัชชาแห่งชาติให้อยู่ในช่วงเดียวกัน
การเสนอญัตติไม่ไว้วางใจนั้นเกิดขึ้นเป็นช่วง ๆ โดยพรรคการเมืองฝ่ายค้านซึ่งไม่เห็นด้วยกับการบริหารราชการแผ่นดินที่ไม่เหมาะสม โดยส่วนใหญ่มักจะไม่สำเร็จ เนื่องจากสมาชิกพรรคการเมืองนั้นจะต้องทำตามมติพรรค เพื่อมิให้มีการถอดถอนฝ่ายบริหารได้จากสมัชชาแห่งชาติ และตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐที่ 5 นั้นมีการผ่านมติไม่ไว้วางใจสำเร็จเพียงครั้งเดียวในปี ค.ศ. 1962 หลังจากความพยายามในการแก้รัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของประธานาธิบดี[2] เป็นเหตุให้ประธานาธิบดีชาร์ล เดอ โกล ใช้อำนาจยุบสภาภายในไม่กี่วันต่อมา[3]
สมาชิกสมัชชาแห่งชาตินั้นสามารถตั้งกระทู้ และถามกระทู้สดเพื่อให้รัฐมนตรีมาตอบได้ โดยทุกวันพุธช่วงบ่ายจะเป็นช่วงเวลาการตั้งกระทู้สด ซึ่งได้รับการถ่ายทอดสดผ่านโทรทัศน์ ซึ่งชาวฝรั่งเศสมักจะเห็นว่าเป็นเพียงการแสดงเท่านั้น เนื่องจากพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลจะตั้งคำถามเชิงชม ในขณะที่ฝ่ายค้านนั้นมักจะตั้งคำถามเพื่อให้รัฐบาลขายหน้า[4]
การเลือกตั้ง
แก้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988 เป็นต้นมา สมาชิกสมัชชาแห่งชาตินั้นมาจากการเลือกตั้งทั่วไปในระบบสองรอบแบ่งตามเขตเลือกตั้ง โดยมีวาระละ 5 ปี ในแต่ละเขตเลือกตั้งประกอบด้วยจำนวนประชากรประมาณ 100,000 คน กฎหมายเลือกตั้งปี ค.ศ. 1986 ระบุว่าจำนวนประชากรระหว่างเขตเลือกตั้งใดเลือกตั้งหนึ่งนั้น จะต้องไม่เหลื่อมกันมากกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนประชากรเฉลี่ยในแต่ละเขตเลือกตั้งของในแต่ละจังหวัด[5]
อย่างไรก็ตาม การแบ่งเขตเลือกตั้งนั้นยังไม่ได้มีการแก้ไขในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1982 จนถึงปี ค.ศ. 2009 ซึ่งในระหว่างนั้นมีความเปลี่ยนแปลงทางจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นมาก จึงทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างเขตเลือกตั้งที่มีจำนวนประชากรน้อยกว่าซึ่งมักจะตั้งอยู่ตามเมืองเล็ก ๆ กับเขตเลือกตั้งที่ตั้งอยู่ในเมืองใหญ่ ตัวอย่างเช่น สมาชิกสมัชชาแห่งชาติที่เป็นตัวแทนประชากรมากที่สุด มาจากจังหวัดวาล-ดวซ โดยมีจำนวนประชากรผู้มีสิทธิออกเสียงถึง 180,000 คน และสมาชิกที่เป็นผู้แทนประชากรจากเขตเลือกตั้งที่ผู้มีสิทธิออกเสียงจำนวนน้อยที่สุด มาจากจังหวัดโลแซร์ ซึ่งประกอบด้วยผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 34,000 คน
การแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่นั้นเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2009[6] และมีข้อกังขาเกิดขึ้นมากมาย[7] ยกตัวอย่างเช่น มีการเพิ่มจำนวนเขตเลือกตั้งถึง 11 เขต สำหรับสมาชิกสมัชชาแห่งชาติที่อาศัยอยู่นอกประเทศฝรั่งเศส โดยยังคงมีจำนวนผู้แทนเท่าเดิมคือ 577 ที่นั่ง[8][9]
ในการเลือกตั้งทั่วไปรอบแรกนั้น สมาชิกที่จะถูกเลือกต้องได้รับคะแนนอย่างน้อยร้อยละห้าสิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้ง และจะต้องมีผู้มาใช้สิทธิอย่างน้อยร้อยละยี่สิบห้าของผู้มีสิทธิทั้งหมดในแต่ละเขต หากยังไม่มีผู้ที่รับเลือกในรอบแรก ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีคะแนนมากกว่าร้อยละสิบสองจุดห้าจะสามารถเข้ารับการคัดเลือกในรอบสองได้ หากยังไม่มีใครที่เข้าเกณฑ์ใด ๆ ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีคะแนนสูงสุดสองอันดับจะเป็นผู้มีสิทธิเข้าไปรอบที่สองได้
ในการเลือกตั้งรอบที่สองนั้น จะใช้คะแนนเสียงชี้ขาดเพื่อเลือกตั้ง โดยแต่ละผู้สมัครจะต้องหาตัวแทนหนึ่งคน ไว้ในกรณีที่ผู้สมัครนั้นไม่สามารถทำหน้าที่ผู้แทนได้สมบูรณ์ ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ได้รับการคัดเลือกเป็นรัฐมนตรี เป็นต้น
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1985 ได้ระบุถึง การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งจะนับเป็นรายจังหวัด ซึ่งจะต้องมีคะแนนเสียงอย่างน้อยร้อยละห้าถึงจะได้รับเลือก อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งทั่วไปปี ค.ศ. 1986 ได้มีการใช้ระบบนี้ขึ้นอย่างสมบูรณ์ ซึ่งเปลี่ยนการเลือกตั้งของประเทศฝรั่งเศสเป็นแบบที่กล่าวมา (Plurality voting system)
สมาชิกสมัชชาแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 570 คน[10] 5 คนเป็นผู้แทนจากอาณานิคมโพ้นทะเล และ 2 คนจากนิวแคลิโดเนีย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ William G. Andrews, The Constitutional Prescription of Parliamentary Procedures in Gaullist France, Legislative Studies Quarterly, Vol. 3, No. 3 (Aug. 1978), pp. 465–506.
- ↑ Proceedings of the National Assembly, 4 October 1962, second sitting; vote tally on p. 3268. p. 38 in the PDF file
- ↑ Decree of 9 October 1962[ลิงก์เสีย].
- ↑ Anne-Laure Nicot, La démocratie en questions. L’usage stratégique de démocratie et de ses dérivés dans les questions au gouvernement de la 11e Législature, Mots. Les langages du politique, E.N.S. Editions, n° 83 2007/1, pp. 9 à 21.
- ↑ Stéphane Mandard, « En 2005, un rapport préconisait le remodelage des circonscriptions avant les législatives de 2007 », Le Monde, 7 June 2007.
- ↑ Ordonnance n° 2009-935 du 29 juillet 2009 portant répartition des sièges et délimitation des circonscriptions pour l'élection des députés; see the opinion of the advisory commission on redistricting.
- ↑ Pierre Salvere, La révision des circonscriptions électorales : un échec démocratique annoncé. เก็บถาวร 2011-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Fondation Terra Nova, 9 July 2009.
- ↑ "Elections 2012 – Votez à l’étranger" เก็บถาวร 2013-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, French Ministry of Foreign and European Affairs
- ↑ "Redécoupage électoral – 11 députés pour les Français de l'étranger" เก็บถาวร 2011-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Le Petit Journal, 22 October 2009.
- ↑ Article LO119 of the Electoral Code (ภาษาฝรั่งเศส).
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส (ภาษาฝรั่งเศส)
- "สภาผู้แทนราษฎรของสาธารณรัฐฝรั่งเศส (L'Assemblée nationale)". สำนักภาษาต่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012.
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สมัชชาแห่งชาติ (ประเทศฝรั่งเศส)
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์